โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บิชอปแห่งลอนดอน

ดัชนี บิชอปแห่งลอนดอน

อปแห่งลอนดอน (Bishop of London) เป็นตำแหน่งมุขนายกของมุขมณฑลลอนดอนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคแคนเทอร์เบอรีในคริสตจักรแห่งอังกฤษ มุขมณฑลนี้มีพื้นที่ราว 458 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 17 บุรีในเกรเทอร์ลอนดอนทางตอนเหนือของแม่น้ำเทมส์และบางส่วนของเทศมณฑลเซอร์รีย์ ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่อาสนวิหารนักบุญเปาโลภายในนครลอนดอน ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี..

7 ความสัมพันธ์: พระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียมกับแคเธอริน มิดเดิลตันพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบลำดับโปเจียมแห่งสหราชอาณาจักรสงครามดอกกุหลาบอาสนวิหารนักบุญเปาโลนักบุญดันสตัน

พระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียมกับแคเธอริน มิดเดิลตัน

ระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์กับแคเธอริน มิดเดิลตัน มีขึ้น ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน..

ใหม่!!: บิชอปแห่งลอนดอนและพระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียมกับแคเธอริน มิดเดิลตัน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

ใหม่!!: บิชอปแห่งลอนดอนและพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ

ระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ (Edgar the Peaceful หรือ Edgar the Peaceable) (ราว ค.ศ. 943 หรือ ค.ศ. 944 - ค.ศ. 975) พระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์เวสเซ็กซ์ พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบเสด็จพระราชสมภพเมื่อราวปี ค.ศ. 943 หรือปี ค.ศ. 944 ที่เวสเซ็กซ์ ในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษและเอ็ดจิวาแห่งเคนต์ อภิเษกสมรสกับเอเธลฟรีด วูลฟธริธ และเอลฟริธ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 975 ที่วินเชสเตอร์ อังกฤษ พระนาม “ผู้รักสงบ” ไม่ได้บ่งถึงพระลักษณะตามความหมายเพราะทรงเป็นนายทหารผู้เข้มแข็งซึ่งจะเห็นได้จากการยึดราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย และราชอาณาจักรเมอร์เซียจากพระเจ้าเอ็ดวีพระเชษฐาในปี ค.ศ. 958 พระเจ้าเอ็ดการ์ทรงปกครองบริเวณเหนือแม่น้ำเทมส์กับขุนนางของพระองค์กลุ่มหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดวีเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 พระเจ้าเอ็ดการ์ก็ทรงเรียกตัวโดยดันสตัน (ต่อมาเป็นนักบุญดันสตัน) จากที่ทรงลี้ภัยกลับมาและแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งวูสเตอร์และต่อมาเป็นบิชอปแห่งลอนดอนและในที่สุดอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ดันสตันเมื่อเริ่มแรกไม่ยอมสวมมงกุฏให้พระเจ้าเอ็ดการ์เพราะไม่ยอมรับวิธีดำเนินชีวิตของพระองค์เกี่ยวกับพระสนม วูลฟธริธ (ต่อมาเป็นนักพรตหญิงที่วิลตัน) มึพระธิดา อีดิธแห่งวิลตัน แต่ดันสตันก็เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าเอ็ดการ์ตลอดรัชสมัย รัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์เป็นรัชสมัยที่บ้านเมืองมีความสงบสุขและอาจจะเป็นสมัยที่เรียกได้ว่าเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน แม้ว่าการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอังกฤษจะเป็นผลที่มาจากผู้ที่ครองบัลลังก์มาก่อนพระองค์ ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์ อังกฤษก็เกือบจะไม่มีศัตรูที่จะมาแบ่งราชอาณาจักรอย่างที่เคยเป็นมาก่อน ในสมัยนี้ดันสตันก็มีบทบาทในการปฏิรูปอารามที่ออกจะเริ่มหย่อนยานให้กลับไปถือวินัยของนักบุญเบเนดิกต์อย่างที่เคยเป็นมา แต่บทบาทอันนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถึยงกันในบรรดาผู้รู้ในวงการศึกษา พระเจ้าเอ็ดการ์ได้ทำพิธีสวมมงกุฏที่บาธในปี ค.ศ. 973 ซึ่งมิใช่ราชาภิเศกในการฉลองการเริ่มรัชกาล พระราชพิธีครั้งนี้เตรียมการโดยดันสตันเองโดยมีโคลงเฉลิมพระเกียรติที่บันทึกในบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน เป็นพระราชพิธีที่เป็นพื้นฐานในการทำพิธีบรมราชาภิเศกของอังกฤษมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระราชพิธีเป็นพิธีสัญลักษณ์โดยมีเจ้าผู้ครองอาณาจักรในอังกฤษมาแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ที่เชสเตอร์ กษัตริย์หกพระองค์ในบริเตนและสกอตแลนด์ปฏิญาณว่าจะเป็นผู้ป้องกันพระองค์ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะเล ต่อมาบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันกล่าวว่ามีแปดองค์ แต่พระราชพิธีประกาศการสวามิภักดิ์ที่เชสเตอร์ (submission at Chester) ดูเหมือนว่จะเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น พระเจ้าเอ็ดการ์มีพระราชโอรสธิดาเจ็ดพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ หลังจากที่เสด็จสวรรคตมาจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันไม่มีราชบัลลังก์ใดที่ได้รับการสืบทอดโดยไม่มีปัญหาในการแก่งแย่ง.

ใหม่!!: บิชอปแห่งลอนดอนและพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับโปเจียมแห่งสหราชอาณาจักร

ลำดับโปเจียมแห่งสหราชอาณาจักร คือ ลำดับความสูงต่ำแห่งฐานันดรของสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ ไม่ว่าพระราชาหรือพระราชินีจะอยู่ในลำดับที่ 1 แห่งโปเจียมเสมอ ถ้าสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสีของพระองค์ (คือสมเด็จพระราชินีในรัชกาล) จะเป็นลำดับที่ 1 แห่งฝ่ายใน ในทางตรงกันข้ามไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ สำหรับเจ้าชายพระราชสวามี ดังนั้นพระองค์จะทรงพระดำเนินในลำดับที่เท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับพระบรมราชโองการ.

ใหม่!!: บิชอปแห่งลอนดอนและลำดับโปเจียมแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามดอกกุหลาบ

ที่ตั้งสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี เฮนรีแห่งโบลิงโบรกทรงก่อตั้งราชวงศ์แลงแคสเตอร์ขณะทรงราชย์ในปี 1399 เมื่อทรงถอดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระภราดร (ลูกพี่ลูกน้อง) จากราชสมบัติ พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ยังทรงรักษาการอยู่ในราชสมบัติของตระกูลไว้ได้ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1422 พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทายาทของพระองค์ เป็นทารก การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชวงศ์แลงแคสเตอร์สืบมาจากจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ พระราชโอรสที่ยังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 สิทธิในราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์คคัดค้าน ผู้สามารถอ้างว่าสืบเชื้อสายจากไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กพระราชโอรสที่ยังมียังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สองและสี่ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ริชาร์ดแห่งยอร์ค ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐหลายตำแหน่ง ทะเลาะกับราชวงศ์แลงแคสเตอร์สำคัญ ๆ ในราชสำนักและกับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู พระมเหสีในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461 หลังการลุกขึ้นต่อต้านของแลงแคสเตอร์ทางเหนือถูกกำราบในปี 1464 และพระเจ้าเฮนรีถูกจับเป็นเชลยอีกครั้ง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทะเลาะกับเอิร์ลแห่งวอริก สมญา "ผู้สร้างกษัตริย์" (Kingmaker) ผู้สนับสนุนและที่ปรึกษาหลักของพระองค์ และยังแตกแยกกับพระสหายหลายคน และกระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ โดยทรงสนับสนุนตระกูลของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ซึ่งมีอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระองค์ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ทีแรก เอิร์ลแห่งวอริกพยายามยกน้องชาย จอร์จ ดยุกแห่งแคลเรนซ์ เป็นพระมหากษัตริย์ แล้วจึงฟื้นฟูพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับสู่ราชสมบัติ จากนั้นสองปี พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ทรงได้รับชัยชนะสมบูรณ์อีกครั้งที่บาร์เนต (เมษายน 1471) ที่ซึ่งเอิร์ลแห่งวอริกถูกสังหาร และทูกสบรี (พฤษภาคม 1471) ที่ซึ่งเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ ทายาทแลงแคสเตอร์ ถูกประหารชีวิตหลังยุทธการ พระเจ้าเฮนรีถูกปลงพระชนม์ในหอคอยลอนดอนหลายวันจากนั้น ยุติลำดับการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงของแลงแคสเตอร์ จากนั้น บ้านเมืองค่อนข้างสงบอยู่พักหนึ่ง จนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตกะทันหันในปี 1483 ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ พระอนุชาที่ยังมีพระชนมชีพของพระองค์ ทีแรกเคลื่อนไหวเพื่อกันมิให้ตระกูลวูดวิลล์ที่ไม่เป็นที่นิยมของพระมเหสีหม้ายของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมในรัฐบาลระหว่างที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 พระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ยังทรงพระเยาว์ จึงยึดราชบัลลังก์เป็นของตน โดยอ้างว่า การสมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฮนรี ทิวดอร์ พระญาติห่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์แลงแคสเตอร์ผู้รับสืบทอดการอ้างสิทธิ์มาด้วย ชนะพระเจ้าริชาร์ดที่บอสเวิร์ธฟิลด์ในปี 1485 พระองค์ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมและประสานราชวงศ์ทั้งสอง.

ใหม่!!: บิชอปแห่งลอนดอนและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารนักบุญเปาโล

“อาสนวิหารนักบุญเปาโลเดิม” ก่อน ค.ศ. 1561 ที่ยังมีมณฑป อาสนวิหารนักบุญเปาโล (St Paul's Cathedral) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งบิชอปแห่งลอนดอน สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่นักบุญเปาโลอัครทูต ตั้งอยู่ในนครลอนดอน ประเทศอังกฤษ อาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเชื่อกันว่าเป็นอาสนวิหารที่ 5 ตั้งแต่สร้างอาสนวิหารกันมา ณ ที่ตั้งนี้แต่อาจจะสูงกว่านั้นถ้านับการบูรณะเข้าไปด้ว.

ใหม่!!: บิชอปแห่งลอนดอนและอาสนวิหารนักบุญเปาโล · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญดันสตัน

นักบุญดันสตัน (Dunstan) เป็นอธิการอารามกลาสเบอรี บิชอปแห่งเวิร์สเตอร์ บิชอปแห่งลอนดอน และอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี หลังมรณกรรมให้รับการประกาศเป็นนักบุญในปี ค.ศ. 959 ท่านมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์และปฏิรูปคริสตจักรในอังกฤษ ออสเบิร์นแห่งแคนเทอร์เบอรี ศิลปินและธรรมาจารย์ ผู้เขียนชีวประวัติของท่านกล่าวว่าท่านมีทักษะด้าน “การวาดภาพและเขียนหนังสือ” ซึ่งเป็นความสามารถตามปกติของนักบวชอาวุโสในสมัยนั้น ท่านยังเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดเมื่อวันที่ ราว..

ใหม่!!: บิชอปแห่งลอนดอนและนักบุญดันสตัน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »