โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิพพาน

ดัชนี นิพพาน

วาดพระพุทธเจ้าเข้าสู่'''อนุปาทิเสสนิพพาน'''สภาวะ นิพพาน (निब्बान nibbāna นิพฺพาน; निर्वाण nirvāṇa นิรฺวาณ) หมายถึง ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์ เป็นสภาพโลกุตระอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในศาสนาพุทธ คำว่า นิพพาน เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของการหลุดพ้น แต่การอธิบายเกี่ยวกับสภาวะของนิพพานนั้นแตกต่างกันออกไป ในปรัชญาอุปนิษัทเชื่อว่านิพพานหรือโมกษะ คือการที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ารวมเป็นเอกภาพกับพรหมัน แต่ในพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานคือการหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา ซึ่งแสดงออกในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ มิได้หมายความว่าเป็นการหลุดพ้นของอัตตาหรือตัวตนในโลกนี้ ไปสู่สภาวะของนิพพานอย่างคำสอนอุปนิษัท แต่หมายถึงความดับสนิทแห่งความเร่าร้อนและเครื่องผูกพันร้อยรัดทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าเป็นความทุก.

71 ความสัมพันธ์: บัวสี่เหล่าบุญนิธิพรหมภูมิพระกุมารกัสสปะพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล)พระราหุลพระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโปพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)พระโคตมพุทธเจ้าพิธีกรรมในงานศพไทยพุทธเกษตรกรมหลวงโยธาทิพกสิณการชำระให้บริสุทธิ์ญายธรรมญายปฏิปันโนญาตัตถจริยามหายานมหาสติปัฏฐานสูตรลัทธิอนุตตรธรรมวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรวัฒนธรรมไทยวันมาฆบูชาวันวิสาขบูชาวันอัฏฐมีบูชาวันอาสาฬหบูชาวิภพวิสุทธิวิโมกข์ศาสนาพุทธศาสนาพุทธกับจิตวิทยาสมถะสวนป่าสิงโตสักยะสัญญา (ศาสนาพุทธ)สัมมาสังกัปปะสัตวโลกสุญตาสุขาวดีหมู่บ้านคุ้งตะเภาอภิธัมมาวตารอมฤตอนัตตาอนันตริยกรรมอนุตตรธรรมผงปถมังจารวากธรรมจักร...ธัมมจักกัปปวัตนสูตรธงศาสนาพุทธขันธ์ความรอดความสุขปรมัตถธรรมประเทศไทยปรินิพพานปัญจวัคคีย์นาคารชุนะนิพพิทานิโรธโพธิสัตว์ศีลโลกุตระโสดาบันไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็นไจติกะเหตุผลวิบัติโดยอุดมคติเพ้อฝันเจตสิกเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)เดรัจฉาน ขยายดัชนี (21 มากกว่า) »

บัวสี่เหล่า

ตรกรรมร่วมสมัยพระโคตมพุทธเจ้าทรงพิจารณาบุคคลเปรียบด้วยบัวสี่เหล่า และท้าวสหัมบดีพรหมเข้าเฝ้าขอให้ทรงแสดงธรรม ในทางศาสนาพุทธ บัวสี่เหล่า คืออุปมาเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว 4 จำพวก ตามฐานะที่จะบรรลุนิพพานได้และไม่ได้ในชาตินั้น ตามที่ปรากฏในโพธิราชกุมารสูตร ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีและคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ว่าเมื่อแรกตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ทรงพิจารณาว่าพระธรรมที่ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ แต่ต่อมาได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว ทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว 3 เหล่า (ตามนัยโพธิราชกุมารสูตรในพระไตรปิฎกภาษาบาลี) หรือบัว 4 เหล่า (ตามนัยสุมังคลวิลาสินี) การที่สุมังคลวิลาสินีกล่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงเปรียบบุคคลเป็นดอกบัว 4 เหล่านั้น เป็นการประยุกต์จากพุทธพจน์เรื่องบุคคล 4 จำพวกที่ตรัสไว้ในอุคฆฏิตัญญุสูตร อังคุตตรนิกาย ปุคคลวรรคที่ 4 มาผสานกับพระพุทธพจน์เรื่องดอกบัว 3 เหล่าที่ตรัสไว้ในโพธิราชกุมารสูตร มัชฌิมนิกาย จึงกลายเป็นดอกบัว 4 เหล่าที่รู้จักกันในปัจจุบัน.

ใหม่!!: นิพพานและบัวสี่เหล่า · ดูเพิ่มเติม »

บุญนิธิ

ญนิธิ (อ่านว่า บุน-นิ-ทิ) แปลว่า ขุมทรัพย์คือบุญ หมายถึง บุญที่ทำสะสมไว้มาก ๆ จนพอกพูนเป็นบุญกองใหญ่ ท่านเปรียบบุญเหมือนกับขุมทรัพย์ด้วยเหตุผลว่า ขุมทรัพย์นั้นสามารถนำประโยชน์มาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของได้มาก เช่นนำมากินใช้ นำมาปกป้องกำจัดปัดเป่าอันตรายทั้งปวงได้ และอยู่กับที่ไม่ถูกทำลายได้ง่าย บุญก็มีลักษณะเช่นนั้น คือเป็นสมบัติส่วนตัวของผู้ทำ โจรลักไปไม่ได้ น้ำท่วมไม่ได้ ติดตามอำนวยผลให้ผู้ทำไปทุกภพทุกชาติ ทำให้เจ้าของบุญได้เสวยผลบุญตลอดเวลา ทำให้ได้สมบัติที่ชอบใจทั้งปวง ทำให้ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ และทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ แม้ความปรารถนาจะเป็นพระอรหันต์ เป็นพระพุทธเจ้าก็สำเร็จได้ด้วยบุญน.

ใหม่!!: นิพพานและบุญนิธิ · ดูเพิ่มเติม »

พรหมภูมิ

อรูปพรหม (ฉบับกรุงศรี) พรหมภูมิ หรือ พรหมโลก ถือเป็นดินแดนของพระพรหม ซึ่งเป็นภพภูมิที่สถิตย์อยู่เสวยสุขของพระพรหมผู้อุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก อันเป็นแดนซึ่งมีแต่ความสุขอันเกิดจากฌานเท่านั้น (แบ่งชั้นตามอำนาจฌานที่ได้บรรลุ) ในภพภูมินี้ตามคัมภีร์กล่าวว่าปราศจากความสุขที่เนื่องด้วยกามราคะ พรหมภูมิอาจแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่ รูปพรหม และ อรูปพรหม.

ใหม่!!: นิพพานและพรหมภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

พระกุมารกัสสปะ

ระกุมารกัสสปเถระ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในสมัยพุทธกาล พระกุมารกัสสปเถระ มีนามเดิมว่า กัสสปะ เป็นนามที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตั้งให้ ต่อมาท่านบวชในพระพุทธศาสนา เวลาพระโคตมพุทธเจ้าตรัสเรียกภิกษุชื่อกัสสปะ จะถูกทูลถามว่ากัสสปะไหน จึงตรัสว่า กุมารกัสสปะ เพราะท่านบวชมาตั้งแต่ยังเด็ก บิดาและมารดาไม่ปรากฏชื่อ เป็นชาวเมืองสาวัตถี มารดาของท่านศรัทธาจะบวชตั้งแต่ยังไม่ได้แต่งงาน แต่บิดาและมารดาไม่อนุญาต หลังจากแต่งงานแล้วขออนุญาตสามี ในที่สุดสามีอนุญาตให้บวช เธอจึงบวชเป็นภิกษุณีโดยไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ครั้นอยู่มาครรภ์ได้ใหญ่ขึ้น ภิกษุณีทั้งหลายรังเกียจเธอ จึงนำไปให้พระเทวทัตตัดสิน พระเทวทัตตัดสินว่า เธอศีลขาด แม้เธอจะชี้แจงเหตุผลอย่างไรก็ไม่ยอมรับฟัง ภิกษุณีทั้งหลายจึงพาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงมอบหมายให้พระอุบาลีเถระตัดสิน พระอุบาลีเถระเชิญตระกูลใหญ่ๆ ชาวสาวัตถีและนางวิสาขามาพิสูจน์ได้ว่า นางตั้งครรภ์มาก่อนบวช ศีลของนางบริสุท.

ใหม่!!: นิพพานและพระกุมารกัสสปะ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)

ระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) รองเจ้าอาวาส และพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ.

ใหม่!!: นิพพานและพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล)

ระราชวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ ชาวสุรินทร์ ศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่กับพระบรมวงศานุวง.

ใหม่!!: นิพพานและพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) · ดูเพิ่มเติม »

พระราหุล

ระราหุล หรือพระนามเดิม เจ้าชายราหุล เป็นพระโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธรา ประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวช ในพระไตรปิฎกว่า เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่าพระราชโอรสประสูติ ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง" แปลว่า "'ราหุ (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว" หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ไว้กับภริยาและชีวิตฆราวาส ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะทรงนึกว่าสิทธัตถราชกุมารทรงตั้งพระนามโอรสอย่างนั้น จึงทรงขนานนามพระภาคิไนย (พระเจ้าหลาน) ว่า "ราหุล" อันแปลว่า "บ่วง" อย่างไรก็ดี ตามพระวินัยของนิกายสรวาสติวาทว่าพระนาม "ราหุล" มิได้มาจากรากศัพท์ "ราหุ" ที่แปลว่า "บ่วง" แต่มาจากศัพท์ "ราหุ" ที่แปลว่า "จันทรคราส" หรือที่ในภาษาไทยว่า "ราหู" อนึ่ง ในพระไตรปิฎกพระธรรมบท มีตอนหนึ่งว่า ความปิติปราโมทย์ที่บุรุษได้รับจากภริยาและบุตร คือ "ราหุ" (แปลว่า "บ่วง") ที่ร้อยรึงชีวิตครอบครัวผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าทุกข์หรือสุข พระราหุลกุมารทูลขอราชสมบัติจากพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและเสด็จไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ แคว้นมคธ ก็ทรงนิวัติกลับกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระบิดาและพระญาติประยูร และมีเหล่าสาวกติดตามเสด็จมาด้วย วันหนึ่งพระนางยโสธราทรงได้พระราหุล และมีรับสั่งให้พระกุมารราหุลไปทูลขอพระราชสมบัติ พระพุทธเจ้าจึงทรงบรรพชาพระราหุลเป็นสามเณรและให้เสด็จติดตามพระองค์ไปด้วย พระกุมารราหุลจึงเป็นสามเณรรูปแรกในพุทธศาสนา พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าวพระราหุลได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณรในพุทธศาสนาแล้ว ก็ทรงเสียพระทัยมาก เพราะทรงหวังให้พระราหุลเป็นรัชทายาทสืบราชสันติวงศ์ต่อไป พระองค์จึงเสด็จไปตัดพ้อต่อว่าพระพุทธเจ้า และทูลขอว่า ต่อไปถ้าจะบวชให้ใครอีก ขอให้มารดาบิดาของผู้จะบวชอนุญาตเสียก่อน พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นไปตามคำทูลขอ โดยมีข้อกำหนดว่า ผู้ที่จะเข้ามาบวช "จะต้องได้รับอนุญาตจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้บังคับบัญชาเสียก่อน" สามเณรราหุลบรรพชาเมื่ออายุ 7 ปี พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้ฟังมากมายหลายเรื่อง เมื่ออายุครบ 20 ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านได้ตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปยังป่าอันธวัน แขวงเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี หลังจากได้ฟัง "จูฬราหโลวาทสูตร" จากพระพุทธองค์ ก็สำเร็จบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระราหุลเถระ ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า "เอตทัคคะ"(ผู้เลิศกว่าคนอื่นในด้านใคร่การศึกษา) คือ ชอบการศึกษาหรือขยันหมั่นในการเล่าเรียน พระราหุลเถระนิพพานเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานระบุชัด ทราบเพียงว่า ท่านปรินิพพานก่อนพระอัครสาวกทั้งสอง และก่อนพระพุทธเจ้า โดยการทูลลาพระพุทธเจ้าไปนิพพานที่สวรรค์ชั้นดาวดึง.

ใหม่!!: นิพพานและพระราหุล · ดูเพิ่มเติม »

พระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป

ระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป เป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี วัดอรัญญวิเวก สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิก.

ใหม่!!: นิพพานและพระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)

ระธรรมวิสุทธิมงคล นามเดิม บัว โลหิตดี ฉายา ญาณสมฺปนฺโน หรือที่นิยมเรียกกันว่า หลวงตามหาบัว หรือ หลวงตาบัว (12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 - 30 มกราคม พ.ศ. 2554...เป็นพระภิกษุคณะธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุดรธานี เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดป่าบ้านตาด (วัดเกษรศีลคุณ) เป็นวิปัสสนาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย ศิษย์ของพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต ซึ่งมีโอกาสอุปฐากรับใช้หลวงปู่มั่นในช่วงปัจฉิมวัยและเป็นผู้หนึ่งที่ได้บันทึกประวัติของหลวงปู่มั่นโดยละเอียดในเวลาต่อมา หลวงตามหาบัวเป็นที่รู้จักในฐานะพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานผู้มีปฏิปทาที่มั่นคง แน่วแน่ เด็ดขาด และจริงจัง บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่มั่นต่างนับถือกันว่าท่านเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งที่มีปฏิปทาที่คล้ายคลึงกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต การกล่าวขวัญถึงท่านในหมู่ผู้ศรัทธามีหลายเรื่องค่อนไปในเชิงอภินิหาร เช่น การล่วงรู้วาระจิตของบุคคลอื่น การที่เศษผม เศษเล็บ และชานหมากของท่านกลายเป็นพระธาตุไปตั้งแต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่เป็นต้น หลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2540 หลวงตามหาบัวได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในและนอกประเทศ จากการที่ท่านได้ดำเนินการทอดผ้าป่าทองคำและเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ชื่อ "โครงการผ้าป่าช่วยชาติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน" เพื่อใช้เป็นทุนสำรองของประเทศไทย ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ได้ดำเนินการมาโดยตลอดในช่วงปัจฉิมวัยของท่าน อย่างไรก็ตาม ในช่วงปัจฉิมวัยนี้เองได้มีเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ว่าท่านเข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมืองจากนักวิชาการและนักสื่อสารมวลชนจำนวนหนึ่ง เช่น ประเด็นการคัดค้านการรวมบัญชีเงินทุนสำรองของประเทศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ประเด็นการคัดค้านการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสงฆ์ฉบับใหม่ และการเทศนาวิพากษ์วิจารณ์ทักษิณ ชินวัตร ครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีช่วง พ.ศ. 2548 เป็นต้น.

ใหม่!!: นิพพานและพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)

ระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) (17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 - 16 มกราคม พ.ศ. 2535) ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน หลวงปู่ชา สุภทฺโท ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรมและเผยแผ่พุทธศาสนา ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่เป็นพระธรรมเทศนา และสำนักปฏิบัติธรรมในนามวัดสาขาวัดหนองป่าพงมากมาย ซึ่งแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ศิษยานุศิษย์ของท่านก็ยังคงรักษาแนวทางปฏิบัติธรรมที่ท่านได้สั่งสอนไว้จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: นิพพานและพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: นิพพานและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พิธีกรรมในงานศพไทย

ีกรรมในงานศพไทย แบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่ พิธีรดน้ำศพ พิธีสวดอภิธรรม และพิธีฌาปณก.

ใหม่!!: นิพพานและพิธีกรรมในงานศพไทย · ดูเพิ่มเติม »

พุทธเกษตร

ทธเกษตร (อาณาจักรแห่งพระพุทธเจ้า) หรือ วิสุทธิภูมิ (ดินแดนบริสุทธิ์) ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายาน คือดินแดนที่พระพุทธเจ้าทรงสร้างขึ้นด้วยปณิธานของแต่ละพระองค์ แดนพุทธเกษตรไม่ใช่นิพพาน แต่มีลักษณะคล้ายสวรรค์ เป็นภูมิที่สาวกของพระพุทธเจ้าใช้ปฏิบัติธรรมต่อหลังจากสิ้นชีวิตบนโลกเพื่อบรรลุนิพพานต่อไป.

ใหม่!!: นิพพานและพุทธเกษตร · ดูเพิ่มเติม »

กรมหลวงโยธาทิพ

กรมหลวงโยธาทิพ มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าศรีสุวรรณคำให้การขุนหลวงหาวัด (ฉบับหลวง), ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 413 บ้างออกพระนามว่า พระราชกัลยาณีพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 285พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม, หน้า 23 (พ.ศ. 2181–2258) เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและเป็นพระราชขนิษฐาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายหลังได้เป็นที่พระอัครมเหสีฝ่ายขวาในสมเด็จพระเพทราชา ประสูติการพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามเจ้าพระขวัญ.

ใหม่!!: นิพพานและกรมหลวงโยธาทิพ · ดูเพิ่มเติม »

กสิณ

กสิณ คือวิธีการปฏิบัติสมาธิแบบหนึ่งในพระพุทธศาสนา มีความหมายว่า เพ่งอารมณ์ เป็นสภาพหยาบ สำหรับให้ผู้ฝึกจับให้ติดตาติดใจ ให้จิตใจจับอยู่ในกสิณใดกสิณหนึ่งใน 10 อย่าง ให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว จิตจะได้อยู่นิ่งไม่ฟุ้งซ่าน มีสภาวะให้จิตจับง่ายมีการทรงฌานถึงฌาน 4 ได้ทั้งหมด กสิณทั้ง 10 เป็นพื้นฐานของอภิญญาสมาบัติ การเพ่งกสิณนับว่าเป็นอุบายกรรมฐานกองต้น ๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าด้วยการปฏิบัติสมาธิภาวนาเพื่ออบรมจิต (อันเป็นแนวทางแห่งการบรรลุสำเร็จมรรคผลนิพพาน หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้ออกไปได้) ซึ่งอุบายกรรมฐานมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดสี่สิบกอง ภายใต้กรรมฐานทั้งสี่สิบกองนั้น จะประกอบไปด้วยกรรมฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการเพ่งกสิณอยู่ถึงสิบกองด้วยกัน การเพ่งกสิณ คือ อาการที่เราเพ่ง (อารมณ์) ไม่ได้หมายถึงเพ่งมอง หรือจ้องมอง ไปยังวัตถุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาทิเช่น พระพุทธรูป เทียน สีต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งอากาศ ฯลฯ แล้วเรียนรู้ รับรู้/บันทึก สภาพหรือคุณสมบัติเฉพาะ ของวัตถุ (ธาตุ) หรือสิ่ง ๆ นั้นไว้เช่น เนื้อ สี สภาพผิว ความหนาแน่น ความ เย็นในจิตจนกระทั่งเมื่อหลับตาลงจะปรากฏภาพนิมิต (นิมิตกสิณ) ของวัตถุหรือสิ่ง ๆ นั้นขึ้นมาให้เห็นในจิต หรือแม้กระทั่งยามลืมตาก็ยังสามารถมองเห็นภาพนิมิตกสิณดังกล่าวเป็นภาพติดตา การเพ่งกสิณจัดเป็นอุบายวิธีในการทำสมาธิที่มีดีอยู่ในตัว กล่าวคือ การเพ่งกสิณเป็นเสมือนทางลัดที่จิตใช้ในการเข้าสู่สมาธิได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายกว่าการเลือกใช้อุบายกรรมฐานกองอื่น ๆ มากมายนัก ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางในการปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยการใช้อุบายวิธีการเพ่งกสิณนั้น จิตจะยึดเอาภาพนิมิตกสิณที่เกิดขึ้นมาเป็นเครื่องรู้ของจิต แทนอารมณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในจิต และเมื่อภาพนิมิตกสิณเริ่มรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิต จิตก็จะรับเอาภาพนิมิตกสิณนั้นมาเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิต จากนั้นภาพนิมิตกสิณดังกล่าวจะค่อย ๆ พัฒนาไปเองตามความละเอียดของจิต ซึ่งจะส่งผลให้เกิดมีความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับภาพนิมิตกสิณนั้น เริ่มตั้งแต่ความคมชัดในการมองเห็นภาพนิมิตกสิณที่ปรากฏขึ้นภายในจิต และสามารถมองเห็นภาพนิมิตกสิณนั้นได้อย่างชัดเจน ราวกับมองเห็นด้วยตาจริง ๆ ไปจนกระทั่งการที่จิตสามารถบังคับภาพนิมิตกสิณนั้นให้เลื่อนเข้า-เลื่อนออก หรือหมุนไปทางซ้าย-ทางขวา หรือยืด-หดภาพนิมิตกสิณดังกล่าวได้ อันเป็นพลังจิตที่เกิดขึ้นจากการเพ่งนิมิตกสิณ แต่ในที่สุดแล้วภาพนิมิตกสิณทั้งหลายก็จะมาถึงจุดแห่งความเป็นอนัตตา อันได้แก่ ความว่างและแสงสว่าง กล่าวคือ ภาพนิมิตทั้งหลายจะหมดไปจากจิต แม้กระทั่งอาการและสัญญาในดวงจิตก็จะจางหายไปด้วย จากนั้นจิตจึงเข้าสู่กระบวนการของสมาธิในขั้นฌานต่อไปตามลำดั.

ใหม่!!: นิพพานและกสิณ · ดูเพิ่มเติม »

การชำระให้บริสุทธิ์

ตามความเชื่อในศาสนาคริสต์ การชำระให้บริสุทธิ์ (sanctification) เป็นกระบวนที่พระเป็นเจ้าทรงช่วยมนุษย์ให้ได้รับความรอดและความบริสุทธิ์ในฝ่ายจิตวิญญาณ ผู้ได้รับการชำระให้บริสุทธิ์เรียกว่า "ผู้บริสุทธิ์" หรือ "ผู้ศักดิ์สิทธิ์" ในศาสนาพุทธเรียกการชำระจิตให้บริสุทธิ์จากกิเลสว่าว่า "วิสุทธิ" หรือ "ไตรสิกขา" ซึ่งเป็นหลักธรรมเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน.

ใหม่!!: นิพพานและการชำระให้บริสุทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ญายธรรม

ญายธรรม แปลว่า ความจริง, ความเหมาะสม, ความถูกต้อง, วิธีที่ถูกต้อง, หนทางที่ถูกต้อง ญายธรรม มีความหมายสูงสุดคือพระนิพพาน พระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพื่อบรรลุญายธรรมและสามารถบรรลุถึงได้แล้วเรียกกันว่า ญายปฏิปันโน.

ใหม่!!: นิพพานและญายธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ญายปฏิปันโน

ญายปฏิปันโน แปลว่า ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุญายธรรม, ผู้ดำเนินไปในหนทางที่ถูกต้อง ญายปฏิปันโน หมายถึงผู้ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความจริง ความถูกต้อง, ผู้ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ในวัฏฏะ, ผู้ปฏิบัติไปตามปฏิปทาที่ถูกต้องคือมุ่งตรงไปเพื่อบรรลุพระนิพพานซึ่งเป็นญายธรรมสูงสุด ญายปฏิปันโน เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติของพระอริยสงฆ์ที่เรียกว่า สังฆคุณ ข้อหนึ่งในจำนวน ๙ ข้อ.

ใหม่!!: นิพพานและญายปฏิปันโน · ดูเพิ่มเติม »

ญาตัตถจริยา

ญาตัตถจริยา แปลว่า การประพฤติประโยชน์ต่อญาติ, การบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ญาติ ญาตัตถจริยา เป็นคำเรียกพระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าที่ทรงปฏิบัติประการหนึ่งใน ๓ ประการ ญาตัตถจริยา หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติหน้าที่สงเคราะห์ญาติในฐานะที่เป็นญาติ กล่าวคือทรงสงเคราะห์พระบิดา พระมารดา ตลอดถึงพระประยูรญาติ พระบรมวงศานุวงศ์ให้ได้เข้าถึงพระรัตนตรัย เข้าถึงธรรม จึงถึงให้ได้บวชในพระศาสนาและบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นต้นว่าเสด็จไปโปรดพระบิดาและพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์หลังจากตรัสรู้ได้ไม่นาน เสด็จไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสด็จไปห้ามพระญาติสองฝ่ายมิได้รบพุ่งกันเพราะเหตุแย่งน้ำทำนา ประทานอุปสมบทให้แก่พระนันนทะ พระนางรูปนันทา ซึ่งเป็นพระอนุชา และพระภคินีต่างพระมารดา ทรงแนะนำสั่งสอนจนได้เป็นพระอรหันต์ทั้งสององ.

ใหม่!!: นิพพานและญาตัตถจริยา · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: นิพพานและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสติปัฏฐานสูตร

ติปัฏฐานสูตร หรือ มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ชาวกุรุชนบท ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ (ปัจจุบันอยู่ในกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย) สติปัฏฐานสูตรหรือมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นหนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน มหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อพิจารณาจากพระพุทธพจน์ตอนเริ่มพระสูตร อาจกล่าวได้ว่าหลักการในพระสูตรนี้ เป็นหลักแนวปฏิบัติตรงที่เน้นเฉพาะเพื่อการรู้แจ้ง คือให้มีสติพิจารณากำกับดูสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง โดยไม่ให้ถูกครอบงำไว้ด้วยอำนาจกิเลสต่าง ๆ โดยมีแนวปฏิบัติเป็นขั้นตอน 4 ระดับ คือ พิจารณากาย, ความรู้สึก (เวทนา), จิต, และธรรมที่เกิดในจิต.

ใหม่!!: นิพพานและมหาสติปัฏฐานสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

ใหม่!!: นิพพานและลัทธิอนุตตรธรรม · ดูเพิ่มเติม »

วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร

ระสุภูติกราบทูลอาราธนาพระโคตมพุทธเจ้าแสดงวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ภาพจากม้วนหนังสือวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรที่พบในถ้ำผาม่อเกา ประเทศจีน วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (Diamond Sutra) เป็นชื่อพระสูตรสำคัญหมวดปรัชญาปารมิตาของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เชื่อกันว่าพระสูตรหมวดปรัชญาปารมิตานี้เป็นพระสูตรมหายานรุ่นแรก ๆ ที่เกิดขึ้น เนื้อหาสาระสำคัญเป็นเรื่องราวการเทศนาสั่งสอนของพระพุทธเจ้ากับพระสุภูติซึ่งเป็นพระอรหันตสาวก ที่พระเชตวันมหาวิหาร ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ จะต้องกระทำด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวง เป็นการอรรถาธิบายถึงหลักศูนยตา ความว่างเปล่าปราศจากแก่นสารของอัตตาตัวตนและสรรพสิ่งทั้งปวง แม้ธรรมะและพระนิพพานก็มีสภาวะเป็นศูนยตาด้วยเช่นเดียวกัน สรรพสิ่งเป็นแต่เพียงสักว่าชื่อเรียกสมมติขึ้นกล่าวขาน หาได้มีแก่นสารแท้จริงอย่างใดไม่ เพราะสิ่งทั้งปวงอาศัยเหตุปัจจัยประชุมพร้อมกันเป็นแดนเกิด หาได้ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเอง เช่นนี้สิ่งทั้งปวงจึงเป็นมายา พระโพธิสัตว์เมื่อบำเพ็ญบารมีพึงมองเห็นสรรพสิ่งในลักษณะเช่นนี้ เพื่อมิให้ยึดติดในมายาของโลก ท้ายที่สุด พระพุทธองค์ได้สรุปว่าผู้เห็นภัยในวัฏสงสารพึงยังจิตมิให้บังเกิดความยึดมั่นผูกพันในสรรพสิ่งทั้งปวง เพราะสังขตธรรมนั้นอุปมาดั่งภาพมายา ดั่งเงา ดั่งความฝัน ดั่งฟองในน้ำ และดั่งสายฟ้าแลบ เกิดจากการอิงอาศัยไม่มีสิ่งใดเป็นแก่นสารจีรังยั่งยืน แนวคิดเรื่องศูนยตานี้ได้พัฒนาต่อไปโดยท่านคุรุนาคารชุนแห่งนิกายมาธยมิกะ จนกลายเป็นความคิดหลักทางพุทธปรัชญาที่ลึกล้ำและโดดเด่นในโลกจนทุกวันนี้ พระสูตรนี้มีแปลเป็นภาษาไทยโดย เสถียร โพธินันท.

ใหม่!!: นิพพานและวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลหลักจากวัฒนธรรมอินเดีย จีน ขอม ตลอดจนวิญญาณนิยม ศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพิบูลสงครามสนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่งชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชนกลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุดมคติของวัฒนธรรมไทยกลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ 5 ราชย์กัมพูชา และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจจุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรีOtto F. von Feigenblatt.

ใหม่!!: นิพพานและวัฒนธรรมไทย · ดูเพิ่มเติม »

วันมาฆบูชา

ปุรณมี วันมาฆบูชา (มาฆปูชา; Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๓๐, ๓๐ มีนาคม..

ใหม่!!: นิพพานและวันมาฆบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันวิสาขบูชา

วันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า '''"วันพระพุทธเจ้า"''' วันวิสาขบูชา (วิสาขปุณฺณมีปูชา; Vesak) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติRequest for inclusion of an additional item in the agenda of the fifty-fourth session in United Nations (12 November 1999).

ใหม่!!: นิพพานและวันวิสาขบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา คือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย) นอกจากนั้น วันนี้เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ (หลังประสูติ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้ว.

ใหม่!!: นิพพานและวันอัฏฐมีบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา (อาสาฬหปูชา; Āsāḷha Pūjā) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๗๕, ตอน ๕๒, ๑๒ มิถุนายน..

ใหม่!!: นิพพานและวันอาสาฬหบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วิภพ

วิภพ หรือ วิภวะ เป็นศัพท์ที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์ที่สื่อความหมายในทางปรมัตถ์บัญญัติ (ความหลุดพ้นจากกิเลส) โดยปกติมักใช้คู่กับ วิภวตัณหา ซึ่งเป็นศัพท์หมายความในทางสมมุติบัญญัติ (ความไม่หลุดพ้นจากกิเลส) วิภพ เมื่ออยู่ศัพท์เดียวแปลตรงตัวว่า ไม่มีภพ หรือ ความไม่มีอะไร หรือ ไม่มีความอยาก ตรงข้ามกับ ภพ ซึ่งแปลว่าความมีความเป็น (ความมีกิเลสตัณหา มีภพมีชาติ ซึ่งเป็นต้นเหตุของทุกข์) ดังนั้นจึงมีผู้กล่าวว่าวิภพเป็นไวพจน์แห่งนิพพาน คือ เป็นสภาวะที่หลุดพ้น ไม่มีความอยาก หลุดพ้นเพราะไม่มีกิเลสตัณหา นั่นเอง.

ใหม่!!: นิพพานและวิภพ · ดูเพิ่มเติม »

วิสุทธิ

วิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความหมดจด ในศาสนาพุทธกล่าวถึง วิสุทธิ 7 ซึ่งหมายถึง ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปตามลำดับ เป็นการชำระให้บริสุทธิ์ ด้วยการฝึกฝนตนเองที่เรียกว่าไตรสิกขา ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน มี 7 ขั้น คือ.

ใหม่!!: นิพพานและวิสุทธิ · ดูเพิ่มเติม »

วิโมกข์

วิโมกข์ แปลว่า ความพ้น, ความหลุดพ้นวิเศษ มีความหมายเช่นเดียวกับ วิมุตติ วิโมกข์ หมายถึงสภาพที่จิตพ้นจากกิเลสและอาสวะทั้งปวง การพ้นจากโลกีย์ การขาดจากความพัวพันแห่งโลก ความเป็นพระอรหันต์ ใช้หมายถึงพระนิพพานก็ได้ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ.

ใหม่!!: นิพพานและวิโมกข์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: นิพพานและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา

นาพุทธกับจิตวิทยา (Buddhism and psychology) เหลื่อมกันทั้งในทางทฤษฎีและการปฏิบัติในศตวรรษที่ผ่านมา โดยมีความเกี่ยวข้องกันหลัก ๆ 4 อย่าง คือ.

ใหม่!!: นิพพานและศาสนาพุทธกับจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมถะ

มถะ เป็นภาษาบาลี แปลว่า สงบ ในคัมภีร์มีใช้ใน 3 แบบ ดังนี้.

ใหม่!!: นิพพานและสมถะ · ดูเพิ่มเติม »

สวนป่าสิงโต

วนป่าสิงโต (อังกฤษ: Lion Grove Garden) หรือสวนซือจึ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 23 ถนนหยวนหลิน เขตผิงเจียง (Pingjiang District; 平江区) ในเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน เป็นสวนที่มีความโดดเด่นที่อาณาบริเวณขนาดกว้างใหญ่และมีหินประดับจากไท่หู (หรือทะเลสาบหู) อันสวยงามซับซ้อนที่จัดแต่งอยู่กลางสวน ชื่อของสวนได้มาจากลักษณะของหินประดับนี้ที่มีรูปร่างคล้ายสิงโต นอกจากนั้นสวนป่าสิงโตยังได้รับการบันทึกให้เป็นหนึ่งในสวนโบราณเมืองซูโจวที่เป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) เช่นกัน.

ใหม่!!: นิพพานและสวนป่าสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

สักยะ

วิหารของนิกายสักยะในทิเบต นิกายสักยะ เป็นนิกายสำคัญนิกายหนึ่งของพุทธศาสนาในทิเบต รากฐานของคำสอนมาจากวิรูปะ โยคีชาวอินเดียผ่านทาง คายธร ดรอกมี สักยะเยเช ลูกศิษย์ของสักยะเยเชคือ คอน คอลจ็อก เจลโป ได้สร้างวัดชื่อวัดสักยะ จึงกลายมาเป็นชื่อนิก.

ใหม่!!: นิพพานและสักยะ · ดูเพิ่มเติม »

สัญญา (ศาสนาพุทธ)

ัญญา (ภาษาสันสกฤต: สํชญา) แปลว่า จำความได้, ความหมายรู้ได้ คือระบบความจำที่สามารถจำคน สัตว์ สิ่งของและเหตูการณ์ต่างๆ ได้ เช่น จำสิ่งที่เห็น จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำชื่อคน จำหนังสือ จำเรื่องในอดีตได้ว่าเป็นสีเขียว ไพเราะ หอม หวานเป็นต้น เรียกภาวะที่มีความจำคลาดเคลื่อน จำผิดๆ ถูกๆ หรือมีสติฟั่นเฟือนเหมือนคนบ้าว่า สัญญาวิปลาส ทางพุทธศาสนา สัญญา คือขันธ์หนึ่งใน 5 ขันธ์ และเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง มี 2 ประเภทคือสัญญา 6 และสัญญา 10 ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าสัญญานั้นย้อนกลับไปได้ไม่สิ้นสุด เช่นเราลองนึกถึงตัวเราในอดีตที่กำลังเศร้ากับการกระทำที่ผิดพลาดของตนในอดีต ในสัญญาของตัวเราในอดีตก็มีเหตุการณ์ที่ตัวเราในอดีตขณะนั้นมีภาพตัวเราที่เป็นอดีตของอดีตตัวเราทำความผิดพลาดซ้อนอีกดังนั้นสัญญาจะมีลักษณะซ้อนทับกับไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุด แต่ที่เราจำเหตุการณ์ในอดีตไม่ได้ เพราะอำนาจสติมีกำลังน้อย อีกทั้งที่เราจำชาติก่อนไม่ได้เพราะ กฎแห่งวัฏฏะ คือ.

ใหม่!!: นิพพานและสัญญา (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

สัมมาสังกัปปะ

ัมมาสังกัปปะ หมายถึง ดำริชอบ หรือความนึกคิดในทางที่ถูกต้อง เป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปดสัมมาสังกัปปะ มี 3 อย่าง ได้แก.

ใหม่!!: นิพพานและสัมมาสังกัปปะ · ดูเพิ่มเติม »

สัตวโลก

ในศาสนาพุทธ สัตวโลก หมายถึง หมู่สัตว์ (สตฺต) คือสิ่งมีชีวิต มีพิชาน มีขันธ์Getz, Daniel A. (2004).

ใหม่!!: นิพพานและสัตวโลก · ดูเพิ่มเติม »

สุญตา

ญตา (สุญฺตา) หรือ ศูนยตา (ศูนฺยตา) แปลว่า ความว่างเปล่า, ความเป็นของสูญ คือความไม่มีตัวตน ถือเอาเป็นตัวตนไม่ได้ สุญตามีความหมาย 4 นัย คือ.

ใหม่!!: นิพพานและสุญตา · ดูเพิ่มเติม »

สุขาวดี

ตรกรรมฝาผนัง ''พุทธเกษตรของพระอมิตาภะ'' ที่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเบอร์มิงแฮม ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายาน สุขาวดี (सुखावती สุขาวตี) คือพุทธเกษตรของพระอมิตาภพุทธะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของโลก สุขาวดีไม่ใช่นิพพาน แต่เป็นภูมิที่สาวกของพระอมิตาภะใช้ปฏิบัติธรรมต่อหลังจากสิ้นชีวิตบนโลกเพื่อบรรลุนิพพานต่อไป.

ใหม่!!: นิพพานและสุขาวดี · ดูเพิ่มเติม »

หมู่บ้านคุ้งตะเภา

หมู่บ้านคุ้งตะเภา หรือ บ้านคุ้งตะเภา เดิมชื่อว่า "ทุ่งบ้านคุ้งตะเภา" เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ในตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ นับเป็นหมู่บ้านในแถบลุ่มแม่น้ำน่านฝั่งขวาตอนบนที่เคยอยู่ในการปกครองของหัวเมืองพิชัยที่เก่าแก่ที่สุดหมู่บ้านหนึ่ง รองจากเมืองฝางสว่างคบุรีที่มีที่ตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำน่านฝั่งขวาตอนบนเช่นเดียวกัน หมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นชุมชนคนไทยดั้งเดิมที่ตั้งอยู่ปลายเหนือสุดของวัฒนธรรมที่ราบลุ่มภาคกลางตอนบน ตัวหมู่บ้านอยู่ติดริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสองระดับ โดยพื้นที่ติดริมแม่น้ำน่านจะเป็นที่ระดับต่ำมีชั้นลดจากที่ราบปกติ เดิมตัวหมู่บ้านตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มชั้นลดดินตะกอนแม่น้ำพัดดังกล่าว แต่ในปัจจุบันบ้านเรือนส่วนใหญ่ได้ย้ายขึ้นมาตั้งอยู่บนที่ราบภาคกลางริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 โดยพื้นที่เกษตรกรรมของหมู่บ้านส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ทิศตะวันออกของหมู่บ้านและที่ราบลุ่มตะกอนแม่น้ำพัดริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกของหมู่บ้าน ชาวบ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบันส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีประเพณีและวัฒนธรรมคล้ายกับหมู่บ้านชนบททั่วไปในแถบภาคกลางตอนบน โดยมีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง และ โรงเรียนระดับพื้นฐาน 1 โรง เส้นทางคมนาคมหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีนายสมชาย สำเภาทอง เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านคุ้งต.

ใหม่!!: นิพพานและหมู่บ้านคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

อภิธัมมาวตาร

อภิธัมมาวตาร แปลว่า หยั่งลงสู่อภิธรรม หรือ หยั่งรู้เข้าใจในสรรพสิ่งทุกประการอย่างละเอียดที่สุด เป็นผลงานการเรียบเรียงของท่านพระพุทธัตตะ (พุทธัตตาจารย์) ชาวชมพูทวีป ผู้ชำนาญพระไตรปิฎก ซึ่งท่านได้เรียบเรียงขึ้นจากเนื้อหาในพระอภิธรรมปิฎก อรรถกถาของพระไตรปิฎกภาษาบาลีต่าง ๆ ทั้งที่สืบมาแต่ครั้งพุทธกาล และของอาจารย์ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกที่มีชื่อเสียงมีความรู้มากในยุคก่อน..

ใหม่!!: นิพพานและอภิธัมมาวตาร · ดูเพิ่มเติม »

อมฤต

ำสำคัญ "อมฤต" (/อะมะริด, หรือ อะมะรึด/), "อมฤตยู" (/อะมะรึดตะยู/), "อมัจจุ" และ "อมตะ" (/อะมะตะ/) เป็นคำสมาสระหว่าง "อ" (ไม่) + "มฤต, มฤตยู, มัจจุ, มตะ" (ตาย) แปลตรงตัวว่า "ไม่ตาย"; สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: นิพพานและอมฤต · ดูเพิ่มเติม »

อนัตตา

อนัตตา (อนตฺตา) หรือ อนาตมัน (अनात्मन् อนาตฺมนฺ) แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน ไม่ใช่อัตตา (หรืออาตมัน) ไม่ใช่ตัวตน หรือ สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นธรรมชาติของสังขารและวิสังขาร.

ใหม่!!: นิพพานและอนัตตา · ดูเพิ่มเติม »

อนันตริยกรรม

อนันตริยกรรม หมายถึง กรรมหนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ.

ใหม่!!: นิพพานและอนันตริยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

อนุตตรธรรม

อนุตตรธรรม หมายถึง ธรรมที่ไม่มีสิ่งใดยิ่งไปกว่า; ในศาสนาพุทธ: อนุตตรธรรม หมายถึง.

ใหม่!!: นิพพานและอนุตตรธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ผงปถมัง

ผงปถมัง หรือ ปถมัง ชื่อวิชาไสยศาสตร์โบราณของไทย ว่าด้วยการทำผงด้วยเวทมนตร์คาถา โดยใช้แท่งดินสอพองเขียนอักขระลงบนกระดานชนวน เริ่มจากลงนะปถมังหรือนะทรงแผ่นดิน บางแห่งเรียกนะปัดตลอด แล้วลบบังเกิดเป็นนะโมพุทธายะ เป็นองค์พระ เป็นมะอะอุ เป็นอุณาโลม เป็นต้น ไปจนกระทั่งถึงสูญนิพพานจึงเป็นอันสิ้นสุด โดยระหว่างการลงอักขระและลบในขั้นตอนต่าง ๆ จะต้องมีการบริกรรมสูตร ซึ่งเป็นพระคาถาสำหรับการลงอักขระและลบอักขระต่าง ๆ กล่าวกันว่าเป็นอุบายในการฝึกสมาธิอย่างหนึ่งในสมัยโบราณ ผงดินสอพองที่ได้จากการเขียนและลบอักขระตามคัมภีร์ปถมังนี้ เรียกว่าผงปถมัง เชื่อว่ามีอานุภาพทางด้านอิทธิฤทธิ์อยู่ยงคงกระพันโดยมากมักนำมาผสมทำเป็นเครื่องราง ผู้ที่สำเร็จคัมภีร์ปถมังจะอยู่ยงคงกระพันรวมทั้งล่องหนหายตัวได้ ชื่อวิชานี้ปรากฏในวรรณกรรมเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนด้วย ผงอิทธิเจ (อ่านว่า ผง-อิด-ทิ-เจ) และผงปถมํ (อ่านว่า ผง-ปัด-ถะ-มัง) เป็นผง ใช้สำหรับสร้างพระพิมพ์ ประกอบด้วยสูตรการเขียนผง ผงอื่นๆ จากพระสงฆ์ชื่อดัง ว่านหลายชนิด เช่น ว่านนางกวัก ว่านเพชรน้อย ว่านเพชรใหญ่ ว่านเพชรกลับ เศษพระชำรุดจากพระผงพระสมเด็จกรุต่างๆ เช่น วัดใหม่อมตรส วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร ผงปถมํวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ผงปถมํจากหลวงปู่หิน หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ผงปถมํจาก วัดสามปลื้ม ผงปถมํจาก วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ในครั้งแรก การทดลองพิมพ์พระ เนื้อพระเปราะ แตกและหักง่าย พิมพ์ออกมาแล้วไม่สวยบ้างจึงใช้น้ำมนต์และน้ำมันตั้งอิ้วเป็นตัวประสานผง จนประสบผลสำเร็จ ผลปรากฏต่อมาว่าพระผง เนื้อดี เป็นมันแกร่ง คล้ายพระกรุวัดใหม่อมตรส และที่สำคัญเป็นที่เลื่องลือมากในพุทธคุณ มีความเชื่อด้านเมตตามหานิยม หน้.

ใหม่!!: นิพพานและผงปถมัง · ดูเพิ่มเติม »

จารวาก

รวาก (Cārvāka; चार्वाक) หรือโลกายัต เป็นปรัชญาที่มีมาก่อนพุทธกาล ไม่ปรากฏผู้ตั้งคัมภีร์หรือสาวก ที่ทราบว่ามีลัทธินี้อยู่ เพราะมีกล่าวถึงในคัมภีร์ของศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน แนวความเชื่อของลัทธินี้ถือว่าสิ่งที่เป็นจริงจะต้องรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส สิ่งที่อยู่นอกเหนือประสาทสัมผัสเช่น โมกษะ นิพพาน บุญบาป ไม่มีอยู่จริง ไม่เชื่อถือคัมภีร์พระเวท เพราะถือว่าเป็นคัมภีร์ที่พวกพราหมณ์แต่งขึ้นเพื่อมอมเมาประชาชน สรรพสิ่งเกิดจากการรวมตัวของธาตุสี่คือดิน น้ำ ลม ไฟ การตายคือการที่ธาตุทั้งสี่แยกตัวออกจากกัน จิตวิญญาณ อาตมัน โลกหน้าไม่มีจริง ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า จุดหมายของลัทธิจารวากคือความสุขของเนื้อหนังหรือทางประสาทสัมผัส ซึ่งถือว่าเป็นความสุขที่ดีที่สุด การทำดีคือการกระทำที่นำความสุขมาให้.

ใหม่!!: นิพพานและจารวาก · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมจักร

รรมจักรมีกำ 8 ซี่ หมายถึงอริยมรรคมีองค์ 8 ในทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรอันใช้เป็นเครื่องหมายของคณะสงฆ์ไทย มีกำ 12 ซี่ ธรรมจักรมีกำ 12 ซี่ ในตราสัญลักษณ์พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ สัญลักษณ์ธรรมจักรซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายของอนุศาสนาจารย์ของกองทัพสหรัฐอเมริกา ธงธรรมจักร ธงสัญลักษณ์พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ วงล้อแห่งชีวิต (Wheel of life) หรือ ธรรมจักร (Dharmachakra; Wheel of Dhamma) ในศาสนาพุทธและฮินดู เป็นสัญลักษณ์แทนวัฏจักรเวียนว่ายตายเกิด หรือวงเวียนแห่งการ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระพุทธองค์ ลักษณะของธรรมจักรดั้งเดิมมีสองรูปแบบ คือมี หกซี่ หรือบางครั้งห้าซี่ และรูปแบบที่กำเนิดในพุทธศาสนาคือ แปดซี่ สอดคล้องกับ มรรคแปด หรือรูปพระหัถต์ รหัสยูนิโค้ด ซึ่งเป็นรหัสตัวอักษรสากลสำหรับคอมพิวเตอร์ เรียกวงล้อแห่งชีวิตว่า "Wheel of Dhamma" (วงล้อแห่งธรรม) และมีซี่แปดซี่ มีรหัสคือ "U+2638" และมีลักษณะดังนี้.

ใหม่!!: นิพพานและธรรมจักร · ดูเพิ่มเติม »

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

ระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หรือเขียนอย่างภาษามคธว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสน.

ใหม่!!: นิพพานและธัมมจักกัปปวัตนสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ธงศาสนาพุทธ

งศาสนาพุทธที่ใช้ทั่วไปเป็นสากลมีชื่อเรียกว่า ธงฉัพพรรณรังสี เริ่มปรากฏการใช้ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 (เทียบแบบสากลคือราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19).

ใหม่!!: นิพพานและธงศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ขันธ์

ันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของมนุษย์ คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ.

ใหม่!!: นิพพานและขันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความรอด

วามรอด (Salvation) ในทางศาสนา หมายถึง การที่วิญญาณปลอดจากบาปและผลของบาป ถือเป็นเป้าหมายของทุกศาสนา แต่แต่ละศาสนาจะอธิบายลักษณะและวิธีการบรรลุถึงความรอดแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: นิพพานและความรอด · ดูเพิ่มเติม »

ความสุข

วามสุขมักแสดงออกผ่านรอยยิ้ม ความสุข หรือ สุข พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "น.

ใหม่!!: นิพพานและความสุข · ดูเพิ่มเติม »

ปรมัตถธรรม

ปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นอภิธรรม (อภิธรรม คือ ธรรมที่ยิ่งใหญ่) เป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ประสูติและตรัสรู้ สภาพธรรมทั้งหลายก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยอยู่แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา เพราะพระองค์ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เองว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล และธรรมทั้งปวงไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น ปรมัตถธรรมหรืออภิธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่เหลือวิสัยที่จะเข้าใจได้ เพราะปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่มีจริง ฉะนั้น ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก จึงเป็นการรู้ความจริงของปรมัตถธรรม ตามลักษณะของปรมัตถธรรมนั้นๆ ปรมัตถธรรม มี 2 ประเภท คือ รูปธรรม และ นามธรรม (หรือ รูป และ นาม หรือ รูปธาตุ และ นามธาตุ) 1 รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ 2 นามธรรม เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ (อารมณ์ คือ สิ่งที่ปรากฏ และรู้ได้ เป็นได้ทั้ง รูปธรรม และนามธรรม เมื่อจิตเกิดขึ้นรู้สิ่งใด สิ่งที่จิตรู้นั้น ภาษาบาลีเรียกว่า อารมฺมณ หรือ อาลมฺพน) ปรมัตถธรรม มี 4 ประเภท คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน.

ใหม่!!: นิพพานและปรมัตถธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: นิพพานและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปรินิพพาน

วาดพระพุทธเจ้าเข้าสู่อนุปาทิเสนนิพพาน จิตรกรรมฝาผนังวัดท่าถนน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปรินิพพาน แปลว่า การดับรอบ ความปราศจากกิเลสที่ร้อยรัด คือ การดับสนิท ดับด้วยไม่เหลือแห่งกิเลสและกองทุกข์ มีความหมายเดียวกับคำว่า นิพพาน บางครั้งใช้หมายถึง อนุปาทิเสนนิพพาน แปลว่า การดับกิเลสพร้อมทั้งเบญจขันธ์ (อนุปาทิเสสนิพพาน คู่กับ สอุปาทิเสสนิพพาน แปลว่า ดับกิเลสแต่ยังดำรงชีวิตอยู่ เช่น การตรัสรู้) ปรินิพพาน นิยมใช้หมายถึง การดับขันธ์ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนของพระอรหันตสาวกที่เหลือนิยมใช้นิพพานเฉย ๆ ทั้งนี้ นัยว่าเพื่อเป็นการยกย่องพระพุทธเจ้า แต่ในภาษามคธใช้เหมือนกันทั้งสองศัพท์ คือ ใช้สลับกันก็มี ปรินิพพาน สำหรับพระพุทธเจ้านิยมเพิ่มคำว่า "เสด็จดับขันธ์" หรือ "เสด็จดับขันธ" ไว้หน้าด้วย เช่นใช้ว่า "พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา".

ใหม่!!: นิพพานและปรินิพพาน · ดูเพิ่มเติม »

ปัญจวัคคีย์

ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ปัญจวัคคีย์ คือ กลุ่มนักบวชที่ตั้งขึ้นมา เป็นนักบวชที่ปรากฏอยู่ในศาสนาพุทธในฐานะภิกษุชุดแรกที่เข้ามาบวชเป็นสาวก มีทั้งหมด 5 รูป ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ แต่เดิมปัญจวัคคีย์เป็นนักบวชที่ออกบวชติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้าตั้งแต่เสด็จออกผนวชใหม่ ๆ ทั้งหมดเป็นชาวกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้ฟังปฐมเทศนาเป็นรุ่นแรก ได้เป็นภิกษุรุ่นแรกและได้เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกในพระพุทธศาสนา เฉพาะโกณฑัญญะเป็นผู้เคยทำนายลักษณะพระพุทธเจ้าตั้งแต่ตอนประสูติใหม่ ส่วนอีก 4 ท่าน เป็นบุตรของพราหมณ์ที่ทำนายลักษณะของพระพุทธเจ้าร่วมกับโกณฑัญญะ เพราะมีความเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะต้องได้เป็นพระพุทธเจ้าจึงได้ออกบวชตาม ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ได้แสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน โกณฑัญญะได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะในด้านรัตตัญญู เรียกว่า มีราตรีนาน คือเป็นผู้รู้ธรรมก่อนใคร และได้บวชก่อนผู้อื่นในพระพุทธศานา จากนั้นพระพุทธองค์ทรงประทาน ปกิณณกเทศนา สั่งสอนที่เหลืออีก 4 ท่าน ให้บรรลุโสดาบันแล้วประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ ในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตร ซึ่งมีใจความดังนี้ ขณะสดับพระธรรมเทศนา พระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ไม่ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปาทาน สามารถละสังโยชน์ครบ 10 ประการ ได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 รูป.

ใหม่!!: นิพพานและปัญจวัคคีย์ · ดูเพิ่มเติม »

นาคารชุนะ

ระนาคารชุนะ รูปปั้นของพระนาคารชุนะ ในวัดพุทธแบบทิเบตแห่งหนี่งในสหราชอาณาจักร นาคารชุนะ (नागार्जुन; Nāgārjuna; నాగార్జునా;; มีชีวิตในช่วงประมาณ พ.ศ. 700 - 800) เป็นนักปรัชญาอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะ (ทางสายกลาง) ในนิกายมหายาน แห่งพุทธศาสนา และนับเป็นนักคิดชาวพุทธที่มีอิทธิพลสูงสุด ถัดจากพระพุทธเจ้า เป็นที่ศรัทธาและกล่าวถึงในหมู่นักศึกษาพุทธศาสนาชาวยุโรปมาโดยตลอด ท่านเป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีผลงานโดดเด่นในด้านปรัชญาและตรรกวิทยา ผลงานสำคัญของท่านคือ มาธยมิกการิกา (มาธยมิกศาสตร์)อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยวาท ประกอบด้วยการิกา 400 การิกา ใน 27 ปริเฉท หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องตลอดมา และเป็นที่ยอมรับกันว่านักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระนาคารชุนะไม่เคยมีปรากฏในโลก ศาสนิกชนมหายานทุกนิกายยกย่องท่านในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ อย่างไรก็ตาม ประวัติของท่านกลับไม่ชัดเจนเท่าที่ควร.

ใหม่!!: นิพพานและนาคารชุนะ · ดูเพิ่มเติม »

นิพพิทา

นิพพิทา แปลว่า ความเบื่อหน่าย นิพพิทา หมายถึงความเบื่อหน่ายในกองทุกข์ คือเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดยินดีในสังขารด้วย การรู้แจ้งเห็นจริงว่าเป็นสิ่งน่าเบื่อ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่น่ายึดมั่นถือมั่น เป็นความเบื่อหน่ายด้วยปัญญา เบื่อหน่ายถาวร และเกิดขึ้นในทุกสังขาร ความเบื่อหน่ายธรรมดา ความเบื่อหน่ายในสิ่งที่ไม่ชอบ เช่นคนป่วยเบื่อหน่ายอาหาร ภรรยาเบื่อหน่ายสามีที่มีชู้ ครูเบื่อหน่ายนักเรียนเกเร ไม่จัดเป็นนิพพิทา เพราะไม่เป็นการเบื่อหน่ายแบบถาวร แต่เป็นประเภทเบื่อๆ อยากๆ นิพพิทา จัดเป็นนิพพิทาญาณ คือความหยั่งรู้ด้วยความเป็นจริงในสังขารด้วยความเบื่อหน่ายเป็นทางให้เกิดวิสุทธิมรรคผลนิพพาน.

ใหม่!!: นิพพานและนิพพิทา · ดูเพิ่มเติม »

นิโรธ

นิโรธ (อ่านว่า นิโรด) แปลว่า ความดับ (ทุกข์) คือความสำรอกออก, สลัดทิ้ง, ปลดปล่อย, ไม่มีเยื่อใยสมุทัยอันเป็นบ่อเกิดทุกข์ได้สิ้นเชิง หมายถึง การทำลายสมุทัยและดับสมุทัยคือตัวตัณหาให้สิ้นไปจนไม่เกิดขึ้นได้อีกเหมือนไฟที่สิ้นเชื้อ ด้วยอำนาจการดำเนินตามมรรคจนได้บรรลุมรรคนั้นๆ นิโรธ จัดเป็นอริยสัจอันดับที่3ในอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โดยภาวะคือนิพพานนั่นเอง.

ใหม่!!: นิพพานและนิโรธ · ดูเพิ่มเติม »

โพธิสัตว์ศีล

ัตว์ศีล คือศีลที่ปรากฏเฉพาะในพุทธศาสนานิกายมหายาน มีจุดมุ่งหมายให้ผู้สมาทานศีลนี้ มีความสำรวมทั้งกาย วาจา ใจเพื่อการก้าวสู่สถานะพระโพธิสัตว์รื้อขนสรรพสัตว์สู่พระนิพพาน โดยปกติแล้วฝ่ายบรรพชิตฝ่ายเถรวาทจะถือพระปาติโมกข์หรือศีล 227 ข้อ หรือที่ฝ่ายมหายานเรียกในภาษสันสกฤตว่า ปราติโมกษ์ โดยบรรพชิตฝ่ายมหายานก็ถือศีลชุดนี้เช่นกัน โดยอาศัยพระวินัยปิฎกจากพระไตรปิฎกของนิกายธรรมคุปต์ ซึ่งมีเนื้อหาตรงกับพระวินัยและ/หรือพระปาติโมกข์ของฝ่ายเถรวาท โดยบรรจุรวมอยู่ในพระไตรปิฎกภาษาจีน อย่างไรก็ตาม นอกจากปาติโมกข์ หรือปราติโมกษ์ แล้ว บรรพชิตฝ่ายมหายานยังถือโพธิสัตว์ศีลอีกด้วย เพื่อขัดเกลาตนเองและศีลให้บริสุทธิ์สมกับการดำเนินตามครรลองโพธิสัตว์มรรคยิ่งขึ้น อันเป็นหลักปฏิบัติสำคัญของพุทธศาสนิกชนนิกายมหายาน เสถียร โพธินันทะ ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา และผู้แปลพระวินัยในพุทธศาสนามหายาน กล่าวถึงโพธิสัตว์ศีลไว้ในหนังสือ "ประมวญกำหนดสิกขาบทในอุตตรนิกาย" ไว้ว่า "อนึ่ง ถ้าจะพิจารณาตามกำเนิดของลัทธิมหายาน จักประจักษ์ว่า เป็นด้วยวัตถุประสงค์ส่งเสริมจริยาแห่งพระบรมโพธิสัตว์เป็นสำคัญ โดยสอนให้บุคคลตั้งปณิธาน มุ่งพระพุทธภูมิ เพื่อมีโอกาสในการโปรดสรรพสัตว์ได้กว้างขวาง ฉะนั้น ลัทธิมหายานจึงมีสิกขาบทพิเศษอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีในลัทธิฝ่ายสาวกยานนั่นคือ “โพธิสัตว์สิกขาบท” หรือ “โพธิสัตว์ศีล” ซึ่งศีลประเภทนี้ เป็นสาธรณทั่วไป แก่บรรพชิต และฆราวาสชน มิได้จำกัดเพศ ใคร ก็ตามที่มีโพธิจิตต์ตั้งความปรารถนา จักลุพุทธภูมิไซร้ ก็ย่อมบำเพ็ญตามสิกขาบทนี้ และโพธิจริยาอื่นๆ มีทศบารมี เป็นต้น" โพธิสัตว์ศีล ของฝ่ายมหายานปรากฏในในพรหมชาลสูตร (มหายาน) ซึ่งระบุถึงศีลสำหรับพระโพธิสัตว์ อันเป็นมูลฐานของการเป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และพุทธะธาตุ หรือความเป็นพุทธะในตัวของสรรพสัตว์ แบ่งออกเป็นมหาโพธิสัตว์ศีล 10 (ครุกาบัติ) และจุลโพธิสัตว์ศีล 48 (ลหุกาบัติ) รวมเป็นโพธิสัตว์ศีล 58 ทั้งนี้ หากละเมิดครุกาบัติถือเป็นปาราชิก อย่างไรก็ตาม อาบัติโทษสถานหนัก 10 ข้อ แยกไว้เป็น 3 ประเภท เจตนา บังเอิญ หรือ สุดวิสัย คือ.

ใหม่!!: นิพพานและโพธิสัตว์ศีล · ดูเพิ่มเติม »

โลกุตระ

ลกุตระ (อ่านว่า โลกุดตะระ) แปลว่า พ้นโลก อยู่เหนือวิสัยของโลก หรืออุตรภาพ เป็นคำที่ใช้คู่กับ โลกิยะ ซึ่งแปลว่า ยังเกี่ยวข้องกับโลก เรื่องของโลก โลกุตระ หมายถึงภาวะที่หลุดพ้นแล้วจากโลกิยะ ไม่เกี่ยวข้องกับกาม ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชาอีกต่อไป ได้แก่ธรรม 9 ประการซึ่งเรียกว่า นวโลกุตรธรรม หรือ โลกุตรธรรม 9 ในธัมมสังคณี พระอภิธรรมปิฎก ระบุว่า โลกุตรธรรม มี 9 ได้แก่ อริยมรรค 4 อริยผล 4 นิพพาน 1 โดยมีรายละเอียดดังนี้.

ใหม่!!: นิพพานและโลกุตระ · ดูเพิ่มเติม »

โสดาบัน

ัน (Sotāpanna โสตาปนฺน) แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแส (แห่งพระนิพพาน) ถือเป็นอริยบุคคลระดับแรกใน 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต.

ใหม่!!: นิพพานและโสดาบัน · ดูเพิ่มเติม »

ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น

อน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น ISBN: 9789749985854 ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น เป็นหนังสือแต่งโดย ทันตแพทย์สม สุจีรา มีเนื้อหาทั้งทางวิทยาศาสตร์และหลักการทางพุทธศาสนา จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์อมรินทร์ หนังสือได้รับการพิมพ์ซ้ำถึง 40 ครั้ง ยอดพิมพ์ไม่ต่ำกว่า 100,000 เล่ม ต่อมา ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ได้ท้วงติงเนื้อหาที่ผิดพลาดในเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น จักรวาลวิทยา (cosmology) ในหน้า 31 ทฤษฎีสตริง (string theory) ในหน้า 39 ทฤษฎีเคออส (chaos theory) ในหน้า 128 และทฤษฎีสัมพัทธภาพ (relativity) ซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปในเล่มเมื่อกล่าวถึงแสงและเวลา เป็นต้น ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ออกมาทักท้วงว่าเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาไม่ถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์หล.

ใหม่!!: นิพพานและไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น · ดูเพิ่มเติม »

ไจติกะ

นิกายเจติยวาท หรือ นิกายไจติกะ เป็นนิกายฝ่ายอาจริยวาท ตั้งขึ้นโดยอาจารย์มหาเทวะ แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายมหาสังฆิกะ ที่ต่างไปคือถือว่าการสร้างและการตกแต่งสถูปเจดีย์ได้บุญมาก พระนิพพานเป็นสภาวะที่มีอยู่ เป็นอมตธาต.

ใหม่!!: นิพพานและไจติกะ · ดูเพิ่มเติม »

เหตุผลวิบัติโดยอุดมคติเพ้อฝัน

หตุผลวิบัติโดยอุดมคติเพ้อฝัน (nirvana fallacy) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยโดยเปรียบเทียบทางเลือกที่เป็นของจริงกับอุดมคติที่เพ้อฝัน เป็นไปไม่ได้ แต่สมบูรณ์แบบH.

ใหม่!!: นิพพานและเหตุผลวิบัติโดยอุดมคติเพ้อฝัน · ดูเพิ่มเติม »

เจตสิก

ตสิก (อ่านว่า เจตะสิก) (cetasika; caitasika) แปลว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต, สิ่งที่เกิดในใจ, ทางใจ เจตสิกหมายถึงองค์ประกอบของจิต อาการหรือการแสดงออกของจิต จัดเป็นสมรรถนะหรือคุณสมบัติของจิต มีลักษณะที่เกิดดับพร้อมกับจิต เป็นอารมณ์ของจิต มีวัตถุที่อาศัยเดียวกับจิต เป็นกฎเกณฑ์ให้ประกอบเป็นจิต เจตสิกแยกเป็นขันธ์ ได้ 3 ขันธ์ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ (คือความแปรปรวนทางนามธาตุ) สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ (เปรียบเช่นภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จดจำการแก้ทุกขัง) เจตสิกที่เหลืออีก 50 เป็น สังขารขันธ์ (ได้แก่นามธาตุต่างๆมีสภาวะเป็นข้อมูล ที่เป็นกฎเกณฑ์ให้เป็นไปทั่วของจิต อันเป็นดุจรหัสพันธุ์กรรมของจิต) เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ.

ใหม่!!: นิพพานและเจตสิก · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)

ระอาชญาเจ้าขุนรามราชรามางกูร (ลาว: ພຣະອາດຊະຢາເຈົ້າຂຸນຣາມມະຣາຊຣາມາງກູຣ, ราว พ.ศ. ๒๓๐๐-๒๔๐๐) ทรงเป็นเจ้าเมืองพนม (เมืองธาตุพนม) อันเป็นเมืองกัลปนาหรือเมืองพุทธศาสนานครพระองค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ เมื่อครั้งธาตุพนมยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ ก่อนตกเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม และทรงเป็นเจ้าขุนโอกาส (ขุนโอกลาษ) ผู้รักษากองข้าอุปัฏฐากพระบรมมหาธาตุเจ้าเจดีย์พระนม (พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร) พระองค์แรกแห่งราชวงศ์เวียงจันทน์ ระหว่างราวปี..

ใหม่!!: นิพพานและเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) · ดูเพิ่มเติม »

เดรัจฉาน

ในศาสนาพุทธ เดรัจฉาน หมายถึง สัตว์ จัดเป็นหนึ่งในอบายภูมิ 4.

ใหม่!!: นิพพานและเดรัจฉาน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหาปรินิพพานพระนิพพาน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »