เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

น้ำมันหอมระเหย

ดัชนี น้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหย (essential oil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้มาจากพืชเช่น ส่วนดอก ใบ ผล ลำต้น มาใช้ในการบำบัดตามศาสตร์สุคนธบำบัด(Aromatherapy) ซึ่งหมายถึง การบำบัดรักษา โดยการใช้กลิ่นหอมของสารหอมในพืช โดยทั่วไปน้ำมันหอมระเหยจะถูกสกัดได้หลายรูปแบบ เช่น การกลั่น(Distillation) การสกัดโดยใช้ไขมัน (Enfleurage) การสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent extraction) การบีบอัด (Expression) การใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหลวภายใต้ความดันสูง (Supercritical fluid extraction) ซึ่งการกลั่นหลายประเภทนี้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม เครื่องสำอาง สบู่ ธูปและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อเพิ่มความหอม และบางครั้ง ทำให้คนผ่อนคลายได้ด้ว.

สารบัญ

  1. 28 ความสัมพันธ์: ชาขาวพิมเสนกลิ่นกันเกราการกลั่นมะนาวมดยอบยูเจนอลลีโอนูรีนวงศ์ชมพู่ว่านนางคำสะระแหน่สารล้างมือสุคนธบำบัดหอมอินโดลผักเสี้ยนผีจันทน์ข่า (พืช)ดีปลีตู้เย็นน้ำมันสน (น้ำมันหอมระเหย)แมสติกโหระพาเภสัชศาสตร์เอสเทอร์เจอรานิออลเทอร์พีน

ชาขาว

อดชาขาว ชาขาว เป็นชาชนิดหนึ่ง ผลิตจากตูมและยอดอ่อนของต้นชา แหล่งเพาะปลูกชาขาวที่มีชื่อเสียงอยู่ที่มณฑลฝูเจี้ยน ทางตอนใต้ของประเทศจีน กรรมวิธีผลิตชาขาวเริ่มจากการเลือกเก็บยอดอ่อนชาในช่วงฤดูใบไม้ผลิ จากนั้นนำยอดชาที่เก็บได้มาผ่านกระบวนการทำแห้งในระยะเวลาที่รวดเร็ว ด้วยวิธีธรรมชาติโดยอาศัย ลม แสงแดด หรือความร้อนซึ่งจะแตกต่างจากกรรมวิธีผลิตชาประเภทอื่น ๆ (ชาเขียว ชาดำ ชาแดง ชาอู่หลง) ที่ผ่านกระบวนการทำแห้งด้วยความร้อนหรือไอน้ำและผ่านกระบวนการหมักสำหรับชาบางประเภท ทำให้ปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระและคุณค่าทางโภชนาการของชาขาวยังคงไว้ได้มาก รวมทั้งกลิ่นและรสชาติของชาขาวที่ยังคงความสดชื่นและนุ่มนวล ชาขาวจึงเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง.

ดู น้ำมันหอมระเหยและชาขาว

พิมเสน

การสังเคราะห์พิมเสนจากปฏิกิริยารีดักชันของการบูร พิมเสน (borneol) เป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดไบไซคิก (มีสองวงแหวนในโครงสร้าง) และเป็นสารกลุ่มเทอร์พีน มีสูตรเคมีคือ C10H18O มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวถึงไม่มีสี มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายการบูร ติดไฟให้แสงจ้าและมีควันมาก ไม่มีเถ้า มีความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1.011 พิมเสนพบในพืชหลายชนิดเช่น หนาด (Blumea balsamifera), เปราะหอม (Kaempferia galanga), พืชวงศ์ยางนา (Dipterocarpaceae) และพืชสกุล Artemisia พิมเสนเป็นสารที่ถูกออกซิไดซ์กลายเป็นสารกลุ่มคีโตน (การบูร) ได้ง่ายมาก จึงมีชื่อเรียกในอดีตว่า Borneo camphor พิมเสนสามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยารีดักชันระหว่างการบูรกับโซเดียมบอโรไฮไดรด์ (NaBH4) ซึ่งจะได้พิมเสนในรูปไอโซบอร์เนออล (isoborneol) พิมเสนมีสรรพคุณขับเหงื่อ ขับลม บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด ใช้ผสมในน้ำมันหอมระเหย และเป็นสารไล่แมลง อย่างไรก็ตามพิมเสนทำให้ระคายเคืองต่อดวงตา ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร.

ดู น้ำมันหอมระเหยและพิมเสน

กลิ่น

กลิ่น (odor) คือ อนุภาคทางเคมี (particle chemical) ที่กระจายตัวอยู่ในอากาศ โดยสามารถรับรู้ได้ด้วยอวัยวะรับกลิ่น อวัยวะรับกลิ่นของมนุษย์และสัตว์คือ จมูก กลิ่นโดยทั่วไปแล้วแบ่งเป็นกลิ่นหอมและกลิ่นเหม็น โดยส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของทั้งมนุษย์และสัตว์ ในปัจจุบันมีการนำประโยชน์ของกลิ่นมาใช้ประโยชน์หลายด้าน.

ดู น้ำมันหอมระเหยและกลิ่น

กันเกรา

ต้นกันเกรา กันเกรา เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะซูไม้ต้น กันเกรามีชื่อเรียกต่างกันไปคือ ภาคกลางเรียก กันเกรา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มันปลา ส่วนภาคใต้เรียก ตำแสง หรือตำเสา ซึ่งถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง อันมีชื่อเป็นมงคลและมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้ประโยชน์ คือชื่อกันเกราหมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายใด ๆ ชื่อตำเสาคือ เป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้ปลวก มอด แมลงต่าง ๆ เจาะกิน ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด ต้นกันเกรามีลักษณะต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน ใบเขียวมันวาว มีทรงพุ่งเป็นทรงฉัตรแหลมสวยงาม ดอก เริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มม.

ดู น้ำมันหอมระเหยและกันเกรา

การกลั่น

อุปกรณ์การกลั่น การกลั่น (Distillation) เป็นกระบวนการทางเคมีอย่างหนึ่งในการแยกของเหลวผสมของสาร 2 ชนิดหรือมากกว่าโดยอาศัยคุณสมบัติจุดเดือดที่แตกต่างกัน เมื่อให้ความร้อนกับของเหลวจนอุณหภูมิถึงจุดเดือดของสารชนิดหนึ่ง สารชนิดนั้นจะระเหยออกมาเป็นไอผ่านท่อที่มีการลดอุณหภูมิทำให้เกิดการควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง วิธีนี้ใช่ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากม.

ดู น้ำมันหอมระเหยและการกลั่น

มะนาว

มะนาว(Lime) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง ผลมีรสเปรี้ยวจัด จัดอยู่ในสกุลส้ม (Citrus) ผลสีเขียว เมื่อสุกจัดจะเป็นสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งกลีบๆ ชุ่มน้ำมาก นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรส นอกจากนี้ยังถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการและทางการแพทย์ด้ว.

ดู น้ำมันหอมระเหยและมะนาว

มดยอบ

มดยอบ พืชที่ให้มดยอบ (''Commiphora myrrha'') มดยอบ เป็นยางไม้ที่ได้จากพืชในสกุล Commiphora ส่วนใหญ่จะเป็นชนิด Commiphora myrrha ซึ่งเป็นพืชมีหนาม สูงประมาณ 4 เมตร ขึ้นตามพื้นที่ที่มีหินปูน เป็นพืชท้องถิ่นในแถบคาบสมุทรอาหรับและแอฟริกา เมื่อลำต้นของพืชชนิดนี้มีรอยแตกหรือถูกกรีด พืชจะสร้างยางไม้ซึ่งเมื่อแห้งจะมีลักษณะแข็ง มีสีเหลืองไปจนถึงน้ำตาล มนุษย์รู้จักใช้มดยอบเป็นยาและเครื่องหอมมานานนับพันปีแล้ว ดังที่มีตัวอย่างในการนมัสการของโหราจารย์ เมื่อโหราจารย์ทั้งสามเดินทางมาสักการะพระเยซู และมอบของสามสิ่งคือ ทองคำ, กำยาน และมดยอ.

ดู น้ำมันหอมระเหยและมดยอบ

ยูเจนอล

ูตรโครงสร้างของยูเจนอล ยูเจนอล (Eugenol) (C10H12O2) เป็นทางโครงสร้างเคมีเป็นส่วนโซ่อัลลิลของกัวอะคอล (guaiacol) หรือ 2-เมตทอกซิ-4-(2-โพรพินิล) ฟีนอล เป็นของเหลวคล้ายน้ำมันสีเหลืองอ่อน สกัดได้จากน้ำมันหอมระเหย โดยเฉพาะจากกานพลู (clove) และอบเชย (cinnamon) ละลายได้เล็กน้อยในน้ำ ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ มีกลิ่นคล้ายกานพลู มีประโยชน์ดังนี้.

ดู น้ำมันหอมระเหยและยูเจนอล

ลีโอนูรีน

ลีโอนูรีน (Leonurine) เป็นสารเคมีที่แยกได้จากพืชในแอฟริกาใต้ ได้แก่ Leonotis leonurus สารนี้ในรูปของอัลคาลอยด์แบบpsychoactive พบในฉัตรพระอินทร์ Leonotis artemisia, Leonurus cardiaca และพืชอีกหลายชนิดในวงศ์ Lamiaceae ลีโอนูรีนสกัดได้ง่ายด้วยน้ำและจากน้ำมันหอมระเหยของกัญชาเทศ การสังเคราะห์ลีโอนูรีน.

ดู น้ำมันหอมระเหยและลีโอนูรีน

วงศ์ชมพู่

''Pimenta dioica'' วงศ์ชมพู่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Myrtaceae) เป็นวงศ์ของพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมีสมาชิกที่สำคัญคือชมพู่ กานพลู ฝรั่ง และยูคาลิปตัส สมาชิกในวงศ์ทั้งหมดเป็นพืชมีเนื้อไม้ มีน้ำมันหอมระเหย มีโฟลเอมอยู่ทั้งสองด้านของไซเลม ไม่ได้อยู่ด้านนอกเหมือนพืชวงศ์อื่นๆ ใบมีสีเขียว กลีบดอกมี 5 กลี.

ดู น้ำมันหอมระเหยและวงศ์ชมพู่

ว่านนางคำ

ว่านนางคำ เป็นพืชในวงศ์ขิง มีเหง้าขนาดใหญ่ หัวทรงกระบอก มีสีเหลืองทั้งข้างนอกและข้างในใบรูปใบหอก ผิวใบด้านล่างมีขนละเอียดปกคลุม ช่อดอกอยู่แยกจากต้น แทงช่อดอกออกจากเหง้าก่อนแตกใบ ดอกช่อแบบช่อเชิงลด ดอกสั้นกว่าริ้วประดับ ริ้วประดับสีเขียวอ่อน ส่วนปลายสีชมพู กลีบดอกสีขาวแกมชมพู เกสรตัวผู้ฝ่อ สีเหลืองเข้ม กลีบปากรูปกลม กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีปลูกในอินเดียแถบเชิงเขาหิมาลัย ศรีลังกา มีพบในอินโดจีน ญี่ปุ่น ว่านนางคำใช้ผลิตแป้ง สีย้อม เครื่องสำอางและยา ดอกมีกลิ่นหอม เหง้าสดและหัวมีกลิ่นหอม ใช้รักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ใช้เป็นไม้ประดับ มีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด มีสารกลุ่ม curcuminoids ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นยาสมุนไพร เพื่อลดกรด ขับลม ตำรายาจีนใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ นอกจากนั้น ยังมีผู้ใช้ว่านนางคำในรูปผงแห้งเป็นยาบำรุงผิวเพื่อเสริมความงาม และยากันยุงด้วย ขยายพันธุ์โดยการแยกหัวไปปลูก ในจีนเรียกพืชชนิดนี้ว่ายวี่จิน (ภาษาจีนกลาง) หรืออิกกิม (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) รากเป็นยากระตุ้นการหมุนเวียนของเลือด ระงับปว.

ดู น้ำมันหอมระเหยและว่านนางคำ

สะระแหน่

ระแหน่ เป็นพืชในตระกูลมินต์ วงศ์กะเพรา มีแหล่งกำเนิดมาจากแถบยุโรปตอนใต้และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 70 - 150 เซนติเมตร ส่วนใบจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับใบพืชในตระกูลมิ้นต์ มีกลิ่นหอมคล้ายใบมะนาว และทุก ๆ ปลายฤดูร้อนต้นสะระแหน่จะออกดอกสีขาว ๆ ที่เต็มไปด้วยน้ำหอมและน้ำหวานอยู่ภายใน นี้ดึงดูดใจให้ผึ้งมาดูดน้ำหวาน จากเหตุนี้ทำให้สะระแหน่อยู่ในสกุลเมลิสซา (Melissa: ภาษากรีก แปลว่าน้ำผึ้ง) และยังมีรสชาติคล้ายคลึงกับ ตะไคร้หอม, มะนาวและแอลกอฮอล.

ดู น้ำมันหอมระเหยและสะระแหน่

สารล้างมือ

รล้างมือ (hand sanitiser) หรือ สารระงับเชื้อในมือ (pages) คือ สิ่งใช้ทำความสะอาดมือในฐานะเป็นเครื่องเสริมหรือเป็นทางเลือกเพิ่มเติมจากน้ำและสบู่ โดยอาจอยู่ในรูปเจล, โฟม หรือของเหลวอื่น เป็นต้น ส่วนประสมหลักที่ออกฤทธิ์ คือ ไอโซโพรพรานอล (isopropanol), เอทานอล (ethanol), เอ็น-โพรพานอล (n-propanol) หรือ โพวิโดน-ไอโอดีน (povidone-iodine) และส่วนประสมที่ไม่ออกฤทธิ์มักเป็นสารเพิ่มความเข้มข้น เช่น ในรูปเจลมักใส่กรดพอลิอะครีลิก (polyacrylic acid), ในรูปของเหลวมักใส่สารจำพวกฮิวเม็กแทนต์ (humectant) อาทิ กลีเซอรีน (glycerin) นอกจากนี้ อาจใส่ โพรพิลีนไกลคอล (propylene glycol) และน้ำมันหอมระเหย (essential oil) สะกัดจากพืชด้วย โดยสารล้างมือที่ทำจากแอลกอฮอล์เป็นหลักนั้นมีประสิทธิภาพกำจัดเชื้อโรคดียิ่งกว่าสบู่ธรรมดา และไม่ทำให้มือแห้งสากมากเท่าสบู.

ดู น้ำมันหอมระเหยและสารล้างมือ

สุคนธบำบัด

นธบำบัด (aromatherapy) คือ การบำบัดโดยการใช้กลิ่น ซึ่งได้มาจากพืชโดยวิธีการสกัดเอาสารสำคัญที่เรียกว่า น้ำมันหอมระเหย (essential oil) มาใช้ในการบำบัด ซึ่งมีหลายวิธี แต่หลักการสำคัญคือ เมื่อร่างกายได้รับสารสำคัญจากน้ำมันหอมระเหยแล้วจะมีผลต่อระบบการทำงานในร่างกาย ที่ควบคุมระบบประสาท ระบบฮอร์โมนในร่างก.

ดู น้ำมันหอมระเหยและสุคนธบำบัด

หอม

หอม อาจหมายถึง.

ดู น้ำมันหอมระเหยและหอม

อินโดล

อินโดล(อังกฤษ:Indole)เป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทอะโรมาติก เฮเทอโรไซคลิก มันเป็นโครงสร้าง 2 วงแหวน (bicyclic structure) ส่วนที่เป็น 6 เหลี่ยมเรียกเบนซีนเชื่อมกับวงแหวน 5 เหลี่ยมที่มีอะตอมไนโตรเจน1 อะตอม เชื่อมต่อกับคาร์บอน 4 อะตอมซึ่งเรียกว่า วงแหวน ไพร์โรล (pyrrole) การเชื่อมต่อไนโตรเจนกับวงแหวนอะโรมาติก มีความหมายว่าอินโดลจะประพฤติตัวไม่เป็นด่าง และมันก็ไม่เป็นอามีนธรรมดา อินโดลเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องมีกลิ่น คล้าย อุจจาระ แต่ที่ความเข้มข้นต่ำๆ มันจะมีกลิ่นดอกไม้ โครงสร้าง อินโดล สามารถพบได้ในสารประกอบอินทรีย์มากมายเช่น กรดอะมิโน ทริปโตแฟน (tryptophan) ในอัลคะลอยด์ หรือ ในปิกเมนต์ อินโดล (indole) เป็นคำที่ได้จาก อินดิโก (indigo) เป็นสีน้ำเงินที่ได้จากพืชชนิดหนึ่ง โมเลกุลของอินดิโก ประกอบด้วยโครงสร้างอินโดล 2 หน่วยมาเชื่อมกัน.

ดู น้ำมันหอมระเหยและอินโดล

ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cleome viscosa Linn.) หรือชื่ออื่นเช่น ผักเสี้ยนป่า ส้มเสี้ยนผี (ภาคเหนือ) ผักเสี้ยนตัวเมีย ไปนิพพานไม่รู้กลั.

ดู น้ำมันหอมระเหยและผักเสี้ยนผี

จันทน์

''Pterocarpus santalinus'' จันทน์ (Sandalwood) เป็นชื่อของไม้หอมหลายชนิด ชื่อมาจากภาษาสันสกฤต “candanam” ที่มาจากภาษากรีก “sandanon” ชื่อในภาษาต่าง ๆ ก็ได้แก่: ถ้ากล่าวถึงตามความหมายที่แท้จริงแล้วก็จะเป็นไม้ต้นที่มาจากสกุล Santalum ของวงศ์ย่านตีเมียที่ใช้เพราะเป็นไม้ที่มีน้ำมันหอม (essential oil) ไม้ชนิดนี้มีสีเหลือง หนัก และมีลายละเอียด (fine-grained) จันทน์เป็นไม้เห็นคุณค่าของกลิ่นหอมและคุณสมบัติว่าเป็นยามาเป็นเวลาหลายพันปี บางครั้งไม้ชนิดอื่นที่มีน้ำมันหอมแต่คนละตระกูลก็เรียกว่า “จันทน์” ด้วย จันทน์เป็นไม้ที่มีต้นกำเนิดจากอเมริกากลางและอเมริกาใต้และแคริบเบียน น้ำมันที่ได้จากจันทน์กลั่นที่ประเทศเฮต.

ดู น้ำมันหอมระเหยและจันทน์

ข่า (พืช)

ป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" อยู่ในวงศ์ขิง เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ข่ามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) สะเอเชย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน).

ดู น้ำมันหอมระเหยและข่า (พืช)

ดีปลี

ีปลี มีชื่อท้องถิ่นอื่นอีกคือ: ดีปลีเชือก (ภาคใต้) ประดงข้อ ปานนุ (ภาคกลาง).

ดู น้ำมันหอมระเหยและดีปลี

ตู้เย็น

ตู้เย็นตามบ้านทั่วไป ตู้เย็น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความเย็นโดยประกอบด้วยสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนฉนวนป้องกันความร้อน (ป้องกันไม่ให้ความร้อนไหลเข้ามา) และ ส่วนทำความเย็น (ปั๊มที่นำความร้อนออกไปสู่ภายนอกซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า) คนส่วนใหญ่ใช้ตู้เย็นเก็บอาหาร เพื่อป้องกันการเน่าเสีย เนื่องจากแบคทีเรียเติบโตช้ากว่าในอุณหภูมิต่ำ ตู้เย็นมีหลายประเภทตั้งแต่แบบที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง (ช่องธรรมดา) แบบที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย (ช่องแช่แข็ง, ช่องฟรีซ) ก่อนที่จะมีตู้เย็นประเทศในเขตหนาวใช้กล่องน้ำแข็ง (icebox) ในการรักษาอาหาร ช่องแช่แข็งของตู้เย็นที่ขายอยู่ทั่วไปมีอุณหภูมิประมาณ -18 °C (ประมาณ 0 °F) สำหรับตู้เย็นที่ใช้ในบ้านมักมีช่องธรรมดาและช่องแช่แข็งรวมกัน และมักใช้เครื่องทำความเย็นร่วมกัน (บางครั้งก็แยกกัน) ตู้เย็นรุ่นใหม่ ๆ มักมีเครื่องทำน้ำแข็งติดตั้งมาพร้อมกัน ตู้เย็นขนาดใหญ่รวมทั้งเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่ในโรงงานมักใช้แก๊สแอมโมเนียซึ่งเป็นอันตรายในการทำการทำความเย็น ทำให้ไม่ปลอดภัยในการใช้ในบ้านเรือน ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1930s ที่สหรัฐอเมริกาได้สังเคราะห์สารเคมีราคาถูก ไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟ เช่น แก๊สฟรีออน.

ดู น้ำมันหอมระเหยและตู้เย็น

น้ำมันสน (น้ำมันหอมระเหย)

ใบและโคนของสนชนิด ''Pinus sylvestris'' น้ำมันสน (Pine oil) เป็นน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการกลั่นใบ กิ่ง และโคนของพืชสกุลสน (Pinus) โดยเฉพาะชนิด Pinus sylvestris น้ำมันสนเป็นสารประกอบเทอร์พีนที่ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในแอลกอฮอล์และตัวทำละลายอินทรีย์อื่น ๆ มีคุณสมบัติทำลายเชื้อ (disinfectant) ช่วยบำรุงผิว ลดความเครียด และเป็นยาระงับปวด นอกจากนี้ยังใช้ลดอาการปวดจากข้ออักเสบ นิยมใช้ในงานสุคนธบำบัดและหัตถบำบัด อย่างไรก็ตาม น้ำมันสนมีความเป็นพิษ หากทานเข้าไปอาจทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และมีพิษต่อสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขและแมว.

ดู น้ำมันหอมระเหยและน้ำมันสน (น้ำมันหอมระเหย)

แมสติก

งแมสติก ต้นพิสตาชีโอป่า (''Pistacia lentiscus'') แมสติก (mastic) หรือ มาตะกี่ เป็นยางไม้ที่ได้จากต้นพิสตาชีโอป่า ซึ่งเป็นไม้พุ่มถึงยืนต้นขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนกคู่รูปไข่ เรียงสลับกัน ดอกออกตรงซอกใบ เป็นช่อสีแดง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ต่างต้นกัน ผลรูปไข่กลับ มีเนื้อ ข้างในมีเมล็ดเดียว เมื่อสุกสีแดงปนส้ม พบมากในแถบบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อลำต้นของพืชชนิดนี้แตกออกจะมียางไหลออกมา เมื่อแห้งจะมีสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอมเขียว โปร่งใสมันวาว และเปร.

ดู น้ำมันหอมระเหยและแมสติก

โหระพา

หระพา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum basilicum Linn.; วงศ์: LABIATAE; ชื่ออื่น: อิ่มคิมขาว, ฉาน - แม่ฮ่องสอน) เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5 - 1 เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมมีกิ่งอ่อนสีม่วงแดง ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรีกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 6 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจะเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งยาว 7 - 12 เซนติเมตร ใบประดับสีเขียวอมม่วงจะคงอยู่เมื่อเป็นผล กลีบดอกโคยเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 2 ส่วน มีเกสรตัวผู้ 4 อัน มีผลขนาดเล็ก.

ดู น้ำมันหอมระเหยและโหระพา

เภสัชศาสตร์

ร้านยาแผนปัจจุบันในประเทศนอร์เวย์ เภสัชศาสตร์ ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค โดยศึกษาตั้งแต่วัตถุดิบที่จะนำมาผลิตยา การปรุงยา การเก็บรักษา ตลอดจนกระบวนการกระจายยา โดยศึกษาตั้งแต่แหล่งของยา โครงสร้างทางเคมีของยา การผลิตเป็นรูปแบบยาเตรียมต่างๆ การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพยาและเภสัชภัณฑ์ การวิจัยและการพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ การใช้ยาทางคลินิกในโรคของระบบต่างๆ อาการไม่พึงประสงค์ของยา การติดตามผลของยา การประเมินการใช้ยา ไปจนถึงการบริหารจัดการเรื่องยาและกฎหมายเกี่ยวกับยา ทั้งนี้ยังครอบคลุมไปถึงเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารเสพติด สารพิษ และวัตถุหรือสารออกฤทธิ์ประเภทต่างๆ เภสัชศาสตร์กำเนิดขึ้นควบคู่กับวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ในการบำบัดรักษาคนป่วยในสมัยโบราณได้นำพืช สัตว์ และแร่ธาตุในการบำบัดรักษา โดยศึกษาวิธีการจากสิ่งมีชีวิตรอบตัว จนได้มีการจดบันทึกสั่งสมองค์ความรู้สู่การพัฒนาเภสัชตำรับฉบับแรกของโลกโดยชาวสุเมเรียน และได้เริ่มมีการศึกษาฤทธิ์ของยาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นในสมัยของฮิปโปเครตีส การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์ในสมัยโบราณเป็นการศึกษาในวงจำกัดของชนชั้นสูงในสังคมอาหรับและการสืบทอดตำราโดยบาทหลวงเท่านั้น จนกระทั่งสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม และการฝึกหัดทางเภสัชศาสตร์ทำให้มีการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น เภสัชศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างยิ่ง การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์เน้นหลักในวิชาการด้านเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีการแบ่งสาขาวิชาทางเภสัชศาสตร์จำแนกย่อยอีกหลายสาขา โดยแบ่งเป็นด้านวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ประกอบด้วยสาขาเภสัชวิทยา เภสัชเวท เภสัชเคมี เภสัชวิเคราะห์และเภสัชภัณฑ์ จวบจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้น การผลิตยาจึงได้ประยุกต์สู่ด้านเภสัชอุตสาหกรรมด้วย ด้านเภสัชบริบาลศาสตร์ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการบริบาลผู้ป่วยและดูแลรักษาควบคุมการใช้ ตลอดจนติดตามผลการรักษาจากการใช้ยา ประกอบด้วยสาขาเภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมโรงพยาบาล และด้านเภสัชสาธารณสุข เภสัชศาสตร์สังคมและบริหารเภสัชกิจที่ดูแลการใช้ยาในระดับประชากรและการบริหารจัดการเรื่อง.

ดู น้ำมันหอมระเหยและเภสัชศาสตร์

เอสเทอร์

อสเทอร์กรดคาร์บอกซิลิก R และ R' แสดงถึงหมู่แอลคิลหรือแอริล เอสเทอร์กรดฟอสฟอริก เอสเทอร์ เป็นสารประกอบทางเคมีที่เกิดจากออกโซแอซิด (หนึ่งในหมู่ oxo, X.

ดู น้ำมันหอมระเหยและเอสเทอร์

เจอรานิออล

อรานิออล (geraniol) เป็นสารกลุ่มโมโนเทอร์พีนอยด์และแอลกอฮอล์ พบในน้ำมันดอกกุหลาบ น้ำมันตะไคร้หอมและน้ำมันพาล์มาโรซา นอกจากนี้ยังพบในปริมาณเล็กน้อยในเลมอน ดอกเจอราเนียมและน้ำมันหอมระเหยอื่น ๆ ลักษณะเป็นน้ำมันใสถึงสีเหลืองอ่อน ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ มีกลิ่นคล้ายกุหลาบ นิยมใช้ในการทำน้ำหอมและแต่งกลิ่นรสชาติ เจอรานิออลมีคุณสมบัติเป็นสารไล่ยุง แต่ดึงดูดผึ้ง เนื่องจากเป็นส่วนประกอบหนึ่งในฟีโรโมนนาโซนอฟที่ผึ้งหลั่งออกมาเพื่อใช้หาทางเข้ารังหรือระบุตำแหน่งของดอกไม้ที่มีน้ำหวานให้ผึ้งตัวอื่นรับรู้ ระบบข้อมูลวัตถุอันตรายในสถานที่ปฏิบัติงาน (Workplace Hazardous Materials Information System หรือ WHMIS) จัดเจอรานิออลอยู่ในกลุ่ม D2B (สารพิษก่อให้เกิดผลกระทบอื่น ๆ) เนื่องจากเจอรานิออลก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและผิวหนัง.

ดู น้ำมันหอมระเหยและเจอรานิออล

เทอร์พีน

ทอร์พีนหลายชนิดที่ใช้ประโยชน์ทางการค้าได้มาจากเรซินของสน เทอร์พีน (Terpene) เป็นไขมันที่ประกอบขึ้นจากหน่วยไอโซพรีน (Isoprene) ซึ่งมีคาร์บอน 5 อะตอม พบมากในน้ำมันหอมระเหยในพืช โดยเฉพาะจากสนโคนิเฟอร์,ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อแมลง มีกลิ่นแรง แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ตามจำนวนของไอโซพรีนในโมเลกุล ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักดีคือเมนทอล (Menthol).

ดู น้ำมันหอมระเหยและเทอร์พีน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ น้ำมันหอม