โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลากัด

ดัชนี ปลากัด

ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.

50 ความสัมพันธ์: ชาลส์ เทต รีกันพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)พุฒ ล้อเหล็กพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์มาริโอ้ เมาเร่อมิตร ชัยบัญชารายชื่อชื่อปลาทั่วไปรายชื่อสัตว์น้ำรายชื่อปลาน้ำจืดวงศ์ย่อยปลากัดวงศ์ย่อยปลาหมอจำปะวงศ์ปลากัด ปลากระดี่วงศ์ปลาเข็มสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนสุดยอดสิ่งมีชีวิตหยกไท ศิษย์ อ.หูกวางออรันดาอันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่ด้วงกว่างด้วงกว่างชนงูกระด้างปลาปลาพาราไดซ์ปลากริมปลากริมมุกปลากริมข้างลายปลากัดปลากัด (สกุล)ปลากัดช้างปลากัดหัวโม่งจันทบุรีปลากัดอมไข่กระบี่ปลากัดอมไข่สงขลาปลากัดปีนังปลากัดป่าภาคใต้ปลากัดป่ามหาชัยปลากัดเขียวปลากดเกราะปลาสวยงามปลาหมอจำปะปลาหมอทะเลปลาหัวงอนปลาหัวตะกั่วปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวินปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลองปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปลาดุกบอนปลาเข็มปลาเข็มหม้อแฟนพันธุ์แท้ ซูเปอร์แฟน

ชาลส์ เทต รีกัน

ลส์ เทต รีกัน (Charles Tate Regan) นักมีนวิทยาชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 ที่เมืองเชอร์บอร์น มณฑลดอร์เซต จบการศึกษาจากโรงเรียนดาร์บีและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 1901 รีกันได้เข้าทำงานในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ และเป็นนักสัตววิทยาประจำพิพิธภัณฑ์ระหว่างปี ค.ศ. 1927-ค.ศ. 1938 ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอนในปี ค.ศ. 1917 รีกัน เป็นนักมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งคนหนึ่ง โดยเป็นผู้ศึกษาและอนุกรมวิธานปลาชนิดต่าง ๆ มากมาย เช่น ปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae), การบรรยายลักษณะต่าง ๆ ของปลาในวงศ์ปลาตาเหลือกยาว (Elopidae) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุกรมวิธานปลากัดไทย หรือ ปลากัดสยาม (Betta splendens) ที่มีชื่อเสียง รีกันได้ร่วมทำงานกับนักมีนวิทยาชาวอังกฤษอีกคนที่มีชื่อเสียง คือ อีเทลเวนน์ เทรวาวาส ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ได้มีปลาจำนวนมากที่ถูกตั้งชื่อชนิดเพื่อเป็นเกียรติแก่รีกัน โดยจะใช้ชื่อว่า regani อาทิ Anadoras regani, Apistogramma regani, Julidochromis regani เป็นต้น ชาลส์ เทต รีกัน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1943.

ใหม่!!: ปลากัดและชาลส์ เทต รีกัน · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)

ระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปญฺโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของศาสนาพุทธได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ และท่าน..

ใหม่!!: ปลากัดและพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) · ดูเพิ่มเติม »

พุฒ ล้อเหล็ก

ล้อเหล็ก หรือชื่อจริง ทวี พิพัฒกุล เป็นนักมวยไทยระดับแถวหน้า โดยเป็นแชมป์ของสนามมวยเวทีลุมพินี และเวทีราชดำเนิน ฉายา ไอ้หนูเมืองตรัง มีชื่อเสียงระหว่าง..

ใหม่!!: ปลากัดและพุฒ ล้อเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์

ผู้ว่า ฯ ในปี พ.ศ. 2547 ที่เยาวราช นายพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์ เกิดวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2491 สมรสกับ นางอุษา ถนอมพงษ์พันธ์ มีบุตร-ธิดา 2 คน สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนเทศบาลวัดจักรวรรดิ, มัธยมศึกษา จากโรงเรียนปทุมคงคา, ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมีฟิสิกส์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท วิศวอุตสาหกรรม (IIT) สถาบันเทคโนโลยีของอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นอาจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า บางมด 1 ปี, ธนาคารหวั่งหลี 2 ปี ออกมาทำกิจการค้าเงินตราต่างประเทศ 1 ปี แล้วมาทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด, ผู้จัดการสำนักค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ เชี่ยวชาญด้านการเงินจนได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "ขงเบ้งการเงิน" เป็น..กรุงเทพฯ เขต 8 พรรคพลังธรรม ปี..

ใหม่!!: ปลากัดและพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

มาริโอ้ เมาเร่อ

มาริโอ้ เมาเร่อ (Mario Maurer) ชื่อเล่น โอ้ เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2531 เป็นนักแสดงชาวไทย เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยได้รับการติดต่อจากโมเดลลิ่งในสยามสแควร์ โดยเริ่มจากงานถ่ายแบบ ถ่ายโฆษณา เช่น โฆษณาเอ็กซิท โรลออน ขนมแจ็ค เดอะพิซซ่าคอมปานี และยังได้ถ่ายแบบอยู่เรื่อยมา อย่าง เธอกับฉัน และหนังสือวัยรุ่นอีกหลายเล่มและถ่ายมิวสิกวิดีโอ อีกหลายตัวเช่น กุญแจที่หายไป ของ ปาล์มมี่, ปากดีขี้เหงาเอาแต่ใจ ของ มิล่า เป็นต้น จนในปี 2550 มีผลงานสร้างชื่อจากภาพยนตร์ไทยเรื่อง รักแห่งสยาม ซึ่งจากบทบาท "โต้ง" ใน รักแห่งสยาม นี้ มาริโอ้ได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากนิตยสารสตาร์พิกส์ รับรางวัลจากเทศกาลหนังซีเนมะนิลา ที่จัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ สาขานักแสดงชายยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงจาก รางวัลเอเชียนฟิล์ม สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม อีกทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิงครั้งที่ 16 ประจำปี 2550 ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม และรางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส ครั้งที่ 6 ในสาขาผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม มาริโอ้ได้ร่วมงานกิจกรรมการกุศลอยู่หลายครั้ง รวมถึงยังเป็นพรีเซนเตอร์ ในวันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี..

ใหม่!!: ปลากัดและมาริโอ้ เมาเร่อ · ดูเพิ่มเติม »

มิตร ชัยบัญชา

มิตร ชัยบัญชา (28 มกราคม พ.ศ. 2477 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2513) หรือชื่อจริง พันจ่าอากาศโท พิเชษฐ์ ชัยบัญชา (นามสกุลเดิม พุ่มเหม) เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงปล..

ใหม่!!: ปลากัดและมิตร ชัยบัญชา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อชื่อปลาทั่วไป

นี่คือรายชื่อชื่อปลาทั่วไป แต่ละชื่ออาจหมายถึงสปีชีส์หรือสกุลเดียว หรือปลาหลายชนิดพร้อมกันก็ได้ นี่เป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ ดูเพิ่มเติมได้ที่ หมวดหมู่ปล.

ใหม่!!: ปลากัดและรายชื่อชื่อปลาทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสัตว์น้ำ

รายชื่อสัตว์น้ำ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์น้ำทุกไฟลัม สปีชีส์ไว้เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์น้ำ สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์น้ำ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์น้ำที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์น้ำ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ! สัตว์น้ำ หมวดหมู่:อนุกรมวิธาน (ชีววิทยา).

ใหม่!!: ปลากัดและรายชื่อสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อปลาน้ำจืด

รายชื่อปลาน้ำจื.

ใหม่!!: ปลากัดและรายชื่อปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลากัด

วงศ์ย่อยปลากัด (Fighting fish & Paradise fish) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ที่มีอวัยวะหายใจลักษณะคล้ายเขาวงกต ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macropodusinae เป็นปลาขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่แล้วไม่เกินนิ้วมือของมนุษย์ จัดเป็นวงศ์ย่อยที่มีความหลากหลายที่สุดของวงศ์ใหญ่นี้ เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยเฉพาะตัวผู้ จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยสมาชิกที่เป็นที่รู้จักกันดีของวงศ์ย่อยนี้ คือ ปลากัด มีพฤติกรรมการวางไข่ทั้งก่อหวอดและอมไข่ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: ปลากัดและวงศ์ย่อยปลากัด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาหมอจำปะ

วงศ์ย่อยปลาหมอจำปะ (Combtail gourami) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อวงศ์ว่า Belontiinae ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) ซึ่งมีอยู่เพียงสกุลเดียวเท่านั้น คือ Belontia (/เบ-ลอน-เทีย-อา/) โดยมาจากชื่อหมู่บ้านเบลออนท์จา (Belontja) ซึ่งเป็นหมู่บ้านในเมืองปาเลมบังในประเทศอินโดนีเซีย มีรูปร่างโดยรวมเหมือนปลากัดผสมกับปลาหมอ แต่มีลำตัวแบนข้างและกว้างมากกว่า ครีบหางมนกลม ครีบท้องเล็ก ครีบหลังใหญ่และแหลม ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยวยื่นออกมาเป็นเส้นยาว ปลายของครีบหลังและครีบก้นยื่นออกมาเป็นเส้นเดี่ยว ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 16-20 ก้าน และก้านครีบแขนง 9-13 แขนง ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 13-17 ก้าน และก้านครีบแขนง 10-13 ก้าน ลำตัวจะมีสีน้ำตาลเหลืองคล้ำหรือน้ำตาลแดง มีขนาดความยาวตั้งแต่ 5 นิ้ว จนถึง 20 เซนติเมตร ทำรังโดยตัวผู้ก่อหวอดเหมือนปลากัดหรือปลากระดี่ ตัวมีขนาดใหญ่และสีสดกว่าตัวเมีย พบเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ.

ใหม่!!: ปลากัดและวงศ์ย่อยปลาหมอจำปะ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Labyrinth fishes, Gouramis, Gouramies) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์ใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Osphronemidae (/ออฟ-โฟร-นิ-มิ-ดี้/) พบกระจายอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาหลี โดยมากปลาที่อยู่ในวงศ์นี้จะมีลักษณะเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวป้อมแบน เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ มีสีสันสวยงาม ตัวผู้มีขนาดใหญ่และสีสดสวยกว่าตัวเมีย ครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใช้สำหรับสัมผัส มีความสามารถพิเศษคือ มีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป จึงสามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ มักอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น ห้วย, หนอง, บึง, นาข้าว หรือ ร่องสวนมากกว่าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น คลอง หรือ แม่น้ำ ในบางสกุล ตัวผู้จะใช้น้ำลายผสมกับอากาศเรียกว่า "หวอด" ก่อติดกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อวางไข่ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ในบางชนิดตัวผู้เมื่อพบกันจะกัดกันจนตายกันไปข้าง ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีสีสันสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าบริโภค เป็นที่รู้จักกันดีเช่น ปลากัด (Betta spendens), ปลากระดี่นางฟ้า (Trichogaster trichopterus) ปลาพาราไดซ์ (Macropodus opercularis) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปลาบางชนิดเป็นปลาเศรษฐกิจที่นำมาบริโภคได้ เช่น ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis) และปลาแรด (Osphronemus goramy) สำหรับปลาแรดซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 90 เซนติเมตร และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ตลอดไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ปลากัดและวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาเข็ม

วงศ์ปลาเข็ม (Wrestling halfbeak, Halfbeak) เป็นวงศ์ของปลาจำพวกหนึ่ง ที่พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Hemiramphidae เดิมเคยถูกจัดให้เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลานกกระจอก (Exocoetidae) ซึ่งเป็นปลาทะเล มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ ลำตัวเรียวยาว ท่อนหัวค่อนข้างกลม ท่อนหางแบนข้าง ปากล่างยื่นยาวเป็นจะงอยแหลมคล้ายปากนก ปากบนสั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม มีฟันรูปสามเหลี่ยมอยู่ที่ปากบนและมีฟันที่ปากล่างมีเฉพาะบริเวณที่อยู่ใต้ปากบน แต่ในบางชนิดมีฟันที่ปากล่างเรียงเป็นแถวตลอดทั้งปาก ส่วนโคนของปากล่างเชื่อมติดต่อกันกับกะโหลกหัวจึงเคลื่อนไหวไม่ได้ ปากบนเท่านั้น มีเกล็ดแบบสาก ครีบทั้งหมดบางใส ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหาง ตำแหน่งของครีบหางและขนาดของครีบก้นเป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกสกุล ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบอกค่อนข้างใหญ่อยู่ใกล้แนวสันหลัง ครีบหางของสกุลที่อาศัยอยู่ในทะเลมักมีลักษณะเว้าลึก ปลายแยกออกจากกันเป็นแฉก แฉกบนเล็กกว่าแฉกล่าง ส่วนสกุลที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดมักมีครีบหางที่มนกลม เป็นปลาที่มีทั้งออกลูกเป็นไข่และออกลูกเป็นตัว โดยพวกที่ออกลูกเป็นตัว มักจะเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด และที่ออกลูกเป็นไข่มักเป็นปลาทีอาศัยอยู่ในทะเล เป็นปลากินเนื้อ มักว่ายหากินเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ กินอาหารจำพวก แมลงและลูกปลาหรือสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของเขตร้อนทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย เป็นปลาที่สามารถพบเห็นได้ง่ายในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคและแทบทุกประเภทของแหล่งน้ำ มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันออกไป เช่น "ตับเต่า", "ปลาเข็ม" หรือ "สบโทง" มีความสำคัญในแง่ของการใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และในบางชนิดก็นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้ต่อสู้เป็นการพนันเช่นเดียวกับปลากัดด้ว.

ใหม่!!: ปลากัดและวงศ์ปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

รานุกรมไทยสำหรับเยาวชน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสารานุกรมภาษาไทยจัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม โดยมีเนื้อหาบางส่วนเผยแพร่ในระบบออนไลน์ เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของเรื่องต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ให้แก่เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน.

ใหม่!!: ปลากัดและสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน · ดูเพิ่มเติม »

สุดยอดสิ่งมีชีวิต

อดสิ่งมีชีวิต (The Most Extreme) เป็นรายการซีรีส์หนึ่งของเคเบิลทีวีอเมริกา ในช่องอนิมอล เพลเน็ท (Animal Planet) ออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ในแต่ละตอนจะมุ่งประเด็นไปที่ความสามารถต่าง ๆ ของสัตว์ เช่น ความแข็งแกร่ง ความเร็ว จ้าวเสน่ห์ ยอดนักรบ จอมเขมือบ ฯลฯ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่แสดงความสามารถออกมา แล้วนำเสนอในมุมมองที่แปลก ๆ ของสัตว์ชนิดต่าง ๆ อย่างไรก็ดีการจัดอันดับสัตว์ต่าง ๆ ในรายการไม่ได้อ้างอิงโดยผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์เฉพาะด้าน สุดยอดสิ่งมีชีวิต จะเริ่มรายการโดนการตั้งประเด็นคำถามก่อน แล้วเป็นการไล่ลำดับของสัตว์ในด้านต่าง ๆ ขึ้นมา ตั้งแต่ลำดับสุดท้ายจนถึงลำดับแรก พร้อมกับมีคำอธิบายและการเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์กราฟิก เพื่อเป็นการให้ผู้ชมมองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นสุดยอดสิ่งมีชีวิตตอน "สุดยอดฉลาม" มีการเปรียบเทียบฉลามหัวค้อน (Hammerhead shark) ที่มีสัมผัสสุดยอดทางการมองและการดมกลิ่น รวมไปถึงสัมผัสพิเศษในการตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเปรียบเทียบกับทีมนักเจาะระบบเครือข่ายข้อมูล (Hacker) ที่สามารถแกะรอยการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายแบบไร้สายได้ ปัจจุบันออกฉายในประเทศไทยทาง Animal Planet ทรูวิชั่นส์ช่อง 50.

ใหม่!!: ปลากัดและสุดยอดสิ่งมีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

หยกไท ศิษย์ อ.

หยกไท ศิษย์ อ. มีชื่อจริงคือ มานิตย์ กลิ่นมี เกิดวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ที่จังหวัดชลบุรี มีสถิติการชกทั้งหมด 38 ครั้ง ชนะ 29 (น็อค 18) เสมอ 3 แพ้ 6.

ใหม่!!: ปลากัดและหยกไท ศิษย์ อ. · ดูเพิ่มเติม »

หูกวาง

''Terminalia catappa'' หูกวาง เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8-25 เมตร มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก มีสีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อม ๆ แบนเล็กน้อยคล้ายเมล็ดแอลมอนด์ มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเขียว เมื่อแห้งมีสีดำคล้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงภูมิภาคโอเชียเนียและหมู่เกาะฮาวาย โดยมักจะพบประจำที่บริเวณชายหาดหรือป่าชายหาดริมทะเล เพราะเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินแบบดินร่วนปนทราย มีประโยชน์โดยเปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้อาการท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผลรับประทานได้ และให้น้ำมันคล้ายน้ำมันอัลมอนด์ นอกจากนี้แล้วใบของหูกวางโดยเฉพาะใบแห้ง เป็นที่รู้จักดีของผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลากัด เนื่องจากใช้ใบแห้งหมักน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาได้ เพราะสารแทนนินในใบหูกวาง จะทำให้สภาพน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) สูงขึ้น เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงปลาที่มาจากแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดสูง ทั้งนี้ยังช่วยลดการสะท้อนแสงของน้ำ เพื่อให้ปลาสบายตา ไม่เสียสายตา รู้สึกปลอดภัย ไม่ใช้ปากคีดกระจก และใช้รักษาอาการบาดเจ็บของปลากัดได้เป็นอย่างดี เพราะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี หูกวางเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตราด และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสยาม หูกวางยังมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ละจังหวัดหรือภูมิภาคด้วย เช่น โคน (นราธิวาส), ดัดมือ หรือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลากัดและหูกวาง · ดูเพิ่มเติม »

ออรันดา

ออรันดา (Oranda) เป็นสายพันธุ์ของปลาทองชนิดหนึ่งที่เกิดจากการนำปลาทองสายพันธุ์ริวกิ้น และสายพันธุ์หัวสิงห์มาผสมกัน จัดเป็นปลาทองอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีประวัติสายพันธุ์ที่ยาวนาน.

ใหม่!!: ปลากัดและออรันดา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่

อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่ (อันดับย่อย: Anabantoidei) เป็นอันดับย่อยของปลาที่อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ซึ่งทั้งหมดเป็นปลาที่อยู่ในน้ำจืดทั้งหมด โดยจะพบในทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabantoidei (/อะ-นา-เบน-ทอย-เดีย/) ส่วนมากเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ไม่เกินฝ่ามือของมนุษย์ แต่จะมีบางสกุลเท่านั้นที่ใหญ่ได้ถึงเกือบหนึ่งเมตร ได้แก่ Osphronemus หรือสกุลปลาแรด ปลาในอันดับนี้จะถูกเรียกในชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "Labyrinth fish" หรือ "ปลาที่มีอวัยวะช่วยในการหายใจ" เพราะปลาในอันดับนี้จะมีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนปลาทั่วไป Pinter, H. (1986).

ใหม่!!: ปลากัดและอันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่ · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกว่าง

้วงกว่าง หรือ กว่าง หรือ แมงกว่าง หรือ แมงกวาง หรือ แมงคาม เป็นแมลงในวงศ์ย่อย Dynastinae จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ Scarabaeidae ในอันดับแมลงปีกแข็ง (Coleoptera).

ใหม่!!: ปลากัดและด้วงกว่าง · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกว่างชน

้วงกว่างชน หรือ ด้วงกว่างโซ้ง (Siamese rhinoceros beetle, Fighting beetle) อยู่ในวงศ์ Dynastinae ลำตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอกยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น 2 แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น 2 แฉก บางตัวใต้ท้องอาจมีขนสีเหลืองอ่อนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ ในตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1-2 นิ้ว ขณะที่ตัวเมียจะมีความเล็กกว่า พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชนิดย่อยทั้งหมด 4 ชน.

ใหม่!!: ปลากัดและด้วงกว่างชน · ดูเพิ่มเติม »

งูกระด้าง

งูกระด้าง เป็นงูพิษอ่อนชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์งูน้ำ (Homalopsidae) ซึ่งจัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Erpeton.

ใหม่!!: ปลากัดและงูกระด้าง · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: ปลากัดและปลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาพาราไดซ์

ปลาพาราไดซ์ (Paradise fish, Paradise gourami) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macropodus opercularis อยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) จึงมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่มีความวนเวียนเหมือนเขาวงกต เหมือนเช่นปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน ทำให้สามารถขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำได้โดยตรง และสามารถอยู่ในบริเวณที่มีออกซิเจนต่ำได้ โดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายลงในน้ำก่อนเช่นปลาทั่วไป มีขนาดความยาวลำตัว ประมาณ 7.5 เซนติเมตร มีลำตัวค่อนข้างกว้าง แบนข้าง หัวเล็ก นัยน์ตาโต ปากอยู่หน้าสุด ริมฝีปากยืดหดได้ มีฟันบนกระดูกเพดานปาก เส้นข้างตัวไม่สมบูรณ์ มีลักษณะเด่นอยู่ที่ครีบหลัง ครีบหลัง ครีบท้อง และครีบก้น มีปลายที่ยื่นยาวเป็นเส้นสวยงาม ครีบท้องและครีบหางเป็นสีส้มแดง ครีบหลังมีก้านครีบแขนงไม่เกิน 10 ก้าน ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบอกบางใส ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว อันแรกยื่นออกมาเป็นเส้นยาว ครีบหางมีปลายครีบตัดตรง สีพื้นลำตัวเป็นสีเขียวมีลายสีส้มขวางลำตัวจำนวน 9 แถบ ตัวผู้จะมีสีสันสวยสดกว่าตัวเมีย เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น ไต้หวัน, จีน, ฮ่องกง, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้ และตอนเหนือของเวียดนาม โดยอาศัยอยู่ตามหนองบึง นาข้าว เหมือนกับปลากัดหรือปลากระดี่โดยตัวผู้จะมีการก่อหวอด กินอาหารจำพวก ลูกน้ำ, ลูกไร หรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก มีการผสมพันธุ์และดูแลไข่เหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ ปลาพาราไดซ์ มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว แต่สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีการเพาะขยายพันธุ์จนมีสีสันต่าง ๆ ที่แปลกออกไปจากชนิดที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น สีเผือกทั้งตัว หรือ สีเขียว เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลากัดและปลาพาราไดซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากริม

ปลากริม เป็นสกุลปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Trichopsis (/ไทร-ช็อป-ซิส/) ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายปลาในสกุลปลากัด (Betta spp.) แต่มีรูปร่างและขนาดที่เล็กกว่า ส่วนหัวจะแหลมกว่า จะมีแถบลายพาดขวางในแนวนอนประมาณ 2-3 แถบที่ข้างลำตัว และมีสีสันไม่สดเท่า ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยวยื่นออกมาเป็นเส้นยาว ครีบหางปลายแหลมคล้ายใบโพ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 2-6 ก้าน และก้านครีบแขนง 19-28 ก้าน พบได้ทั่วไปในทุกแหล่งน้ำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในนาข้าว, ท้องร่องสวน จนถึงแม่น้ำลำคลองขนาดใหญ่ มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงขนาดเล็ก มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มีกัดกันเองบ้างในฝูง แต่ไม่ถึงขั้นกัดกันถึงตายเหมือนเช่นปลาในสกุลปลากัดบางชนิด อาทิ Betta spendens แต่มีจุดเด่น คือ สามารถส่งเสียงดัง "แตร็ก ๆ ๆ" ได้ พร้อมกับกางครีบ เมื่อต้องการขู่ผู้รุกราน ซึ่งเป็นเสียงของการเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่ข้างถุงลม เป็นปลาที่จำแนกเพศได้ยากกว่าปลาในสกุลปลากัด แต่ทว่าก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ ตัวเมียจะมีขนาดเล็กและครีบต่าง ๆ สั้นกว่า รวมถึงสีสันก็อ่อนกว่าตัวผู้ เมื่อผสมพันธุ์จะจับคู่กันเองในฝูง โดยที่ตัวผู้เป็นฝ่ายก่อหวอดและเฝ้าดูแลไข่จนฟักเป็นตัว และเลี้ยงดูในระยะแรก ปัจจุบัน พบทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ปลากัดและปลากริม · ดูเพิ่มเติม »

ปลากริมมุก

ปลากริมมุก หรือ ปลากริมสี (Pygmy gourami) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเรียวยาว แบนข้าง ปากมีขนาดเล็ก พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว เกล็ดข้างลำตัวสะท้อนแสงแวววาว ข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำพาดยาวตามความยาวลำตัว 1 แถบ เหนือแถบมีจุดสีน้ำตาลกระจายเรียงเป็นแถว ครีบมีลักษณะโปร่งใสและมีจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่ว ปลายหางมน ตรงกลางเป็นติ่งยื่นยาวเล็กน้อย ปลายขอบครีบมีสีแดงสด มีขนาดความยาวไม่เกิน 4 เซนติเมตร จัดเป็นปลากริมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก พฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำนิ่งตื้น ๆ ขนาดเล็ก เช่น หนองหรือบึงน้ำ พบได้ในประเทศไทยทุกภาค และพบทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีนิสัยก้าวร้าวชอบกัดกันเองในฝูงอยู่เป็นประจำ แต่ไม่ขั้นกัดกันจนตายเหมือนปลากัด สามารถฮุบอากาศเหนือผิวน้ำได้โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาชนิดอื่น ปลาตัวผู้มีสีสดกว่าตัวเมีย แพร่พันธุ์ด้วยการก่อหวอดใต้ร่มไม้หรือติดกับพืชน้ำ ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 2 วัน โดยตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อน โดยไม่ให้ตัวเมียเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วยเลย นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม.

ใหม่!!: ปลากัดและปลากริมมุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลากริมข้างลาย

ำหรับปลากัดป่าที่หมายถึงปลากัด ดูที่: ปลากัดป่า ปลากริมข้างลาย หรือ ปลากริมควาย หรือ ปลากัดป่า (Croaking gourami) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) จัดเป็นปลากริมชนิดหนึ่ง นับเป็นปลากริมชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและพบแพร่กระจายพันธุ์กว้างขวางหลากหลายที่สุด มีลักษณะเด่น คือ มีครีบหลัง ครีบอก ครีบก้น และครีบหางยื่นออกมาเป็นเส้นเดี่ยว ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 2-4 ก้าน และก้านครีบแขนง 6-8 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 6-7 ก้าน และก้านครีบแขนง 24-28 ก้าน จำนวนแถวของเกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมี 28-29 แถว สีสันมีแตกต่างหลากหลายกันไป แม้ว่าจะอยู่ในแหล่งอาศัยแหล่งเดียวกันก็ตาม นอกจากนี้แล้วบางตัวยังมีจุดกลมสีดำอยู่กลางลำตัวและเหนือครีบอก มีแถบสีดำพาดผ่านนัยน์ตาและแก้ม มีความยาวเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น หนองหรือบึงน้ำที่มีหญ้าหรือวัชพืชปกคลุม ในทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักกัดกันเองอยู่เสมอ ๆ ในระหว่างปลาตัวผู้ แต่ก็ไม่รุนแรงถึงขั้นตายไปกันข้างเหมือนปลากัด นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในต่างประเทศ ในเมืองปาล์มบีชเคาน์ตี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา สามารถพบได้ตามท้องร่องระบายน้ำ และสามารถขยายพันธุ์ได้เอง เนื่องจากถูกนำไปในฐานะปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลากัดและปลากริมข้างลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัด

ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.

ใหม่!!: ปลากัดและปลากัด · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัด (สกุล)

ปลากัด (Fighting fishes) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Betta (/เบ็ท-ทา/) ในวงศ์ย่อย Macropodinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.

ใหม่!!: ปลากัดและปลากัด (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดช้าง

ปลากัดช้าง หรือ ปลากัดน้ำแดง ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างป้อมสั้น ครีบหลังยาว ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบก้นยาว ปลายครีบเรียวยาว ครีบหางค่อนข้างใหญ่ หัวโต ปากกว้าง เกล็ดใหญ่ ส่วนหัวละลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแดง มีลายใต้คางซึ่งมีลักษณะเหมือนสัญลักษณ์พาย (π) อันเป็นที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ ใต้ขอบตาเป็นสีส้มเข้มในตัวผู้ ครีบสีจางมีเหลือบสีเขียวอ่อน ปากสีคล้ำ มีรอยสีคล้ำเป็นรูปโค้งและมีแถบ 2 แถบติดกันที่ใต้คางและริมฝีปากล่าง นับเป็นหนึ่งในปลากัดอมไข่ ที่พบได้ในประเทศไทย จัดเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด โดยสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 12 เซนติเมตร แต่เฉลี่ยทั่วไป 9 เซนติเมตร ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดด้วยในบรรดาปลากัดทั้งหมดที่พบในประเทศไทย พบในป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ของประเทศไทย โดยอาศัยในน้ำที่มีสีชาหรือสีแดง อันเกิดจากการทับถมของซากพืชเป็นเวลานาน และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างค่อนข้างต่ำ (ประมาณ pH 5-6) เป็นปลาที่ไม่ดุร้าย ก้าวร้าว เหมือนพวกปลากัดประเภทก่อหวอด จึงสามารถเลี้ยงรวมกันได้หลาย ๆ ตัว สถานภาพเป็นปลาที่ถูกคุกคามทางด้านถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ จัดเป็นปลาเฉพาะถิ่น ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง.

ใหม่!!: ปลากัดและปลากัดช้าง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดหัวโม่งจันทบุรี

ปลากัดหัวโม่งจันทบุรี หรือ ปลากัดหัวโม่ง ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากัดภูเขา (B. pugnax) ซึ่งเป็นปลากัดจำพวกอมไข่ (Mouthbrooder) เหมือนกัน ปลากัดหัวโม่งมีตัวโต ปลายปากแหลม ครีบทุกครีบใสโปร่งแสง ลำตัวสีเขียวอ่อน มีแถบสีดำพาดตามความยาวลำตัว 3 แถบ ตากลมโตสีเหลือง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร ปลาตัวผู้เครื่องครีบทุกครีบและแหลมยาวกว่าตัวเมีย ตัวเมียไม่มีจุดไข่นำเหมือนปลากัดประเภทก่อหวอด พบกระจายโดยทั่วไป ในประเทศไทยบริเวณลำธารน้ำตกแถบภาคตะวันออก โดยสภาพของน้ำที่พบจะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 7-7.5 นอกจากนั้นยังพบได้ในแหล่งน้ำสภาพเดียวกันของประเทศกัมพูชา เป็นปลาที่ไม่มีพฤติกรรมดุร้าย ก้าวร้าวเหมือนปลากัดจำพวกก่อหวอด จึงสามารถเลี้ยงรวมกันได้หลายตัว ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง.

ใหม่!!: ปลากัดและปลากัดหัวโม่งจันทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดอมไข่กระบี่

ปลากัดอมไข่กระบี่ หรือ ปลากัดหัวโม่งกระบี่ เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta simplex อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae เป็นปลากัดประเภทอมไข่ (Mouthbrooder) ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย ปลาตัวผู้มีสีสันสวยงาม ครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางสีแดง ครีบท้องจะมีริมสีน้ำเงิน ปลาตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า หัวแหลมกว่า และสีสันไม่สวยงามเท่าตัวผู้ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร ปลากัดอมไข่กระบี่ เป็นปลาที่พบเฉพาะกอหญ้าริมลำธารที่น้ำไหลเอื่อย ๆ ซึ่งเป็นลำธารที่ไหลมาจากภูเขาหินปูนที่น้ำมีความกระด้างและมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 7.5–8.5 มีแคลเซียมคาร์บอเนตละลายสูง ในเขตจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น จัดเป็นปลาที่พบได้น้อยและถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัย แต่ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยงโดยมนุษย์ชมปลากัดอมไข่ประบี่กับขุนเคย่ามเหลือง, คอลัมน์ Aqua Surveyโดย ธีรวัฒน์ อุทาพงษ์ หน้า 48-52.

ใหม่!!: ปลากัดและปลากัดอมไข่กระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดอมไข่สงขลา

ปลากัดอมไข่สงขลา หรือ ปลากัดสงขลา หรือ ปลากัดฟีร็อกซ์ ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) จัดเป็นปลากัดประเภทปลากัดอมไข่ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย โดยพบครั้งแรกจากการสำรวจที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลบนภูเขาอาศัยบริเวณรากไม้หรือใบไม้ใกล้ฝั่ง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6.3 เซนติเมตร (2.5 นิ้ว)ปลาตัวผู้จะไม่ก่อหวอดแต่จะอมไข่ไว้ในปากจนฟักเป็นตัว ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ คือ ลำธารที่น้ำไหลเชี่ยวแรงบนภูเขา พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำบนภูเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบได้เฉพาะภาคใต้เท่านั้น และพบได้เรื่อยไปในแหลมมลายูจนถึงรัฐปีนังในมาเลเซีย เป็นปลาที่หาได้ยากและใกล้จะสูญพันธุ์ โดยถูกลุกลํ้าพื้นที่ จนทำให้(ปลากัดอมไข่)หาดูได้ยากนัก โดยที่คำว่า ferox เป็นภาษาละติน หมายถึง "โหดเหี้ยม" หรือ "ป่าเถื่อน".

ใหม่!!: ปลากัดและปลากัดอมไข่สงขลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดปีนัง

ปลากัดปีนัง หรือ ปลากัดภูเขา (Penang betta) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) รูปร่างและคล้ายปลากัดทั่วไป แต่มีลำตัวป้อมใหญ่กว่า หัวโต ครีบหางใหญ่ ตัวผู้มีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างแก้มสีฟ้าเหลือบเขียว เกล็ดมีจุดสีฟ้าเหลือบทั้งตัว ครีบสีน้ำตาลอ่อน ครีบหลังและครีบหางมีลายเส้นประสีคล้ำ ครีบก้นมีขอบดำ ตัวเมียสีน้ำตาลอ่อน และมีแถบสีคล้ำพาดตามแนวยาวของลำตัว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5-7 เซนติเมตร พฤติกรรมของปลากัดชนิดนี้ ไม่เหมือนปลากัดจำพวกก่อหวอด อย่าง ปลากัดภาคกลาง (B. splendens) หรือ ปลากัดอีสาน (B. smaragdina) เนื่องจากการผสมพันธุ์และวางไข่ ปลาตัวผู้จะไม่ก่อหวอดแต่จะอมไข่ไว้ในปากจนฟักเป็นตัว ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ คือ ลำธารที่น้ำไหลเชี่ยวแรงบนภูเขา อีกทั้งปลากัดจำพวกนี้ไม่มีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว เหมือนพวกปลากัดก่อหวอด จึงสามารถพบอยู่กันเป็นฝูงได้หลาย ๆ ตัว อีกทั้งอวัยวะที่ช่วยในการหายใจ ทำงานได้ไม่สมบูรณ์เท่าปลากัดก่อหวอด พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำบนภูเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบได้เฉพาะภาคใต้เท่านั้น และพบได้เรื่อยไปในแหลมมลายูจนถึงรัฐปีนังในมาเลเซียหน้า 200, คู่มือปลาน้ำจืด โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (สำนักพิมพ์สารคดี กรุงเทพ พ.ศ. 2547) ISBN 9744841486 และมีความเป็นไปได้ว่าปลากัดชนิดนี้มีความใกล้เคียงทางพันธุกรรมกับปลากัดชนิด B. enisae ซึ่งเป็นปลากัดประเภทอมไข่เช่นเดียวกัน ที่พบได้ในแถบกาลิมันตันของอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ปลากัดและปลากัดปีนัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดป่าภาคใต้

ปลากัดป่าภาคใต้ หรือ ปลากัดภาคใต้ เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีลักษณะคล้ายปลากัดภาคกลาง (B. splendens) และปลากัดอีสาน (B. smaragdina) แต่มีรูปร่างเรียวยาวและครีบหลังค่อนไปทางด้านหลังลำตัว มีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่าปลากัดทั้ง 2 ชนิดข้างต้น มีลำตัวสีน้ำตาลอ่อนเหลือบแดงและน้ำเงิน ครีบหลังและครีบก้นสีคล้ำแดงมีแถบสีฟ้าเรืองแสง ปลายครีบก้นมีแต้มสีแดงสด มีขลิบสีขาว พบในภาคใต้ของประเทศไทย มีขนาดยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนปลาที่พบในประเทศกัมพูชาแถบจังหวัดสตึงแตรงนั้น จะมีลำตัวและครีบสีดำคล้ำ.

ใหม่!!: ปลากัดและปลากัดป่าภาคใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดป่ามหาชัย

ปลากัดป่ามหาชัย หรือ ปลากัดมหาชัย (Mahachai betta) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลากัดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae).

ใหม่!!: ปลากัดและปลากัดป่ามหาชัย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดเขียว

ปลากัดเขียว หรือ ปลากัดอีสาน เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างและพฤติกรรมคล้ายปลากัดภาคกลาง (B. splendens) แต่มีรูปร่างที่เพรียวยาวกว่า เกล็ดมีสีเขียวมากกว่าทั้งที่ข้างแก้มและลำตัว ในบางตัวอาจมีเหลือบสีฟ้า ครีบมีสีเขียวหรือฟ้าและมีลายประสีดำ พบในแหล่งน้ำตื้นที่นิ่งและไหลเอื่อย ๆ ในพื้นที่ภาคอีสานของประเทศไทย และประเทศลาว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5-6 เซนติเมตร หน้า 200, คู่มือปลาน้ำจืด โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (สำนักพิมพ์สารคดี กรุงเทพ พ.ศ. 2547) ISBN 9744841486 ปลากัดเขียว ที่พบในพื้นที่บึงโขงหลง พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดกว้างใหญ่ในจังหวัดบึงกาฬ พบมีลักษณะที่เด่นเฉพาะตัว คือ ก้านครีบหางจะมีการแตกตัว บางตัวอาจแตกได้มากถึง 4 ก้าน และในครีบหางจะมีลายขึ้นเป็นเส้นเต็มช่องระหว่างก้านหาง เริ่มตั้งแต่โคนหางกระจายออกไปจนอาจสุดปลายหาง มองดูคล้ายลักษณะของแมงมุม ปลาที่มีลักษณะเช่นนี้เรียกว่า "ปลากัดป่าหางลาย" หรือ "ปลากัดป่ากีตาร์" เนื่องจากเมื่อแผ่ครีบพองเหงือกเมื่อเจอกับปลากัดตัวอื่น ครีบท้องหรือครีบอกข้างใดข้างหนึ่งจะกระดิก คล้ายกับเวลามีผู้ดีดกีตาร์นอกจากนี้แล้ว ปลากัดเขียว ในพื้นที่ต่าง ๆ ก็ยังมีสีสันและขนาดลำตัว ตลอดจนลักษณะครีบต่าง ๆ แตกต่างกันซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเป็นชนิดใหม่ แต่เรื่องนี้ยังมิได้มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์กันอย่างแท้จริง.

ใหม่!!: ปลากัดและปลากัดเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดเกราะ

ปลากดเกราะ (Atipa, Brown hoplo) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาหนัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hoplosternum littorale ในวงศ์ปลาแพะ (Callichthyidae) มีลำตัวป้อม ค่อนข้างแบนข้าง ส่วนหัวกลมมน มีหนวดสองคู่ ลำตัวปกคลุมด้วยแผ่นกระดูกสองแถวเรียงสานกัน ลำตัวด้านบนสีเทาอมเขียว ด้านหลังสีเทาอมสีเหลืองทอง ครีบทั้งหมดเป็นสีเทาดำ ครีบอกสีเหลืองทองโดยส่วนเงี่ยงจะมีสีเหลืองเข้มกว่าก้านครีบ มีความยาวสูงสุดราว 24 เซนติเมตร เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางมากในทวีปอเมริกาใต้ โดยสามารถพบได้ในลุ่มแม่น้ำในกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ภาคเหนือของเวเนซุเอลา ตลอดจนพบเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในรัฐฟลอริดา ของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย เป็นปลาที่หากินบริเวณพื้นน้ำ อาหารได้แก่ หนอนแดงและซากอินทรีย์สาร แต่จะเปลี่ยนไปกินแมลงและสัตว์มีกระดองขนาดเล็กในช่วงฤดูแล้ง ปลาจะเริ่มผสมพันธุ์ในช่วงต้นฤดูฝน โดยจะสร้างหวอดคล้ายกับปลากัด ซึ่งทั้งเพศผู้และเพศเมียจะร่วมกันสร้างขึ้นมา ด้วยการเสียดสีร่างกายของกันและกัน หลังจากวางไข่แล้ว ปลาเพศผู้จะทำหน้าที่ดูแลปกป้องไข่ จนกระทั่งฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณสองวันถัดมา จึงปล่อยให้หากินตามลำพัง เป็นปลาที่มักพบในแหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 18-26 องศาเซลเซียส และค่าความเป็นกรด-ด่างประมาณ 5.9-7.2 (pH) ที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำและบึง ที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งซึ่งมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ค่อนข้างต่ำ หรือในป่าที่มีน้ำท่วมเกือบทั้งปี ปลากดเกราะ ถือเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้ นิยมบริโภคกันทั่วไป ในตรินิแดดและเฟรนช์เกียนา มีการเพาะเลี้ยงกันด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Camboatám และ Tamboatá.

ใหม่!!: ปลากัดและปลากดเกราะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลากัดและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอจำปะ

ปลาหมอจำปะ (Java combtail) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Belontiinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเหมือนปลาหมอผสมกับปลากัด แต่ลำตัวกว้างและแบนข้างมากกว่า ปลายครีบหางมน ครีบท้องเล็ก ลำตัวสีเหลืองทองหรือเหลืองคล้ำถึงน้ำตาลแดง ขอบเกล็ดสีคล้ำและที่ฐานครีบหลังตอนท้ายมีจุดสีดำ ครีบหลังและครีบก้นตอนหน้าสีคล้ำ ตอนท้ายรวมถึงครีบหางมีลายเส้นเป็นตาข่าย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ที่เดียวเท่านั้น ในต่างประเทศพบกระจายไปทั่วแหลมมลายูไปถึงหมู่เกาะซุนดา ในประเทศอินโดนีเซีย จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย มีพฤติกรรมการวางไข่โดยใช้การก่อหวอดและตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่และตัวอ่อนเหมือนปลากัด ปลาตัวผู้มีครีบอกเรียวยาวและมีประแต้มบนครีบ ส่วนตัวเมียครีบจะสั้นกว่าจะไม่มีลวดล.

ใหม่!!: ปลากัดและปลาหมอจำปะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอทะเล

ปลาหมอทะเล หรือ ปลาเก๋ามังกร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epinephelus lanceolatus ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังเล็กอยู่ ตามลำตัวมีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่าง ๆ ปลาหมอทะเลเป็นปลาในวงศ์ปลากะรังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5 เมตร น้ำหนักหนักถึง 400 กิโลกรัม ถือเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมกินอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว อาจจะกินปลาฉลามขนาดเล็กหรือเต่าทะเลวัยอ่อนได้ ฟันในปากมีขนาดเล็ก เป็นปลาที่สายตาไม่ดี ออกหากินในเวลากลางคืน แม้จะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่มีนิสัยไม่ดุร้าย เวลาขู่จะแสดงออกด้วยการพองครีบพองเหงือกคล้ายปลากัด ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ หรือกองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ พบในระดับความลึกตั้งแต่ 4–100 เมตร และยังชอบที่จะขุดหลุมคล้ายปลานิล พื้นหลุมแข็งบริเวณข้างหลุมเป็นเลนค่อนข้างหนา ปากหลุมกว้างประมาณ 50–100 เซนติเมตร สีเมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน พบอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นในแถบอินโด-แปซิฟิก, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ จนถึงอ่าวเปอร์เซีย นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ เป็นปลาที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และด้วยความใหญ่โตของร่างกาย ปลาหมอทะเลจึงมักนิยมเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่หรือในอุโมงค์ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี เป็นต้น และนิยมเลี้ยงลูกปลาขนาดเล็กในน้ำจืดเหมือนปลาสวยงามทั่วไปด้วย แต่ทว่าก็จะเลี้ยงได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น เมื่อโตขึ้น หากยังเลี้ยงในน้ำจืดอยู่ ปลาก็จะตายในที่สุด นอกจากนี้แล้ว ทางกรมประมงยังได้เพาะขยายพันธุ์ลูกผสมระหว่างปลาหมอทะเลกับปลากะรังดอกแดง ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกัน ได้เป็นผลสำเร็จ โดยลูกปลาขนาดเล็กจะมีลวดลายคล้ายกับปลาเสือตอ ซึ่งเป็นปลาสวยงามน้ำจืดที่มีชื่อเสียง ที่อยู่ต่างวงศ์กัน จนได้รับการเรียกชื่อว่า "ปลาเสือตอทะเล" โดยปลาเสือตอทะเลนั้นได้นำมาเปิดตัวครั้งแรกในงานประมงน้อมเกล้าฯ ครั้งที่ 25 ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน–8 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ปลากัดและปลาหมอทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหัวงอน

ปลาหัวงอน หรือ ปลาหัวตะกั่ว (Panchax) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Aplocheilus (/แอ็พ-โล-โคล-อัส/; มาจากภาษากรีก "Aploe" หมายถึง "เดี่ยว" และ "cheilos" หมายถึง "ริมฝีปาก") จัดอยู่ในวงศ์ปลาคิลลี่ (Aplocheilidae) มีลักษณะสำคัญคือ ปากยืดหดได้ มีฟันที่กระดูกเพดานปากชิ้นกลาง ฐานของครีบอกอยู่ต่ำกว่าระดับกึ่งกลางลำตัว ครีบหางมนกลม เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วในทุกแหล่งน้ำอย่างกว้างขวางในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคซุนดา มีขนาดทั่วไปไม่เกิน 10 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าและสีสันสวยงามและหลากหลายกว่าตัวเมีย เป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่ โดยจะวางไข่ไว้กับไม้น้ำ ไข่จะฟักเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 12-14 วัน การที่มีถิ่นการแพร่ขยายพันธุ์อย่างกว้างขวางเช่นนี้ มีการสันนิษฐานจากนักวิทยาศาสตร์ว่า มิได้เกิดจากธรรมชาติ แต่เป็นด้วยมนุษย์ซึ่งได้เลี้ยงปลาสกุลนี้เป็นปลาสวยงามอยู่แล้ว อีกทั้งไข่ยังมีคุณลักษณะพิเศษ คือ ทนร้อน และทนแห้งได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกับปลาคิลลี่ฟิช (สามารถส่งไปในซองจดหมายได้ด้วย) จึงประมาณกันว่าการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางนั้นเกิดจากการ่มีไข่ปลาติดไปกับการขนส่งต้นข้าว หรือพืชน้ำต่าง ๆ แต่ตัวผู้มีอุปนิสัยก้าวร้าว มักชอบกัดกันเองคล้ายกับปลากัดหรือปลาเข็ม ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน ซึ่งคนไทยในสมัยโบราณมักจะจับมากัดกันเพื่อการพนัน.

ใหม่!!: ปลากัดและปลาหัวงอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหัวตะกั่ว

ระวังสับสนกับ ปลาซิวหัวตะกั่ว ปลาหัวตะกั่ว หรือ ปลาหัวเงิน หรือ ปลาหัวงอน (Blue panchax, Whitespot panchax) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aplocheilus panchax อยู่ในวงศ์ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Adrianichthyidae) ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน มีลำตัวกลมยาว หัวโตกว้าง มองด้านข้างเห็นปลายแหลม สันหัวแบน ปากซึ่งอยู่ปลายสุดเชิดขึ้น ตาโต และอยู่ชิดแนวสันหัว เกล็ดใหญ่ ครีบต่าง ๆ มีขอบกลม ครีบหลังมีขนาดเล็กอยู่ใกล้ครีบหาง พื้นลำตัวมีสีเทาอมเหลือง ครีบต่าง ๆ สีออกเหลือง โคนครีบหลังสีดำ มีจุดเด่น คือ มีจุดกลมสีเงินเหมือนสีของตะกั่วขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่บนสันหัวระหว่างนัยน์ตา อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีขนาดยาวประมาณ 8 เซนติเมตร แต่มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 3-6 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยตั้งแต่อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบกระจายอยู่ทุกภาค จัดเป็นปลาที่หาได้ง่าย และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์นี้ที่พบได้ในประเทศ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง กินตัวอ่อนของแมลงน้ำ เช่น ลูกน้ำและแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร ตัวผู้มีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าตัวเมีย ครีบใหญ่กว่าและสีสันต่าง ๆ ก็สดกว่า และมีนิสัยก้าวร้าวชอบกัดกันเองในฝูง ผู้คนในสมัยโบราณจึงนักนิยมจับมาเลี้ยงดูเพื่อการกัดกันเป็นการพนันเหมือนปลากัดหรือปลาเข็ม หลวงมัศยจิตรการและโชติ สุวัตถิ ได้กล่าวถึงปลาหัวตะกั่วเมื่อปี พ.ศ. 2503 ไว้ว่า ปลาหัวตะกั่วมีชื่อเรียกในภาษาใต้ว่า "หัวกั่ว" ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลากัดและปลาหัวตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน คือ ชนิดของปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า แม่น้ำสาละวิน นับเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่มีความยาว 2,800 กิโลเมตร มีจุดกำเนิดที่เทือกเขาหิมาลัยไหลผ่านประเทศจีน, พม่า, ไทย และไหลลงมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ มีความหลากหลายของชนิดปลาที่พบได้ในแม่น้ำแห่งนี้ ซึ่งรวมถึงแควสาขาของแม่น้ำด้วย เช่น แม่น้ำปาย, แม่น้ำเมย, แม่น้ำยวม, แม่น้ำกษัตริย์, แม่น้ำสุริยะ และรวมไปถึงแม่น้ำอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น แม่น้ำบีคลี, แม่น้ำซองกาเลีย, แม่น้ำรันตี โดยหลายชนิดเป็นปลาในสกุลที่พบได้มากในประเทศอินเดียและอนุทวีปอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกัน หลายชนิด หลายสกุลก็เป็นปลาที่พบเฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินที่เดียวด้ว.

ใหม่!!: ปลากัดและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีชนิดปลามากกว่า 200 ชนิด และเป็นปลาเฉพาะถิ่นและปลาท้องถิ่นประมาณ 20 ชนิด โดยปลาในลุ่มแม่น้ำนี้หลายชนิดซ้ำซ้อนกับปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง.

ใหม่!!: ปลากัดและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำหลักของประเทศอีกลุ่มแม่น้ำหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขงหนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม..

ใหม่!!: ปลากัดและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกบอน

ำหรับปลาดักชนิดอื่น ดูที่: ปลาดุกดัก สำหรับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาดัก ปลาดุกบอน หรือ ปลาดัก เป็นปลาหนังน้ำจืดขนาดเล็กในสกุล Olyra อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagridae) เป็นปลาขนาดเล็กที่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ตั้งแต่ภาคตะวันออกของอินเดีย, พม่า, ภาคตะวันตกของไทย ตลอดจนภูมิภาคอินโดจีน โดยในภูมิภาคเอเชีย ปลาดุกบอนจะรู้จักกันในฐานะของปลานักสู้เหมือนกับปลากัด และถูกเลี้ยงเพื่อกัดกันเอาเงินเดิมพัน.

ใหม่!!: ปลากัดและปลาดุกบอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเข็ม

ปลาเข็ม (Wrestling halfbeak) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ ครีบหางตัดตรงหรือเป็นทรงกลม จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบก้น จำนวนก้านครีบแขนงของครีบหลังน้อยกว่าก้านครีบแขนงของครีบก้น ในปลาตัวผู้ครีบก้นส่วนหน้าจะเปลี่ยนเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินแมลงเป็นอาหารหลัก ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ แต่ตัวผู้จะทำหน้าที่เป็นจ่าฝูง ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักใช้ปลายปากที่แหลมคมนี้ทิ่มแทงใส่กันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งจากพฤติกรรมนี้ได้มีผู้นำเอามาเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ต่อสู้กันเป็นการพนันและการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" เช่นเดียวกับปลากัด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ทั้ง เอเชียอาคเนย์ไปจนถึงแหลมมลายู และเกาะสุมาตรา พบทั้งหมด 12 ชน.

ใหม่!!: ปลากัดและปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเข็มหม้อ

ปลาเข็มหม้อ (Wrestling halfbeak, Malayan halfbeak, Pygmy halfbeak) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys pusilla ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีรูปร่างเรียวยาว ริมฝีปากล่างคือส่วนที่ยื่นยาวออกมาเหมือนปลายเข็ม อันเป็นที่มาของชื่อ ส่วนริมฝีปากบนมีขนาดเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยมใช้สำหรับจับเหยื่อและต่อสู้ป้องกันตัวระหว่างปลาพวกกันเดียวเอง โดยมักจะพุ่งแทงกัน มีครีบอกขนาดใหญ่และแข็งแรง ทำให้สามารถกระโดดจับแมลงที่อยู่เหนือผิวน้ำเป็นอาหารได้ นอกจากนี้แล้วยังมีสายตาที่แหลมคม สามารถมองเห็นวัตถุที่เหนือน้ำได้ดีกว่าปลาชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่กันเป็นฝูง ๆ ประมาณ 8-10 ตัว โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูงเพียงตัวเดียว ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละไม่เกิน 30 ตัว เป็นปลาขนาดเล็ก ความยาวเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร พบได้ตามแหล่งน้ำนิ่งเช่น ท้องร่วงสวนผลไม้ทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่บังกลาเทศจนถึงคาบสมุทรมลายูและอินโดนีเซีย ปลาเข็มชนิดนี้ คนไทยนิยมเพาะเลี้ยงกันมานานแล้วเพื่อใช้สำหรับต่อสู้กันเพื่อการพนัน คล้ายกับปลากัด โดยจะเพาะเลี้ยงกันในหม้อดินจึงเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" โดยจะมีรูปร่างและขนาดที่ใหญ่กว่าปลาที่พบในธรรมชาติ สำหรับปลาที่ออกสีขาวจะเรียกว่า "ปลาเข็มเผือก" หรือ "ปลาเข็มเงิน" และปลาที่มีสีออกสีทองจะเรียกว่า "ปลาเข็มทอง".

ใหม่!!: ปลากัดและปลาเข็มหม้อ · ดูเพิ่มเติม »

แฟนพันธุ์แท้ ซูเปอร์แฟน

แฟนพันธุ์แท้ ซูเปอร์แฟน (Fan Pan Tae Superfan) รายการเกมโชว์ของไทยจากเวิร์คพอยท์ ดำเนินรายการโดยกันต์ กันตถาวร ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 21.00 - 22.00 น. ทางช่องเวิร์คพอยท์ออกอากาศเทปแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560.

ใหม่!!: ปลากัดและแฟนพันธุ์แท้ ซูเปอร์แฟน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Betta splendensปลากัดภาคกลางปลากัดลูกทุ่งปลากัดป่าปลากัดไทย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »