เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

นิลกาย

ดัชนี นิลกาย

นิลกาย (Nilgai, Blue bull; নীলগাই; नीलगाय) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในวงศ์วัวและควาย (Bovidae) จัดเป็นเพียงสัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Boselaphus มีรูปร่างลักษณะคล้ายวัวผสมกับม้า ตัวผู้มีลักษณะเด่น ที่ สีลำตัวเมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มขึ้นเรื่อย ๆ หรือสีเทาปนดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ถือเป็นแอนทีโลปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย โดยมีส่วนสูงวัดถึงไหล่ประมาณ 1.2–1.5 เมตร และยาว 1.8–2 เมตร หางยาว 40–45 เซนติเมตร ตัวเต็มวัยมีน้ำหนักประมาณ 120–140 กิโลกรัม ลำตัวใหญ่ แต่มีขาเล็กเรียว ตัวผู้มีเขาเล็ก ๆ โค้งไปข้างหน้าเล็กน้อย ยาวประมาณ 21-25 เซนติเมตร มีขนแข็งยาวขึ้นจากส่วนหัวไล่ไปถึงกลางหลังทั้งสองเพศ ขณะที่ตัวเมียมีสีออกน้ำตาลแดง นิลกาย เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกระจายพันธุ์ในราบตอนเหนือของอินเดียและทางภาคตะวันออกของปากีสถาน ชอบอยู่ตามที่ราบและเนินเขาที่มีไม้พุ่มเตี้ยมากกว่าอยู่ในป่าทึบ นิลกายเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 18 เดือน ซึ่งหลังผสมพันธุ์แล้ว มีระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 8 เดือน ออกลูกคราวละ 2 ตัวหรือมากได้ถึง 3 ตัว น้ำหนักตัวเมื่อเกิดใหม่ราว 13–16 กิโลกรัม มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 21 ปี นิลกายเป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางวัน และพักผ่อนในเวลากลางคืนเหมือนสัตว์ในวงศ์เดียวกันชนิดอื่น ๆ แต่กินอาหารหลากหลายกว่า เพราะกินทั้งต้นไม้, ใบหญ้า, ใบไม้ และผลไม้ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความสามารถพิเศษ คือ สามารถอดน้ำได้หลายวันโดยไม่มีน้ำดื่ม แต่มักจะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ โดยส่วนใหญ่จะอยู่กันเป็นกลุ่มประมาณ 15 ตัว บางกลุ่มอาจมีถึง 20 ตัว ยกเว้นตัวที่อายุมากแล้วมักจะปลีกตัวไปอยู่ตามลำพัง และจะรวมตัวกันอีกทีก็ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอาจจะมีจำนวนถึง 30–100 ตัว ปัจจุบัน นิลกายพบจำนวนมากในที่ สวนลุมพินีวัน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า และเชื่อว่าเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ด้วย เป็นสัตว์ที่เชื่อว่าหากใครได้พบเห็น จะพบกับความเป็นสิริมงคล แต่นิลกายก็ถือเป็นสัตว์ที่รบกวนกินพืชผลของเกษตรกรเสียหายได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก ทางการอินเดียจึงอนุญาตให้ล่าสัตว์ชนิดนี้ได้อย่างถูกกฎหมาย ขณะที่อีกไม่น้อยถูกรถชน นอกจากนี้ยังต้องขาดแคลนที่อยู่ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกวัน และมีศัตรูตามธรรมชาติอีกอย่างคือเสือและสิงโต ทำให้ปัจจุบันเหลือปริมาณ นิลกายอยู่ไม่มากแล้ว ในอินเดียมีประมาณ 100,000 ตัวเท่านั้น ส่วนที่รัฐเทกซัสในสหรัฐอเมริกาถูกนำไปเลี้ยงในสวนสัตว์บ้าง ในธรรมชาติบ้าง ช่วงทศวรรษ 1920 เหลือปริมาณนิลกายประมาณ 1,500 ตัว สำหรับในประเทศไทย นิลกายมีอยู่ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งได้ตกลูกในไทยมาแล้วถึง 4 ตัว นอกจากนี้แล้วยังเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับซาวลา (Pseudoryx nghetinhensis) ที่พบในป่าทึบของเวียดนามอีกด้ว.

สารบัญ

  1. 3 ความสัมพันธ์: วงศ์ย่อยวัวและควายสัตว์เคี้ยวเอื้องแอนทิโลปสี่เขา

วงศ์ย่อยวัวและควาย

วงศ์ย่อยวัวและควาย เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ในวงศ์ใหญ่ Bovidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bovinae สัตว์ในวงศ์นี้มีลักษณะโดยรวม เป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักเป็นอย่างดี คือ วัวและควาย ซึ่งใช้เลี้ยงเป็นปศุสัตว์และใช้แรงงานในการเกษตรกันมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสัตว์ที่มีกล้ามเนื้อบึกบึนกำยำล่ำสัน เต็มไปด้วยพละกำลัง เขามีความโค้งและเรียวแหลมที่ปลาย มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่บางกลุ่มที่มีลักษณะที่แตกต่างออกไป คือ คอยาว ขายาว มีลายขวางตามลำตัว อาจมีลายบนใบหน้า มีเขาบิดเป็นเกลียว ซึ่งมักพบเฉพาะในตัวผู้ แต่บางชนิดพบได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย พบกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปอเมริกาใต้และโอเชียเนีย แบ่งออกได้เป็น 10 สกุล ดังนี้.

ดู นิลกายและวงศ์ย่อยวัวและควาย

สัตว์เคี้ยวเอื้อง

ัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Artiodactyla ซึ่งย่อยอาหารที่ประกอบด้วยพืชเป็นหลัก โดยเริ่มจากการย่อยให้นุ่มก่อนในกระเพาะอาหารส่วนแรกของสัตว์นั้น ซึ่งเป็นการกระทำของแบคทีเรียเป็นหลัก แล้วจึงสำรอกเอาอาหารที่ย่อยแล้วครึ่งหนึ่งออกมา เรียกว่า เอื้อง (cud) ค่อยเคี้ยวอีกครั้ง ขบวนการเคี้ยวเอื้องอีกครั้งเพื่อย่อยสลายสารที่มีอยู่ในพืชและกระตุ้นการย่อยอาหารนี้ เรียกว่า "การเคี้ยวเอื้อง" (ruminating) มีสัตว์เคี้ยวเอื้องอยู่ราว 150 สปีชีส์ ซึ่งมีทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคี้ยวเอื้องมีทั้งปศุสัตว์ แพะ แกะ ยีราฟ ไบซัน กวางมูส กวางเอลก์ ยัค กระบือ กวาง อูฐ อัลปากา ยามา แอนทิโลป พรองฮอร์น และนิลกาย ในทางอนุกรมวิธาน อันดับย่อย Ruminanti มีสัตว์ทุกสปีชีส์ที่กล่าวมาข้างต้น ยกเว้นอูฐ ลามาและอัลปากา ซึ่งอยู่ในอันดับย่อย Tylopoda ดังนั้น คำว่า "สัตว์เคี้ยวเอื้อง" จึงมิได้มีความหมายเหมือนกับ Ruminantia คำว่า "ruminant" มาจากภาษาละตินว่า ruminare หมายถึง "ไตร่ตรองถี่ถ้วนอีกครั้ง" (to chew over again).

ดู นิลกายและสัตว์เคี้ยวเอื้อง

แอนทิโลปสี่เขา

แอนทิโลปสี่เขา หรือ ชูสิงห์ (Four-horned antelope, Chousingha; चौशिंगा) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Bovinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Tetracerus มีความสูงจากกีบเท้าจนถึงหัวไหล่ประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม จัดเป็นแอนทิโลปที่มีขนาดเล็กที่สุดที่พบได้ในทวีปเอเชีย มีขนสีเหลืองน้ำตาลที่บริเวณด้านข้างละด้านล่างลำตัว ด้านในของขาเป็นสีขาว ขามีลักษณะเรียวเล็กและมีแถบสีดำเป็นทางยาวไปตามขา ในตัวผู้จะมีเขาขนาดเล็กสั้น ๆ 4 เขางอกขึ้นมาบนส่วนหัว 2 เขาแรกอยู่ระหว่างใบหูทั้ง 2 ข้างขวาหน้าผาก ซึ่งเขาคู่แรกนี้จะงอกหลังจากเกิดมาได้ไม่กี่เดือน และเขาคู่ที่ 2 จะยาวกว่าคู่แรก เป็นปัจจัยบ่งบอกถึงอายุ และสมบูรณ์แข็งแรงของแต่ละตัว อันเนื่องจากปัจจัยทางโภชนาการ จะไม่มีการสลัดเขาทิ้งเหมือนกวาง แต่เขาอาจจะแตกหักเสียหายได้จากการต่อสู้ แอนทิโลปสี่เขา มีการกระจายพันธุ์อยู่ ในอินเดียแถบรัฐทมิฬนาฑู และโอริศา และบางส่วนในเนปาล ซึ่งปัจจุบันพบได้เฉพาะในอุทยานแห่งชาติป่ากีร์เท่านั้น มีนิเวศวิทยาอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งหรือป่าผลัดใบ ปกติแล้วจะอาศัยและหากินเพียงลำพัง ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตัวผู้จะมีพฤติกรรมก้าวร้าว และต่อสู้กันเพื่อแย่งตัวเมีย ปกติแล้ว จะตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ เช่น เสือ, สิงโต, หมาใน เป็นต้น.

ดู นิลกายและแอนทิโลปสี่เขา

หรือที่รู้จักกันในชื่อ BoselaphusBoselaphus tragocamelus