โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาซักเกอร์ธรรมดา

ดัชนี ปลาซักเกอร์ธรรมดา

ปลาซักเกอร์ธรรมดา หรือ ปลาเทศบาล (common sucker, common pleco; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hypostomus plecostomus) เป็นปลาชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาซักเกอร์ (Loricariidae) เป็นปลาตู้ชนิดหนึ่งที่รู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มีส่วนหัวโต ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่างมีขนาดใหญ่และมีกล้ามเนื้อแข็งแรงสามารถใช้ดูดเกาะติดเป็นสุญญากาศกับตู้กระจกหรือวัสดุต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี มีลำตัวสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวสากและหยาบกร้านมาก หนังมีลักษณะแข็งจนดูเหมือนเกราะ มีลวดลายสีเขียวตามครีบหลังและครีบหาง ตัวผู้มีเงี่ยงแหลมบริเวณครีบอกและข้างหัว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 ฟุต มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้ ปลาซักเกอร์ธรรมดาถูกนำไปยังประเทศต่าง ๆ ที่มิใช่ถิ่นกำเนิดในฐานะเป็นปลาสวยงามที่ใช้ทำความสะอาดเศษอาหารหรือคราบตะไคร่ภายในตู้ ซึ่งในบางครั้งพฤติกรรมของปลาซักเกอร์ธรรมดา ถ้าหากอาหารไม่เพียงพอก็จะก้าวร้าวไล่ดูดเมือกของปลาอื่น จนถึงแก่ความตายก็มี และเนื่องจากเป็นปลาที่มีความสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แม้ในภาวะที่เป็นพิษ หรือแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนละลายในน้ำต่ำกว่ามาตรฐานปกติที่ปลาทั่วไปจะอาศัยอยู่ได้ จึงทำให้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศ ในแม่น้ำแซนแอนโทนีโอ ในรัฐเท็กซัส ของสหรัฐอเมริกา พบได้เพิ่มปริมาณขึ้นเป็นจำนวนมากจนไปกินและทำลายไข่ของปลาเซนทรัลสโตนโรลเลอร์ (Campostoma anomalum) ซึ่งเป็นปลาพื้นเมือง ในส่วนประเทศไทย ขณะนี้กรมประมงได้มีประกาศให้กลายเป็นปลาต้องห้ามสำหรับเลี้ยงและจำหน่ายแล้ว โดยรณรงค์ให้นำไปปรุงเป็นอาหารแทนถ้าหากเจอ แต่ในปัจจุบันได้มีผู้นำไปหลอกขายเป็นปลาปล่อย โดยเรียกว่า "ปลาราหู" สำหรับชื่ออื่น ๆ ที่เรียกกันในภาษาไทย เช่น "ปลากดเกราะ", "ปลากดควาย" หรือ "ปลาดูด" เป็นต้น.

4 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาซักเกอร์ปลาซักเกอร์ปลาซักเกอร์กระโดงสูงนากหญ้า

วงศ์ปลาซักเกอร์

วงศ์ปลาซักเกอร์ (Sucker, Armored catfish) เป็นปลาที่มีวงศ์ใหญ่มากชนิดหนึ่งในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีรูปร่างโดยรวมคือ หัวโต ตาเล็ก มีจุดเด่นคือ ปากขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านล่างที่สามารถเกาะหรือดูดกับวัสดุต่าง ๆ ในน้ำได้ มีลำตัวแข็งและหยาบกร้านดูเหมือนมีเกล็ด แต่ความเป็นจริงแล้ว นั่นคือ ผิวหนังที่พัฒนาจนแข็ง ครีบหลังและครีบหางมีขนาดใหญ่ มีหนวดสั้น บางชนิดไม่มีครีบไขมัน ที่มีครีบไขมันจะมีเงี่ยงแข็งหนึ่งอันอยู่หน้าครีบ มีลำไส้ยาว มีกระดูกสันหลัง 23-38 ข้อ หากินตามพื้นน้ำ โดยกินซากพืชซากสัตว์และสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร ใช้ชื่อวงศ์ว่า Loricariidae (/ลอ-ริ-คา-ริ-ดี/) ตัวผู้จะมีเงี่ยงแหลมยื่นออกมาเห็นได้ชัดบริเวณข้างส่วนหัวและครีบอก เรียกว่า odontodes ในขณะที่ตัวเมียท้องจะอูมกว่า เป็นปลาที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นปลาสวยงาม เช่น ปลาซักเกอร์ธรรมดา (Hypostomus plecostomus) ที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาที่เก็บเศษอาหารที่ปลาอื่นกินเหลือ จนได้อีกชื่อนึงว่า "ปลาเทศบาล" และหลายชนิดก็มีสีสันและรูปร่างที่แปลกตา เช่น ปลาซักเกอร์พานากิ้วลาย (Panaque nigrolineatus), ปลาซักเกอร์บลูพานากิ้ว (Baryancistrus beggini), ปลาซักเกอร์ม้าลาย (Hypancistrus zebra) เป็นต้น ซึ่งผู้ที่นิยมเลี้ยงจะเลี้ยงเพื่อเป็นความสวยงาม ในแวดวงการค้าปลาสวยงามแล้ว ปลาในวงศ์นี้ถูกตั้งชื่อเป็นรหัสต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการเรียกขาน ทั้งนี้เนื่องจากได้มีการค้นพบปลาในวงศ์นี้กว่า 700 ชนิด แต่หลายชนิดยังมิได้ทำการอนุกรมวิธาน จึงมีการตั้งรหัสเรียกแทน โดยใช้ตัวอักษร L (ย่อมาจากชื่อวงศ์) นำหน้าหมายเลข เช่น L-46 เป็นต้น โดยเริ่มจากนิตยสารปลาสวยงามฉบับหนึ่งของเยอรมนีในปี ค.ศ. 1988 สำหรับปลาซักเกอร์ธรรมดาแล้ว เป็นปลาที่มีความอดทนมากในการที่อยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ จึงสามารถทนกับสภาพแวดล้อมทางน้ำของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันกรมประมงได้ประกาศให้เป็นปลาที่ต้องห้าม ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาที่มันแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำธรรมชาติมากจนเกินไปจนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่คุกคามสัตว์น้ำพื้นเมือง สำหรับชื่อสามัญในภาษาอังกฤษแล้ว ยังเรียกปลาในวงศ์นี้อีกว่า "เพลโก" (Pleco) หรือ "เอลเก อีตเตอร์" (Algae eater) เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาซักเกอร์ธรรมดาและวงศ์ปลาซักเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซักเกอร์

ปลาซักเกอร์ (Orinoco sailfin catfish, butterfly pleco; 多輻翼甲鯰) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterygoplichthys multiradiatus ในวงศ์ปลาซักเกอร์ (Loricariidae) มีลำตัวยาว ปากเป็นรูปถ้วยเพื่อใช้ในการดูดอาหารและยึดติดกับก้อนหินหรือวัสดุแข็ง ๆ ต่าง ๆ ในน้ำ ครีบหลังสูงใหญ่ มีก้านครีบเดี่ยวหนึ่งคู่ และมีก้านครีบแข็ง 12-14 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยวหนึ่งก้าน และก้านครีบแขนงสี่ก้าน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยวหนึ่งก้าน และก้านครีบแขนงห้าก้าน ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยวหนึ่งก้าน และก้านครีบแขนงสี่ก้าน ครีบไขมันมีเงี่ยงแหลมหนึ่งก้าน ลำตัวปกคลุมด้วยแผ่นกระดูกแข็งด้านละ 23-24 แผ่นทั่วลำตัวเหมือนสวมใส่เสื้อเกราะ ลำตัว ครีบหลัง ครีบอก ครีบท้องและครีบหางมีจุดสีน้ำตาลหรือดำกระจายไปทั่ว มีการกระจายพันธุ์ในแม่น้ำโอรีโนโก แถบประเทศอาร์เจนตินา, เวเนซุเอลา และตรินิแดด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 50-60 เซนติเมตร ปลาซักเกอร์ชนิดนี้นับเป็นปลาซักเกอร์อีกชนิดหนึ่ง ที่มีการแพร่กระจายไปในหลายพื้นที่เหมือนเช่นปลาซักเกอร์ชนิด Hypostomus plecostomus ซึ่งอยู่ต่างสกุลกัน ด้วยการนำเข้าเป็นปลาสวยงามเพื่อทำความสะอาดในตู้ปลาเหมือนกับปลาซักเกอร์ชนิดอื่น ๆ ทำให้บางคนเรียกปลาชนิดนี้ว่า "ปลาดูดกระจก" ปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นปัญหาชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานแหล่งน้ำรวมถึงสัตว์น้ำของประเทศอื่นที่ได้ไปแพร่กระจายพันธุ์ รวมถึงในประเทศไทย รวมถึงยังมีผู้นำไปหลอกขายเป็นปลาปล่อย โดยเรียกว่า "ปลาราหู".

ใหม่!!: ปลาซักเกอร์ธรรมดาและปลาซักเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซักเกอร์กระโดงสูง

ปลาซักเกอร์กระโดงสูง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterygoplichthys gibbiceps ในวงศ์ปลาซักเกอร์ (Loricariidae) ในอันดับปลาหนัง มีรูปร่างหน้าตาคล้ายปลาซักเกอร์ธรรมดา (Hypostomus plecostomus) แต่มีสีลำตัวที่อ่อนกว่า โดยมีพื้นสีเหลือง และมีจุดสีน้ำตาลเข้มกระจายไปทั่วทั้งตัว มีจุดเด่นคือ ครีบหลังที่สูงใหญ่ เมื่อแผ่ออกมาเต็มที่จะดูคล้ายใบเรือ อันเป็นที่มาของชื่อ สามารถเปลี่ยนสีให้เข้มหรืออ่อนไปได้ตามวัย ขนาดเมื่อโตเต็มที่ราว 40-50 เซนติเมตร พบอาศัยเฉพาะแม่น้ำอเมซอนตอนบนและแม่น้ำโอริโนโคเท่านั้น นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ในประเทศไทยในระยะแรก ปลาซักเกอร์กระโดงสูงเมื่อถูกนำเข้ามามีราคาแพงมาก แต่ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว ทำให้ราคาถูกลงมาก นับเป็นปลาในวงศ์ปลาซักเกอร์ประเภทสวยงามที่มีราคาถูกที่สุด และมีลักษณะใกล้เคียงกับปลาซักเกอร์ธรรมดามากที่สุด โดยมีรหัสทางการค้าว่า L083 หรือ L165.

ใหม่!!: ปลาซักเกอร์ธรรมดาและปลาซักเกอร์กระโดงสูง · ดูเพิ่มเติม »

นากหญ้า

นากหญ้า (Coipú, Nutria) เป็นสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Myocastor coypus อยู่ในวงศ์ Myocastoridae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Myocastor และวงศ์นี้ ด้วยความที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายนาก ซึ่งอยู่ในวงศ์ Lutrinae ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จึงได้ชื่อสามัญว่า "Nutria" ซึ่งในภาษาสเปนหมายถึง "นาก" และกลายมาเป็นชื่อสามัญในภาษาไทยด้วย นากหญ้ามีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ทางตอนใต้ของบราซิล ปารากวัย อุรุกวัย เวเนซุเอลา โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย จัดเป็นสัตว์ฟันแทะที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งเหมือนบีเวอร์หรือคาปิบารา เมื่อโตเต็มที่มีความยาวได้ 37-70 เซนติเมตร หางยาว 24-45 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 3.5-10 กิโลกรัม บางตัวอาจหนักได้ถึง 17 กิโลกรัม ตัวผู้มีน้ำหนักมากกว่าตัวเมีย 3-5 เท่า มีหัวกลม ปากสั้น คอสั้น ใบหูกลมและเล็ก หนวดเป็นเส้นหนา เท้าหลังมีนิ้วทั้งหมด 4 นิ้ว พังผืดยึดระหว่างนิ้วเพื่อช่วยในการว่ายน้ำ ยกเว้นนิ้วสุดท้าย ขณะที่เท้าหน้ามี 5 นิ้ว มีหางยาว ขนชั้นนอกยาวและหยาบ ขณะที่ขนชั้นในอ่อนนุ่ม ขนมีน้ำมันบาง ๆ เคลือบอยู่เป็นมันและไม่อุ้มน้ำขณะว่ายน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกับขนของนาก ซึ่งสีขนอาจแปรเปลี่ยนไปได้ตามฤดูกาล ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงดำแกมแดง ในขณะที่บางตัวอาจมีแต้มสีขาวบริเวณปาก มีพฤติกรรมความเป็นอยู่คล้ายกับนาก คือ จะอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยขุดโพรงริมตลิ่งหรือสร้างรังบนกอพืชน้ำอยู่ แต่กินอาหารจำพวกหญ้าและพืชน้ำและหอยทั้งหอยฝาเดียวและหอยฝาคู่ในบางครั้งด้วย ว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง โดยสามารถดำน้ำได้นานถึง 7 นาที เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 4 เดือน ขณะที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 2-3 กิโลกรัม ตัวเมียมีวงรอบผสมพันธุ์ทุก ๆ 23-26 วัน ตลอดทั้งปี ออกลูกครั้งละ 2-7 ตัว โดยพบมากสุดถึง 13 ตัว ตั้งท้องนาน 123-150 วัน ลูกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวประมาณ 225 กรัม โดยมีขนปกคลุมทั้งลำตัวและดวงตาปิด จะอาศัยอยู่กับแม่ไป 6-10 ปี ตัวเมียมีเต้านม 4-5 คู่ อยู่ด้านข้างลำตัวซึ่งเหมาะกับแก่การให้นมลูกขณะที่ว่ายน้ำไปด้วยได้ มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 10 ปี นากหญ้า ถือเป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ และด้วยความที่มีขนที่มีลักษณะคล้ายขนของนาก จึงทำให้มีความต้องการขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์แทนนาก ที่ถูกล่าอย่างหนักจนถูกขึ้นชื่อไว้เป็นสัตว์อนุรักษ์ในหลายประเทศ จึงมีการเพาะเลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจและมีการส่งออกจากทวีปอเมริกาใต้ไปยังหลายภูมิภาคของโลก เช่น ยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกา รวมถึงเอเชีย ซึ่งในหลายพื้นที่ได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะกลายมาเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่คุกคามความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตพื้นถิ่นในที่นั้น ๆ อีกทั้งยังเป็นพาหะของโรคกลัวน้ำอีกด้วย สำหรับในประเทศไทยเอง ก็ประสบกับปัญหานี้ด้วยเช่นนี้ ได้มีการนำเข้านากหญ้าครั้งแรกมาจากแอฟริกา โดยชาวไต้หวัน โดยถูกเลี้ยงไว้ที่จังหวัดราชบุรี ต่อมาก็ถูกนำไปเลี้ยงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยทหารบกชั้นประทวนผู้หนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2537 ก่อนที่จะแพร่หลายในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ แต่ทว่าเมื่อได้มีการเลี้ยงกันอย่างจริงจังแล้ว ปรากฏว่า ผลตอบรับกลับไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด จึงทำให้มีการปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และกลายเป็นหนึ่งในสัตว์ที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย เช่นเดียวกับ หอยเชอรี่ ปลาซัคเกอร์ หรือตะพาบไต้หวัน.

ใหม่!!: ปลาซักเกอร์ธรรมดาและนากหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Common plecoCommon suckerHypostomus plecostomusPlecostomus plecostomusปลาซัคเกอร์ธรรมดาปลาเทศบาล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »