โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศราช

ดัชนี ประเทศราช

"ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง" ที่หัวเมืองมลายูส่งมาเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงสยาม ประเทศราช หรือ รัฐบรรณาการ หมายถึง รัฐที่มีประมุขเป็นของตนเอง แต่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์อีกรัฐหนึ่ง เจ้าผู้ครองนครประเทศราชหรือสามนตราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการถวายเป็นประจำ และในยามศึกสงครามต้องส่งกองกำลังเข้าช่วยกองทัพหลวงด้วย มีลักษณะคล้ายรัฐในอารักขาของจักรวรรดินิยมตะวันตก มีลักษณะคล้ายรัฐในอารักขาของจักรวรรดินิยมตะวันตก ตัวอย่างของประเทศราชได้แก่ เกาหลีภายใต้ราชวงศ์หยวนของจีน (พ.ศ. 1813–1899), กรุงศรีอยุธยาภายใต้พม่า (พ.ศ. 2112–2127), กัมพูชาภายใต้สยาม (ค.ศ. 2337–2427), นครเชียงใหม่ภายใต้สยาม (พ.ศ. 2317–2437).

65 ความสัมพันธ์: ชาวรีวกีวฟุกุโอะกะ (เมือง)พระบรมราชา (มัง)พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาธรรมราชาที่ 3พระยาภักดีชุมพล (แล)พระยาศรีสุริยวงศ์ (มังไชย)พระยาประจันตประเทศธานี ( โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร)พระเมกุฏิสุทธิวงศ์พระเจ้าอินทวิชยานนท์พ่อขุนรามคำแหงมหาราชการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซียการปฏิรูปนครเชียงใหม่สู่มณฑลพายัพฐานันดรศักดิ์เจ้านายฝ่ายเหนือยูโรปา ยูนิเวอร์ซาลิส 3รัฐหุ่นเชิดรัฐในอารักขารัฐเคดีฟอียิปต์ราชวงศ์เหลียวรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะรีวกีวรายพระนามเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่วัดสุทธิวรารามสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสาธารณรัฐหลานฟางสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นสงครามเจ็ดปีหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยาหนองหานหลวงอัศวินฮอสปิทัลเลอร์อาณาจักรอาณาจักรรีวกีวอาณาจักรล้านช้างอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์อาณาจักรล้านนาอาณาจักรหลวงพระบางอาณาจักรหงสาวดีอาณาจักรข่านชากีอาณาจักรปัตตานีอเล็กซานเดอร์มหาราชจักรพรรดิซ่งเหรินจงจักรพรรดิโยเซฟที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จังหวัดปัจจันตคิรีเขตรจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดโอกินาวะจำปาศักดิ์ (แก้ความกำกวม)คลองสุไหงบารู...ต้นไม้เงินต้นไม้ทองนครเชียงใหม่แคว้นล้านนาแคว้นเชียงใหม่ไทยโยเดียเวียงสวนดอกเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)เจ้าพิริยเทพวงษ์เจ้าอนุวงศ์เจ้าดารารัศมี พระราชชายาเจ้านายฝ่ายเหนือเขตพื้นที่ที่ปกครองตนเองเดนลอว์เนื่อง นนทนาคร ขยายดัชนี (15 มากกว่า) »

ชาวรีวกีว

รีวกีว (โอะกินะวะ: Ruuchuu minzuku) หรือ โอกินะวะ (โอะกินะวะ: Uchinaanchu) ปรากฏในเอกสารต้นกรุงรัตนโกสินทร์ว่า ลิชี่ว (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) หรือ ลิ่วขิ่ว (โคลงภาพคนต่างภาษา) เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนหมู่เกาะรีวกีว ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างคีวชูกับไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันคือที่ตั้งของจังหวัดโอะกินะวะและคะโงะชิมะของประเทศญี่ปุ่น ภาษาของพวกเขาจัดอยู่ในตระกูลภาษาย่อยรีวกีว หนึ่งในสองตระกูลภาษาย่อยของตระกูลภาษาญี่ปุ่น และถูกนับว่าเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาญี่ปุ่น ชาวรีวกีวไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยในญี่ปุ่น เนื่องจากเจ้าหน้าที่จากทางการนับว่าชาวรีวกีวเป็นกลุ่มย่อยของชาวญี่ปุ่น ทำนองเดียวกับชาวยะมะโตะและไอนุ กระนั้นถ้าหากว่าชาวรีวกีวเป็นชนกลุ่มน้อย ก็ถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เพียงแค่จังหวัดโอะกินะวะก็มีชาวรีวกีวมากถึง 1.3 ล้านคนอาศัยอยู่ นอกจากนี้ยังมีชาวรีวกีวจำนวนไม่น้อยกว่า 600,000 คน อาศัยกระจายไปยังส่วนอื่น ทั้งภายในประเทศญี่ปุ่นเองและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก โดยมากจะอาศัยอยู่ในรัฐฮาวาย ผลการศึกษาด้านพันธุกรรมและมานุษยวิทยาพบว่าชาวรีวกีวมีความสัมพันธ์กับชาวไอนุเป็นพิเศษ และมีบรรพบุรุษร่วมกันช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นหรือยุคโจมง (10,000-1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนจะผสมข้ามเผ่าพันธุ์กับชาวยะมะโตะในยุคยะโยะอิ (1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 300) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียตะวันออก (โดยเฉพาะจากจีนและคาบสมุทรเกาหลี) ชาวรีวกีวมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง เช่น ความเชื่อ ศาสนา หรือแม้แต่อาหาร โดยมีการเพาะปลูกข้าวเพื่อบริโภคครั้งแรกราวศตวรรษที่ 12 ประชากรอาศัยอยู่ตามหมู่เกาะอย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลาหลายศตวรรษ ราวศตวรรษที่ 14 ได้มีการรวมสามอาณาจักรเป็นรัฐเดียวคืออาณาจักรรีวกีว (ค.ศ. 1429–1879) ซึ่งโดดเด่นด้านการค้าทางทะเลและมีสถานะเป็นรัฐบรรณาการของจีนยุคราชวงศ์หมิงเป็นต้นมา กระทั่ง..

ใหม่!!: ประเทศราชและชาวรีวกีว · ดูเพิ่มเติม »

ฟุกุโอะกะ (เมือง)

นครฟูกูโอกะ เป็นเมืองเอกของจังหวัดฟุกุโอะกะ ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะคีวชู ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2013 ฟุกุโอะกะได้รับการจัดอันดับว่าเป็นเมืองน่าอยู่อันดับ 12 ของโลก จากนิตยสาร Monocle จากการที่ในเขตตัวเมืองมีพื้นที่สีเขียวจำนวนมาก นอกจากนี้ฟุกุโอะกะยังเป็นเมืองที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่สุดในเกาะคีวชู ซึ่งรองลงมาคือนครคิตะกีวชู และยังถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตะวันตกจากเขตมหานครเคฮันชิง จากการที่เป็นเมืองขนาดใหญ่และมีความสำคัญ ทำให้ฟุกุโอะกะได้รับสถานะเป็นนครโดยรัฐบัญญัติ เมื่อ 1 เมษายน 1972 ด้วยประชากรในเขตเมืองและปริมณฑลรวมกว่า 2.5 ล้านคน (สำมะโนปี 2005) ซึ่งทั้งฟุกุโอะกะ–คิตะกีวชู ต่างเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหนัก ซึ่งเป็นรายได้หลักของเมือง เมื่อกรกฎาคม 2011 ฟุกุโอะกะมีฐานะเป็นเมืองใหญ่อันดับ 6 ของญี่ปุ่น ซึ่งแซงหน้านครใหญ่อย่างเคียวโตะ นับเป็นครั้งแรกที่เมืองทางตะวันตกของภาคคันไซ สามารถมีประชากรมากกว่าเคียวโตะ นับตั้งแต่ก่อตั้งเมืองเคียวโตะเมื่อปี..

ใหม่!!: ประเทศราชและฟุกุโอะกะ (เมือง) · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมราชา (มัง)

ระบรมราชา (มัง) (พ.ศ. 2348 - 2369) ทรงมีพระนามเต็มว่า พระบรมราชากิตติศัพท์เทพฤๅยศ ทศบุรีศรีโคตรบูรหลวง ทรงเป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองนครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง หรือเมืองนครพนมในอดีต และทรงเป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองนครราชสีมาอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อครั้งนครพนมยังเป็นเมืองเจ้าหัวเศิกหรือนครประเทศราชของราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ. 2348 - 2371) แห่งเวียงจันทน์ ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367 - 2394) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงเป็นผู้สร้างเวียงท่าแขกหรือเมืองท่าแขกของแขวงคำม่วนในประเทศลาวปัจจุบัน เมื่อครั้งสงครามสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ พระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นแม่ทัพองค์สำคัญของฝ่ายนครเวียงจันทน์เช่นเดียวกันกับพระยานรินทร์สงคราม (ทองคำ) อนึ่ง พระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นต้นสกุลพระราชทาน มังคลคีรี แห่งจังหวัดนครพนมในภาคอีสานของประเทศไทย อีกทั้งทรงเป็นเจ้าประเทศราชแห่งเมืองนครพนมองค์สุดท้ายที่ขึ้นกับนครเวียงจันทน์และได้รับพระราชทานพระนามเป็นที่ พระบรมราชา เป็นองค์สุดท้ายก่อนที่นครพนมจะตกเป็นประเทศราชของสยาม จากนั้นสยามจึงเปลี่ยนราชทินนามของเจ้าเมืองนครพนมเป็น พระยาพนมนครนุรักษ์ แทน.

ใหม่!!: ประเทศราชและพระบรมราชา (มัง) · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: ประเทศราชและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: ประเทศราชและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาธรรมราชาที่ 3

ระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไทย)นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 40 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยสมัยอาณาจักรสุโขทัย ครองราชย์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ประเทศราชและพระมหาธรรมราชาที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

พระยาภักดีชุมพล (แล)

ระยาภักดีชุมพล (แล) เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก ชาวเมืองชัยภูมินิยมเรียกขานท่านด้วยความยกย่องนับถือว่า เจ้าพ่อพญาแล.

ใหม่!!: ประเทศราชและพระยาภักดีชุมพล (แล) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาศรีสุริยวงศ์ (มังไชย)

ระยาศรีสุริยวงศ์ หรือเจ้าหลวงนครไชยวงศา หรือพญามังไชย ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 18 ได้รับการสถาปนาจากกษัตริย์พม่าในยุคพม่าปกครอง ภายหลังได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีในปี..

ใหม่!!: ประเทศราชและพระยาศรีสุริยวงศ์ (มังไชย) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาประจันตประเทศธานี ( โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร)

อำมาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร) (ต.ช., ต.ม., ร.ป.ช., ร.ม.ฮ., ฯลฯ) เจ้าเมืองสกลนครองค์สุดท้าย ผู้ว่าราชการเมืองสกลนครคนแรก (ปัจจุบันคือจังหวัดสกลนคร ในภาคอีสานของประเทศไทย) เดิมเป็นที่ราชวงศ์แล้วเลื่อนเป็นที่พระอุปฮาด ตำแหน่งเจ้านายในคณะอาญาสี่เมืองสกลนคร ผู้ช่วยราชการเมืองสกลนคร และอดีตนายกองสักเลกเมืองสกลนคร อำมาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร) เป็นผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล พรมหมสาขา และเป็นต้นตระกูล พรหมสาขา ณ สกลนคร แห่งจังหวัดสกลนคร.

ใหม่!!: ประเทศราชและพระยาประจันตประเทศธานี ( โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร) · ดูเพิ่มเติม »

พระเมกุฏิสุทธิวงศ์

ระเป็นเจ้าแม่กุตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี, หน้า 91 (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่) พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ (พงศาวดารโยนก) พญาเมกุ หรือเจ้าขนานแม่กุประวัติศาสตร์ล้านนา, หน้า 178-179 ส่วนพม่าเรียกว่า ยูนบะหยิ่น (ယွန်းဘုရင်, Yun Bayin "กษัตริย์ของชาวโยน"), พระสังพม่าอ่านไทย, หน้า 162-163 หรือ พระสารพระราชพงศาวดารพม่า, หน้า 1129 เป็นอดีตเจ้านายเมืองนาย และเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ผู้สืบเชื้อสายมาจากพญามังราย ภายหลังอาณาจักรล้านนาได้พ่ายแพ้แก่พม่าในรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนอง พระเมกุฏิสุทธิวงศ์จึงถูกนำไปเป็นองค์ประกันในพม่าก่อนพิราลัยที่นั่นด้วยโรคบิด การพิราลัยด้วยพระโรคบิดของพระองค์นั้น ทางคติพม่าถือว่าเป็นการตายร้าย น่าสังเวชเวทนา จึงกลายเป็นนัตตระกูลสูงหนึ่งจากทั้งหมดสามสิบเจ็ดตน พระสาทิสลักษณ์ของพระองค์ในรูปลักษณ์ของนัตมีลักษณะคือ ประทับนั่งชันพระชานุขวา พระหัตถ์ขวาถือพระแสงดาบพาดพระอังสาเบื้องขวา และพระหัตถ์ซ้ายวางบนพระชานุซ้.

ใหม่!!: ประเทศราชและพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอินทวิชยานนท์

ระเจ้าอินทวิชยานนท์ (125px) (? - พ.ศ. 2440 ขึ้นครองนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2416 - พ.ศ. 2440) เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าประเทศราชองค์สุดท้ายที่มีอำนาจอย่างแท้จริง เพราะในสมัยรัชกาลที่ 5 สยามได้ริดรอนอำนาจของเจ้าผู้ครองนครลง ด้วยความจงรักภักดีที่ทรงถวายต่อพระบรมราชวงศ์จักรี อย่างไม่สั่นคลอน กอปรกับเป็นพระบิดาในเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ซึ่งนับว่าเป็นการถวายพระเกียรตินับเนื่องเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ในพระบรมราชวงศ์จักรี และเป็นพระเจ้าประเทศราชเพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ที่ได้รับพระราชทานและยกย่องพระเกียรติยศดังกล่าว.

ใหม่!!: ประเทศราชและพระเจ้าอินทวิชยานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พญาร่วง หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการยกย่องเป็น "มหาราช" ด้วยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี:3.

ใหม่!!: ประเทศราชและพ่อขุนรามคำแหงมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย

การบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย เกิดขึ้นในช่วงสงครามกรีก-เปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 492–490 ก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิดาไรอัสมหาราชต้องการลงโทษนครรัฐเอเธนส์และอีรีเทรียที่สนับสนุนการก่อกบฏของเมืองไอโอเนีย รวมถึงต้องการขยายจักรวรรดิไปในทวีปยุโรป การบุกแบ่งออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกเริ่มในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล นำโดยแม่ทัพมาร์โดเนียส ทัพเปอร์เซียสามารถยึดเธรซคืนกลับมาและบังคับให้มาซิดอนอยู่ใต้อำนาจหลังเป็นประเทศราชมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม การบุกได้หยุดชะงักลงเมื่อทัพเรือเปอร์เซียถูกพายุซัดนอกชายฝั่งเขาแอทอส ปีต่อมา จักรพรรดิดาไรอัสส่งคณะทูตไปทั่วกรีซเพื่อสั่งให้ยอมสวามิภักดิ์ นครรัฐกรีกส่วนใหญ่ยอมสวามิภักดิ์ ยกเว้นเอเธนส์และสปาร์ตาที่สั่งประหารคณะทูต จักรพรรดิดาไรอัสจึงสั่งให้ยกทัพไปอีกครั้ง การบุกครั้งที่สองเริ่มในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล นำโดยแม่ทัพดาติสและอาร์ตาเฟอร์เนส ทัพเปอร์เซียยกไปที่เกาะนักซอสก่อนจะยึดและเผาเมือง ต่อมายึดหมู่เกาะซิคละดีสและทำลายเมืองอีรีเทรีย ระหว่างยกทัพต่อไปยังเอเธนส์ในแอตติกา ทัพเปอร์เซียได้ปะทะกับทัพกรีกที่มีจำนวนน้อยกว่าที่ที่ราบมาราธอน ทัพเปอร์เซียพ่ายแพ้และยกกลับเอเชีย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายเปอร์เซียประสบความสำเร็จในการโจมตีนักซอส อีรีเทรียและแผ่อำนาจไปในภูมิภาคอีเจียน จักรพรรดิดาไรอัสได้รวบรวมกำลังพลเพื่อเตรียมบุกกรีซอีกครั้ง แต่ความขัดแย้งภายในจักรวรรดิทำให้แผนการดังกล่าวถูกเลื่อนออกไป จักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล ทิ้งแผนการให้เซอร์ซีส พระราชโอรสดำเนินการต่อ ซึ่งจักรพรรดิเซอร์ซีสสั่งบุกกรีซอีกครั้งในปีที่ 480 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ประเทศราชและการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปนครเชียงใหม่สู่มณฑลพายัพ

การปฏิรูปนครเชียงใหม่สู่มณฑลพายัพ เป็นการปฏิรูปนครเชียงใหม่ในฐานะประเทศราชของสยาม เป็นมณฑลพายัพในกำกับของสยามโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นผลมาจากลัทธิจักรวรรดินิยมที่เข้ามาสู่ภูมิภาคอินโดจีน ซึ่งขณะนั้น เชียงใหม่และประเทศราชล้านนาเป็นดินแดนทางภาคเหนือของสยามที่อังกฤษกำลังหมายปอง.

ใหม่!!: ประเทศราชและการปฏิรูปนครเชียงใหม่สู่มณฑลพายัพ · ดูเพิ่มเติม »

ฐานันดรศักดิ์เจ้านายฝ่ายเหนือ

นันดรศักดิ์เจ้านายฝ่ายเหนือ หมายถึง ระบบชั้น และชั้นยศของเจ้านายประเทศราชฝ่ายเหนือ ซึ่งประกอบด้วยนครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน นครน่าน และนครแพร.

ใหม่!!: ประเทศราชและฐานันดรศักดิ์เจ้านายฝ่ายเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรปา ยูนิเวอร์ซาลิส 3

ูโรปา ยูนิเวอร์ซาลิส 3 (Europa Universalis III) เรียกโดยย่อว่า EUIII หรือ EU3 เป็นวีดีโอเกมแนววางแผนการรบแบบเรียลไทม์ที่เน้นยุทธศาสตร์ระดับประเทศ พัฒนาโดยพาราด็อกซ์ ดีวีลอปเมนต์ สตูดิโอ และจัดจำหน่ายโดยบริษัทพาราด็อกซ์ อินเตอร์แอ็คทีฟ ตัวเกมหลักสำหรับวินโดวส์วางจำหน่ายในเดือนมกราคม..

ใหม่!!: ประเทศราชและยูโรปา ยูนิเวอร์ซาลิส 3 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐหุ่นเชิด

รัฐหุ่นเชิด (Puppet state) หรือ รัฐบาลหุ่นเชิด (Puppet government หรือ Marionette government) ใช้อธิบายถึงสภาพของรัฐที่มีเอกราชแต่เพียงในนาม แต่ถูกควบคุมโดยอำนาจต่างชาติหรือกองทัพอย่างชัดเจน คำว่า รัฐหุ่นเชิด หมายความถึง รัฐบาลที่ถูกควบคุมโดยอีกรัฐบาลหนึ่ง เหมือนกับการเชิดหุ่นกระบอก และยังใช้ในความหมายที่รัฐขาดความเป็นเอกราช หรือมีการปกป้องเอกราชในสิ่งที่เป็นอิทธิพลจากต่างชาติหรือกองทั.

ใหม่!!: ประเทศราชและรัฐหุ่นเชิด · ดูเพิ่มเติม »

รัฐในอารักขา

ตามกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐในอารักขา (protectorate; protected state) หมายถึงรัฐกึ่งเอกราชซึ่งมีอิสรภาพในการปกครองตนเอง มีผู้ปกครองเป็นคนในท้องที่ แต่ยอมอยู่ภายใต้การคุ้มครองของประเทศอื่นซึ่งเข้มแข็งกว่า (มีอำนาจปกครอง แต่ไม่มีอำนาจสั่งทหาร) ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันภัยจากประเทศที่สาม รัฐในอารักขามักจะมอบสิทธิพิเศษทางการค้าและอนุญาตให้ผู้คุ้มครองเข้าใช้ดินแดนบางส่วนในรัฐของตนเพื่อเป็นการตอบแทนความคุ้มครอง.

ใหม่!!: ประเทศราชและรัฐในอารักขา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคดีฟอียิปต์

รัฐเคดีฟอียิปต์ (Khedivate of Egypt; خديوية مصر; ออตโตมันเติร์ก: خدیویت مصر Hıdiviyet-i Mısır) เป็นรัฐบรรณาการของจักรวรรดิออตโตมัน ปกครองโดยราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี คำว่า "เคดีฟ" (khedive) ในภาษาตุรกีออตโตมัน หมายถึง "อุปราช" ใช้ครั้งแรกโดยมูฮัมหมัด อาลี ปาชา แต่ไม่ได้รับการยอมรับจนกระทั่งถึงปี..

ใหม่!!: ประเทศราชและรัฐเคดีฟอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เหลียว

ราชวงศ์เหลียว (Liao Dynasty; ชี่ตัน: Mos Jælud; มองโกล: Ляо Улс/Lyao Uls) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิชี่ตัน (Khitan Empire; ชี่ตัน: Mos diau-d kitai huldʒi gur; มองโกล: Хятан (Khyatan) Гүрэн, Кидан (Kidan) Гүрэн) เป็นชื่อจักรวรรดิหนึ่งในเอเชียตะวันออก มีอำนาจในมองโกเลีย ภาคตะวันออกไกลบางส่วนของรัสเซีย เกาหลีเหนือ และภาคเหนือของจีนส่วนในตั้งแต่ปี 907 ถึง 1125 พระเจ้าไท่จู่ (Taizu) ข่านแห่งชาวชี่ตัน สถาปนาจักรวรรดินี้ขึ้นหลังจากราชวงศ์ถังของประเทศจีนล่มสลาย และไม่ช้าไม่นานหลังก่อตั้งขึ้น ราชวงศ์เหลียวก็เริ่มขยายดินแดน โดยพระเจ้าไท่จู่ทรงเอาชัยเหนือพวกพัลแฮ (Balhae) เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าแผ่นดินองค์ถัด ๆ มายังทรงได้สิบหกมณฑลของจีนไว้โดยใช้วิธียุแยงให้รัฐที่สามส่งการก่อกวนเข้ามา แล้วราชวงศ์เหลียวจึงคอยตีกิน ทำให้ราชวงศ์ถังอวสานลง และราชวงศ์โครยอ (Goryeo) แห่งเกาหลี กับราชวงศ์ซ่ง (Song) แห่งจีน ตกเป็นเมืองออกของราชวงศ์เหลียวในที่สุด คำว่า "เหลียว" นี้ในภาษาจีนหมายความว่า ห่าง หรือไกล จุดเด่นของราชวงศ์เหลียว คือ ความตึงเครียดระหว่างจารีตประเพณีทางสังคมและการเมืองแบบชี่ตันกับแบบจีนซึ่งนำไปสู่วิกฤติการณ์ทางการสืบสันตติวงศ์ เพราะพระเจ้าแผ่นดินเหลียวฝักใฝ่คติบุตรหัวปีเป็นใหญ่ตามแบบจีน แต่ผู้ลากมากดีชาวชี่ตันส่วนใหญ่นิยมประเพณีที่ให้ผู้แข็งแกร่งที่สุดสืบเชื้อสาย ความแตกต่างกันระหว่างจารีตประเพณีชี่ตันและจีนนี้ยังเป็นเหตุให้พระเจ้าไท่จู่แห่งราชวงศ์เหลียวทรงตั้งการปกครองสองแบบขนานกัน ภาคเหนือซึ่งเป็นอาณาเขตชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีชี่ตัน ภาคใต้ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ไม่ใช่ชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีจีน ความแตกต่างทางสังคมแบบชี่ตันกับแบบจีนยังได้แก่ บทบาทของบุคคลแต่ละเพศและยุทธวิธี ชาวชี่ตันเห็นว่า บุคคลเสมอภาคกันไม่ว่าเพศใด ขณะที่ประเพณีทางวัฒนธรรมจีนถือว่า สตรีต้องอยู่ในโอวาทบุรุษ ฉะนั้น หญิงชี่ตันจึงเล่าเรียนการรบ ทั้งยังจัดการทรัพย์สินครัวเรือน และดำรงตำแหน่งทางทหาร ทั้งยังไม่มีการคลุมถุงชน ตลอดจนสตรีไม่จำต้องครองความบริสุทธิ์ทางเพศไว้จนถึงการสมรสครั้งแรก กับมีสิทธิที่จะหย่าและสมรสใหม่ด้วย ในปี 1125 ชาวนฺหวี่เจิน (Jurchen) จากราชวงศ์จิน (Jin) ของพวกแมนจู จับกุมพระเจ้าเทียนจั้ว (Tianzuo) แห่งเหลียวไว้ได้ และทำลายราชวงศ์เหลียวลงสิ้น แต่ชาวชี่ตันที่ยังเหลืออยู่มีเยลฺวี่ ต้าฉือ (Yelü Dashi) เป็นผู้นำ พากันก่อตั้งราชวงศ์ใหม่เรียกว่า "เหลียวตะวันตก" (Western Liao) ปกครองกันอยู่ในเอเชียกลางบางส่วนเป็นเวลายาวนานเกือบหนึ่งศตวรรษ ก่อนจะถูกทัพพระเจ้าไท่จู่ (Taizu) แห่งราชวงศ์หยวนของพวกมองโกล เข้ายึดครอง แม้ความสำเร็จทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับราชวงศ์เหลียวจะสลักสำคัญ กับทั้งเครื่องปั้นและศิลปวัตถุอื่น ๆ ก็มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์และสถานสะสมต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก แต่สภาพที่แท้จริงและขอบข่ายของอิทธิพลที่วัฒนธรรมเหลียวมีต่อพัฒนาการในระยะหลัง ๆ เช่น ด้านศิลปะการแสดงและการสังคีตนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างยิ่ง.

ใหม่!!: ประเทศราชและราชวงศ์เหลียว · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะรีวกีว

รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะรีวกีว เริ่มต้นจากพระเจ้าชุนเท็นในศตวรรษที่ 12 ถึงพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายในศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: ประเทศราชและรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะรีวกีว · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

ในสมัยที่เป็นประเทศราชของอาณาจักรธนบุรี เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาประเทศราช" โดยมีพระยาวิเชียรปราการ (บุญมา) เป็นพระยาเชียงใหม่องค์แรก ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีพระยาเชียงใหม่บางองค์ได้รับสถาปนาเป็น "พระเจ้าประเทศราช" เป็นกรณีพิเศษ เช่น พระเจ้ากาวิละ พระเจ้ามโหตรประเทศ จนวันที่ 16 ตุลาคม..

ใหม่!!: ประเทศราชและรายพระนามเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

วัดสุทธิวราราม

วัดสุทธิวราราม ตั้งอยู่บน ถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 13 วา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2424 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี นับเป็นวัดประจำสกุล ณ สงขลา ในกรุงเทพมหานครอีกแห่งหนึ่งนอกจากวัดสุวรรณคีรี จังหวัดสงขล.

ใหม่!!: ประเทศราชและวัดสุทธิวราราม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9

มเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 347 หรือ พระเจ้าท้ายสระนามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 165 หรือ พระเจ้าภูมินทราชา หรือ พระเจ้าบรรยงก์รัตนาสน์ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: ประเทศราชและสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

มเด็จพระนเรศวรมหาราช มีพระนามเดิมว่าพระนเรศ หรือ "พระองค์ดำ" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรีย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ..

ใหม่!!: ประเทศราชและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

มเด็จพระเจ้าทรงธรรม หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 1 หรือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงธรรมอันมหาประเสริฐ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 21 แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย หลังจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สำเร็จโทษพระมหากษัตริย์องค์ก่อนแล้ว พระศรีศิลป์หรือพระพิมลธรรม หรือพระเจ้าทรงธรรมก็เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัต.

ใหม่!!: ประเทศราชและสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐหลานฟาง

รณรัฐหลานฟาง (Lanfang Republic; ภาษาจีน: 蘭芳共和國; พินยิน: Lánfāng Gònghéguó; Pe̍h-ōe-jī: Lân-phang Kiōng-hô-kok) เป็นรัฐของชาวจีนที่ใช้ระบบกงสีในกาลีมันตันตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย ก่อตั้งโดยชาวจีนฮากกาชื่อหลัว ฟางปั๋ว (羅芳伯) เมื่อ..

ใหม่!!: ประเทศราชและสาธารณรัฐหลานฟาง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น

งครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russo-Japanese War) เป็น สงครามครั้งใหญ่ครั้งแรกในศตวรรษที่ 20 อันเนื่องมาจากลัทธิจักรวรรดินิยมของจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิญี่ปุ่น ในบริเวณทางใต้ของแมนจูเรียในพื้นที่คาบสมุทรเหลียวตง, เสิ่นหยาง และบริเวณเกาหลีในพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี, ทะเลเหลือง รัสเซียได้ร้องขอท่าเรือน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้ เพื่อใช้งานด้านกองทัพเรือและการค้าทางทะเลของรัสเซีย เนื่องจากนครวลาดิวอสต็อกของรัสเซียสามารถเปิดดำเนินการได้อย่างเต็มที่เฉพาะในฤดูร้อนเท่านั้น แต่เมืองพอร์ตอาเธอร์ (ลวี่ชุนเกาในปัจจุบัน) สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอดทั้งปี ซึ่งตั้งแต่สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ยุติลง ในปี..

ใหม่!!: ประเทศราชและสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเจ็ดปี

ำหรับสงครามเจ็ดปีในความหมายอื่น อ่าน สงครามเจ็ดปี (แก้ความกำกวม) สงครามเจ็ดปี (Seven Years' War) หรือ สงครามไซลีเซียครั้งที่ 3 (Third Silesian War) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: ประเทศราชและสงครามเจ็ดปี · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา

หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา (ท.จ.) (4 ธันวาคม พ.ศ. 2422-20 ตุลาคม พ.ศ. 2481) มีนามเดิมว่า อัญญานางเจียงคำ สกุลเดิม บุตโรบล เป็นเจ้านายสตรีของเมืองอุบลราชธานีซึ่งเป็นเมืองประเทศราชของราชอาณาสยามมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ที่ถวายตัวเป็นหม่อมใน พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และองค์ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง เพื่อเป็นการกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างราชสำนักสยาม กับเจ้านายพื้นถิ่นเมืองอุบลราชธานีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในช่วงที่มีนโยบายปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5).

ใหม่!!: ประเทศราชและหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

หนองหานหลวง

หนองหานหลวง เป็นหัวเมืองหลักทางเหนือของอาณาจักรขอมในสมัยนั้น สันนิษฐานน่าจะเป็นเมืองประเทศราชเช่นเดียวกับ พิมาย หรือละโว้ ของอาณาจักรขอม ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองพระนคร(นครธม) เมืองหนองหานหลวงมีเขียนบันทึกไว้ใน ตำนานอุรังคธาตุ ในตอนที่สร้างองค์พระธาตุพนม จังหวัดนครพนมตอนหนึ่งว่า "...เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่ เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหานน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน..." จากตำนานอุรังคธาตุ พอหมดสมัยของพระยาสุวรรณภิงคาระ กษัตริย์องค์ต่อมาคงปกครองเรื่อยมา แต่ไม่มีบทบาทเท่าพระยาสุวรรณภิงคาระ ไม่ก็เกิดสงคราม หรือก็อาจเกิดภัยธรรมชาติจนทำให้ต้องอพยพไปที่อื่น อาจจะเป็นเพราะสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งก็เป็นได้ จึงทำให้เมืองหนองหานหลวงร้าง และขาดหายไปจากประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่ง เหลือเพียงชุมชนเล็กๆที่ไม่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เท่านั้น.

ใหม่!!: ประเทศราชและหนองหานหลวง · ดูเพิ่มเติม »

อัศวินฮอสปิทัลเลอร์

ณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ (Knights Hospitaller) หรือคณะฮอสปิทัลเลอร์ (Order of Hospitallers) เป็นคณะบุรุษที่ทำงานที่โรงพยาบาลอมาลฟิที่ตั้งขึ้นในเยรูซาเลมในปี..

ใหม่!!: ประเทศราชและอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักร

อาณาจักร (kingdom; dominion) หมายถึง เขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของประเทศหนึ่ง อาจจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ประเทศราชและอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรรีวกีว

อาณาจักรรีวกีว (琉球王国 Ryūkyū Ōkoku; รีวกีว: Ruuchuu-kuku;; ค.ศ. 1429 — 1879) เป็นรัฐเอกราช ครอบครองหมู่เกาะรีวกีว เกือบทั้งหมดตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 - 19 ชื่อของอาณาจักรรีวกีวปรากฏในเอกสารต้นกรุงรัตนโกสินทร์ว่า ลิชี่ว (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) หรือ ลิ่วขิ่ว (โคลงภาพคนต่างภาษา) กษัตริย์ของอาณาจักรรีวกีวได้รวบรวมเกาะโอะกินะวะ ให้เป็นปึกแผ่น และขยายอาณาเขตไปถึงหมู่เกาะอะมะมิ (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดคะโงะชิมะ และหมู่เกาะซะกิชิมะ ใกล้กับเกาะไต้หวัน แม้ว่าจะเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ แต่ก็มีบทบาทสำคัญทางด้านการค้าทางทะเลในยุคกลางของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ประเทศราชและอาณาจักรรีวกีว · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรล้านช้าง

อาณาจักรล้านช้าง (ອານາຈັກລ້ານຊ້າງ) เป็นอาณาจักรของชนชาติลาวซึ่งตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีอาณาเขตอยู่ในบริเวณประเทศลาวทั้งหมด ตลอดจนพื้นที่บางส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งการเมืองการปกครอง ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนพระพุทธศาสนา ที่มีพัฒนาการเคียงคู่มาพร้อมกันอาณาจักรอื่น ๆ ใกล้เคียง ทั้งล้านนา สยาม พม่า และเขมร อาณาจักรแห่งนี้ได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นปึกแผ่นมั่งคงอย่างแท้จริงในปี พ.ศ. 1896 สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม มีความรุ่งเรืองสลับกับความร่วงโรยต่อมาหลายสมัย ซึ่งยุคที่นับได้ว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านช้างคือรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2091- พ.ศ. 2114 และรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. 2181- พ.ศ. 2238) หลังจากนั้นอาณาจักรลาวก็เสื่อมอำนาจลงและแตกแยกเป็น 3 ราชอาณาจักร และในปี พ.ศ. 2321 ทั้ง 3 อาณาจักรก็ได้สูญเสียเอกราชแก่ราชอาณาจักรสยามในที.

ใหม่!!: ประเทศราชและอาณาจักรล้านช้าง · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์

ราชอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ คืออาณาจักรลาวล้านช้างที่ตั้งอยู่ทางต้นใต้ของประเทศลาวในปัจจุบัน ดำรงอยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2256 ถึง พ.ศ. 2489 เป็นเวลา 236 ปี อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ตกเป็นประเทศราชของไทยจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาครอบครองบริเวณประเทศลาวทั้งหมด จำปาศักดิ์ถูกยุบรวมเข้ากับอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง กลายมาเป็นราชอาณาจักรลาว เมื่อปี..

ใหม่!!: ประเทศราชและอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ เป็นอาณาจักรทางตอนกลางของประเทศลาว และ ภาคอีสานตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบัน อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ครอบคลุม ภาคอีสานตอนบน แขวงเวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ กรุงเวียงจันทน์ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของประเทศและบริเวณใกล้เคียง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ติดกับอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ เมื่อถึง พ.ศ. 2436 อาณาจักรล้านช้างทั้ง 3 ส่วนจึงได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเป็นพระราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2496 รวมลาวอยู่ภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นเวลา 60 ปี หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ลาว หมวดหมู่:เวียงจันทน์ หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศลาว หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ล.

ใหม่!!: ประเทศราชและอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรล้านนา

อาณาจักรล้านนา (95px) คือ ราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีตที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ตลอดจนสิบสองปันนา เช่น เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอนสรัสวดี อ๋องสกุล.

ใหม่!!: ประเทศราชและอาณาจักรล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรหลวงพระบาง

อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อยู่ทางประเทศลาวตอนเหนือ ภายหลังเมื่อรวมลาวเป็นหนึ่งแล้ว ก็ยังเป็นเมืองหลวงของลาว จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลังเจ้ากิสราช กับเจ้าองค์นก (องค์ดำ) มาชิงเอาเมืองหลวงพระบางได้ ก็ประกาศขึ้นครองราชสมบัติของนครหลวงพระบางในระหว่าง..

ใหม่!!: ประเทศราชและอาณาจักรหลวงพระบาง · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรหงสาวดี

อาณาจักรหงสาวดี (ဟံသာဝတီ ပဲခူး နေပြည်တော်;,; บางครั้งเรียก กรุงหงสาวดี หรืออย่างสั้น พะโค) เป็นอาณาจักรที่ปกครองพม่าตอนล่างตั้งแต..

ใหม่!!: ประเทศราชและอาณาจักรหงสาวดี · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรข่านชากี

อาณาจักรข่านชากี (Shaki Khanate; Şəki xanlığı) เป็นหนึ่งในอาณาจักรข่านแห่งคอเคซัส อยู่ในดินแดนของประเทศอาเซอร์ไบจานในปัจจุบัน อาณาจักรข่านแห่งนี้สถาปนาในช่วงที่ราชวงศ์อัฟชาริด (Afsharid dynasty) ปกครองอิหร่าน มีเมืองหลวงคือเมืองชากี.

ใหม่!!: ประเทศราชและอาณาจักรข่านชากี · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรปัตตานี

อาณาจักรปัตตานี (كراجأن ڤتاني; Kerajaan Patani) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส (เมืองสะโตย) (เมืองสตูล) และสงขลาบางส่วนในปัจจุบัน อาณาจักรปัตตานีถือกำเนิดขึ้นก่อนอาณาจักรสยาม 500 ปี เริ่มจากเป็นเผ่าเล็ก ๆ รวมตัวกัน มีประชากรอาศัย 200-250 คน มีชื่อว่า ปีสัง โดยแต่ละปีจะมีตูวอลา (หัวหน้าเผ่าในสมัยนั้น) มาปกครอง และจะสลับทุก ๆ 1 ปี ต่อมามีชนกลุ่มใหญ่เข้ามามีบทบาทในแถบนี้มากขึ้น จนในที่สุด ก็ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรลังกาสุกะ และเปลี่ยนจากชื่อ ปีสัง มาเป็น บาลูกา ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9 หลังจากนั้นราว 100 ปี ลูกชายกษัตย์ลังกาสุกะได้เดินทางมาถึงที่นี้และรู้สึกประทับใจ เลยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ปาตาอีนิง แล้วก่อตั้งเป็นรัฐใหม่ ชื่อ รัฐปาตาอีนิง จนมีพ่อค้ามากมายเข้ามาติดต่อค้าขายทั้งจีน อาหรับ แต่ชาวอาหรับเรียกที่นี้ว่า ฟาตอนี เลยมีคนเรียกดินแดนแห่งนี้แตกต่างกันออกไป เดิมอาณาจักรปัตตานีนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้เริ่มเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม โดยบางช่วงอาณาจักรแผ่ขยายครอบคลุมถึงรัฐกลันตันและรัฐตรังกานู ตอนกลางของประเทศมาเลเซียอ้างอิงจาก"สี่กษัตริยาปตานี: บัลลังก์เลือด และตำนานรักเพื่อแผ่นดิน" ศิลปวัฒนธรรม ฉบับวันที่ 1 มีนาคม..

ใหม่!!: ประเทศราชและอาณาจักรปัตตานี · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: ประเทศราชและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิซ่งเหรินจง

หรินจง เป็นจักรพรรดิรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่งเหนือของจีน ประสูติเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ประเทศราชและจักรพรรดิซ่งเหรินจง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโยเซฟที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิโยเซฟที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ระหว่างปี 1765 ถึง 1790 และทรงเป็นผู้ปกครองแผ่นดินฮับบูร์ก ระหว่างปี 1780 ถึง 1790 พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา กับ จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 และเป็นพระเชษฐาในพระนางมารี อ็องตัวแน็ต อัครมเหสีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองดินแดนประเทศราชของออสเตรียพระองค์แรก ที่มีเชื้อสายมาจากฮับส์บูร์กผ่านทางพระราชมารดา ในช่วงรัชกาลของพระองค์ ทรงใช้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม ตัวพระองค์ถูกเปรียบว่าเทียบได้กับ พระนางแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย และ พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย เป็นหนึ่งในสามกษัตริย์ผู้รุ่งโรจน์แห่งยุค พระองค์เสร็จสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาท ดังนั้นผู้สืบราชบัลลังก์ต่อคือพระอนุชาของพระองค์ แกรนด์ดยุกปีเตอร์ เลโอโปล.

ใหม่!!: ประเทศราชและจักรพรรดิโยเซฟที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดปัจจันตคิรีเขตร

ังหวัดปัจจันตคิรีเขตร หรือบางเอกสารจะเรียกว่า ปัตจันตคีรีเขตร์ บ้าง ประจันต์คิรีเขตต์บ้าง เป็นเมืองเดิมของราชอาณาจักรขอม (เขมร) ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเมืองหน้าด่านทางชายฝั่งทะเลตะวันออกที่มีความสำคัญเทียบเท่าจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด ในอดีต มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เกาะกง เขตจังหวัดเกาะกงในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน ดินแดนจังหวัดนี้ตกเป็นของฝรั่งเศสพร้อมกับหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง คือ แขวงไชยบุรีและแขวงจำปาศักดิ์ เมื่อ..

ใหม่!!: ประเทศราชและจังหวัดปัจจันตคิรีเขตร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครศรีธรรมราช

นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดในประเทศไทย มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้และมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 780 กิโลเมตร มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี ในอดีต มีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ เช่น ในคัมภีร์มหานิเทศของอินเดีย ที่เขียนขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 เรียกว่า "ตามพรลิงก์" หรืออาณาจักรตามพรลิงก์, บันทึกโบราณของเมืองจีนเรียก "เซี้ยะ-โท้ว (ถู-กวั่ว) ", "รักตะมฤติกา" (จารึกภาษาสันสกฤต) ซึ่งล้วนหมายถึง "ดินแดนที่มีดินสีแดง", ตะวันตกนิยมเรียกกันมา จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต มีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่" ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอกคู่กับเมืองพิษณุโลก มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาเป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาห.

ใหม่!!: ประเทศราชและจังหวัดนครศรีธรรมราช · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดโอกินาวะ

ที่ตั้งของหมู่เกาะรีวกีว แผนที่จังหวัดโอกินาวะ จังหวัดโอกินาวะ (沖縄県 Okinawa-ken) เป็นจังหวัดใต้สุดของญี่ปุ่น พื้นที่ยาวกว่า 1,000 กิโลเมตร กินสองในสามของเกาะรีวกีวซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของคีวชูไปทางไต้หวัน เมืองเอกคือนาฮะซึ่งอยู่ภาคใต้ของเกาะโอกินาวะ แม้จังหวัดโอกินาวะจะเป็นพื้นที่เพียงร้อยละ 0.6 ของดินแดนญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ร้อยละ 75 ของทหารสหรัฐที่ประจำในญี่ปุ่นก็ตั้งอยู่ในจังหวัดนี้ ปัจจุบัน มีกองกำลังสหรัฐราว 26,000 กองตั้งอยู่ในจังหวัดโอกินาว.

ใหม่!!: ประเทศราชและจังหวัดโอกินาวะ · ดูเพิ่มเติม »

จำปาศักดิ์ (แก้ความกำกวม)

ำปาศักดิ์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ประเทศราชและจำปาศักดิ์ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

คลองสุไหงบารู

ลองสุไหงบารู (มลายูปัตตานี: سوڠاي بهارو) หรือ คลองใหม่ เป็นคลองขุดสายหนึ่งในอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี คลองนี้ถูกขุดขึ้นตามคำสั่งของพระยาวิชิตภักดี (ตนกูสุไลมาน ซาฟุดดิน) หรือตนกูบอสู เพื่อเป็นทางลัดของแม่น้ำปัตตานีที่คดโค้งเพื่อความสะดวกแก่บรรดาพ่อค้าที่ล่องเรือลงไปค้าขายยังเมืองยะลาที่อยู่พื้นที่ชั้นในและยังประโยชน์ด้านเก็บภาษีอากรแก่เมืองปัตตานีด้วย แต่การขุดคลองดังกล่าวได้สร้างผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมของชาวเมืองหนองจิก จนเกิดปัญหานาร้างเนื่องจากปัญหาถูกน้ำเค็มรุกล้ำเรื่อยมามาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ประเทศราชและคลองสุไหงบารู · ดูเพิ่มเติม »

ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง

''ต้นไม้ทอง'' ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัวลาลัมเปอร์ ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง หรือ ต้นไม้ทองเงิน (bunga mas dan perak "ดอกไม้ทองและเงิน") หรือบุหงามาศ (bunga mas "ดอกไม้ทอง") เป็นเครื่องราชบรรณาการที่ประเทศราชของสยามต้องส่งมาถวายพระเจ้าแผ่นดินทุก ๆ สามปี เพื่อแสดงความสวามิภักดิ์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นสิ่งของคารวะของเจ้านายหรือขุนนางถวายต่อพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานพระอิสริยยศหรือบรรดาศักดิ์ให้สูงขึ้น เรียกว่า "พุ่มไม้เงินพุ่มไม้ทอง" บ้างก็พบว่ามีการใช้ต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นเครื่องสักการะถวายเป็นพุทธบูชาในวัด ใน..

ใหม่!!: ประเทศราชและต้นไม้เงินต้นไม้ทอง · ดูเพิ่มเติม »

นครเชียงใหม่

รัตนติงสาอภินวปุรีสรีคุรุรัฎฐพระนครเชียงใหม่ (200px) หรือ นครเชียงใหม่ เป็นประเทศราชในหัวเมืองเหนือของสยามตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ประเทศราชและนครเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นล้านนา

แคว้นล้านนา เป็นอาณาจักรอันเป็นประเทศราชของราชวงศ์ตองอู และ อยุธยา ช่วงระหว่างปี..

ใหม่!!: ประเทศราชและแคว้นล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นเชียงใหม่

แคว้นเชียงใหม่ เป็นอาณาจักรอันเป็นหัวเมืองประเทศราชของราชวงศ์ตองอู ตั้งแต..

ใหม่!!: ประเทศราชและแคว้นเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ไทยโยเดีย

วโยดายา หรือ ชาวอยุธยาในพม่า (โยดายา หลุ มฺโย) เป็นคำที่เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบรรพบุรุษเป็นเป็นชาวไทยสยามจากอาณาจักรอยุธยา ซึ่งอพยพเข้ามาประเทศพม่า มีทั้งอพยพไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์พม่าโดยสมัครใจ บ้างก็เป็นเชลยซึ่งถูกกวาดต้อนเมื่อเกิดสงคราม เมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ ชาวอยุธยาในพม่าค่อย ๆ ผสมปนเปไปกับสังคมพม่า บ้างก็โยกย้ายจากถิ่นฐานเดิม พวกเขาเลิกพูดภาษาไทยและหันไปพูดภาษาพม่า จนกระทั่งทิน มอง จี นักวิชาการชาวพม่าผู้มีเชื้อสายโยดายาเขียนบทความสั้นชื่อ "สุสานกษัตริย์ไทย" (A Thai King’s Tomb) ก่อนปี..

ใหม่!!: ประเทศราชและไทยโยเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เวียงสวนดอก

ทางอากาศเวียงสวนดอกในอดีต เวียงสวนดอก เป็นเขตเมืองเก่าทางตะวันตกของเวียงเชียงใหม่ มีวัดสวนดอกเป็นศูนย์กลาง อดีตมีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยงจัตุรัส ยาวด้านละราว 470 เมตร มีขนาดราว 1 ใน 4 ของเวียงเชียงใหม่ ในปัจจุบันยังสามารถพบเห็นแนวกำแพงได้บางส่วน ตามตำนานสุวรรณคำแดง กล่างถึงเวียงสวนดอกไว้ว่า แต่เดิมนั้นเป็นเมืองบริวารเล็กๆของเมืองเชษฐะบุรี (เวียงเจ็ดลิน) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาดอยสุเทพโดยมีพญาวีวอ และพญาสระเกศเป็นผู้ปกครองเมือง เป็นเวียงของชาวลัวะ ซึ่งตั้งขึ้นใหม่แทน เมืองนวรัฐะที่ได้ล่มสลายไปเพราะเกิดอาเพศ ต่อมาได้มีการสร้างเวียงสวนดอกขึ้นเพื่อให้เป็นเมืองบริวาร โดยสร้างขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชษฐะบุรี เวียงสวนดอก เจริญมั่นคงขึ้นและปรากฏชื่ออยู่ในตำนานหลายครั้ง เช่น ในสมัยพญากือนา กษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย อาณาจักรล้านนา ทรงสร้างวัดบุปผารามดอกไม้ (วัดสวนดอก) ขึ้น ณ บริเวณใจกลางเวียงเพื่อถวายพระสุมนเถระแห่งเมืองสุโขทัย และเพื่อให้เป็นวัดประจำเวียง เมื่อในปี พ.ศ. 2084 เจ้าฟ้ายองห้วยแห่งเมืองนาย ได้ยกพลมาตีเวียงเชียงใหม่ โดยตั้งรี้พลไว้ที่เวียงสวนดอก ก่อนจะเคลื่อนทัพไปตั้งที่วัดป่าตาล และพยายามเข้าตีเวียงเชียงใหม่ แต่ก็ไม่สำเร็จจึงต้องถอนทัพกลับไป จากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงสันนิษฐานได้ว่าในขณะนั้นเวียงสวนดอกคงเป็นเมืองร้างอยู่แล้ว ข้าศึกจึงสามารถใช้เป็นที่ตั้งกองทัพได้ จากนั้นก็ไม่ปรากฏชื่อเวียงสวนดอกอีกเลย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งขณะนั้นเชียงใหม่อยู่ในฐานะเมืองประเทศราชทางเหนือของกรุงเทพฯ จึงปรากฏชื่ออีกครั้ง ในชื่อของบ้านสวนดอก.

ใหม่!!: ประเทศราชและเวียงสวนดอก · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)

ระอาชญาเจ้าขุนรามราชรามางกูร (ลาว: ພຣະອາດຊະຢາເຈົ້າຂຸນຣາມມະຣາຊຣາມາງກູຣ, ราว พ.ศ. ๒๓๐๐-๒๔๐๐) ทรงเป็นเจ้าเมืองพนม (เมืองธาตุพนม) อันเป็นเมืองกัลปนาหรือเมืองพุทธศาสนานครพระองค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ เมื่อครั้งธาตุพนมยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ ก่อนตกเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม และทรงเป็นเจ้าขุนโอกาส (ขุนโอกลาษ) ผู้รักษากองข้าอุปัฏฐากพระบรมมหาธาตุเจ้าเจดีย์พระนม (พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร) พระองค์แรกแห่งราชวงศ์เวียงจันทน์ ระหว่างราวปี..

ใหม่!!: ประเทศราชและเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)

อนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ ที่ทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) หรือ พระปทุมวรราชสุริยวงษ ในจารึกพระเจ้าอินแปงออกนามว่า เจ้าพระปทุม ชาวเมืองอุบลราชธานีในสมัยโบราณนิยมออกนามว่า อาชญาหลวงเฒ่า ดำรงตำแหน่งเจ้าประเทศราชครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราชคนแรก (ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานีในภาคอีสานของประเทศไทย) นามเดิมว่า เจ้าคำผง หรือ ท้าวคำผง เป็นโอรสในเจ้าพระตา (เจ้าพระวรราชปิตา) เจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลุ่มภู) กับเจ้านางบุศดี สมภพเมื่อ พ.ศ. 2252 ณ นครเวียงจันทน์ สืบเชื้อสายเจ้านายลาวจากราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์อันเก่าแก่ อันเนื่องมาจากพระอัยยิกา (ย่า) ของพระองค์ซึ่งเป็นพระมเหสีของเจ้าปางคำ (ปู่) มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ จึงเป็นเหตุให้มีสร้อยราชทินนาม (รวมทั้งของเจ้าฝ่ายหน้า-ผู้อนุชา) มีคำว่า สุริยวงศ์ ต่อท้ายนาม อีกทั้งยังสืบเชื้อสายมาจากพระอัยกา (ปู่) คือเจ้าปางคำ เจ้านายเชื้อสายลื้อแห่งราชวงศ์เชียงรุ่งจากอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง (เมืองเชียงรุ้งแสวนหวีฟ้า) ผู้สร้างเมืองหนองบัวลุ่มภู (จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) อนึ่ง พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เป็นต้นสกุลพระราชทาน ณ อุบล แห่งจังหวัดอุบลราชธานี ในภาคอีสานของประเทศไท.

ใหม่!!: ประเทศราชและเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพิริยเทพวงษ์

้าพิริยเทพวงษ์ หรือ เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 22 (องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์เทพวงศ์) ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นต้นราชตระกูลเทพวง.

ใหม่!!: ประเทศราชและเจ้าพิริยเทพวงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าอนุวงศ์

้าอนุวงศ์ หรือ เจ้าอนุ (ສົມເດັຈພຣະເຈົ້າ​ອະນຸວົງສ໌) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๕ หรือพระองค์สุดท้าย ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นพระมหาวีรกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างและประเทศลาว นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องจากประชาชนชาวลาวว่า เป็นพระมหากษัตริย์ผู้พยายามกอบกู้เอกราชชาติลาวจากการเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม ทรงปกครองราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ราว..

ใหม่!!: ประเทศราชและเจ้าอนุวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าดารารัศมี พระราชชายา

้าดารารัศมี พระราชชายา (150px) (26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476) เจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักรจากนครเชียงใหม่ ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม โดยการถวายตัวเป็นสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมลานน.

ใหม่!!: ประเทศราชและเจ้าดารารัศมี พระราชชายา · ดูเพิ่มเติม »

เจ้านายฝ่ายเหนือ

้านายฝ่ายเหนือ หมายถึง เจ้านายผู้สืบเชื้อสายในราชวงศ์ที่เคยปกครองอาณาจักรหัวเมืองเหนือ ซึ่งเข้ามาเป็นประเทศราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อันได้แก่ เจ้าในราชวงศ์ทิพย์จักรที่ปกครองนครเชียงใหม่ นครลำปาง และนครลำพูน ราชวงศ์น่านที่ปกครองนครน่าน และราชวงศ์เทพวงศ์ที่ปกครองนครแพร่ ในอดีตเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ มีอำนาจสิทธิ์ขาดปกครองดินแดนของตน แต่มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องบรรณาการถวายราชสำนักสยามเพื่อแสดงความจงรักภักดีเท่านั้น อย่างไรก็ตามราชสำนักสยามได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในราชสำนักประเทศราชหลายครั้ง จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงยกเลิกการปกครองแบบประเทศราชเพื่อรวมศูนย์อำนาจการปกครองไว้ที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะ ตำแหน่งเจ้าประเทศราชก็ให้สิ้นสุดเมื่อเจ้านครนั้นถึงแก่พิราลัย ปัจจุบันเจ้านายฝ่ายเหนือในราชวงศ์ทิพย์จักรยังคงมีการสืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น และยังมีการรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อปี..

ใหม่!!: ประเทศราชและเจ้านายฝ่ายเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เขตพื้นที่ที่ปกครองตนเอง

ตพื้นที่ที่ปกครองตนเอง (autonomous area) หมายถึง เขตหรือดินแดนที่รัฐบาลกลางให้ปกครองตัวเอง โดยอาจมีกฎหมายพิเศษที่เรียกว่ารัฐบัญญัติ (Statute) เป็นธรรมนูญการปกครอง ส่วนใหญ่มักนำมาใช้กับเขตที่มีชนส่วนน้อยจำนวนมาก หรือ มีความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์เช่น เป็นภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลและไม่ต่อเนื่องกับดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศ เขตปกครองตนเองอิสระ อาจเทียบได้กับลักษณะการปกครองประเทศราชของไทยในสมัยโบราณ ที่รัฐบาลกลางจะให้อิสระแก่เมืองขึ้นให้ปกครองกันเอง ประเทศที่มีเขตปกครองตนเองอิสระ เช่น สเปน สาธารณรัฐประชาชนจีน สหพันธรัฐรัสเซีย อิตาลี เป็นต้น.

ใหม่!!: ประเทศราชและเขตพื้นที่ที่ปกครองตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

เดนลอว์

“โกลด์:” บริเวณการปกครองของเดนส์ บริเวณการปกครองของเดนส์ หรือ บริเวณเดนลอว์ (Danelaw, Danelagh; Dena lagu; Danelov) ที่บันทึกใน “พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน” เป็นชื่อทางประวัติศาสตร์ของบริเวณในบริเตนใหญ่ที่ปกครองด้วยกฎหมายของ “เดนส์” ที่อยู่เหนืออิทธิพลของกฎของแองโกล-แซ็กซอน บริเวณบริเตนใหญ่ที่อยู่ใต้การปกครองของเดนส์ในปัจจุบันอยู่ในบริเวณทางเหนือและตะวันออกของอังกฤษ ที่มาของบริเวณการปกครองของเดนส์มาจากการขยายตัวของไวกิงในคริสต์ศตวรรษที่ 9 แม้ว่าคำนี้จะมิได้ใช้ในการบรรยายบริเวณทางภูมิศาสตร์มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 การขยายตัวของไวกิงมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในสแกนดิเนเวียที่ทำให้นักรบไวกิงมีความจำเป็นในการไปล่าทรัพย์สมบัติในอาณาบริเวณใกล้เคียงเช่นเกาะอังกฤษ นอกจากจะใช้ในการบรรยายบริเวณทางภูมิศาสตร์แล้ว “บริเวณการปกครองของเดนส์” ก็ยังหมายถึงชุดกฎหมายและคำจำกัดความที่ระบุในสนธิสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์อังกฤษสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชและขุนศึกชาวเดนส์กูธรัมผู้อาวุโส (Guthrum the Old) ที่เขียนขึ้นหลังจากกูธรัมพ่ายแพ้ต่อพระเจ้าอัลเฟรดในยุทธการเอธาดัน (Battle of Ethandun) ในปี..

ใหม่!!: ประเทศราชและเดนลอว์ · ดูเพิ่มเติม »

เนื่อง นนทนาคร

ก์ เมินเจอราลา (Cik Menjelara) เป็นที่รู้จักในนาม หม่อมเนื่อง (สกุลเดิม: นนทนาคร; พ.ศ. 2392–2482) หรือเดิมคือ คุณหญิงเนื่อง ฤทธิสงครามรามภักดี เป็นหนึ่งในหม่อมชาวไทยของสุลต่านอับดุล ฮามิด ฮาลิมแห่งเกอดะฮ์ (เดิมคือเจ้าพระยาฤทธิสงครามรามภักดี) เจ้าพระยาไทรบุรีคนสุดท้ายภายใต้การปกครองของสยาม และเป็นพระชนนีของตนกู อับดุล ระห์มัน นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย ซึ่งได้รับสมญาว่า "บิดาแห่งมาเลเซีย".

ใหม่!!: ประเทศราชและเนื่อง นนทนาคร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รัฐบรรณาการ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »