โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บึงกะโล่

ดัชนี บึงกะโล่

ึงกะโล่ หรือ บึงทุ่งกะโล่ เป็นแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่เพื่อการเกษตรของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่บนพื้นที่สาธารณประโยชน์ ในเขตตำบลป่าเซ่า ครอบคลุมบางส่วนถึงตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ประมาณ 2 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวมประมาณ 7,500 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ มีพื้นที่เก็บกักน้ำถูกขุดลอกเพื่อใช้ในภาคการเกษตรและอุปโภคบริโภคอยู่ด้านทิศตะวันออก บึงกะโล่ ในอดีตก่อนการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ เป็นพื้นที่รองรับน้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำน่านไหลผ่านเข้ามาเก็บกักไว้ในช่วงหน้าฝน ปัจจุบันเป็นแหล่งที่พักอาศัยของนกน้ำประจำถิ่นและนกน้ำอพยพตามฤดูกาลจำนวนมาก และเป็นแหล่งดูนกหายากที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือ ในอนาคต ทางราชการมีโครงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบบึงแห่งนี้เพื่อขยายสถาบันการศึกษาและสร้างศูนย์ราชการแห่งใหม่ เนื่องจากพื้นที่ตัวเมืองอุตรดิตถ์เก่าเริ่มคับแคบและเสี่ยงต่อปัญหาอุทกภั.

7 ความสัมพันธ์: รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดอุตรดิตถ์รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยวัดทุ่งเศรษฐี (อุตรดิตถ์)จังหวัดอุตรดิตถ์ทะเลสาบโรงเรียนวัดทุ่งเศรษฐีเมืองสวางคบุรี

รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดอุตรดิตถ์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: บึงกะโล่และรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

ต่อไปนี้ เป็นรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เรียงตามรายชื่อ 76 จังหวัด พร้อมกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: บึงกะโล่และรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

วัดทุ่งเศรษฐี (อุตรดิตถ์)

วัดทุ่งเศรษฐี หรือ วัดห้วยบง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 7 บ้านห้วยบง ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากตัวอำเภอ 12 กิโลเมตร มีชื่อเดิมว่า "วัดห้วยบง" วัดทุ่งเศรษฐี มีฐานะเป็นวัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (ยังไม่มีอุโบสถ) สังกัดสังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 4 ตัววัดมีความร่มรื่นและเงียบสงบ วัดนี้ตั้งอยู่ริมบึงทุ่งกะโล่ แหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ จากตัววัดสามารถมองเห็นทัศนียของบึงทุ่งกะโล่ได้ชัดเจน.

ใหม่!!: บึงกะโล่และวัดทุ่งเศรษฐี (อุตรดิตถ์) · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุตรดิตถ์

ังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น.

ใหม่!!: บึงกะโล่และจังหวัดอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบ

ทะเลสาบกลางสวนเบญจกิตติ ขนาด 200x800 เมตร เมืองชิคาโก และทะเลสาบมิชิแกน 1 ในทะเลสาบทั้ง 5 ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ทะเลสาบ หรือ บึง เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่ล้อมรอบด้วยผืนดิน โดยทั่วไปทะเลสาบจะไม่มีทางไหลออกสู่ทะเล และมีน้ำจืด เรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำจืด" แต่ทะเลสาบบางแห่งอาจไหลออกสู่ทะเลได้ และมีน้ำเค็ม จึงเรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำเค็ม" คำว่า "ทะเลสาบ" ยังครอบคลุมถึงแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ทะเลสาบขนาดเล็กในสนามกอล์ฟ หรือ ทะเลสาบขนาดเล็กในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ แอ่งเก็บน้ำเหนือเขื่อน และ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งนับเป็นทะเลสาบขนาดใหญ.

ใหม่!!: บึงกะโล่และทะเลสาบ · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนวัดทุ่งเศรษฐี

รงเรียนวัดทุ่งเศรษฐี เป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้านห้วยบง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 7 บ้านห้วยบง ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนวัดทุ่งเศรษฐี เดิมชื่อว่า โรงเรียนวัดทุ่งเศรษฐีราษฎร์ศรัทธาธรรม เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2510 โดยอาศัยเงินบริจาคของราษฎรในการเริ่มต้นจัดสร้างอาคารเรียน ปัจจุบันโรงเรียนวัดทุ่งเศรษฐีเปิดทำการสอนเป็น 2 ระดับชั้น คือระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา มี นายสมชาย รอดเกลี้ยง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดทุ่งเศรษฐีคนปัจจุบัน (โรงเรียนวัดทุ่งเศรษฐี เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2541).

ใหม่!!: บึงกะโล่และโรงเรียนวัดทุ่งเศรษฐี · ดูเพิ่มเติม »

เมืองสวางคบุรี

วางคบุรี หรือ ฝาง เป็นเมืองโบราณที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของผู้คนสืบต่อเนื่องยาวนานมากที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย เคยเป็นเมืองที่อยู่เหนือสุดปลายพระราชอาณาเขตและเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยาโบราณ โดยอาณาเขตเมืองสวางคบุรีโบราณครอบคลุมพื้นที่ ตำบลผาจุก, ตำบลคุ้งตะเภา และตำบลแสนตอ ในปัจจุบัน เมืองสวางคบุรี ปรากฏหลักฐานการมีอยู่ในพงศาวดารเหนือ ระบุว่าเป็นที่ตั้งของพระมหาธาตุที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญของพระพุทธเจ้า และปรากฏชื่อเมืองในศิลาจารึกสุโขทัยหลายหลัก รวมถึงพระราชพงศาวดารตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ และจากการเคยเป็นเมืองชายแดนพระราชอาณาเขต ทำให้เมืองนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้คนจากแคว้นล้านนาและล้านช้าง ผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองส่วนใหญ่สืบทอดขนบวัฒนธรรมแบบคนหัวเมืองเหนือโบราณ (ภาษาถิ่นสุโขทัย) ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของเมืองนี้ หลังการสิ้นสุดลงของชุมนุมเจ้าพระฝาง ระหว่างปี พ.ศ. 2310-2313 ที่มีเมืองสวางคบุรีเป็นศูนย์กลาง และการขับไล่พม่ารวบรวมหัวเมืองล้านนาไว้ภายในพระราชอาณาเขตได้ในสมัยกรุงธนบุรี ประกอบกับตำแหน่งภูมิศาสตร์ทางการค้าลุ่มแม่น้ำน่านในยุคต่อมาเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เมืองสวางคบุรีร่วงโรยลงในระยะต่อมา เมืองสวางคบุรีได้ลดฐานะความเป็นเมืองสำคัญทางศาสนาลงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเมืองสวางคบุรีไม่ได้เป็นเมืองเหนือสุดปลายพระราชอาณาเขตอีกต่อไป อีกทั้งชาวเมืองสวางคบุรีส่วนใหญ่ได้โยกย้ายไปอยู่ในบริเวณที่กลายมาเป็นเมืองบางโพ (ท่าอิฐ, ท่าเสา) และได้รับยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: บึงกะโล่และเมืองสวางคบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สวนสาธารณะธรรมชาติ ทุ่งกะโล่บึงทุ่งกะโล่ทุ่งกะโล่เจ้าพ่อกะโล่เจ้าพ่อทุ่งกะโล่

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »