สารบัญ
กระจกเงา
กระจกเงาสะท้อนภาพของแจกัน กระจกเงา เป็นวัตถุที่มีความสามารถในการสะท้อนดีจนสามารถเห็นภาพสะท้อนของวัตถุได้ชัดเจน สาเหตุที่เราสามารถเห็นภาพในกระจกเงาได้ เนื่องจากแสงจากวัตถุไปตกกระทบกับกระจก แล้วสะท้อนกลับมาเข้าตา กระจกเงาที่เห็นทั่วไปมักมีผิวที่เรียบแบนเสมอกัน สามารถสะท้อนภาพจากวัตถุได้เท่ากันหมด ภาพที่เกิดขึ้นจึงเป็นภาพเสมือนคู่แฝดกับวัตถุนั้นๆ แต่ถ้าพื้นผิวของกระจกมีลักษณะไม่เรียบแบนระนาบ การสะท้อนของแสงจะไม่เสมอกันและภาพที่เกิดขึ้นก็จะมีลักษณะผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงไปด้วย กระจกที่มีลักษณะเว้า ภาพที่ปรากฏจะมีลักษณะใหญ่กว่าวัตถุจริง เนื่องจากลำแสงที่สะท้อนออกมามีลักษณะเบนเข้า ทำให้ภาพที่เห็นใหญ่ขึ้น เช่นกระจกส่องหน้าเวลาโกนหนวดในห้องน้ำที่ส่องแล้ว จะเห็นสัดส่วนของใบหน้าใหญ่กว่าปกติ ส่วนกระจกที่มีลักษณะนูน ภาพที่ปรากฏจะมีลักษณะที่กว้างกว่าปกติ และวัตถุมีขนาดเล็กลง เนื่องจากลำแสงที่สะท้อนออกมามีลักษณะถ่างออก ทำให้ภาพที่เห็นดูเล็กลง เช่น กระจกสำหรับช่วยมองในรถยนต์หรือกระจกโค้งที่ติดตามมุมทางแยก หรือทางโค้ง.
ภาษาฮีบรู
ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..
อักษรฟินิเชีย
ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู.
อักษรอยามี
อักษรอยามี (Ajami: عجمي)หรืออยามิยะห์ (عجمية), เป็นชื่อของอักษรชนิดหนึ่งโดยมีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับหมายถึงต่างชาติ เป็นการนำอักษรอาหรับมาใช้เขียนภาษาในกลุ่มภาษาแอฟริกา โดยเฉพาะภาษาฮัวซาและภาษาสวาฮิลี ภาษากลุ่มแอฟริกามีระบบสัทวิทยาต่างจากภาษาอาหรับทำให้มีการปรับอักษรอาหรับเพื่อแสดงเสียงเหล่านั้น ด้วยระบบที่ต่างไปจากอักษรอาหรับที่ใช้ในกลุ่มที่ไม่ได้พูดภาษาอาหรับในตะวันออกกลาง ภาษาฮัวซาในแอฟริกาตะวันตกเป็นตัวอย่างของภาษาที่ใช้อักษรอยามี โดยเฉพาะในช่วงก่อนเป็นอาณานิคม เมื่อมีโรงเรียนสอนอัลกุรอ่านให้แก่เยาวชนมุสลิม และได้สอนอักษรอยามีด้วย เมื่อเจ้าอาณานิคมตะวันตกได้พัฒนาระบบการเขียนภาษาฮัวซาด้วยอักษระลตินหรือโบโก การใช้อักษรอยามีได้ลดลง และปัจจุบันใช้น้อยกว่าอักษรละติน แต่ยังใช้อยู่มากในงานทางด้านศาสนาอิสลาม การใช้อักษรอยามีกับภาษาอื่นในประเทศมุสลิมพบได้ทั่วไป.
อักษรอาหรับ
อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.
อักษรฮีบรู
อรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เขียนโดย Elijah Levita อักษรฮีบรูเป็นอักษรตระกูลเซมิติกไร้สระชนิดหนึ่ง ใช้ในการเขียนงานในภาษาฮีบรู ในยุคแรกๆอักษรฮีบรูโบราณพัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย อักษรฮีบรูรุ่นใหม่พัฒนามาจากอักษรอราเมอิกรุ่นแรกๆ จารึกภาษาฮีบรูพบครั้งแรกเมื่อ 557 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้เขียนจากขวาไปซ้ายในแนวนอน ตัวอักษรบางตัว เช่น กาฟ, เมม, นุน, ฟี และซาดดี มีรูปท้ายคำ ซึ่งจะพบในตำแหน่งสุดท้ายของคำเท่านั้น ไม่มีตัวเลข ใช้เลขอารบิกแทน สระเสียงยาวกำหนดโดยตัว อะเลฟ, วาว และโยด/ยุด ไม่แสดงสระเสียงสั้นยกเว้นในไบเบิล กวีนิพนธ์และหนังสือสำหรับเด็กและชาวต่างชาต.
ตัวเลขอับญัด
ตัวเลขอับญัด เป็นระบบเลขที่มีอักษรอาหรับอยู่ 28 ตัว ระบบเลขนี้ถูกใช้ไปแพร่หลายก่อนที่จะประดิษฐ์ตัวเลขอารบิกในช่วงศตวรรษที่ 8 .
หรือที่รู้จักกันในชื่อ ن