โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์

ดัชนี ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์

แหล่งกำเนิดคลื่นกำลังเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ความถี่ของคลื่นทางด้านซ้ายจึงสูงกว่าทางด้านขวา ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ (Doppler Effect) หรือบางครั้งเรียกว่า การเคลื่อนดอปเพลอร์ (Doppler shift) เป็นปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่ตั้งชื่อตาม คริสเตียน ดอปเพลอร์ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของคลื่นและความยาวคลื่นในมุมมองของผู้สังเกตเมื่อมีการเคลื่อนที่ที่สัมพันธ์กับแหล่งกำเนิดคลื่นนั้น พบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันเช่น เมื่อมีรถพยาบาลส่งสัญญาณไซเรนเคลื่อนเข้าใกล้ ผ่านตัวเรา และวิ่งห่างออกไป คลื่นเสียงที่เราได้ยินจะมีความถี่สูงขึ้น (กว่าคลื่นที่ส่งออกมาตามปกติ) ขณะที่รถเคลื่อนเข้ามาหา คลื่นเสียงมีลักษณะปกติขณะที่รถผ่านตัว และจะมีความถี่ลดลงเมื่อรถวิ่งห่างออกไป คลื่นที่มีการแพร่โดยต้องอาศัยตัวกลาง เช่นคลื่นเสียง ความเร็วของผู้สังเกตกับความเร็วของแหล่งกำเนิดคลื่นจะมีความสัมพันธ์กับตัวกลางที่คลื่นนั้นแพร่ผ่าน ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์โดยรวมจะเป็นผลจากทั้งการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิด การเคลื่อนที่ของผู้สังเกต และการเคลื่อนที่ของตัวกลางด้วย ปรากฏการณ์ในแต่ละส่วนสามารถวิเคราะห์ได้โดยแยกจากกัน ส่วนคลื่นที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางเช่นคลื่นแสงหรือแรงโน้มถ่วงในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ จะสนใจเฉพาะความเร็วสัมพันธ์ที่แตกต่างกันระหว่างผู้สังเกตกับแหล่งกำเนิดเท่านั้น การเปลี่ยนความถี่ของเสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะขึ้นอยู่กับความเร็วของแหล่งกำเนิด การเปลี่ยนความถี่ของเสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะขึ้นอยู่กับความเร็วของแหล่งกำเนิด Vs (s ย่อมาจากSource) และความเร็วของผู้ฟังVL (L ย่อมาจาก Listener) โดยทั่วไปทั้งผู้ฟังและแหล่งกำเนิดอาจจะเคลื่อนที่ได้ ดังนั้นในการวิเคราะห์จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้ผู้ฟังหรือแหล่งกำเนิดเป็นกรอบอ้างอิง ในที่นี่จึงใช้ตัวกลางที่เสียงเคลื่อนที่เป็นการอ้างอิง ซึ่งจะทำให้อัตราเร็วเสียงคงตัวเสมอ ไม่ขึ้นอยู่กับความเร็วของแหล่งกำเนิดหรือผู้ฟัง ในส่วนของของความเร็ซของแหล่งกำเนิด VS และความเร็วของผู้ฟัง VL จะวัดเทียบตัวกลางของคลื่นเสียงด้วย และเนื่องจากการศึกษาปรากฎการณ์คอปเพลอร์ในที่นี้เป็นเป็นเพียงการศึกษาในเบื้องต้น ดังนั้นจะพิจารณาเฉพาะกรณีที่ความเร็วของแหล่งกำเนิดและผู้ฟังอยู่บนเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างแหล่งกำเนิดกับผู้ฟังเท่านั้น (การเคลื่อนที่ 1 มิติ).

24 ความสัมพันธ์: บิกแบงพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีพิสัยการได้ยินกระจุกดาวเปิดกลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาวการแผ่รังสีซิงโครตรอนการเลื่อนไปทางแดงระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)วิธีตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบสเปกโทรสโกปีสเปกโทรสโกปีทางดาราศาสตร์อีปอลิต ฟีโซดาราจักรดาวฤกษ์ดาวเคราะห์นอกระบบดิดิเยร์ เควลอซคริสเตียน ดอปเพลอร์ความสัมพันธ์ของทัลลี-ฟิชเชอร์ความเร็วแนวเล็งเรดาร์เอนเซลาดัสเอ็ดวิน ฮับเบิล51 ม้าบิน

บิกแบง

ตาม'''ทฤษฎีบิกแบง''' จักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากสภาพที่มีความหนาแน่นสูงและร้อน และจักรวาลมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา บิกแบง (Big Bang, "การระเบิดครั้งใหญ่") เป็นแบบจำลองของการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพในจักรวาลวิทยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปใช้คำนี้กล่าวถึงแนวคิดการขยายตัวของเอกภพหลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อนและหนาแน่นอย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีต และยังคงดำเนินการขยายตัวอยู่จนถึงในปัจจุบัน ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ นักวิทยาศาสตร์และพระโรมันคาทอลิก เป็นผู้เสนอแนวคิดการกำเนิดของเอกภพ ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีบิกแบง ในเบื้องแรกเขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับอะตอมแรกเริ่ม (hypothesis of the primeval atom) อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ทำการคำนวณแบบจำลองโดยมีกรอบการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ต่อมาในปี..

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และบิกแบง · ดูเพิ่มเติม »

พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี

ร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี (Proxima Centauri b) หรือเรียก พร็อกซิมา บี (Proxima b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบในเขตอาศัยได้ โคจรรอบดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า และถือเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยห่างจากโลกราว 4.2 ปีแสง (1.3 พาร์เซก หรือ 40 ล้านล้านกิโลเมตร) ทำให้ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีศักยภาพต่อการอยู่อาศัยได้ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดเท่าที่รู้จัก ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ค้นพบโดยคณะนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ประกาศการค้นพบในเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี · ดูเพิ่มเติม »

พิสัยการได้ยิน

ัยการได้ยิน (Hearing range) หมายถึงพิสัยความถี่เสียงที่มนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ ได้ยิน แม้ก็อาจหมายถึงระดับความดังเสียงได้ด้วยเหมือนกัน มนุษย์ปกติจะได้ยินในพิสัยความถี่ 20-20,000 เฮิรตซ์ (Hz) แต่ก็จะต่างไปตามบุคคลพอสมควรโดยเฉพาะเสียงความถี่สูง และการสูญความไวเสียงความถี่สูงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามอายุก็เป็นเรื่องปกติ ความไวต่อความถี่ต่าง ๆ แม้ในบุคคลก็ยังไม่เท่ากันอีกด้วย (ดูหัวข้อ เส้นชั้นความดังเสียงเท่า) มีสัตว์หลายอย่างที่สามารถได้ยินเสียงเกินพิสัยของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น โลมาและค้างคาวสามารถได้ยินเสียงสูงจนถึง 100,000 Hz ช้างสามารถได้ยินเสียงต่ำจนถึง 14-16 Hz ในขณะที่วาฬบางชนิดสามารถได้ยินเสียงต่ำในน้ำจนถึง 7 Hz.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และพิสัยการได้ยิน · ดูเพิ่มเติม »

กระจุกดาวเปิด

กระจุกดาวลูกไก่ หนึ่งในกระจุกดาวเปิดที่มีชื่อเสียงมากที่สุด กระจุกดาวเปิด (Open Cluster) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์จำนวนหลายพันดวงที่รวมกลุ่มกันอยู่ในเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ชุดเดียวกัน และมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดต่อกันและกันอย่างหลวมๆ กระจุกดาวเปิดจะพบได้ในดาราจักรชนิดก้นหอยและชนิดไร้รูปร่างเท่านั้น ซึ่งเป็นดาราจักรที่ยังมีการก่อตัวของดาวฤกษ์ดำเนินอยู่ โดยทั่วไปมีอายุน้อยกว่าร้อยล้านปี และมักถูกรบกวนจากกระจุกดาวอื่นหรือกลุ่มเมฆที่มันโคจรอยู่ใกล้ๆ ทำให้สูญเสียสมาชิกในกระจุกดาวไปบ้างในการประจันหน้าเช่นนั้น กระจุกดาวเปิดที่มีอายุน้อยอาจยังคงอยู่ในกลุ่มเมฆโมเลกุลซึ่งมันก่อตัวขึ้นมา ส่องแสงและความร้อนจนสามารถสร้างบริเวณเอช 2 ขึ้นมาได้ เมื่อเวลาผ่านไป แรงดันของการแผ่รังสีจากกระจุกดาวจะทำให้เมฆโมเลกุลกระจัดกระจายออกไป โดยทั่วไปมวลของแก๊สในกลุ่มเมฆประมาณ 10% จะรวมเข้าอยู่ในดาวฤกษ์ก่อนที่แรงดันของการแผ่รังสีจะผลักพวกมันออกไปเสีย กระจุกดาวเปิดเป็นวัตถุท้องฟ้าที่สำคัญมากในการศึกษาวิวัฒนาการของดวงดาว เพราะดาวฤกษ์ในกระจุกดาวเดียวกันจะมีอายุใกล้เคียงกันและมีลักษณะทางเคมีคล้ายคลึงกัน การศึกษาผลกระทบต่อตัวแปรอันละเอียดอ่อนต่างๆ ของคุณลักษณะของดวงดาวจึงทำได้ง่ายกว่าการศึกษาดาวฤกษ์เดี่ยวๆ กระจุกดาวเปิดจำนวนหนึ่ง เช่น กระจุกดาวลูกไก่ กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว หรือ กระจุกดาวอัลฟาเพอร์เซย์ เป็นกระจุกดาวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กระจุกดาวบางจำพวกเช่นกระจุกดาวแฝดจะมองเห็นได้ค่อนข้างยากหากไม่ใช้เครื่องมือช่วย ส่วนอื่นๆ ที่เหลือจะมองเห็นได้โดยใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และกระจุกดาวเปิด · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว

กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว (Virgo Supercluster) หรือ กลุ่มกระจุกดาราจักรท้องถิ่น (Local Supercluster) เป็นกลุ่มกระจุกดาราจักรผิดปกติ ที่ประกอบด้วยกลุ่มกระจุกหญิงสาว นอกเหนือจากกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งจะประกอบด้วยดาราจักรทางช้างเผือก กับแอนดรอเมดา ไม่น้อยกว่า 100 กลุ่มดาราจักรและกลุ่ม ตั้งอยู่ภายในเส้นผ่าศูนย์กลางของ 33 เมก้าพาร์เซก (110 ล้านปีแสง) มันเป็นหนึ่งในล้านของกลุ่มกระจุกดาราจักรในจักรวาล.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และกลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว · ดูเพิ่มเติม »

การแผ่รังสีซิงโครตรอน

ลำพลังงานจากดาราจักร M87 (ภาพจากกล้องฮับเบิล) แสงสีน้ำเงินของลำพลังงานแผ่ออกมาจากแกนกลางดาราจักรกัมมันต์พุ่งไปทางด้านล่างขวา เป็นผลจากการแผ่รังสีซิงโครตรอน การแผ่รังสีซิงโครตรอน (synchrotron radiation) คือการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่คล้ายคลึงกับการแผ่รังสีไซโคลตรอน แต่มีกำเนิดมาจากอนุภาคประจุที่เร่งขึ้นอย่างยิ่งยวด (เช่นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง) ผ่านสนามแม่เหล็ก สามารถสร้างขึ้นได้ในอุโมงค์ซิงโครตรอน ส่วนในธรรมชาติจะพบได้จากอิเล็กตรอนความเร็วสูงเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กในอวกาศ รังสีที่เกิดขึ้นอาจแผ่ครอบคลุมสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าหลายย่าน ตั้งแต่ช่วงคลื่นวิทยุไปจนถึงแสงอินฟราเรด แสงที่ตามองเห็น อัลตราไวโอเลต รังสีเอ็กซ์ และรังสีแกมมา สามารถแบ่งประเภทได้ตามลักษณะการเกิดโพลาไรเซชั่นและสเปกตรัม.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และการแผ่รังสีซิงโครตรอน · ดูเพิ่มเติม »

การเลื่อนไปทางแดง

แถบการดูดกลืนแสงในสเปกตรัมของแสงที่ได้จากกระจุกดาราจักรอันห่างไกล (ด้านขวา) เปรียบเทียบกับแถบการดูดกลืนแสงในสเปกตรัมของแสงดวงอาทิตย์ (ด้านซ้าย) ลูกศรชี้แสดงถึงการเลื่อนไปทางแดง ความยาวคลื่นจะเพิ่มขึ้นและความถี่ลดลง ในวิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ การเลื่อนไปทางแดง (Redshift) เกิดขึ้นเมื่อการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (โดยมากเป็นแสงที่ตามองเห็น) มีการเปล่งแสงหรือสะท้อนกับวัตถุ แล้วเกิดปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ทำให้สเปกตรัมของคลื่นเลื่อนตัวไปในทางฝั่งสีแดงของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า (ซึ่งมีพลังงานน้อยกว่า) การเลื่อนไปทางแดงจึงหมายถึงการที่ผู้สังเกตหรืออุปกรณ์ตรวจจับได้รับรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับแหล่งกำเนิด การที่ความยาวคลื่นเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับการที่ความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าลดลง ดังนั้นในทางตรงกันข้าม หากตรวจพบว่าความยาวคลื่นลดลงก็จะเรียกปรากฏการณ์นั้นว่า การเลื่อนไปทางน้ำเงิน การเลื่อนไปทางแดงที่เกิดจากปรากฏการณ์ดอปเพลอร์เกิดขึ้นเมื่อแหล่งกำเนิดแสงเคลื่อนที่ห่างออกไปจากผู้สังเกต เช่นเดียวกับการเคลื่อนดอปเปลอร์ซึ่งความถี่จะเปลี่ยนแปลงลดลงเมื่อต้นกำเนิดเสียงเคลื่อนห่างออกไป ฟิสิกส์ดาราศาสตร์สเปกโตรสโกปีอาศัยปรากฏการณ์ดอปเพลอร์เช่นนี้ในการคำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในที่ห่างไกล.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และการเลื่อนไปทางแดง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

วาดแสดงดาวเทียม NAVSTAR ของสหรัฐ เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส KAMAZ NAAV450 เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส แมเกลลัน เบลเซอร์ ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก เรียกย่อว่า จีพีเอส (Global Positioning System: GPS) หรือรู้จักในชื่อ นาฟสตาร์ (Navstar) คือระบบดาวเทียมนำร่องโลก (์Global Navigation Satellite System: GNSS) เพื่อระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาโดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากตำแหน่งของดาวเทียมต่างๆ ที่โคจรอยู่รอบโลกทำให้สามารถระบุตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลกและในทุกสภาพอากาศ รวมถึงสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางเพื่อนำมาใช้ร่วมกับแผนที่ในการนำทางได้.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)

ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91) ครอบคลุมความเป็นช่างประดิษฐ์และความก้าวหน้าทางนวัตกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกาภายในบริบททางประวัติศาสตร์, ย้อนไปตั้งแต่ยุคร่วมสมัยถึงยุคปัจจุบัน, ซึ่งได้บรรลุความสำเร็จโดยนักประดิษฐ์ทั้งหลาย ผู้เป็นทั้งประชากรโดยกำเนิดหรือได้รับเป็นพลเมืองของประเทศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91) · ดูเพิ่มเติม »

วิธีตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบ

นื่องจากดาวเคราะห์นอกระบบจะมีการส่องสว่างในตัวเองน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์แม่ของมัน การตรวจจับจึงเป็นไปได้ยาก ทั้งแสงสว่างจากดาวฤกษ์ยังอาจบดบังและกลบการมองเห็นดาวเคราะห์ไปเสีย ด้วยเหตุนี้ การตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบจึงมักไม่สามารถดำเนินการได้จากการเฝ้าสังเกตโดยตรง นักดาราศาสตร์ได้พัฒนากระบวนวิธีตรวจจับทางอ้อมหลายวิธีเพื่อตรวจหาดาวเคราะห์นอกระบบ ในปัจจุบันมีกระบวนวิธีทางอ้อมหลายวิธีที่สามารถใช้ตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบอย่างได้ผล iOS 9.3.5(13G36) wckadse.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และวิธีตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

สเปกโทรสโกปี

ลื่อนไหวแสดงการกระเจิงของแสง เมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านปริซึม สเปกโทรสโกปี (spectroscopy) แต่เดิมหมายถึงการศึกษาปฏิกิริยาระหว่างการแผ่รังสีกับสสารในรูปของฟังก์ชันความยาวคลื่น (λ) สเปกโทรสโกปีจะอ้างถึงการกระเจิงของแสงที่ตามองเห็นตามขนาดความยาวคลื่นของมัน เช่น การกระเจิงของแสงผ่านปริซึม ต่อมาหลักการนี้ได้ขยายออกไปครอบคลุมการวัดปริมาณใดๆ ที่อยู่ในรูปฟังก์ชันของทั้งความยาวคลื่นและความถี่ ดังนั้นมันจึงเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสนามหรือความถี่ (ν) ด้วย ขอบเขตการศึกษายังขยายไปครอบคลุมเรื่องของพลังงาน (E) ในฐานะตัวแปร ทั้งนี้เนื่องมาจากความสัมพันธ์กันระหว่างพลังงานและความถี่ ตามสมการ E.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และสเปกโทรสโกปี · ดูเพิ่มเติม »

สเปกโทรสโกปีทางดาราศาสตร์

ปกโตรสโคปดาวของ หอดูดาวลิก ในปี ค.ศ. 1898 ออกแบบโดย James Keeler และสร้างขึ้นโดย John Brashear สเปกโทรสโกปีทางดาราศาสตร์ (Astronomical spectroscopy) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับดาราศาสตร์ โดยใช้เทคนิคสเปกโทรสโกปี ในการวัดสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า,รวมทั้งแสงที่มองเห็นได้และคลื่นวิทยุ,ซึ่งแผ่กระจายจากดาว และวัตถุท้องฟ้าร้อนอื่น ๆ สเปกโทรสโกปี สามารถนำมาใช้เพื่อหาคุณสมบัติหลายอย่างของดาวและกาแลคซีที่ห่างไกล เช่น องค์ประกอบทางเคมี,อุณหภูมิ,ความหนาแน่น,มวลระยะทาง,ความส่องสว่าง และการเคลื่อนไหวสัมพัทธ์โดยใช้การวัดปรากฏการณ์ดอปเพลอร.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และสเปกโทรสโกปีทางดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อีปอลิต ฟีโซ

อาร์ม็อง อีปอลิต หลุยส์ ฟีโซ (Armand Hippolyte Louis Fizeau; 23 กันยายน ค.ศ. 1819 – 18 กันยายน ค.ศ. 1896) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และอีปอลิต ฟีโซ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักร

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์นอกระบบ

accessdate.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ดิดิเยร์ เควลอซ

ร์ เควลอซ (Didier Queloz) เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และดิดิเยร์ เควลอซ · ดูเพิ่มเติม »

คริสเตียน ดอปเพลอร์

ริสเตียน ดอปเพลอร์ (Christian Doppler; 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1803 – 17 มีนาคม ค.ศ. 1853) เป็นนักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ชาวออสเตรี.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และคริสเตียน ดอปเพลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ความสัมพันธ์ของทัลลี-ฟิชเชอร์

วามสัมพันธ์ของทัลลี・ฟิชเชอร์ (Tully-Fisher relation) ถูกเสนอโดยริชาร์ด เบรนต์ ทัลลี (Richard Brent Tully) และเจมส์ ริชาร์ด ฟิชเชอร์ (James Richard Fisher) ในปี 1977 กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำลังส่องสว่างกับความเร็วในการหมุนรอบใจกลางของดาราจักรชนิดก้นหอย ความสัมพันธ์นี้เป็นลักษณะเชิงประจักษ์ นั่นคือได้จากการสังเกตการณ์เทียบค่า กำลังส่องสว่างคือพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาต่อเวลา หากรู้ว่าดาราจักรนั้นอยู่ห่างจากโลกแค่ไหนแล้วก็สามารถคำนวณได้จากโชติมาตรปรากฏ ส่วนค่าความเร็วนั้นสามารถคำนวณได้จากปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ ความสัมพันธ์ของทั้งความสว่างและความเร็วนั้นเป็นฟังก์ชันของความยาวคลื่น โดยเมื่อดูคร่าวๆแล้วความสว่างจะแปรผันตรงกับความเร็วยกกำลัง 4 ความสัมพันธ์ของทัลลี-ฟิชเชอร์ของดาราจักรชนิดก้นหอยและดาราจักรรูปเลนส์ หากอาศัยความสัมพันธ์นี้ แม้แต่ในดาราจักรที่วัดโชติมาตรสัมบูรณ์ได้ยากก็สามารถคำนวณเอาจากความเร็วได้ไม่ยาก โดยอาศัยความสัมพันธ์ที่ว่ากำลังส่องสว่างสัมพัทธ์จะแปรผกผันกับกำลังสองของระยะทางถึงวัตถุท้องฟ้า การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ภายในดาราจักรเกิดจากแรงโน้มถ่วง ดังนั้นแล้วความเร็วในการหมุนรอบดาราจักรจึงขึ้นกับมวลของดาราจักรเอง ความสัมพันธ์นี้ไม่สามารถใช้ได้กับดาราจักรรี แต่สำหรับดาราจักรรีเองก็มีความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ในลักษณะทำนองเดียวกันอยู่ นั่นคือความสัมพันธ์ของเฟเบอร์-แจ็กสัน มีคนเสนอว่าความสัมพันธ์ที่ได้จากการวัดโดยที่ยังไม่เข้าใจสาเหตุแน่ชัดนี้อาจสามารถอธิบายได้ด้วยพลศาสตร์นิวตันแบบปรับปรุงใหม่ (MOND).

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และความสัมพันธ์ของทัลลี-ฟิชเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเร็วแนวเล็ง

วามเร็วแนวเล็ง บางครั้งก็เรียกว่า ความเร็วเชิงรัศมี หรือ ความเร็วแนวรัศมี (radial velocity) เป็นความเร็วของวัตถุในทิศทางที่อยู่ตรงแนวสายตาของเรา ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนเข้าหาตัวเราหรือเคลื่อนออกจากตัวเราก็ตาม แสงจากวัตถุที่มีความเร็วแนวเล็งที่แน่นอนสามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ได้ โดยความถี่ของแสงจะลดลงขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ห่างออกไป (เรียกว่า การเคลื่อนไปทางแดง) หรือความถี่จะเพิ่มขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนใกล้เข้ามา (เรียกว่า การเคลื่อนไปทางน้ำเงิน) การวัดความเร็วแนวเล็งของดาวฤกษ์หรือวัตถุส่องสว่างอื่นที่อยู่ห่างไกลสามารถทำได้โดยการตรวจสอบสเปกตรัมความละเอียดสูงและเปรียบเทียบคลื่นความถี่ที่ได้กับแถบสเปกตรัมที่เราทราบค่าแล้วจากห้องทดลอง ตามปกติ ความเร็วแนวเล็งที่เป็นบวกหมายถึงวัตถุกำลังเคลื่อนห่างออกไป ถ้าความเร็วแนวเล็งเป็นลบ หมายถึงวัตถุกำลังเคลื่อนใกล้เข้ามา ในระบบดาวคู่หลายแห่ง การเคลื่อนที่ของวงโคจรจะทำให้ความเร็วแนวเล็งแปรค่าไปมาได้หลายกิโลเมตรต่อวินาที เมื่อค่าสเปกตรัมของดาวเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปมาจากผลของปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ จึงเรียกเหตุการณ์นี้ว่า spectroscopic binaries การศึกษาความเร็วแนวเล็งใช้เพื่อประมาณค่ามวลของดาวฤกษ์และองค์ประกอบของวงโคจรบางตัว เช่นความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรและค่ากึ่งแกนเอก กระบวนการเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้ในการตรวจจับดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ได้ ด้วยหลักการการตรวจจับความเคลื่อนไหวจะบ่งชี้ถึงคาบดาราคติของดาวเคราะห์ และขนาดของการเคลื่อนที่ทำให้สามารถคำนวณค่าต่ำสุดที่เป็นไปได้ของมวลดาวเคราะห์ได้.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และความเร็วแนวเล็ง · ดูเพิ่มเติม »

เรดาร์

รดาร์ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดีขององค์การนาซา เสาอากาศเรดาร์ระยะไกลที่เรียกว่า Altair ที่ใช้ในการตรวจจับและติดตามวัตถุในพื้นที่ร่วมกับการทดสอบ ABM ที่ไซต์ทดสอบโรนัลด์ เรแกนบนเกาะควาจาลีน (Kwajalein) เรดาร์ (radar) เป็นระบบที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นเครื่องมือในการระบุระยะ (range), ความสูง (altitude) รวมถึงทิศทางหรือความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ เดิมทีตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และเรดาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอนเซลาดัส

อนเซลาดัส (Enceladus) หรือ Saturn II เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่อันดับที่ 6 ของดาวเสาร์ ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมันนาม วิลเลียม เฮอร์เชล เมื่อ..

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และเอนเซลาดัส · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดวิน ฮับเบิล

เอ็ดวิน พาเวลล์ ฮับเบิล (Edwin Powell Hubble; 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 - 28 กันยายน ค.ศ. 1953) นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ศึกษารายละเอียดของดาวฤกษ์แต่ละดวงในกาแล็กซี เอ็ม 33 ซึ่งเป็นกาแล็กซีเพื่อนบ้าน พบว่าดาวฤกษ์เหล่านี้อยู่นอกกาแล็กซี่ของเราออกไป หลังจากที่ฮับเบิลได้พิสูจน์ว่ามีกาแล็กซีอื่นอีกจำนวนมาก เขายังได้พิสูจน์อีกว่า กาแล็กซีเหล่านี้ กำลังเคลื่อนที่ห่างออกไป เมื่อกาแล็กซีอื่นเคลื่อนที่ห่างออกไปหรือเคลื่อนที่เข้าหากาแล็กซีของเรา แสงที่สังเกตเห็นจากกาแล็กซีเหล่านี้ จะเป็นสีอื่นที่แตกต่างไปจากตอนที่ยังไม่ได้เคลื่อนที่ กล้องโทรทรรศน์ฮุกเกอร์ ขนาด 100 นิ้ว ที่เมาท์วิลสัน ซึ่งฮับเบิลใช้ตรวจจับเรดชิฟต์ และค้นพบการขยายตัวของเอกภพ ถ้ากาแล็กซีเคลื่อนที่ห่างออกไปจะปรากฏมีสีแดงขึ้น เรียกว่า กาแล็กซีมีการเขยื้อนไปทางสีแดงหรือ "เรดชิฟต์" (redshift) ถ้าเคลื่อนที่เข้าหาเรา กาแล็กซีจะปรากฏมีสีน้ำเงินขึ้น เรียกว่า เขยื้อนไปทางสีน้ำเงินหรือ "บลูชิฟต์" (blueshift) ปรากฏการณ์เปลี่ยนสีนี้ เรียกว่า ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ ฮับเบิลใช้ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์วัดความเร็วของกาแล็กซีต่างๆ และค้นพบความสัมพันธ์เหลือเชื่อที่ว่า กาแล็กซียิ่งอยู่ไกลยิ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขึ้น นั่นคือเขาค้นพบว่า อัตราเร็วของกาแล็กซีเป็นปฏิภาคโดยตรงกับระยะห่าง ปัจจุบันเรียกว่า กฎของฮับเบิล กฎนี้แสดงว่าเอกภพทั้งหมดกำลังมีขนาดโตขึ้น อนึ่ง ภาพถ่ายแรกที่ได้จากกล้องฮับเบิล ถูกเปรียบเทียบเป็นภาพโมนาลิซ่าแห่งวงการดาราศาสตร์ อเอ็ดวิน ฮับเบิล อเอ็ดวิน ฮับเบิล หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐมิสซูรี หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐอิลลินอยส์.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และเอ็ดวิน ฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

51 ม้าบิน

ว 51 ม้าบิน 51 ม้าบิน (51 Pegasi) เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลก 15.4 พาร์เซ็ก (50.1 ปีแสง) ในกลุ่มดาวม้าบิน เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ดวงแรกที่ตรวจพบว่ามีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบๆ โดยมีการประกาศการค้นพบเมื่อ..

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และ51 ม้าบิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การเลื่อนดอปเพลอร์การเคลื่อนของดอปเปลอร์การเคลื่อนดอพเพลอร์การเคลื่อนดอปเพลอร์การเคลื่อนดอปเปลอร์ดอพเพลอร์ดอปเปลอร์ปรากฏการณ์ดอพเพลอร์ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »