โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาตะเพียนขาว

ดัชนี ปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนขาว หรือ ปลาตะเพียนเงิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาตะเพียน (Java barb, Silver barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์ปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ภาคอีสานเรียกว่า "ปลาปาก" ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 เซนติเมตร (พบใหญ่ที่สุด 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 13 กิโลกรัม ที่มาเลเซีย) พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช, แมลง และสัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้ หรือแม้กระทั่งเลี้ยงเป็นปลาลูกไล่ของปลาใหญ่กว่า หรือเลี้ยงเพื่อทดสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) หรือความเข้มข้นของคลอรีน ก่อนที่จะปล่อยปลาที่จะเลี้ยงจริงลงไป เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และมีความไวต่อคุณภาพน้ำ มีการผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูฝน ตัวเมียเมื่อถึงสภาพสมบูรณ์ ลำตัวจะอวบอ้วนและใหญ่กว่าตัวผู้ถึง 2-3 เท่า ตัวผู้บริเวณข้างแก้มจะมีตุ่มคล้ายสิวอันเป็นเอกลักษณ์ของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน ตัวเมียใช้เวลาอุ้มท้องจนกระทั่งวางไข่ประมาณ 1 เดือน ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์ปลาเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่าง ๆ มีการนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก.

30 ความสัมพันธ์: บึงละหานก้อยมาริโอ้ เมาเร่อรายชื่อชื่อปลาทั่วไปรายชื่อสัตว์น้ำวงศ์ปลาตะเพียนสกุลบาร์โบนีมัสสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอ่างทองอันดับปลาตะเพียนอำเภอท่าบ่ออุทยานแห่งชาติเอราวัณทะเลสาบโตบาปลากระแหปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลองปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปลาตะพากเหลืองปลาตะเพียนสานปลาตะเพียนทรายปลาตะเพียนทองปลาตะเพียนน้ำเค็มปลาตะเพียนแคระปลาตามินปลาแก้มช้ำปลาแดงน้อยปลาเสือสุมาตราปลาเสือข้างลายแม่น้ำบีคลี่แม่น้ำยม

บึงละหาน

ึงละหาน เรือประมง ณ บึงละหานบึงละหาน เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติมีเนื้อที่กว้างใหญ่ เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ของประเทศไทย 18,181 ไร่ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และยังมีระบบนิเวศที่ดี บึงละหานได้รับเลือกให้เข้าอยู่ในทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติของไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับนานาชาติ(Ramsar Site)ต่อสำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีของอนุสัญญาแรมซาร์(Ramsar Convention) อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในการเป็นถิ่นที่อยู่ของนกน้ำ (The Convention on Wetlands of International Importance, especially as Waterfowl Habitat.) และเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 มีมติคณะรัฐมนตรี การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 บึงละหานจึงยังไม่ได้อยู่ในทะเบียนรายชื่อของสำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ แต่เพื่อเป็นการอนุรักษ์แหล่งเพาะพันธ์และอนุบาลสัตว์น้ำจึงมีการกำหนดจุดอนุรักษ์จำนวน 2 จุด คือบริเวณศาลเจ้าพ่อหาญคำและบริเวณวิจัยประมงน้ำจืดจังหวัดชัยภูมิ และขอความร่วมมือชาวประมงไม่ให้จับสัตว์น้ำในบริเวณจุดอนุรักษ์ดังกล่าว.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและบึงละหาน · ดูเพิ่มเติม »

ก้อย

ก้อยปลา ก้อย เป็นอาหารท้องถิ่นทางภาคอีสาน คล้ายกับลาบและส้มตำ นิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ดิบรวมถึงไข่และตัวอ่อนของแมลงทีกินได้ เช่น เนื้อวัว เนื้อกวาง เนื้อเก้ง เนื้อหมูป่า เนื้อปลา (ตะเพียน หรือ ปลาขาว) กุ้งฝอย หอยเชอรี่ กิ้งก่า ไข่มดแดง ไข่แมงมัน ตัวอ่อนตัวต่อเป็นต้น ไม่นิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่ เพราะจะมีกลิ่นคาวและเหม็นสาบรุนแรง.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและก้อย · ดูเพิ่มเติม »

มาริโอ้ เมาเร่อ

มาริโอ้ เมาเร่อ (Mario Maurer) ชื่อเล่น โอ้ เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2531 เป็นนักแสดงชาวไทย เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยได้รับการติดต่อจากโมเดลลิ่งในสยามสแควร์ โดยเริ่มจากงานถ่ายแบบ ถ่ายโฆษณา เช่น โฆษณาเอ็กซิท โรลออน ขนมแจ็ค เดอะพิซซ่าคอมปานี และยังได้ถ่ายแบบอยู่เรื่อยมา อย่าง เธอกับฉัน และหนังสือวัยรุ่นอีกหลายเล่มและถ่ายมิวสิกวิดีโอ อีกหลายตัวเช่น กุญแจที่หายไป ของ ปาล์มมี่, ปากดีขี้เหงาเอาแต่ใจ ของ มิล่า เป็นต้น จนในปี 2550 มีผลงานสร้างชื่อจากภาพยนตร์ไทยเรื่อง รักแห่งสยาม ซึ่งจากบทบาท "โต้ง" ใน รักแห่งสยาม นี้ มาริโอ้ได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากนิตยสารสตาร์พิกส์ รับรางวัลจากเทศกาลหนังซีเนมะนิลา ที่จัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ สาขานักแสดงชายยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงจาก รางวัลเอเชียนฟิล์ม สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม อีกทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิงครั้งที่ 16 ประจำปี 2550 ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม และรางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส ครั้งที่ 6 ในสาขาผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม มาริโอ้ได้ร่วมงานกิจกรรมการกุศลอยู่หลายครั้ง รวมถึงยังเป็นพรีเซนเตอร์ ในวันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี..

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและมาริโอ้ เมาเร่อ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อชื่อปลาทั่วไป

นี่คือรายชื่อชื่อปลาทั่วไป แต่ละชื่ออาจหมายถึงสปีชีส์หรือสกุลเดียว หรือปลาหลายชนิดพร้อมกันก็ได้ นี่เป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ ดูเพิ่มเติมได้ที่ หมวดหมู่ปล.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและรายชื่อชื่อปลาทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสัตว์น้ำ

รายชื่อสัตว์น้ำ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์น้ำทุกไฟลัม สปีชีส์ไว้เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์น้ำ สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์น้ำ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์น้ำที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์น้ำ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ! สัตว์น้ำ หมวดหมู่:อนุกรมวิธาน (ชีววิทยา).

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและรายชื่อสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สกุลบาร์โบนีมัส

กุลบาร์โบนีมัส (Tinfoil barb) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Barbonymus (/บาร์-โบ-นี-มัส/) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ มีครีบหลังที่มีก้านครีบเดี่ยวที่ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ปากล่างมีร่องระหว่างริมปากกับกระดูกขากรรไกร ฐานครีบก้นยาวประมาณร้อยละ 90 ของหัว จะงอยปากไม่มีตุ่มเม็ดสิว มีหนวด 2 คู่ โดยแบ่งเป็นริมฝีปากบน 1 คู่ และมุมปาก 1 คู่ ปลาที่อยู่ในสกุลนี้มีทั้งหมด 10 ชนิด เป็นปลาที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด สกุลนี้ได้รับการตั้งชื่อในปี ค.ศ. 1999 โดยมอริส ก็อตลา ซึ่งเป็นนักมีนวิทยาชาวสวิสที่พำนักอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยแยกออกมาจากสกุล Barbodes โดยคำว่า Barbonymus มาจากคำว่า Barbus ซึ่งเป็นสกุลหนึ่งในวงศ์เดียวกัน ที่เคยรวมกันเป็นสกุลเดียวกันก่อนหน้านั้น และคำว่า ἀνώνυμος (anṓnumos) ในภาษากรีกโบราณ ที่แปลว่า "ที่ไม่ระบุชื่อ" เนื่องจากปลาสกุลนี้ก่อนหน้านี้ขาดชื่อทั่วไปที่เหมาะสม.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและสกุลบาร์โบนีมัส · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9

มเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 347 หรือ พระเจ้าท้ายสระนามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 165 หรือ พระเจ้าภูมินทราชา หรือ พระเจ้าบรรยงก์รัตนาสน์ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอ่างทอง

นที่ท่องเที่ยวจังหวัดอ่างทอง.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอ่างทอง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาตะเพียน

อันดับปลาตะเพียน หรือ อันดับปลากินพืช (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cypriniformes, Carp, Barb, Loach, Minnow, Chinese suckerfish, Garra) เป็นอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปลาตะเพียน, ปลาทอง, ปลาคาร์ป, ปลาซิว เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Cyprinidae มีลักษณะโดยรวมคือ ลำตัวมีเกล็ด ส่วนใหญ่แบนข้าง สันท้องกลมหรือเป็นสันคม ไม่มีหนามที่สันท้อง ตาไม่มีหนังคลุม ปากมีหลายตำแหน่งทั้งอยู่ตรงด้านหน้า เฉียงขึ้น หรืออยู่ทางด้านล่าง บางชนิดยืดหดได้เล็กน้อย บางชนิดมีลักษณะคล้ายปากดูด ส่วนใหญ่ไม่มีฟันบนขากรรไกรหรือบางชนิดที่มีก็มีไม่เกิน 8 ซี่ รอยต่อส่วนปลายของขากรรไกรล่างมีปมยื่นออกมาเรียกว่า ซิมไซซีล นอบ ริมฝีปากบางอาจมีหรือไม่มีติ่งเนื้อ บางชนิดไม่มีริมฝีปาก ไม่มีหนามใต้ตา หรือหน้าตา ช่องเปิดเหงือกกว้างกระดูกโอเพอร์เคิล เจริญดี มีหนวด 1-2 คู่ หรือไม่มี ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังอาจแข็ง หรือไม่แข็ง อาจมีหยักด้านในหรือไม่มี ไม่มีครีบไขมัน มีฟันที่หลอดคอ 1-3 แถว ขอบปากเป็นกระดูกพรีแมคซิลลา ขากรรไกรบนยืดหดได้ บางชนิดครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว มีครีบหลังตอนเดียว ถุงลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองตอน ไม่ถูกแผ่นกระดูกปกคลุมไว้ เป็นปลาที่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาคของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ, ทวีปยูเรเชียและทวีปเอเชีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ พบในน้ำจืดมากกว่าทะเล ส่วนใหญ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีกระเพาะอาหาร แต่ก็มีหลายชนิดที่กินเนื้อหรือแพลงก์ตอน เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยมานานเพราะใช้เป็นอาหาร นอกเหนือจากปลาในวงศ์ Cyprinidae แล้ว ยังมีปลาในวงศ์อื่นอีกที่อยู่ในอันดับนี้ประมาณ 5-6 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและอันดับปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอท่าบ่อ

ท่าบ่อ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดหนอง.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและอำเภอท่าบ่อ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและอุทยานแห่งชาติเอราวัณ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบโตบา

ทะเลสาบโตบา (Lake Toba Danau Toba) เป็นทะเลสาบและซูเปอร์ภูเขาไฟ มีความยาว 100 กิโลเมตร กว้าง 33 กิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดลึก 505 เมตร ตั้งอยู่ที่ทางเหนือของเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย ที่ระดับความสูง 900 เมตร พิกัดตั้งแต่ ถึง เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย และเป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทะเลสาบโตบาเคยเป็นสถานที่เกิดเหตุซูเปอร์ภูเขาไฟปะทุเมื่อประมาณ 69,000-77,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นการปะทุครั้งใหญ่ที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยถูกประมาณให้อยู่ที่ระดับ 8 ของดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ และเป็นเหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่ค้นพบในรอบ 25 ล้านปีที่ผ่านมา ตามทฤษฎีมหันตภัยโตบาแล้ว การปะทุครั้งนั้นส่งผลกระทบไปทั่วโลก มนุษย์ส่วนใหญ่ในขณะนั้นเสียชีวิต และเกิดภาวะคอขวดทางประชากรในแอฟริกาตะวันออกตอนกลางและอินเดีย ซึ่งส่งผลต่อ Genetic inheritance ของมนุษย์ทุกคนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สมมุติฐานนี้ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายเนื่องจากขาดหลักฐานที่แสดงถึงการเสียชีวิตหมู่หรือสูญพันธุ์ของสัตว์ชนิดอื่น แม้แต่สัตว์ที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมGathorne-Hardy, F. J., and Harcourt-Smith, W. E. H.,, Journal of Human Evolution 45 (2003) 227–230.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและทะเลสาบโตบา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระแห

ฝูงปลากระแหที่ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรี ปลากระแห เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B. altus) ที่อยู่สกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15–30 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน (B. gonionotus), ปลาตะเพียนทอง, ปลาแก้มช้ำ (Puntius orphoides) หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ ปลากระแหนิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ชื่อเรียกอื่น ๆ ตามท้องถิ่น เช่น "กระแหทอง" หรือ "ตะเพียนหางแดง", ในภาษาใต้เรียก "ลำปำ", ในภาษาอีสานเรียก "เลียนไฟ", ภาษาเหนือเรียก "ปก" เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลากระแห · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีชนิดปลามากกว่า 200 ชนิด และเป็นปลาเฉพาะถิ่นและปลาท้องถิ่นประมาณ 20 ชนิด โดยปลาในลุ่มแม่น้ำนี้หลายชนิดซ้ำซ้อนกับปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง

แผนที่แสดงสาขาแม่น้ำโขง ปลาในลุ่มแม่น้ำโขงที่วางขายในตลาดสด ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชน.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำหลักของประเทศอีกลุ่มแม่น้ำหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขงหนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม..

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพากเหลือง

ปลาตะพากเหลือง หรือ ปลาตะพากทอง (Golden-bellied barb) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลาตะพากชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาตะพากชนิดที่พบได้หลากหลายและเป็นที่รู้จักกันดีที.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลาตะพากเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนสาน

ปลาตะเพียนสาน เป็นงานประดิษฐ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย เดิมมักใช้ใบลานมาทำเป็นเส้นแผ่นยาว ๆ บาง ๆ มาตากแดด 2-3 นาที แล้วมาสานเป็นรูปปลาตะเพียน เนื่องจากใบลานมีโครงสร้างที่แข็งแรง แล้วลงสีให้สวยงาม จากนั้นก็นำมาประกอบเป็นโมบาย สมัยก่อนคนไทยมีอาชีพทำนากันเป็นส่วนใหญ่ ในคูคลองก็จะมีปลาตะเพียนเป็นจำนวนมาก ปลาตะเพียนสานจึงเป็นสัญญลักษณ์แห่ง ความอุดม สมบูรณ์ เนื่องจากช่วงที่ ปลาโตเต็มที่นั้น เป็นช่วงเดียวกับ ช่วงเวลาที่ ข้าวตกรวง นอกจากนี้ผู้ใหญ่มักจะแขวน ปลาตะเพียนสาน ไว้เหนือเปลเด็ก เพื่อเป็นการอวยพร ให้เด็กสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย และในโอกาสที่มีพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชต..

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลาตะเพียนสาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนทราย

ปลาตะเพียนทราย หรือ ปลาขาวนา ในภาษาอีสาน (Swamp barb) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus) ซึ่งเดิมเคยอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ลำตัวป้อมกว่า หัวมีขนาดเล็ก ปากเล็ก มีหนวด 1 คู่ ลำตัวสีเงินเทา ครีบหลังมีประสีคล้ำ ก้านครีบหลังอันใหญ่มีขอบด้านท้ายเรียบ ครีบหางเว้าลึก ก้านครีบหลังอันใหญ่มีขอบด้านท้ายเรียบ ครีบหางเว้าลึก โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ในฤดูผสมพันธุ์แก้มจะมีแต้มสีส้มอ่อน มีขนาดความยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร มีพฤติกรรมรวมฝูงกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามแหล่งน้ำนิ่งที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอน, สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก และพืชน้ำ จัดเป็นปลาที่พบชุกชุมตามหนองบึง, ทะเลสาบ, อ่างเก็บน้ำ, ลำห้วย และแม่น้ำต่าง ๆ ในภาคกลาง, ภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ในลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย จนถึงเกาะชวา ในอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลาตะเพียนทราย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนทอง

ปลาตะเพียนทอง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus altus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลากระแห (B. schwanenfeldi) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน กล่าวคือ มีเกล็ดตามลำตัวแวววาวสีเหลืองทองเหลือบแดงหรือส้ม ครีบหางเป็นสีส้มหรือสีแดงสด แต่ปลาตะเพียนทองมีเกล็ดขนาดใหญ่กว่า ครีบหลังและครีบหางไม่มีแถบสีดำ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณไม่เกิน 30 เซนติเมตร ปลาตะเพียนทองพบอยู่ทั่วไปตามห้วยหนองคลองบึงและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ของภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมักจะอยู่ปะปนกับปลากระแหและปลาตะเพียนขาว (B. gonionotus) ด้วยกันเสมอ ๆ สำหรับต่างประเทศพบในลาว กัมพูชา และภาคใต้ของเวียดนาม ปลาตะเพียนทองเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดี โดยนิยมบริโภคเป็นอาหารมายาวนานและใช้สานเป็นปลาตะเพียนใบลาน นอกจากนี้ยังเป็นปลาชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "ปลาตะเพียนหางแดง", "ปลาลำปำ" หรือ "ปลาเลียนไฟ" ในภาษาปักษ์ใต้ ซึ่งเป็นชื่อเรียกซ้ำซ้อนกับปลากระแห.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลาตะเพียนทอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนน้ำเค็ม

ปลาตะเพียนน้ำเค็ม หรือ ปลาโคก หรือ ปลามักคา (Shortnose gizzard shad, Chacunda gizzard shad) ปลาน้ำเค็มและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาตะเพียนที่พบในน้ำจืด ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์และต่างอันดับกัน ลักษณะลำตัวป้อมสั้นจะงอยปากสั้นทู่ ตามีเยื่อไขมันหุ้ม ปากเล็ก ท้องแบนเป็นสันคมซึ่งเกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนรูปของเกล็ดไปทำหน้าที่ในการป้องกันตัว ครีบหางเว้าลึก ครีบอื่น ๆ มีขนาดเล็ก สีของลำตัวด้านหลังมีสีดำปนเทา ทางด้านท้องสีขาวเงิน หลังช่องเปิดเหงือกมีจุดสีดำข้างละจุด มีความยาวประมาณ 14-20 เซนติเมตร กินซากสัตว์และพืชเน่าเปื่อยเป็นอาหาร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตามพื้นที่หน้าดินตามชายฝั่งและบริเวณปากแม่น้ำ พบทั่วไปในอ่าวไทย ในต่างประเทศพบในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่อ่าวเปอร์เซีย, ชายฝั่งอินเดีย, ทะเลอันดามัน จนถึงนิวแคลิโดเนีย เป็นปลาเศรษฐกิจ ใช้เนื้อในการรับประทานเป็นอาหาร.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลาตะเพียนน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนแคระ

ปลาตะเพียนแคระ (Pygmy barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายคล้ายกับปลาตะเพียน แต่ลำตัวเรียวยาวกว่า ตาโต ปากมีขนาดเล็ก ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวใสมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน ครีบใส ปลายครีบมีสีดำคล้ำ ตัวผู้มีครีบหลังใหญ่กว่าตัวเมีย ครีบก้นมีแต้มสีดำ ด้านหลังมีสีจาง ๆ มีขนาดความยาว 3-4 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำขึ้นอย่างหนาแน่นในป่าที่ราบต่ำหรือป่าพรุ พบในภาคตะวันออกและภาคใต้ไทย โดยพบได้ตั้งแต่ตอนเหนือของแหลมมลายู จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย กินอหารจำพวก สัตว์น้ำหน้าดินและอินทรียสารต่าง ๆ เป็นอาหาร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลาตะเพียนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตามิน

ปลาตามิน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amblyrhynchichthys truncatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ลำตัวแบนข้าง แต่ส่วนหัวและจะงอยบปากสั้นทู่ หน้าหนัก ปากเล็ก ริมฝีปากบาง ไม่มีหนวด ตามีขนาดใหญ่มีเยื่อไขมันใสคลุม จึงเป็นที่มาของชื่อ ครีบหลังสูง มีก้านแข็งที่ขอบหยัก ครีบหางเว้า เกล็ดมีขนาดใหญ่ปานกลาง ครีบอกสั้น ตัวมีสีเงินวาวตลอดทั้งตัว ไม่มีจุดหรือสีอื่นใด ๆ ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีเหลืองอ่อนใส มีขนาดประมาณ 20 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 40 เซนติเมตร อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่ แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง และพบไปถึงบอร์เนียว เป็นปลาที่กินพืช และแมลง รวมถึงสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น หอย เป็นต้น โดยมีพฤติกรรมหากินตามพื้นท้องน้ำ เป็นปลาที่มักถูกจับได้ครั้งละมาก ๆ มีราคาขายปานกลาง นิยมบริโภคโดยปรุงสดและทำปลาร้า อีกทั้งยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ปลาตามิน ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาตาโป" ในภาษาอีสาน "ปลาตาเหลือก" หรือ "ปลาหนามหลัง" เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลาตามิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแก้มช้ำ

ปลาแก้มช้ำ (Red cheek barb, Javaen barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้ แต่มีรูปร่างป้อมกลมกว่า ด้านข้างแบน หัวเล็ก ปากค่อนข้างเล็กและอยู่ปลายสุด มีหนวดสั้น ๆ และเล็กจำนวน 4 เส้น มีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ สีตามบริเวณลำตัวและหัวจะเป็นสีขาวเงิน หลังสีน้ำตาลอ่อน ฝาปิดเหงือกมีสีแดงหรือสีส้มเหมือนรอยช้ำ อันเป็นที่มาของชื่อ บริเวณหลังช่องเปิดเหงือกมีสีแถบดำ ครีบทั้งหมดมีสีแดง ครีบหางจะมีสีแถบดำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปทุกภูมิภาคของไทย โดยอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และบางครั้งอาจปะปนกับปลาตะเพียนชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาตะเพียนเงิน (Barbonymus gonionotus), ปลาตะเพียนทอง (B. altus) หรือ ปลากระแห (B. schwanenfeldii) เป็นต้น มีชื่อเรียกต่าง ๆ มากมายตามแต่ละภูมิภาค เช่น ภาษาใต้เรียก "ปลาลาบก", ภาษาเหนือเรียก "ปลาปกส้ม", ภาษาอีสานเรียก "ปลาสมอมุก" หรือ "ปลาขาวสมอมุก" เป็นต้น เป็นปลาที่นิยมใช้บริโภคเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยปลาที่ถูกเลี้ยงในตู้กระจกสีสันจะสวยกว่าปลาที่อยู่ในธรรมชาต.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลาแก้มช้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแดงน้อย

ปลาแดงน้อย ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Discherodontus ashmeadi อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลาแดงน้อย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือสุมาตรา

ระวังสับสนกับ ปลาเสือข้างลาย สำหรับ เสือสุมาตรา ที่หมายถึงเสือโคร่งดูที่ เสือโคร่งสุมาตรา ปลาเสือสุมาตรา ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntigrus tetrazona อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนขนาดเล็ก และมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาเสือข้างลาย (P. partipentazona) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกันมาก โดยมีพื้นลำตัวสีเหลืองอมส้มเหมือนกัน ต่างกันที่แถบดำของปลาเสือสุมาตรานั้นมีทั้งหมด 4 แถบ และขนาดลำตัวของปลาเสือสุมาตรานั้นจะใหญ่กว่าเล็กน้อย โตเต็มที่มีขนาดไม่เกิน 7 เซนติเมตร พบในประเทศอินโดนีเซีย ที่เกาะบอร์เนียวและสุมาตรา โดยไม่พบในประเทศไทย มีอุปนิสัยคล้ายคลึงกับปลาเสือข้างลาย คือ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงในบริเวณกลางน้ำ ในแหล่งน้ำสะอาดที่มีพืชพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น อาหารได้แก่ อินทรีย์สารและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ปลาเสือสุมาตรานั้นได้ถูกนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมาช้านานแล้ว ด้วยเป็นปลาที่มีราคาถูก เลี้ยงง่าย เพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย จึงมีผู้เพาะขยายออกเป็นสีสันต่าง ๆ ที่ต่างจากเดิม เช่น ปลาเผือก หรือ ปลาเสือสุมาตราเขียว เป็นต้น ซึ่งอุปนิสัยในสถานที่เลี้ยงนั้น ปลาเสือสุมาตรานับว่าเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มักไล่ตอดปลาชนิดอื่นที่ว่ายน้ำช้ากว่า เช่น ปลาทอง หรือ ปลาเทวดา จึงมักนิยมเลี้ยงแต่เพียงชนิดเดียว หรือเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นที่ใกล้เคียงกันโดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ และด้วยความที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาเสือข้างลายมากประกอบกับที่นิยมเป็นปลาสวยงามมาช้านาน จึงทำให้เกิดความเข้าใจกันอยู่เสมอว่า ปลาเสือสุมาตรานั้นเป็นปลาชนิดเดียวกันกับปลาเสือข้างลายและเป็นปลาพื้นถิ่นของไทย เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลาเสือสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือข้างลาย

ระวังสับสนกับ ปลาเสือสุมาตรา ปลาเสือข้างลาย ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntigrus partipentazona ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ลักษณะคล้ายกับปลาตะเพียนขนาดเล็ก มีพื้นลำตัวสีเหลืองอมส้ม มีจุดเด่นคือ แถบสีดำพาดขวางลำตัวทั้งหมด 5 แถบ 2 แถบแรกพาดผ่านตาและหน้าครีบหลัง แถบที่ 3 พาดผ่านโคนครีบหลังและสันหลัง แถบที่ 4 พาดผ่านโคนครีบก้นและลำตัว ส่วนแถบที่ 5 ที่โคนหาง ครีบหลังสั้นและครีบก้นมีสีเหลือง มีหนวดที่มุมปากบนหนึ่งคู่ แต่แถบที่ 3 นั้นสั้นพาดเพียงครึ่งนึงเท่านั้น ซึ่งปลาเสือข้างลายนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาเสือสุมาตรา (P. tetrazona) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกันมาก แต่ไม่พบในประเทศไทย ปลาเสือข้างลาย จัดเป็นปลาขนาดเล็กมีอุปนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทยและประเทศกัมพูชารวมทั้งลำธารหรือน้ำตกบนภูเขาด้วย โดยมักอาศัยอยู่ในบริเวณกลางน้ำที่มีพืชพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น ขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 5 เซนติเมตร กินอาหารได้แก่ พืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ปลาตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีริมฝีปากแดงเรื่อสดใสเห็นได้ชัดเจน โดยวางไข่ติดกับพืชไม้ชนิดต่าง ๆ ไข่ไว้เวลาฟักเป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง ปลาเสือข้างลาย เป็นปลาน้ำจืดไทยอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม แต่ทว่าที่พบขายกันส่วนใหญ่ในตลาดปลาสวยงาม จะเป็นปลาเสือสุมาตราเสียมากกว.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและปลาเสือข้างลาย · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำบีคลี่

แม่น้ำบีคลี่ เป็นแม่น้ำสายหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ที่ไหลไปรวมกันกับแม่น้ำอีกสองสาย คือ แม่น้ำซองกาเรีย และแม่น้ำรันตี ณ จุดที่เรียกว่า "สามสบ" หรือ "สามประสบ" ที่อำเภอสังขละบุรี บริเวณสะพานมอญ และวัดวังก์วิเวการาม แม่น้ำบีคลี่เป็นแม่น้ำที่ท่วมไหลลึกเข้าไปถึงต้นน้ำ เป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของสัตว์น้ำอันเป็นทรัพยากรที่สำคัญจำนวนมาก เป็นแหล่งอาศัยและแพร่กระจายพันธุ์ของพันธุ์ปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาเค้าดำ, ปลายี่สก, ปลากา, ปลาตะเพียน และปลาเวียน เป็นต้น โดยปลาเหล่านี้จะมีพฤติกรรมการวางไข่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม อันเป็นช่วงฤดูฝน ในบริเวณที่เป็นต้นน้ำจำนวนมาก อีกทั้งยังไหลผ่านชุมชนและหมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยงอีกหลายแห่ง ปัจจุบัน เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดกาญจนบุรีร่วมกับแม่น้ำซองกาเรีย และแม่น้ำรันตี.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและแม่น้ำบีคลี่ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำยม

แม่น้ำยมในจังหวัดแพร่ แม่น้ำยม (20px) เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดอยู่ในป่าดงดิบสูงชันสลับซับซ้อนบนเทือกเขาผีปันน้ำและเทือกเขาแดนลาว ซึ่งอยู่ในเขต พะเยา และแพร่ โดยมีแม่น้ำงิม และ แม่น้ำควร ไหลมาบรรจบกันที่บ้านบุญยืน ตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา มีความยาวประมาณ 735 กิโลเมตร กระแสน้ำไหลผ่านที่ราบสูงของอำเภอปง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ผ่านจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแม่น้ำน่านจะไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายสำคัญของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย สภาพโครงสร้างทางน้ำของแม่น้ำยมมีลักษณะแบบกิ่งไม้ ประกอบด้วยลำน้ำสาขา 77 สาย ระดับน้ำสูงสุดในฤดูฝน ลดลงเมื่อถึงฤดูหนาว และต่ำสุดในฤดูร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: ปลาตะเพียนขาวและแม่น้ำยม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Barbodes gonionotusBarbonymus gonionotusPuntius gonionotusตะเพียนปลาตะเพียนปลาตะเพียนเงิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »