โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาก้างอินเดีย

ดัชนี ปลาก้างอินเดีย

ปลาก้างอินเดีย หรือ ปลากั๊งอินเดีย (Dwarf snakehead) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างและขนาดลำตัวคล้ายคลึงกับปลาก้าง (C. limbata) ที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์มาก แต่ทว่า ปลาก้างอินเดียนั้นจะมีลำตัวที่ป้อมสั้นกว่า มีจำนวนเกล็ดที่ใต้ขากรรไกรล่างทั้งสองข้างเกล็ดเดียว มีขอบใต้ดวงตาสีแดง และไม่มีครีบท้อง การแพร่ขยายพันธุ์ ปลาเพศผู้จะเป็นฝ่ายอมไข่ในปากจนกว่าลูกปลาจะฟักเป็นตัว และดูแลลูกปลาใกล้ชนิดคู่กับปลาเพศเมีย สีสันบนลำตัวนั้นมีหลากหลายเช่นเดียวกับปลาก้าง มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยพบที่อินเดีย, รัฐอัสสัม, บังกลาเทศ, ปากีสถาน ไปจนถึงตอนใต้ของประเทศจีน นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาก้าง และปลาช่อนเจ็ดสี (C. bleheri) ซึ่งเป็นปลาที่เป็นขนาดเล็กในวงศ์เดียวกันเช่นกัน อนึ่ง ปลาก้างที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์รวมถึงประเทศไทย โดยมากจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa gachua เช่นเดียวกับปลาก้างอินเดีย แต่ทว่าข้อเท็จจริงแล้วปลาทั้ง 2 ชนิดนั้นมีความแตกต่างกันพอสมควร แต่ทว่ายังไม่มีเอกสารหรือการยืนยันอย่างถูกต้องจากฝ่ายวิชาการ โดยในทัศนะของนักมีนวิทยาบางท่านเห็นว่า ปลาก้างชนิดที่พบในในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ สมควรใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa limbata (Cuvier, 1831) หรือ Channa aff.

6 ความสัมพันธ์: ทะเลสาบโตบาปลาช่อนออเรียนตาลิสปลาช่อนแคระปลาช่อนเอเชียปลาช่อนเจ็ดสีปลาก้าง

ทะเลสาบโตบา

ทะเลสาบโตบา (Lake Toba Danau Toba) เป็นทะเลสาบและซูเปอร์ภูเขาไฟ มีความยาว 100 กิโลเมตร กว้าง 33 กิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดลึก 505 เมตร ตั้งอยู่ที่ทางเหนือของเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย ที่ระดับความสูง 900 เมตร พิกัดตั้งแต่ ถึง เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย และเป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทะเลสาบโตบาเคยเป็นสถานที่เกิดเหตุซูเปอร์ภูเขาไฟปะทุเมื่อประมาณ 69,000-77,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นการปะทุครั้งใหญ่ที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยถูกประมาณให้อยู่ที่ระดับ 8 ของดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ และเป็นเหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่ค้นพบในรอบ 25 ล้านปีที่ผ่านมา ตามทฤษฎีมหันตภัยโตบาแล้ว การปะทุครั้งนั้นส่งผลกระทบไปทั่วโลก มนุษย์ส่วนใหญ่ในขณะนั้นเสียชีวิต และเกิดภาวะคอขวดทางประชากรในแอฟริกาตะวันออกตอนกลางและอินเดีย ซึ่งส่งผลต่อ Genetic inheritance ของมนุษย์ทุกคนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สมมุติฐานนี้ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายเนื่องจากขาดหลักฐานที่แสดงถึงการเสียชีวิตหมู่หรือสูญพันธุ์ของสัตว์ชนิดอื่น แม้แต่สัตว์ที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมGathorne-Hardy, F. J., and Harcourt-Smith, W. E. H.,, Journal of Human Evolution 45 (2003) 227–230.

ใหม่!!: ปลาก้างอินเดียและทะเลสาบโตบา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนออเรียนตาลิส

ปลาช่อนออเรียนตาลิส หรือ ปลาช่อนศรีลังกา (Ceylon snakehead) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) เป็นปลาช่อนขนาดเล็กจำพวกปลาช่อนแคระ หรือปลาก้างชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับปลาก้าง (C. limbata) ที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ หรือปลาก้างอินเดีย (C. gachua) ที่พบในอินเดีย โดยไม่มีครีบท้อง ลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาก้างที่พบในเอเชียอาคเนย์มาก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร พบเฉพาะบนเกาะซีลอน หรือศรีลังกาเท่านั้น พฤติกรรมการหากินและการแพร่ขยายพันธุ์เหมือนกับปลาช่อนแคระชนิดอื่น ๆ คือ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายเฝ้าดูแลไข่และลูกอ่อนร่วมกับตัวเมีย โดยมีชื่อพื้นถิ่นในภาษาเบงกาลีว่า ulka Channa orientalis.

ใหม่!!: ปลาก้างอินเดียและปลาช่อนออเรียนตาลิส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนแคระ

ปลาช่อนห้าแถบ (''Channa'' sp. "five striped") เป็นปลาช่อนแคระอีกชนิดหนึ่งที่ยังมิได้มีการระบุชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัด แต่มีลักษณะคล้ายกับปลาช่อนสจวร์ต (''C. stewartii'') โดยมีลายบั้งสีน้ำตาลเข้ม 5 แถบ หรือมากกว่าตามแนวตั้งของลำตัว และไม่มีสีสันสวยงาม ปลาช่อนแคระ (Dwarf snakehead) เป็นชื่อสามัญที่เรียกปลาในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) โดยหมายถึงปลาที่มีขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่แล้วมีขนาดความยาวไม่เกิน 20-30 เซนติเมตร เช่น.

ใหม่!!: ปลาก้างอินเดียและปลาช่อนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนเอเชีย

ปลาช่อนเอเชีย (Asiatic snakehead) สกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ปลาในสกุลนี้ มีรูปร่างโดยรวมคือ รูปร่างเรียวทรงกระบอก ส่วนหัวโตจะงอยปากยื่น ปากกว้าง ตาโต มีฟันเป็นเขี้ยวบนขากรรไกร หัวด้านบนราบ ถ้าดูจากตอนบนจะโค้งมนคล้ายงู ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก เกล็ดใหญ่มีขอบเรียบ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลืบเนื้อสีแดงอยู่ในคอหอย เรียกว่า "Suprabranchia" จึงสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ ลำตัวมีลวดลายและสีสันแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Channa (/ชาน-นา/) ลักษณะสำคัญของสกุลนี้ คือ หัวและแก้มปกคลุมด้วยเกล็ด ฐานครีบหลังยาวกว่าฐานครีบก้น หัวกว้างและแบน ปากกว้าง มุมปากยาวเลยหลังตา นัยน์ตาอยู่ค่อยมาทางปลายจะงอยปาก แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย พบได้ในภูมิภาคเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก มีขนาดรูปร่างแตกต่างกันอย่างมากตามแต่ละชนิด โดยพบมีความยาวตั้งแต่ 1.5 เมตร เช่น C. micropeltes หรือ C. aurolineatus ไปจนถึงไม่ถึงหนึ่งฟุต คือ ปลาช่อนแคร.

ใหม่!!: ปลาก้างอินเดียและปลาช่อนเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนเจ็ดสี

ปลาช่อนเจ็ดสี หรือ ปลาช่อนสายรุ้ง (Rainbow snakehead) เป็นปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa bleheri (โดยคำว่า bleheri เป็นชื่อที่ตั้งเพื่อให้เกียรติแก่ ไฮโค เบลียร์ นักสำรวจปลาชาวเยอรมัน) ในวงศ์ปลาช่อน (Channide) จัดเป็นปลาช่อนขนาดเล็กเช่นเดียวกับปลาก้าง (C. limbata) และปลาก้างอินเดีย (C. gachua) คือ ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดไม่เกิน 20 เซนติเมตร แต่ได้ชื่อว่าเป็นปลาช่อนขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงามมาก โดยมีหลากหลายสีในตัวเดียวกัน ทั้ง ขาว, น้ำเงิน, แดง, ส้ม สลับกันไปบนพื้นลำตัวสีน้ำตาล อีกทั้งครีบต่าง ๆ โดยเฉพาะครีบหูก็มีลวดลายเป็นริ้ว ๆ สีดำอีกด้วย เป็นปลาที่พบได้เฉพาะลุ่มแม่น้ำพรหมบุตรในรัฐอัสสัมและรัฐอรุณาจัลประเทศ ประเทศอินเดียเท่านั้น โดยมีชื่อเรียกในภาษาอัสสัมว่า Sengeli นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาช่อนสวยงามทั่วไป โดยสามารถเลี้ยงรวมกับปลาช่อนสวยงามขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ ได้ เนื่องด้วยปลาในกลุ่มนี้จัดว่ามีอุปนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าว อีกทั้งยังมีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยพฤติกรรมในธรรมชาติ ปลาช่อนกลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ในสภาพที่มีอุณหภูมิหลากหลายเปลี่ยนแปลงต่างขั้วกันในรอบปี ตั้งแต่ฤดูที่มีฝนตกหนัก ฤดูร้อนที่อุณหภูมิร้อนจัด ไปจนถึงฤดูหนาวที่มีการละลายของหิมะจากเทือกเขาสูงตามแนวเทือกเขาหิมาลัย จึงมีพฤติกรรมขุดโพรงลึกตามรากไม้เพื่อจำศีลเข้าสู่ฤดูที่เหมาะสมต่อการหากินและแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป หน้า 103, CHANNA CRAZY คนคลั่งช่อน, "Wild Ambition" โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์ และชัยพัทธ์ งามบุษบงโสภิน.

ใหม่!!: ปลาก้างอินเดียและปลาช่อนเจ็ดสี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาก้าง

ปลาก้าง หรือ ปลากั้ง (Dwarf snakehead, Red-tailed snakehead) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่มีส่วนหัวมนกลมและโตกว่า ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำเงินคล้ำ และมีลายประหรือจุดสีคล้ำ ท้องสีจาง โคนครีบอกมีลายเส้นสีคล้ำเป็นแถบ 4-6 แถบ ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเทาหรือน้ำเงินเรือ ขอบมีสีส้มหรือสีจาง มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพม่า, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเชีย, บาหลี โดยอาจพบได้ถึงต้นน้ำหรือลำธารบนภูเขา ปลาก้าง จัดว่าเป็นหนึ่งชนิดของปลาวงศ์นี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด กล่าวคือ มีขนาดโตเต็มที่ได้ไม่เกิน 1 ฟุต นับเป็นปลาที่พบได้ทุกแหล่งน้ำของประเทศไทย โดยอาจจะเรียกชื่อเพี้ยนไปตามถิ่นว่า "ปลากั๊ง" หรือ "ปลาขี้ก้าง" หรือ "ปลาครั่ง" มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้เป็นผู้อมไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ปลาก้างยังถือเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่ไม่มีการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์เหมือนปลาช่อนชนิดอื่น และยังพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ถือเป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่ายมาก ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และอมไข่จนกระทั่งฟักเป็นตัว และเลี้ยงลูกปลาในระยะวัยอ่อนพร้อมกับตัวเมีย โดยปลาที่พบในแหล่งน้ำแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกันด้านสีสัน เช่น ในเทือกเขาสูงในประเทศลาว พบปลาที่มีครีบหลังสีแดงสดเหมือนสีของไฟ อนึ่ง ปลาก้างโดยมากจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa gachua เช่นเดียวกับปลาก้างอินเดีย แต่ทว่าข้อเท็จจริงแล้วปลาทั้ง 2 ชนิดนั้นมีความแตกต่างกันพอสมควร แต่ทว่ายังไม่มีเอกสารหรือการยืนยันอย่างถูกต้องในเชิงวิชาการ โดยในทัศนะของนักมีนวิทยาบางท่านเห็นว่า ปลาก้างชนิดที่พบในในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ สมควรใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa limbata (Cuvier, 1831) หรือ Channa aff.

ใหม่!!: ปลาก้างอินเดียและปลาก้าง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Channa gachuaปลากั๊งอินเดีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »