โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปฏิวัติ

ดัชนี ปฏิวัติ

ำว่าปฏิวัติในภาษาอังกฤษ (revolution) มีรากศัพท์จากภาษาละตินคือ revolutio และ revolvere แปลว่า หมุนกลับ (to turn around) คำนี้มีใช้ทั่วไปในทางสังคมศาสตร์ แต่ก็มีใช้ในทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน เช่น การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น สารานุกรมเมอร์เรียม-เวบสเตอร์ (Merriam-Webster Encyclopedia) อธิบายว่า ปฏิวัติทางการเมืองคือการเปลี่ยนแปลงการตัดรูปแบบของการเมืองการปกครองในระดับฐานราก (fundamentally) สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Briyanica Concise Encyclopedia) อธิบายว่าปฏิวัติในทางสังคมศาสตร์ และการเมือง คือการกระทำความรุนแรงต่อโครงสร้าง ระบบ สถาบัน ฯลฯ ทางสังคมการเมือง ปฏิวัติทางสังคมการเมืองจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานต่าง ๆ ที่สังคมการเมืองเป็นอยู่เดิม เพิ่มจัดตั้ง หรือสถานามาตรฐานของสังคมการเมืองแบบใหม่ให้เกิดขึ้น อาริสโตเติลอธิบายการปฏิวัติทางการเมืองไว้สองประเภท ดังนี้.

58 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2455พ.ศ. 2475พ.ศ. 2532พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียพระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรักพลิกวิกฤต ขีดชะตาโลกกบฏบวรเดชการก่อการกำเริบของประชาชนในยุโรปช่วงปลายสมัยกลางการก่อการกำเริบโดยประชาชนการก่อความไม่สงบการสงครามจิตวิทยาการปฏิวัติรัสเซียการปฏิวัติประชาธิปไตยการปฏิวัติเราะมะฎอนการปฏิวัติเซาร์การประท้วงการเลิกล้มราชาธิปไตยมัคท์แอร์ไกรฟุงมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกียอดเขาโบลีวาร์ยาโรสลาฟล์รัฐบาลพลัดถิ่นรัฐประหารรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534รายชื่อลักษณนามในภาษาจีนรายงานเฮิร์ชวลาดีมีร์ เลนินวันปลดปล่อยสาธารณรัฐประชาชนเบนินสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์สงครามกลางเมืองสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นหนานจิงอภิรัฐมนตรีสภาอำนาจอธิปไตยของปวงชนอู๋ ซานกุ้ยจอห์น ล็อกจักรวรรดิรัสเซียถนนทองหล่อความเสมอภาคทางสังคมความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยามซุน ยัตเซ็นประชาธิปไตยประชาธิปไตยเสรีนิยมปานโช วิลลา (แก้ความกำกวม)นวัตกรรมโรงเรียนสารคามพิทยาคมโรซา ลุกเซิมบวร์ค...เมษายน พ.ศ. 2549เมดีชีเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์12 กุมภาพันธ์17 พฤศจิกายน24 มิถุนายน5 พยัคฆ์พิทักษ์ซุนยัดเซ็น8 ตุลาคม ขยายดัชนี (8 มากกว่า) »

พ.ศ. 2455

ทธศักราช 2455 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1912 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปฏิวัติและพ.ศ. 2455 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2475

ทธศักราช 2475 ตรงกั.

ใหม่!!: ปฏิวัติและพ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2532

ทธศักราช 2532 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1989 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปฏิวัติและพ.ศ. 2532 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย

รรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย เป็นพรรคการเมืองแนวสังคมนิยมและการปฏิวัติของรัสเซีย ก่อตั้งในปี 1898 ที่มินสก์ ต่อมาได้กลายเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต หลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม.

ใหม่!!: ปฏิวัติและพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)

ันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ สมาชิกคณะราษฎรผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 จัดเป็น 1 ใน "4 ทหารเสือ" คือ ทหารบกชั้นผู้ใหญ่ เป็นระดับผู้บังคับบัญชาและคุมกำลังพล ซึ่งประกอบด้วย พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ พระยาฤทธิอัคเนย์ มีชื่อเดิมว่า สละ เอมะศิริ เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2432 เป็นบุตรชายของพระยามนูสารศาสตรบัญชา (ศิริ เอมะศิริ) และคุณหญิง เหลือบ เอมะศิริ พระยาฤทธิอัคเนย์เป็นนายทหารปืนใหญ่ ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีตำแหน่งเป็น ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (ป. 1 รอ.) และถือเป็นผู้เดียวที่มีกองกำลังพลในบังคับบัญชา ในเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: ปฏิวัติและพระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) · ดูเพิ่มเติม »

พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)

ลตรี พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 จัดเป็น 1 ใน "4 ทหารเสือ" คือ นายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ ระดับเสนาธิการและคุมกำลังพล ซึ่งประกอบด้วย พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ โดยพระประศาสน์พิทยายุทธ ถือเป็นทหารเสือที่อาวุโสน้อยที่สุด ด้วยวัยวุฒิ, ยศ และบรรดาศักดิ์ พระประศาสน์พิทยายุทธ มีชื่อเดิมว่า วัน ชูถิ่น เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: ปฏิวัติและพระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก

ระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก (الملك فيصل الثان, Al-Malik Fayṣal Ath-thānī) พระนามเต็ม อัลมะลิก ฟัยศ็อล อัษษานี (2 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์อิรัก ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปฏิวัติและพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

พลิกวิกฤต ขีดชะตาโลก

Children of Men เป็นภาพยนตร์ไซไฟ-ดิสโทเปีย ที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: ปฏิวัติและพลิกวิกฤต ขีดชะตาโลก · ดูเพิ่มเติม »

กบฏบวรเดช

กบฏบวรเดช เกิดขึ้นเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่ากับระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้เสนอ และถูกมองว่าเป็น "คอมมิวนิสต์" ชนวนสำคัญที่สุดคือข้อโต้แย้งในเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ เป็นผลนำไปสู่การนำกำลังทหารก่อกบฏโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อันเป็นที่มาของชื่อ "กบฏบวรเดช" โดยในที่สุดฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามคณะกบฏลงได้ ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและพระชายาได้หนีไปยังประเทศกัมพูชา อนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่บริเวณหลักสี่ บางเขน กรุงเทพฯ ที่เรียกกันว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่" นั้น ชื่อจริงคือ "อนุสาวรีย์ปราบกบฏ" หรือ "อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ" ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้น ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวร.

ใหม่!!: ปฏิวัติและกบฏบวรเดช · ดูเพิ่มเติม »

การก่อการกำเริบของประชาชนในยุโรปช่วงปลายสมัยกลาง

มเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษพบปะกับคณะผู้ก่อการในการปฏิวัติชาวนา การปฏิวัติของชุมชนในปลายสมัยกลางของยุโรป (Popular revolt in late medieval Europe) โดยทั่วไปเป็นการก่อความไม่สงบหรือการปฏิวัติของเกษตรกรในชนบทหรือชนชั้นกลางในเมืองในการต่อต้านขุนนาง, นักบวช หรือ พระมหากษัตริย์ระหว่างคริสต์ศัตวรรษที่ 14 จนถึงต้นคริสต์ศัตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ“วิกฤติกาลของปลายสมัยกลางของยุโรป”(Crisis of the Late Middle Ages) บางครั้งก็เรียกว่า“กบฏชาวนา”(Peasant revolt) ที่เป็นการปฏิวัติของชุมชนที่ครอบคลุมอย่างกว้างไม่เฉพาะแต่เกษตรกรหรือชาวน.

ใหม่!!: ปฏิวัติและการก่อการกำเริบของประชาชนในยุโรปช่วงปลายสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

การก่อการกำเริบโดยประชาชน

การก่อการการกำเริบโดยประชาชน (People's uprising) เป็นคำศัพท์ทางการเมืองที่หมายถึง การลุกขึ้นต่อต้านอำนาจผู้ปกครองหรือภาครัฐอันกระทำโดยประชาชนที่พร้อมใจกันในประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นการต่อต้านในประเด็นที่ต่างกันออกไป เช่น การต่อต้านการสืบทอดอำนาจ การต่อต้านระบอบอำนาจนิยมแบบเบ็ดเสร็จ หรือการต้องการการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นต้น ในบางครั้ง การก่อการการกำเริบโดยประชาชนอาจจะพัฒนาไปสู่การเป็นกระบวนการทางการเมืองที่เป็นรูปเป็นร่างเป็นระบบที่มั่นคงขึ้นต่อไปได้ เช่น พรรคบอลเซวิคที่เกิดขึ้นหลังการกำเริบรัสเซีย เป็นต้น ตัวอย่างของการก่อการกำเริบโดยประชาชน เช่น การกำเริบฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ. 1789-ค.ศ. 1799, เหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู, การก่อการกำเริบ 8888, การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในพม่า พ.ศ. 2550 ในทางการเมืองไทย ปรากฏการณ์การก่อการกำเริบโดยประชาชนที่ปรากฏเด่นชัดได้แก่ การประท้วงการเลือกตั้งสกปรก พ.ศ. 2500, เหตุการณ์ 14 ตุลา และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ.

ใหม่!!: ปฏิวัติและการก่อการกำเริบโดยประชาชน · ดูเพิ่มเติม »

การก่อความไม่สงบ

การก่อความไม่สงบ (civil disorder, civil unrest หรือ civil strife) เป็นคำในความหมายกว้างซึ่งใช้โดยฝ่ายบังคับใช้กฎหมายในการอธิบายรูปแบบของการก่อให้เกิดความวุ่นวายของกลุ่มบุคคลตั้งแต่หนึ่งรูปแบบขึ้นไป การก่อความวุ่นวายของประชาชนเป็นเครื่องแสดงและเป็นรูปแบบหนึ่งของการประท้วงต่อปัญหาทางการเมืองและสังคมขนาดใหญ่ ความรุนแรงของพฤติการณ์เกิดขึ้นพร้อมกับการแสดงออกถึงความไม่พอใจของสาธารณะ ตัวอย่างของการก่อความไม่สงบเช่น การเดินขบวนประท้วงผิดกฎหมาย การยึดพื้นที่ประท้วง และการกีดขวางในรูปแบบอื่น การจลาจล การก่อวินาศกรรม และรูปแบบของอาชญากรรมอื่น ๆ การก่อความไม่สงบมีเจตนาที่จะเป็นการแสดงออกถึงสาธารณชนและรัฐบาล แต่ได้บานปลายจนกลายมาเป็นความสับสนอลหม่านโดยทั่วไป.

ใหม่!!: ปฏิวัติและการก่อความไม่สงบ · ดูเพิ่มเติม »

การสงครามจิตวิทยา

การสงครามจิตวิทยา (psychological warfare) คือ การสงครามที่ใช้ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาที่มุ่งเน้นต่อความคิดและความเชื่อของบุคคลและกลุ่มบุคคล โดยอาศัยการโฆษณาชวนเชื่อร่วมกับกิจกรรมทางจิตวิทยา สงครามจิตวิทยานั้นกระทำทั้งในยามสงบและยามสงครามทั้งฝ่ายข้าศึกและฝ่ายเดียวกัน รวมถึงฝ่ายเป็นกลางอีกด้วย ทั้งในด้านการเมืองและการทหาร ในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และระดับยุทธวิธี.

ใหม่!!: ปฏิวัติและการสงครามจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติรัสเซีย

การปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution) คือภาพรวมของระลอกการปฏิวัติในรัสเซียช่วงปี..

ใหม่!!: ปฏิวัติและการปฏิวัติรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติประชาธิปไตย

การปฏิวัติประชาธิปไตย (democratic revolution) เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือการปฏิวัติ ซึ่งเป็นการจัดตั้งรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตย และล้มล้างรัฐบาลอันมิใช่ประชาธิปไตย การปฏิวัติอเมริกาเป็นตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการล้มล้างรัฐบาลในระบอบราชาธิปไตย และจัดตั้งด้วยรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน.

ใหม่!!: ปฏิวัติและการปฏิวัติประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติเราะมะฎอน

การปฏิวัติเราะมะฎอน (Ramadan Revolution) หรือ การปฏิวัติ 8 กุมภาพันธ์ (8 February Revolution) หรือ การปฏิวัติในอิรัก เดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: ปฏิวัติและการปฏิวัติเราะมะฎอน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติเซาร์

การปฏิวัติเซาร์ (Saur Revolution, Sawr Revolution; ดารี: إنقلاب ثور; د ثور انقلاب‎) เป็นการปฏิวัติที่นำโดยพรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน (PDPA) เพื่อโค่นล้มรัฐบาลของโมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 27–28 เมษายน ค.ศ. 1978 คำว่า "เซาร์" เป็นคำในภาษาดารี หมายถึงเดือนที่สองในปฏิทินเปอร์เซีย ซึ่งเป็นเดือนที่เกิดเหตุดังกล่าว.

ใหม่!!: ปฏิวัติและการปฏิวัติเซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

การประท้วง

การประท้วง การประท้วง (Protest) เป็นการแสดงออกด้วยการกระทำ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคัดค้าน หรือ ไม่เห็นด้วย มีหลากหลายวิธี เช่น การ อดข้าวประท้วง การเดินประท้วง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแสดงออกทางสังคมและการเมือง การประท้วงที่ใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดความวุ่นวายจะกลายเป็น การจลาจล.

ใหม่!!: ปฏิวัติและการประท้วง · ดูเพิ่มเติม »

การเลิกล้มราชาธิปไตย

ในประวัติศาสตร์โลก มีการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในหลายประเทศทั่วโลก สาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์อาจเป็นผลมาจากการปฏิวัติ, การตั้งสาธารณรัฐ, การลงประชามติของประชาชน, การรัฐประหาร หรือจากสงคราม.

ใหม่!!: ปฏิวัติและการเลิกล้มราชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

มัคท์แอร์ไกรฟุง

แผ่นกระดานชนวนระลึกถึงสมาชิกของไรชส์ทาค จำนวน 96 คน ซึ่งถูกกำจัดโดยพรรคนาซีหลังจากที่พรรคนาซีก้าวขึ้นสู่อำนาจในปี 1933 ณ กรุงเบอร์ลิน มัคท์แอร์ไกรฟุง (Machtergreifung) เป็นคำในภาษาเยอรมัน หมายความว่า "การยึดอำนาจ" คำคำนี้มักจะหมายถึง การขึ้นสู่อำนาจของพรรคนาซีในสาธารณรัฐไวมาร์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 ในตอนแรก คำว่า มัคท์แอร์ไกรฟุง เป็นคำที่พรรคนาซีกุขึ้นเองเพื่อพรรณนาถึงการขึ้นสู่อำนาจด้วยการใช้กำลัง (เหตุการณ์ดังกล่าวเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นาซิโยนาเลอแอร์เฮบุง (Nationale Erhebung) หรือ "กบฏแห่งชาติ" ตั้งแต่การขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เป็นผลจากการใช้เล่ห์เหลี่ยมมากกว่าการปฏิวัติด้วยกำลัง นักประวัติศาสตร์จึงได้วิพากษ์วิจารณ์คำดังกล่าว และบางครั้งก็ได้เลี่ยงไปใช้คำว่า มัคท์อือเบอร์ทรากุง (Machtübertragung) หรือ "การกุมอำนาจ" และคำว่า มัคท์แอร์ชไลชุง (Machterschleichung) หรือ "การลอบกุมอำนาจ" แทน ส่วนอีกคำหนึ่งที่ใช้บรรยายถึงการขึ้นสู่อำนาจของพรรคนาซี คือ การปฏิวัติสีน้ำตาล หลังจากเหตุการณ์มัคท์แอร์ไกรฟุง ในปี ค.ศ. 1933 ได้เกิดเหตุการณ์ ไกลช์ชัลทุง ขึ้นตามมาในปี ค.ศ. 1934 ซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูทางการเมืองซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามของพรรคนาซี ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มบุคคลผู้มีอิทธิพล อย่างเช่น สหภาพการค้าหรือพรรคการเมืองได้.

ใหม่!!: ปฏิวัติและมัคท์แอร์ไกรฟุง · ดูเพิ่มเติม »

มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

นม ชอมสกี เป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะปัญญาชน นักปฏิบัติการ (หรือนักกิจกรรม) ทางการเมือง และนักวิจารณ์ เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอื่น ๆ เขาเรียกตัวเองว่า นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม ผู้สนับสนุนสหการนิยมแบบอนาธิปไตย (anarcho-syndicalism) และมองว่า เป็นผู้รอบรู้สำคัญคนหนึ่งในการเมืองฝ่ายซ้ายของสหรัฐ โนม ชอมสกี ในการประท้วงต่อต้านสงครามในเมืองแวนคูเวอร์ พ.ศ. 2547.

ใหม่!!: ปฏิวัติและมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขาโบลีวาร์

right ยอดเขาโบลีบาร์ (Pico Bolívar) ตั้งอยู่ในรัฐเมรีดา ทางตะวันตกของประเทศเวเนซุเอลาเป็นส่วนปลายของเทือกเขาแอนดีส มีความสูง 4,978 เมตร และเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศเวเนซุเอลา บนยอดเขามีหิมะปกคลุมตลอดปี และมีธารน้ำแข็งขนาดเล็ก 3 แห่ง ซึ่งสามารถขึ้นเขาได้โดยมีรถกระเช้าขึ้นเขาจากเมืองเมรีดา ซึ่งเป็นรถกระเช้าไต่เขาที่สูงที่สุดในโลก ยอดเขานี้ได้ชื่อมาจาก ซีมอน โบลีบาร์ (Simón Bolívar) นักปฏิวัติผู้ปลดปล่อยอเมริกาใต้.

ใหม่!!: ปฏิวัติและยอดเขาโบลีวาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยาโรสลาฟล์

รสลาฟล์ (Yaroslavl Ярославль) เป็นเมืองเอกศูนย์กลางการปกครองของเขตปกครองย่อย ยาโรสลาฟโอบลาสต์ (Yaroslavl Oblast Яросла́вская о́бласть) ในประเทศรัสเซีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากกรุงมอสโกไปราว 258 กิโลเมตร โดยมีแม่น้ำวอลกาไหลผ่านกลางเมือง มีประชากรราวๆเกือบหกแสนคนและนับเป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรเยอะที่สุดในกลุ่มเมืองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวอลกาตอนบนก่อนจะถึงเมืองนิซนีนอฟโกรอด มีชื่อเสียงในด้านการเป็นเมืองวัฒนธรรม เมืองท่องเที่ยว และเคยเป็นเมืองท่าค้าขายทางน้ำรวมถึงเป็นฐานอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศรัสเซียในอดีต ยาโรสลาฟล์นั้นถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของรัสเซีย ได้รับการบันทึกการก่อตั้งตั้งแต่ในสมัยของเคียฟรุส ในปี..

ใหม่!!: ปฏิวัติและยาโรสลาฟล์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลพลัดถิ่น

รัฐบาลพลัดถิ่น (government in exile) เป็นกลุ่มการเมืองซึ่งอ้างตัวเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเอกราชรัฐหนึ่ง แต่ไม่อาจใช้อำนาจตามกฎหมายในรัฐนั้น และจำต้องพำนักอยู่นอกรัฐดังกล่าว รัฐบาลพลัดถิ่นมักคาดหวังว่า วันหนึ่งจะได้กลับคืนบ้านเมืองและครองอำนาจอย่างเป็นทางการอีกครั้ง รัฐบาลพลัดถิ่นต่างจากรัฐตกค้าง (rump state) ตรงที่รัฐตกค้างยังสามารถควบคุมส่วนหนึ่งส่วนใดในดินแดนเดิมได้อยู่ เช่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้จักรวรรดิเยอรมันเข้ายึดครองประเทศเบลเยียมได้เกือบทั้งประเทศ แต่ประเทศเบลเยียมและพันธมิตรยังครองภาคตะวันตกซึ่งเป็นส่วนน้อยของประเทศได้อยู่ จึงชื่อว่าเป็นรัฐตกค้าง ถ้าเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นจะตรงกันข้าม คือ ไม่สามารถครอบครองดินแดนไว้ได้เลย รัฐบาลพลัดถิ่นมักมีขึ้นในช่วงการรบซึ่งดินแดนถูกยึดครองไป หรือมักเป็นผลมาจากสงครามกลางเมือง การปฏิวัติ หรือรัฐประหาร เช่น ระหว่างที่เยอรมนีขยายดินแดนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลยุโรปหลายชาติได้เข้าลี้ภัยในสหราชอาณาจักรเพื่อไม่ตกอยู่ในกำมือพวกนาซี รัฐบาลพลัดถิ่นยังอาจจัดตั้งขึ้นเนื่องจากเชื่อถือกันอย่างกว้างขวางว่า รัฐบาลซึ่งกำลังผ่านบ้านครองเมืองอยู่นั้นขาดความชอบธรรม เช่น หลังเกิดสงครามกลางเมืองซีเรีย พันธมิตรกองทัพปฏิวัติและฝ่ายค้านซีเรียแห่งชาติ (National Coalition for Syrian Revolutionary and Opposition Forces) ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมุ่งหมายจะล้มล้างการปกครองของพรรคบะอัธ (Ba'ath Party) ซึ่งกำลังอยู่ในอำนาจ รัฐบาลพลัดถิ่นจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ เบื้องต้นขึ้นอยู่กับว่า ได้รับการสนับสนุนมากหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างชาติหรือจากพลเมืองประเทศตนเอง รัฐบาลพลัดถิ่นบางชุดกลายเป็นกองกำลังอันน่าเกรงขาม เพราะสามารถท้าทายผู้ปกครองประเทศนั้น ๆ ได้อย่างฉกาจฉกรรจ์ ขณะที่รัฐบาลพลัดถิ่นอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักมีสถานะเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ปรากฏการณ์รัฐบาลพลัดถิ่นมีมาก่อนคำว่า "รัฐบาลพลัดถิ่น" จะได้รับการใช้จริง ในยุคกษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดินหรือราชวงศ์ที่ถูกอัปเปหิเคยตั้งราชสำนักพลัดถิ่น เช่น ราชวงศ์สจวร์ตซึ่งถูกโอลิเวอร์ ครอมเวล (Oliver Cromwell) ถอดจากบัลลังก์ ก็ไปตั้งราชสำนักพลัดถิ่น และราชวงศ์บูร์บง (House of Bourbon) ก็ทำเช่นเดียวกันในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสและช่วงนโปเลียน (Napoleon) เถลิงอำนาจ ครั้นเมื่อระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแพร่หลายขึ้น รัฐบาลกษัตริย์พลัดถิ่นก็เริ่มมีนายกรัฐมนตรีด้วยเหมือนกัน เช่น รัฐบาลพลัดถิ่นเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองตั้ง Pieter Sjoerds Gerbrandy เป็นนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: ปฏิวัติและรัฐบาลพลัดถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหาร

รัฐประหาร (coup d'état กูเดตา) เป็นการใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอย่างฉับพลันและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปกติเกิดจากสถาบันของรัฐที่มีอยู่เดิมขนาดเล็กเพื่อโค่นรัฐบาลซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้วเปลี่ยนเป็นองค์การปกครองใหม่ ไม่ว่าเป็นพลเรือนหรือทหาร รัฐประหารพิจารณาว่าสำเร็จแล้วเมื่อผู้ยึดอำนาจสถาปนาภาวะครอบงำ รัฐประหารไม่จำเป็นต้องเกิดความรุนแรงหรือเสียเลือดเนื้อ ศาลฎีกาตีความว่า รัฐประหารมิได้ขัดต่อกฎหมาย เพราะ "กฎหมายคือคำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์".

ใหม่!!: ปฏิวัติและรัฐประหาร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534

รัฐประหาร 23 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ปฏิวัติและรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อลักษณนามในภาษาจีน

ตารางต่อไปนี้เป็นรายชื่อลักษณนามในภาษาจีน ซึ่งเป็นลักษณนาม (อังกฤษ: classifiers; จีนตัวย่อ: 量词; พินอิน: liàngcí) และหน่วยวัด (measure words) ที่มักพบบ่อย สามารถศึกษาคำอธิบายอย่างละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความ "ลักษณนามในภาษาจีน" ในตาราง สองช่องแรกแสดงลักษณะนามเป็นอักษรจีน ในกรณีที่การเขียนแตกต่างกันจะแสดงทั้งอักษรจีนตัวเต็ม (traditional) และอักษรจีนตัวย่อ (simplified) ช่องที่สามแสดงการออกเสียงในระบบมาตรฐานภาษาจีนกลาง (Standard (Mandarin) Chinese) โดยใช้พินอิน (pinyin) และช่องที่สี่แสดงการออกเสียงในภาษาจีนกวางตุ้ง (Cantonese) โดยใช้ระบบการถอดเสียงเป็นภาษาโรมันแบบเยล (Yale romanization) สำหรับช่องสุดท้ายเป็นคำอธิบายความหมายและหลักการใช้ของลักษณะนามและหน่วยวัดนั้น รวมถึงการให้ตัวอย่างคำนามที่ใช้กับลักษณะนามนั้นด้วย โดยคำที่อยู่ภายในเครื่องหมายคำพูดคือความหมายตามตัวอักษร (literal meaning) ของลักษณะนามและหน่วยวัดนั้น.

ใหม่!!: ปฏิวัติและรายชื่อลักษณนามในภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

รายงานเฮิร์ช

รายงานเฮิร์ช (Hirsch report) เป็นชื่อที่ใช้โดยสามัญสำหรับรายงาน Peaking of World Oil Production: Impacts, Mitigation, and Risk Management (จุดสูงสุดของการผลิตน้ำมันโลก ผล การบรรเทา และการจัดการความเสี่ยง) ที่ทำขึ้นตามคำสั่งของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา แล้วเผยแพร่ในเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: ปฏิวัติและรายงานเฮิร์ช · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ เลนิน

วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) มีชื่อเต็มว่า วลาดีมีร์ อิลลิช อุลยานอฟ (Vladimir Ilyich Ulyanov, Владимир Ильич Ульянов) เป็นผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิส คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่สถาปนาเมื่อ..

ใหม่!!: ปฏิวัติและวลาดีมีร์ เลนิน · ดูเพิ่มเติม »

วันปลดปล่อย

วันปลดปล่อย คือวันสำคัญวันหนึ่งของหลายประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่ได้รับอิสรภาพ เป็นวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศ อาทิการปฏิวัติ เช่นในคิวบา หรือสิ้นสุดการยึดครองทางทหารโดยรัฐอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง คล้ายกับวันเอกราชแต่ต่างกันที่ วันเอกราชถือเป็นวันที่แยกตัวออกเป็นอีกประเทศหนึ่ง ในขณะที่วันปลดปล่อยมิได้แยกประเทศ หรืออาจรวมประเทศ หมวดหมู่:วันสำคัญ.

ใหม่!!: ปฏิวัติและวันปลดปล่อย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐประชาชนเบนิน

รณรัฐประชาชนเบนิน (People's Republic of Benin) เป็นรัฐสังคมนิยม (หรือเรียกอีกอย่างว่ารัฐคอมมิวนิสต์) ตั้งอยู่บริเวณอ่าวกินีในทวีปแอฟริกา ก่อตั้งเมื่อ 30 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ปฏิวัติและสาธารณรัฐประชาชนเบนิน · ดูเพิ่มเติม »

สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์

รชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ มีชื่อเดิมว่า สุรชัย แซ่ด่าน เป็นนักเคลื่อนไหว และอดีตนักโทษการเมืองคดีคอมมิวนิสต์คนสุดท้ายของประเทศไทย เป็นอดีตคณะทำงานพรรคไทยรักไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันเป็นแกนนำกลุ่มแดง.

ใหม่!!: ปฏิวัติและสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมือง

งครามกลางเมือง (civil war) เป็นสงครามภายในกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม, สัญชาติ หรือสังคมแบบเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแย่งชิงอำนาจหรือดินแดน สงครามกลางเมืองอาจนับเป็นการปฏิวัติ (Revolution) ได้ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ภายในสังคมนั้นหลังจากสิ้นสุดสงคราม นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มยังได้นับรวมเอาการจลาจล (Insurgency) เป็นสงครามกลางเมืองประเภทหนึ่งด้วยถ้ามีการสู้รบระหว่างกองทัพอย่างเต็มรูปแบบ ปัจจุบันความแตกต่างระหว่าง "สงครามกลางเมือง", "การปฏิวัติ" และ "การจลาจล" นั้นไม่ชัดเจนนัก ขึ้นอยู่กับบริบทในการใช้งาน สงครามกลางเมืองที่สำคัญ.

ใหม่!!: ปฏิวัติและสงครามกลางเมือง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น

งครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russo-Japanese War) เป็น สงครามครั้งใหญ่ครั้งแรกในศตวรรษที่ 20 อันเนื่องมาจากลัทธิจักรวรรดินิยมของจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิญี่ปุ่น ในบริเวณทางใต้ของแมนจูเรียในพื้นที่คาบสมุทรเหลียวตง, เสิ่นหยาง และบริเวณเกาหลีในพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี, ทะเลเหลือง รัสเซียได้ร้องขอท่าเรือน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้ เพื่อใช้งานด้านกองทัพเรือและการค้าทางทะเลของรัสเซีย เนื่องจากนครวลาดิวอสต็อกของรัสเซียสามารถเปิดดำเนินการได้อย่างเต็มที่เฉพาะในฤดูร้อนเท่านั้น แต่เมืองพอร์ตอาเธอร์ (ลวี่ชุนเกาในปัจจุบัน) สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอดทั้งปี ซึ่งตั้งแต่สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ยุติลง ในปี..

ใหม่!!: ปฏิวัติและสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

หนานจิง

หนานจิง หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า นานกิง เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ปัจจุบันหนานจิงเป็นเมืองใหญ่อันดับสองในภาคตะวันออกของจีน รองจากช่างไห่ และหนานจิงเป็นเมืองหลวงของจีนคณะชาติสมัยปฏิวัติล้มล้างจักรพรรดิจีน ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู หนานจิง ที่แปลว่านครหลวงใต้ เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ จนได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงสิบแผ่นดิน และยังเป็น 1 ใน 6 นครโบราณ อันได้แก่ ปักกิ่ง หนานจิง ซีอาน ลั่วหยาง หางโจว และ ไคเฟิง เป็นเมืองหลวงครั้งสุดท้ายระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2492 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีผู้นำขณะนั้น คือ นายพลเจียงไคเช็ค หลังสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลใหม่จึงได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังปักกิ่งดังเดิม บรรพบุรุษชาวหนานจิง จำนวนมากอพยพมาจากปักกิ่งตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง จึงมีส่วนทำให้ภาษาหนานจิงมีสำเนียงคล้ายภาษาจีนกลางที่ฟังเข้าใจได้ทั่วไป จนทำให้ปัจจุบันหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดในประเทศจีน แต่เนิ่นๆการพัฒนา ตั้งแต่ 3 ราชอาณาจักรระยะเวลาหนานจิงได้กลายเป็นศูนย์แห่งอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมของหนานจิงราชวงศ์ถูกขยายเพิ่มเติมและเมืองกลายเป็นหนึ่งในเมืองที่เจริญมากที่สุดในจีน.

ใหม่!!: ปฏิวัติและหนานจิง · ดูเพิ่มเติม »

อภิรัฐมนตรีสภา

อภิรัฐมนตรีสภา (Supreme Council of State of Siam) เป็นสภาที่ปรึกษาและนิติบัญญัติที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้น พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะตั้งสภาคล้ายกับคณะรัฐมนตรี ที่ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของรัฐจะประชุมเพื่อตัดสินใจในการงานของรัฐ สภาได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ปฏิวัติและอภิรัฐมนตรีสภา · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจอธิปไตยของปวงชน

อำนาจอธิปไตยของปวงชน (Sovereignty of the People or Popular Sovereignty) หมายถึงแนวคิดที่ว่าแหล่งที่มาของอำนาจสูงสุดของรัฐ หรือ อำนาจอธิปไตยมีที่มาจากพลเมืองทุกๆคนภายในรัฐ จึงทำให้บางครั้งแนวคิดนี้ถูกเรียกว่าอธิปไตยของมหาชน (popular sovereignty) ซึ่งก็มีความหมายในลักษณะเดียวกัน เพียงแต่เน้นให้เห็นถึงรากฐานของอำนาจอธิปไตยที่มีความโยงใยกับประชาชนจำนวนมากในสังคมในระบอบประชาธิปไตย หรือ ก็คือแนวคิดที่ว่า “อำนาจเป็นของปวงประชามหาชน” (power belongs to the people) (Kurian, 2011: 1580-1581).

ใหม่!!: ปฏิวัติและอำนาจอธิปไตยของปวงชน · ดูเพิ่มเติม »

อู๋ ซานกุ้ย

วาดอู๋ซานกุ้ย อู๋ซานกุ้ย (อังกฤษ: Wu Sangui, จีนตัวเต็ม: 吳三桂, พินอิน: Wú Sānguì) แม่ทัพในปลายราชวงศ์หมิง ผู้เปิดประตูเมืองให้แมนจูบุกเข้าปักกิ่งในสมัยหลี่ จื้อเฉิง เป็นเหตุให้ชาวแมนจูได้รับชัยชนะและตั้งราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: ปฏิวัติและอู๋ ซานกุ้ย · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ล็อก

อห์น ล็อก จอห์น ล็อก (John Locke; 29 สิงหาคม พ.ศ. 2175-28 ตุลาคม พ.ศ. 2247) เป็นนักปรัชญา ชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสนใจหลักของเขาคือสังคมและทฤษฎีของความรู้ แนวคิดของล็อกที่เกี่ยวกับ "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ที่เขาอธิบายว่าประกอบไปด้วย ชีวิต, เสรีภาพ, และทรัพย์สิน นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางปรัชญาการเมือง แนวคิดของเขาเป็นพื้นฐานของกฎหมายและรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งผู้บุกเบิกได้ใช้มันเป็นเหตุผลของการปฏิวัติ แนวคิดด้านญาณวิทยาของล็อกนั้นมีอิทธิพลสำคัญไปจนถึงช่วงของยุคแสงสว่าง.

ใหม่!!: ปฏิวัติและจอห์น ล็อก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ใหม่!!: ปฏิวัติและจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนทองหล่อ

นนทองหล่อ หรือ ซอยทองหล่อ ถนนทองหล่อ หรือ ซอยสุขุมวิท 55 หรือที่นิยมเรียกกันว่า ซอยทองหล่อ เป็นเส้นทางจราจรแยกจากถนนสุขุมวิทในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เป็นที่รู้จักทั่วไปว่า เป็นแหล่งรวมร้านอาหารนานาชาติ รวมทั้งศูนย์การค้า ร้านค้าหลายสัญชาติ ร้านค้าแฟชั่น สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืน สตูดิโอแต่งงาน และที่พักอาศัยชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น ชื่อซอยทองหล่อตั้งขึ้นตามชื่อเดิมของ ร.ท. ทองหล่อ ขำหิรัญ ร.น. (ยศในขณะนั้น; สำหรับยศสูงสุด และชื่อซึ่งเปลี่ยนใหม่ภายหลังจากนั้น คือ พล.ร.ต. ทหาร ขำหิรัญ) สมาชิกคณะราษฎรซึ่งกระทำการปฏิวัติสยาม เมื่อปี พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในซอยนี้ในอดีต ในสมัยสงครามโลก ซอยทองหล่อเป็นสถานที่ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนผ่านและตั้งฐานทัพขึ้น โดยเมื่อปี..

ใหม่!!: ปฏิวัติและถนนทองหล่อ · ดูเพิ่มเติม »

ความเสมอภาคทางสังคม

วามเสมอภาค (Equality) เป็นมโนทัศน์พื้นฐานที่สุดเรื่องหนึ่งไม่ว่าจะกล่าวในมิติทางการเมืองหรือในทางเศรษฐกิจ คนทั่วไปมักสับสนคำว่า “เสมอภาค” กับ “เหมือนกัน” (sameness) กล่าวคือ คิดว่าการรับรองความเสมอภาคของมนุษย์เท่ากับการทำให้มนุษย์ทุกคนเท่ากัน จนมักโต้แย้งว่าความเสมอภาคไม่มีทางเป็นไปได้ จึงควรทำความเข้าใจเบื้องต้นว่าหลักการของความเสมอภาค ไม่ได้และไม่เคยเรียกร้องให้มนุษย์ทุกคนต้องเหมือนกันหมด เพราะมนุษย์ย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมชาติทั้งโดยชาติพันธุ์ รูปร่าง ผิวพรรณ เพศสภาพ บุคลิก ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ความแตกต่างนั้นไม่ได้เป็นเหตุผลทำให้มนุษย์ต้องไม่เสมอภาคกัน เพราะความเสมอภาค (Equality) ตรงข้ามกับความไม่เสมอภาค (Inequality) ไม่ได้ตรงข้ามกับคำว่าความแตกต่าง (Difference) อย่างที่หลายคนทึกทัก นั่นหมายความว่า มนุษย์เราแตกต่างกันโดยธรรมชาติ แต่ก็สามารถและควรเท่าเทียมกันได้ (different but Equal) ดังนั้นเมื่อกล่าวว่า คนเสมอภาคกัน จึงไม่ได้หมายความว่าคนเหมือนกันทุกด้านไม่ว่าจะเป็นชาติตระกูล หน้าตา ความสามารถ สติปัญญา แต่การที่บอกว่าเสมอภาคกันมีความหมายว่า มนุษย์เท่าเทียมกันทั้งในความเป็นมนุษย์ และตามกฎหมายของรัฐ (Kurian, 2011: 515) ดังที่มีวลีสำคัญที่สะท้อนความเสมอภาคคือ “Equality Before the Law” ซึ่งหมายความว่าบุคคลทุกผู้ทุกนามย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกระบวนของกฎหมายอย่างเป็นธรรม หรือความเสมอภาคกันในทางการเมืองคือ พลเมืองที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดย่อมสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างเท่าเทียมกัน ในบางกรณี ที่ความเสมอภาคยึดโยงเข้ากับหลักความเป็นธรรม (Justice) จะนำไปสู่การปฏิบัติต่อผู้คนที่แตกต่างกันด้วยมาตรการเฉพาะเพื่อช่วยให้ความแตกต่างกันโดยธรรมชาติได้รับการแก้ไขให้เกิดความเสมอภาคมากขึ้น เช่น มาตรการช่วยเหลือคนด้อยโอกาส คนทุพพลภาพ เพื่อความเสมอภาคในสังคม ดังนั้น การมองอย่างฉาบฉวยว่าการเรียกร้องให้คนเท่ากันหมายถึงการเรียกร้องให้คนเหมือนกันนั้น จึงเป็นความเข้าใจผิดในประเด็นพื้นฐาน.

ใหม่!!: ปฏิวัติและความเสมอภาคทางสังคม · ดูเพิ่มเติม »

ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม

วามคิดและความเคลื่อนไหวที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของราชอาณาจักรสยาม จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นประชาธิปไตยนั้น มีมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อประมาณ ร..

ใหม่!!: ปฏิวัติและความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม · ดูเพิ่มเติม »

ซุน ยัตเซ็น

นายแพทย์ ซุน ยัตเซ็น (12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1866 - 12 มีนาคม ค.ศ. 1925) เป็นนักปฏิวัติ และ ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "บิดาของชาติ" ในสาธารณรัฐจีน และ "ผู้บุกเบิกการปฏิวัติประชาธิปไตย" ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยความเป็นผู้ริเริ่มจีนชาตินิยมคนสำคัญ ซุนมีบทบาทสำคัญในจุดประกายการโค่นล้มราชวงศ์ชิงที่ปกครองแผ่นดินจีนเป็นราชวงศ์สุดท้ายและเกือบนำประเทศไปสู่ความหายนะ ซุนได้ปลุกกระแสให้ชาวจีนหันมาตระหนักถึงความล้มเหลวของราชวงศ์ชิง กระทั่งกลายเป็นกระแสต่อต้านราชวงศ์และนำไปสู่การปฏิวัติซินไฮ่ ซึ่งเปลี่ยนประเทศจีนเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ซุนเป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาลคนแรกเมื่อสาธารณรัฐจีนก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: ปฏิวัติและซุน ยัตเซ็น · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: ปฏิวัติและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยเสรีนิยม

รัฐสภาของประเทศฟินแลนด์ (Eduskunta) - มีประเทศและอาณาเขตหลายแห่งที่เรียกได้ว่า มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปเป็นแห่งแรก รัฐ Grand Duchy of Finland (ก่อนจะเป็นประเทศฟินแลนด์) ได้มีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 ประชาธิปไตยเสรีนิยม หรือ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม (Liberal democracy) หรือบางครั้งเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบตะวันตก เป็นทั้งคตินิยมทางการเมืองและระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่ง ที่การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจะดำเนินการใต้หลักเสรีนิยม คือ การพิทักษ์สิทธิของปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยทั่วไปจะระบุไว้ในกฎหมาย ระบอบมีลักษณะเฉพาะ คือ.

ใหม่!!: ปฏิวัติและประชาธิปไตยเสรีนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ปานโช วิลลา (แก้ความกำกวม)

ปานโช วิลลา สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ปฏิวัติและปานโช วิลลา (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

นวัตกรรม

รูปปั้น เดอะ สปิริต ออฟ อินโนเวชัน เป็นรูปปั้นเชิงสัญลักษณ์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของนวัตกรรม ตั้งอยู่ที่ ดิ อเมริกัน แอดเวนเจอร์ นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร.

ใหม่!!: ปฏิวัติและนวัตกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนสารคามพิทยาคม

รงเรียนสารคามพิทยาคม (Sarakham Pittayakhom School) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งตั้งอยู่ที่เขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มหาสารคาม เขต 1 กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ถนนนครสวรรค์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม มีบริเวณพื้นที่ทั้งหมด 36 ไร่ 2 งาน เดิมเปิดสอนเฉพาะนักเรียนชายในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รับทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย ในปีการศึกษา 2538 กรมสามัญศึกษาอนุญาตให้เปิดสอนสหศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.

ใหม่!!: ปฏิวัติและโรงเรียนสารคามพิทยาคม · ดูเพิ่มเติม »

โรซา ลุกเซิมบวร์ค

รซา ลุกเซิมบวร์ค (Rosa Luxemburg; Róża Luksemburg) (5 มีนาคม ค.ศ. 1871 - 15 มกราคม ค.ศ. 1919) เป็นนักทฤษฎีมาร์กซิสม์ นักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ และนักกิจกรรมชาวยิวเชื้อสายโปแลนด์ ซึ่งต่อมาได้เป็นพลเมืองเยอรมัน เธอเคยเป็นสมาชิกของพรรคสังคมประชาธิปไตยโปแลนด์และลิทัวเนีย พรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี (SPD) พรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระเยอรมนี และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี.

ใหม่!!: ปฏิวัติและโรซา ลุกเซิมบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

เมษายน พ.ศ. 2549

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ปฏิวัติและเมษายน พ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

เมดีชี

ตระกูลเมดีชี (Medici) เป็นตระกูลที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของฟลอเรนซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมาชิกจากตระกูลนี้ 3 คนได้เป็น พระสันตะปาปา (สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10, สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7, และ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11) และนักปกครองของฟลอเรนซ์เองโดยเฉพาะโลเรนโซ เด เมดีชี ก็เป็นผู้อุปถัมภ์งานชิ้นสำคัญๆ ในสมัยเรอเนซองส์ ต่อมาตระกูลเมดีชีก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ ความมีอิทธิพลของตระกูลเมดีชีสามารถทำให้ฟลอเรนซ์กลายมามีบทบาทสำคัญต่อความรุ่งเรืองของศิลปะและสถาปัตยกรรม ตระกูลเมดีชีและตระกูลสำคัญอื่นๆของประเทศอิตาลีในสมัยนั้นเช่น ตระกูลวิสคอนติ (Visconti) ตระกูลสฟอร์เซ (Sforza) ตระกูลต่างๆ จากมิลาน ตระกูลเอสเตแห่งเฟอร์รารา (Este of Ferrara) ตระกูลกอนซากาจากมานตัว (Gonzaga of Mantua) และตระกูลอื่นๆ ต่างก็มีส่วนสำคัญในความเจริญของศิลปะเรอเนซองส์ และ สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ ธนาคารเมดีชีเป็นธนาคารที่มั่งคั่งที่สุดในทวีปยุโรปและกล่าวกันว่าตระกูลเมดีชีเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปสมัยนั้น ซึ่งทำให้สามารถสร้างอำนาจทางการเมืองโดยเริ่มจากฟลอเรนซ์และอิตาลีจนในที่สุดก็ขยายไปทั่วยุโรป สิ่งที่ตระกูลเมดีชีเป็นต้นตำรับทางการบัญชีคือการปรับปรุงวิธีทำบัญชีโดยการลงหลักฐานที่สามารถทำให้ติดตามเงินเข้าเงินออกได้ง่ายขึ้น (double-entry bookkeeping system).

ใหม่!!: ปฏิวัติและเมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์

้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ (ເຈົ້າບຸນອຸ້ມ ນະ ຈຳປາສັກ; ประสูติ: 12 ธันวาคม พ.ศ. 2454 – สิ้นพระชนม์: 17 มีนาคม พ.ศ. 2523) หรือ เสด็จเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 13 (พระองค์สุดท้าย) ทรงประสูติในราชวงศ์จำปาศักดิ์และสืบพระราชสันตติวงศ์มาจากสมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถาปนาราชอาณาจักรจำปาศักดิ์และพระมหากษัตริย์แห่งนครจำปาศักดิ์พระองค์แรกของลาว เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาว 2 สมัย อดีตผู้ตรวจการแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งราชอาณาจักรลาว และประมุขแห่งราชสกุล ณ จำปาศักดิ์ และสกุล จำปา ทรงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญทางการเมืองลาวในฐานะลาวฝ่ายขวาหลังได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จนกระทั่งสิ้นสุดสมัยพระราชอาณาจักรลาวในปี พ.ศ. 2518 ทรงได้รับการยกย่องจากประชาชนชาวลาวในฐานะที่เป็นผู้ยอมสละราชบัลลังก์พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรจำปาศักดิ์ เพื่อให้ประเทศลาวรวมเป็นแผ่นดินเดียวกัน และทรงดำรงพระอิสริยยศแห่งราชวงศ์สูงเป็นลำดับที่ 3 ของพระราชอาณาจักร รองจากพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตและสมเด็จเจ้าฟ้าองค์มกุฎราชกุมาร.

ใหม่!!: ปฏิวัติและเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

12 กุมภาพันธ์

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 43 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 322 วันในปีนั้น (323 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ปฏิวัติและ12 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

17 พฤศจิกายน

วันที่ 17 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 321 ของปี (วันที่ 322 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 44 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปฏิวัติและ17 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

24 มิถุนายน

วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันที่ 175 ของปี (วันที่ 176 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 190 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปฏิวัติและ24 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

5 พยัคฆ์พิทักษ์ซุนยัดเซ็น

5 พยัคฆ์พิทักษ์ซุนยัดเซ็น (Bodyguards and Assassins; อักษรจีนตัวย่อ: 十月围城; อักษรจีนตัวเต็ม: 十月圍城; พินอิน: Shí Yuè Wéi Chéng) นำแสดงโดย เจิ้น จื่อตัน, เยิ่น ต๊ะหัว, เหลียง เจียฮุย, หวัง เสวี่ยฉี, หลี หยูชุน, เซียะ ถิงฟง, เจิ้น จื่อเหว่ย, ฟ่าน ปิงปิง, ฮูจุน, หวัง ปั๋วเจี๋ย ร่วมด้วย หลี่หมิง และจาง เซี๊ยะโหย่ว กำกับการแสดงโดย เท็ดดี้ เฉิน.

ใหม่!!: ปฏิวัติและ5 พยัคฆ์พิทักษ์ซุนยัดเซ็น · ดูเพิ่มเติม »

8 ตุลาคม

วันที่ 8 ตุลาคม เป็นวันที่ 281 ของปี (วันที่ 282 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 84 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปฏิวัติและ8 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Révolutionการปฏิวัติ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »