โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาหมอทะเล

ดัชนี ปลาหมอทะเล

ปลาหมอทะเล หรือ ปลาเก๋ามังกร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epinephelus lanceolatus ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังเล็กอยู่ ตามลำตัวมีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่าง ๆ ปลาหมอทะเลเป็นปลาในวงศ์ปลากะรังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5 เมตร น้ำหนักหนักถึง 400 กิโลกรัม ถือเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมกินอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว อาจจะกินปลาฉลามขนาดเล็กหรือเต่าทะเลวัยอ่อนได้ ฟันในปากมีขนาดเล็ก เป็นปลาที่สายตาไม่ดี ออกหากินในเวลากลางคืน แม้จะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่มีนิสัยไม่ดุร้าย เวลาขู่จะแสดงออกด้วยการพองครีบพองเหงือกคล้ายปลากัด ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ หรือกองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ พบในระดับความลึกตั้งแต่ 4–100 เมตร และยังชอบที่จะขุดหลุมคล้ายปลานิล พื้นหลุมแข็งบริเวณข้างหลุมเป็นเลนค่อนข้างหนา ปากหลุมกว้างประมาณ 50–100 เซนติเมตร สีเมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน พบอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นในแถบอินโด-แปซิฟิก, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ จนถึงอ่าวเปอร์เซีย นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ เป็นปลาที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และด้วยความใหญ่โตของร่างกาย ปลาหมอทะเลจึงมักนิยมเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่หรือในอุโมงค์ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี เป็นต้น และนิยมเลี้ยงลูกปลาขนาดเล็กในน้ำจืดเหมือนปลาสวยงามทั่วไปด้วย แต่ทว่าก็จะเลี้ยงได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น เมื่อโตขึ้น หากยังเลี้ยงในน้ำจืดอยู่ ปลาก็จะตายในที่สุด นอกจากนี้แล้ว ทางกรมประมงยังได้เพาะขยายพันธุ์ลูกผสมระหว่างปลาหมอทะเลกับปลากะรังดอกแดง ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกัน ได้เป็นผลสำเร็จ โดยลูกปลาขนาดเล็กจะมีลวดลายคล้ายกับปลาเสือตอ ซึ่งเป็นปลาสวยงามน้ำจืดที่มีชื่อเสียง ที่อยู่ต่างวงศ์กัน จนได้รับการเรียกชื่อว่า "ปลาเสือตอทะเล" โดยปลาเสือตอทะเลนั้นได้นำมาเปิดตัวครั้งแรกในงานประมงน้อมเกล้าฯ ครั้งที่ 25 ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน–8 กรกฎาคม..

10 ความสัมพันธ์: พืดหินปะการังรายชื่อชื่อปลาทั่วไปวงศ์ปลากะรังสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติปลากะรังดอกแดงปลาหมอทะเล (สกุล)ปลาเก๋าดอกหมากยักษ์ปลาเก๋าเสือปะการังเทียม

พืดหินปะการัง

แผนที่แสดงการกระจายตัวของแนวปะการังทั่วโลก แนวปะการัง หรือ พืดหินปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อน และมีความหลากหลายมากที่สุดในทะเล แนวปะการังจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นหินปูนที่มีความแข็ง โดยสัตว์ทะเลขนาดเล็กคือ ปะการัง รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในทะเลอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น สาหร่ายหินปูน, หอยที่มีเปลือกแข็ง เป็นต้น ทั้งปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่สร้างหินปูนได้ เมื่อตายไปแล้วจะยังคงเหลือซากหินปูนทับถมพอกพูน ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการสร้างแนวปะการัง ซากหินปูนเหล่านั้นค่อย ๆ ผุกร่อนเป็นผงตะกอน ซึ่งส่วนหนึ่งก็ยังคงสะสมพอกพูนในแนวปะการัง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาล่องลอยไปตามกระแสน้ำไปทับถมพอกพูนเป็นชายหาด การเจริญเติบโตของแนวปะการังเป็นไปอย่างช้า ๆ ในแต่ละปี ปะการังบางชนิดอาจเพิ่มขนาดของตนเองขึ้นมาได้เพียง 2-5 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งกว่าที่ปะการังจะสร้างตนเองจนแข็งแรงเป็นแนวพืดได้ต้องใช้เวลานับหมื่น ๆ ปี โดยแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ที่มีเนื้อที่กว้างขวางกว่า 1,562 ไมล์ (2,500 กิโลเมตร) มีแนวปะการังมากกว่า 2,900 แนว ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรกดกโลกทางธรรมชาติ และแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก คือ สามเหลี่ยมปะการัง ที่ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เช่น อุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์เลสเต คิดเป็น 1 ใน 3 ของแนวปะการังที่มีอยู่ในโลก และมีความหลากหลายของชนิดปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังคิดเป็นร้อยละ 35 ของปลาที่อาศัยในแนวปะการังทั้งหมดทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาหมอทะเลและพืดหินปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อชื่อปลาทั่วไป

นี่คือรายชื่อชื่อปลาทั่วไป แต่ละชื่ออาจหมายถึงสปีชีส์หรือสกุลเดียว หรือปลาหลายชนิดพร้อมกันก็ได้ นี่เป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ ดูเพิ่มเติมได้ที่ หมวดหมู่ปล.

ใหม่!!: ปลาหมอทะเลและรายชื่อชื่อปลาทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะรัง

วงศ์ปลากะรัง หรือ วงศ์ปลาเก๋า (Groupers, Sea basses) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง จัดเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ (ดูในเนื้อหา) พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Serranidae เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัว และครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะโปร่งใส มีเกล็ดขนาดเล็กเป็นแบบเรียบและแบบสาก ปากกว้าง มีฟันเล็กบนขากรรไกร เพดานปาก มีฟันเขี้ยวด้านหน้า ครีบท้องมีตำแหน่งอยู่ใต้หรืออยู่หน้าหรืออยู่หลังครีบอก มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึง 2.5 หรือ 3 เมตร หนักถึง 400 กิโลกรัม คือ ปลาหมอทะเล (Epinephelus lanceolatus) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในวงศ์นี้ ในบางชนิดสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามวัย เช่น ปลากะรังจุดน้ำตาล (E. malabaricus) ในวัยเล็กจะเป็นเพศเมีย แต่เมื่อโตขึ้นน้ำหนักราว 7 กิโลกรัม จะกลายเป็นเพศผู้ สำหรับปลาที่พบในทะเล มักมีพฤติกรรมชอบตามลำพังหรือเป็นคู่เพียงไม่กี่ตัวตามโขดหิน แนวปะการังหรือกองหิน กองซากปรักหักพังใต้น้ำ ออกหากินในเวลากลางคืน สามารถพบได้จนถึงบริเวณปากแม่น้ำ หรือป่าชายเลน มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยหลายชนิดนิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลากะรังปากแม่น้ำ (E. tauvina) หรือ ปลาเก๋าเสือ (E. fuscoguttatus) เป็นต้น จึงมีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาอาชีพ โดยนิยมเลี้ยงในกระชัง มีชื่อสามัญในภาษาไทยอื่น ๆ เช่น "ปลาเก๋า" หรือ "ปลาตุ๊กแก".

ใหม่!!: ปลาหมอทะเลและวงศ์ปลากะรัง · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

แผนที่ที่ตั้งของสถาบันภายในมหาวิทยาลัยบูรพา (หมายเลข 2) สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นสถาบันวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยมีสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ที่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชม สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มหรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลนั้นมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และถูกเรียกชื่อตามความเข้าใจในชื่อต่าง ๆ กัน เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล หรือ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ตั้งอยู่ด้านหน้าของมหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันเป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทยและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี.

ใหม่!!: ปลาหมอทะเลและสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา · ดูเพิ่มเติม »

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ

ลานน้ำพุด้านหน้า แผนที่ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ อยู่ที่ ต.เดิมบาง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 แล้วเสร็จและเปิดบริการตั้งแต่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 เปิดให้บริการทุกวัน ในเวลา 10.00 - 15.00 น.

ใหม่!!: ปลาหมอทะเลและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะรังดอกแดง

ปลากะรังดอกแดง หรือ ปลาเก๋าดอกแดง หรือ ปลาเก๋าจุดน้ำตาล หรือ ปลากะรังปากแม่น้ำ (Orange-spotted grouper, Estuary cod) ปลาชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) เป็นปลาในวงศ์นี้อีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ รูปร่างค่อนข้างป้อม หัวใหญ่ จะงอยปากแหลม นัยน์ตาโต ปากกว้างเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีฟันเป็นเขี้ยวแหลมอยู่บนขากรรไกรทั้งบนและล่าง ครีบหลังยาว ครีบหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง ปลายมนกลม พื้นตัวเป็นสีเทาและมีลายน้ำตาลอยู่บนหัวและข้างลำตัว มีจุดประอยู่ตามหัวและลำตัว แต่บางตัวก็ไม่มีจุดขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและขนาดของปลา มีขนาดลำตัวโดยเฉลี่ย 30 เซนติเมตร แต่สามารถใหญ่ได้ถึง 1.5 เมตร พบกระจายพันธุ์ตามแถบปากแม่น้ำ, ป่าชายเลน หรือกองหินใต้ทะเล ในประเทศไทยพบชุกชุมที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ในต่างประเทศพบได้ที่ทะเลแดง, มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย เป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่มีการเพาะเลี้ยงกันเพื่อการพาณิชย์ มีการส่งออกไปขายยังต่างประเทศ เป็นปลาที่ชาวจีนมีความเชื่อว่า เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้บำรุงกำลังเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย (ช่วงวัตถุดิบปริศนา), รายการทางช่อง 7: วันพุธที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: ปลาหมอทะเลและปลากะรังดอกแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอทะเล (สกุล)

ปลาหมอทะเล (Epinephelus) เป็นสกุลของปลาทะเลจำพวกหนึ่งในวงศ์ Serranidae นับเป็นปลาขนาดใหญ่ มีรูปร่างโดยรวม คือ ร่างยาวอ้วนป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณแนวปะการัง โขดหินใกล้ชายฝั่งหรือเกาะ บางครั้งอาจพบว่ายเข้ามาหากินบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยได้ด้วย ปลาหมอทะเลกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตอบอุ่นทั่วโลก ทั้ง มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย มีจำนวนสมาชิกในสกุลนี้ราว 99 ชนิด นับว่ามากที่สุดในวงศ์นี้ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาหมอทะเล (E. lanceolatus) ที่ใหญ่ที่สุดได้เกือบ 3 เมตร และหนักได้ราว 200 กิโลกรัม สำหรับในภาษาไทยจะคุ้นเคยเรียกชื่อปลาในสกุลนี้เป็นอย่างดีในชื่อ "ปลาเก๋า" หรือ "ปลากะรัง".

ใหม่!!: ปลาหมอทะเลและปลาหมอทะเล (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเก๋าดอกหมากยักษ์

ปลาเก๋าดอกหมากยักษ์ (Potato Cod, Potato grouper, Potato bass) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะเหมือนกับปลากะรังชนิดอื่น ๆ แต่มีพื้นลำตัวสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน และมีลายจุดสีน้ำตาลหรือสีดำอยู่ตามลำตัวและครีบ อาศัยตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำ นับเป็นปลาในแนวปะการังที่มีความใหญ่มากชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับปลาหมอทะเล (E. lanceolatus) เพราะเมื่อโตเต็มที่อาจมีความยาวได้ถึง 2 เมตร น้ำหนักกว่า 110 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์กว้างขวางตั้งแต่มาดากัสการ์, มอริเตเนีย, อ่าวเปอร์เซีย, ทะเลแดง, อินโด-แปซิฟิก, มัลดีฟส์, ทะเลจีนใต้, ทะเลฟิลิปปิน, ทะเลญี่ปุ่น และออสเตรเลีย สำหรับในน่านน้ำไทยจะพบได้ในทะเลอันดามันแถบหมู่เกาะสิมิลัน นับว่าเป็นปลาที่หายากกว่าปลาหมอทะเล จัดเป็นปลาที่มีความใหญ่ชนิดหนึ่ง จึงเป็นที่นิยมของผู้ที่นิยมการดำน้ำ และมีเลี้ยงไว้ตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง.

ใหม่!!: ปลาหมอทะเลและปลาเก๋าดอกหมากยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเก๋าเสือ

ปลาเก๋าเสือ หรือ ปลากะรังลายน้ำตาล (Brown-marbled grouper, Tiger grouper) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลากะรังทั่วไป สีพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองน้ำตาล มีจุดสีน้ำตาลเข้ม ส่วนหัวและแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก ไปจนถึงครีบต่าง ๆ และครีบหาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 120 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดงในแอฟริกาตะวันออก, อ่าวเปอร์เซีย, ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น, นิวแคลิโดเนีย, อินโด-แปซิฟิก จนถึงออสเตรเลีย เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่มีการเพาะเลี้ยงอย่างปลากะรังชนิดอื่น ๆ โดยมีราคาขายตัวละ 400-600 บาท รวมถึงมีการผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาหมอทะเล หรือปลาเก๋ายักษ์ (E. lanceolatus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกันแต่ตัวใหญ่กว่า เพื่อให้ได้ปลาลูกผสมที่เรียกว่า  ปลาเก๋ามุกมังกร ที่เนื้อมีความนุ่มอร่อยกว่า และราคาถูกกว.

ใหม่!!: ปลาหมอทะเลและปลาเก๋าเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ปะการังเทียม

นักประดาน้ำกำลังก่อสร้างปะการังเทียมจากแท่งคอนกรีต ปะการังเทียม (Artificial reef) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีแบบแผน เพื่อดัดแปลงสภาพของพื้นท้องทะเลให้อุดมสมบูรณ์ให้เหมือนสมัยก่อน โดยปะการังตามธรรมชาติมีการถูกทำลายและเหลือจำนวนน้อยลง โดยการจัดทำสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยหรือเรียกง่าย ๆ ว่า บ้านปลา เลียนแบบบริเวณที่มีกองหินใต้น้ำ ซากเรืออัปปาง หรือแนวปะการังธรรมชาติ โดยการใช้วัสดุที่แข็งแรง ทนทาน มีน้ำหนัก สามารถต้านทานกระแสน้ำได้ ราคาไม่แพง มีรูปแบบที่มีช่องเงาให้สัตว์น้ำกำบังหรือหลบซ่อนตัวได้ และนำไปวางรวมกลุ่มกันในบริเวณต่างๆ ตามแนวชายฝั่งที่เหมาะสม วัสดุที่ใช้ก่อสร้างนั้นเป็นคอนกรีตล้วน เรียกว่า มาลีนไทด์ ซึ่งเป็นคอนกรีตที่ไม่ถูกกัดเซาะจากน้ำเค็ม โดยดำเนินการในหลายพื้นที่ อาทิ จังหวัดเพชรบุรี, ชุมพร, พังงา, ปัตตานี, นราธิวาส, ตราด, สุราษฎร์ธานี และในปี 2549 นี้ จะมีการดำเนินการจัดสร้างปะการังเทียมในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชลบุรี แต่ในบางท้องถิ่นไม่ได้มีสิ่งของดังกล่าวเสมอไป จึงต้องหาวัสดุอื่นมาทดแทน เช่น ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว เนื่องจากมีปริมาณเหลือใช้ค่อนข้างมาก จึงมีการนำมามัดรวมกันเป็นชุดๆ ชาวประมงท้องถิ่นสามารถทำได้เองในราคาที่ค่อนข้างถูก.

ใหม่!!: ปลาหมอทะเลและปะการังเทียม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Epinephelus lanceolatusGiant grouperPromicrops lanceolatusQueensland grouper

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »