โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิวตัน (หน่วย)

ดัชนี นิวตัน (หน่วย)

นิวตัน (สัญลักษณ์: N) ในวิชาฟิสิกส์ เป็นหน่วยเอสไอของแรง ชื่อของหน่วยนี้ตั้งขึ้นตามชื่อของเซอร์ไอแซก นิวตัน เพื่อระลึกถึงผลงานของเขาในสาขาฟิสิกส์แบบฉบับ หน่วยนี้มีการใช้เป็นครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจาก General Conference on Weights and Measures (CGPM) ให้เป็นชื่อหน่วยเอ็มเคเอสของแรงจนกระทั้วปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) แรง 1 นิวตัน คือแรงที่ทำให้วัตถุมวล 1 กิโลกรัมเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง 1 เมตร / วินาที2 ในทิศของแรงนั้น  นิวตันเป็นหน่วยเอสไออนุพันธ์ ซึ่งประกอบขึ้นจากหน่วยเอสไอหลัก kg × m × s-2 ดังนั้นจะได้: \mathrm.

40 ความสัมพันธ์: บาร์ (หน่วยวัด)พลศาสตร์ของไหลกฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตันการปฏิวัติวิทยาศาสตร์มอดุลัสของยังมิตซูบิชิ เอฟ-15เจรายชื่อหน่วยทางวิทยาศาสตร์ที่ตั้งตามชื่อบุคคลรูปหลายเหลี่ยมลิ่มวัตต์สนามแม่เหล็กสนามไฟฟ้าหน่วยฐานเอสไอหน่วยอนุพันธ์เอสไออัตราเร็วของเสียงอูร์แบ็ง เลอ แวรีเยอ็องรี ปวงกาเรจอห์น คูช แอดัมส์จูลที-50 โกลเดนอีเกิลดายน์คลื่นสึนามิความดันคณิตวิเคราะห์งาน (ฟิสิกส์)ซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3ปลาปิรันยาดำปาสกาล (หน่วยวัด)น้ำหนักแฟรนเซียมแมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11แรงแรงลอเรนซ์แรงเคลื่อนไฟฟ้าแอมแปร์แคลคูลัสโมเมนตัมโทมัส ยังMegapiranhaN

บาร์ (หน่วยวัด)

ร์ (bar) คือหน่วยวัดความดัน ถึงไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) ก็ได้ยอมรับการใช้งานกับหน่วยเอสไออื่น ๆ หน่วยบาร์เป็นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการอธิบายความดัน เพราะว่ามีค่าเหมือนกันกับความดันบรรยากาศ สามารถใช้หน่วยนี้ได้อย่างถูกกฎหมายในกลุ่มสหภาพยุโรป British Standard BS 350:2004 Conversion Factors for Units.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และบาร์ (หน่วยวัด) · ดูเพิ่มเติม »

พลศาสตร์ของไหล

ลศาสตร์ของไหล(Fluid dynamics) เป็นสาขาวิชาการย่อยของกลศาสตร์ของไหล ที่ศึกษาการเคลื่อนที่ของของไหล ซึ่งหมายรวมถึงของเหลวและแก๊ส โดยพลศาสตร์ของไหลยังแบ่งแยกย่อยออกเป็นหลายสาขาวิชา เช่น อากาศพลศาสตร์ ที่ศึกษาการเคลื่อนที่ของอากาศ และพลศาสตร์ของเหลวที่ศึกษาการเคลื่อนที่ของของเหลว เราใช้พลศาสตร์ของไหลในหลายวิธี เช่นในการคำนวณแรงและโมเมนต์บนอากาศยาน ในการหาอัตราการไหลของมวลของปิโตรเลียมผ่านท่อ คาดคะเนแบบรูปของสภาพอากาศ ทำความเข้าใจเนบิวลาและสสารระหว่างดาว ตลอดจนงานคอมพิวเตอร์กราฟิก.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และพลศาสตร์ของไหล · ดูเพิ่มเติม »

กฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน

ref.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และกฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์เป็นการกำเนิดของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ระหว่างสมัยใหม่ตอนต้น เมื่อพัฒนาการในวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ชีววิทยา (รวมกายวิภาคศาสตร์มนุษย์) และเคมีเปลี่ยนมุมมองของสังคมและธรรมชาติ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์เริ่มต้นในทวีปยุโรปในช่วงปลายสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและต่อเนื่องตลอดปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีอิทธิพลต่อขบวนการสังคมปัญญาชื่อ ยุคเรืองปัญญา แม้วันที่ยังพิพาทอยู่ แต่มักอ้างการตีพิมพ์ ว่าด้วยการปฏิวัติทรงกลมสวรรค์ (De revolutionibus orbium coelestium, On the Revolutions of the Heavenly Spheres) ของนิโคลัส โคเปอร์นิคัสเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ และการสิ้นสุดถือว่าเป็น "การสังเคราะห์ใหญ่" ของปรินซิเปีย ใน..

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มอดุลัสของยัง

น้อย มอดุลัสของยัง (Young's modulus) หรือ โมดูลัสยืดหยุ่น (modulus of elasticity หรือ elastic modulus) เป็นค่าบอกระดับความแข็งเกร็ง (en:stiffness) ของวัสดุ ค่ามอดุลัสของยังหาจาก ค่าลิมิตของอัตราการเปลี่ยนแปลงของ ความเค้น (stress) ต่อ ความเครียด (strain) ที่ค่าความเค้นน้อย สามารถหาจากความชัน ของกราฟความสัมพันธ์ ความเค้น-ความเครียด (en:stress-strain curve) ที่ได้จากการทดลองดึง (en:tensile test) ค่ามอดุลัสของยัง ตั้งชื่อตาม ชาวอังกฤษ โทมัส ยัง ซึ่งเป็นทั้งนักฟิสิกส์ แพทย์ แพทย์นรีเวช และผู้ที่ศึกษาวิชาเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวัตถุโบราณของอียิปต.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และมอดุลัสของยัง · ดูเพิ่มเติม »

มิตซูบิชิ เอฟ-15เจ

มิตซูบิชิ เอฟ-15เจ/ดีเจ อีเกิล (Mitsubishi F-15J/DJ Eagle) เป็นเครื่องบินขับไล่สองเครื่องยนต์ของญี่ปุ่น พัฒนาโดยมีฐานมาจาก แมคดอนเนลล์ดักลาส เอฟ-15 อีเกิลของสหรัฐอเมริกา ผลิตขึ้นภายใต้สิทธิโดยมิตซูบิชิ เฮวี่ อินดัสทรีย์ส ประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และมิตซูบิชิ เอฟ-15เจ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อหน่วยทางวิทยาศาสตร์ที่ตั้งตามชื่อบุคคล

ทความนี้เกี่ยวกับหน่วยทางวิทยาศาสตร์ที่ตั้งชื่อตามบุคคล โดยในภาษาอังกฤษ ชื่อหน่วยเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด และตัวย่อเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และรายชื่อหน่วยทางวิทยาศาสตร์ที่ตั้งตามชื่อบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

รูปหลายเหลี่ยม

ในทางเรขาคณิต รูปหลายเหลี่ยม (อังกฤษ: polygon) ตามความหมายดั้งเดิม หมายถึงรูปร่างอย่างหนึ่งที่เป็นรูปปิดหรือรูปครบวงจรบนระนาบ ซึ่งประกอบขึ้นจากลำดับของส่วนของเส้นตรงที่มีจำนวนจำกัด ส่วนของเส้นตรงเหล่านั้นเรียกว่า ขอบ หรือ ด้าน และจุดที่ขอบสองข้างบรรจบกันเรียกว่า จุดยอด หรือ เหลี่ยม (corner) ภายในรูปหลายเหลี่ยมบางครั้งก็เรียกว่า เนื้อที่ (body) รูปหลายเหลี่ยมเป็นวัตถุในสองมิติ ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของพอลิโทป (polytope) ที่อยู่ใน n มิติ ด้านสองด้านที่บรรจบกันเป็นเหลี่ยม เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเกิดมุมที่ไม่เป็นมุมตรง (180°) ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ส่วนของเส้นตรงทั้งสองจะถูกพิจารณาว่าเป็นด้านเดียวกัน ความคิดทางเรขาคณิตพื้นฐานได้ถูกดัดแปลงไปในหลากหลายทาง เพื่อที่จะทำให้เข้ากับจุดประสงค์เฉพาะ ตัวอย่างเช่นในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ คำว่า รูปหลายเหลี่ยม ถูกนำไปใช้และมีการเปลี่ยนแปลงความหมายไปโดยเล็กน้อย ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการบันทึกและจัดการรูปร่างภายในคอมพิวเตอร์มากขึ้น รูปหลายเหลี่ยม หลายชน.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และรูปหลายเหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

ลิ่ม

ลิ่ม ลิ่ม เป็นเครื่องมือกลพื้นฐาน ซึ่งโดยหลักการคือการใช้พื้นเอียงในการแยกของสองสิ่งออกจากกัน การให้แรงในแนวตั้งฉากกับส่วนหัว จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแรงตั้งฉากไปเป็นแรงในแนวตั้งฉากกับพื้นเอียง จะทำให้เกิดการได้เปรียบเชิงกล ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของความยาวและความกว้างของตัวลิ่ม โดย ถ้าลิ่มมีความกว้างมาก จะต้องใช้แรงมากกว่า ลิ่มที่มีความกว้างน้อยกว่า ตัวอย่างของการใช่ลิ่ม เช่น ขวาน ตะปู มีด สิ่ว เป็นต้น.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และลิ่ม · ดูเพิ่มเติม »

วัตต์

วัตต์ (watt, สัญลักษณ์ W) เป็นหน่วยเอสไอของกำลังตั้งชื่อตาม เจมส์ วัตต์ ตัวอย่างพลังงานในหน่วยวัตต์ เช่น หลอดไฟที่ใช้ตามบ้านใช้ 100 วัตต์ ขณะที่ เขื่อนฮูเวอร์ผลิตสองพันล้านวัตต์ 1 วัตต์ มีค่าเท่ากับ 1 จูล ของ พลังงาน ต่อ วินาที วัตต์ (watt หรือ W)คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เป็นตัวบอกพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดที่ใช้ในการทำงาน เช่น หลอดไฟ 100 วัตต์ หมายความว่า หลอดไฟกินไฟ 100 จูลต่อวินาที.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และวัตต์ · ดูเพิ่มเติม »

สนามแม่เหล็ก

กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเส้นลวดทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (M) รอบๆ บริเวณเส้นลวด ทิศทางของสนามแม่เล็กที่เกิดขึ้นนี้เป็นไปตามกฎมือขวา กฎมือขวา Hans Christian Ørsted, ''Der Geist in der Natur'', 1854 สนามแม่เหล็ก นั้นอาจเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า หรือในทางกลศาสตร์ควอนตัมนั้น การสปิน(การหมุนรอบตัวเอง) ของอนุภาคต่างๆ ก็ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเช่นกัน ซึ่งสนามแม่เหล็กที่เกิดจากการ สปิน เป็นที่มาของสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวรต่างๆ สนามแม่เหล็กคือปริมาณที่บ่งบอกแรงกระทำบนประจุที่กำลังเคลื่อนที่ สนามแม่เหล็กเป็นสนามเวกเตอร์และทิศของสนามแม่เหล็ก ณ ตำแหน่งใดๆ คือทิศที่เข็มของเข็มทิศวางตัวอย่างสมดุล เรามักจะเขียนแทนสนามแม่เหล็กด้วยสัญลักษณ์ \mathbf\ เดิมทีแล้ว สัญลักษณ์ \mathbf \ นั้นถูกเรียกว่าความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กหรือความเหนี่ยวนำแม่เหล็ก ในขณะที่ \mathbf.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และสนามแม่เหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

สนามไฟฟ้า

นามไฟฟ้า (electric field) คือปริมาณซึ่งใช้บรรยายการที่ประจุไฟฟ้าทำให้เกิดแรงกระทำกับอนุภาคมีประจุภายในบริเวณโดยรอบ หน่วยของสนามไฟฟ้าคือ นิวตันต่อคูลอมบ์ หรือโวลต์ต่อเมตร (มีค่าเท่ากัน) สนามไฟฟ้านั้นประกอบขึ้นจากโฟตอนและมีพลังงานไฟฟ้าเก็บอยู่ ซึ่งขนาดของความหนาแน่นของพลังงานขึ้นกับกำลังสองของความหนานแน่นของสนาม ในกรณีของไฟฟ้าสถิต สนามไฟฟ้าประกอบขึ้นจากการแลกเปลี่ยนโฟตอนเสมือนระหว่างอนุภาคมีประจุ ส่วนในกรณีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้น สนามไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสนามแม่เหล็ก โดยมีการไหลของพลังงานจริง และประกอบขึ้นจากโฟตอนจริง.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และสนามไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยฐานเอสไอ

การขึ้นต่อการของนิยามในหน่วยฐานเอสไอทั้งเจ็ด หน่วยฐานเอสไอ เป็นหน่วยที่ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศกำหนดไว้เป็นพื้นฐาน โดยหน่วย เอสไออื่นๆที่เรียกว่าหน่วยอนุพันธ์เอสไอ จะเกิดจากการนำหน่วยฐานเอสไอมาประกอบกันทั้งหมด หน่วยฐานเอสไอมีทั้งหมด 7 หน่วยได้แก.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และหน่วยฐานเอสไอ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยอนุพันธ์เอสไอ

หน่วยอนุพันธ์เอสไอ คือหน่วยที่เกิดจากการรวมกันของหน่วยฐานเอสไอโดยการคูณหรือหาร เพื่อใช้ในเรื่องการวัดและการแสดงปริมาณต่างๆ ซึ่งหน่วยอนุพันธ์สามารถมีได้มากมายไม่จำกัด เนื่องจากปริมาณต่างๆในโลกนี้ที่คนเราอยากรู้ก็ไม่สามารถจำกัดได้ เพียงแต่เลือกหน่วยพื้นฐานมาประกอบเข้าด้วยกันให้ถูกต้อง.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และหน่วยอนุพันธ์เอสไอ · ดูเพิ่มเติม »

อัตราเร็วของเสียง

อัตราเร็วของเสียง คือ ระยะทางที่เสียงเดินทางไปในตัวกลางใดๆ ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา โดยทั่วไปเสียงเดินทางในอากาศที่มีอุณหภูมิ 25°C (.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และอัตราเร็วของเสียง · ดูเพิ่มเติม »

อูร์แบ็ง เลอ แวรีเย

อูร์แบ็ง เลอ แวรีเย อูร์แบ็ง ฌ็อง โฌแซ็ฟ เลอ แวรีเย (Urbain Jean Joseph Le Verrier, 11 มีนาคม พ.ศ. 2354 - 23 กันยายน พ.ศ. 2366) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสตร์เทห์ฟ้า (Celestial mechanics) ทำงานประจำหอดูดาวปารีสตลอดชีวิต.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และอูร์แบ็ง เลอ แวรีเย · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี ปวงกาเร

อ็องรี ปวงกาเร ฌูล อ็องรี ปวงกาเร (Jules Henri Poincaré) เกิด 29 เมษายน ค.ศ. 1854 เสียชีวิต 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1912 เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่ดีสุดของฝรั่งเศส ในหนังสือประวัตินักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังของอิริค เทมเพิล เบลล์ได้ให้เกียรติปวงกาเรว่าเป็น นักคณิตศาสตร์คนสุดท้ายผู้ล่วงรู้ครอบจักรวาล (universalist) เนื่องจากปวงกาเรเดินตามรอยของนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต เช่น เกาส์, ออยเลอร์ หรือนิวตัน ที่มีผลงานและรอบรู้ในแทบทุกสาขาของคณิตศาสตร์ (หลังจากยุคปวงกาเรก็ไม่ปรากฏนักคณิตศาสตร์คนได้รอบรู้ในแง่ลึกของทุกสาขาอีก ทั้งนี้เนื่องจากสาขาของคณิตศาสตร์นั้นเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลในปัจจุบัน โดยตัวปวงกาเรเองก็เป็นผู้ที่ก่อตั้งสาขาย่อยของคณิตศาสตร์ใหม่อีกหลายสาขา) สาขาวิชาการที่ปวงกาเรได้อุทิศผลงานและมีผลกระทบสำคัญต่อวงการมากที่สุดได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ และ กลศาสตร์ท้องฟ้า โดยผลงานที่โด่งดังของปวงกาเรมีมากมายเช่น.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และอ็องรี ปวงกาเร · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น คูช แอดัมส์

John Couch Adams จอห์น คูช แอดัมส์ (John Couch Adams - 5 มิถุนายน พ.ศ. 2356 - 21 มกราคม พ.ศ. 2435) นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ทำนายตำแหน่งดาวเนปจูนด้วยการคำนวณทางคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และจอห์น คูช แอดัมส์ · ดูเพิ่มเติม »

จูล

ูล (joule; สัญลักษณ์ J) เป็นหน่วยเอสไอ ของ พลังงาน, หรือ งาน ใช้ชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่นักฟิสิกส์ที่ชื่อ เจมส์ เพรสคอตต์ จูล (James Prescott Joule-พ.ศ. 2361–2432).

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และจูล · ดูเพิ่มเติม »

ที-50 โกลเดนอีเกิล

ที-50 โกลเดนอีเกิล (T-50 Golden Eagle) เป็นตระกูลอากาศยานฝึกหัดความเร็วเหนือเสียง และเป็นอากาศยานโจมตีเบาของเกาหลีใต้ พัฒนาโดยบริษัทอุตสาหกรรมอวกาศเกาหลี (KAI) ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน ของสหรัฐอเมริกา เครื่องบิน ที-50 ถือว่าเป็นเครื่องบินเหนือเสียงลำแรกของเกาหลีใต้ นอกจากนี้ ยังจัดว่าเป็นหนึ่งในเครื่องบินฝึกหัดไม่กี่รุ่นในโลกที่มีความเร็วเหนือเสียง.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และที-50 โกลเดนอีเกิล · ดูเพิ่มเติม »

ดายน์

น์ (Dyne; สัญลักษณ์ "dyn"; IPA) ในทางฟิสิกส์คือ หน่วยของแรง สำหรับใช้ในระบบการวัดแบบเซนติเมตร-กรัม-วินาที (CGS) ซึ่งเป็นระบบการวัดสำหรับมาตราเมตริก โดยกำหนดให้ 1 ดายน์มีค่าเท่ากับ 10 ไมโครนิวตัน (μN) หรือ 10−5 นิวตัน (.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และดายน์ · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นสึนามิ

แสดงคลื่นสึนามิพัดขึ้นฝั่ง คลื่นสึนามิ เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่นๆ (รวมทั้งการจุดวัตถุระเบิดหรือวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น คลื่นสึนามิไม่เหมือนกับคลื่นทะเล(tidal wave)ตามปกติ เพราะมีความยาวคลื่นยาวกว่ามาก แทนที่จะเป็นคลื่นหัวแตก (breaking wave) ตามปกติ คลื่นสึนามิเริ่มแรกอาจดูเหมือนกับว่าคลื่นน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุนี้ คลื่นสึนามิจึงมักเรียกว่าเป็นคลื่นยักษ์ โดยทั่วไป คลื่นสึนามิประกอบด้วยกลุ่มคลื่นซึ่งมีคาบเป็นนาทีหรืออาจมากถึงชั่วโมง มากันเรียกว่าเป็น "คลื่นขบวน" (wave train) ความสูงของคลื่นหลายสิบเมตรนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ขนาดใหญ่ แม้ผลกระทบของคลื่นสึนามินั้นจะจำกัดอยู่แค่พื้นที่ชายฝั่ง แต่อำนาจทำลายล้างของมันสามารถมีได้ใหญ่หลวงและสามารถมีผลกระทบต่อทั้งแอ่งมหาสมุทร คลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ธูซิดดิดีส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เสนอเมื่อ 426 ปีก่อนคริสตกาล ว่า คลื่นสึนามิเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวใต้ทะเลThucydides: แต่ความเข้าใจในธรรมชาติของคลื่นสึนามิยังมีเพียงเล็กน้อยกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 และยังมีอีกมากที่ยังไม่ทราบในปัจจุบัน ขณะที่แผ่นดินไหวที่รุนแรงน้อยกว่ามากกลับก่อให้เกิดคลื่น พยายามพยากรณ์เส้นทางของคลื่นสึนามิข้ามมหาสมุทรอย่างแม่นยำ และยังพยากรณ์ว่าคลื่นสึนามิจะมีปฏิสัมพันธ์กับชายฝั่งแห่งหนึ่ง ๆ อย่างไร.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และคลื่นสึนามิ · ดูเพิ่มเติม »

ความดัน

วามดัน คือ แรงที่กระทำตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ภาพจำลอง–ความดันที่เกิดขึ้นจากการชนของอนุภาคในภาชนะปิด ความดันที่ระดับต่าง ๆ (หน่วยเป็น บาร์) ความดัน (pressure; สัญลักษณ์ p หรือ P) เป็นปริมาณชนิดหนึ่งในทางฟิสิกส์ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างแรงที่กระทำตั้งฉากซึ่งทำโดยของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ต่อพื้นที่ของสารใด ๆ (ของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส) ความดันเป็นปริมาณสเกลาร์ ซึ่งเป็นปริมาณที่มีแต่ขนาดไม่มีทิศทาง จากความหมายของความดันข้างต้นสามารถเขียนเป็นสูตรคณิตศาสตร์ (โดยทั่วไป) ได้ดังนี้ กำหนดให้ เนื่องจาก F มีหน่วยเป็น "นิวตัน" (N) และ A มีหน่วยเป็น "ตารางเมตร" (m2) ความดันจึงมีหน่วยเป็น "นิวตันต่อตารางเมตร" (N/m2; เขียนในรูปหน่วยฐานว่า kg·m−1·s−2) ในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) มีการคิดค้นหน่วยของความดันขึ้นใหม่ เรียกว่า ปาสกาล (pascal, Pa) และกำหนดให้หน่วยชนิดนี้เป็นหน่วยเอสไอสำหรับความดัน โดยให้ 1 ปาสกาลมีค่าเท่ากับ 1 นิวตันต่อตารางเมตร (หรือ แรง 1 นิวตัน กระทำตั้งฉากกับพื้นที่ขนาด 1 ตารางเมตร) เพื่อให้เห็นภาพ ความดัน 1 ปาสกาลจะมีค่าประมาณ แรงกดของธนบัตรหนึ่งดอลลาร์ที่วางอยู่เฉย ๆ บนโต๊ะราบ ซึ่งนับว่าเป็นขนาดที่เล็กมาก ดังนั้นในชีวิตประจำวัน ความดันทั้งหลายมักมีค่าตั้งแต่ "กิโลปาสกาล" (kPa) ขึ้นไป โดยที่ 1 kPa.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และความดัน · ดูเพิ่มเติม »

คณิตวิเคราะห์

ณิตวิเคราะห์ (mathematical analysis) เป็นสาขาหนึ่งในวิชาคณิตศาสตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับอนุพันธ์, ปริพันธ์และทฤษฎีเมเชอร์, ลิมิต, อนุกรมเลข, และฟังก์ชันวิเคราะห์ โดยส่วนมากจะศึกษาในบริบทของจำนวนจริงและจำนวนเชิงซ้อนไปจนถึงฟังก์ชัน คณิตวิเคราะห์พัฒนามาจากแคลคูลัสที่มีการวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานรวมอยู่ด้วย คณิตวิเคราะห์ไม่ใช่เรขาคณิตแต่ทั้งนี้สามารถใช้ในการวิเคราะห์ปริภูมิของวัตถุทางคณิตศาสตร์ที่มีความใกล้หรือระยะห่างที่จำเพาะระหว่างวัตถุได้.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และคณิตวิเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

งาน (ฟิสิกส์)

งาน หรือ งานเชิงกล ในทางฟิสิกส์ คือปริมาณของพลังงานซึ่งถูกส่งมาจากแรงที่กระทำต่อวัตถุให้เคลื่อนที่ไปได้ระยะทางขนาดหนึ่ง งานเป็นปริมาณสเกลาร์เช่นเดียวกับพลังงาน มีหน่วยเอสไอเป็นจูล คำศัพท์ งาน (work) ที่ใช้อธิบายพลังงานเช่นนี้บัญญัติโดย Gaspard-Gustave Coriolis นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ทฤษฎีบทงาน-พลังงาน กล่าวว่า ถ้ามีแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุคงรูป ซึ่งทำให้พลังงานจลน์ของวัตถุเปลี่ยนจาก Ek1 เป็น Ek2 ดังนั้นงานเชิงกล W หาได้จากสูตรดังนี้ เมื่อ m คือมวลของวัตถุ และ v คือความเร็วของวัตถุ ถ้าแรง F ที่กระทำต่อวัตถุ ส่งผลให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ไปเป็นระยะทาง d และทิศทางของแรงขนานกับการกระจัด งานที่เกิดขึ้นต่อวัตถุนั้นก็สามารถคำนวณได้จากขนาดของแรง F คูณด้วย d Resnick, Robert and Halliday, David (1966), Physics, Section 7-2 (Vol I and II, Combined edition), Wiley International Edition, Library of Congress Catalog Card No.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และงาน (ฟิสิกส์) · ดูเพิ่มเติม »

ซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3

ซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3 (C-17 Globemaster III) เป็นเครื่องบินขนส่งทางทหารขนาดใหญ่ ซี-17 นั้นถูกสร้างให้กับกองทัพอากาศสหรัฐตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2523-2533 โดยแมคดอนเนลล์ ดักลาส เครื่องบินนั้นใช้ชื่อเหมือนกับเครื่องบินสองรุ่นก่อนหน้าที่ใช้โดยกองทัพอากาศสหรัฐเช่นกัน นั่นคือซี-74 โกลบมาสเตอร์และซี-124 โกลบมาสเตอร์ 2 ซี-17 ถูกใช้เพื่อทำการลำเลียงอยู่บ่อยครั้ง ทั้งทหารและสินค้า เพื่อส่งไปยังฐานปฏิบัติการหลักหรือฐานปฏิบัติการในแนวหน้าทั่วโลก มันมีความสามารถในการขนส่งหน่วยรบเข้าสู่สมรภูมิได้อย่างต่อเนื่องพร้อมกับดำเนินการส่งเสบียงต่อไป ซี-17ยังสามารถให้การลำเลียงทางยุทธวิธี อพยพคนเจ็บ และการปล่อยพลร่ม.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปิรันยาดำ

ปลาปิรันยาดำ หรือ ปลาปิรันยาขาว หรือ ปลาปิรันยาตาแดง (Black piranha, White piranha, Redeye piranha) ปลาน้ำจืดกินเนื้อชนิดหนึ่ง จำพวกปลาปิรันยา อยู่ในวงศ์ปลาปิรันยา (Serrasalmidae) ปลาปิรันยาดำ มีลำตัวที่มีลักษณะยาวเรียวกว่าปลาปิรันย่าชนิดอื่น ลำตัวเป็นสีเทาเข้มจนออกสีเขียวมะกอกส่วนลำตัวด้านบนจะสีข้างจะมีจุดสีคล้ำ ๆ จำนวนมาก ได้ชื่อว่าเป็นปลาปิรันยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยโตเต็มที่ยาวได้ถึง 45-55 เซนติเมตร และเป็นไปได้ว่าอาจยาวได้มากกว่านี้ แต่เป็นปลาปิรันยาเมื่อเทียบกับปลาปิรันยาชนิดอื่น เช่น ปลาปิรันยาแดง แล้ว ปลาปิรันยาดำจัดว่ามีความดุร้ายน้อยกว่ามาก โดยเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามลำพังตัวเดียว และมีนิสัยขี้อาย แต่ทว่าเป็นปลาที่มีแรงกัดของกรามเมื่อเทียบกันแล้วแรงที่สุดในโลก โดยมีการวิจัยด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ด้วยการวัดแรงกัดกับเครื่องมือพิเศษ ผลปรากฏว่าพลังกัดของปลาปิรันยาดำทำได้ถึง 320 นิวตัน สูงกว่าขนาดร่างกายถึง 30 เท่า เมื่อเทียบขนาดร่างกายกันแบบปอนด์ต่อปอนด์แล้วมีพลังมากกว่าจระเข้อเมริกันถึง 3 เท่า สาเหตุที่แรงกัดของปลาปิรันยาดำมีมากขนาดนี้ อยู่ที่กล้ามเนื้อกรามอันแข็งแรงและมีขนาดใหญ่ โดยมีพื้นที่ของกล้ามเนื้อส่วนนี้มีมากกว่าร้อยละ 2 ของมวลร่างกายทั้งตัว ทั้งนี้ 1 นิวตันเท่ากับแรงที่ใช้เคลื่อนสิ่งของขนาด 1 กิโลกรัมไปได้ 1 เมตร ใน 1 วินาที ซึ่งแรงกัดของปลาปิรันยาดำนี้เทียบได้กับปลาปิรันยายักษ์ที่มีความยาว 70 เซนติเมตร น้ำหนัก 10 กิโลกรัม ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 5 ล้านปี ปลาปิรันยาดำ กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่หลายสายในทวีปอเมริกาใต้ เช่น อะแมซอน, ปารานา, ยาตา และโอรีโนโก เป็นต้น เป็นปลาปิรันยาอีกชนิดหนึ่งที่มีความอันตราย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และปลาปิรันยาดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปาสกาล (หน่วยวัด)

ปาสคาล หรือ พาสคาล (pascal สัญลักษณ์ Pa) เป็นหน่วยอนุพันธ์เอสไอ ใช้วัดความดัน ความดันภายใน ความเค้น ค่ามอดูลัสของยัง และความทนแรงดึงสูงสุด นิยามค่าเท่ากับหนึ่งนิวตันต่อตารางเมตร ชื่อหน่วยตั้งตามผู้รู้รอบด้านชาวฝรั่งเศส แบลซ ปัสกาล พหุคูณของหน่วยปาสคาลที่พบทั่วไปคือ เฮกโตปาสคาล (1 hPa ≡ 100 Pa) เท่ากับ 1 มิลลิบาร์ กิโลปาสคาล (1 kPa ≡ 1000 Pa) เมกะปาสคาล (1 MPa ≡ 1,000,000 Pa) และจิกะปาสคาล (1 GPa ≡ 1,000,000,000 Pa) หน่วยวัดที่เป็นบรรยากาศมาตรฐาน (atm) นิยามไว้ที่ 101.325 กิโลปาสคาล และประมาณเท่ากับความดันเฉลี่ยที่ระดับน้ำทะเลที่ 45 องศาเหนือ รายงานอุตุนิยมวิทยาหลายรายงานกล่าวถึงความกดอากาศในหน่วยเฮกโตปาสคาล.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และปาสกาล (หน่วยวัด) · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนัก

เครื่องชั่งสปริงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้วัดขนาดของน้ำหนัก ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ น้ำหนัก หมายถึงแรงบนวัตถุอันเนื่องมาจากความโน้มถ่วง ขนาดของน้ำหนักในปริมาณสเกลาร์ มักเขียนแทนด้วย W แบบตัวเอน คือผลคูณของมวลของวัตถุ m กับขนาดของความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง g นั่นคือ ถ้าหากพิจารณาน้ำหนักว่าเป็นเวกเตอร์ จะเขียนแทนด้วย W แบบตัวหนา หน่วยวัดของน้ำหนักใช้อย่างเดียวกันกับหน่วยวัดของแรง ซึ่งหน่วยเอสไอก็คือนิวตัน ยกตัวอย่าง วัตถุหนึ่งมีมวลเท่ากับ 1 กิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 9.8 นิวตันบนพื้นผิวโลก มีน้ำหนักประมาณหนึ่งในหกเท่าบนพื้นผิวดวงจันทร์ และมีน้ำหนักที่เกือบจะเป็นศูนย์ในห้วงอวกาศที่ไกลออกไปจากเทหวัตถุอันจะส่งผลให้เกิดความโน้มถ่วง ในทางนิติศาสตร์และการพาณิชย์ น้ำหนัก มีความหมายเดียวกันกับมวล The National Standard of Canada, CAN/CSA-Z234.1-89 Canadian Metric Practice Guide, January 1989.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และน้ำหนัก · ดูเพิ่มเติม »

แฟรนเซียม

มาร์เกอริต เปอแร ผู้ค้นพบแฟรนเซียม แฟรนเซียม (Francium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 87 สัญลักษณ์ Fr แฟรนเซียมเคยเป็นที่รู้จักในชื่อ เอคา-ซีเซียม และ แอกทิเนียม Kไอโซโทปที่ไม่เสถียรน้อยที่สุดจริง ๆ คือ แฟรนเซียม-223 มันเป็นหนึ่งในสองธาตุที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่ำที่สุด อีกหนึ่งคือ ซีเซียม แฟรนเซียมเป็นกัมมันตรังสีอย่างสูง สามารถสลายไปเป็นแอสทาทีน เรเดียม และเรดอนได้ ด้วยที่มันเป็นโลหะแอลคาไล มันจึงมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว ยังไม่เคยมีใครเห็นแฟรนเซียมเป็นก้อนในปริมาณมากเลย คุณสมบัติทั่วไปของธาตุอื่น ๆ ในแถวเดียวกัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าแฟรนเซียมเป็นโลหะที่สะท้อนแสงได้สูง ถ้าเก็บแฟรนเซียมมาไว้รวมกันเป็นก้อนหรือของเหลวปริมาณมากพอ การได้สารตัวอย่างดังกล่าวมานั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากความร้อนจากการสลายตัว (ครึ่งชีวิตของไอโซโทปที่ยาวนานที่สุดคือเพียง 22 นาที) จะทำให้ธาตุปริมาณมากพอที่จะมองเห็น กลายเป็นไอได้ แฟรนเซียมถูกค้นพบโดยมาร์เกอริต เปอแรที่ฝรั่งเศส (ซึ่งได้นำมาตั้งเป็นชื่อธาตุนี้) ในปี..

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และแฟรนเซียม · ดูเพิ่มเติม »

แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11

แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11 เป็นเครื่องบินสามเครื่องยนต์ ผลิตโดยแมคดอนเนลล์ดักลาส และโบอิ้งหลังจากควบรวมกิจการกันแล้ว มีต้นแบบมาจากแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 เน้นใช้วัสดุผสมเป็นหลัก ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน 3 เครื่อง แต่ก็สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากกว่าเครื่องบินแบบ 2 เครื่องยนต์ และเกิดอุบัติเหตุบ่อยทำให้ไม่เป็นที่นิยมนัก ผลิตออกมาได้แค่ 200 ลำ มีทั้งแบบโดยสาร แบบโดยสารกับขนส่งสินค้า และแบบขนส่งสินค้า  แบบโดยสารและแบบโดยสารกับขนส่งสินค้าออกบินครั้งสุดท้ายในปี..

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และแมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11 · ดูเพิ่มเติม »

แรง

ในทางฟิสิกส์ แรง คือ อันตรกิริยาใด ๆ เมื่อไม่มีการขัดขวางแล้วจะเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุไป แรงที่สามารถทำให้วัตถุซึ่งมีมวลเปลี่ยนแปลงความเร็ว (ซึ่งรวมทั้งการเคลื่อนที่จากภาวะหยุดนิ่ง) กล่าวคือ ความเร่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้พลังงาน แรงยังอาจหมายถึงการผลักหรือการดึง แรงเป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดหรือทิศทาง วัดได้ในหน่วยของนิวตัน โดยใช้สัญลักษณ์ทั่วไปเป็น F ตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตัน กล่าวว่าแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเท่ากับอัตราของโมเมนตัมที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ถ้ามวลของวัตถุเป็นค่าคงตัว จากกฎข้อนี้จึงอนุมานได้ว่าความเร่งเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุในทิศทางของแรงลัพธ์และเป็นสัดส่วนผกผันกับมวลของวัตถุ แนวคิดเกี่ยวกับแรง ได้แก่ แรงขับซึ่งเพิ่มความเร็วของวัตถุให้มากขึ้น แรงฉุดซึ่งลดความเร็วของวัตถุ และทอร์กซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเร็วในการหมุนของวัตถุ ในวัตถุที่มีส่วนขยาย แรงที่ทำกระทำคือแรงที่กระทำต่อส่วนของวัตถุที่อยู่ติดกัน การกระจายตัวของแรงดังกล่าวเป็นความเครียดเชิงกล ซึ่งไม่ทำให้เกิดความเร่งของวัตถุมื่อแรงสมดุลกัน แรงที่กระจายตัวกระทำบนส่วนเล็ก ๆ ของวัตถุอาจเรียกได้ว่าเป็นความดัน ซึ่งเป็นความเคลียดอย่างหนึ่งและถ้าไม่สมดุลอาจทำให้วัตถุมีความเร่งได้ ความเครียดมักจะทำให้วัตถุเกิดการเสียรูปของวัตถุที่เป็นของแข็งหรือการไหลของของไหล.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และแรง · ดูเพิ่มเติม »

แรงลอเรนซ์

ในทางฟิสิกส์, แรงลอเรนท์ซ (Lorentz Force) เป็นแรงที่เกิดจากจุดประจุเนื่องจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดสมการในรูปของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก: where ตัวพิมพ์หนาหมายถึงปริมาณที่เป็นเวกเตอร์ กฎของแรงลอเรนซ์มีความสัมพันธ์กับกฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ ประจุบวกจะมีความเร่งไปในทิศทางเดียวกันกับสนามไฟฟ้า E แต่จะเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งทั้งเวกเตอร์ v และสนาม B เป็นไปตามตามกฎมือขวา ในส่วนของ qE เราเรียกว่า แรงไฟฟ้า ส่วน qv×B เรียกว่า แรงแม่เหล็ก บางนิยามอาจกล่าวว่า แรงลอเรนซ์มีเฉพาะส่วนที่เป็นแรงแม่เหล็ก.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และแรงลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แรงเคลื่อนไฟฟ้า

แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Electromotive force) หรือที่เรียกว่า emf (สัญญลักษณ์ \mathcal และมีค่าเป็นโวลต์) เป็นแรงดันไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นมาจากแหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้าใด ๆ เช่นแบตเตอรี่หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยทั่วไปมันจะถูกกำหนดให้เป็นศักย์ไฟฟ้าสำหรับแหล่งจ่ายไฟในวงจร อุปกรณ์ที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าจะถูกเรียกว่าแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้า (bed of emf) หรือ emf.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และแรงเคลื่อนไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

แอมแปร์

แอมแปร์ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า แอมป์ (สัญลักษณ์: A) เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้า หรือปริมาณของประจุไฟฟ้าต่อวินาที แอมแปร์เป็นหน่วยฐานเอสไอ ตั้งชื่อตามอ็องเดร-มารี อ็องแปร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส หนึ่งในผู้ค้นพบแม่เหล็กไฟฟ้.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และแอมแปร์ · ดูเพิ่มเติม »

แคลคูลัส

แคลคูลัส เป็นสาขาหลักของคณิตศาสตร์ และสังคมศาสตร์ แคลคูลัสมีต้นกำเนิดจากสองแนวคิดหลัก ดังนี้ แนวคิดแรกคือ แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ (Differential Calculus) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยอัตราการเปลี่ยนแปลง และเกี่ยวข้องกับการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น การหา ความเร็ว, ความเร่ง หรือความชันของเส้นโค้ง บนจุดที่กำหนดให้.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และแคลคูลัส · ดูเพิ่มเติม »

โมเมนตัม

ฟล์:HahnEcho GWM.gif| โมเมนตัม หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งมีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างมวลและความเร็วของวัตถุ มวลเป็นปริมาณสเกลาร์ แต่ความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ เมื่อนำปริมาณทั้งสองเข้าคูณด้วยกัน ถือว่าปริมาณใหม่เป็นปริมาณเวกเตอร์เสมอ ฉะนั้นโมเมนตัมจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ คือมีทั้งขนาดและทิศทาง.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และโมเมนตัม · ดูเพิ่มเติม »

โทมัส ยัง

ทมัส ยัง โทมัส ยัง (Thomas Young; 14 มิถุนายน พ.ศ. 2316 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2372) เป็นนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ ชาวอังกฤษ มีความเฉลียวฉลาดถึงขนาดที่พูดได้กว่า 12 ภาษา เมื่ออายุได้ 14 ปี ผลงานที่เด่นที่สุดของเขาในด้านวัสดุศาสตร์ก็คือ มอดุลัสของยัง นอกจากนี้เขาได้ช่วยเขียนหนังสือสารานุกรม เอ็นไซโคลพีเดีย บริตเตนิกา (Encyclopedia Britannica) ในหลาย ๆ บทความ และยังศึกษาอักษรอียิปต์โบราณเช่นเดียวกับชอง-ฟรองซัว ชองโปลิยง นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และโทมัส ยัง · ดูเพิ่มเติม »

Megapiranha

Megapiranha เป็นสกุลของปลาน้ำจืด จำพวกปลาคาราซินที่สูญพันธุ์ไปแล้ว นับได้ว่าเป็นปลาปิรันยายักษ์ สูญพันธุ์ไปแล้วในยุคไมโอซีนยุคสุดท้าย (ระหว่าง 8-10 ล้านปีมาแล้ว) ที่อาร์เจนตินา โดยค้นพบเมื่อปี..

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และMegapiranha · ดูเพิ่มเติม »

N

N (ตัวใหญ่:N ตัวเล็ก:n) เป็นอักษรละตินในลำดับที่ 14.

ใหม่!!: นิวตัน (หน่วย)และN · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Newtonนิวตัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »