โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บีกเกอร์

ดัชนี บีกเกอร์

ีกเกอร์ขนาดต่างๆ บีกเกอร์ (Beaker) เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเพื่อบรรจุสารเคมีเพื่อให้ความร้อน ผสมสาร หรือทำปฏิกิริยากัน มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกก้นแบน ปากแบะออกเล็กน้อยและมีจะงอยเพื่อช่วยในการเทสาร ขนาดของบีกเกอร์ที่พบได้โดยทั่วไปจะมีตั้งแต่ 50 มิลลิลิตร ไปจนถึง 5 ลิตร ซึ่งมักจะมีขีดบอกปริมาตรไว้ด้วย แต่มิได้มีจุดประสงค์ไว้เพื่อการตวงของเหลวได้อย่างแม่นยำ บีกเกอร์ที่นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการทำจากแก้วทนไฟ และก็ยังมีชนิดที่ทำด้วยพลาสติกที่ไม่สามารถตั้งไฟได้แต่ราคาถูกกว่าแต่คุณสมบัติ ของบิ๊กเกอร์แก้วก็ยังดีกว.

5 ความสัมพันธ์: กระจกนาฬิกาหลอดทดลองห้องปฏิบัติการขวดรูปชมพู่ความเข้มข้น

กระจกนาฬิกา

ซีเซียมฟลูออไรด์บนกระจกนาฬิกา กระจกนาฬิกา (watch glass) คือชิ้นกระจกเว้าซึ่งใช้วางเพื่อให้ของเหลวระเหย ใช้ใส่ของแข็งเวลาช่างน้ำหนัก ใช้เป็นที่ปิดบีกเกอร์ และใช้ใส่เพื่อให้ความร้อนแก่สสารจำนวนน้อย ประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่ การใช้ปิดเพื่อป้องกันฝุ่นหรือสสารอื่น ๆ ไม่ให้เข้าไปในบีกเกอร์ กระจกนาฬิกาไม่ได้ปิดบีกเกอร์อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นก๊าซสามารถแลกเปลี่ยนได้ กระจกนาฬิกาทำให้สามารถเฝ้าดูตะกอนหรือการตกผลึก (crystallization) ได้ง่ายขึ้นเมื่อใช้เป็นพื้นผิวสำหรับการระเหย ทั้งนี้สามารถนำไปวางบนพื้นผิวที่มีสีแตกต่างกับสีของสสารเพื่อทำให้สังเกตได้ง่ายขึ้น บางครั้งกระจกนาฬิกายังถูกนำไปครอบแก้ววิสกี้ เพื่อรวบรวมกลิ่นให้อยู่ในแก้วและปิดไม่ให้หกเมื่อวิสกี้ถูกเหวี่ยงเป็นวงกลมในแก้ว ชื่อของกระจกนาฬิกามาจากการที่กระจกนั้นมีความคล้ายกับกระจกบนนาฬิกาพกแบบโบราณ.

ใหม่!!: บีกเกอร์และกระจกนาฬิกา · ดูเพิ่มเติม »

หลอดทดลอง

หลอดทดลอง (test tube) เป็นเครื่องแก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทำด้วยหลอดแก้วหรือพลาสติกสีใส ความยาวประมาณนิ้วมือ มีปากเปิดด้านบนและส่วนใหญ่มีก้นกลมมน หลอดทดลองนั้นมีหลายขนาด ความกว้างมีตั้งแต่ 10 ถึง 20 มม.

ใหม่!!: บีกเกอร์และหลอดทดลอง · ดูเพิ่มเติม »

ห้องปฏิบัติการ

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์บริหารโดยสถาบันบัณฑิตโรคมะเร็ง ณ มหาวิทยาลัยการแพทย์จีน (ประเทศไต้หวัน) Adam Mickiewicz University ในพอซนาน โต๊ะทำงานในห้องปฏิบัติการทางเคมี  ห้องปฏิบัติการ Schuster ในมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์) ห้องปฏิบัติการ (laboratory) เรียกสั้น ๆ ว่า ห้องแล็บ (lab) คือสถานที่ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ถูกควบคุม และเป็นที่สำหรับการวิจัย การทดลอง และการวัดทางวิทยาศาสตร์หรือทางเทคนิค   ห้องปฏิบัติการซึ่งใช้สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีหลายแบบ ด้วยความที่แต่ละภาควิชาของวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มีความต้องการเฉพาะที่ต่างกัน ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์อาจมีเครื่องเร่งอนุภาคหรือห้องสุญญากาศ ส่วนห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรมโลหการอาจมีเครื่องมือในการหล่อหรือการกลั่น (refine) เหล็กเพื่อทดสอบความแข็งแรงของเหล็ก นักเคมีหรือนักชีววิทยาอาจใช้ห้องปฏิบัติการแบบเปียก (wet laboratory) ส่วนห้องปฏิบัติการของนักจิตวิทยาอาจเป็นห้องซึ่งมีกระจกด้านเดียวติดอยู่รวมไปถึงมีกล้องซ่อนไว้เพื่อเฝ้าดูพฤติกรรม บางห้องปฏิบัติการ เช่น ห้องที่นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ใช้ อาจมีคอมพิวเตอร์ (บางครั้งอาจเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์) เพื่อใช้สำหรับบการจำลองหรือการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งมาจากที่อื่น นักวิทยาศาสตร์ในภาควิชาอื่นอาจใช้ห้องปฏิบัติการแบบอื่น วิศวกรใช้ห้องปฏิบัติการในการออกแบบ สร้าง หรือทดสอบเครืองมือทางเทคโนโลยีต่างๆ ห้องปฎิบัตรการทางวิยาศาสตร์นั้นพบได้ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย อุตสาหกรรม สถานที่ทางราชการหรือทหาร รวมไปถึงเรือและยานอวก.

ใหม่!!: บีกเกอร์และห้องปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

ขวดรูปชมพู่

วดรูปชมพู่ (publisher.; titration flask) หรือ ขวดเออเลนเมเยอร์ เป็นขวดทดลองในห้องปฏิบัติการที่มีก้นแบน ตัวทรงกรวย และคอทรงกระบอก ถูกตั้งชื่อตาม เอมิล เออเลนเมเยอร์ (Emil Erlenmeyer; ค.ศ. 1825–1909) ผู้สร้างขึ้นมาเมื่อ..

ใหม่!!: บีกเกอร์และขวดรูปชมพู่ · ดูเพิ่มเติม »

ความเข้มข้น

น้ำผสมสีแดงด้วยปริมาณสีที่แตกต่างกัน ทางซ้ายคือเจือจาง ทางขวาคือเข้มข้น ในทางเคมี ความเข้มข้น คือการวัดปริมาณของสสารที่กำหนดซึ่งผสมอยู่ในสสารอีกชนิดหนึ่ง ใช้วัดสารผสมทางเคมีชนิดต่าง ๆ แต่บ่อยครั้งแนวคิดนี้ก็ใช้จำกัดแต่เฉพาะสารละลาย ซึ่งหมายถึงปริมาณของตัวถูกละลายในตัวทำละลาย การที่จะทำให้สารละลายเข้มข้นขึ้น ทำได้โดยการเพิ่มปริมาณของตัวถูกละลายมากขึ้น หรือการลดตัวทำละลายลง ในทางตรงข้าม การที่จะทำให้สารละลายเจือจางลง ก็จะต้องเพิ่มตัวทำละลายขึ้น หรือลดตัวถูกละลายลง เป็นอาทิ ถึงแม้สสารทั้งสองชนิดจะผสมกันได้อย่างเต็มที่ แต่ก็จะมีความเข้มข้นค่าหนึ่งซึ่งตัวถูกละลายจะไม่ละลายในสารผสมนั้นอีกต่อไป ที่จุดนี้เรียกว่าจุดอิ่มตัวของสารละลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง เช่นอุณหภูมิแวดล้อม และสมบัติทางเคมีโดยธรรมชาติของสสารชนิดนั้น.

ใหม่!!: บีกเกอร์และความเข้มข้น · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »