เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

บริเวณกลางโบสถ์

ดัชนี บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

สารบัญ

  1. 92 ความสัมพันธ์: บริเวณร้องเพลงสวดบริเวณคริสต์ศาสนพิธีบาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตช่องทางเดินชเตฟันสโดมพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลกอทิกอ็องฌ์แว็งกงก์มหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)มหาวิหารมอนซามหาวิหารวอมส์มหาวิหารวาเวลมหาวิหารตูร์แนมหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์มหาวิหารนักบุญแอนโทนีแห่งปาดัวมุขข้างโบสถ์มุขโค้งด้านสกัดระเบียงเหนือทางเดินข้างสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกสถาปัตยกรรมนอร์มันสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ห้องเก็บศพใต้โบสถ์ออคเซนเฮาเซินแอบบีย์อารามวัลด์ซัสเซินอารามแซ็ง-เบอนัว-ซูร์-ลัวร์อารามโบลีเยอ-ซูร์-ดอร์ดอญอารามเชินทัลอารามเอียร์เซอาสนวิหารบลัวอาสนวิหารบายอนอาสนวิหารบาซัสอาสนวิหารบูร์ฌอาสนวิหารกาวายงอาสนวิหารกูต็องส์อาสนวิหารมากงอาสนวิหารมูแล็งอาสนวิหารมงเปอลีเยอาสนวิหารยอร์กอาสนวิหารรอแดซอาสนวิหารลูว์ซงอาสนวิหารลีมอฌอาสนวิหารลียงอาสนวิหารล็องอาสนวิหารล็องกร์อาสนวิหารวานอาสนวิหารวีวีเยอาสนวิหารออร์เลอ็อง... ขยายดัชนี (42 มากกว่า) »

บริเวณร้องเพลงสวด

“บริเวณร้องเพลงสวด” ของมหาวิหารปาเล็นเซียในประเทศสเปน ภาพแสดงให้เห็นที่นั่งของนักบวชสองข้างหน้าแท่นบูชาเอกที่ทำด้วยไม้ที่สลักเสลาอย่างงดงามที่วัดในเมืองบาดชูสเซนรีด ที่เดิมเป็นสำนักสงฆ์ในประเทศเยอรมนี บริเวณร้องเพลงสวด (Choir หรือ quire) ในทางสถาปัตยกรรม “บริเวณร้องเพลงสวด” เป็นบริเวณภายใน คริสต์ศาสนสถาน หรือมหาวิหารที่มักจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของบริเวณพิธี (chancel) ระหว่างทางเดินกลาง (nave) และบริเวณศักดิ์สิทธิ์ (sanctuary) (ที่เป็นที่ตั้งแท่นบูชา) แต่บางครั้ง “บริเวณร้องเพลงสวด” ก็อาจจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของทางเดินกลาง ในวัดของสำนักสงฆ์บางแห่งบริเวณนี้ก็จะตั้งอยู่ทางตะวันตกของทางเดินกลางซึ่งเป็นการสมดุลกับบริเวณพิธีและบริเวณศักดิ์สิท.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และบริเวณร้องเพลงสวด

บริเวณคริสต์ศาสนพิธี

ริเวณทางขวาของแขนกางเขน (สีเทา) คือบริเวณพิธี บริเวณคริสต์ศาสนพิธี (Chancel) คือบริเวณรอบแท่นบูชาเอกในบริเวณมุขตะวันออกของคริสต์ศาสนสถานซึ่งอาจจะเป็นปลายสุดของมุขโค้งด้านสกัด หลังจากการการประชุมสภาสงฆ์แห่งแลตเตอรันครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และบริเวณคริสต์ศาสนพิธี

บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต

นักบุญมินิอัสแห่งฟลอเรนซ์ทางขวาของพระเยซู โดยมีคำจารึกว่า: "S. MINIATUS REX ERMINIE" บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต (Basilica di San Miniato al Monte) เป็นบาซิลิกาที่ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ทางตอนกลางของประเทศอิตาลี ตัวบาซิลิกาตั้งอยู่บนเนินที่สูงที่สุดของเมืองฟลอเรนซ์ บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตได้ชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ในทัสเคนี บาซิลิกาตั้งอยู่ติดกับสำนักสงฆ์ลัทธิโอลิเวทันส์ที่จะมองเห็นเมื่อขึ้นบันไดไปยังบาซิลิกา นักบุญมินิอัสแห่งฟลอเรนซ์ หรือมินาส (Մինաս, Miniato) เดิมเป็นเจ้าชายชาวอาร์มีเนียผู้รับราชการเป็นทหารในกองทัพโรมันภายใต้จักรพรรดิเดซิอัส มินิอัสถูกประณามว่าเป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนาหลังจากที่ไปเป็นนักพรต และถูกนำตัวมาปรากฏต่อหน้าจักรพรรดิ ผู้กำลังตั้งค่ายอยู่หน้าประตูเมืองฟลอเรนซ์ พระจักรพรรดิมีพระบรมราชโองการให้โยนมินิอัสให้สัตว์ป่ากินในสนามกีฬา แต่เมื่อปล่อยเสือดำเข้าไป เสือดำก็ไม่ยอมทำร้ายมินิอัส มินิอัสจึงถูกตัดหัวต่อหน้าพระจักรพรรดิ กล่าวกันว่ามินิอัสไม่ได้เสียชีวิตทันทีแต่ก้มลงยกหัวของตนขึ้นมา แล้วประคองหัวข้ามแม่น้ำอาร์โน จากนั้นก็เดินขึ้นเนินมอนส์ฟิโอเรนตินัสไปยังที่อาศัย ต่อมาก็ได้มีการสร้างสักการะสถานตรงจุดนี้ และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ก็มีชาเปลขึ้นแล้ว การก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และบาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต

ช่องทางเดิน

“ช่องทางเดิน” ของกุดังเก็บสินค้าคอสท์โคที่ซานฟรานซิสโก ช่องทางเดิน (aisle) โดยทั่วไปหมายถึงช่องว่างที่ใช้เป็นทางเดินระหว่างแนวที่นั่ง, ผนัง, แนวแสดงหรือเก็บสินค้า หรืออื่นๆ ช่องทางเดินอาจจะปรากฏในสถาปัตยกรรมเช่นคริสต์ศาสนสถาน (เช่นในมหาวิหาร), โรงละคร, ห้องประชุม, ห้องเรียน, ศาล, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ตลาด, โรงงาน, รถประจำทาง และอื่นๆ ในกุดังเก็บสินค้าหรือโรงงานสองข้างของช่องทางเดินอาจจะเป็นชั้นที่ต่อขึ้นสูงสองข้างสำหรับเก็บสินค้า การจัดวางองค์ประกอบภายในอาคารที่วางสิ่งของหรือเครื่องมือเป็นแนวโดยมีช่องว่างระหว่างแนวที่ใช้เป็นทางเดิน ช่องนี้จะเรียกว่า “ช่องทางเดิน” เช่นในสถานที่สำหรับออกกำลังกายที่จัดเครื่องออกกำลังเป็นแนวแยกกันโดย ช่องทางเดิน “ช่องทางเดิน” ต่างจาก “ระเบียงทางเดิน” (corridor) หรือโถงทางเดิน (hallway), “ทางเท้า” (footpath/pavement/sidewalk), “ทางเดินนอกสถานที่” (trail) และ “ทาง” (path) หรือ โถงภายในอาคาร (enclosed หรือ open area).

ดู บริเวณกลางโบสถ์และช่องทางเดิน

ชเตฟันสโดม

การขยายอาสนวิหารนักบุญสเทเฟน: The '''หอโรมันและประตูยักษ์''' จากซากไหม้ของโบสถ์แรกใช้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างแบบโรมาเนสก์'''โบสถ์ที่สอง''' สร้างแทนโบสถ์เดิม สี่สิบปีต่อมา ก็เริ่มก่อสร้าง '''Albertine Choir''' แบบกอธิค; ห้าสิบห้าปีหลังจากนั้นก็สร้าง '''ส่วนต่อเติมดยุกรูดอล์ฟที่ 4''' รอบบริเวณ '''โบสถ์ที่สอง''' ที่ต่อมาถูกรื้อทิ้ง เหลือโบสถ์ที่สามให้เป็นสิ่งก่อสร้างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน อาสนวิหารนักบุญสเทเฟน หรือ ชเตฟันสโดม (Stephansdom, St.) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกในอัครมุขมณฑลเวียนนา และเป็นที่ตั้งอาสนะของอาร์ชบิชอปแห่งเวียนนา ตัวอาสนวิหารตั้งอยู่ใจกลางกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมานเนสก์ และ กอทิก ริเริ่มโดยรูดอล์ฟที่ 4 ดยุกแห่งออสเตรีย โบสถ์ปัจจุบันตั้งอยู่บนซากโบสถ์เดิมที่สร้างก่อนหน้านั้นสองโบสถ์ โบสถ์แรกเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริชที่ได้รับการเสกในปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และชเตฟันสโดม

พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล

ระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล (Château de Saint-Germain-en-Laye) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ที่เมืองแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลในจังหวัดอีฟว์ลีนในแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ในประเทศฝรั่งเศส ราว 19 กิโลเมตรทางตะวันตกของปารีส ในปัจจุบันพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาต.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล

กอทิกอ็องฌ์แว็ง

นโค้งแบบอ็องฌ์แว็งที่ L'Hôpital Saint-Jean เมืองอ็องเฌ กอทิกอ็องฌ์แว็ง (Gothique Angevin) หรือ กอทิกแพลนแทเจเนต (Gothique Plantagenêt) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กอทิกแบบตะวันตก เป็นสถาปัตยกรรมกอทิกแบบหนึ่งของฝรั่ง.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และกอทิกอ็องฌ์แว็ง

กงก์

กงก์ (Conques; Concas) เป็นอำเภอของเมืองรอแดซ จังหวัดอาแวรงในแคว้นมีดี-ปีเรเน เมืองกงก์ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ใต้ของประเทศฝรั่ง.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และกงก์

มหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)

มหาวิหาร (basilica) คำว่า “basilica” มาจากภาษากรีก “Stoa Basileios” ที่เดิมใช้ในการบรรยายสิ่งก่อสร้างสาธารณะในโรมโบราณ (เช่นในกรีซที่ส่วนใหญ่เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการศาล) ที่มักจะตั้งอยู่ในจัตุรัส (Roman forum) ของเมืองโรมัน ในเมืองกรีกมหาวิหารสาธารณะเริ่มสร้างกันราวสองร้อยปีก่อนคริสต์ศักราช นอกจากนั้น “มหาวิหาร” ก็ยังมีความหมายทางศาสนา ซากมหาวิหารตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ก็มีการพบมหาวิหารนีโอไพธากอเรียนที่ปอร์ตามัจโจเร (Porta Maggiore) ในปี..

ดู บริเวณกลางโบสถ์และมหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)

มหาวิหารมอนซา

อาสนวิหารนักบุญยอห์นแบปติสต์ (Duomo di San Giovanni Battista) หรือ มหาวิหารมอนซา (Duomo di Monza) เป็นคริสต์ศาสนสถานโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ตั้งอยู่ที่เมืองมอนซาไม่ไกลจากมิลานในประเทศอิตาลี.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และมหาวิหารมอนซา

มหาวิหารวอมส์

อาสนวิหารนักบุญเปโตร วอมส์ (Dom St.; Worms Cathedral) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหารที่ตั้งอยู่ที่เมืองวอมส์ในประเทศเยอรมนี อาสนวิหารวอมส์เป็นอาสนวิหารแบบโรมาเนสก์ที่สร้างระหว่างปี..

ดู บริเวณกลางโบสถ์และมหาวิหารวอมส์

มหาวิหารวาเวล

มหาวิหารวาเวล (Wawel Cathedral) มีชื่อเป็นทางการว่า อัครอาสนมหามหาวิหารหลวงนักบุญสตานิสลาฟและนักบุญวาสลาฟบนเนินเขาวาเวล (Bazylika archikatedralna św.) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำอัครมุขมณฑลกรากุฟ ตั้งอยู่บนเนินเขาวาเวลที่เมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ เป็นอาสนวิหารที่มีประวัติเก่าแก่ยืดยามมาร่วมหนึ่งพันปี และมักจะเป็นสถานที่พระมหากษัตริย์โปแลนด์ทำพิธีราชาภิเษก สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันที่เป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นอาสนวิหารที่สามที่สร้างขึ้นบนตำแหน่งเดียวกันนี้ อาสนวิหารแรกสร้างขึ้นและถูกทำลายในคริสต์ศตวรรษที่ 11 มหาวิหารที่สองที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถูกทำลายในเพลิงไหม้ในปี..

ดู บริเวณกลางโบสถ์และมหาวิหารวาเวล

มหาวิหารตูร์แน

มหาวิหารตูร์แน หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งตูร์แน (Cathédrale Notre-Dame de Tournai; Onze-Lieve-Vrouw van Doornik) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลตูร์แน (Diocese of Tournai) ตั้งอยู่ที่เมืองตูร์แน มณฑลแอโน เขตวัลลูน ในประเทศเบลเยียม โดยสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่พระนางมารีย์พรหมจารี มหาวิหารแห่งนี้ถือเป็นมหาวิหารแห่งเดียวในประเทศเบลเยียมซึ่งตั้งใจสร้างเพื่อมีฐานะเป็นอาสนวิหาร (Cathedral) ซึ่งจัดเป็นผลงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมกอทิกแบบตูร์แน (Gothique tournaisien) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างโรมาเนสก์กับกอทิกที่พบได้มากในภูมิภาคแถบนี้ มหาวิหารตูร์แนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานสำคัญของภูมิภาควัลลูน (Patrimoine immobilier classé de la Région wallonne) เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และมหาวิหารตูร์แน

มหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์

ซิลิกาซานโลเร็นโซ หรือ บาซิลิกาเซนต์ลอว์เรนซ์แห่งฟลอเรนซ์ (Basilica of San Lorenzo, Florence, Basilica di San Lorenzo) เป็นวัดคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นมหาวิหารที่ตั้งอยู่กลางเมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบฟื้นฟูศิลปวิทยา บาซิลิกาซานโลเร็นโซเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณตลาดเก่าในใจกลางเมืองฟลอเรนซ์และเป็นวัดที่ใช้ในการบรรจุศพบุคคลสำคัญๆ หลายคนของตระกูลเมดิชิตั้งแต่โคสิโม เดอ เมดิชิผู้เสียชีวิตในปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และมหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์

มหาวิหารนักบุญแอนโทนีแห่งปาดัว

ซิลิกาซานอันโตนิโอแห่งปาดัว (Basilica of Saint Anthony of Padua, Basilica di Sant'Antonio da Padova) เป็นคริสต์ศาสนสถาน นิกายโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นบาซิลิกา ที่ตั้งอยู่ที่เมืองปาดัวในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบฟื้นฟูศิลปวิทยา แม้ว่าจะเป็นคริสต์ศาสนสถานที่มีผู้มาเยี่ยมชมและแสวงบุญมากที่สุดแต่มิได้เป็นมหาวิหาร มหาวิหารของปาดัวเป็นอีกสิ่งก่อสร้างหนึ่ง บาซิลิกาซานอันโตนิโอรู้จักกันในท้องถิ่นว่า “il Santo”.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และมหาวิหารนักบุญแอนโทนีแห่งปาดัว

มุขข้างโบสถ์

มุขข้างโบสถ์ หรือ แขนกางเขน (transept) คือเป็นบริเวณทางขวางที่ตัดกับทางเดินกลางของสิ่งก่อสร้างที่มีผังทรงกางเขนในคริสต์ศาสนสถานที่เป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอธิค มุขข้างโบสถ์แยกทางเดินกลางจากบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่รวมทั้งมุขตะวันออก บริเวณร้องเพลงสวด ชาเปลดาวกระจาย และบริเวณสงฆ์ มุขข้างโบสถ์ตัดกับทางเดินกลางตรงจุดตัด ที่อาจจะเป็นที่ตั้งของหอสูงเช่นที่มหาวิหารซอลส์บรีหรือโดม.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และมุขข้างโบสถ์

มุขโค้งด้านสกัด

ลักษณะโดยทั่วไปของมุขโค้งสมัยคริสเตียนตอนต้น/ไบแซนไทน์ที่เป็นโค้งครึ่งโดม มุขโค้งสามมุขด้านตะวันออกของบาซิลิกาซานตาจูเลียทางตอนเหนือของอิตาลี มุขด้านตะวันออกของแอบบีแซงต์อูน (Abbey church of Saint-Ouen) แสดงให้เห็น “ชาเปลดาวกระจาย”, รูออง มุขด้านตะวันออกของมหาวิหารมอนริอาเลในซิซิลีที่เต็มไปด้วยลวดลายตกแต่ง มุขโค้งด้านสกัด หรือ มุขตะวันออก (Apse หรือ Apsis) คือส่วนที่เป็นโค้งครึ่งวงกลมที่มีหลังคาครึ่งวงกลมหรือครึ่งโดมที่ยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้าง “มุขโค้งด้านสกัด” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Apse” ที่มาจากภาษาละติน “absis” ที่แปลว่า “โค้ง” หรือ “เพดานโค้ง” ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์, สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ และ สถาปัตยกรรมกอธิคของแอบบี, มหาวิหาร และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ คำนี้หมายถึงมุขครึ่งวงกลมหรือหลายเหลี่ยมที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของสิ่งก่อสร้างที่ภายในเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอก และไม่ว่าหลังคาจะเป็นทรงใด: ราบ, ลาด, โดม หรือครึ่งวงกลม.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และมุขโค้งด้านสกัด

ระเบียงเหนือทางเดินข้าง

ระเบียงเหนือทางเดินข้างเหนือซุ้มโค้งชั้นล่างและภายใต้ช่องรับแสงที่แอบบีมาล์มสบรีในวิลท์เชอร์ในอังกฤษ เป็นระเบียงที่มีซุ้มโค้งแต่งด้วยโค้งหยักแบบนอร์มัน ภายในโค้งใหญ่ก็มีซุ้มโค้งเล็กรับอีกสี่ซุ้ม แอบบีมาล์มสบรีมองจากด้านนอกแสดงตำแหน่งของระเบียงแคบระหว่างลูกศรที่อยู่เหนือช่องทางเดินข้างและช่องรับแสง ระเบียงเหนือทางเดินข้างผนังเป็นกระจกที่มหาวิหารโคโลญสองข้างช่องตกแต่งเป็นภาพวาดเทวดา ระเบียงเหนือทางเดินข้าง หรือ ระเบียงแนบ (triforiumBritannia.com: triforium) คือระเบียงแคบที่สร้างภายในความหนาของผนังด้านในที่ตั้งอยู่ทางผนังด้านข้างเหนือบริเวณกลางโบสถ์หรือมุขข้างโบสถ์ของคริสต์ศาสนสถาน ตำแหน่งอาจจะเป็นระดับเดียวกับช่องรับแสงหรือเป็นชั้นที่แยกออกมาเป็นชั้นต่างหากอยู่ใต้ช่องรับแสง ระเบียงเหนือทางเดินข้างอาจจะมีผนังเป็นแก้วแทนที่จะเป็นหิน ที่มาของคำว่า “ระเบียงเหนือทางเดินข้าง” ที่มาจากภาษาอังกฤษ “Triforium” ไม่เป็นที่ทราบแต่สันนิษฐานว่าอาจจะมาจากคำว่า “thoroughfarum” เพราะเป็นทางเดินจากหัวตึกไปถึงท้ายตึก อาจจะเป็นคำที่แผลงมาจากภาษาละตินว่า “tres” ที่แปลว่า “สาม” และ “foris” ที่แปลว่า “ประตู” หรือ “ทางเข้า” อาจจะเป็นได้ว่าทางผ่านอาจจะเคยเป็นลักษณะสามเหลี่ยมตามรูปทรงของหลังคาที่ลาดลงมาด้านหนึ่ง (ดูรูประหว่างลูกศร) ตัวอย่างแรกของระเบียงเหนือทางเดินข้างพบในบาซิลิกาของผู้นอกศาสนาที่เป็นระเบียงชั้นบนสำหรับการสนทนาหรือการดำเนินธุรกิจ ในสมัยคริสเตียนยุคแรกและในคริสต์ศาสนสถานของอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ระเบียงเหนือทางเดินข้างมักจะใช้สำหรับสตรี ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสถาปัตยกรรมกอธิคระเบียงเหนือทางเดินข้างอาจจะเป็นระเบียงกว้างบนผนังด้านข้างของช่องทางเดินข้างหรืออาจจะเป็นเพียงกว้างเกือบเท่ากับความหนาของผนัง ระเบียงเหนือทางเดินข้างเป็นองค์ประกอบสำคัญของบริเวณกลางโบสถ์ของมหาวิหารหรือคริสต์ศาสนสถานที่เพิ่มความสำคัญให้แก่ซุ้มบริเวณกลางโบสถ์ชั้นล่าง ในด้านการตกแต่งก็อาจจะมีการใช้บัวตกแต่งรอบโค้งหรือรูปแกะสลัก โดยเฉพาะการตกแต่งช่องตกแต่ง (Spandrel) ของส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมสองข้างโค้ง เช่นในการตกแต่งระเบียงเหนือทางเดินข้างของมหาวิหารลิงคอล์น ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 รูปทรงของหลังคาเหนือช่องทางเดินข้างแบนราบขึ้นที่ทำให้การสร้างระเบียงเหนือทางเดินข้างที่ต้องใช้ความสูงหายไป ระเบียงเหนือทางเดินข้างอาจจะใช้เป็นทางเดินหรือสำหรับผู้สังเกตการณ์ในพิธีที่เกิดขึ้นในมหาวิหาร หรืออาจจะใช้โดยนักบวชในการทำงานที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง บางครั้งระเบียงแคบก็มีประโยชน์ในทางโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเมื่อมีการใช้ค้ำยันแบบปีกที่ช่วยดึงหรือแบ่งเบาน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างจากผนังที่สร้างผ่านระเบียงแคบและกางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้าง.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และระเบียงเหนือทางเดินข้าง

สถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาทร์ของสมัยกอทิกตอนกลางราว ค.ศ. 1194 ถึง ค.ศ. 1260 สถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศส (French Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส

สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ

ท้องพระโรงเวสต์มินสเตอร์ที่เป็นเพดานแบบ “hammerbeam roof” ภาพจากคริสต์ศตวรรษที่ 18 สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ (English Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองขึ้นในอังกฤษระหว่างราวปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ

สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ

มหาวิหารเดอรัมเหนือแม่น้ำเวียร์ ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์อัลบัน ปุ่มหินกลางหอประชุมนักบวชในมหาวิหารยอร์ก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ (Architecture of the medieval cathedrals of England) เป็นช่วงระยะเวลาการก่อสร้างมหาวิหารที่เกิดขึ้นในอังกฤษระหว่าง ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

สถาปัตยกรรมนอร์มัน

องทางเดินกลางของมหาวิหารเดอแรมที่ใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลมสองข้างแม้ว่าจะมีการใช้โค้งแหลมบนเพดานเหนือช่องทางเดินกลางที่เป็นการนำทางของสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมนอร์มัน (Norman architecture) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่วิวัฒนาการโดยนอร์มันในดินแดนต่างๆ ที่ได้เข้าปกครองหรือมีอิทธิพลในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 โดยเฉพาะในการบรรยายถึงสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบบอังกฤษ นอร์มันเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างปราสาท, ป้อมปราการที่รวมทั้งหอกลางแบบนอร์มัน, สำนักสงฆ์, แอบบี, คริสต์ศาสนสถาน และมหาวิหารเป็นจำนวนมากในอังกฤษ ในลักษณะการใช้โค้งกลม (โดยเฉพาะรอบหน้าต่างและประตู) และมีลักษณะหนาหนักเมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่กล่าวนี้เริ่มขึ้นในนอร์ม็องดีและแผ่ขยายไปทั่วยุโรปโดยเฉพาะในอังกฤษซึ่งเป็นที่ที่มีการวิวัฒนาการมากที่สุดและยังคงมีสิ่งก่อสร้างจากยุคนั้นที่ยังหลงเหลืออยู่มากกว่าประเทศอื่น ในขณะเดียวกันตระกูลโอตวิลล์ (Hauteville family) ซึ่งเป็นตระกูลนอร์มันที่ปกครองซิซิลีก็สร้างลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์อีกลักษณะหนึ่งที่มีอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์และซาราเซ็นที่ก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” เช่นกันหรือบางครั้งก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ซิซิลี”.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และสถาปัตยกรรมนอร์มัน

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ดู บริเวณกลางโบสถ์และสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

ห้องเก็บศพใต้โบสถ์

ห้องเก็บศพใต้โบสถ์ หรือ ห้องลับใต้ดิน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า crypt เป็นคำมาจากภาษาละตินว่า crypta และภาษากรีกว่า κρύπτη หรือ kryptē ซึ่งมีความหมายว่า "ซ่อนอยู่" หรือ "ส่วนตัว" หมายถึงห้องใต้ดินที่ทำจากหินที่ใช้สำหรับบรรจุหีบศพ โลงหิน หรือเรลิก โดยปกติตามโบสถ์คริสต์หรือมหาวิหารมักจะมีห้องเก็บศพฝังอยู่ข้างใต้มุขโค้ง (apse) และต่อมาภายหลังมักสร้างอยู่ข้างใต้ของบริเวณกลางโบสถ์ (nave) หรือข้างใต้บริเวณแขนกางเขน (transept) และยังพบบางโบสถ์ที่สร้างแบบยกพื้นสูงเพื่อให้ห้องเก็บศพอยู่เหนือพื้นดิน เช่น โบสถ์นักบุญไมเคิล เมืองฮิลเดสไฮม์ ประเทศเยอรมนี.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และห้องเก็บศพใต้โบสถ์

ออคเซนเฮาเซินแอบบีย์

อารามออคเซนเฮาเซิน (Reichsabtei Ochsenhausen) เดิมเป็นแอบบีย์ของคณะเบเนดิกติน ตั้งอยู่ที่ออคเซนเฮาเซิน ไม่ไกลจากเมืองบิเบอร์ราค รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก ทางไต้ของประเทศเยอรมนี.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และออคเซนเฮาเซินแอบบีย์

อารามวัลด์ซัสเซิน

อารามวัลด์ซัสเซิน (Kloster Waldsassen) เป็นอารามนักพรตหญิงของคณะซิสเตอร์เชียน เดิมเป็นแอบบีย์ของนักพรตชาย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำวอนเดร็บที่วัลด์ซัสเซินในรัฐบาวาเรียไม่ไกลจากพรมแดนเยอรมนีที่ติดกับสาธารณรัฐเชก.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอารามวัลด์ซัสเซิน

อารามแซ็ง-เบอนัว-ซูร์-ลัวร์

อารามแซ็ง-เบอนัว-ซูร์-ลัวร์ (Abbaye de Saint-Benoît-sur-Loire) หรือ อารามเฟลอรี (Abbaye de Fleury) เป็นแอบบีย์ของคณะเบเนดิกติน ตั้งอยู่ที่เมืองแซ็ง-เบอนัว-ซูร์-ลัวร์ จังหวัดลัวแร ประเทศฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในแอบบีย์ที่มีฐานะดีที่สุดและมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาแอบบีย์ของคณะเบเนดิกตินในทวีปยุโรปตะวันตก ชื่อปัจจุบันของแอบบีย์คือ “เฟลอรี-แซ็ง-เบอนัว-ซูร์-ลัวร์” ที่มาจากการอ้างว่าพบเรลิกของนักบุญเบเนดิกต์แห่งเนอร์เซียที่นั่น ตำแหน่งที่ตั้งอยู่บนแม่น้ำลัวร์ทำให้ง่ายต่อการติดต่อกับออร์เลอ็องซึ่งเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่ต่อเนื่องกันมาอย่างไม่ขาดสายตั้งแต่สมัยโรมัน.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอารามแซ็ง-เบอนัว-ซูร์-ลัวร์

อารามโบลีเยอ-ซูร์-ดอร์ดอญ

อารามโบลีเยอ-ซูร์-ดอร์ดอญ (Beaulieu-sur-Dordogne Abbey) หรือชื่อเต็มคือ อารามแซ็ง-ปีแยร์เดอโบลีเยอ-ซูร์-ดอร์ดอญ (Abbaye Saint-Pierre de Beaulieu-sur-Dordogne) เป็นแอบบีย์ของคณะเบเนดิกติน ตั้งอยู่ที่เมืองโบลีเยอ-ซูร์-ดอร์ดอญ กอแรซ แคว้นลีมูแซ็ง ประเทศฝรั่ง.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอารามโบลีเยอ-ซูร์-ดอร์ดอญ

อารามเชินทัล

้านหน้าอารามเชินทัล อารามเชินทัล (Schöntal Abbey, Kloster Schöntal/ Reichskloster Schöntal) เดิมเป็นแอบบีย์ของนักพรตคณะซิสเตอร์เชียนที่ตั้งอยู่ที่เมืองเชินทาล ในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก (Baden-Württemberg) ทางใต้ของประเทศเยอรมนี ความสำคัญของอารามนี้คือศิลปะบารอกที่สวยงามมาก ในปัจจุบันแอบบีย์ใช้เป็นสถานที่สำหรับการฝึกอบรมและเข้าเงียบ แอบบีย์นี้เริ่มสร้างในปี..

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอารามเชินทัล

อารามเอียร์เซ

อารามเอียร์เซ (Reichsabtei Irsee, Irsee Abbey) เป็นอารามคณะเบเนดิกตินที่ตั้งอยู่เมืองเอียร์เซในบาวาเรียในประเทศเยอรมนี ในปัจจุบันอารามเอียร์เซใช้เป็นสถานที่สำหรับการประชุมสัมมนา และศูนย์ฝึกหัดของเขตบริหารชวาเบี.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอารามเอียร์เซ

อาสนวิหารบลัว

อาสนวิหารบลัว (Cathédrale de Blois) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญหลุยส์แห่งบลัว (Cathédrale Saint-Louis de Blois) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลบลัว ตั้งอยู่ในเขตเมืองบลัว จังหวัดลัวเรแชร์ ในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญหลุยส์ อาสนวิหารแรนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารบลัว

อาสนวิหารบายอน

อาสนวิหารบายอน (Cathédrale de Bayonne) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญมารีย์แห่งบายอน (Cathédrale Sainte-Marie de Bayonne) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลบายอน แล็สการ์ และออลอรง ตั้งอยู่ที่เมืองบายอน จังหวัดปีเรเน-อัตล็องติก แคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี อาสนวิหารเป็นอาคารแบบสถาปัตยกรรมกอทิก สันนิษฐานว่าเริ่มก่อสร้างราว ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารบายอน

อาสนวิหารบาซัส

อาสนวิหารบาซัส (Cathédrale de Bazas) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาแห่งบาซัส (Cathédrale Saint-Jean-Baptiste de Bazas) ปัจจุบันมีฐานะเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริช นิกายโรมันคาทอลิก ในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลบาซัส ซึ่งต่อมาถูกยุบลงโดยเขตปกครองบางส่วนตกเป็นส่วนหนึ่งของอัครมุขมณฑลบอร์โด และอีกส่วนหนึ่งผนวกเข้ากับมุขมณฑลอาแฌ็งและมุขมณฑลแอร์ตั้งแต่ปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารบาซัส

อาสนวิหารบูร์ฌ

อาสนวิหารบูร์ฌ (Cathédrale de Bourges) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งบูร์ฌ (Cathédrale Saint-Étienne de Bourges) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่เมืองบูร์ฌในประเทศฝรั่งเศส และเป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลบูร์ฌ โดยอุทิศแด่นักบุญสเทเฟน มหาวิหารแห่งนี้ถูกสร้างด้วยความยิ่งใหญ่และกลมกลืนกันทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนหน้าบัน รูปปั้นประดับโดยรอบ และงานกระจกสี อาสนวิหารแห่งนี้ได้ถูกละเลยมาเป็นระยะเวลายาวนาน อย่างไรก็ตาม ความสำคัญทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารแห่งนี้ก็โดดเด่นไม่แพ้กับอาสนวิหารชั้นนำที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ในประเทศฝรั่ง.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารบูร์ฌ

อาสนวิหารกาวายง

อาสนวิหารกาวายง (Cathédrale de Cavaillon) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระและนักบุญเวร็องแห่งกาวายง (Cathédrale Notre-Dame-et-Saint-Véran de Cavaillon) เป็นโบสถ์ประจำเขตแพริชและอดีตอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลกาวายงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 จนกระทั่งถูกยุบรวมเข้ากับอัครมุขมณฑลอาวีญงตั้งแต่ ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารกาวายง

อาสนวิหารกูต็องส์

อาสนวิหารกูต็องส์ (Cathédrale de Coutances) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งกูต็องส์ (Cathédrale Notre-Dame de Coutances) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายก ประจำมุขมณฑลกูต็องส์และอาวร็องช์ ตั้งอยู่ในเมืองกูต็องส์ จังหวัดม็องช์ ในแคว้นนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระแม่มารี อาสนวิหารแห่งนี้สร้างขึ้นที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 90 เมตร ซึ่งเป็นจุดสนใจที่สำคัญของตัวเมืองกูต็องส์ อีกทั้งยังสามารถมองเห็นได้จากทะเลอีกด้วย ตามตำนานกล่าวว่าสามารถมองเห็นได้จากเกาะเจอร์ซีย์ ที่อยู่ห่างไปถึง 40 กิโลเมตร เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของอาคารที่อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านทางสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์กับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใหม่กว่าตามแบบกอทิก จะพบว่าด้านข้างของบริเวณกลางโบสถ์และหอสูงซึ่งขนาบทั้งสองข้างของหน้าบันหลักนั้นยังเป็นโครงสร้างแบบโรมาเนสก์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งยังเห็นได้ชัดเจนจากบริเวณชั้นบนของวิหารในเวลาเยี่ยมชม นอกจากนี้ยังประกอบด้วยยอดสูงถึงสองยอดบริเวณหน้าบันด้านหน้าวิหาร และหอรับแสง (tour-lanterne) ตรงกลางระหว่างหอสูงทั้งสอง และยังถือเป็นตัวอย่างที่สำคัญของสถาปัตยกรรมกอทิกนอร์มัน (gothique normand) ซึ่งโดดเด่นด้วยเส้นสายที่ตรงและสูงชะลูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวดิ่ง อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารกูต็องส์

อาสนวิหารมากง

อาสนวิหารมากง (Cathédrale de Mâcon) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญบิเซนเตแห่งมากง (Cathédrale Saint-Vincent de Mâcon) ในอดีตมีฐานะเป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกประจำมุขมณฑลมากงซึ่งต่อมาได้ถูกยุบลงเป็นส่วนหนึ่งของมุขมณฑลโอเติงตั้งแต่ปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารมากง

อาสนวิหารมูแล็ง

อาสนวิหารมูแล็ง (Cathédrale de Moulins) หรือชื่อทางการคือ อาสนวิหารแม่พระรับสารแห่งมูแล็ง (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Annonciation de Moulins) เป็นวัดคริสต์ศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ของอัครมณฑลมูแล็ง เป็นอาสนวิหารเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับสาร ตั้งอยู่ที่เมืองมูแล็ง จังหวัดอาลีเย ประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารมูแล็งได้รับการสถาปนาเป็นอาสนวิหารในปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารมูแล็ง

อาสนวิหารมงเปอลีเย

อาสนวิหารมงเปอลีเย (Cathédrale de Montpellier) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งมงเปอลีเย (Cathédrale Saint-Pierre de Montpellier) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่วิหารประจำอัครมุขนายกแห่งอัครมุขมณฑลมงเปอลีเย ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของเมืองมงเปอลีเย จังหวัดเอโร แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่อัครทูตสำคัญคือนักบุญเปโตร อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถานที่ในแบบสถาปัตยกรรมกอทิกที่ใหญ่โตที่สุดในเมืองมงเปอลีเย และเป็นอาสนวิหารที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคล็องก์ด็อก-รูซียงอีกด้วย อาสนวิหารมงเปอลีเยได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารมงเปอลีเย

อาสนวิหารยอร์ก

อาสนวิหารยอร์ก (York Cathedral) มีชื่อเป็นทางการว่า "อาสนวิหารและคริสตจักรมหานครแห่งนักบุญเปโตรในกรุงยอร์ก" (The Cathedral and Metropolitical Church of St Peter in York) เป็นคริสต์ศาสนสถานประเภทอาสนวิหารที่สร้างเป็นแบบกอธิคที่ใหญ่ที่เป็นที่สองรองจากอาสนวิหารโคโลญในประเทศเยอรมนี ทางตอนเหนือของทวีปยุโรป อาสนวิหารยอร์กตั้งอยู่ที่เมืองยอร์กในยอร์กเชอร์ ทางตอนเหนือของ สหราชอาณาจักร เป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของของอาร์ชบิชอปแห่งยอร์กซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในคริสตจักรแห่งอังกฤษรองจากอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี อาสนวิหารยอร์กถือกันว่าเป็น “high church” ของนิกายแองโกล-คาทอลิก (Anglo-Catholicism) ของคริสตจักรแองกลิคัน อาสนวิหารมีทางเดินกลางที่สร้างแบบกอธิควิจิตร (Decorated Gothic) และหอประชุมนักบวช บริเวณร้องเพลงสวดและทางด้านหลังเป็นแบบกอธิคแบบ กอธิคสูง (Perpendicular Gothic) ทางด้านเหนือของแขนกางเขนเป็นแบบกอธิคอังกฤษตอนต้น ทางเดินกลางมีหน้าต่างเหนือบานประตูที่สร้างเมื่อ..

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารยอร์ก

อาสนวิหารรอแดซ

อาสนวิหารรอแดซ (Cathédrale de Rodez) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งรอแดซ (Cathédrale Notre-Dame de Rodez) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก ของมุขมณฑลรอแดซ ตั้งอยู่ที่เมืองรอแดซในประเทศฝรั่งเศส ด้านหน้าที่มีลักษณะตันเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองรอแดซ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารรอแดซ

อาสนวิหารลูว์ซง

อาสนวิหารลูว์ซง (Cathédrale de Luçon) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แห่งลูว์ซง (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Assomption de Luçon) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลลูว์ซง ตั้งอยู่ในเขตเมืองลูว์ซง จังหวัดว็องเด แคว้นเปอีเดอลาลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ อาสนวิหารแห่งนี้สร้างขึ้นในแบบกอทิก และยังมีองค์ประกอบบางส่วนในแบบโรมาเนสก์ รวมทั้งในยุคที่ใหม่กว่านั้น คือ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (หรือคลาสสิก) ซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ นี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารลูว์ซง

อาสนวิหารลีมอฌ

อาสนวิหารลีมอฌ (Cathédrale de Limoges) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งลีมอฌ (Cathédrale Saint-Étienne de Limoges) เป็นทั้งอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลลีมอฌ ตั้งอยู่ติดกับ "สวนพระสังฆราช" (Jardin de l'Évêché) ในเขตเมืองเก่า "ลาซีเต" (La Cité) ของลีมอฌ จังหวัดโอต-เวียน แคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน (ปฐมมรณสักขี) เป็นหนึ่งในอนุสรณ์สถานสำคัญที่สุดในลีมอฌคู่กับสถานีรถไฟลีมอฌ และยังถือเป็นคริสต์ศาสนสถานแห่งเดียวในภูมิภาคลีมูแซ็งที่สร้างในแบบกอธิกที่สมบูรณ์แบบ อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารลีมอฌ

อาสนวิหารลียง

อาสนวิหารนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญสเทเฟนแห่งลียง (La Primatiale Saint-Jean-Baptiste-et-Saint-Étienne) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า อาสนวิหารนักบุญยอห์น (Cathédrale Saint-Jean) และ อาสนวิหารลียง (Cathédrale de Lyon) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกที่อยู่ในระดับสูงกว่าอาสนวิหารทั่วไปหรือที่เรียกว่า primatial cathedral เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลลียง โดยตามตำแหน่งแล้ว อัครมุขนายกแห่งลียงยังรั้งตำแหน่งผู้นำแห่งชาวกอลทั้งปวง (Primat des Gaules) อีกด้วย อาสนวิหารตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของเมืองลียง จังหวัดโรน แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่สองอัครทูตสำคัญ คือนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญสเทเฟน โดยแต่แรกอาสนวิหารนี้ตั้งใจสร้างเพื่ออุทิศให้แก่นักบุญสเทเฟน และให้เกียรติแก่ผู้ให้ศีลล้างบาปแก่พระองค์ด้วย นั่นคือนักบุญยอห์น จึงเป็นที่มาของชื่อทั้งสองของอาสนวิหารแห่งนี้ อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารลียง

อาสนวิหารล็อง

อาสนวิหารล็อง (Cathédrale de Laon) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งล็อง (Cathédrale Notre-Dame de Laon) สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันมีฐานะเป็นโบสถ์ประจำแพริชในนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารของอดีตมุขมณฑลล็องซึ่งในปัจจุบันอยู่ในการปกครองของมุขนายกประจำมุขมณฑลซัวซง อันเป็นผลจากการควบรวมตามความตกลง ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารล็อง

อาสนวิหารล็องกร์

อาสนวิหารล็องกร์ (Cathédrale de Langres) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญแมมมิสแห่งล็องกร์ (Cathédrale Saint-Mammès de Langres) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกอันเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลล็องกร์ ตั้งอยู่ที่เมืองล็องกร์ในจังหวัดโอต-มาร์น แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญแมมมิสแห่งไกซาเรอา มรณสักขีในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 3 ลักษณะเด่นของอาสนวิหารแห่งนี้อยู่ที่ความผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบบบูร์กอญกับสถาปัตยกรรมกอทิก อาทิ เพดานแบบโค้งสัน หน้าบันหลักทิศตะวันตกซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิก อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารล็องกร์

อาสนวิหารวาน

อาสนวิหารวาน (Cathédrale de Vannes) หรือเรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งวาน (Cathédrale Saint-Pierre de Vannes) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกประจำมุขมณฑลวาน และยังมีฐานะเป็นมหาวิหารด้วย ตั้งอยู่ที่เมืองวาน จังหวัดมอร์บีอ็อง แคว้นเบรอตาญ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร อาสนวิหารวานสร้างในแบบสถาปัตยกรรมกอทิก โดยตั้งอยู่บนสถานที่ของอาสนวิหารเดิมซึ่งเป็นแบบโรมาเนสก์ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 การก่อสร้างกินเวลายาวนานถึง 500 ปี ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และถ้ายังนับรวมกับอายุของหอระฆังเก่าแบบโรมาเนสก์แล้วจะรวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้นถึงกว่า 700 ปีด้วยกัน อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารวาน

อาสนวิหารวีวีเย

อาสนวิหารวีวีเย (Cathédrale de Viviers) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญบิเซนเตแห่งวีวีเย (Cathédrale Saint-Vincent de Viviers) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลวีวีเยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา ตั้งอยู่ที่เมืองวีวีเย จังหวัดอาร์แด็ช แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญบิเซนเตแห่งอูเอสกา อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารวีวีเย

อาสนวิหารออร์เลอ็อง

อาสนวิหารออร์เลอ็อง (Cathédrale d'Orléans) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารกางเขนศักดิ์สิทธิ์แห่งออร์เลอ็อง (Cathédrale Sainte-Croix d'Orléans) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ประจำตำแหน่งมุขนายกแห่งออร์เลอ็อง ตั้งอยู่ที่เมืองออร์เลอ็องในประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอทิก อาสนวิหารเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเพราะความเกี่ยวพันกับนักบุญโยนออฟอาร์คผู้เป็นวีรสตรีของฝรั่งเศส โยนออฟอาร์คเข้าร่วมพิธีมิสซาที่อาสนวิหารเมื่อค่ำวันที่ 2 พฤษภาคม..

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารออร์เลอ็อง

อาสนวิหารออลอรง

อาสนวิหารออลอรง (Cathédrale d'Oloron) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญมารีย์แห่งออลอรง (Cathédrale Sainte-Marie d'Oloron) ในปัจจุบันมีฐานะเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริชนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลออลอรงซึ่งต่อมาได้ถูกยุบลงเป็นส่วนหนึ่งของมุขมณฑลบายอนตั้งแต่ปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารออลอรง

อาสนวิหารอาวร็องช์

อาสนวิหารอาวร็องช์ (Cathédrale d'Avranches) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญอันดรูว์แห่งอาวร็องช์ (Cathédrale Saint-André d'Avranches) ก่อนถูกทำลายลงในเดือนเมษายน ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารอาวร็องช์

อาสนวิหารอาแฌ็ง

อาสนวิหารอาแฌ็ง (Cathédrale d'Agen) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญกาแพรแห่งอาแฌ็ง (Cathédrale Saint-Caprais d'Agen) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลอาแฌ็ง ตั้งอยู่ที่เมืองอาแฌ็ง จังหวัดลอเตการอน แคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญกาแพรแห่งอาแฌ็ง อาสนวิหารอาแฌ็งได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารอาแฌ็ง

อาสนวิหารอาเมียง

รูปสลักนักบุญด้านหน้าอาสนวิหาร อาสนวิหารอาเมียง (Cathédrale d'Amiens) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งอาเมียง (Cathédrale Notre-Dame d'Amiens) เป็นอาสนวิหารที่สูงที่สุดในประเทศฝรั่งเศส มีฐานะเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลอาเมียง มีเนื้อที่ภายในกว้างใหญ่ถึง 200,000 ตารางเมตร หลังคาโค้งกอทิกสูง 42.30 เมตรซึ่งเป็นหลังคาแบบกอทิกที่สูงที่สุดในฝรั่งเศส ตัวอาสนวิหารตั้งอยู่ที่เมืองอาเมียงซึ่งเป็นเมืองสำคัญของแคว้นโอดฟร็องส์ในหุบเขาซอม ห่างจากกรุงปารีสไปทางทิศเหนือประมาณ 100 กิโลเมตร.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารอาเมียง

อาสนวิหารอ็อช

อาสนวิหารอ็อช (Cathédrale d'Auch) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญมารีย์แห่งอ็อช (Cathédrale Sainte-Marie d'Auch) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลอ็อช ตั้งอยู่ที่เมืองอ็อช จังหวัดแฌร์ แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี อาสนวิหารแห่งนี้ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ถึง 3 ด้าน ด้วยความยาวถึง 102 เมตร และกว้าง 35 เมตร เริ่มการก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารอ็อช

อาสนวิหารอ็องกูแลม

อาสนวิหารอ็องกูแลม (Cathédrale d'Angoulême) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งอ็องกูแลม (Cathédrale Saint-Pierre d'Angoulême) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก ประจำมุขมณฑลอ็องกูแลม ตั้งอยู่ที่เมืองอ็องกูแลม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมาเนสก์ อาสนวิหารอ็องกูแลมซึ่งเป็นอาสนวิหารตัวอย่างโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ได้รับการสถาปนาเป็นอาสนวิหารในปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารอ็องกูแลม

อาสนวิหารอ็องเฌ

อาสนวิหารอ็องเฌ (Cathédrale d'Angers) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญมอริซแห่งอ็องเฌ (Cathédrale Saint-Maurice d'Angers) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลอ็องเฌ ตั้งอยู่ในเมืองอ็องเฌ จังหวัดแมเนลัวร์ แคว้นเปอีเดอลาลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญมอริซ อดีตมุขนายกในคริสต์ศตวรรษที่ 4 อาสนวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งตัวอย่างของอาคารที่อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านทางสถาปัตยกรรมระหว่างโรมาเนสก์กับกอทิกที่สวยงาม และยังเป็นอีกหนึ่งประจักษ์พยานสำคัญของสถาปัตยกรรมกอทิกอ็องฌ์แว็ง ซึ่งพบเห็นในดินแดนแถบนั้นอีกด้วย อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารอ็องเฌ

อาสนวิหารดอล-เดอ-เบรอตาญ

อาสนวิหารดอล-เดอ-เบรอตาญ (Cathédrale de Dol-de-Bretagne) หรือเรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญแซมซันแห่งดอล-เดอ-เบรอตาญ (Cathédrale Saint-Samson de Dol-de-Bretagne) ในปัจจุบันมีฐานะเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริชนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลดอล เป็นมุขมณฑลหนึ่งในเก้าแห่งในแคว้นเบรอตาญในอดีต ซึ่งต่อมาได้ถูกยุบลงเป็นส่วนหนึ่งของมุขมณฑลแรนตั้งแต่ปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารดอล-เดอ-เบรอตาญ

อาสนวิหารตูร์

อาสนวิหารตูร์ (Cathédrale de Tours) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญกาเซียงแห่งตูร์ (Cathédrale Saint-Gatien de Tours) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายก ประจำมุขมณฑลตูร์ ตั้งอยู่ที่เมืองตูร์ จังหวัดแอ็งเดรลัวร์ แคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้นักบุญกาเซียงแห่งตูร์ อดีตมุขนายกผู้ก่อตั้งมุขมณฑลตูร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 อาสนวิหารแห่งตูร์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารตูร์

อาสนวิหารตูล

อาสนวิหารตูล (Cathédrale de Toul) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งตูล (Cathédrale Saint-Étienne de Toul) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน (ปฐมมรณสักขี) ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของตูล จังหวัดเมอร์เตมอแซล ในแคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลน็องซี-ตูลร่วมกับอาสนวิหารแม่พระรับสารและนักบุญซีฌแบร์แห่งน็องซี อาสนวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งตัวอย่างของอาคารกอทิกที่สวยงามและสมบูรณ์ โดยเฉพาะหน้าบันทางเข้าทิศตะวันตก อีกทั้งยังเป็นงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกแบบกอทิกแบบฟล็องบัวย็องซึ่งรวมถึงระเบียงคดแบบกอทิก ซึ่งถือว่าเป็นระเบียงคดแห่งที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังมีชาเปลแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาอีก 2 แห่งด้วย อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารตูล

อาสนวิหารตูลูซ

อาสนวิหารตูลูซ (Cathédrale de Toulouse) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งตูลูซ (Cathédrale Saint-Étienne de Toulouse) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลตูลูซ ตั้งอยู่ที่กร็อง-รง (Grand-Rond) ในเขตเมืองตูลูซ จังหวัดโอต-การอน ในแคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน ปีที่ก่อสร้างนั้นยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจน จากหลักฐานพบการกล่าวถึงโบสถ์แห่งหนึ่งในที่ตั้งเดียวกันในปี..

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารตูลูซ

อาสนวิหารซีมีเย

อาสนวิหารซีมีเย (Cathédrale de Cimiez) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญมารีย์แห่งซีมีเย (Cathédrale Sainte-Marie de Cimiez) เป็นอดีตอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกประจำอดีตมุขมณฑลซีมีเย มุขมณฑลในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 เป็นต้นมาจนกระทั่งถูกยุบรวมเข้ากับมุขมณฑลนิสเมื่อปี..

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารซีมีเย

อาสนวิหารปัวตีเย

อาสนวิหารปัวตีเย (Cathédrale de Poitiers) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งปัวตีเย (Cathédrale Saint-Pierre de Poitiers) เป็นทั้งอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกและไมเนอร์บาซิลิกา (minor basilica) ในสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 10 (ตั้งแต่ 1 มีนาคม ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารปัวตีเย

อาสนวิหารปีเตอร์บะระ

อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์ หรือ อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์ (Peterborough Cathedral หรือ Cathedral Church of St Peter, St Paul and St Andrew) มีชื่อเต็มว่า "อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์, เซนต์พอล และเซนต์แอนดรูว์" ที่อุทิศให้แก่นักบุญปีเตอร์ นักบุญพอล และนักบุญแอนดรูว์ นักบุญทั้งสามองค์มีรูปปั้นอยู่บนจั่วสามจั่วด้านหน้าของอาสนวิหาร อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์เป็นคริสต์ศาสนสถานระดับอาสนวิหาร ของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ของสังฆมณฑลปีเตอร์บะระห์ในสังฆเขตแคนเตอร์บรีที่ตั้งอยู่ที่เมืองปีเตอร์บะระห์ในอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมาเนสก์ และ กอธิค อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์เดิมก่อตั้งขึ้นในสมัยแซ็กซอนสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เป็นแบบนอร์มันหลังจากการก่อสร้างใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปีเตอร์บะระห์ก็เช่นเดียวกับอาสนวิหารเดอแรม และ อาสนวิหารอีลีที่เป็นสิ่งก่อสร้างจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในอังกฤษที่ไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมมากนักแม้ว่าจะได้รับการขยายต่อเติมและการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาหลายครั้งก็ตาม อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์มีชื่อเสียงว่ามีด้านหน้าที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษตอนต้นอย่างเด่นชัด ที่มีประตูโค้งใหญ่มหึมาที่ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดที่สร้างเช่นเดียวกันนั้นมาก่อน หรือสร้างตามมา ลักษณะที่ปรากฏเป็นเชิงที่ไม่สมมาตร เพราะหอหนึ่งในสองหอที่สูงขึ้นมาหลังด้านหน้านสร้างไม่เสร็จ แต่จะมองเห็นได้ก็จากระยะทางไกลจากตัวอาสนวิหารเท่านั้น.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารปีเตอร์บะระ

อาสนวิหารนัวยง

อาสนวิหารนัวยง (Cathédrale de Noyon) หรือชื่อทางการว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งนัวยง (Cathédrale Notre-Dame de Noyon) ในอดีตเป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกของอดีตมุขมณฑลนัวยง ตั้งอยู่ที่เมืองนัวยงในจังหวัดอวซ แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารนัวยงเดิมเป็นอาสนวิหารประจำตำแหน่งมุขนายกแห่งนัวยง ต่อมาถูกยุบรวมกับมุขมณฑลโบแวตามความตกลง ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารนัวยง

อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส

"ครีบยันลอย" (flying buttress) ที่ยื่นออกไปรอบบริเวณร้องเพลงด้านหลังโบสถ์ อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส (Cathédrale Notre-Dame de Paris) เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลปารีส ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า Notre Dame แปลว่า แม่พระ (Our Lady) ซึ่งเป็นคำที่ชาวคาทอลิกใช้เรียกพระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันอาสนวิหารก็ยังใช้เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกและเป็นที่ตั้งคาเทดราของอาร์ชบิชอปแห่งปารีส อาสนวิหารน็อทร์-ดามถือกันว่าเป็นโบสถ์ที่สวยงามที่สุดในลักษณะกอทิกแบบฝรั่งเศส โบสถ์นี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส การก่อสร้างเป็นแบบกอทิก นับเป็นอาสนวิหารแรกที่สร้างในลักษณะนี้ และการก่อสร้างก็ทำต่อเนื่องมาตลอดสมัยกอทิก ประติมากรรม และหน้าต่างประดับกระจกสี (stained glass) มีอิทธิพลจากศิลปะแบบแนทเชอราลลิสม์ ทำให้แตกต่างจากศิลปะโรมาเนสก์ที่สร้างก่อนหน้านั้น น็อทร์-ดามเป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งก่อสร้างแรกที่ใช้ "ครีบยันลอย" ตามแบบเดิมไม่ได้บ่งถึงกำแพงค้ำยันรอบอาสนวิหาร "บริเวณร้องเพลงสวด" หรือ รอบบริเวณกลางโบสถ์ เมื่อเริ่มสร้างกำแพงโบสถ์สูงขึ้นกำแพงก็เริ่มร้าวเพราะน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง เพราะสถาปนิกสมัยกอทิกจะเน้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่สูง บาง และโปร่ง เมื่อสร้างสูงขึ้นไปกำแพงก็ไม่สามารถรับน้ำหนักและความกดดันของกำแพงและหลังคาได้ทำให้กำแพงโก่งออกไปและร้าว สถาปนิกจึงใช้วิธีแก้ด้วยการเติม "กำแพงค้ำยัน" ที่กางออกไปคล้ายปีกนกด้านนอกตัววัด เพื่อให้กำแพงค้ำยันนี้หนุนหรือค้ำกำแพงตัวโบสถ์เอาไว้ เมื่อทำไปแล้วนอกจากจะมีประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังกลายเป็นเครื่องตกแต่งที่ทำให้สิ่งก่อสร้างความสวยงามขึ้น ฉะนั้นวิธีแก้ปัญหานี้จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของโบสถ์ที่สร้างแบบกอทิกไปในตัว ในปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส

อาสนวิหารน็องต์

อาสนวิหารน็องต์ (Cathédrale de Nantes) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโลแห่งน็องต์ (Cathédrale Saint-Pierre-et-Saint-Paul de Nantes) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลน็องต์ ตั้งอยู่ที่ปลัสแซ็ง-ปีแยร์ (Place Saint-Pierre) ในเขตเมืองน็องต์ จังหวัดลัวรัตล็องติก ในแคว้นเปอีเดอลาลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่สองอัครทูตสำคัญ คือ นักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล อาสนวิหารน็องต์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารน็องต์

อาสนวิหารน็องซี

อาสนวิหารน็องซี (Cathédrale de Nancy) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับสารและนักบุญซีฌแบร์แห่งน็องซี (Cathédrale Notre-Dame-de-l’Annonciation et Saint-Sigisbert de Nancy) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นทั้ง ไมเนอร์บาซิลิกา (Minor Basilica) และ ไพรเมต (Primate) เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลน็องซี-ตูลร่วมกับอาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งตูล ตั้งอยู่ในเขตเมืองน็องซี จังหวัดเมอร์เตมอแซล แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับสารและนักบุญซีฌแบร์ (พระเจ้าซีฌแบร์ที่ 3 แห่งราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง) อาสนวิหารน็องซีได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารน็องซี

อาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็อง

อาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็อง (Cathédrale de Clermont-Ferrand) หรือชื่อทางการคือ อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แห่งแกลร์มง-แฟร็อง (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Assomption de Clermont-Ferrand) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ตั้งอยู่ที่เมืองแกลร์มง-แฟร็องในจังหวัดปุย-เดอ-โดมในแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส และเป็นที่ตั้งอาสนะของอาร์ชบิชอปแห่งแกลร์มง สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอทิกที่สร้างด้วยหินภูเขาไฟสีดำทั้งหลังที่ทำให้เป็นเอกลักษณ์จากอาสนวิหารอื่นและมองเห็นแต่ไกลจากหอสูงสองหอที่สูง 96.2 เมตรเหนือสิ่งก่อสร้างอื่นใดของตัวเมือง.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็อง

อาสนวิหารแก็งแปร์

อาสนวิหารแก็งแปร์ (Cathédrale de Quimper) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญกอร็องแต็งแห่งแก็งแปร์ (Cathédrale Saint-Corentin de Quimper) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำมุขมณฑลแก็งแปร์และเลอง ตั้งอยู่ในเขตเมืองแก็งแปร์ จังหวัดฟีนิสแตร์ ในแคว้นเบรอตาญ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่นักบุญกอร็องแต็งแห่งแก็งแปร์ ซึ่งเป็นมุขนายกองค์แรกของแก็งแปร์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 อาสนวิหารแห่งแก็งแปร์นี้สร้างขึ้นบนสักการสถานโบราณแบบโรมาเนสก์นามว่า "โบสถ์แม่พระ" ซึ่งสร้างสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 และอาสนวิหารแห่งใหม่นี้ยังจัดเป็นอาสนวิหารแบบกอทิกที่เก่าแก่ที่สุดหนึ่งในสามแห่งของแคว้นเบรอตาญ อีกสองแห่งได้แก่ อาสนวิหารเทรกุยเย และอาสนวิหารแซ็ง-ปอล-เดอ-เลอง อาสนวิหารแห่งนี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารแก็งแปร์

อาสนวิหารแม็ส

อาสนวิหารแม็ส (Cathédrale de Metz) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งแม็ส (Cathédrale Saint Étienne de Metz) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลแม็ส ตั้งอยู่ที่เมืองแม็ส จังหวัดมอแซล แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสำคัญคือนักบุญสเทเฟน ห้องเก็บสมบัติของอาสนวิหารได้สะสมของมีค่ามานานนับพันปี โดยเป็นของสะสมของมุขมณฑลแม็สที่รวมถึงผ้าคลุมแท่นบูชาและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ อาสนวิหารแม็สถือเป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่มีโถงทางเดินโบสถ์ที่สูงที่สุดแห่งหนี่งของโลก และยังมีชื่อเล่นว่า "โคมไฟแห่งพระผู้เป็นเจ้า" (La Lanterne du Bon Dieu) อันเนื่องมาจากมีโครงสร้างหน้าต่างที่เป็นงานกระจกสีมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกJolin J.L.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารแม็ส

อาสนวิหารแล็สการ์

อาสนวิหารแล็สการ์ (Cathédrale de Lescar) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แห่งแล็สการ์ (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Assomption de Lescar) ในปัจจุบันมีฐานะเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริชนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลแล็สการ์ซึ่งต่อมาได้ถูกยุบลงเป็นส่วนหนึ่งของมุขมณฑลบายอนและมุขมณฑลอาแฌ็งตั้งแต่ปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารแล็สการ์

อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์

อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์ (Cathédrale de Saint-Flour) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งแซ็ง-ฟลูร์ (Cathédrale Saint-Pierre de Saint-Flour) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลมุขมณฑลแซ็ง-ฟลูร์ ตั้งอยู่ที่เมืองแซ็ง-ฟลูร์ จังหวัดก็องตาล ในแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร อาสนวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งในอาสนวิหารทั้งหมดสี่แห่งของภูมิภาคโอแวร์ญ ตั้งอยู่กลางใจเมืองเก่าของแซ็ง-ฟลูร์ และเป็นอาสนวิหารที่สร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมกอทิกสร้างเสร็จในคริสต์ศตวรรษที่ 15 บนที่ตั้งของบาซิลิกาแบบโรมาเนสก์เดิม หินที่ใช้สร้างมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับสิ่งก่อสร้างทางคริสต์ศาสนาในแถบนี้ ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟมีสีดำสนิทอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของอาสนวิหาร ต่อมาภายหลังอาสนวิหารได้ถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรมลงมากในช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศส อาสนวิหารแห่งนี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์

อาสนวิหารแซ็งตอแมร์

อาสนวิหารแซ็งตอแมร์ (Cathédrale de Saint-Omer) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารแม่พระแห่งแซ็งตอแมร์ (Cathédrale Notre-Dame de Saint-Omer) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ตั้งอยู่ที่เมืองแซ็งตอแมร์ในแคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส เดิมเป็นตั้งอาสนะของบิชอปแห่งแซ็งตอแมร์ แต่มุขมณฑลแซ็งตอแมร์ก็ไม่ได้รับการฟื้นฟูหลังสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสตามการตกลง ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารแซ็งตอแมร์

อาสนวิหารแซ็งต์

อาสนวิหารแซ็งต์ (Cathédrale de Saintes) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งแซ็งต์ (Cathédrale Saint-Pierre de Saintes) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกในฐานะของอาสนวิหารร่วม (co-cathedral) ประจำมุขมณฑลลารอแชลและแซ็งต์ ตั้งอยู่ในเขตเมืองแซ็งต์ จังหวัดชาร็องต์-มารีตีม ในแคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่อัครทูตนักบุญเปโตร อาสนวิหารแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของมุขมณฑลแซ็งตงฌ์จนกระทั่งในปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารแซ็งต์

อาสนวิหารแซ็งเตเตียน

อาสนวิหารแซ็งเตเตียน (Cathédrale de Saint-Étienne) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญคาร์โล บอร์โรเมโอ แห่งแซ็งเตเตียน (Cathédrale Saint-Charles-Borromée de Saint-Étienne) มีฐานะเป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลแซ็งเตเตียนตั้งแต่การก่อตั้งมุขมณฑลเมื่อ 27 ธันวาคม ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารแซ็งเตเตียน

อาสนวิหารแปร์ปีญ็อง

อาสนวิหารแปร์ปีญ็อง (Cathédrale de Perpignan) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาแห่งแปร์ปีญ็อง (Cathédrale Saint-Jean-Baptiste de Perpignan; Catedral de Sant Joan Baptista de Perpinyà) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งอาสนะของมุขนายกประจำมุขมณฑลแปร์ปีญ็อง-แอลน์ ตั้งอยู่ในเขตเมืองแปร์ปีญ็อง จังหวัดปีเรเน-ออรีย็องตาล แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้นักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอาสนวิหารจากการย้ายอาสนะของมุขนายกจากมุขมณฑลแอลน์ (เดิมอาสนะตั้งอยู่ที่อาสนวิหารแอลน์) มารวมอยู่ที่มุขมณฑลแปร์ปีญ็องเมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารแปร์ปีญ็อง

อาสนวิหารโบแว

อาสนวิหารโบแว (Cathédrale de Beauvais) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งโบแว (Cathédrale Saint-Pierre de Beauvais) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลโบแว นัวยง และซ็องลิส ตั้งอยู่ที่เมืองโบแว จังหวัดอวซ แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร เป็นอาสนวิหารแบบกอธิกที่มีบริเวณร้องเพลงสวดที่สูงที่สุดในโลก (48.50 เมตร) อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถานที่แบบสถาปัตยกรรมกอทิกแห่งหนึ่งที่แสดงถึงความสำเร็จสูงสุดและความกล้าหาญทางสถาปัตยกรรม โดยตัวอาคารมีเพียงแขนกางเขน (คริสต์ศตวรรษที่ 16) และบริเวณร้องเพลงสวด พร้อมทั้งมุขโค้งและชาเปลจำนวน 7 หลัง (คริสต์ศตวรรษที่ 13) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากทางจรมุข นอกจากนี้ยังพบโบสถ์เล็กแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 เรียกว่า "บาเซิฟวร์" (Basse Œuvre) ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะจนอยู่ในสภาพดีตั้งอยู่บริเวณที่จะเป็นที่ตั้งของบริเวณกลางโบสถ์อีกด้วย อาสนวิหารโบแวได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารโบแว

อาสนวิหารโอเติง

อาสนวิหารโอเติง (Cathédrale d'Autun) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญลาซารัสแห่งโอเติง (Cathédrale Saint-Lazare d'Autun) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกอันเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลโอเติง ตั้งอยู่ที่เมืองโอเติง จังหวัดโซเนลัวร์ แคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเต ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญลาซารัสแห่งแอ็กซ์ สร้างขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 12 เพื่อเป็นอาสนวิหารหลังใหม่ทดแทน "อาสนวิหารนักบุญนาซาริอุสแห่งโอเติง" อาสนวิหารหลังเก่าซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 อาสนวิหารโอเติงเป็นหนึ่งในตัวอย่างของอาสนวิหารแบบโรมาเนสก์ที่ประกอบด้วยทั้งงานสถาปัตยกรรมและศิลปะตกแต่งภายในช่วงที่สมัยที่ศิลปะโรมาเนสก์มีความเจริญถึงขีดสุด และยังเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ในประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารโอเติง

อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล

อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล (Cathédrale du Puy-en-Velay) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับสารแห่งเลอปุย-อ็อง-เวอแล (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Annonciation du Puy-en-Velay) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลเลอปุย-อ็อง-เวอแล ตั้งอยู่ที่เมืองเลอปุย-อ็อง-เวอแล จังหวัดโอต-ลัวร์ แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับสาร และยังได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบาซิลิกาเมื่อปีค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล

อาสนวิหารเวียน

อาสนวิหารเวียน (Cathédrale de Vienne) หรือชื่อทางการคือ อาสนวิหารนักบุญมอริซแห่งเวียน (Cathédrale Saint-Maurice de Vienne) ปัจจุบันเป็นโบสถ์โรมันคาทอลิก ในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหาร ที่ตั้งอยู่ที่เมืองเวียน ในจังหวัดอีแซร์ ประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารเวียนเป็นอาสนวิหารที่อุทิศแด่นักบุญมอริซ เดิมอาสนวิหารเป็นที่ทำการของบิชอปของมุขมณฑลเวียน และต่อมาของอัครมุขมณฑลเวียน และภายหลังถูกยุบไปตามข้อตกลง ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารเวียน

อาสนวิหารเซอแนซ

อาสนวิหารเซอแนซ (Cathédrale de Senez) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แห่งเซอแนซ (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Assomption de Senez) ในปัจจุบันมีฐานะเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริช นิกายโรมันคาทอลิก ในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลเซอแนซซึ่งต่อมาได้ถูกยุบลงเป็นส่วนหนึ่งของมุขมณฑลดีญตั้งแต่ปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารเซอแนซ

อาสนวิหารเนอแวร์

อาสนวิหารเนอแวร์ (Cathédrale de Nevers) หรือชื่อทางการคือ อาสนวิหารนักบุญไซริกัสและนักบุญจูลิตตาแห่งเนอแวร์ (Cathédrale Saint-Cyr-et-Sainte-Julitte de Nevers) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่เมืองเนอแวร์ในแคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเตในประเทศฝรั่งเศส และเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งมุขนายกแห่งเนอแวร์ อาสนวิหารเนอแวร์อุทิศแด่นักบุญไซริกัสและจูลิตตา อาสนวิหารนี้สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึง 16 ประกอบด้วยมุขสองมุขทั้งด้านหน้าและหลังของตัววัด มุขหนึ่งและแขนกางเขนทางด้านตะวันตกยังคงเป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ ขณะที่อีกมุขหนึ่งทางตะวันออกและทางเดินกลางเป็นสถาปัตยกรรมกอทิกของคริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ทางตะวันออกไม่มีแขนกางเขน ซุ้มทางด้านใต้สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หอขนาดมหึมาที่ตกแต่งอย่างแพรวพราวสร้างเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารเนอแวร์

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และผังอาสนวิหาร

จุดตัดกลางโบสถ์

แผนผังคริสต์ศาสนสถานที่แสดง “จุดตัด” เป็นสีเทา จุดตัด (crossing) ในคริสต์ศาสนสถานคือจุดที่ช่องทางเดินกลางตัดกับแขนกางเขนของวัดที่มีผังเป็นรูปกางเขน ถ้าเป็นวัดตั้งตามหลักตะวันตก-ตะวันออกโดยเฉพาะวัดแบบโรมาเนสก์ และกอธิค) แล้ว “จุดตัด” ก็จะเป็นจุดที่เป็นทางไปสู่ช่องทางเดินกลางทางตะวันตก (ด้านหน้าวัด) มุขข้างโบสถ์เหนือและใต้ และบริเวณร้องเพลงสวดทางตะวันออก เหนือกางเขนบางครั้งก็จะมีหอหรือโดม หอจุดตัดเป็นสิ่งที่นิยมสร้างกันในสถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหารของสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษ เมื่อมาถึงสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาสิ่งตกแต่งเหนือจุดตัดก็มักจะนิยมสร้างเป็นโดม หอเหนือจุดตัดอาจจะเป็น “หอโคม” (lantern tower) ที่ยกสูงขึ้นไปและเปิดข้างเพื่อให้แสงส่องลงมายังบริเวณจุดตัด การที่จุดตัดเปิดออกไปทั้่งสี่ด้านทำให้น้ำหนักของหอหรือโดมเหนือจุดตัดหนักลงมาตรงมุมรอบหอหรือโดม ฉะนั้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงและสามารถรับน้ำหนักของหอได้โดยไม่พังทลายลงมาจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของสถาปนิก เรื่องหอพังทลายลงมาเกิดขึ้นหลายครั้งในประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจจะเกิดจากความทะเยอทะยานในการสร้างหอที่สูงใหญ่แต่หนักเกินกว่าที่โครงสร้างจะรับได้ หรือจากการทรุดของพื้นดินที่อยู่ภายใต้ตัวอาคาร หรือจากภัยธรรมชาติเช่นแผ่นดินไหวเป็นต้น.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และจุดตัดกลางโบสถ์

ซันตามาริอาดัลมาร์ (บาร์เซโลนา)

ซันตามาริอาดัลมาร์ (Santa Maria del Mar) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกตั้งอยู่ในแขวงลาริเบราของเมืองบาร์เซโลนา ในประเทศสเปน ซันตามาริอาดัลมาร์เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สร้างระหว่างปี ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และซันตามาริอาดัลมาร์ (บาร์เซโลนา)

ซุ้มเซนต์ปีเตอร์

280px ซุ้มเซนต์ปีเตอร์ (St.) เป็นซุ้มสำริดที่สร้างโดยจานโลเรนโซ แบร์นินีที่ตั้งอยู่เหนือแท่นบูชาเอกภายใต้โดมของมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในนครรัฐวาติกันในกรุงโรม ซุ้มสร้างขึ้นเพื่อหมายที่ตั้งของบริเวณที่เชื่อกันว่าเป็นที่ฝังพระศพของนักบุญปีเตอร์ตั้งแต่ดั้งเดิม สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8ทรงเป็นผู้จ้างให้จานโลเรนโซ แบร์นินีเป็นผู้ออกแบบ การก่อสร้างซุ้มเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคมของปี..

ดู บริเวณกลางโบสถ์และซุ้มเซนต์ปีเตอร์

แรยอน็อง

มหาวิหารโคโลญ (ค.ศ. 1248-ค.ศ. 1322) ที่ถือกันว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมแรยอน็องที่งดงามที่สุดของยุคกลางหน้าต่างกุหลาบแบบแรยอน็องของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส แรยอน็อง (Rayonnant) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และแรยอน็อง

โบสถ์นักบุญอีเลียน

นักบุญอีเลียน (Church of Saint Elian; كنيسة مار اليان, Kaneesat Mar Elian) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ตั้งอยู่ที่ถนนเฏาะเราะฟะฮ์ อิบน์ อัลอับด์ (Tarafa ibn al-Abd) ใกล้ประตูเมืองแพลไมราBeattie and Pepper, 2001, p.55.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และโบสถ์นักบุญอีเลียน

โบสถ์โถง

วัดโถง (Hall church) คือคริสต์ศาสนสถานที่เพดานของทางเดินกลางและทางเดินข้างมีความสูงเท่าๆ กัน ที่มีหลังคาร่วมกันเป็นหลังคาใหญ่หลังคาเดียว คำว่า “Hall church” ใช้เป็นครั้งแรกราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยนักประวัติศาสตร์ศิลป์เยอรมันวิลเฮล์ม ลืบค์ (Wilhelm Lübke).

ดู บริเวณกลางโบสถ์และโบสถ์โถง

โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์

แผนผังโบสถ์คอราที่แสดงทั้งโถงทางเข้าโบสถ์ทั้งด้านนอกและด้านใน แผนผังคริสต์ศาสนสถานที่แสดงโถงทางเข้าโบสถ์เป็นสีเทา โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์, หน้า 92 (narthex) คือ บริเวณทางเข้าของโบสถ์คริสต์ เป็นบริเวณรับรองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตก ตอนปลายสุดของบริเวณกลางโบสถ์ที่ตรงกันข้ามกับบริเวณที่ตั้งของแท่นบูชาเอก ตามปกติแล้วโถงทางเข้าโบสถ์เป็นส่วนหนึ่งของคริสต์ศาสนสถาน แต่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวสิ่งก่อสร้างหลัก ตัวโถงทางเข้าโบสถ์อาจจะตั้งอยู่ภายในตัวอาคารและแยกจากบริเวณกลางโบสถ์ด้วยฉากหรือราว หรืออาจจะสร้างเป็นองค์ประกอบภายนอกเช่นมุขทางเข้า จุดประสงค์ของการมีโถงทางเข้าโบสถ์ก็เพื่อให้เป็นบริเวณสำหรับผู้ไม่มีสิทธิเข้าร่วมพิธี เช่น ผู้ยังไม่ได้รับศีลล้างบาป หรือผู้ที่มีความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการมีโอกาสเข้าร่วมพิธีในบริเวณที่จัดให้เฉพาะ บริเวณนี้มักจะเป็นที่ตั้งของอ่างล้างบาปเพื่อให้เด็กหรือผู้ใหญ่สามารถทำรับศีลล้างบาปก่อนที่จะเข้าไปในบริเวณหลักของโบสถ์ ฉะนั้นตามปกติแล้วบริเวณนี้จึงเป็นสถานที่สำหรับผู้มีทำบาป ในศาสนาคริสต์ตะวันออก บางครั้งก็จะใช้เป็นที่ทำพิธีแก้บาปเช่นพิธีระหว่างสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ รัสเซียนออร์ทอดอกซ์มักจะทำพิธีศพในบริเวณนี้.

ดู บริเวณกลางโบสถ์และโถงทางเข้าโบสถ์คริสต์

เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา

ทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา (Temple of Antoninus and Faustina) เป็นเทวสถาน (Roman temple) โรมันโบราณที่ตั้งอยู่ในกรุงโรมภายในบริเวณที่เรียกว่าฟอรุมโรมัน (Roman Forum) บนถนนซาครา (Via Sacra) ตรงกันข้ามกับเรเจีย (Regia) เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินาสร้างในปี..

ดู บริเวณกลางโบสถ์และเทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Naveทางเดินกลางเนฟ

อาสนวิหารออลอรงอาสนวิหารอาวร็องช์อาสนวิหารอาแฌ็งอาสนวิหารอาเมียงอาสนวิหารอ็อชอาสนวิหารอ็องกูแลมอาสนวิหารอ็องเฌอาสนวิหารดอล-เดอ-เบรอตาญอาสนวิหารตูร์อาสนวิหารตูลอาสนวิหารตูลูซอาสนวิหารซีมีเยอาสนวิหารปัวตีเยอาสนวิหารปีเตอร์บะระอาสนวิหารนัวยงอาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสอาสนวิหารน็องต์อาสนวิหารน็องซีอาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็องอาสนวิหารแก็งแปร์อาสนวิหารแม็สอาสนวิหารแล็สการ์อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์อาสนวิหารแซ็งตอแมร์อาสนวิหารแซ็งต์อาสนวิหารแซ็งเตเตียนอาสนวิหารแปร์ปีญ็องอาสนวิหารโบแวอาสนวิหารโอเติงอาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแลอาสนวิหารเวียนอาสนวิหารเซอแนซอาสนวิหารเนอแวร์ผังอาสนวิหารจุดตัดกลางโบสถ์ซันตามาริอาดัลมาร์ (บาร์เซโลนา)ซุ้มเซนต์ปีเตอร์แรยอน็องโบสถ์นักบุญอีเลียนโบสถ์โถงโถงทางเข้าโบสถ์คริสต์เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา