สารบัญ
54 ความสัมพันธ์: บักวีตบาคลาวาบาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตชาเอิร์ลเกรย์ฟรักโทสกระสายยากราโนลากรดซินนามิกการฟื้นฟูป่าชายเลนการรับรู้รสภาษาตุรกีออตโตมันมสาลาจายมัสตาร์ดดีฌงมูสลียาอมยาน้ำเชื่อมรอเยาะรูปหลายเหลี่ยมวัดพระธาตุลำปางหลวงวัดพระธาตุแช่แห้งศูนย์อนุรักษ์ผึ้ง ลพบุรีสุราหมาไม้หมาไม้ต้นสนยุโรปหมูแดงหมีหมาอังการาอาหารอาหารไทยอาหารเยอรมันอาหารเคิร์ดฮันนี่แบดเจอร์ผงฟูผงปถมังทุเรียนขี้ผึ้งขนมหนวดมังกรขนมปังขนมปังทอดอินเดียนแดงขนมแดกงาคัสเตลลาคนเลี้ยงผึ้งค็อกเทลซูจ็องกวาป๊อกกี้น้ำตาลแมลงอุตสาหกรรมแม่น้ำแอพะแลชิโคลาโรคหวัดไวน์ร้อน... ขยายดัชนี (4 มากกว่า) »
บักวีต
ักวีต ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagopyrum esculentum เป็นพืชในวงศ์ Polygonaceae เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหลี่ยม กลวง ใบที่อยู่ด้านบนเกือบจะไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อ ก้านดอกสั้นสีแดงกุหลาบจนถึงสีขาว ผลเป็นผลแห้งเมล็ดล่อนสีน้ำตาลดำไปจนเกือบดำ เมล็ดสีเขียวอ่อนแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแกมแดง การปลูกบักวีตเป็นอาหารพบที่เทือกเขาหิมาลัยตั้งแต่อินเดีย เนปาล ไปจนถึงพม่า จีนและมองโกเลีย รวมทั้งเกาหลีและญี่ปุ่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกทางภาคเหนือของเวียดนามและไทย บักวีตสามารถเติบโตได้ใรที่ที่มีดินค่อนข้างเร็ว ปลูกธัญพืชอื่น ๆ ไม่ได้ผล ถ้าดินมีไนโตรเจนหรือความชื้นสูง ทำให้เฝือใบ ดอกบักวีต.
บาคลาวา
ลาวา (baklava), บากลาวา (ตุรกีออตโตมัน: باقلوا) หรือ บักลาวะฮ์ (بقلاوة) เป็นขนมที่ทำด้วยแผ่นฟีลโล (phyllo) และถั่วเปลือกแข็ง ซึ่งเชื่อมติดอยู่ด้วยกันด้วยน้ำเชื่อมหรือน้ำผึ้ง เป็นขนมจากจักรวรรดิออตโตมันเก่า ปัจจุบันนิยมรับประทานในเอเชียกลางและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้.
บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต
นักบุญมินิอัสแห่งฟลอเรนซ์ทางขวาของพระเยซู โดยมีคำจารึกว่า: "S. MINIATUS REX ERMINIE" บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต (Basilica di San Miniato al Monte) เป็นบาซิลิกาที่ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ทางตอนกลางของประเทศอิตาลี ตัวบาซิลิกาตั้งอยู่บนเนินที่สูงที่สุดของเมืองฟลอเรนซ์ บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตได้ชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ในทัสเคนี บาซิลิกาตั้งอยู่ติดกับสำนักสงฆ์ลัทธิโอลิเวทันส์ที่จะมองเห็นเมื่อขึ้นบันไดไปยังบาซิลิกา นักบุญมินิอัสแห่งฟลอเรนซ์ หรือมินาส (Մինաս, Miniato) เดิมเป็นเจ้าชายชาวอาร์มีเนียผู้รับราชการเป็นทหารในกองทัพโรมันภายใต้จักรพรรดิเดซิอัส มินิอัสถูกประณามว่าเป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนาหลังจากที่ไปเป็นนักพรต และถูกนำตัวมาปรากฏต่อหน้าจักรพรรดิ ผู้กำลังตั้งค่ายอยู่หน้าประตูเมืองฟลอเรนซ์ พระจักรพรรดิมีพระบรมราชโองการให้โยนมินิอัสให้สัตว์ป่ากินในสนามกีฬา แต่เมื่อปล่อยเสือดำเข้าไป เสือดำก็ไม่ยอมทำร้ายมินิอัส มินิอัสจึงถูกตัดหัวต่อหน้าพระจักรพรรดิ กล่าวกันว่ามินิอัสไม่ได้เสียชีวิตทันทีแต่ก้มลงยกหัวของตนขึ้นมา แล้วประคองหัวข้ามแม่น้ำอาร์โน จากนั้นก็เดินขึ้นเนินมอนส์ฟิโอเรนตินัสไปยังที่อาศัย ต่อมาก็ได้มีการสร้างสักการะสถานตรงจุดนี้ และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ก็มีชาเปลขึ้นแล้ว การก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ.
ดู น้ำผึ้งและบาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต
ชาเอิร์ลเกรย์
ใบชาเอิร์ลเกรย์ ชาเอิร์ลเกรย์ ชาเอิร์ลเกรย์ (Earl Grey tea)เป็นชาดำชนิดผสมประเภทหนึ่งสันนิษฐานว่า พยายามปรุงเพื่อเลียนแบบชาเจิ้งซานเสี่ยวจง (หรือ เลปซาง ซูชอง) มีกลิ่นหอมของน้ำมันมะกรูดอันเป็นเอกลักษณ์และได้รับความนิยมจากทั่วโลก.
ฟรักโทส
''สูตรโครงสร้างของฟรุกโทส'' ฟรุกโทส (fructose หรือชื่ออื่นเช่น fruit sugar, levulose, D-fructofuranose, D-fructose, D-arabino-hexulose) เป็นน้ำตาลพื้นฐานจำพวกโมโนแซ็กคาไรด์ พบในอาหารมากมายและเป็นหนึ่งในสามของน้ำตาลในเลือดที่มีความสำคัญมากที่สุด อีกสองชนิดที่เหลือคือ กลูโคส และ กาแล็กโทส ฟรักโทสมีมากใน น้ำผึ้งและผลไม้ต่าง ๆ เช่น เบอร์รี เมลอน ฯลฯ ซึ่งโดยปกติจะอยู่ร่วมกับ ซูโครสและกลูโคส ฟรักโทสได้มาจากการย่อยสลายซูโครส ซึ่งเป็นไดแซ็กคาไรด์ที่ประกอบด้วยกลูโคสและฟรักโทส การย่อยสลายจะเร่งโดยเอนไซม์ในระหว่างการย่อยอาหาร บางครั้งฟรักโทสถูกแนะนำให้เป็นน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน (diabetes mellitus) ซึ่งมีภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย (hypoglycemia) เพราะมันมีค่าGI 32 (Glycemic Index) ต่ำ เมื่อเทียบกับน้ำตาลจากอ้อย (ซูโครส) แต่อย่างไรก็ตาม ข้อดีของมันก็เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะว่าฟรักโทสมีผลข้างเคียงต่อลิพิดในพลาสมา (plasma lipids) การที่ฟรักโทสมีค่า GI ต่ำ เพราะว่าลักษณะเฉพาะและเมแทบอลิกพาทเวย์ของฟรักโทสยาว ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการฟอสฟอริเลชัน (phosphorylation) และกระบวนการของเอนไซม์หลายขั้นตอนในตั.
กระสายยา
กระสายยา คือ น้ำหรือของเหลวที่ใช้สำหรับละลายยา หรือรับประทานพร้อมกับยา โดยกระสายยานั้นมีทั้งแบบแข็ง ตัวอย่างเช่นแป้งและน้ำตาลทราย แต่โดยส่วนมากมักเป็นของเหลวจึงเรียกว่าน้ำกระสายยา ได้จากการเตรียมแบบต้ม แช่, บีบ, ฝน, คั้น, ละลาย เป็นต้น นอกจากนี้ พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานยังให้บทนิยามของคำว่า กระสาย หรือ กระสายยา ว่า เครื่องแทรกยา เช่น น้ำ, เหล้า, น้ำผึ้ง, น้ำดอกไม้ ซึ่งในทางเภสัชกรรมแผนไทยใช้แทรกยาเพื่อช่วยให้กินยาง่ายขึ้น และ หรือเสริมฤทธิ์ของยาให้มีสรรพคุณดีขึ้น.
กราโนลา
กราโนลาแบบอาหารเช้า กราโนลา (granola) คืออาหารตะวันตกอย่างหนึ่งที่อาจจัดให้เป็นได้ทั้งอาหารเช้าจำพวกธัญพืชหรือเป็นขนมกินเล่นก็ได้ ประกอบไปด้วยข้าวโอ๊ต ถั่ว น้ำผึ้ง ผสมเข้าด้วยกันและอบจนกรอบ บางครั้งก็มีการเพิ่มผลไม้แห้ง ลูกเกด หรืออินทผลัมลงไปด้วย ถ้ามีการคนระหว่างอบ กราโนลาจะไม่เกาะกันมากนัก เหมาะสำหรับเป็นอาหารเช้า กราโนลาให้พลังงานมาก (มีแคลอรีสูง) น้ำหนักเบา เก็บได้นาน จึงมักถูกนำไปเป็นเสบียงระหว่างการเดินทางเหมือนกับมูสลี กราโนลาสามารถนำไปทานคู่กับโยเกิร์ต น้ำผึ้ง ผลไม้สด นม ซีเรียลอย่างอื่น หรือจะใช้แต่งหน้าขนมก็ได้.
กรดซินนามิก
กรดซินนามิก (cinnamic acid) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ C9H8O2 จัดอยู่ในกลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกไม่อิ่มตัว ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายน้ำได้บ้างและละลายในตัวทำละลายอินทรีย์หลายชนิด พบในพืชหลายชนิดในรูปไอโซเมอร์แบบซิส (cis) และทรานส์ (trans) โดยพบแบบหลังมากกว่าDorothea Garbe "Cinnamic Acid" in Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry, 2000, Wiley-VCH, Weinheim.
การฟื้นฟูป่าชายเลน
การฟื้นฟูป่าชายเลน คือการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนในพื้นที่ที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ การปฏิบัติการฟื้นฟูป่าชายเลนเป็นพื้นฐานต่อการสร้างวินัยในการฟื้นฟูระบบนิเวศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ “การฟื้นตัวต่อความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม, ได้รับความเสียหาย หรือถูกทำลาย” ตั้งแต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความสำเร็จสำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศที่มีความหมาย จึงไม่เพียงแต่คงไว้ซึ่งสภาพเดิม หากแต่เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวล.
ดู น้ำผึ้งและการฟื้นฟูป่าชายเลน
การรับรู้รส
ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.
ภาษาตุรกีออตโตมัน
ษาตุรกีออตโตมัน (ภาษาอังกฤษ: Ottoman Turkish; ภาษาตุรกี: Osmanlıca หรือ Osmanlı Türkçesi; ภาษาตุรกีออตโตมัน: لسان عثمانی lisân-ı Osmânî) เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาตุรกีที่เคยเป็นภาษาในการปกครองและภาษาเขียนในจักรวรรดิออตโตมัน เป็นภาษาที่มีคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียมาก เขียนด้วยอักษรอาหรับ ภาษานี้ไม่เป็นที่เข้าใจในหมู่ชาวตุรกีที่มีการศึกษาต่ำ อย่างไรก็ตาม ภาษาตุรกีที่ใช้พูดในทุกวันนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาตุรกีออตโตมันเช่นกัน.
ดู น้ำผึ้งและภาษาตุรกีออตโตมัน
มสาลาจาย
มสาลาจาย (मसाला चाय, แปลตรงตัวว่า "ชาใส่เครื่องเทศ"; مصالحہ چائے; मसलेदार चिया; মসলা চা) เป็นเครื่องดื่มชาแต่งกลิ่นชนิดหนึ่งจากเอเชียใต้ ได้จากการต้มใบชาดำกับเครื่องเทศและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ปัจจุบันมสาลาจายได้รับความนิยมไปทั่วโลกโดยกลายเป็นรายการเด่นของร้านกาแฟหรือร้านน้ำชาหลายแห่ง บางแห่งอาจเรียกเครื่องดื่มชนิดนี้สั้น ๆ ว่า "จาย" ซึ่งแปลว่าชา หรือเรียกโดยซ้ำคำเป็น "ชาจาย" วิธีการเตรียมแบบดั้งเดิมจะนำใบชาไปต้มกับนมและเครื่องเทศ เช่น เมล็ดกระวานเขียว อบเชยแท่ง ขิงบด กานพลูบด เมล็ดพริกไทยดำ เป็นต้น เสร็จแล้วจึงกรองเอากากออก แต่ก็มีการผลิตมสาลาจายเป็นจำนวนมากเพื่อการค้าปลีกในรูปแบบถุงชาสำหรับชงแช่, ผงส่วนผสมสำเร็จรูป หรือชาเครื่องเทศเข้มข้น (concentrate).
มัสตาร์ดดีฌง
มัสตาร์ดดีฌงในช้อนชา มาย (Maille) มัสตาร์ดดีฌง (moutarde de Dijon) เป็นมัสตาร์ดสูตรดั้งเดิมสูตรหนึ่งของฝรั่งเศส ได้ชื่อนี้มาจากชื่อเมืองดีฌงซึ่งเป็นศูนย์กลางการทำมัสตาร์ดในยุคกลางตอนต้นและได้รับพระราชทานสิทธิพิเศษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการนำมัสตาร์ดสูตรนี้มาใช้เป็นครั้งแรกบนโต๊ะเสวยของพระเจ้าฟีลิปที่ 6 ในปี ค.ศ.
มูสลี
มูสลีแบบแห้ง เสิร์ฟคู่กับนมและกล้วย มูสลี หรือ มิวส์ลี (muesli) เป็นอาหารเช้าและอาหารที่เป็นทั้งอาหารเช้าและอาหารเที่ยง (brunch) ซึ่งประกอบไปด้วยข้าวโอ๊ตชนิดเกล็ด (rolled oats) และส่วนประกอบอื่น ๆ รวมไปถึงธัญพืช ผลไม้สดและแห้ง เมล็ดพันธุ์และถั่ว และอาจผสมกับนมวัว นมถั่วเหลือง นมอาลมอนด์ นมจากพืชแบบอื่น ๆ โยเกิร์ต หรือน้ำผลไม้ มีการบรรจุมูสลีทั้งในรูปแบบแห้งพร้อมรับประทาน หรือแบบทำใหม่ ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์และเยอรมนียังนิยมรับประทานมูสลีเป็นอาหารมื้อเบาก่อนอาหารเย็นอีกด้ว.
ยาอม
thumb ยาอม (cachou cough drop, cough sweet, cough tablet, lozenge หรือ troche) เป็น ลูกกวาดบำบัด (medicated sweet) สำหรับอมไว้ในปากให้ละลายช้า ๆ ในนั้น เพื่อหล่อลื่นและสมานเยื่อหรือเมือกอันระคายเคืองอยู่ในลำคอซึ่งปรกติเป็นเพราะ คอหอยอักเสบ (pharyngitis) เนื่องจากหวัดหรือไข้ ยาอมอาจเจือ เบ็นโซเคน (benzocaine) ซึ่งเป็นยาระงับความรู้สึก (anesthetic) ประเภทหนึ่ง หรืออาจเจือ น้ำมันยูคาลิปตัสก็ได้ ในหลาย ๆ ขนานปรากฏว่ามี การบูร น้ำมันสะระแหน่ หรือสะระแหน่หอมเป็นตัวนำกลิ่น บ้างก็ใส่น้ำผึ้งด้วย ส่วนยาอมที่ไม่ผสมการบูรมักใช้ซิงก์กลูโคเนตไกลซีนไม่ก็เพกทินปรุงเป็นยาบรรเทาระคาย (demulcent) อย่างไรก็ดี ยาอมหลาย ๆ ยี่ห้อในท้องตลาดมักประกอบด้วยเด็กซ์ทรอเมธอร์แฟน ยาอมนั้นควรบริโภคแต่พอประมาณ เพราะส่วนประกอบบางชนิดหากรับประทานมากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย อนึ่ง ยาอมบางประเภทที่มีสรรพคุณต่อต้านแบคทีเรีย ก็ช่วยให้ลมหายใจสดชื่น และขจัดแบคทีเรียที่ทำให้กลิ่นปากเน่าเหม็นด้ว.
ยาน้ำเชื่อม
น้ำเชื่อม (syrup) เป็นเภสัชภัณฑ์รูปแบบของเหลวชนิดหนึ่งซึ่งตำรับยาที่มีลักษณะใสและหนืด มีส่วนผสมของน้ำตาลเช่น น้ำตาลซูโครส หรือสารให้ความหวานอื่นๆประกอบอยู่ นอกจากนี้ยังมีการแต่งกลิ่นและสีเพื่อเพิ่มความน่าใช้หรือน่ารับประทานอีกด้ว.
รอเยาะ
รอเยาะ หรือ เต้าขั้ว ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เรียกว่า โรจะก์ (rojak) อินโดนีเซียเรียกว่า รูจะก์ (rujak) เป็นยำประเภทหนึ่งในอาหารมลายูและอินโดนีเซีย น้ำยำทำจากกะปิเคี่ยวกับน้ำตาลโตนด น้ำมะขามเปียก พริก มีรสหวาน โรยถั่วลิสงคั่ว ในปีนังจะเพิ่มน้ำผึ้ง นิยมกินกับผลไม้ เช่น ชมพู่ มะม่วงดิบ ฝรั่ง มันแกว สับปะรด ผักลวกเช่น ถั่วงอก ผักบุ้ง มันเทศต้ม เต้าหู้ทอด ในพิธีครรภ์เจ็ดเดือนในเกาะชวา จะมีรอเยาะเป็นอาหารสำคัญในพิธีและใช้เสี่ยงทายเพศทารก ถ้าหญิงมีครรภ์ชอบรอเยาะหวาน ทารกจะเป็นผู้หญิง ถ้าชอบรสเผ็ดจะเป็นผู้ชาย ในภาคใต้ของประเทศไทยมีอาหารชนิดเช่นกัน ในจังหวัดปัตตานีเรียกว่า รอเยาะ, สงขลาเรียกว่า เต้าขั้ว หรือ สลัดทะเลสาบ, สุราษฎร์ธานีเรียกว่า ผักบุ้งไต่ราว, ภูเก็ตเรียกว่า อูแช่, และสตูลเรียกว่า ปัสมอ.
รูปหลายเหลี่ยม
ในทางเรขาคณิต รูปหลายเหลี่ยม (อังกฤษ: polygon) ตามความหมายดั้งเดิม หมายถึงรูปร่างอย่างหนึ่งที่เป็นรูปปิดหรือรูปครบวงจรบนระนาบ ซึ่งประกอบขึ้นจากลำดับของส่วนของเส้นตรงที่มีจำนวนจำกัด ส่วนของเส้นตรงเหล่านั้นเรียกว่า ขอบ หรือ ด้าน และจุดที่ขอบสองข้างบรรจบกันเรียกว่า จุดยอด หรือ เหลี่ยม (corner) ภายในรูปหลายเหลี่ยมบางครั้งก็เรียกว่า เนื้อที่ (body) รูปหลายเหลี่ยมเป็นวัตถุในสองมิติ ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของพอลิโทป (polytope) ที่อยู่ใน n มิติ ด้านสองด้านที่บรรจบกันเป็นเหลี่ยม เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเกิดมุมที่ไม่เป็นมุมตรง (180°) ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ส่วนของเส้นตรงทั้งสองจะถูกพิจารณาว่าเป็นด้านเดียวกัน ความคิดทางเรขาคณิตพื้นฐานได้ถูกดัดแปลงไปในหลากหลายทาง เพื่อที่จะทำให้เข้ากับจุดประสงค์เฉพาะ ตัวอย่างเช่นในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ คำว่า รูปหลายเหลี่ยม ถูกนำไปใช้และมีการเปลี่ยนแปลงความหมายไปโดยเล็กน้อย ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการบันทึกและจัดการรูปร่างภายในคอมพิวเตอร์มากขึ้น รูปหลายเหลี่ยม หลายชน.
วัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดพระธาตุลำปางหลวง (100px) ตั้งอยู่ในเขตตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร วัดตั้งอยู่บนเนินสูง มีการจัดวางผังและส่วนประกอบของวัดสมบูรณ์แบบที่สุด มีสิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ บริเวณพุทธาวาสประกอบด้วย องค์พระธาตุลำปางหลวง เป็นประธาน มีบันไดนาคนำขึ้นไปสู่ซุ้มประตูโขง ถัดซุ้มประตูโขงขึ้นไปเป็น วิหารหลวง บริเวณทิศเหนือขององค์พระธาตุมีวิหารบริวารตั้งอยู่คือ วิหารน้ำแต้ม และ วิหารต้นแก้ว ด้านตะวันตกขององค์พระธาตุประกอบด้วย วิหารละโว้ และ หอพระพุทธบาท ด้านใต้มี วิหารพระพุทธ และอุโบสถ ทั้งหมดนี้จะแวดล้อมด้วยแนวกำแพงแก้วทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงแก้วด้านใต้มีประตูที่จะนำไปสู่เขตสังฆาวาส ซึ่งประกอบด้วยอาคาร หอพระไตรปิฎก กุฏิประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า อาคารพิพิธภัณฑ์และกุฏิสง.
ดู น้ำผึ้งและวัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดพระธาตุแช่แห้ง
ระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง (100px) วัดพระธาตุแช่แห้ง หมู่ 3 บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตี๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เดิมเป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง ประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ เป็นสีทองสุกปลั่ง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง 2 เส้น เป็นอนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต.
ดู น้ำผึ้งและวัดพระธาตุแช่แห้ง
ศูนย์อนุรักษ์ผึ้ง ลพบุรี
ูนย์อนุรักษ์ผึ้ง ลพบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเรื่องผึ้งพันธุ์ในไทย มีผลิตภัณฑ์แปรรูปตัวอย่าง เช่น เทียนไข น้ำผึ้ง เกสรผึ้ง ศูนย์อนุรักษ์ผึ้งตั้งอยู่เลขที่ 280 ซอย 24 สายตรี หมู่ที่ 9 ตำบลพัฒนานิคม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี.
ดู น้ำผึ้งและศูนย์อนุรักษ์ผึ้ง ลพบุรี
สุรา
ราที่วางขายในร้าน สุรา (liquor หรือ spirit) หมายถึง น้ำเมาที่ได้จากการกลั่นสารบางประเภท อาทิ เอทิลแอลกอฮอล์ และเมรัย คือ น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่ให้เกิดสารบางประเภท เมื่อดื่มแล้วสารนั้นจะออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง หากดื่มไม่มากอาจรู้สึกผ่อนคลายเนื่องจากสารกดจิตใต้สำนึกที่คอยควบคุมตนเองทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น แต่เมื่อดื่มมากขึ้นก็จะกดสมองบริเวณอื่น ๆ ทำให้เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด จนแม้กระทั่งหมดสติในที่สุด ทั้งสุราและเมรัยเรียกโดยภาษาปากว่า "เหล้า" ประเทศต่าง ๆ ได้วางกฎเกณฑ์สำหรับการผลิต การขาย และการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตัวอย่างเช่น กฎหมายที่กำหนดอายุขั้นต่ำสำหรับผู้ที่สามารถบริโภคได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีสำหรับประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์, ไม่ต่ำกว่า 18 ปีในประเทศไทย หรือไม่ต่ำกว่า 21 ปีในสหรัฐอเมริกา การบริโภคทั้งสุราและเมรัยเป็นข้อห้ามในข้อสุราเมรยมัชปมาทัฏฐานหรือข้อที่ 5 แห่งเบญจศีลของพุทธศาสนา ซึ่งว่า "สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ" แปลได้ว่า "เราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท".
หมาไม้
หมาไม้ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่งในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีรูปร่างคล้ายพญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) มีลักษณะเด่นคือ ตั้งแต่ใต้คอลงไปถึงหน้าอกมีสีเหลือง ส่วนหัวด้านบนมีสีดำ ขาสั้นเมื่อเทียบกับขนาดตัว ตัวผู้มีฟันเขี้ยวขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย หางยาวพอ ๆ กับความยาวลำตัว หมาไม้ชนิดย่อยที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของทวีปเอเชียจะมีขนาดใหญ่กว่าชนิดที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีความยาวลำตัวและหัว 45–60 เซนติเมตร ความยาวหาง 38–43 เซนติเมตร น้ำหนัก 2–3 กิโลกรัม หมาไม้เป็นสัตว์ที่มีกลิ่นตัวแรงมาก มีความคล่องแคล่วปราดเปรียวมาก สามารถหากินได้ทั้งบนต้นไม้และพื้นดิน กินอาหารได้หลากหลายประเภททั้งพืชและสัตว์ ทั้งสัตว์ฟันแทะ, แมลง, สัตว์เลื้อยคลาน, นก หรือ ไข่นก บางครั้งอาจเข้ามาหาอาหารที่นักท่องเที่ยวป่าทิ้งไว้ตามเต๊นท์ นอกจากนี้ยังสามารถกินผึ้งและน้ำผึ้งเหมือนหมีได้อีกด้วย มักหากินในเวลากลางวัน แต่บางครั้งอาจหากินในเวลากลางคืน มักจะหากินแต่เพียงลำพังหรือเป็นคู่ไม่มากกว่านั้น หมาไม้ตัวเมียจะตั้งท้องนาน 220–290 วัน ออกลูกครั้งละ 3–5 ตัว อายุขัยในสถานที่เลี้ยงประมาณ 14 ปี เป็นสัตว์ที่มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ภาคเหนือของปากีสถาน, รัฐแคชเมียร์และรัฐอัสสัมของอินเดีย, ภาคเหนือของพม่า, ภาคใต้และภาคตะวันออกของจีน, ไต้หวัน, ไทย, ลาว, ตอนเหนือของกัมพูชา, ภาคเหนือและภาคกลางของเวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว สถานะของหมาไม้ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.
หมาไม้ต้นสนยุโรป
หมาไม้ต้นสนยุโรป หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หมาไม้ต้นสน ในประเทศยุโรปที่พูดภาษาอังกฤษ เป็นสัตว์ท้องถิ่นในยุโรปเหนือ อยู่ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมิงค์, นาก, แบดเจอร์ และวูล์ฟเวอรีน และวีเซิล มีขนาดใหญ่ประมาณแมวบ้าน ลำตัวยาว 53 เซนติเมตร และหางของมันสามารถยาวได้ถึง 25 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย โดยเฉลี่ย มีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม ขนของมันมักมีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลเข้ม และจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและนุ่มขึ้นระหว่างฤดูหนาว พวกมันมีช่วงลำคอสีครีมไปจนถึงเหลือง.
หมูแดง
หมูแดง เป็นอาหารที่ได้จากการย่างเนื้อหมูที่ปรุงรส นิยมใช้เนื้อหมูส่วนสันนอก, สามชั้น, สันคอหรือคอหมู ในประเทศจีนเรียกว่า ชาสิ่ว (叉燒) โดยจะหมักเนื้อหมูกับน้ำผึ้ง, ผงเครื่องเทศทั้งห้า, เต้าหู้ยี้, ซอสถั่วเหลือง, ซอสฮอยซิน และอาจผสมเหล้าเชอร์รีหรือเหล้าหวงจิ่ว ก่อนจะนำไปย่าง หมูแดงของจีนใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูบะหมี่ ข้าวหรือซาลาเปาหน้าแตก ในฮ่องกงจะขายหมูแดงในร้านซิวเหม่ย (燒味) ร่วมกับไก่หรือห่านย่าง ในประเทศญี่ปุ่นมีอาหารคล้ายหมูแดงของจีน เรียกว่า ชะชุ (チャーシュー) เป็นส่วนประกอบในราเม็ง โดยเตรียมจากการทำเนื้อให้เป็นก้อนก่อนจะนำไปตุ๋นที่อุณหภูมิต่ำ ปรุงรสด้วยน้ำผึ้งและซอสถั่วเหลือง ในประเทศไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์และอินโดนีเซีย นิยมทานหมูแดงในเมนูบะหมี่และข้าวหมูแดง เสิร์ฟพร้อมแตงกวา ต้นหอม ราดด้วยน้ำราดด้านบน บางครั้งทานร่วมกับเป็ดย่างและหมูกรอบ ในประเทศฟิลิปปินส์ ทานหมูแดงเป็นเมนูเรียกว่า อาซาโด (asado) และเป็นไส้ในซาลาเป.
หมีหมา
หมีหมา หรือ หมีคน (Malayan sun bear, Honey bear;; อีสาน: เหมือย).
อังการา
อังการา (Ankara) เป็นเมืองหลวงของประเทศตุรกีและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดอังการา อังการาเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากอิสตันบูล ตั้งอยู่ในจังหวัดอังการาอยู่ที่ระดับความสูงเฉลี่ย 938 เมตร มีประชากรประมาณ 3.9 ล้านคน อังการาตั้งอยู่บริเวณกลางคาบสมุทรอานาโตเลีย จึงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทั้งทางธุรกิจและอุตสาหกรรม เป็นศูนย์กลางของรัฐบาลตุรกี และเป็นที่ตั้งของสถานทูตประเทศต่าง ๆ อังการายังเป็นศูนย์กลางของทางหลวงและเส้นทางรถไฟทำให้เป็นศูนย์กลางของการค้าขาย สินค้าที่มีชื่อเสียงของเมืองคือผลิตภัณฑ์จากขนโมแฮร์ที่ได้จากแพะอังโกรา ขนอังโกราที่ได้จากกระต่ายอังโกรา แมวอังโกรา ลูกแพร์ น้ำผึ้ง และองุ่นท้องถิ่น ตัวเมืองประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่า อูลุส ซึ่งเป็นเมืองเก่าที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ก่อนยุคจักรวรรดิออตโตมัน และ เยนีเชฮีร์ ซึ่งเป็นเมืองใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นตามแผนการสร้างเมืองของรัฐบาลสาธารณรัฐตุรกี แต่การพัฒนาเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาปักหลักบริเวณพื้นที่รอบนอกเมืองและเกิดบ้านเรือนที่ถูกสร้างขึ้นอย่างไม่มีระเบียบเป็นจำนวนมาก.
อาหาร
อาหาร หมายถึงสิ่งที่รับประทานเข้าไป ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต ในอดีต มนุษย์ได้มาซึ่งอาหารด้วยสองวิธีการ คือ การล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว (hunting and gathering) และเกษตรกรรม ปัจจุบัน พลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่ประชากรโลกบริโภคนั้นผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งใช้เกษตรประณีต และอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของระบบให้ได้มากที่สุด สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอาหาร สถาบันทรัพยากรโลก โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และสภาข้อมูลอาหารระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานเฝ้าสังเกตความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงทางอาหาร องค์การทั้งหลายนี้จัดการกับประเด็นปัญหาอย่างความยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐศาสตร์สารอาหาร การเติบโตของประชากร ทรัพยากรน้ำ และการเข้าถึงอาหาร สิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดขึ้นจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยตระหนักถึง "สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ" เช่นเดียวกับ "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย".
อาหารไทย
ต้มยำกุ้ง อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด จากผลการสำรวจ 50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลกปี 2554 โดยซีเอ็นเอ็น (CNN) ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดหลายอันดับ ได้แก่ ส้มตำ อันดับที่ 46, น้ำตกหมู อันดับที่ 19, ต้มยำกุ้ง อันดับที่ 8 และ แกงมัสมั่น ติดอันดับที่ 1.
อาหารเยอรมัน
อาหารการกินของชาวเยอรมันจะต่างกันไปตามภูมิภาค แคว้นทางใต้ เช่น บาวาเรีย (Bavaria) อาหารจะคล้ายกับประเทศเพื่อนบ้านทางตอนใต้ คือ สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย ส่วนทางตะวันตกจะกรุ่นไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมฝรั่งเศส ในขณะที่อาหารทางตะวันออกจะใกล้เคียงกับอาหารทางยุโรปตะวันออก และอาหารบริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือจะใกล้เคียงกับอาหารแถบสแกนดิเนเวี.
อาหารเคิร์ด
ตัวอย่างอาหารเคิร์ด อาหารเคิร์ด เป็นอาหารที่หลากหลายของชาวเคิร์ดในประเทศตุรกี อิหร่าน สาธารณรัฐปกครองตนเองเคอร์ดิสถานในอิรักหรือที่อื่น.
ฮันนี่แบดเจอร์
ันนี่แบดเจอร์ (Honey badger, Ratel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ จัดอยู่ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Mellivora และวงศ์ย่อย Mellivorinae (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ย่อย Mustelinae) มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา, ตะวันออกกลาง และอนุทวีปอินเดี.
ผงฟู
ผงฟู ผงฟูทำขนมปัง (baking powder) (NaHCO3) เป็นสารเคมีแห้งช่วยทำให้ขึ้นฟู ใช้ในการอบและดับกลิ่น มีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปมีฤทธิ์เป็นด่าง เรียกว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) และในรูปของกรด จะเป็นผลึกกเกลือ เกลือที่ใช้ในอุณหภูมิต่ำ ได้แก่ ครีมออฟทาร์ทาร์ แคลเซียมฟอสเฟต และ citrate ส่วนเกลือที่ใช้ในอุณหภูมิสูงมักเป็นเกลือของอะลูมิเนียม เช่น แคลเซียมอะลูมิเนียมฟอสเฟตโดยส่วนใหญ่ baking powder ในปัจจุบันเรียกว่า double acting ซึ่งเป็นการรวมระหว่าง เกลือ ซึ่งตัวหนึ่งสามารถทำปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิห้อง และอีกตัวหนึ่งสามารถทำปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิสูงกว่า baking powder ที่สามารถใช้ได้เฉพาะอุณหภูมิต่ำเรียกว่า single acting มีลักษณะเป็นผงสีขาว มี 2 ชนิดคือ.
ผงปถมัง
ผงปถมัง หรือ ปถมัง ชื่อวิชาไสยศาสตร์โบราณของไทย ว่าด้วยการทำผงด้วยเวทมนตร์คาถา โดยใช้แท่งดินสอพองเขียนอักขระลงบนกระดานชนวน เริ่มจากลงนะปถมังหรือนะทรงแผ่นดิน บางแห่งเรียกนะปัดตลอด แล้วลบบังเกิดเป็นนะโมพุทธายะ เป็นองค์พระ เป็นมะอะอุ เป็นอุณาโลม เป็นต้น ไปจนกระทั่งถึงสูญนิพพานจึงเป็นอันสิ้นสุด โดยระหว่างการลงอักขระและลบในขั้นตอนต่าง ๆ จะต้องมีการบริกรรมสูตร ซึ่งเป็นพระคาถาสำหรับการลงอักขระและลบอักขระต่าง ๆ กล่าวกันว่าเป็นอุบายในการฝึกสมาธิอย่างหนึ่งในสมัยโบราณ ผงดินสอพองที่ได้จากการเขียนและลบอักขระตามคัมภีร์ปถมังนี้ เรียกว่าผงปถมัง เชื่อว่ามีอานุภาพทางด้านอิทธิฤทธิ์อยู่ยงคงกระพันโดยมากมักนำมาผสมทำเป็นเครื่องราง ผู้ที่สำเร็จคัมภีร์ปถมังจะอยู่ยงคงกระพันรวมทั้งล่องหนหายตัวได้ ชื่อวิชานี้ปรากฏในวรรณกรรมเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนด้วย ผงอิทธิเจ (อ่านว่า ผง-อิด-ทิ-เจ) และผงปถมํ (อ่านว่า ผง-ปัด-ถะ-มัง) เป็นผง ใช้สำหรับสร้างพระพิมพ์ ประกอบด้วยสูตรการเขียนผง ผงอื่นๆ จากพระสงฆ์ชื่อดัง ว่านหลายชนิด เช่น ว่านนางกวัก ว่านเพชรน้อย ว่านเพชรใหญ่ ว่านเพชรกลับ เศษพระชำรุดจากพระผงพระสมเด็จกรุต่างๆ เช่น วัดใหม่อมตรส วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร ผงปถมํวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ผงปถมํจากหลวงปู่หิน หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ผงปถมํจาก วัดสามปลื้ม ผงปถมํจาก วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ในครั้งแรก การทดลองพิมพ์พระ เนื้อพระเปราะ แตกและหักง่าย พิมพ์ออกมาแล้วไม่สวยบ้างจึงใช้น้ำมนต์และน้ำมันตั้งอิ้วเป็นตัวประสานผง จนประสบผลสำเร็จ ผลปรากฏต่อมาว่าพระผง เนื้อดี เป็นมันแกร่ง คล้ายพระกรุวัดใหม่อมตรส และที่สำคัญเป็นที่เลื่องลือมากในพุทธคุณ มีความเชื่อด้านเมตตามหานิยม หน้.
ทุเรียน
ทุเรียน เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio) (ถึงแม้ว่านักอนุกรมวิธานบางคนจัดให้อยู่ในวงศ์ทุเรียน (Bombacaceae) ก็ตาม) เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้วันดี กฤษณพันธ์, สมุนไพรน่ารู้, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 3..
ขี้ผึ้ง
ี้ผึ้ง คือ ไขมันในสถานะของแข็ง เกิดขึ้นจากการผสมของสารประกอบหลายชนิดได้แก่ไฮโดรคาร์บอน (สารเคมีจำพวกน้ำมันดิน) 14%, โมโนเอสเตอร์ 35%, ไดเอสเตอร์ 14%, ไตรเอสเตอร์ 3%, ไฮดรอกซีโพลีเอสเตอร์ 8%, เอสเตอร์ของกรด 1%, กรดอิสระ 12%, แอลกอฮอล์อิสระ 1% รวมถึงสารที่ไม่สามารถระบุได้อีก 6% ขี้ผึ้งถูกเก็บอยู่ในตัวของผึ้งน้ำหวานในรูปของเกล็ดบางๆ เกล็ดดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยต่อมที่อยู่บริเวณท้องน้อยของผึ้ง ส่วนผึ้งงานมีต่อมดังกล่าวอยู่แปดต่อมอยู่ด้านในของเปลือกปล้องกลางบริเวณท้องน้อยในอัตราส่วน 4 ต่อ 7 ขนาดของต่อมผลิตขี้ผึ้งขึ้นอยู่กับอายุของผึ้งงาน ผึ้งน้ำหวานนำขี้ผึ้งของตนเองไปใช้สร้างโพรงเล็กๆ ในรวงน้ำผึ้ง ซึ่งใช้ในการเลี้ยงผึ้งที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ และใช้ในการเก็บน้ำผึ้งและเรณูดอกไม้ ในการที่ผึ้งที่ทำหน้าที่ในการสร้างขี้ผึ้ง (ผึ้งน้ำหวานอายุ 12 วัน) จะผลิตขี้ผึ้งได้นั้น อุณหภูมิภายในรังผึ้งจะต้องอยู่ระหว่าง 33 ถึง 36°C (องศาเซลเซียส) โดยผึ้งที่มีหน้าที่ดังกล่าวจะต้องบริโภคน้ำผึ้งถึงประมาณแปดปอนด์ (ประมาณ 3.6 กิโลกรัม) ในการที่จะผลิตขี้ผึ้งเพียงปอนด์เดียว (ประมาณ 0.4 กิโลกรัม) เมื่อผู้เก็บน้ำผึ้งเข้าไปทำการเก็บน้ำผึ้ง พวกเขาจะตัดฝาปิดโพรงผึ้งออกในแต่ละโพรงของรังน้ำผึ้ง สีของขี้ผึ้งมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อนไล่ไปจนถึงสีเหลืองแกมน้ำตาล ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของขี้ผึ้ง ขี้ผึ้งจากรวงเพาะเลี้ยงในรังผึ้งจะมีสีเข้มกว่าขี้ผึ้งจากรวงน้ำผึ้ง ที่ๆ ซึ่งความปนเปื้อนเกิดขึ้นได้น้อยกว่า ขี้ผึ้งเป็นสสารที่มีจุดหลอมเหลวอยู่ระหว่าง 62 - 64°C ขี้ผึ้งไม่มีจุดเดือด แต่จะกักเก็บความร้อนต่อไปจนมันลุกเป็นไฟเมื่ออุณหภูมิประมาณ 120°C เมื่อขี้ผึ้งได้รับความร้อนจนถึงอุณหภูมิ 85°C สีของขี้ผึ้งจะเริ่มหลอมละลายออกไป ความหนาแน่นสัมพัทธ์ที่อุณหภูมิ 15°C คือตั้งแต่ 0.958 - 0.970 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร มนุษย์นำขี้ผึ้งไปใช้ในการผลิตเทียนไขคุณภาพดี, เครื่องสำอาง รวมถึงวัสดุและสารขัดเงา (มักจะเป็นยาขัดรองเท้า) และเป็นส่วนประกอบในการประดิษฐ์หุ่นขี้ผึ้ง รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ขี้ผึ้งเมื่อนำมาใช้เป็นเทียนจะไม่เกิดน้ำตาเทียนและมีควันที่น้อยกว่าธูปหรือเทียนธรรมดาอย่างมาก ซึ่งทำให้มันเป็นที่นิยมใช้ในการประกอบพิธีทางคริสต์ศาสนา หมวดหมู่:ไข หมวดหมู่:ผึ้ง หมวดหมู่:กีฏวิทยา.
ขนมหนวดมังกร
นมหนวดมังกร หรือ ขนมไหมฟ้า หรือ ขนมสายไหมจีน (Dragon's beard candy, Chinese cotton candy, Cocoon candy; อักษรจีนตัวเต็ม: 龍鬚糖, 龙须糖; พินอิน: Lóng xū táng; อักษรจีนตัวย่อ: 銀絲糖, 銀絲糖; พินอิน: Yín sī táng) เป็นขนมแบบดั้งเดิมของชาวจีน พบได้ตามแถบชุมชนจีน และได้แพร่กระจายไปในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออก เช่น มาเก๊า, สิงคโปร์, แคนาดา, สหรัฐอเมริกา, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น ในเกาหลีถือเป็นขนมหวานที่มีค่ายิ่งในราชสำนัก ขนมหนวดมังกร มีที่มาตั้งแต่ยุคราชวงศ์ฮั่นเมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว กล่าวกันว่า พ่อครัวคนหนึ่งซึ่งเพลินเพลินในการทำขนมแบบใหม่กับพระจักรพรรดิ์ ด้วยการยืดส่วนผสมแบบแป้งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าเป็นเส้นเล็ก ๆ บาง ซึ่งแลดูคล้ายกับหนวดหรือเคราที่สามารถติดอยู่กับใบหน้าผู้คน การที่ได้ชื่อว่า "หนวดมังกร" อาจเป็นเพราะมังกรเป็นสัญลักษณ์ของพระจักรพรรดิ์ ในสมัยโบราณ ขนมหนวดมังกรถือเป็นของที่ทำเพื่อถวายแด่พระจักรพรรดิ์และชนชั้นสูงในราชสำนักเท่านั้น ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ขนมหนวดมังกรถูกห้ามจากยุวชนแดง ตามคำสั่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ห้ามประชาชนประกอบกิจกรรมที่อาจเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ฮั่น การทำขนมหนวดมังกรถือเป็นศิลปะละเอียดอ่อนอย่างหนึ่ง จึงทำให้หาผู้สืบทอดได้ยาก อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ได้ปรากฏตัวขึ้นอีกครั้งในสถานที่ท่องเที่ยว เช่น เทศกาลตามถนนสายต่าง ๆ และแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ไกลถึงจุดหมายปลายทางของผู้เชี่ยวชาญ เส้นขนมหนวดมังกร คล้ายกับสายไหม โดยทำจากน้ำผึ้งกวนกับแป้งข้าวเจ้า, แป้งข้าวโพด, แป้งข้าวเหนียว และข้าวโอ๊ต จากนั้นจึงนำมาดึงเหมือนเส้นบะหมี่ จนยืดยาวเป็นเส้นเล็ก ๆ จำนวนหลายร้อยเส้น และนำมาคลุกกับไส้ซึ่งเป็นเม็ดมะม่วงหิมพานต์, ถั่วลิสง และงาขาว จากนั้นจึงปั้นเป็นก้อนกลม ลักษณะคล้ายดักแด้.
ขนมปัง
นมปัง ขนมปัง หรือ ปัง เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาลีที่ผสมกับน้ำและยีสต์ หรือผงฟู นอกจากนี้ยังมีการใช้ส่วนผสมอื่น ๆ เพื่อแต่งสี รสชาติและกลิ่น แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของขนมปัง และ แต่ละประเทศที่ทำ โดยนำส่วนผสมมาตีให้เข้ากันและนำไปอบ ขนมปังมีหลายประเภท เช่น ขนมปังฝรั่งเศส ขนมปังไรย์ หรือแม้กระทั่งเพรตเซิล ของขึ้นชื่อประเทศเยอรมนี เป็นต้น ชาวสวิสที่อาศัยอยู่ตามทะเลสาบในยุคหินเป็นผู้ริเริ่มนำเมล็ดข้าวสาลีมาบดโดยใช้ครกหยาบ ๆ ตำ แล้วนำไปผสมน้ำ แล้วนำไปเทลงบนหินร้อนๆเพื่อให้สุก ผลที่ได้คือขนมปังที่ขึ้นฟูโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งค้นพบมากว่า 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ประวัติที่ยอมรับสืบเนื่องกันมาก็คือพวกทาสในสมัยราชวงศ์อียีปต์ ได้ผสมก้อนแป้งที่ลืมทิ้งไว้ลงไปในแป้งที่ผสมเสร็จใหม่ๆ ผลที่ได้คือแป้งที่เบาและรสชาติดี.
ขนมปังทอดอินเดียนแดง
นมปังทอดอินเดียนแดง หรือ ฟรายเบรด (frybread หรือ สะกด fry bread) เป็นก้อนแป้งรูปแบนทอดในน้ำมันพืช หรือ น้ำมันหมู โดยมีผงฟูหรือยีสต์เป็นส่วนผสมของตัวแป้ง ขนมปังทอดอินเดียนแดงสามารถนำรับประทานเดี่ยว ๆ หรือนำรับประทานกับน้ำผึ้ง แยม หรือเนื้อวัว.
ดู น้ำผึ้งและขนมปังทอดอินเดียนแดง
ขนมแดกงา
นมแดกงา เป็นขนมพื้นบ้านของชาวไทยและชาวมอญ พบได้ในหลายพื้นที่ทางภาคกลางเรียกข้าวเหนียวแดกงาหรือขนมแดกงา ทางจังหวัดพิจิตรเรียกขนมข้าวโป่ง ชาวไทใหญ่แต่เดิมเรียกข้าวตำงา แต่ปัจจุบันเรียกขนมข้าวปุกและโยงความหมายเข้ากับการปลุกใจคนไทใหญ่ให้กอบกู้ชาติบ้านเมือง ภาคอีสานเรียกขนมข้าวเบียง ส่วนภาษามอญเรียกขนมนี้ว่ากวาญย์คะเปียง การทำขนมชนิดนี้จะนำข้าวเหนียวมาตำในครกตำข้าว ขณะตำจะโรยงาคั่ว เหยาะน้ำเกลือ ตำให้แหลกเหนียวเป็นเนื้อเดียวกัน ตักขึ้นมาแบ่งเป็นชิ้น จิ้มน้ำผึ้งหรือน้ำตาลทราย ทางจังหวัดอุทัยธานีจะทำขนมนี้ให้มีไส้หวานอยู่ข้างใน ขนมแดกงาทางภาคกลางนั้น ทางภาคเหนือเรียกข้าวหนุกงา นำข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆเคล้ากับเม็ดงาขี้ม้อนคั่ว ให้เม็ดงาติดข้าวเหนียวจนทั่ว แล้วนำมารับประทาน.
คัสเตลลา
ัสเตลลา คัสเตลลา เป็นเค้กฟองน้ำ ของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยม ทำมาจากน้ำตาล แป้ง ไข่ และน้ำเชื่อม มีจำหน่ายทั่วไปตามเทศกาลและร้านค้าริมถนน คัสเตลลานำเข้ามายังญี่ปุ่นโดยพ่อค้าชาวโปรตุเกสเมื่อศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันเป็นขนมหวานที่มีชื่อเสียงของนางาซากิ ชื่อ " คัสเตลลา" มีที่มาจากคำในภาษาโปรตุเกสคำว่า "Pão de Castela" แปลว่า "ขนมปังจากกัสติยา" ปกติแล้วจะจำหน่ายในกล่องรูปทรงยาว บรรจุคัสเตลลาขนาดยาวประมาณ 27 เซนติเมตร คัสเตลลามีบางส่วนที่คล้ายคลึงกับเค้กมาเดรา (Madeira cake) ที่มีที่มาจากโปรตุเกสเช่นกัน แต่ขนมหวานที่ใกล้เคียงที่สุดคือ "เปาดือลอ" (pão-de-ló) ซึ่งเป็นเค้กของโปรตุเก.
คนเลี้ยงผึ้ง
นเลี้ยงผึ้ง คนเลี้ยงผึ้ง คือ ผู้ที่จะคอยดูแลผึ้งงาน โดยคาดหวังถึงผลผลิตต่างๆ ที่เกิดจากบรรดาผึ้ง เช่น น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง เกสรดอกไม้ น้ำที่ผึ้งใช้เลี้ยงตัวอ่อน รวมถึงการผสมพันธุ์เกสรที่เกิดจากผึ้งกับพวกพืชผักและผลไม้ โดยพวกเขาจะเพิ่มจำนวนนางพญาผึ้งและบรรดาผึ้งงานเพื่อขายให้เกษตรกรคนอื่น ๆ ต่อไป หรืออาจทำเพื่อการตอบสมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้เลี้ยงผึ้ง นั้นอาจจะทำเป็นงานอดิเรกเพื่อหารายได้พิเศษ หรืออาจทำเป็นอาชีพหลัก ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนผึ้งที่เลี้ยงอยู.
ค็อกเทล
็อกเทลโดยทั่วไปซึ่งจัดเสิร์ฟในแก้วค็อกเทล ค็อกเทล (cocktail) เป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ใช้เหล้าชนิดต่าง ๆ ผสมกัน ใส่น้ำแข็ง แล้วเขย่า และอาจใส่น้ำผลไม้หรือชิ้นผลไม้เพื่อเพิ่มสีหรือรสให้แปลก ๆ ออกไป นิยมดื่มก่อนอาหาร.
ซูจ็องกวา
ซูจ็องกวา ซูจ็องกวา เป็นเครื่องดื่มพื้นบ้านชนิดหนึ่งของเกาหลี มีสีน้ำตาลแดงเข้ม ได้จากการต้มขิงหั่นแว่นและอบเชยแท่ง (รวมกันหรือแยกกัน) ให้เดือดช้า ๆ จากนั้นกรองเอาของแข็งออกแล้วนำน้ำที่ได้ไปตั้งไฟรวมกันอีกครั้งโดยใส่น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำผึ้งลงไป เสร็จแล้วทิ้งไว้ให้เย็น ใส่ลูกพลับแห้งที่ฝานไว้แล้วแช่ตู้เย็น ทั้งนี้มักจะแช่ลูกพลับทิ้งไว้หลายชั่วโมงก่อนเสิร์ฟเพื่อให้น้ำขิงอบเชยมีลักษณะเข้มขึ้น เมื่อเสิร์ฟ อาจโรยหน้าด้วยเมล็ดสนก็ได้ ร้านอาหารโดยทั่วไปจะเสิร์ฟซูจ็องกวาเป็นของหวานและเย็นเช่นเดียวกับชิกฮเย นอกจากนี้ยังมีวางจำหน่ายทั่วไปในรูปแบบกระป๋องด้ว.
ป๊อกกี้
ป๊อกกี้รสสตรอเบอร์รี ป๊อกกี้ เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ของบริษัทเอซากิกูลิโกะ ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับความนิยมในหลายๆ ประเทศ เริ่มผลิตและออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ.
น้ำตาล
องน้ำตาลดิบ (ไม่ขัดและไม่ฟอกขาว) น้ำตาล เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตส และกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตส และแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์ สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ เรียกว่าเป็น วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners) น้ำตาลพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของพืช แต่มีเพียงอ้อย และชูการ์บีตเท่านั้นที่พบน้ำตาลในปริมาณความเข้มข้นเพียงพอที่จะสกัดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้อยหมายรวมถึงหญ้ายักษ์หลายสายพันธุ์ในสกุล Saccharum ที่ปลูกกันในเขตร้อนอย่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ การขยายการผลิตเกิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างไร่น้ำตาลในเวสต์อินดีส และอเมริกา เป็นครั้งแรกที่คนทั่วไปได้ใช้น้ำตาลเป็นสิ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำผึ้ง ชูการ์บีต โตเป็นพืชมีรากในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าและเป็นแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 หลังจากมีวิธีสกัดน้ำตาลเกิดขึ้นหลายวิธี การผลิตและการค้าน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งอาณานิคม การมีอยู่ของทาส การเปลี่ยนผ่านไปสู่สัญญาแรงงาน การย้ายถิ่นฐาน สงครามระหว่างชาติที่ครอบครองน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 การรวมชนชาติและโครงสร้างทางการเมืองของโลกใหม่ โลกผลิตน้ำตาลประมาณ 168 ล้านตันในปี..
แมลงอุตสาหกรรม
แมลงอุตสาหกรรม หมายถึง แมลงที่ในช่วงของการดำเนินชีวิต มีการสร้างผลผลิตซึ่งมนุษย์สามมารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แมลงในกลุ่มนี้ประกอบด้วยแมลงหลายชนิดด้วยกัน เช่น ไหม ผึ้ง แมลงครั่ง รวมทั้งแมลงที่ถูกนำมาเป็นอาหารด้ว.
แม่น้ำแอพะแลชิโคลา
แม่น้ำแอพะแลชิโคลา (สีน้ำเงิน) แม่น้ำแอพะแลชิโคลาใกล้กับฟอร์ตแกดสเดนในรัฐฟลอริดา แม่น้ำแอพะแลชิโคลา (Apalachicola River) เป็นแม่น้ำสายหนึ่งในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ความยาวประมาณ 112 ไมล์ (180 กิโลเมตร) ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโก ลุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อลุ่มน้ำเอซีเอฟ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 19,500 ตารางไมล์ (50,505 ตารางกิโลเมตร) ระยะทางของต้นน้ำไกลที่สุดอยู่ในรัฐจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือยาวประมาณ 500 ไมล์ (800 กิโลเมตร) ชื่อของแม่น้ำมาจากเผ่าแอพะแลชิโคลาซึ่งอาศัยอยู่ตามลุ่มน้ำแห่งนี้ แม่น้ำแอพะแลชิโคลารวมตัวจากแม่น้ำสองสายได้แก่ แม่น้ำแชตตะฮูชี และแม่น้ำฟลินต์ ไหลมาบรรจบกันที่ทะเลสาบเซมิโนลซึ่งเกิดจากการเก็บกักน้ำของเขื่อนจิม วูดรัฟฟ์ เป็นจุดเริ่มต้นแบ่งพรมแดนระหว่างรัฐฟลอริดากับรัฐจอร์เจีย ใกล้กับเมืองแชตตะฮูชีตั้งอยู่ที่ประมาณ 60 ไมล์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพานามาซิตี แม่น้ำแอพะแลชิโคลาไหลลงทางใต้ผ่านป่าในฟลอริดาแพนแฮนเดิล ผ่านเมืองบริสทอล บริเวณตอนเหนือของเทศมณฑลกัลฟ์มีแม่น้ำชิโพลาสายสั้น ๆ เข้ามาบรรจบจากด้านตะวันตก ปลายน้ำอยู่ที่อ่าวแอพะแลชิโคลาซึ่งเป็นเวิ้งน้ำแห่งหนึ่งของอ่าวเม็กซิโก แม่น้ำสายนี้เป็นเส้นแบ่งระหว่างเขตเวลาตะวันออกกับเขตเวลากลางของสหรัฐอเมริกายกเว้นบริเวณปากแม่น้ำ บริเวณแม่น้ำแอพะแลชิโคลาเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงเรื่องน้ำผึ้งดอกไม้ชนิดเดียว (monofloral honey) คุณภาพสูงจากต้นทูพิโล (tupelo) ที่ขึ้นอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา น้ำผึ้งชนิดบริสุทธิ์ที่สุด (ที่ได้รับรองโดยการวิเคราะห์เกสร) และแพงที่สุดผลิตจากบริเวณลุ่มน้ำแห่งนี้ น้ำผึ้งทูพิโลในปีที่ได้ผลผลิตดีโดยกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งที่เชี่ยวชาญมีมูลค่าสูงถึง 900,000 ดอลลาร์สหรัฐในฤดูใบไม้ผลิแต่ละครั้ง.
ดู น้ำผึ้งและแม่น้ำแอพะแลชิโคลา
โรคหวัด
อหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน (Acute nasopharyngitis) เรียกโดยทั่วไปว่า โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (Common cold) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนที่กระทบต่อจมูกเป็นหลัก อาการของโรคมีทั้งไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้ซึ่งมักหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่บางอาการอาจอยู่ได้นานถึงสามสัปดาห์ ไวรัสกว่า 200 ชนิดเป็นสาเหตุของโรคหวัด โดยไรโนไวรัสเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจำแนกได้หลวม ๆ ตามบริเวณที่ได้รับผลจากไวรัส โดยโรคหวัดกระทบต่อจมูก คอหอย (คอหอยอักเสบ) และโพรงจมูก (โพรงจมูกอักเสบ) เป็นหลัก ส่วนใหญ่อาการเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อมากกว่าการทำลายเนื้อเยื่อจากไวรัสเอง การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันหลัก และหลักฐานบางชิ้นสนับสนุนประสิทธิภาพของการสวมหน้ากากอนามัย โรคหวัดไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ แต่สามารถรักษาอาการได้ โรคหวัดเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในมนุษย์ และอยู่คู่กับมนุษยชาติมาแต่โบราณ ผู้ใหญ่ติดโรคหวัดโดยเฉลี่ยสองถึงสามครั้งต่อปี ขณะที่เด็กโดยเฉลี่ยติดโรคหวัดระหว่างหกถึงสิบสองครั้งต่อปี.
ไวน์ร้อน
วน์ร้อน (Mulled Wine, Glühwein) เป็นไวน์ที่ปรุงอีกแบบหนึ่ง ปัจจุบันนิยมดื่มในฤดูหนาว ไวน์เป็นเครื่องดื่มประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลก แต่เนื่องจากมีอายุในการจัดเก็บที่จำกัด หากเก็บรักษาไม่ดีจะไม่สามารถดื่มได้อีก การทำไวน์ร้อนเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ไวน์ที่เสื่อมคุณภาพกลับมาดื่มได้อีกครั้ง โดยทั่วไปแล้วไวน์ร้อนมักหมายถึงไวน์ที่ถูกอุ่นโดยการต้ม แต่งรสด้วยน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง และปรุงกลิ่นด้วยอ.
ไอศกรีม
อศกรีมแบล็กวอลนัต ไอศกรีม (ice cream) หรือภาษาปากว่า ไอติม เป็นของหวานแช่แข็งชนิดหนึ่ง ได้จากการผสมส่วนผสม นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิ โดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีม ไอศกรีมตักโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขายหรือรับประทาน ไอศกรีม (อ่านว่า ไอ-สะ-กฺรีม) มาจากคำภาษาอังกฤษว่า ice-cream พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้เขียนเป็นภาษาไทยว่า ไอศกรีม ซึ่งเป็นคำที่เขียนกันมาแต่เดิม.
เบเกิล
กิลกับครีมชีส และ ปลาแซลมอนรมควัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของครัวอเมริกัน-ยิว เบเกิล (bagel, beigel) กำเนิดในประเทศโปแลนด์ มีลักษณะเป็นรูปวงแหวน ทำจากแป้งสาลี ขนาดประมาณ 1 กำมือ นำไปต้มในน้ำเดือดสักพักหนึ่ง แล้วนำไปอบต่อ จะได้เนื้อภายในที่แน่นและนิ่ม กับเนื้อภายนอกสีอมน้ำตาล มักโรยหน้าด้วยงาดำ บ้างอาจโรยเกลือบนเบเกิล ทั้งยังมีแป้งประเภทต่าง ๆ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ เช่น ข้าวไรย์ หรือแป้งจากธัญพืชไม่ขัดสีEncyclopædia Britannica (2009), retrieved February 24, 2009 from Encyclopædia Britannica Online เบเกิลเป็นที่นิยมในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในเมืองที่มีประชากรชาวยิวอาศัยจำนวนมาก วิธีการทำเบเกิลนั้นมีหลากหลาย เช่น เบเกิลที่ทำในเบเกอรี หรือเบเกิลประเภทแช่แข็งที่หาซื้อได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศเหล่านั้น เบเกิลชนิดที่เป็นวงกลมและมีรูตรงกลางออกแบบมาเมื่อหลายร้อยปีก่อน ซึ่งมีข้อดีหลาย ๆ อย่าง นอกจากการอบ ยังสามารถหยิบจับง่ายและยังเป็นจุดเด่นทำให้น่าสนใจอีกด้ว.
เหงือกปลาหมอ
หงือกปลาหมอ (Sea holly; ชื่อวิทยาศาสตร์ Acanthus ebracteatus; ชื่อท้องถิ่น: แก้มหมอ, แก้มหมอเล, จะเกร็ง, นางเกร็ง, อีเกร็ง, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน) เป็นพรรณไม้ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งแม่น้ำลำคลอง อยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกเหนือปากคลองมหาวงษ์และโรงเรียนนายเรือ ประโยชน์ของเหงือกปลาหมอนั้น เป็นสมุนไพรใกล้ตัวหรืออาจจะเรียกว่าสมุนไพรชายน้ำ/สมุนไพรชายเลนก็ได้ ช่วยรักษาโรคได้มากมายหลายชน.
เดวิด ลิฟวิงสโตน
วิด ลิฟวิงสโตน ดร.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ 🍯