โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาขิ้ง

ดัชนี ปลาขิ้ง

ปลาขิ้ง หรือ ปลาขิ่ง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวค่อนข้างโต ปากกว้างและริมฝีปากหนา มีหนวด 2 คู่ ตาโตอยู่ค่อนไปทางด้านบนของส่วนหัว ส่วนแก้มกว้างทำให้ส่วนหัวดูค่อนข้างสูง เกล็ดมีขนาดเล็กหลุดง่าย มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัว 42-45 แถว ลำตัวสีเงินเจือชมพูอ่อน ๆ เหนือครีบอกมีแถบสีดำตามแนวตั้ง ครีบทุกครีบเป็นสีเหลืองอ่อน ปลายครีบหางมีแต้มสีแดงปนส้มทั้ง 2 แฉก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 40 เซนติเมตร เป็นปลาที่กินพืชน้ำและตะไคร่น้ำเป็นอาหาร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็กในแหล่งน้ำไหล พบกระจายพันธุ์ในประเทศพม่า และแม่น้ำสาละวินซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Chagunius ที่พบได้ในประเทศไทย ค้นพบครั้งแรกทางวิทยาศาสตร์ที่ห้วยแม่ละเมา บ้านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่พิกัด 16°48’N, 98°44’E, โดยที่คำว่า Chagunius ดัดแปลงมาจากคำว่า "คากูนี (chaguni)" ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่เรียกปลาสกุลนี้ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย และ baileyi ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักมีนวิทยาชาวอเมริกัน รีฟ เอ็ม. ไบเลย์ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

1 ความสัมพันธ์: ปลาขิ้ง (สกุล)

ปลาขิ้ง (สกุล)

ปลาขิ้ง (Chagunius) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เดิมที ปลาในสกุลนี้ ฮิว แมคคอร์มิค สมิธได้ตั้งสกุลนี้ขึ้นมาโดยใช้ Cyprinus chagunio ที่พบในประเทศอินเดีย เป็นตัวแทนของสกุล มีลักษณะเด่น คือ หัวแบนข้าง มีหนวดยาว 2 คู่ ที่ริมฝีปากบน 1 คู่ และมุมปาก 1 คู่ โดนหนวดที่จมูกมีกล้ามเนื้อเป็นพู ซี่กรองเหงือกคู่แรกเป็นรูปสามเหลี่ยมมี 9 อัน ที่จะงอยปากและแก้มมีติ่งเนื้อขนาดเล็กลักษณะคล้ายหนวดสั้น ๆ ตัวผู้จะมีติ่งเนื้อมากกว่าตัวเมีย ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งและขอบจักเป็นฟันเลื่อย ปัจจุบัน มีทั้งหมด 3 ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอินเดียและพม่า สำหรับประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวในลุ่มแม่น้ำสาละวิน.

ใหม่!!: ปลาขิ้งและปลาขิ้ง (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Chagunius baileyiปลาขิ่ง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »