สารบัญ
8 ความสัมพันธ์: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปวงศ์ปลาเนื้ออ่อนปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวินปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลองปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปลาค้าวขาว (สกุล)ปลาค้าวดำ
รายชื่อชื่อปลาทั่วไป
นี่คือรายชื่อชื่อปลาทั่วไป แต่ละชื่ออาจหมายถึงสปีชีส์หรือสกุลเดียว หรือปลาหลายชนิดพร้อมกันก็ได้ นี่เป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ ดูเพิ่มเติมได้ที่ หมวดหมู่ปล.
ดู ปลาค้าวขาวและรายชื่อชื่อปลาทั่วไป
วงศ์ปลาเนื้ออ่อน
วงศ์ปลาเนื้ออ่อน (อังกฤษ: Sheatfish, ชื่อวิทยาศาสตร์: Siluridae) ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) รูปร่างเพรียวยาว ลำตัวแบนข้างมาก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Siluridae (/ไซ-เลอร์-อิ-ดี้/) ส่วนหัวมักแบนราบหรือแบนข้างในบางชนิด ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กและแหลมขึ้นบนขากรรไกรและเป็นแผ่นบนเพดาน มีหนวด 2-3 คู่ ครีบก้นยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว ไม่มีครีบไขมัน ครีบหลังเล็กมาก ไม่มีก้านครีบแข็งแหลมที่ครีบอกและครีบหลัง ครีบหางเว้าตื้นหรือเป็นแฉก ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบท้องเล็ก เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร ได้แก่ แมลงขนาดเล็ก, ปลาขนาดเล็ก, กุ้งฝอย และสัตว์หน้าดินต่าง ๆ วางไข่แบบจมติดกับวัสดุใต้น้ำ กระจายพันธุ์ไกล พบตั้งแต่ยุโรป, เอเชียตอนบน, อินเดียไปจนถึงอินโดนีเชีย เป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย, กัมพูชา เฉพาะที่พบในประเทศไทยมีราว 30 ชนิด ชนิดที่มีขนาดเล็กสุด เช่น ปลาก้างพระร่วง (Krytopterus vitreolus) ที่มีความยาวราว 6.5-8 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ใหญ่ที่สุดคือ ปลาเวลส์ (Silurus glanis) พบในยุโรป ที่สามารถยาวได้ถึง 3 เมตร และหนักกว่า 113 กิโลกรัม และชนิดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทยคือ ปลาค้าวขาว (Wallago attu) ใหญ่ได้ถึง 2 เมตร ตัวอย่างปลาในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน เช่น.
ดู ปลาค้าวขาวและวงศ์ปลาเนื้ออ่อน
ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน
ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน คือ ชนิดของปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า แม่น้ำสาละวิน นับเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่มีความยาว 2,800 กิโลเมตร มีจุดกำเนิดที่เทือกเขาหิมาลัยไหลผ่านประเทศจีน, พม่า, ไทย และไหลลงมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ มีความหลากหลายของชนิดปลาที่พบได้ในแม่น้ำแห่งนี้ ซึ่งรวมถึงแควสาขาของแม่น้ำด้วย เช่น แม่น้ำปาย, แม่น้ำเมย, แม่น้ำยวม, แม่น้ำกษัตริย์, แม่น้ำสุริยะ และรวมไปถึงแม่น้ำอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น แม่น้ำบีคลี, แม่น้ำซองกาเลีย, แม่น้ำรันตี โดยหลายชนิดเป็นปลาในสกุลที่พบได้มากในประเทศอินเดียและอนุทวีปอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกัน หลายชนิด หลายสกุลก็เป็นปลาที่พบเฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินที่เดียวด้ว.
ดู ปลาค้าวขาวและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน
ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีชนิดปลามากกว่า 200 ชนิด และเป็นปลาเฉพาะถิ่นและปลาท้องถิ่นประมาณ 20 ชนิด โดยปลาในลุ่มแม่น้ำนี้หลายชนิดซ้ำซ้อนกับปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง.
ดู ปลาค้าวขาวและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง
แผนที่แสดงสาขาแม่น้ำโขง ปลาในลุ่มแม่น้ำโขงที่วางขายในตลาดสด ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชน.
ดู ปลาค้าวขาวและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง
ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำหลักของประเทศอีกลุ่มแม่น้ำหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขงหนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม..
ดู ปลาค้าวขาวและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ปลาค้าวขาว (สกุล)
ปลาค้าวขาว หรือ ปลาเค้าขาว เป็นสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในอันดับปลาหนังของวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลเป็นภาษาละตินว่า Wallago มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวยาว ลำตัวที่อยู่ค่อนไปทางหางมีลักษณะแบนข้างมาก ส่วนหัวมีขนาดใหญ่และแบน ปากกว้าง ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ อยู่ในขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง มีหนวด 2 คู่ โดยคู่ที่อยู่มุมปากมีลักษณะเรียวยาว ส่วนคู่ที่ใต้คางจะสั้นและเล็กมาก มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบก้นใหญ่และยาวจรดครีบหาง ขอบปลายหางด้านบนจะใหญ่กว่าด้านล่าง พบกระจายพันธุ์โดยทั่วไปตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงแหลมมลายู มีอุปนิสัยคือมักอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นน้ำ กินอาหารจำพวกปลาขนาดเล็กกว่า และออกหากินในเวลากลางคืน ปลาค้าวขาวจัดเป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ ที่พบได้ในทวีปเอเชีย และถือว่าใหญ่เป็นอันดับสองรองจากสกุล Silurus ที่พบได้ในทวีปยุโรป โดยมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร ปัจจุบันพบว่ามีปลาทั้งหมด 2 ชนิดในสกุลนี้ ได้แก.
ดู ปลาค้าวขาวและปลาค้าวขาว (สกุล)
ปลาค้าวดำ
ปลาค้าวดำ หรือ ปลาเค้าดำ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) จัดเป็นปลาที่อยู่ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) ปลาค้าวดำมีรูปร่างลำตัวยาวแต่ค่อนข้างป้อม ลำตัวที่อยู่ค่อนไปทางหางมีลักษณะแบนข้างมาก พื้นลำตัวสีเทาถึงดำสนิท ส่วนหัวมีขนาดใหญ่และแบน ปากกว้าง ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ อยู่ในขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง มีหนวด 2 คู่ โดยคู่ที่อยู่มุมปากมีลักษณะเรียวยาว ส่วนคู่ที่ใต้คางจะสั้นและเล็กมาก มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบก้นใหญ่และยาวจรดครีบหาง ขอบปลายหางด้านบนจะใหญ่กว่าด้านล่าง ส่วนท้องป่องออก ส่วนหลังยกสูงขึ้นกว่าปลาค้าวขาว (Wallago attu) ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่จัดอยู่ในคนละสกุล มีขนาดลำตัวยาวได้ถึง 1 เมตร น้ำหนักกว่า 50 กิโลกรัม โดยอาจยาวได้ถึงกว่า 2 เมตร น้ำหนัก 80 กิโลกรัม สถิติที่ใหญ่ที่สุดพบที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ พฤติกรรมตามปกติ มักจะซุกตัวอยู่นิ่ง ๆ ใต้น้ำ เป็นปลาที่สายตาไม่ดี จึงใช้หนวดในการนำทางและหาอาหาร พบตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั้งภาคกลางและภาคอีสานรวมทั้งภาคใต้ของประเทศไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา, แม่น้ำโขงและสาขา, แม่น้ำตาปีรวมทั้งที่ทะเลสาบสงขลาด้วย เป็นต้น ปลาค้าวดำ มีสถานภาพในปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่งในธรรมชาติ แต่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้โดยสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Great white sheatfishWallago attuWallagonia attuค้าวขาว