โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิพจน์ปรกติ

ดัชนี นิพจน์ปรกติ

นิพจน์ปรกติ (regular expression สามารถย่อได้เป็น regexp หรือ regex) ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือ สตริงที่อธิบายถึงรูปแบบของสตริงตามโครงสร้างรูปแบบที่กำหนด นิพจน์ปรกตินั้นใช้อยู่แพร่หลายในโปรแกรมประเภท Text editor ในการค้นหาและปรับเปลี่ยนข้อความ ภาษาโปรแกรมหลายภาษายังรองรับการใช้นิพจน์ปรกติสำหรับการจัดการและปรับเปลี่ยนสตริง.

12 ความสัมพันธ์: ภาษากรูวีภาษาออว์กวิมทฤษฎีการคำนวณทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)ดอกจันตารางของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ปรัศนีแบชโครงการจาการ์ตาไพป์เอดิตพลัส

ภาษากรูวี

ษากรูวี (Groovy) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุสำหรับแพลตฟอร์มจาวาอันหนึ่ง นอกเหนือจากภาษาจาวา เราอาจมองกรูวีเป็นเหมือนภาษาสคริปต์สำหรับแพลตฟอร์มจาวาก็ได้ เนื่องจากมันมีคุณลักษณะหลายอย่างเหมือนกับภาษาสคริปต์อย่าง ไพทอน (Python) รูบี้ (Ruby) เพิร์ล (Perl) และ สมอลทอล์ค (Smalltalk).

ใหม่!!: นิพจน์ปรกติและภาษากรูวี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาออว์ก

ษาออว์ก (AWK) เป็นภาษาโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อประมวลผลข้อความในไฟล์หรือสตรีม ชื่อ "AWK" นั้นเป็นตัวย่อของชื่อผู้สร้างทั้งสามคน ซึ่งได้แก่ Alfred '''A'''ho, Peter '''W'''einberger และ Brian '''K'''ernighan ในกรณีที่เขียน awk ด้วยตัวพิมพ์เล็ก จะหมายถึงโปรแกรมในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ หรือ Plan 9 ที่ใช้ประมวลผลโปรแกรมอื่นๆ ซึ่งเขียนด้วยภาษา AWK นี้ AWK เป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างภาษาโปรแกรมที่เน้นการใช้ชนิดข้อมูลแบบสตริง, associative arrays และ นิพจน์ปรกติ ด้วยความสามารถของ AWK และโปรแกรม sed จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ Larry Wall สร้างภาษาเพิร์ลขึ้นมาในภายหลัง.

ใหม่!!: นิพจน์ปรกติและภาษาออว์ก · ดูเพิ่มเติม »

วิม

Vim หรือ วิม ย่อมาจาก Vi IMproved เป็นซอฟต์แวร์เสรี สำหรับเอดิเตอร์สำหรับแก้ไขไฟล์ มีรากฐานการพัฒนามาจากโปรแกรม vi ที่มีอยู่เดิม สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการหลายๆ ตัว Vim ถูกพัฒนาโดย แบรม มูลีนาร์ (Bram Moolenaar) ออกเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 นับตั้งแต่นั้นมามีการเพิ่มเติมขีดความสามารถให้กับ Vim ความสามารถหลายอย่างออกแบบมาให้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขซอร์สโค้ดโปรแกรม Vim ถูกออกแบบสำหรับทั้ง command line interface และ graphical user interface โดยดังเดิม Vim ทำงานบนระบบปฏิบัติการ อะมีกา เท่านั้น จนกระทั่งมีการพัฒนา สนับสนุนการทำงานบนระบบปฏิบัติการหลายๆ ตัว ในปี..

ใหม่!!: นิพจน์ปรกติและวิม · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีการคำนวณ

การศึกษาเกี่ยวกับ ทฤษฎีการคำนวณ เริ่มขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ยี่สิบ ก่อนจะมีการคิดค้นคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้น ในช่วงเวลาดังกล่าว นักคณิตศาสตร์ได้เริ่มศึกษาว่า ปัญหาทางคณิตศาสตร์ใดบ้างที่สามารถแก้ได้ด้วยวิธีพื้นฐาน และปัญหาใดที่ไม่สามารถแก้ได้ ขั้นตอนแรกก็คือการนิยามให้ได้ว่าวิธีพื้นฐานในการแก้ปัญหานั้นคืออะไรบ้าง นั่นคือ พวกเขาต้องการโมเดลอย่างเป็นทางการของการคำนวณ (formal model of computation) ได้มีการสร้างโมเดลในรูปแบบต่างๆ มากมาย โมเดลเครื่องจักรทัวริงมองการคำนวณเป็นการทำงานของเครื่องจักรที่ทำงานบนเทปเก็บตัวอักษรที่มีความยาวไม่จำกัด โดยมีหัวอ่าน/เขียนที่จะทำงานกับช่องบนเทปทีละช่อง อีกโมเดลหนึ่งพิจารณาการคำนวณผ่านทางฟังก์ชันเวียนบังเกิด ซึ่งใช้ฟังก์ชันและการประกอบกัน (composition) ของฟังก์ชันที่ทำงานบนตัวเลข โมเดลแลมดาแคลคูลัสใช้วิธีคล้ายๆกัน นอกจากนี้ยังมีโมเดลอื่นๆ เช่น ขั้นตอนวิธีของมาคอฟและระบบของโพสต์ที่ใช้ไวยากรณ์บนสตริง โมเดลทางการต่างๆเหล่านี้ได้รับการแสดงว่ามีความสามารถเทียบเท่ากัน นั่นคือ การคำนวณใดๆที่กระทำได้โดยโมเดลหนึ่งจะสามารถทำได้ในอีกโมเดลด้วยเช่นกัน โมเดลเหล่านี้ยังมีความสามารถเท่ากันกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่เราใช้อยู่ ถ้าเราสมมติว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีหน่วยความจำไม่รู้จบ นอกจากนี้ ยังเป็นที่เชื่อกันอีกว่า ทุกๆ โมเดลการคำนวณที่ "สมเหตุสมผล" จะมีความสามารถเทียบเท่ากับเครื่องจักรทัวริ่ง ซึ่งความเชื่อนี้เรียกว่า ข้อปัญหาของเชิร์ช-ทัวริง (Church-Turing thesis) ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับขอบเขตของปัญหาที่คำนวณได้ด้วยโมเดลของเครื่องจักรแบบต่างๆนั้นคือ ทฤษฎีการคำนวณได้ ทฤษฎีการคำนวณศึกษาโมเดลการคำนวณ พร้อมๆกับขีดจำกัดของการคำนวณ เช่น ปัญหาใดที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถแก้ได้ด้วยคอมพิวเตอร์? (ดู ปัญหาการยุติการทำงาน หรือ ปัญหาความสัมพันธ์ของโพสต์) ปัญหาใดบ้างที่สามารถแก้ไขได้ด้วยคอมพิวเตอร์ แต่ต้องการเวลามหาศาลจนทำให้การหาคำตอบนั้นเป็นไปไม่ได้ (ดู:en:Presburger arithmetic) การหาคำตอบยากกว่าการตรวจคำตอบของปัญหาหรือไม่ (ดู กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี) ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเวลาและเนื้อที่ที่ต้องการสำหรับปัญหาต่างๆ คือ ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ นอกจากโมเดลในการคำนวณทั่วไปแล้ว ยังมีรูปแบบในการคำนวณอื่นๆ ที่ง่ายกว่านั้น เช่น โมเดลของนิพจน์ปรกติ ที่เป็นวิธีที่ใช้กำหนดรูปแบบของสตริงในยูนิกซ์ และในบางภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาเพิร์ล โดยมีโมเดล เช่น เครื่องจักรสถานะจำกัดที่มีความสามารถเทียบเท่ากัน โมเดลที่มีความสามารถกว่าโมเดลนิพจน์ regular เช่น โมเดลที่อธิบายการคำนวณผ่านทางไวยากรณ์ที่ไม่ขึ้นกับสภาพรอบข้าง (context-free grammar) ใช้สำหรับระบุไวยากรณ์ของภาษาโปรแกรม โดยที่มีเครื่องจักรกดลง (pushdown automata) เป็นอีกรูปแบบที่เทียบเท่ากัน ฟังก์ชันเวียนบังเกิดพื้นฐานก็เป็นโมเดลย่อยของฟังก์ชันเวียนบังเกิด โมเดลที่แตกต่างกันอาจมีความสามารถที่แตกต่างกันได้ อีกวิธีหนึ่งที่จะวัดความสามารถของโมเดลต่างๆ ก็คือการศึกษากลุ่มของภาษาทางการ (formal language) ที่โมเดลเหล่านั้นสามารถสร้างได้ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องจักรสถานะจำกัดสามารถสร้างได้เพียงภาษาที่เทียบเท่ากับนิพจน์ regular ส่วนเครื่องจักรกดลงนั้นสามารถสร้างภาษาที่ระบุด้วยไวยากรณ์ที่ไม่ขึ้นกับสภาพรอบข้างได้ด้วย ระดับความสามารถทางภาษาทางการของโมเดลเหล่านี้เป็นที่มาของระดับชั้นของ Chomsky ตารางด้านล่างแสดงกลุ่มของปัญหา (หรือภาษา หรือไวยากรณ์) ที่พิจารณาในทฤษฎีการคำนวณได้.

ใหม่!!: นิพจน์ปรกติและทฤษฎีการคำนวณ · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

#ทอร์เบราว์เซอร์ --> ทอร์ (Tor) เป็นซอฟต์แวร์เสรี (ฟรี) ที่ช่วยให้สื่อสารทางอินเทอร์เน็ตอย่างนิรนามได้ด้วยการจัดเส้นทางการสื่อสารแบบหัวหอม รวมทั้งช่วยให้สามารถเรียกดูเว็บไซต์บางแห่งที่ถูกเซ็นเซอร์ได้ ส่วนชื่อเป็นอักษรย่อจากโปรเจ็กต์ซอฟต์แวร์ดั้งเดิมคือ "The Onion Router" (เราเตอร์หัวหอม) ทอร์ส่งการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายทั่วโลก ฟรี ให้บริการโดยอาสาสมัคร และมีสถานีส่งต่อ/รีเลย์มากกว่า 7,000 สถานี เพื่อซ่อนตำแหน่งและการใช้งานของผู้ใช้จากใครก็ได้ที่ทำการเพื่อสอดแนมทางเครือข่าย หรือเพื่อวิเคราะห์การสื่อสาร เพราะการใช้ทอร์จะทำให้ตามรอยกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตกลับไปหาผู้ใช้ได้ยากขึ้น ซึ่งรวมทั้ง "การเยี่ยมใช้เว็บไซต์ การโพสต์ข้อความออนไลน์ การส่งข้อความทันที และรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ" ทอร์มุ่งหมายเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ รวมทั้งป้องกันเสรีภาพและให้สมรรถภาพในการสื่อสารอย่างเป็นส่วนตัว โดยป้องกันการสื่อสารไม่ให้เฝ้าสังเกตได้ การจัดเส้นทางแบบหัวหอม (Onion routing) ทำให้เกิดผลโดยการเข้ารหัสลับในชั้นโปรแกรมประยุกต์ของโพรโทคอลสแตกที่ใช้ในการสื่อสาร โดยทำเป็นชั้น ๆ เหมือนกับของหัวหอม คือทอร์จะเข้ารหัสข้อมูล รวมทั้งเลขที่อยู่ไอพีของโหนดหรือสถานีต่อไปเป็นชั้น ๆ แล้วส่งข้อมูลผ่านวงจรเสมือนที่ประกอบด้วยสถานีรีเลย์ของทอร์ที่เลือกโดยสุ่มเป็นลำดับ ๆ สถานีรีเลย์แต่ละสถานีจะถอดรหัสชั้นการเข้ารหัสชั้นหนึ่ง เพื่อหาว่า สถานีไหนเป็นรีเลย์ต่อไปในวงจร แล้วส่งข้อมูลเข้ารหัสที่เหลือไปให้ สถานีสุดท้ายจะถอดรหัสชั้นลึกสุด แล้วส่งข้อมูลดั้งเดิมไปยังเป้าหมายโดยไม่เปิดเผยและก็ไม่รู้ด้วยถึงเลขที่อยู่ไอพีซึ่งเป็นแหล่งเบื้องต้น เพราะการจัดเส้นทางการสื่อสารจะปิดไว้ส่วนหนึ่ง ณ สถานีเชื่อมต่อทุก ๆ สถานีภายในวงจร วิธีการนี้กำจัดจุด ๆ เดียวชนิดที่การสอดแนมทางเครือข่ายอาจกำหนดต้นปลายการสื่อสาร แต่ฝ่ายตรงข้ามก็อาจพยายามระบุผู้ใช้โดยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งอาจทำได้โดยการถือเอาประโยชน์จากจุดอ่อนของซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เช่น สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐมีเทคนิคที่ใช้จุดอ่อนหนึ่งที่ตั้งชื่อรหัสว่า EgotisticalGiraffe ในเว็บเบราว์เซอร์มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ล้าสมัยรุนหนึ่ง ที่เคยรวมแจกจ่ายกับชุดโปรแกรมทอร์ และโดยทั่วไป สำนักงานจะเพ่งเล็งเฝ้าสังเกตผู้ใช้ทอร์ในโปรแกรมการสอดแนม XKeyscore ขององค์กร การโจมตีทอร์เป็นประเด็นงานวิจัยที่ยังดำเนินการอยู่ ซึ่งโปรเจ็กต์ทอร์เองก็สนับสนุน อย่างไรก็ดี ไม่ใช่เพียงแค่ครั้งหนึ่งเท่านั้นเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ที่ทอร์ได้พัฒนาขึ้นโดยบุคคลที่อยู่ใต้สัญญาการว่าจ้างจากสำนักงานโปรเจ็กต์การวิจัยก้าวหน้าของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (DARPA) และจากแล็บวิจัยกองทัพเรือสหรัฐ (U.S. Naval Research Laboratory) แต่ตั้งแต่เริ่มโครงการมา เงินทุนโดยมากก็มาจากรัฐบาลกลางสหรั.

ใหม่!!: นิพจน์ปรกติและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) · ดูเพิ่มเติม »

ดอกจัน

อกจัน (*) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายดอกของต้นจัน อาจมีห้าแฉก หกแฉก แปดแฉก หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับไทป์เฟซและยูนิโคด โดยปกติการเขียนดอกจันจะเขียนให้สูงขึ้นกว่าข้อความเล็กน้อย ใช้สำหรับเน้นส่วนสำคัญหรือใช้อธิบายเชิงอรรถ เครื่องหมายนี้มีการเรียกอีกชื่อว่า สตาร์ (star) เพราะมีรูปร่างคล้ายรูปดาว สำหรับดอกจันสามตัวที่วางเรียงกันแบบสามเหลี่ยม (⁂) เรียกว่า แอสเทอริซึม (asterism).

ใหม่!!: นิพจน์ปรกติและดอกจัน · ดูเพิ่มเติม »

ตารางของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

รายการนี้จะถูกจัดระเบียบตาม "ความสัมพันธ์" มี Wikibooks สำหรับการใช้สัญลักษณ์ในแบบ LaTex และยังครอบคลุมถึงการอธิบายเรื่องสัญลักษณ์ LaTex สัญลักษณ์อาจจะถูกเพิ่มเข้าผ่านทางทางเลือกอื่นอย่างเช่นการตั้งค่าเอกสารขึ้นมาเพื่อสนับสนุนยูนิโค้ด (ป.ล. การคัดลอกและการวางใช้แป้นพิมพ์คำสั่ง \unicode ) .

ใหม่!!: นิพจน์ปรกติและตารางของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัศนี

ปรัศนี หรือ เครื่องหมายคำถาม หรือ เครื่องหมายสงสัย (question mark) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะตล้ายตะขอหันทางซ้ายและมีจุดอยู่ข้างล่าง มีการใช้ดังนี้.

ใหม่!!: นิพจน์ปรกติและปรัศนี · ดูเพิ่มเติม »

แบช

แบช (bash: Bourne-again shell) เป็นเชลล์ยูนิกซ์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับโครงการกนู ชื่อเต็มของโปรแกรมล้อเลียนเชลล์อีกตัวคือ บอร์นเชลล์ (Bourne shell) แบชเขียนมาใช้แทนบอร์นเชลล์ซึ่งเขียนขึ้นสำหรับยูนิกซ์เวอร์ชัน 7 โดย สตีเฟน บอร์น (Stephen Bourne) เมื่อประมาณ..

ใหม่!!: นิพจน์ปรกติและแบช · ดูเพิ่มเติม »

โครงการจาการ์ตา

รงการจาการ์ตา หรือ อะแพชี จาการ์ตา (Jakarta project หรือ Apache Jakarta) เป็นโครงการสำหรับสร้างและบำรุงรักษาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สบนแพลตฟอร์มจาวา โครงการนี้เป็นศูนย์รวมของโครงการย่อยอื่นๆ ภายใต้มูลนิธิซอฟต์แวร์อะแพชี (Apache Software Foundation) และผลิตภัณฑ์ของโครงการจาการ์ตาทั้งหมดได้เผยแพร่ออกสู่สาธารณะด้วยสัญญาอนุญาตอะแพชี (Apache License) ชื่อของโครงการจาการ์ตาไม่ได้เลียนแบบมาจากเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย หรือสปีชีส์ของผีเสื้อสีน้ำเงินที่ชื่อจาการ์ตา แต่มาจากชื่อของห้องประชุมในบริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ที่ซึ่งนำมาสู่การอภิปรายเพื่อให้เกิดโครงการนี้.

ใหม่!!: นิพจน์ปรกติและโครงการจาการ์ตา · ดูเพิ่มเติม »

ไพป์

ป์ (pipe) หรือ ขีดตั้ง (vertical bar) เป็นชื่อของสัญลักษณ์ของตัวอักษร ASCII ที่ตำแหน่ง 124 ตัวอักษรนี้ใช้สัญลักษณ์เส้นในแนวตั้ง (|) หรือในบางครั้งใช้เส้นตั้งที่มีแยกตรงกลาง (¦ - broken bar) ในคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม จะใช้สัญลักษณ์ broken bar เป็นส่วนมาก แต่อย่างไรก็ตาม broken bar เป็นตัวอักษรที่อยู่ต่างออกไปที่ตำแหน่งของ U+00A6 (¦).

ใหม่!!: นิพจน์ปรกติและไพป์ · ดูเพิ่มเติม »

เอดิตพลัส

อดิตพลัส (EditPlus) คือโปรแกรมแก้ไขข้อความ 32 บิต สำหรับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เป็นโปรแกรมสัญชาติเกาหลีใต้ พัฒนาโดย คิม ซังอิล (김상일) จากอีเอส-คอมพิวติง เป็นแชร์แวร์ให้ทดลองใช้งานได้ 30 วัน ซึ่งหากเลยกำหนดแล้วโปรแกรมจะไม่สามารถบันทึกไฟล์ได้.

ใหม่!!: นิพจน์ปรกติและเอดิตพลัส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

RegexRegular ExpressionRegular expressionนิพจน์ปกติ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »