โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาหัวตะกั่ว

ดัชนี ปลาหัวตะกั่ว

ระวังสับสนกับ ปลาซิวหัวตะกั่ว ปลาหัวตะกั่ว หรือ ปลาหัวเงิน หรือ ปลาหัวงอน (Blue panchax, Whitespot panchax) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aplocheilus panchax อยู่ในวงศ์ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Adrianichthyidae) ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน มีลำตัวกลมยาว หัวโตกว้าง มองด้านข้างเห็นปลายแหลม สันหัวแบน ปากซึ่งอยู่ปลายสุดเชิดขึ้น ตาโต และอยู่ชิดแนวสันหัว เกล็ดใหญ่ ครีบต่าง ๆ มีขอบกลม ครีบหลังมีขนาดเล็กอยู่ใกล้ครีบหาง พื้นลำตัวมีสีเทาอมเหลือง ครีบต่าง ๆ สีออกเหลือง โคนครีบหลังสีดำ มีจุดเด่น คือ มีจุดกลมสีเงินเหมือนสีของตะกั่วขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่บนสันหัวระหว่างนัยน์ตา อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีขนาดยาวประมาณ 8 เซนติเมตร แต่มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 3-6 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยตั้งแต่อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบกระจายอยู่ทุกภาค จัดเป็นปลาที่หาได้ง่าย และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์นี้ที่พบได้ในประเทศ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง กินตัวอ่อนของแมลงน้ำ เช่น ลูกน้ำและแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร ตัวผู้มีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าตัวเมีย ครีบใหญ่กว่าและสีสันต่าง ๆ ก็สดกว่า และมีนิสัยก้าวร้าวชอบกัดกันเองในฝูง ผู้คนในสมัยโบราณจึงนักนิยมจับมาเลี้ยงดูเพื่อการกัดกันเป็นการพนันเหมือนปลากัดหรือปลาเข็ม หลวงมัศยจิตรการและโชติ สุวัตถิ ได้กล่าวถึงปลาหัวตะกั่วเมื่อปี พ.ศ. 2503 ไว้ว่า ปลาหัวตะกั่วมีชื่อเรียกในภาษาใต้ว่า "หัวกั่ว" ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม.

12 ความสัมพันธ์: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปวงศ์ปลาหัวตะกั่วอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมืองทะเลสาบโตบาปลาหัวงอนปลาหัวตะกั่วทองคำปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวินปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลองปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปลาคิลลี่ฟิชปลาซิวหัวตะกั่ว

รายชื่อชื่อปลาทั่วไป

นี่คือรายชื่อชื่อปลาทั่วไป แต่ละชื่ออาจหมายถึงสปีชีส์หรือสกุลเดียว หรือปลาหลายชนิดพร้อมกันก็ได้ นี่เป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ ดูเพิ่มเติมได้ที่ หมวดหมู่ปล.

ใหม่!!: ปลาหัวตะกั่วและรายชื่อชื่อปลาทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหัวตะกั่ว

วงศ์ปลาหัวตะกั่ว (Killifish, Rivuline, Egg-laying toothcarp) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดเล็ก อยู่ในอันดับ Cyprinodontiformes อันเป็นอันดับเดียวกับวงศ์ปลาสอดหรือปลาหางนกยูง (Poeciliidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Aplocheilidae (/แอ็พ-โล-ไคล-อิ-ดี้/) มีรูปร่างโดยรวมป้อมสั้น ปากแหลม ปากบนยืดหดได้ดี นัยน์ตาโตและอยู่ส่วนบนของหัว ครีบท้องอยู่ใกล้กับครีบก้น เส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์และปรากฏให้เห็นเฉพาะบริเวณเหนือครีบอก ครีบหลังอยู่ใกล้กับครีบหาง ครีบก้นใหญ่ ครีบหางปลายกลมมน เป็นปลาขนาดเล็ก มีขนาดความยาวเต็มที่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ โดยหากินแมลงน้ำ เช่น ลูกน้ำ, ไรแดง เป็นอาหาร มีพฤติกรรมการวางไข่ โดยวางไข่ติดกับไม้น้ำ และไข่ผูกติดกันเป็นแพ บางชนิดอมไข่ไว้ในปาก เป็นปลาที่มีสมาชิกในวงศ์มากมาย หลายสกุล หลายร้อยชนิด จึงแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง โดยพบตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกาใต้, แอฟริกา, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilus panchax) พบได้ในทุกแหล่งน้ำทั่วประเทศ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเฉพาะในวงการปลาสวยงามว่า "คิลลี่ฟิช".

ใหม่!!: ปลาหัวตะกั่วและวงศ์ปลาหัวตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีถนนเพชรเกษมตัดผ่าน แบ่งอุทยานแห่งชาติออกเป็นสองส่วนคือ เขาลำปีทางฝั่งตะวันออก และหาดท้ายเหมืองทางฝั่งตะวันตก.

ใหม่!!: ปลาหัวตะกั่วและอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบโตบา

ทะเลสาบโตบา (Lake Toba Danau Toba) เป็นทะเลสาบและซูเปอร์ภูเขาไฟ มีความยาว 100 กิโลเมตร กว้าง 33 กิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดลึก 505 เมตร ตั้งอยู่ที่ทางเหนือของเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย ที่ระดับความสูง 900 เมตร พิกัดตั้งแต่ ถึง เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย และเป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทะเลสาบโตบาเคยเป็นสถานที่เกิดเหตุซูเปอร์ภูเขาไฟปะทุเมื่อประมาณ 69,000-77,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นการปะทุครั้งใหญ่ที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยถูกประมาณให้อยู่ที่ระดับ 8 ของดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ และเป็นเหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่ค้นพบในรอบ 25 ล้านปีที่ผ่านมา ตามทฤษฎีมหันตภัยโตบาแล้ว การปะทุครั้งนั้นส่งผลกระทบไปทั่วโลก มนุษย์ส่วนใหญ่ในขณะนั้นเสียชีวิต และเกิดภาวะคอขวดทางประชากรในแอฟริกาตะวันออกตอนกลางและอินเดีย ซึ่งส่งผลต่อ Genetic inheritance ของมนุษย์ทุกคนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สมมุติฐานนี้ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายเนื่องจากขาดหลักฐานที่แสดงถึงการเสียชีวิตหมู่หรือสูญพันธุ์ของสัตว์ชนิดอื่น แม้แต่สัตว์ที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมGathorne-Hardy, F. J., and Harcourt-Smith, W. E. H.,, Journal of Human Evolution 45 (2003) 227–230.

ใหม่!!: ปลาหัวตะกั่วและทะเลสาบโตบา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหัวงอน

ปลาหัวงอน หรือ ปลาหัวตะกั่ว (Panchax) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Aplocheilus (/แอ็พ-โล-โคล-อัส/; มาจากภาษากรีก "Aploe" หมายถึง "เดี่ยว" และ "cheilos" หมายถึง "ริมฝีปาก") จัดอยู่ในวงศ์ปลาคิลลี่ (Aplocheilidae) มีลักษณะสำคัญคือ ปากยืดหดได้ มีฟันที่กระดูกเพดานปากชิ้นกลาง ฐานของครีบอกอยู่ต่ำกว่าระดับกึ่งกลางลำตัว ครีบหางมนกลม เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วในทุกแหล่งน้ำอย่างกว้างขวางในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคซุนดา มีขนาดทั่วไปไม่เกิน 10 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าและสีสันสวยงามและหลากหลายกว่าตัวเมีย เป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่ โดยจะวางไข่ไว้กับไม้น้ำ ไข่จะฟักเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 12-14 วัน การที่มีถิ่นการแพร่ขยายพันธุ์อย่างกว้างขวางเช่นนี้ มีการสันนิษฐานจากนักวิทยาศาสตร์ว่า มิได้เกิดจากธรรมชาติ แต่เป็นด้วยมนุษย์ซึ่งได้เลี้ยงปลาสกุลนี้เป็นปลาสวยงามอยู่แล้ว อีกทั้งไข่ยังมีคุณลักษณะพิเศษ คือ ทนร้อน และทนแห้งได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกับปลาคิลลี่ฟิช (สามารถส่งไปในซองจดหมายได้ด้วย) จึงประมาณกันว่าการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางนั้นเกิดจากการ่มีไข่ปลาติดไปกับการขนส่งต้นข้าว หรือพืชน้ำต่าง ๆ แต่ตัวผู้มีอุปนิสัยก้าวร้าว มักชอบกัดกันเองคล้ายกับปลากัดหรือปลาเข็ม ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน ซึ่งคนไทยในสมัยโบราณมักจะจับมากัดกันเพื่อการพนัน.

ใหม่!!: ปลาหัวตะกั่วและปลาหัวงอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหัวตะกั่วทองคำ

ปลาหัวตะกั่วทองคำ หรือชื่อที่เรียกในวงการปลาสวยงามว่า ปลามังกรน้อย (Striped panchax, Golden wonder killifish, Malabar killi) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aplocheilus lineatus อยู่ในวงศ์ปลาหัวตะกั่ว หรือ วงศ์ปลาคิลลี่ (Aplocheilidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาหัวตะกั่ว (A. panchax) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ซึ่งพบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ แต่สำหรับปลาหัวตะกั่วทองคำนั้นจะพบในตอนใต้ของประเทศอินเดีย และศรีลังกา มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร จัดเป็นปลาชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ที่มีขนาดใหญ่ ตัวผู้มีครีบที่แหลมยาวคล้ายหอกกว่าตัวเมีย และมีแถบสีแดงและดำบริเวณครีบ ซึ่งตัวเมียไม่มี เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามมากชนิดหนึ่ง โดยจะมีสีเหลืองทองสว่างไสวไปทั่วทั้งตัว อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ขณะที่บางตัวที่มีสีซีดจะเป็นสีเขียวหรือขาวจาง ๆ เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ หรือเลี้ยงเดี่ยว ๆ ซึ่งสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว โดยเป็นปลาที่ออกไข่แพร่พันธุ์ง่าย ปลาจะวางไข่ติดกับไม้น้ำ ไข่จะมีเส้นใยพันอยู่รอบ ใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 12-14 วัน ปลามีอายุยืนยาวได้ถึง 4 ปี โดยมีช่วงเว้นระยะการวางไข่ราว 2 สัปดาห.

ใหม่!!: ปลาหัวตะกั่วและปลาหัวตะกั่วทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน คือ ชนิดของปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า แม่น้ำสาละวิน นับเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่มีความยาว 2,800 กิโลเมตร มีจุดกำเนิดที่เทือกเขาหิมาลัยไหลผ่านประเทศจีน, พม่า, ไทย และไหลลงมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ มีความหลากหลายของชนิดปลาที่พบได้ในแม่น้ำแห่งนี้ ซึ่งรวมถึงแควสาขาของแม่น้ำด้วย เช่น แม่น้ำปาย, แม่น้ำเมย, แม่น้ำยวม, แม่น้ำกษัตริย์, แม่น้ำสุริยะ และรวมไปถึงแม่น้ำอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น แม่น้ำบีคลี, แม่น้ำซองกาเลีย, แม่น้ำรันตี โดยหลายชนิดเป็นปลาในสกุลที่พบได้มากในประเทศอินเดียและอนุทวีปอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกัน หลายชนิด หลายสกุลก็เป็นปลาที่พบเฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินที่เดียวด้ว.

ใหม่!!: ปลาหัวตะกั่วและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีชนิดปลามากกว่า 200 ชนิด และเป็นปลาเฉพาะถิ่นและปลาท้องถิ่นประมาณ 20 ชนิด โดยปลาในลุ่มแม่น้ำนี้หลายชนิดซ้ำซ้อนกับปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง.

ใหม่!!: ปลาหัวตะกั่วและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง

แผนที่แสดงสาขาแม่น้ำโขง ปลาในลุ่มแม่น้ำโขงที่วางขายในตลาดสด ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชน.

ใหม่!!: ปลาหัวตะกั่วและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำหลักของประเทศอีกลุ่มแม่น้ำหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขงหนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม..

ใหม่!!: ปลาหัวตะกั่วและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคิลลี่ฟิช

ปลาคิลลี่ฟิช (Killifish) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดเล็กหลายชนิด ในอันดับ Cyprinodontiformes ซึ่งเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว นับ 1,000 กว่าชนิด ในแทบทุกทวีปทั่วโลก แต่ปลาคิลลี่ฟิชจะเป็นปลาที่แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ โดยปลาคิลลี่ฟิช มีลักษณะโดยทั่วไป จะเป็นปลาขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม โดยเฉพาะในตัวผู้ ในหลากหลายพฤติกรรม ในบางชนิดจะหากินและดำรงชีวิตอยู่บนผิวน้ำ, บางชนิดหากินและดำรงชีวิตอยู่ระดับพื้นน้ำ และบางชนิดจะรวมตัวกันเป็นฝูง และบางชนิดจะว่ายน้ำอย่างกระจัดกระจาย ปลาคิลลี่ฟิช เป็นปลาที่มักพบในแหล่งน้ำต่าง ๆ ตั้งแต่ ต้นน้ำตลอดจนไปถึง คลอง, บึง และแม่น้ำต่าง ๆ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำถาวรและแหล่งน้ำชั่วคราวที่เหือดแห้งหายไปได้ตามฤดูกาล แม้กระทั่งแอ่งน้ำในรอยเท้าสัตว์ ซึ่งคำว่า "คิลลี่" (Killi) มาจากภาษาดัตช์คำว่า "kilde" หมายถึง "แหล่งน้ำขนาดเล็ก" โดยมีลักษณะการวางไข่หลากหลายแตกต่างออกไป เช่น วางไข่ทิ้งไว้ในพื้นดินและมีวงจรชีวิตที่สั้น หรือวางไข่ไว้กับใบของไม้น้ำ สำหรับในประเทศไทย มีปลาเพียงชนิดเดียวที่เข้าข่ายปลาคิลลี่ฟิช คือ ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilus panchax) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Aplocheilidae ที่พบได้ทุกแหล่งน้ำทั่วทุกภาค ปลาคิลลี่ฟิช เป็นปลาที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมักจะนิยมเลี้ยงรวมเป็นฝูงหรือปะปนกับปลาชนิดอื่น ในตู้ไม้น้ำ และเลี้ยงเพื่อฟักลูกปลาให้ออกจากไข่ที่วางไว้ในดิน ซึ่งสามารถห่อส่งขายทางไปรษณีย์ได้ นับว่าเป็นความสนุกอย่างหนึ่งของผู้เลี้ยง โดยสกุลที่นิยมเลี้ยงได้แก่ Nothobranchius ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา และปลาหัวตะกั่วทองคำ (Aplocheilus lineatus) ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาหัวตะกั่วและปลาคิลลี่ฟิช · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวหัวตะกั่ว

ำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่: ปลาหัวตะกั่ว ปลาซิวหัวตะกั่ว หรือ ปลาท้องพลุ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาท้องพลุหรือปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Laubuka (/ลอ-บู-คา/) จัดเป็นปลาซิวขนาดกลาง มีลักษณะทั่วไปคือ ลำตัวแบนข้าง สีลำตัวทั่วไปเป็นสีเงินขาว มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนท้องที่ลึกและกว้างเหมือนอ้วนหรือท้องป่อง เมื่อจับขึ้นมาแล้ว ส่วนท้องจะแตกได้ง่าย อีกทั้งมีจุดสีเงินเข้มที่ส่วนหัว แลดูคล้ายปลาหัวตะกั่ว จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีเส้นข้างลำตัวที่สมบูรณ์ มีก้านครีบท้องยื่นยาวลงมาเป็นเส้นเดี่ยว เดิมทีปลาในสกุลนี้ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela มีพฤติกรรมรวมฝูงเป็นฝูงเล็ก ๆ กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก โดยมีปากที่เชิดขึ้นด้านบน นอกจากนี้แล้วเมื่อตกใจจะสามารถกระโดดขึ้นขนานไปกับผิวน้ำได้เหมือนปลาขวานบิน ซึ่งเป็นปลาในกลุ่มปลาคาราซิน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์จนถึงแหลมมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซียซึ่งพบได้ในทวีปอเมริกาใต้ในประเทศไทยจะพบได้ 2 ชน.

ใหม่!!: ปลาหัวตะกั่วและปลาซิวหัวตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Aplocheilus panchaxปลาหัวเงิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »