โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นาค

ดัชนี นาค

นาคสะดุ้ง ประติมากรรมตามบันไดทางขึ้นโบสถ์ของวัดไทย ตามความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นาค (नाग Nāga) เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่ ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษะ (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร อนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในน้ำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทธิฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม.

41 ความสัมพันธ์: บริขารบาดาลช้างในประเทศไทยพญานาคพระพิรุณพระราชพิธีทวีธาภิเศกในรัชกาลที่ 5พระราชลัญจกรประจำรัชกาลพระวัชรปาณีโพธิสัตว์พระที่นั่งราเชนทรยานพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทการ์เดียนครอสกุลบุตรมรกตมหากาฬมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนม้านิลมังกรรายชื่อผู้ได้รับรางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทยรายชื่อตัวละครใน ขบวนการสปอร์ตเรนเจอร์ลำนำหกพิภพวัดพระศรีรัตนศาสดารามวัดพระธาตุแช่แห้งวัดเชิงท่า (ลพบุรี)วานรสิบแปดมงกุฎสวรรค์หมู่บ้านคุ้งตะเภาอะยีท้าววิรุฬหกครุฑตราประจำจังหวัดของไทยตราแผ่นดินของไทยปราสาทเมืองต่ำป่าหิมพานต์นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐนักสิทธิ์นาก (แก้ความกำกวม)นาค (แก้ความกำกวม)นางกาลอัคคีนาคราชแปดเทพอสูรมังกรฟ้าโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสุพรรณบุรีไทเขินเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

บริขาร

ริขาร (อ่านว่า บอริขาน) หมายถึงเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็นของภิกษุซึ่งมี 8 อย่าง เรียกว่าอัฐบริขาร (อ่านว่า -อัดถะ) แปลว่าบริขาร 8 คือสบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อน) บาตร มีดโกน เข็ม ประคดเอว ธมกรก (ที่กรองน้ำ) ซึ่งจำเป็นในการเตรียมการบวช เช่นคำพูดของเพื่อนบ้านถามแม่ของนาคซึ่งเตรียมจะบวชว่า "บวชลูกคราวนี้ไปซื้ออัฐบริขารมาหรือยัง" อัฐบริขาร ในวงการพระจำกันว่า "ผ้า 4 เหล็ก 3 น้ำ 1" ผ้า 4 คือสบง จีวร สังฆาฏิ ประคดคาดเอว เหล็ก 3 คือบาตร มีดโกน เข็ม น้ำ 1 คือธมกรก บางครั้งเรียกบริขารเหล่านี้ว่า สมณบริขาร หมายถึงเครื่องใช้สอยของสมณะหรือนักบวชในพระพุทธศาสน.

ใหม่!!: นาคและบริขาร · ดูเพิ่มเติม »

บาดาล

ำสำคัญ "บาดาล" สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: นาคและบาดาล · ดูเพิ่มเติม »

ช้างในประเทศไทย

ในปัจจุบัน ช้างเอเชีย นอกจากจะเป็นสัตว์ประจำชาติไทยแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อประเทศไทย ดังนี้.

ใหม่!!: นาคและช้างในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

พญานาค

ญานาค (नागराज นาคราช) หมายถึง นาคผู้เป็นใหญ่ นาคผู้เป็นหัวหน้า ตามความเชื่อในศาสนาแบบอินเดีย คล้ายกับพญามังกร (龍王 หลงหวัง) ตามคติศาสนาพื้นบ้านจีน.

ใหม่!!: นาคและพญานาค · ดูเพิ่มเติม »

พระพิรุณ

ระพิรุณ หรือ พระวิรุณ หรือ พระวรุณ (वरुण) เป็นเทพเจ้าแห่งฝน ตามคติของศาสนาฮินดู เป็นโลกบาลทิศประจิม (ทิศตะวันตก) มีผิวสีขาวผ่อง ถือบ่วงบาศและอาโภค ทรงจระเข้เป็นพาหนะ (หรือนาค หรือมกร) ในหนังสือพระนลคำหลวง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวระบุว่า พิรุณเป็นนามของพระสุริยะ เป็นลูกนางอทิติ เป็นเทพแห่งความเป็นธรรม พระพิรุณยอมรู้ว่าผู้ใดทำอะไร ย่อมรู้ว่าผู้ใดกะพริบตากี่ครั้ง ใครทำบาป เมื่อมีผู้ทำบาปพระพิรุณจักใช้บ่วงคล้องผู้นั้นไปหาพญายมราชเพื่อนำไปลงทัณฑ์ ในพระเวทเรียก "เจ้าฟ้าอันอยู่ทั่วไป" ภายหลังได้ฉายาว่า "สินธุปติ" แปลว่า "เจ้าน้ำทั่วไป" ในมหาภารตะ พระพิรุณเป็นบุตรพระฤๅษีกรรทม พรหมบุตร พระพิรุณในความเชื่อของคนไทยว่าเป็นผู้ให้ฝน ให้น้ำ ถือพระขรรค์ ทรงพญานาค หรือมกร เป็นพาหนะ จึงเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตร อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

ใหม่!!: นาคและพระพิรุณ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพิธีทวีธาภิเศกในรัชกาลที่ 5

หรียญตราทวีธาภิเศก (ซ้าย) ด้านหน้า (ขวา) ด้านหลัง เนื่องด้วยปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ.117) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ในรัชกาลที่ 5 เป็นเวลายาวนาน 2 เท่า ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดจัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล ทวีธาภิเศก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 ถวายบรมอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิฉัย และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท.

ใหม่!!: นาคและพระราชพิธีทวีธาภิเศกในรัชกาลที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชลัญจกรประจำรัชกาล

ระราชลัญจกรประจำรัชกาล เป็นตราประจำพระองค์ของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆ ของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ที่ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน พระราชลัญจกรนับเป็นเครื่องมงคลที่แสดงถึงอิสริยยศและพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตร.

ใหม่!!: นาคและพระราชลัญจกรประจำรัชกาล · ดูเพิ่มเติม »

พระวัชรปาณีโพธิสัตว์

ระวัชรปาณีโพธิสัตว์ หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้ถือสายฟ้า หลักฐานฝ่ายบาลีถือว่าเป็นยักษ์ที่คอยคุ้มครองพระพุทธเจ้า ส่วนทางมหายานถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ชั้นสูงองค์หนึ่ง มักปรากฏคู่กับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์และพระปัทมปาณิโพธิสัตว์ ความเชื่อเกี่ยวกับพระวัชรปาณิอาจวิวัฒนาการมาจากพระอินทร์ในศาสนาพราหมณ์ที่ถือสายฟ้าเช่นกัน และอาจจะพัฒนามาจากความเชื่อเกี่ยวกับพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ชาวพุทธมหายานถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่คุ้มครองนาคที่ควบคุมเมฆฝน และนิยมสร้างรูปของท่านไว้ที่ประตูทางเข้าวัดเพื่อขับไล่ความชั่วร้าย พระวัชรปาณีมีชื่อจีนว่ากิมกังผ่อสัก จัดอยู่ในกลุ่มเจ็ดพระมหาโพธิสัตว์ตามความเชื่อของชาวจีน แต่มีความสำคัญน้อยกว่าพระอวโลกิเตศวรและพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์มาก.

ใหม่!!: นาคและพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งราเชนทรยาน

ระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยช่างหลวงในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นทรงบุษบกย่อมุมไม้สิบสอง หลังคาซ้อน 5 ชั้น สร้างจากไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจก พนักพิงและกระจังปฏิญาณแกะสลักเป็นภาพเทพพนมไว้ตรงกลาง ครุฑยุดนาคซึ่งประดับที่ฐานที่ 14 ตัว มีคานสำหรับหาม 4 คาน แต่เวลาปกติจะคงคานประจำไว้ 2 คาน การประทับจะต้องนั่งห้อยพระบาท ความสูงจากฐานถึงยอดสูง ราว 4.15 เมตร กว้าง 103 ซม.

ใหม่!!: นาคและพระที่นั่งราเชนทรยาน · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท

ระที่นั่งสรรเพชญปราสาท (จำลอง) ภายในเมืองโบราณ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท หรือ พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท คือพระที่นั่งองค์หนึ่งในเขตพระราชวังโบราณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นโดยพระราชดำริของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจของราชอาณาจักรอยุธยา พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญของราชสำนักและเป็นที่รับแขกบ้านแขกเมืองของพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รับราชทูต ฯลฯ แต่พระที่นั่งองค์นี้เสียหายทั้งองค์เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ จนในปัจจุบันเหลือแต่ฐาน และกำแพงบางส่วนเท่านั้น.

ใหม่!!: นาคและพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

การ์เดียนครอส

การ์เดียนครอส (Guardian Cross) เป็นเกมสำหรับเครื่องไอโฟน/ไอแพด ผลิตโดยบริษัทสแควร์-เอนิกซ์โดยมีด้วยกันสองรุ่นคือรุ่นภาษาญี่ปุ่น เปิดตัว 21 มิถุนายน 2555 และรุ่นภาษาอังกฤษ เปิดตัวในวันที่ 13 สิงหาคม 2555 ลักษณะเกมประกอบไปด้วยการใช้เทรดดิงการ์ดจำลอง การล่าศัตรู และการแข่งขันระหว่างผู้เล่น เดอะการ์เดียนได้จัดอันดับเกมและขึ้นเป็นเกมยอดนิยม 20 อันดับแรก ของเกมมือถือประจำสัปดาห์ นอกจากนี้เกมยังได้ขึ้นอันดับ 100 เกมยอดฮิตที่ทำเงินได้ของแอปสตอร์ และติดอันดับเกมดาวน์โหลดฟรียอดฮิต 150 อันดับอีกด้วย ในเดือนธันวาคม 2555 เกมนี้ได้มีการดาวน์โหลดรวมทั้งสิ้นมากกว่า 1,000,000 ครั้ง ทำให้เป็นเกมที่มียอดดาวน์โหลดสูงสุดของเกมจากสแควร์เอนิกซ์ของระบบปฏิบัติการไอโอเอ.

ใหม่!!: นาคและการ์เดียนครอส · ดูเพิ่มเติม »

กุลบุตร

กุลบุตร หรือ กุลธิดา เป็นศัพท์ที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา แปลว่าบุตรแห่งสกุลหรือคนในตระกูล ในพระไตรปิฎกใช้ศัพท์กุลบุตรมากโดยเฉพาะในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ทายัชชภาณวาร ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตวิธีการบรรพชาอุปสมบทแก่บุคคล โดยใช้คำว่า "กุลบุตร" แทนผู้ที่จะบวช (ในทางปฏิบัติในประเทศไทยจะนิยมใช้คำว่า นาค แทนผู้ที่จะบวช) ทำให้ในตำราพระพุทธศาสนานิยมเรียกผู้จะบวชเป็นพระภิกษุสามเณรว่ากุลบุตร โดยอนุโลมให้เรียกกับสตรีที่จะบวชชีสมาทานศีล 8 ว่า กุล.

ใหม่!!: นาคและกุลบุตร · ดูเพิ่มเติม »

มรกต

มรกต (สูตรเคมี: Be3Al2(SiO3)6) เป็นแร่รัตนชาติหรืออัญมณี สีเขียวเกิดจากธาตุโครเมียมและวานาเดียม มรกตจัดอยู่ในแร่ตระกูลเบริล ซึ่งเบริลเป็นแร่ที่มีหลายวาไรตี ได้แก่ แอควะมะรีน (aquarmarine) มีสีฟ้า โกลเดนเบริลหรือเฮลิโอดอร์มีสีเหลือง สีแดงเรียกเร็ดเบริล สีชมพูเรียกว่ามอร์แกไนต์ คุณภาพของมรกตอยู่ที่สีหากมีสีเขียวทั่วทั้งเม็ดก็จัดว่าคุณภาพสูง ส่วนตำหนินั้นมรกตธรรมชาติทุกชิ้นจะต้องมีทั้งสิ้น ลักษณะเป็นเส้น ริ้วสีขาว จุดสีดำ สีสนิม ฝ้าขาวขุ่นตามธรรมชาติ รอยริ้วที่ดูคล้ายรากผักชีเรียกว่า "สวน" (jardin) มรกตคุณภาพดีหรือไม่ดีก็มีทั้งสิ้น แต่พิจารณาปริมาณและการวางตัวของตำหนิ (ต้องเลือกที่ไม่มีตำหนิต่อเนื่องราวมาจนถึงหน้าพลอย หรือจากขอบหนึงไปถึงขอบหนึ่ง เพราะจะมีผลต่อการนำไปใช้ อาจไม่คงทน) ซึ่งอาจจะมีผลกับการส่องประกายแสงออกมาจากมรกต หากมีมากไปพลอยจะดูทึบแสง ไม่มีประกายซึ่งมักได้รับการเจียระไนแบบหลังเบี้ยหรือหลังเต่า หากทึบจนตันแสงไม่ส่องผ่านเลยและมีสีเขียวซีดจะจัดเป็นมรกตคุณภาพต่ำที่สุด มรกตมีการทำเลียนแบบ สังเคราะและปรับปรุงคุณภาพ (อาบนำมันบ้าง ชุบสี ซ่านสี เคลื่อบสี แช่สารเคมีเฉพาะ) ดังนั้นจึงควรตรวจสอบก่อนการซื้อเพราะจัดเป็นพลอยที่มีราคาสูงมาก (ถ้าคุณภาพดีมากและขนาดใหญ่ด้วยแล้ว) บางกรณีนั้นแยกแทบไม่ออกด้วยตาเปล่าต้องส่งห้องปฏิบัติการที่น่าเชื่อถือช่วยตรวจสอบ มรกตนั้นมีหลายเฉดสี แหล่งที่สำคัญมากและโด่งดังไปทั่วโลกคือ มรกตจากโคลอมเบีย ซึ่งได้รับการยกย่องว่างามที่สุดในโลกราคามักสูงกว่าแหล่งอื่น ๆ และถูกกล่าวอ้างถึงบ่อย ๆ มีเหมืองสำคัญซึ่งผลิตมรกตสีต่างกันคือ เหมืองชิบอร์ (Chivor) มีมรกตสีเขียวสดอมเหลือง และเหมืองมูโซ (Muzo) ให้มรกตสีเขียวอมฟ้าคล้ายสีของน้ำทะเล การดูแลรักษาไม่ควรใส่ทำงานหนัก เพราะทนแรงกระแทกได้ไม่ดีนักมีความเปราะ หลีกเลี่ยงสารเคมี น้ำหอม และสเปรย์แต่งผม.

ใหม่!!: นาคและมรกต · ดูเพิ่มเติม »

มหากาฬ

มหากาฬ มหากาฬ เป็นยิดัมและธรรมบาลตามความเชื่อของชาวพุทธในทิเบต สังกัดรัตนโคตรของพระรัตนสัมภวะพุทธะ มีลักษณะคล้ายเหรุกะ ภาคดุร้ายมี 16 แขน มือถือหัวกะโหลกและกริช มีเปลวไฟพวยพุ่งรอบกาย สวมมงกุฏกระโหลก มีมาลัยร้อยด้วยศีรษะมนุษย์ มีงูพันรอบกาย บางท้องที่เชื่อว่าท่านเป็นเจ้าแห่งนาค ปกครองนาคที่ดูแลทรัพย์สมบัติเบื้องล่าง จึงถือเป็นเทพเจ้าแห่งความมั่งคั่งองค์หนึ่ง ในจีนและญี่ปุ่นถือเป็นเทพเจ้าแห่งโชค บางแห่งถือว่าท่านเป็นเทพแห่งการพักแรม ในอินเดียถือว่าท่านเป็นเทพองค์เดียวกับท้าวกุเวร.

ใหม่!!: นาคและมหากาฬ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นให้การศึกษา สร้างสรรค์และพัฒนาความรู้ ให้บริการทางวิชาการ รวมทั้งสืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับนโยบายการศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางด้านเกษตร.

ใหม่!!: นาคและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน · ดูเพิ่มเติม »

ม้านิลมังกร

ร'' (พ.ศ. 2549) ม้านิลมังกร หรือ ม้ามังกร สัตว์ประหลาดในวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี ตามจินตนาการของสุนทรภู่ เป็นพาหนะของสุดสาคร โดยสุนทรภู่ได้รจนาถึงลักษณะของม้านิลมังกรไว้ว่า พระนักสิทธิ์พิศดูเป็นครู่พักหัวร่อคักรูปร่างมันช่างขัน เมื่อตัวเดียวเจียวกลายเป็นหลายพันธุ์กำลังมันมากนักเหมือนยักษ์มาร กินคนผู้ปูปลาหญ้าใบไม้มันทำได้หลายเล่ห์อ้ายเดรฉาน เขี้ยวเป็นเพชรเกล็ดเป็นนิลลิ้นเป็นปานถึงเอาขวานฟันฟาดไม่ขาดรอน เจ้าได้ม้าพาหนะตัวนี้ไว้จะพ้นภัยภิญโญสโมสร ให้ชื่อว่าม้านิลมังกรจงถาวรพูนสวัสดิ์แก่นัดดา โดยที่สุนทรภู่มิได้ให้ที่มาที่ไปของม้านิลมังกร ว่าเป็นสัตว์อะไร มาจากไหน ปรากฏตัวครั้งแรกที่ชายหาด เกาะแก้วพิสดาร โดยสุดสาครไปพบเข้า เป็นสัตว์ดุร้าย มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ สุดสาครเป็นผู้ปราบได้จากไม้เท้าวิเศษของโยคี ในที่สุด ม้านิลมังกร ก็กลายเป็นพาหนะของสุดสาคร และเป็นสัตว์เลี้ยงที่ซื่อสัตย์ต่อนาย จากการมาช่วยสุดสาครที่ตกหน้าผาจากการทำร้ายของชีเปลือย ลักษณะของม้านิลมังกร ตัวเป็นม้าหัวเป็นมังกร หางเหมือนนาค ลำตัวเป็นเกล็ดสีดำแวววาว เหมือนดั่งชื่อ กินอาหารได้หลายอย่างดั่งคำกลอน จึงเชื่อว่าสุนทรภู่จินตนาการมาจากกิเลน(Kirin)ของจีน หรือวรรณคดีของจีนเรื่องต่าง ๆ เช่น ไซฮั่น เพราะไม่ปรากฏสัตว์ลักษณะเช่นนี้ในความเชื่อหรือวรรณคดีเรื่องใดของไทยมาก่อน อีกทั้งตัวละครและสถานที่ต่าง ๆ ในเรื่อง ก็มีที่มาจากหลายภาคส่วนของแต่ละประเทศอีกด้วย ปัจจุบัน ม้านิลมังกรใช้เป็นทั้งสัญลักษณ์และฉายาของสโมสรระยองเอฟซี สโมสรฟุตบอลในระดับไทยลีกดิวิชั่น 1.

ใหม่!!: นาคและม้านิลมังกร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อผู้ได้รับรางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย

รายชื่อผู้ได้รับรางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม การประกวดภาพยนตร์ไท.

ใหม่!!: นาคและรายชื่อผู้ได้รับรางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครใน ขบวนการสปอร์ตเรนเจอร์

ูบทความหลักที่ ขบวนการสปอร์ตเรนเจอร์ สิ่งที่ทำให้ ขบวนการสปอร์ตเรนเจอร์ มีสีสันเพิ่มขึ้น นั่นก็คือ การมีตัวละครที่หลากหลาย หลากนิสัย หลากที่ม.

ใหม่!!: นาคและรายชื่อตัวละครใน ขบวนการสปอร์ตเรนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ลำนำหกพิภพ

ลำนำหกพิภพ เป็นหนังสือนิยายแฟนตาซีวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลดีเด่นจากโครงการศิลปะเพื่อเยาวชนไทย Young Thai Artist Award 2006 ซึ่งสนับสนุนโดยมูลนิธิซีเมนต์ไทย ผู้เขียนคือนายพงศ์ศรณ์ ภูมิวัฒน์ ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุคส์พับลิเคชัน.

ใหม่!!: นาคและลำนำหกพิภพ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่) จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาว.

ใหม่!!: นาคและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุแช่แห้ง

ระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง (100px) วัดพระธาตุแช่แห้ง หมู่ 3 บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตี๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เดิมเป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง ประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ เป็นสีทองสุกปลั่ง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง 2 เส้น เป็นอนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต.

ใหม่!!: นาคและวัดพระธาตุแช่แห้ง · ดูเพิ่มเติม »

วัดเชิงท่า (ลพบุรี)

วัดเชิงท่า เป็นวัดในจังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ในตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: นาคและวัดเชิงท่า (ลพบุรี) · ดูเพิ่มเติม »

วานรสิบแปดมงกุฎ

รูปบางส่วนของวานรสิบแปดมงกุฎ ในการแสดงโขนที่ลานคนเมืองเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน2549 วานรสิบแปดมงกุฏ เป็นวานร (ลิง) ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ วานรเหล่านี้เป็นเทวดาที่จุติลงมาเป็นวานร และมาเป็นทหารเอกในกองทัพของพระราม ผู้ซึ่งเป็นองค์พระนารายณ์อวตารลงมา และต้องไปอยู่ในป่าเป็นเวลา ๑๔ ปี เพื่อรักษาสัจจวาจาของพระราชบิดา คือท้าวทศรถ เมื่อพระมเหสีของพระราม คือ นางสีดา ถูกทศกัณฐ์ กษัตริย์เมืองลงกา ลักพาตัวไป พระรามต้องนำกองทัพติดตามไปรับนางสีดาคืนมา โดยมีหนุมานผู้นำเอา สุครีพ ซึ่งเป็นน้าชายมาถวายตัวพร้อมไพร่พลเมืองขีดขิน และท้าวมหาชมพูที่ยกกำลังพลเมืองชมพูให้เป็นทหารแห่งองค์พระราม วานรสิบแปดมงกุฏจึงเป็นกำลังพลในทัพขององค์พระราม ที่มาจากสองเมืองคือ เมืองขีดขินของสุครีพ และเมืองชมพูของท้าวมหาชมพู.

ใหม่!!: นาคและวานรสิบแปดมงกุฎ · ดูเพิ่มเติม »

สวรรค์

วรรค์ (स्वर्ग สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้.

ใหม่!!: นาคและสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่บ้านคุ้งตะเภา

หมู่บ้านคุ้งตะเภา หรือ บ้านคุ้งตะเภา เดิมชื่อว่า "ทุ่งบ้านคุ้งตะเภา" เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ในตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ นับเป็นหมู่บ้านในแถบลุ่มแม่น้ำน่านฝั่งขวาตอนบนที่เคยอยู่ในการปกครองของหัวเมืองพิชัยที่เก่าแก่ที่สุดหมู่บ้านหนึ่ง รองจากเมืองฝางสว่างคบุรีที่มีที่ตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำน่านฝั่งขวาตอนบนเช่นเดียวกัน หมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นชุมชนคนไทยดั้งเดิมที่ตั้งอยู่ปลายเหนือสุดของวัฒนธรรมที่ราบลุ่มภาคกลางตอนบน ตัวหมู่บ้านอยู่ติดริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสองระดับ โดยพื้นที่ติดริมแม่น้ำน่านจะเป็นที่ระดับต่ำมีชั้นลดจากที่ราบปกติ เดิมตัวหมู่บ้านตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มชั้นลดดินตะกอนแม่น้ำพัดดังกล่าว แต่ในปัจจุบันบ้านเรือนส่วนใหญ่ได้ย้ายขึ้นมาตั้งอยู่บนที่ราบภาคกลางริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 โดยพื้นที่เกษตรกรรมของหมู่บ้านส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ทิศตะวันออกของหมู่บ้านและที่ราบลุ่มตะกอนแม่น้ำพัดริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกของหมู่บ้าน ชาวบ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบันส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีประเพณีและวัฒนธรรมคล้ายกับหมู่บ้านชนบททั่วไปในแถบภาคกลางตอนบน โดยมีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง และ โรงเรียนระดับพื้นฐาน 1 โรง เส้นทางคมนาคมหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีนายสมชาย สำเภาทอง เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านคุ้งต.

ใหม่!!: นาคและหมู่บ้านคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

อะยี

นิกายอะยี (အရည်းဂိုဏ်း) หรือ ศาสนาพุทธแบบอะยี (Ari Buddhism) เป็นนิกายหนึ่งที่เคยปฏิบัติในประเทศพม่าก่อนที่พระเจ้าอโนรธามังช่อจะทรงปฏิรูปศาสนาพุทธช่วงศตวรรษที่ 11.

ใหม่!!: นาคและอะยี · ดูเพิ่มเติม »

ท้าววิรุฬหก

ท้าววิรุฬหก ท้าววิรุฬหก (Viruḷhaka; विरूढक) หนึ่งในสี่ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นชั้นล่างสุดในฉกามาพจรเป็นเทพเจ้าผู้ปกครองทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นใหญ่ในหมู่ครุฑมีเทพกลุ่มกุมภัณฑ์เป็นบริวาร มีรูปร่างท้องป่องพุ่งใหญ่ ขาสั้น กำยำล่ำสัน ตามความเชื่อบางคติจะพบได้ว่าท้าววิรุฬหกคือผู้ปกครองครุฑและนก ท้าววิรุฬหกปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิการ่วมกับ 1.

ใหม่!!: นาคและท้าววิรุฬหก · ดูเพิ่มเติม »

ครุฑ

รุฑยุดนาคปูนปั้นปิดทอง ประดับรอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครุฑ (गरुड) เป็นสัตว์กึ่งเทพในปกรณัมอินเดียและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์ มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคและทะเลาะกันจนเป็นศัตรู นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์ปุราณะที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าพญาครุฑ ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง "ขนวิเศษ" ครุฑเป็นสัตว์ใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาเฉียบแหลม อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ ครุฑพอจะแบ่งได้ 5 ประเภทคือ.

ใหม่!!: นาคและครุฑ · ดูเพิ่มเติม »

ตราประจำจังหวัดของไทย

ตราประจำจังหวัดของไทย มีพัฒนาการมาจากตราประจำตำแหน่งของเจ้าเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และตราประจำธงประจำกองลูกเสือ 14 มณฑล ในสมัยรัชกาลที่ 6 - 7 ในสมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น รัฐบาลได้กำหนดให้แต่ละจังหวัดมีตราประจำจังหวัดของตนเองใช้เมื่อ พ.ศ. 2483 โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบตราตามแนวคิดที่แต่ละจังหวัดกำหนดไว้ ปัจจุบัน เมื่อมีการตั้งจังหวัดขึ้นใหม่ ก็จะมีการออกแบบตราประจำจังหวัดด้วยเสมอ แต่ตราของบางจังหวัดที่ใช้อยู่นั้นบางตราก็ไม่ใช่ตราที่กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ บางจังหวัดก็เปลี่ยนไปใช้ตราประจำจังหวัดเป็นแบบอื่นเสียก็มี บางที่ลักษณะของตราก็เพี้ยนไปจากลักษณะที่กรมศิลปากรออกแบบไว้ แต่ยังคงลักษณะหลัก ๆ ของตราเดิมไว้อยู่บ้างก็มี.

ใหม่!!: นาคและตราประจำจังหวัดของไทย · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของไทย

ตราแผ่นดินของไทย คือตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ เทพพาหนะของพระนารายณ์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติและเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ตามแนวคิดสมมุติเทพ โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2436 เป็นต้นมา แต่มาใช้อย่างเต็มที่แทนตราแผ่นดินเดิมทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2453 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ใช้ตราอาร์มเป็นตราแผ่นดินใน พ.ศ. 2416 ต่อมาพระองค์มีพระราชดำริว่า ตราอาร์มที่ใช้เป็นตราแผ่นดินในเวลานั้นเป็นอย่างฝรั่งเกินไป และทรงระลึกได้ว่า พระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาเคยใช้ตราพระครุฑพ่าห์มาก่อน (ตราที่กล่าวถึงคือตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์องค์เดิม) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเขียนพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ขึ้นเป็นตราแผ่นดินเพื่อใช้แทนตราอาร์ม โดยครั้งแรกทรงเขียนเป็นรูปตราพระนารายณ์ทรงครุฑจับนาค ตรานี้ได้ใช้อยู่ระยะหนึ่งก็โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเขียนตราครุฑขึ้นใหม่อีกครั้งเป็นตราวงกลม โดยยกรูปพระนารายณ์และนาคออกเสีย คงเหลือแต่รูปครุฑ ซึ่งเขียนเป็นรูปครุฑรำตามแบบครุฑขอม พื้นเป็นลายเปลวไฟ เมื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายก็ชอบพระราชหฤทัย และมีพระราชประสงค์ที่จะให้ใช้ตรานี้เป็นตราแผ่นดินถาวรสืบไป จะได้ไม่ต้องสร้างขึ้นใหม่เมื่อเปลี่ยนรัชกาล ไฟล์:Emblem_of_Thailand_(ancient).png|พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์องค์เดิม ไฟล์:Emblem_of_Thailand_(1893).png|พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์องค์กลาง ฝีพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ไฟล์:Garuda Seal of Thailand.svg|พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ ฝีพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไฟล์:Seal garuda thailand rama9.jpg|พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รัชกาลที่ 9 จำลองจากพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รัชกาลที่ 5 ไฟล์:Royal Garuda Seal for HM King Vajiralongkorn.jpg|พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รัชกาลที่ 10 อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทียมศิลปชัย) เป็นผู้เขียนตราครุฑถวายใหม่ โดยยังคงใช้ตราครุฑเดิมแบบสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพียงแต่เพิ่มพระปรมาภิไธยตามขอบพระราชลัญจกร และเปลี่ยนพระปรมาภิไธยที่ขอบพระราชลัญจกรให้ตรงตามรัชกาล และให้ยึดถือเป็นแบบอย่างต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำรัชกาลจะสร้างขึ้นใหม่เมื่อพระมหากษัตริย์ได้รับการบรมราชาภิเษกแล้วเท่านั้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล จึงไม่มีการสร้างพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำรัชกาลขึ้น เนื่องจากพระองค์มิได้กระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คงมีแต่พระราชลัญจกรประจำรัชกาลเท่านั้น และเชิญพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์สมัยรัชกาลที่ 5 ออกประทับแทน แต่ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ปรากฏว่าได้มีการสร้างพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ตั้งแต่ยังไม่ได้รับการบรมราชาภิเษก โดยมีพระปรมาภิไธยที่ขอบพระราชลัญจกรตามพระปรมาภิไธยของพระองค์ นับเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ก่อนการบรมราชาภิเษก.

ใหม่!!: นาคและตราแผ่นดินของไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทเมืองต่ำ

ปราสาทเมืองต่ำ เป็นหนึ่งในกลุ่มปราสาทมรรคโค เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าสร้างขึ้น เพื่อถวายพระศิวะ มีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือประจำชุมชน ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดปราสาทบูรพาราม ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ คำว่า เมืองต่ำ ไม่ใช่ชื่อดั้งเดิม แต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณสถานแห่งนี้ เพราะปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นราบ ส่วนปราสาทพนมรุ้งตั้งอยู่บนเชิงเขา ซึ่งทั้งปราสาทเมืองต่ำและปราสาทพนมรุ้งอยู่ไม่ห่างกันมาก คือห่างกันเพียง 8 กิโลเมตร นอกจากนี้ วัสดุส่วนหนึ่งจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ของปราสาทเมืองต่ำ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระเครื่อง ที่เรียกว่า "พระสมเด็จจิตรลดา" อีกด้วย ปราสาทเมืองต่ำ เป็นศาสนาสถาน ศิลปะขอมแบบบาปวน อายุประมาณ..

ใหม่!!: นาคและปราสาทเมืองต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

ป่าหิมพานต์

กินรีและนาค หนึ่งในสัตว์หิมพานต์ ป่าหิมพานต์ หรือ หิมวันต์ เป็นป่าในวรรณคดีและความเชื่อในเรื่องไตรภูมิตามคติศาสนาพุทธและฮินดู มีความเชื่อว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเชิงเขาพระสุเมรุ ป่าหิมพานต์มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 โยชน์ (1 โยชน์ เท่ากับ 10 ไมล์ หรือ 16 กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์ ประดับด้วยยอด 84,000 ยอด มีสระใหญ่ 7 สระคือ.

ใหม่!!: นาคและป่าหิมพานต์ · ดูเพิ่มเติม »

นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ

นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ หรือ เกรซ เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2539 เป็นนักแสดงชาวไทย และเป็นลูกสาวของสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ สำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนร่วมฤดี อินเตอร์เนชั่นแนล สคูล (RIS) และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าสู่วงการภาพยนตร์กับผลงานแสดงนำในภาพยนตร์กำกับโดย พจน์ อานนท์ เรื่อง เอ๋อเหรอ เมื่อปี 2548 ซึ่งจากภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ได้รับรางวัลดารานำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม จากรางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2548 จากนั้นมีบทพากษ์เสียงในภาพยนตร์ แอนิเมชันไทยเรื่องดังอย่าง ก้านกล้วย (2549).

ใหม่!!: นาคและนวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ · ดูเพิ่มเติม »

นักสิทธิ์

นักสิทธิ์ หมายถึง ผู้สำเร็จด้านจิตวิญญาณ เพราะมีศรัทธาแรงกล้าและคุณธรรมสูงราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 236-7 มาจากคำว่า สิทฺธ ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่าผู้สำเร็.

ใหม่!!: นาคและนักสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

นาก (แก้ความกำกวม)

"นาก" อาจหมายถึง.

ใหม่!!: นาคและนาก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

นาค (แก้ความกำกวม)

นาค อาจหมายถึง.

ใหม่!!: นาคและนาค (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

นางกาลอัคคีนาคราช

นางกาลอัคคี (Kanavki) เป็นตัวละครใน มหากาพย์รามเกียรติ์ของไทยและรามายณะต้นฉบับของอินเดียและศรีลังกา ในรามเกียรติ์ของไทยเป็นธิดาพญากาลนาคกับนางนาคประภา เป็นนาคกับพระมเหสีองค์แรกของทศกัณฐ์แห่งกรุงลงกา มีบุตรชื่อบรรลัยกัลป์ ในรามายณะต้นฉบับ ปารากฎชื่อเป็น ธัญญามาลินี(Dhanyamalini) ส่วนในเรียมเกร์ของประเทศกัมพูชาและยามะซะตอของพม่าไม่ปารากฎ(เพราะเนื้อเรื่องของเนื้อหาสั้นกว่า มหากาพย์รามเกียรติ์ของไทย).

ใหม่!!: นาคและนางกาลอัคคีนาคราช · ดูเพิ่มเติม »

แปดเทพอสูรมังกรฟ้า

แปดเทพอสูรมังกรฟ้า (จีนแต้จิ๋ว: เทียนเล้งโป๊ยโป๋ว; จีนกลาง: 天龍八部เทียนหลงปาปู้; อังกฤษ: Demi-Gods and Semi-Devils) เป็นนิยายกำลังภายในของกิมย้ง จำลอง พิศนาคะ แปลเรื่องนี้ในชื่อ มังกรหยก ภาคพิเศษ เพื่อให้เข้าชุดกับมังกรหยก แต่ชื่อที่เป็นที่รู้จักมากกว่าคือ แปดเทพอสูรมังกรฟ้า ซึ่งเป็นฉบับแปลของ น. นพรัตน์ ซึ่งเรื่องนี้ความจริงน่าจะเรียกว่ามังกรหยกภาค 1 มากกว่าเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องราวก่อนยุคของก้วยเจ๋งซึ่งเป็นตัวเอกในมังกรหยกภาค 1 "แปดเทพอสูรมังกรฟ้า" เป็นผลงานลำดับที่ 11 ของกิมย้ง นับตั้งแต่ชื่อเรื่อง และที่มาของแรงบันดาลใจ แสดงความใฝ่ใจในพุทธศาสนาของเขา ชื่อภาษาจีน "เทียนหลงปาปู้" หมายถึง เทพและอมนุษย์ 8 จำพวก ในตำนานของพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์เฉพาะตนแตกต่างกันไป ประกอบด้ว.

ใหม่!!: นาคและแปดเทพอสูรมังกรฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี

รงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี ตามที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีนโยบายขยายการศึกษาไปยังท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ประกอบกับคณะรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติหลักการขยายวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยของรัฐในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี ปัจจุบันมีสถานะเป็นโครงการจัดตั้งวิทยาเขต สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.

ใหม่!!: นาคและโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ไทเขิน

ทเขิน หรือ ไทขึน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทกลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า มีบ้างที่อาศัยในประเทศไทย หรือจีน.

ใหม่!!: นาคและไทเขิน · ดูเพิ่มเติม »

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

รือพระที่นั่งอนันตนาคราช เป็นเรือพระที่นั่งบัลลังก์ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลำปัจจุบันมีการสร้างใหม่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2457 ลำเรือภายนอกทาสีเขียว ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 42.95 เมตร กว้าง 2.95 เมตร ลึก 0.76 เมตร กินน้ำลึก 0.31 เมตร ฝีพาย 54 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่เรือ 1 คน โขนเรือเป็น "พญาอนันตนาคราช" หรือนาค 7 เศียร โดยปกติจะใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง หรือเรือเชิญผ้าพระกฐิน หรือประดิษฐานบุษบกสำหรับพระพุทธรูปสำคัญ นับเป็นเรือพระที่นั่งที่มีความงดงามอีกลำหนึ่ง อนึ่ง เคยมีการพิมพ์รูปเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชด้านหลังธนบัตร 20 บาท โดยจัดพิมพ์และใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 ปัจจุบันเลิกพิมพ์แล้ว.

ใหม่!!: นาคและเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »