ปลาหม่น หรือ ปลามอน หรือ ปลาม่อน หรือ ปลาม่ำ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกันทั่วไป คือ รูปร่างเรียวยาว แบนข้าง ลำตัวกว้าง โคนหางคอดเรียว หัวกลมโต จะงอยปากงุ้มเห็นได้ชัดเจน ช่องปากอยู่ด้านล่าง ปากล่างมีขอบเรียบเป็นเส้น ปลายจะงอยปากมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายสิว ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะในตัวผู้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ เกล็ดมีขนาดเล็กมีประมาณ 37-39 หรือมากกว่านั้นประมาณ 3 ชิ้น แถวตามเส้นแนวข้างลำตัว ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง ก้านที่ยาวที่สุดมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบหางเว้าลึก เกล็ดมีสีเงินเหลือบเขียวอ่อนหรือชมพู ครีบทุกครีบเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 20 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงในช่วงต้นน้ำที่น้ำไหลแรง โดยตวัดกินตะไคร่น้ำและแมลงน้ำที่เกาะตามโขดหินด้วยความรวดเร็ว พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำแม่กลอง และพบได้ในทุกประเทศของภูมิภาคอินโดจีน เป็นปลาที่หาได้ง่าย และมีการจับมาเป็นรับประทานเป็นอาหารในท้องถิ่น.
สารบัญ
2 ความสัมพันธ์: ปลาม่อนปลาม่ำพม่า
ปลาม่อน หรือ ปลามอน หรือ ปลาม่ำ เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Scaphiodonichthys ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะที่สำคัญ คือ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่ขอบจักเป็นฟันเลื่อย และมีก้านครีบแขนง 7-12 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ปากล่างบางคล้ายเล็บมือมนุษย์ จะงอยปากทู่ ปากเล็ก มุมปากอยู่ด้านหน้านัยน์ตา โดยคำว่า Scaphiodonichthys (/สะ-แค-ฟิ-โอ-ดอน-ทิค-ทีส/) เป็นภาษากรีก skaphe (σκάφος) หมายถึง "เรือ" odous (οδούς) หมายถึง "ฟัน" และ ichthys (Ιχθύς) หมายถึง "ปลา" จำแนกออกได้เป็น 3 ชนิด พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่และจีนตอนล่าง.
ดู ปลาหม่นและปลาม่อน
ปลาม่ำพม่า ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน มีรูปร่างและพฤติกรรมเหมือนกับปลาหม่น หรือปลาม่อน (S.
ดู ปลาหม่นและปลาม่ำพม่า
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Scaphiodonichthys acanthopterus