โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาซิวหัวตะกั่วอินเดีย

ดัชนี ปลาซิวหัวตะกั่วอินเดีย

ปลาซิวหัวตะกั่วอินเดีย (Indian glass barb, Indian hatchetfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิวและปลาท้องพลุ ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวรูปร่างกว้าง แบนข้างจนริมท้องเป็นสัน ช่วงท้องลึก มีครีบอกแหลมยาว ก้านครีบของครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้นเดี่ยว เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ ลำตัวมีลักษณะโปร่งแสงเป็นสีเงินแกมเขียวแววาวสะท้อนแสง มีจุดเด่นคือมีลายเส้นจุดสีน้ำเงินเข้มยาวตั้งแต่ฐานครีบอกไปจนถึงฐานของครีบหาง ด้านหลังของลำตัวจะมีสีเข้ม ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนหรือสีส้มปนน้ำตาล มีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะต่าง ๆ สำหรับในประเทศไทยจะพบได้ที่ แหล่งน้ำทางภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ขึ้นครึ้ม กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก เมื่อตกใจสามารถที่จะกระโดดเหินขนานไปกับผิวน้ำได้เป็นระยะทางสั้น ๆ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาแปบ" หรือ "ปลาท้องพลุ".

1 ความสัมพันธ์: ปลาซิวหัวตะกั่ว

ปลาซิวหัวตะกั่ว

ำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่: ปลาหัวตะกั่ว ปลาซิวหัวตะกั่ว หรือ ปลาท้องพลุ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาท้องพลุหรือปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Laubuka (/ลอ-บู-คา/) จัดเป็นปลาซิวขนาดกลาง มีลักษณะทั่วไปคือ ลำตัวแบนข้าง สีลำตัวทั่วไปเป็นสีเงินขาว มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนท้องที่ลึกและกว้างเหมือนอ้วนหรือท้องป่อง เมื่อจับขึ้นมาแล้ว ส่วนท้องจะแตกได้ง่าย อีกทั้งมีจุดสีเงินเข้มที่ส่วนหัว แลดูคล้ายปลาหัวตะกั่ว จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีเส้นข้างลำตัวที่สมบูรณ์ มีก้านครีบท้องยื่นยาวลงมาเป็นเส้นเดี่ยว เดิมทีปลาในสกุลนี้ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela มีพฤติกรรมรวมฝูงเป็นฝูงเล็ก ๆ กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก โดยมีปากที่เชิดขึ้นด้านบน นอกจากนี้แล้วเมื่อตกใจจะสามารถกระโดดขึ้นขนานไปกับผิวน้ำได้เหมือนปลาขวานบิน ซึ่งเป็นปลาในกลุ่มปลาคาราซิน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์จนถึงแหลมมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซียซึ่งพบได้ในทวีปอเมริกาใต้ในประเทศไทยจะพบได้ 2 ชน.

ใหม่!!: ปลาซิวหัวตะกั่วอินเดียและปลาซิวหัวตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Chela laubucaLaubuca laubucaLaubuka laubuca

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »