โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาฉลามหางยาวหน้าหนู

ดัชนี ปลาฉลามหางยาวหน้าหนู

ปลาฉลามหางยาวหน้าหนู หรือ ปลาฉลามหางยาวตาโต (Bigeye thresher shark, False thresher) ปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาฉลามหางยาว (Alopiidae) โดยคำว่า superciliosus ที่ใช้เป็นชื่อวิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาละตินคำว่า super หมายถึง "เหนือ" และ ciliosus หมายถึง "คิ้ว" อันหมายถึง ร่องที่อยู่เหนือดวงตา ปลาฉลามหางยาวตาโต มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับปลาฉลามหางยาวชนิดอื่นทั่วไป มีร่างกายสีเทาออกม่วงกลมกลืนไปกับสีของสภาพแวดล้อม มีดวงตากลมโตรูปลูกแพร์ขนาดใหญ่กว่าปลาฉลามหางยาวชนิดอื่น โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร นับว่าเป็นขนาดของตาของสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ใช่สัตว์จำพวกนก สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพของทะเลลึกที่มืดมิดที่มีปริมาณแสงน้อย นอกจากนี้แล้วยังสามารถที่ปรับอุณหภูมิในร่างกายให้อุ่นกว่าอุณหภูมิของน้ำที่อาศัยอยู่ โดยจะมีอุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 2-4 องศาเซลเซียส ปลาฉลามหางยาวตาโต จัดเป็นปลาฉลามกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดเฉลี่ยประมาณ 4.6 เมตร หรือเล็กกว่านี้ พบใหญ่ที่สุด 4.8 เมตร น้ำหนักประมาณ 360 กิโลกรัม ปลาฉลามหางยาวตาโต อาศัยอยู่ในมหาสมุทรที่มีความลึกกว่า 500 เมตร น้ำมีอุณหภูมิเย็น พบได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก แต่จะพบได้บ่อยที่มหาสมุทรแอตแลนติก รวมถึงบางส่วนในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียด้วย เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไว ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ล่าปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำต่าง ๆ กินเป็นอาหาร โดยใช้ครีบหางท่อนบนที่ยาวใหญ่นั้นตีไล่เหยื่อ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 12-13 ปีในตัวเมีย และ 9-10 ปีในตัวผู้ ลูกปลาเกิดใหม่มีความยาว 70-106 เซนติเมตร โดยเกิดเป็นตัวจากไข่ในช่องท้องของปลาตัวแม่ เป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่งที่ถูกจับและใช้ประโยชน์ในทางการประมง และก็ถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน 10 ชนิดของปลาฉลามที่ถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลก.

1 ความสัมพันธ์: ปลาฉลามหางยาว

ปลาฉลามหางยาว

ปลาฉลามหางยาว (Thresher shark, Long-tailed shark) เป็นปลากระดูกอ่อนประเภทปลาฉลามวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Alopiidae ในอันดับปลาฉลามขาว (Lamniformes) โดยมีเพียงสกุลเดียว คือ Alopias แม้ว่าปลาฉลามหางยาวจะอยู่ในอันดับเดียวกันกับปลาฉลามขาว แต่ปลาฉลามหางยาวมีอุปนิสัยที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง โดยเป็นปลาที่ขี้อาย หาตัวพบเห็นได้ยากมาก แม้ว่าจะพบได้ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก แต่สถานที่ ๆ พบเห็นตัวได้มีเพียงไม่กี่แห่ง ปลาฉลามหางยาว มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเพรียวยาวทรงกระสวย ดวงตากลมโตมีขนาดใหญ่ แต่มีปากขนาดเล็กและส่วนหัวที่กลมเล็ก ลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ครีบหางตอนบนยาวมากอันเป็นลักษณะเด่นและเป็นที่มาของชื่อ ยามเมื่อว่ายน้ำครีบหางส่วนนี้สามารถขยับขึ้นลงได้ด้วย ครีบอกมีขนาดใหญ่ ปลาฉลามหางยาว มีประสาทรับกลิ่นที่ไวมากเช่นเดียวกับปลาฉลามทั่วไป เป็นปลาที่ล่าปลาชนิดอื่นในแนวปะการังกินเป็นอาหาร สามารถพบได้ในระดับความลึกกว่า 150 เมตร จัดเป็นปลาที่พบเห็นได้ยาก โดยแหล่งที่ขึ้นชื่อที่พบเห็นได้บ่อย คือ เกาะมาลาปัสกัว ที่อยู่ทางเหนือของเกาะเซบู ของทะเลฟิลิปปิน จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำดูปลาฉลามหางยาวจนขึ้นชื่อ.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและปลาฉลามหางยาว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Alopias superciliosusBigeye thresherBigeye thresher sharkFalse ThresherFalse Thresher sharkฉลามหางยาวหน้าหนูฉลามหางยาวตาโตปลาฉลามหางยาวตาโต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »