โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)

ดัชนี ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแห่งประเทศไทย (ย่อ: ป.วิ.อ.) เป็นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ (procedural law) ของประเทศไทย เป็นหนึ่งในบรรดาประมวลกฎหมายที่รัฐบาลไทย (แต่ครั้งที่ยังเรียกชื่อประเทศว่า "สยาม") เร่งผลิตใช้ เพื่อริเริ่มขอยกเลิกบรรดาสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำไว้กับต่างประเทศ อันมีผลให้สยามต้องเสียเปรียบในด้านสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเอกราชทางการศาลแสวง บุญเฉลิมวิภาศ, 2552: 204.

5 ความสัมพันธ์: การจับวิสามัญฆาตกรรมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)อำพล ตั้งนพกุลประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การจับ

thumb จับ หรือในอดีตใช้ว่า เกาะ (arrest) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ว่า เป็นอาการที่ "เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า" กล่าวคือ เป็นการพรากไปซึ่งเสรีภาพของบุคคล เพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนความผิดอาญาหรือการปราบปรามการกระทำความผิดอาญา โดยในภาษาอังกฤษ คำว่า "arrest" นั้น มาจากคำในภาษาฝรั่งเศส "arrêt" หมายความว่า "หยุดยั้ง" ส่วนในภาษาไทย คำว่า "เกาะ" นั้น หมายความว่า "ไปเอาตัวมาโดยอำนาจศาลเป็นต้น เช่น ไปเกาะตัวมา" ในความหมายทั่วไป คำว่า "จับ" นั้น หมายถึง การกุมหรือกักตัวบุคคลหนึ่ง ๆ และตามความหมายนี้ หากจะถามว่าบุคคลถูกจับแล้วหรือยัง คำตอบมิได้ขึ้นอยู่กับว่า การนั้นชื่อว่าเป็นการจับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วหรือยัง แต่ต้องพิจารณาว่า บุคคลนั้น ๆ ถูกพรากเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของเขาไปแล้วหรือยัง ทว่า ในความหมายของกฎหมาย การจับ ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในวิธีพิจารณาความอาญานั้น เป็นการที่บุคคลหนึ่งซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย เอาอีกบุคคลหนึ่งควบคุมไว้ กักไว้ หรือขังไว้ เพื่อเอาคำให้การของเขา หรือเพื่อป้องกันการกระทำความผิดอาญาเพิ่มเติม ตามความหมายนี้ องค์ประกอบอันสำคัญแห่งการจับ จักต้องประกอบด้วย เจตนาที่จะจับโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ และประกอบด้วยการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลไว้โดยประการที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งในลักษณะนี้ เป็นที่รับรู้กันว่า บุคคลนั้น ๆ ถูกจับ โดยปรกติ เจ้าพนักงานตำรวจ และเจ้าพนักงานอื่น ๆ มีอำนาจจับ แต่ในบางสถานการณ์ ราษฎรก็มีอำนาจจับ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 9 ว่า "ซึ่งจะจับ กักขัง หรือเนรเทศบุคคลใดตามอำเภอใจนั้น หากระทำได้ไม่" Partridge, Eric and Paul BealeA dictionary of slang and unconventional English, p. 790, 886.

ใหม่!!: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)และการจับ · ดูเพิ่มเติม »

วิสามัญฆาตกรรม

วิสามัญฆาตกรรม (extrajudicial killing) เป็นการที่เจ้าพนักงานฆ่าผู้อื่นตายโดยอ้างว่าเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือฆ่าผู้อื่นตายระหว่างที่เขาอยู่ในความควบคุมของตน โดยอ้างว่าเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 วรรคสาม"ในคดีฆาตกรรม ซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ อธิบดีกรมอัยการ หรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น มีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง" วิสามัญฆาตกรรมนั้นเป็นฆาตกรรมที่เจ้าพนักงานกระทำโดยปราศจากการอนุมัติตามกระบวนการยุติธรรมหรือตามวิถีทางแห่งกฎหมาย เพราะฉะนั้น โดยสภาพแล้ว จึงเป็นความผิดตามกฎหมาย วิสามัญฆาตกรรมเกิดขึ้นจนกลายเป็นสิ่งสามัญในตะวันออกกลาง (โดยมากใน ดินแดนปาเลสไตน์ อิสราเอล และอิรัก), อัฟกานิสถาน, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, จาไมกา, โคโซโว, อเมริกาใต้, อเมริกากลาง, รัสเซีย, อุซเบกิสถาน, ฟิลิปปินส์ และ ประเทศไท.

ใหม่!!: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)และวิสามัญฆาตกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)

ำนักงานตำรวจแห่งชาติ (Royal Thai Police Headquarters)เป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย) · ดูเพิ่มเติม »

อำพล ตั้งนพกุล

อำพล ตั้งนพกุล หรือมักเรียกกันว่า อากง (1 มกราคม 2491 — 8 พฤษภาคม 2555) เป็นชายไทยซึ่งเป็นที่รู้จักเนื่องจากถูกฟ้องว่า ในกลางปี 2553 ได้ส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่สี่ข้อความไปหาสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยมีเนื้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์และพระราชินี อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ต่อมา ถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุกยี่สิบปี ได้ถึงแก่ความตายในเรือนจำ และผู้สนับสนุนตั้งพิธีศพที่หน้าศาลอาญากับรั.

ใหม่!!: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)และอำพล ตั้งนพกุล · ดูเพิ่มเติม »

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ย่อ: ป.พ.พ.) เป็นประมวลกฎหมายแพ่ง อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ (substantive law) แห่งประเทศไทย เริ่มร่างครั้งแรกใน ร.ศ. 127 ตรงกับ พ.ศ. 2451 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญาเมื่อปีเดียวกัน เพื่อริเริ่มขอยกเลิกบรรดาสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำไว้กับต่างประเทศอันมีผลให้สยามต้องเสียเปรียบในด้านสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเอกราชทางการศาลแสวง บุญเฉลิมวิภาศ, 2552: 204.

ใหม่!!: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Criminal Procedure Code of Thailandวิ.อาญาป.วิ.อ.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไทย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »