โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นักพรตหญิง

ดัชนี นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

52 ความสัมพันธ์: บาทหลวงชีวิตอารามวาสีชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ฟรันซิสโก เด ซูร์บารันฟร็องซัว เดอ ซาลพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)พระหฤทัยของพระเยซูพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบกลาราแห่งอัสซีซีการประกาศเป็นบุญราศีกนิษฐา วิเชียรเจริญภิกษุณีมรณสักขีแห่งสองคอนมาร์เกอริต-มารี อาลาก็อกศาสนาจารย์ศาสนาคริสต์อารามอารามบอนวาล (จังหวัดอาแวรง)อารามวัลด์ซัสเซินอธิการอารามคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์คอนแวนต์คณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิสคณะชั้นสามของนักบุญดอมินิกคณะฟรันซิสกันคณะภราดาเซนต์คาเบรียลคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรคณะดอมินิกันคณะคาร์ทูเซียนคณะคาร์เมไลท์คณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้าคณะนักบวชคาทอลิกคนค่อมแห่งน็อทร์-ดามตี่ละฉิ่นนักพรตนักพรตหญิงนักปราชญ์แห่งคริสตจักรแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์กแม่ชีแม่ชีเทเรซาโบสถ์คริสต์โรมันคาทอลิกในประเทศไทยโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์โรซาแห่งลิมาเอดิท ชไตน์เขตมิสซังกรุงเทพฯเขตมิสซังราชบุรีเขตมิสซังจันทบุรีเขตมิสซังเชียงใหม่เคลอจี...เตแรซแห่งลีซีเยอเตเรซาแห่งอาบีลา ขยายดัชนี (2 มากกว่า) »

บาทหลวง

ทหลวงดนัย วรรณะ (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) และ ขวา-บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร (โรมันคาทอลิก) บาทหลวง (priest)ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 387-8 หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เรียก priest ว่า ปุโรหิต.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและบาทหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิตอารามวาสี

อารามเซนต์แคเธอริน เขาไซนายในอียิปต์ ก่อตั้งราวระหว่าง ค.ศ. 527 ถึง ค.ศ. 565 ชีวิตอารามวาสีสมชัย พิทยาพงษ์พร, บาทหลวง, พัฒนาการวิถีชีวิตจิตคริสตชน, นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 2551, หน้า 27 (monasticism) มาจากภาษากรีก “μοναχός” - “monachos” ที่มีรากมาจากคำว่า “monos” ที่แปลว่า “สันโดษ” หรือ “ผู้เดียว” หมายถึงวิถีชีวิตทางศาสนาที่นักบวชเน้นสละชีวิตทางโลกเพื่ออุทิศตนอย่างเต็มตัวในทางธรรม คำนี้ที่มาจากภาษากรีกโบราณและอาจเกี่ยวกับภิกษุซึ่งเป็นนักพรตในพุทธศาสนา ในคริสต์ศาสนา บุรุษที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต ถ้าเป็นหญิงก็เรียกว่านักพรตหญิง นักพรตทั้งชายและหญิงจะเรียกโดยรวมว่าอารามิกชน (monastics) ศาสนาอื่นต่างก็มีชีวิตอารามวาสีเป็นของตนเองโดยเฉพาะในศาสนาพุทธ และรวมทั้งลัทธิเต๋า ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน แต่รายละเอียดของแต่ละระบบของแต่ละศาสนาหรือแต่ละนิกายก็แตกต่างจากกันมาก.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและชีวิตอารามวาสี · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์

รูปเคารพของนักบุญแอนโทนีอธิการผู้ริเริ่มใช้ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์' (Christian monasticism) เป็นวิถีการปฏิบัติที่เริ่มวิวัฒนาการมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก โดยอาศัยแบบอย่างและอุดมคติจากคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งรวมทั้งพันธสัญญาเดิมด้วย แต่มิได้ระบุไว้อย่างเป็นทางการ จนกระทั่งมีการบัญญัติวินัยของนักบวชขึ้นเช่น วินัยของนักบุญบาซิล วินัยของนักบุญเบเนดิกต์ วินัยของนักบุญออกัสติน ตลอดจนกฎหมายศาสนจักรคาทอลิกซึ่งระบุถึงการใช้ชีวิตอารามวาสี ผู้ที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต (ชาย) และนักพรตหญิง หรือเรียกโดยรวม ๆ ว่าอารามิกชน ในสมัยแรก นักพรตไม่ใด้อาศัยในอาราม แต่เป็นฤๅษีที่อยู่โดดเดี่ยวในป่า เมื่อนักพรตเริ่มมีจำนวนมากขึ้น จึงหันมาอาศัยอยู่ร่วมกัน จนกลายเป็นชุมชนนักพรตในอารามที่ยึดถือการปฏิบัติแบบพรตนิยม.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันซิสโก เด ซูร์บารัน

นักบุญลูกาผู้นิพนธ์พระวรสารที่อาจจะเป็นภาพเหมือนของซูร์บารันเอง ราว ค.ศ. 1635-1640http://www.humanitiesweb.org/human.php?s.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและฟรันซิสโก เด ซูร์บารัน · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว เดอ ซาล

นักบุญฟร็องซัว เดอ ซาล (Saint François de Sales; 21 สิงหาคม ค.ศ. 1567 – 28 ธันวาคม ค.ศ. 1622) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวฝรั่งเศส ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งเจนีวา ผลงานที่สำคัญของท่านคือการดึงชาวเมืองชาเบลส์ซึ่งไปนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ลัทธิคาลวินให้หันกลับมานับถือนิกายโรมันคาทอลิกได้สำเร็จ นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างสรรค์วรรณกรรมไว้มากมายซึ่งมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความศรัทธาในคริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก จนต่อมาท่านได้รับยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร และเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ และนักเขียน.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและฟร็องซัว เดอ ซาล · ดูเพิ่มเติม »

พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)

ระพรหมมุนี นามฉายา สุวโจ (นามเดิม: ผิน ธรรมประทีป) เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 5 ของวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และอดีตสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การเผยแผ.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) · ดูเพิ่มเติม »

พระหฤทัยของพระเยซู

'''พระหฤทัยของพระเยซู''' ความศรัทธาต่อพระหฤทัยของพระเยซู (the Sacred Heart of Jesus) เป็นการอุทิศตนรูปแบบหนึ่งของคริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกต่อพระหฤทัยของพระเยซู เพราะเชื่อว่าพระหฤทัยเป็นสัญลักษณ์ของความรักที่พระเจ้ามีต่อมนุษยชาติ การอุทิศตนรูปแบบนี้พบทั้งในกลุ่มชาวโรมันคาทอลิก ชาวแองกลิคันไฮเชิร์ช และชาวลูเทอแรน โดยเน้นถึงการที่พระหฤทัยของพระเยซูได้ทรงเมตตากรุณาและทนทุกข์ทรมานเพื่อมวลมนุษย์ เชื่อกันว่ามีผู้อุทิศตนรูปแบบนี้มาตั้งแต่สมัยกลาง เพราะเป็นช่วงที่รหัสยลัทธิในศาสนาคริสต์กำลังเป็นที่นิยม แต่รูปแบบที่แพร่หลายในปัจจุบันถือว่ามาจากการเผยแพร่ของนักบุญมาร์เกอริต-มารี อาลาก็อก นักพรตหญิงคณะแม่พระเสด็จเยี่ยม ผู้ได้เห็นนิมิตพระเยซูมาสอนให้อุทิศตนต่อพระหฤทัยของพระองค์ ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก พระหฤทัยของพระเยซูเป็นแนวความเชื่อที่ใกล้เคียงกับกิจการชดใช้ต่อพระเยซูคริสต์ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 กล่าวไว้ในพระสมณสาสน์ Miserentissimus Redemptor ว่า "เจตนามณ์ของการชดใช้บาปที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับหนึ่งอยู่ที่คารวกิจต่อพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซู"Miserentissimus Redemptor พระสมณสาสน์ในสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 http://www.vatican.va/holy_father/pius_xi/encyclicals/documents/hf_p-xi_enc_08051928_miserentissimus-redemptor_en.html แม้แต่บทภาวนาต่อพระพักตร์อันศักดิ์สิทธิ์ที่แพร่หลายในคริสตจักรก็อ้างอิงความศักดิ์สิทธิ์ของพระหฤทัยของพระเยซูเช่นกัน ในงานศิลปะมักแสดงรูปพระหฤทัยของพระเยซูในรูปของหัวใจที่มีไฟลุกและมีรัศมีส่องสว่างออกมา มีมงกุฎหนามล้อม มีไม้กางเขนตั้งอยู่และพระโลหิตไหนออกมา บางรูปเป็นพระหฤทัยส่องสว่างออกมาจากพระอุระของพระเยซู โดยมีพระหัตถ์ที่มีรอยแผลชี้ไปที่พระหฤทัยนั้น บาดแผลและมงกฎหนามแสดงถึงการตรึงพระเยซูที่กางเขนจนสิ้นพระชนม์ ไฟและรัศมีแสดงถึงพลังความรักของพระเจ้า ตามปฏิทินพิธีกรรมของคริสตจักรโรมันคาทอลิก วันสมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าจะจัดขึ้นในวันที่ 19 หลังจากเทศกาลเพนเทคอสต์ เพนเทคอสต์ตรงกับวันอาทิตย์การสมโภชพระหฤทัยจึงตรงกับวันศุกร์เสมอ.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและพระหฤทัยของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ

ระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ (Edgar the Peaceful หรือ Edgar the Peaceable) (ราว ค.ศ. 943 หรือ ค.ศ. 944 - ค.ศ. 975) พระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์เวสเซ็กซ์ พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบเสด็จพระราชสมภพเมื่อราวปี ค.ศ. 943 หรือปี ค.ศ. 944 ที่เวสเซ็กซ์ ในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษและเอ็ดจิวาแห่งเคนต์ อภิเษกสมรสกับเอเธลฟรีด วูลฟธริธ และเอลฟริธ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 975 ที่วินเชสเตอร์ อังกฤษ พระนาม “ผู้รักสงบ” ไม่ได้บ่งถึงพระลักษณะตามความหมายเพราะทรงเป็นนายทหารผู้เข้มแข็งซึ่งจะเห็นได้จากการยึดราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย และราชอาณาจักรเมอร์เซียจากพระเจ้าเอ็ดวีพระเชษฐาในปี ค.ศ. 958 พระเจ้าเอ็ดการ์ทรงปกครองบริเวณเหนือแม่น้ำเทมส์กับขุนนางของพระองค์กลุ่มหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดวีเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 พระเจ้าเอ็ดการ์ก็ทรงเรียกตัวโดยดันสตัน (ต่อมาเป็นนักบุญดันสตัน) จากที่ทรงลี้ภัยกลับมาและแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งวูสเตอร์และต่อมาเป็นบิชอปแห่งลอนดอนและในที่สุดอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ดันสตันเมื่อเริ่มแรกไม่ยอมสวมมงกุฏให้พระเจ้าเอ็ดการ์เพราะไม่ยอมรับวิธีดำเนินชีวิตของพระองค์เกี่ยวกับพระสนม วูลฟธริธ (ต่อมาเป็นนักพรตหญิงที่วิลตัน) มึพระธิดา อีดิธแห่งวิลตัน แต่ดันสตันก็เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าเอ็ดการ์ตลอดรัชสมัย รัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์เป็นรัชสมัยที่บ้านเมืองมีความสงบสุขและอาจจะเป็นสมัยที่เรียกได้ว่าเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน แม้ว่าการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอังกฤษจะเป็นผลที่มาจากผู้ที่ครองบัลลังก์มาก่อนพระองค์ ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์ อังกฤษก็เกือบจะไม่มีศัตรูที่จะมาแบ่งราชอาณาจักรอย่างที่เคยเป็นมาก่อน ในสมัยนี้ดันสตันก็มีบทบาทในการปฏิรูปอารามที่ออกจะเริ่มหย่อนยานให้กลับไปถือวินัยของนักบุญเบเนดิกต์อย่างที่เคยเป็นมา แต่บทบาทอันนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถึยงกันในบรรดาผู้รู้ในวงการศึกษา พระเจ้าเอ็ดการ์ได้ทำพิธีสวมมงกุฏที่บาธในปี ค.ศ. 973 ซึ่งมิใช่ราชาภิเศกในการฉลองการเริ่มรัชกาล พระราชพิธีครั้งนี้เตรียมการโดยดันสตันเองโดยมีโคลงเฉลิมพระเกียรติที่บันทึกในบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน เป็นพระราชพิธีที่เป็นพื้นฐานในการทำพิธีบรมราชาภิเศกของอังกฤษมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระราชพิธีเป็นพิธีสัญลักษณ์โดยมีเจ้าผู้ครองอาณาจักรในอังกฤษมาแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ที่เชสเตอร์ กษัตริย์หกพระองค์ในบริเตนและสกอตแลนด์ปฏิญาณว่าจะเป็นผู้ป้องกันพระองค์ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะเล ต่อมาบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันกล่าวว่ามีแปดองค์ แต่พระราชพิธีประกาศการสวามิภักดิ์ที่เชสเตอร์ (submission at Chester) ดูเหมือนว่จะเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น พระเจ้าเอ็ดการ์มีพระราชโอรสธิดาเจ็ดพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ หลังจากที่เสด็จสวรรคตมาจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันไม่มีราชบัลลังก์ใดที่ได้รับการสืบทอดโดยไม่มีปัญหาในการแก่งแย่ง.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ · ดูเพิ่มเติม »

กลาราแห่งอัสซีซี

นักบุญกลาราแห่งอัสซีซี (Clara Assisiensis) เป็นนักพรตหญิงในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกชาวอิตาลี ผู้ร่วมก่อตั้งคณะกลาริส ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในปี..

ใหม่!!: นักพรตหญิงและกลาราแห่งอัสซีซี · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศเป็นบุญราศี

็ดบุญราศีมรณสักขีแห่งสองคอน เป็นคริสต์ศาสนิกชนชาวไทยกลุ่มแรกที่ได้รับการประกาศเป็นบุญราศี การประกาศเป็นบุญราศี (Beatification) คือกระบวนการที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกกำหนดขึ้นเพื่อรับรองว่าบุคคลหนึ่งได้เข้าสู่สวรรค์และสามารถวอนขอพรจากพระเป็นเจ้าแทนมนุษย์บนโลกได้ กระบวนการนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สี่ของการประกาศเป็นนักบุญ.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและการประกาศเป็นบุญราศี · ดูเพิ่มเติม »

กนิษฐา วิเชียรเจริญ

ณหญิงกนิษฐา วิเชียรเจริญ (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2545) นักรณรงค์เพื่อสิทธิสตรี เยาวชน และแม่ชีในศาสนาพุทธ ผู้ก่อตั้งสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี และ "มหาประชาบดีเถรีวิทยาลัย" วิทยาลัยแม่ชีแห่งแรกของประเทศไทย เกิดวันที่ 4 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: นักพรตหญิงและกนิษฐา วิเชียรเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุณี

กษุณี (ภิกฺขุณี; ภิกฺษุณี) เป็นคำใช้เรียกนักพรตหญิงในศาสนาพุทธ คู่กับภิกษุที่หมายถึงนักพรตชายในพระพุทธศาสนา คำว่า ภิกษุณี เป็นศัพท์ที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา โดยเป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาอื่น ภิกษุณี หรือ ภิกษุณีสงฆ์ จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี โดยวิธีรับคุรุธรรม 8 ประการ ในคัมภีร์เถรวาทระบุว่าต่อมาในภายหลังพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทภิกษุณีให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น จนศีลของพระภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ โดยพระภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ ในขณะที่พระภิกษุมีศีลเพียง 227 ข้อเท่านั้น เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน และการตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้ หากได้บุคคลที่ไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวช จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งวงศ์ภิกษุณีเถรวาทขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตามในประเทศพุทธเถรวาทที่เคยมีหรือไม่เคยมีวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ในปัจจุบัน ต่างก็นับถือกันโดยพฤตินัยว่าการที่อุบาสิกาที่มีศรัทธาโกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว ถือปฏิบัติศีล 8 (อุโบสถศีล) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า แม่ชี เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทได้ โดยส่วนใหญ่แม่ชีเหล่านี้จะอยู่ในสำนักวัดซึ่งแยกเป็นเอกเทศจากกุฎิสงฆ์ ภิกษุณีสายเถรวาทซึ่งสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ที่ต้องบวชในสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ ได้ขาดสูญวงศ์ (ไม่มีผู้สืบต่อ) มานานแล้ว คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน (อาจริยวาท) ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีแบบมหายาน (บวชในสงฆ์ฝ่ายเดียว) มาจนปัจจุบัน ซึ่งจะพบได้ในประเทศจีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และศรีลังกา ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีในฝ่ายเถรวาท โดยทำการบวชมาจากภิกษุณีมหายาน และกล่าวว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานนั้น สืบวงศ์ภิกษุณีสงฆ์มาแต่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายมหายานมีการบวชภิกษุณีสืบวงศ์มาโดยมิได้กระทำถูกตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีศีลที่แตกต่างกันอย่างมากด้วย ทำให้มีการไม่ยอมรับภิกษุณี (เถรวาท) ใหม่ ที่บวชมาแต่มหายานว่า มิได้เป็นภิกษุณีที่ถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีการยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างว่าพระพุทธศาสนาจำกัดสิทธิสตรีด้วย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะพระพุทธเจ้าได้อนุญาตให้มีภิกษุณีที่นับเป็นการเปิดโอกาสให้มีนักบวชหญิงเป็นศาสนาแรกในโลก เพียงแต่การสืบทอดวงศ์ภิกษุณีได้สูญไปนานแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบวชสตรีเป็นภิกษุณีตามพระวินัยเถรวาทได้.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและภิกษุณี · ดูเพิ่มเติม »

มรณสักขีแห่งสองคอน

มรณสักขีแห่งสองคอน คือคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกชาวไทย 7 คน ที่ถูกตำรวจยิงเสียชีวิตเพราะไม่ยอมเลิกนับถือศาสนาคริสต์ ทั้ง 7 คนได้รับการยกย่องจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกว่าเป็นมรณสักขี และได้รับการประกาศเป็นบุญราศีพร้อมกันโดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม..

ใหม่!!: นักพรตหญิงและมรณสักขีแห่งสองคอน · ดูเพิ่มเติม »

มาร์เกอริต-มารี อาลาก็อก

นักบุญมาร์เกอริต-มารี อาลาก็อก (Marguerite-Marie Alacoque) เป็นนักพรตหญิงโรมันคาทอลิกชาวฝรั่งเศส ผู้ส่งเสริมการอุทิศต่อพระหฤทัยของพระเยซู.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและมาร์เกอริต-มารี อาลาก็อก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาจารย์

นาจารย์ (ordained minister; minister) เขียนย่อว.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและศาสนาจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อาราม

อาราม (monastery) คือสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานของนักพรต ซึ่งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่โดดเดี่ยว เช่น ฤๅษี (hermit) ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “อาราม” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monastery” ที่มีที่มาจากภาษากรีก “μοναστήριον” - “monasterios” (จากคำว่า “μονάζειν'” - “monazein” ที่แปลว่าอยู่ตามลำพัง) คำว่า “monastērion” ใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในบทที่สามของหนังสือ “On The Contemplative Life” เขียนโดยนักปรัชญาชาวยิวชื่อไฟโล ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ในโลกล้วนมีประเพณีการใช้ชีวิตอารามวาสีที่นักพรตหรือกลุ่มนักพรตที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการใช้ชีวิตเพื่อศาสนามารวมตัวกันเป็นชุมชน และก่อสร้างศาสนสถานและที่พำนักอาศัยที่แยกจากชุมชนของคฤหัสถ์ บริเวณที่เรียกว่าอารามปรากฏในหลายศาสนา เช่น อารามหรือวัดใน พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา รวมไปถึงลัทธิขงจื๊อด้วย ในศาสนาเกือบทุกศาสนาชีวิตภายในอารามจะปกครองโดยกฎที่วางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชุมชนของตนโดยเฉพาะ เช่น กฎการสวดมนต์และเวลาสวด, กฎการใช้ชีวิต และอื่น ๆ เช่นกฎว่าด้วยเพศของสมาชิก หรือกฎที่ห้ามการมีภรรยา หรือการห้ามมีสมบัติเป็นของตนเองเป็นต้น นอกจากนั้นกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอารามกับอารามอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือนอกกลุ่ม หรือกับชุมชนรอบข้างก็จะแตกต่างกันออกไป บางอารามก็เน้นการอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างเช่นในการให้การศึกษาหรือบริการการรักษาพยาบาลหรือการสอนศาสนา แต่บางอารามก็เน้นการใช้ชีวิตที่แยกกันอย่างเด็ดขาดจากชุมชน.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและอาราม · ดูเพิ่มเติม »

อารามบอนวาล (จังหวัดอาแวรง)

อารามบอนวาล (Bonneval Abbey) มีชื่อเต็มว่าอารามแม่พระแห่งบอนวาล (Abbaye Notre-Dame de Bonneval) เป็นแอบบีย์ของคณะซิสเตอร์เชียน ตั้งอยู่ที่เมืองเลอแกรอล จังหวัดอาแวรง แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส ในปัจจุบันเป็นของนักพรตหญิงคณะแทรปพิสต.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและอารามบอนวาล (จังหวัดอาแวรง) · ดูเพิ่มเติม »

อารามวัลด์ซัสเซิน

อารามวัลด์ซัสเซิน (Kloster Waldsassen) เป็นอารามนักพรตหญิงของคณะซิสเตอร์เชียน เดิมเป็นแอบบีย์ของนักพรตชาย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำวอนเดร็บที่วัลด์ซัสเซินในรัฐบาวาเรียไม่ไกลจากพรมแดนเยอรมนีที่ติดกับสาธารณรัฐเชก.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและอารามวัลด์ซัสเซิน · ดูเพิ่มเติม »

อธิการอาราม

อธิการอาราม (abbot) เป็นสมณศักดิ์สำหรับนักพรตที่เป็นอธิการของอาราม พบในหลายศาสนารวมทั้งศาสนาคริสต์ ถ้าเป็นนักพรตหญิงเรียกว่าอธิการิณีอาราม ส่วนอธิการอารามในศาสนาพุทธเรียกว่า "เจ้าอาวาส" หรือ "สมภาร" ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า abbot ซึ่งมาจากภาษาแอราเมอิก ܐܒܐ/אבא (อับบา) แปลว่า คุณพ่อ.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและอธิการอาราม · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์

ริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ หรือ ศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย (Русская Православная Церковь; Russian Orthodox Church) ในยุคก่อนปี..

ใหม่!!: นักพรตหญิงและคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คอนแวนต์

อนแวนต์ Beguine ในกรุงอัมสเตอร์ดัม คอนแวนต์ (convent) คือชุมชนของบาทหลวง นักพรตหญิง ภราดา หรือภคินี หรืออาจหมายถึงตัวอาคารที่ชุมชนนักบวชเหล่านี้ใช้พักอาศัย พบได้ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิกและแองกลิคันคอมมิวเนียน ในปัจจุบันคำว่าคอนแวนต์มักใช้หมายถึงเฉพาะชุมชนนักบวชหญิง ขณะที่อาราม ไพรออรี หรือไฟรอารี จะใช้กับชุมชนนักบวชชาย แต่ในอดีตคำเหล่านี้มักใช้แทนกันได้ ในทางเทคนิค คำว่า "อาราม" จะหมายถึงชุมชนนักพรต ขณะที่ "คอนแวนต์" คือชุมชนของนักบวชภิกขาจาร (ถ้าเป็นของไฟรเออร์จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ไฟรอารี") ส่วน "แคนันรี" คือชุมชนแคนันที่สังกัดคณะนักบวช คำว่า "แอบบีย์" และ "ไพรออรี" คืออารามและแคนันรีนั่นเอง แต่ต่างกันที่แอบบีย์มีคุณพ่ออธิการเป็นหัวหน้า แต่ไพรออรีเป็นสำนักที่มิอิสระน้อยกว่าและปกครองโดยไพรเออร.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและคอนแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิส

ณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิส, สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2557 (Third Order of Saint Francis) หรือคณะฟรันซิสกันชั้นสาม คือกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกที่เป็นสมาชิกคณะฟรันซิสกัน แต่ไม่ได้ถือคำปฏิญาณอย่างสง่า (solemn vows) การเรียกว่าคณะชั้นสามนั้นเพื่อให้ต่างจากคณะภราดาน้อยซึ่งเป็นคณะฟรันซินกันชั้นหนึ่ง และคณะกลาริสซึ่งเป็นคณะฟรันซิสกันชั้นสอง ในปัจจุบันมีคณะฟรันซิสกันชั้นสามอยู่หลายคณะ กระจายอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก แต่ละคณะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและคณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิส · ดูเพิ่มเติม »

คณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก

ณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก (Third Order of St.), สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2557 หรือคณะดอมินิกันชั้นสาม คือกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกที่เป็นสมาชิกคณะดอมินิกัน แต่ไม่ได้ถือคำปฏิญาณอย่างสง่า (solemn vows) การเรียกว่าคณะชั้นสามนั้นเพื่อให้ต่างจากคณะของไฟรเออร์ซึ่งเป็นคณะชั้นหนึ่ง และคณะของนักพรตหญิงซึ่งเป็นคณะชั้นสอง ในปัจจุบันมีคณะดอมินิกันชั้นสามอยู่หลายคณะ กระจายอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก แต่ละคณะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและคณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก · ดูเพิ่มเติม »

คณะฟรันซิสกัน

ณะฟรันซิสกัน (Franciscan Order) บางแห่งเรียกว่าคณะฟรังซิสกัน เป็นกลุ่มคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้ก่อตั้งขึ้น นอกจากในคริสตจักรโรมันคาทอลิกแล้วยังมีคณะฟรันซิสกันในคริสตจักรคาทอลิกเก่า นิกายแองกลิคัน และประชาคมฟรังซิสกันสากล (ecumenical Franciscan communities) ด้วย กลุ่มที่โดดเด่นที่สุดคือคณะภราดาน้อย (Order of Friars Minor) หรือที่รู้จักกันในนามคณะฟรันซิสกัน ซึ่งได้ชื่อนี้เพราะไฟรเออร์ในคณะถือวัตรปฏิบัติตามแบบที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้วางแนวทางและก่อตั้งคณะไว้ มีลักษณะเป็นคณะนักบวชภิกขาจาร คณะฟรันซิสกันยังประกอบด้วยคณะย่อย 3 คณะ โดยแต่ละคณะมีการปกครองตนเองเป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ คณะผู้ถือวินัย (Observants) เรียกอีกชื่อว่าคณะภราดาน้อย คณะภราดาน้อยกาปูชิน และคณะภราดาน้อยคอนเวนชวล ทุกคณะยึดถือวินัยของนักบุญฟรังซิสเป็นวินัยประจำคณ.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและคณะฟรันซิสกัน · ดูเพิ่มเติม »

คณะภราดาเซนต์คาเบรียล

ณะภราดาเซนต์คาเบรียล (Frères de Saint-Gabriel, The Montfort Brothers of St.) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกคณะหนึ่งซึ่งขึ้นตรงต่อพระสันตะปาปา นักบุญหลุยส์ มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ตเป็นผู้ก่อตั้งคณะ และบาทหลวงกาเบรียล เดแอ เป็นผู้ฟื้นฟูคณะ นักบวชในคณะปฏิญาณตนต่อพระเจ้าเพื่อถือ ความยากจน ความบริสุทธิ์ และความนบนอบ ทำงานรับใช้พระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว ด้วยการอุทิศตน เสียสละ รับใช้ผู้อื่นดังพี่น้อง โดยมุ่งที่จะให้บริการศึกษาอบรมที่เป็นความรู้ทางโลกและทางธรรมแก่สังคม คณะภราดาเซนต์คาเบรียลมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี สมาชิกประกอบด้วยภราดาที่ทำงานรับใช้พระเป็นเจ้าผ่านทางการให้การศึกษาแก่เยาวชน และเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อคนยากจน ตามจิตตารมณ์ของนักบุญมงฟอร์ต ปัจจุบัน ภราดา John Kallarackal เป็นอัคราธิการ และภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย เป็นอธิการเจ้าคณะแขวงประเทศไท.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและคณะภราดาเซนต์คาเบรียล · ดูเพิ่มเติม »

คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร

ณพ่อหลุยส์ โชเวต์ ผู้ก่อตั้งคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร (Sœurs de Saint-Paul de Chartres) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกหญิงที่ก่อตั้งขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส เน้นทำงานด้านการจัดการศึกษาและรักษาพยาบาลผู้ป่ว.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร · ดูเพิ่มเติม »

คณะดอมินิกัน

ณะนักเทศน์ (Order of Preachers; Ordo fratrum Praedicatorum) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า คณะดอมินิกัน.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและคณะดอมินิกัน · ดูเพิ่มเติม »

คณะคาร์ทูเซียน

ณะคาร์ทูเซียน (Carthusian Order) หรือ คณะนักบุญบรูโน (Order of St. Bruno) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่ตั้งชื่อตามนักบุญบรูโนแห่งโคโลญ ผู้ตั้งคณะนี้ขึ้นในปี..

ใหม่!!: นักพรตหญิงและคณะคาร์ทูเซียน · ดูเพิ่มเติม »

คณะคาร์เมไลท์

ณะภราดาพระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์เมล (Ordo Fratrum Beatissimae Mariae Virginis de Monte Carmelo; Order of Brothers of The Blessed Virgin Mary of Mount Carmel) หรือที่มักรู้จักกันในนามคณะคาร์เมไลท์ (Carmelite Order) (บางแห่งเรียกว่า คณะคาร์แมล) เป็นคณะนักบวชภิกขาจารคณะหนึ่งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ในยุคแรกนักบวชในคณะนี้เน้นวัตรปฏิบัติอย่างฤๅษี (hermit) คือเก็บตัวภาวนา เพ่งฌาน เกือบตัดขาดจากโลกภายนอก.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและคณะคาร์เมไลท์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า

ณะภราดาไม่สวมรองเท้าแห่งพระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล (Ordo Fratrum Discalceatorum Beatissimae Mariae Virginis de Monte Carmelo: Order of Discalced Brothers of the Blessed Virgin Mary of Mount Carmel) เรียกโดยย่อว่าคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า (Order of Discalced Carmelites) เป็นคณะนักบวชภิกขาจารในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ซึ่งแยกตัวออกมาจากคณะคาร์เมไลท์เดิม โดยมีนักบุญเตเรซาแห่งอาบีลาและนักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขนร่วมกันดำเนินการปฏิรูป นักบุญที่มีชื่อเสียงอีกองค์ในคณะนี้คือนักบุญเตแรซแห่งลีซีเยอ.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (religious institute) เป็นสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วประเภทหนึ่ง สมาชิกประกอบด้วยชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือคำปฏิญาณของนักบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะ (order/society/congregation) โดยแต่ละคณะมีแนวทางการทำงานและเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป นอกจากเรียกว่า "คณะนักบวช" แล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังใช้คำว่า คณะนักพรต และ คณะนักบวชถือพรต โดยถือว่ามีความหมายเดียวกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2 ส่วนประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ. 1983 ฉบับภาษาไทย ใช้คำว่า คณะสถาบันนักพรต.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและคณะนักบวชคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

คนค่อมแห่งน็อทร์-ดาม

นค่อมแห่งน็อทร์-ดาม (the Hunchback of Notre Dame; Notre-Dame de Paris) เป็นนวนิยาย ประพันธ์โดย วิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) และเผยแพร่ครั้งแรกใน..

ใหม่!!: นักพรตหญิงและคนค่อมแห่งน็อทร์-ดาม · ดูเพิ่มเติม »

ตี่ละฉิ่น

ตี่ละฉิ่น (သီလရှင်,; "ผู้ทรงศีล" – มาจากคำบาลีว่า สีล) เป็นนักพรตหญิงในศาสนาพุทธนิกายเถรวาทในประเทศพม่า ลักษณะเดียวกับแม่ชีในประเทศไทย และทสสีลมาตาในประเทศศรีลังกา ทั้งนี้ตี่ละฉิ่นมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภิกษุณีแต่ตี่ละฉิ่นจะมีลักษณะใกล้เคียงกับสามเณรีมากกว.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและตี่ละฉิ่น · ดูเพิ่มเติม »

นักพรต

นักพรต (monk)กีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญายุคกลาง, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 131 คือผู้บำเพ็ญพรต หรือผู้ประพฤติตามข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกาย ใจ ของตนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: นักพรตหญิงและนักพรต · ดูเพิ่มเติม »

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและนักพรตหญิง · ดูเพิ่มเติม »

นักปราชญ์แห่งคริสตจักร

นักบุญอีซีโดโรแห่งเซบียา กับหนังสือซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่นิยมกันในการแสดงรูปของนักปราชญ์แห่งคริสตจักร นักปราชญ์แห่งคริสตจักร (Doctor of the Church; Doctor Ecclesiae) (คำว่า “docere” หรือ “doctor” ในภาษาละตินหมายถึง “สอน”) เป็นตำแหน่งที่คริสตจักรแต่งตั้งให้ผู้ที่มีความสำคัญด้านคำสอนหรือเทววิทยาศาสนาคริสต์เป็นพิเศษ.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและนักปราชญ์แห่งคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก

แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก (Maria Adelheid Theresia Hilda Antonia Wilhelmina vu Lëtzebuerg, Marie Adélaïde Thérèse Hilda Antonie Wilhelmine, พระนามเต็ม: มารี อเดเฮด เทเรซ ฮิลดา วิลเฮลมิเน ฟอน นัสเซา-ไวล์บวร์ก; 14 มิถุนายน พ.ศ. 2437 – 24 มกราคม พ.ศ. 2467) ทรงเป็นแกรนด์ดัสเชสลักเซมเบิร์กพระองค์แรกระหว่าง ครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: นักพรตหญิงและแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แม่ชี

แม่ชีในกรุงเทพ นางชี หรือ แม่ชี เป็นนักพรตหญิงในศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาท นุ่งขาวห่มขาว โกนศีรษะ ถือศีลแปด อาศัยในวัดเช่นเดียวกับภิกษุ แต่มิได้อุปสมบท บางแห่งจึงถือว่าแม่ชีไม่ใช่นักบวช แต่เป็นอุบาสิกาในพุทธบริษัทสี่เท่านั้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการก่อตั้งสำนักชีโดยเฉพาะเพื่อจะได้ไม่ปะปนกับพระภิกษุซึ่งเป็นเพศชาย บางแห่งมีบทบาทจนเป็นที่ยอมรับในสังคม และบางสำนักนางชีสามารถออกบิณฑบาตรได้เช่นเดียวกับพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังมีอุบาสิกาที่ถือศีลแปด เช่นกันแต่มิได้ปลงผม เรียกว่า ชีพราหมณ.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและแม่ชี · ดูเพิ่มเติม »

แม่ชีเทเรซา

แม่ชีเทเรซา หรือ คุณแม่เทเรซา (26 สิงหาคม พ.ศ. 2453 – 5 กันยายน พ.ศ. 2540) เป็นนักพรตหญิงในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ช่วยเหลือและผู้ต่อสู้เพื่อคนยากไร้ทั้งในประเทศที่ยากจนและร่ำรวย จนเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ท่านจึงได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และหลังจากมรณกรรมก็ได้รับการประกาศเป็นบุญราศีโดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 มีนามว่า "บุญราศีเทเรซาแห่งกัลกัตตา" ต่อมาในวันที่ 4 กันยายน..

ใหม่!!: นักพรตหญิงและแม่ชีเทเรซา · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิกในประเทศไทย

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ขณะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างเสด็จเยือนประเทศไทย คริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย หรือที่ชาวคาทอลิกเรียกโดยย่อว่า พระศาสนจักรในประเทศไทย เป็นประชาคมของคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก มีการปกครองตนเองภายใต้การควบคุมของสันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 468 ตามสถิติคาทอลิกในประเทศไท..

ใหม่!!: นักพรตหญิงและโรมันคาทอลิกในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์

ทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ บาทหลวงผู้ยิ่งใหญ่ที่ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ที่มีประวัติเก่าแก่มายาวนาน โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ (Assumption Convent, Couvent De l'Assomption) (อักษรย่อ: อสค, ASC) เป็นโรงเรียนโรมันคาทอลิกหญิงแห่งแรกของประเทศ และเป็นโรงเรียนแรกในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรแห่งประเทศไทย ก่อตั้งโดยคุณพ่อหลุยส์ โชเวต์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ณ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี..

ใหม่!!: นักพรตหญิงและโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรซาแห่งลิมา

นักบุญโรซาแห่งลิมา (Santa Rosa de Lima) เป็นชาวสเปนในนิคมกรุงลิมา เขตอุปราชแห่งเปรู ในจักรวรรดิสเปน สมาชิกคณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก มีชื่อเสียงจากการบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างเข้มงวด และเป็นคนแรกที่เกิดในทวีปอเมริกาที่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในคริสตจักรโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและโรซาแห่งลิมา · ดูเพิ่มเติม »

เอดิท ชไตน์

อดิท ชไตน์ (Edith Stein) หรือนักบุญเทเรซา เบเนดิกตา แห่งไม้กางเขน (Saint Teresa Benedicta of the Cross) เป็นนักพรตหญิงนิกายโรมันคาทอลิกชาวเยอรมันเชื้อสายยิว ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ท่านได้ถูกขังที่ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ และถึงแก่มรณกรรมจากการถูกรมด้วยก๊าซพิษ คริสตจักรโรมันคาทอลิกยกย่องท่านเป็นพรหมจารีและมรณสักขี และได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ในปี..

ใหม่!!: นักพรตหญิงและเอดิท ชไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังกรุงเทพฯ

ื้นที่ในปกครองของมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เขตมิสซังกรุงเทพฯ คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ชัยนาท ฉะเชิงเทราบางส่วน อำเภอบ้านนา (นครนายก) นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง สำนักมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 51 ซอยโรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและเขตมิสซังกรุงเทพฯ · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังราชบุรี

อาณาเขตของเขตมิสซังราชบุรี เขตมิสซังราชบุรี ชาวคาทอลิกเรียกว่าสังฆมณฑลราชบุรี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักมิสซังคาทอลิกราชบุรี ตั้งอยู่ที่ 31/2-4.สมบูรณ์กุล อ.เมือง.ราชบุรี 70000 มีพระคุณเจ้ายอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ เป็นมุขนายกมิสซังองค์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและเขตมิสซังราชบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังจันทบุรี

อาณาเขตมัสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรี เขตมิสซังจันทบุรี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทยในภาคตะวันออกครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 8 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา (บางส่วน) นครนายก (เว้น อ.บ้านนา) ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว มี "อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล" หรือโบสถ์คาทอลิกจันทบุรีเป็นอาสนวิหารประจำเขตมิสซัง มุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรีองค์ปัจจุบันคือ พระคุณเจ้าซิลวีโอ สิริพงศ์ จรัสศรี สำนักมิสซังคาทอลิกจันทบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 21/3 ม. 1 ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและเขตมิสซังจันทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังเชียงใหม่

อาณาเขตมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่ ก่อนตั้งมิสซังเชียงรายในวันที่ 25เมษายน พ.ศ. 2561 เขตมิสซังเชียงใหม่ หรือสังฆมณฑลเชียงใหม่ เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุม 4 จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง (เว้นอำเภองาว) จังหวัดลำพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน และมีสถานะเป็นปริมุขมณฑลของเขตมิสซังกรุงเทพฯ สำนักมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 5/3.เจริญประเทศ 12 ต.ช้างคลาน อ.เมือง.เชียงใหม่ 50100.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและเขตมิสซังเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เคลอจี

ลอจี เคลอจี (clergy อ่านว่า เคลอ-จี) คือ ผู้ได้รับศีลบวช ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่านักบวช รูปเอกพจน์เรียกว่าเคลริก (cleric) ศาสนาคริสต์เริ่มใช้คำนี้เพื่อหมายถึงศาสนบุคคลที่ได้รับศีลบวช ได้แก่ ดีกัน บาทหลวง และบิชอป ในปัจจุบันหมายถึง บุคคลในศาสนาใด ๆ ที่ผ่านพิธีบวชเพื่อปฏิบัติหน้าที่รับใช้ศาสน.

ใหม่!!: นักพรตหญิงและเคลอจี · ดูเพิ่มเติม »

เตแรซแห่งลีซีเยอ

นักบุญเตแรซแห่งลีซีเยอ (Sainte Thérèse de Lisieux) หรือนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซูและพระพักตร์ศักดิ์สิทธิ์ (Saint Thérèse of the Child Jesus and the Holy Face) เป็นนักพรตหญิงโรมันคาทอลิกคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้าชาวฝรั่งเศส ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรในปี..

ใหม่!!: นักพรตหญิงและเตแรซแห่งลีซีเยอ · ดูเพิ่มเติม »

เตเรซาแห่งอาบีลา

นักบุญเตเรซาแห่งอาบีลา (Santa Teresa de Ávila, นักบุญเทเรซา แห่งอาวีลา, นักบุญเทเรซา แห่งอาวีล.) หรือนักบุญเทเรซาแห่งพระเยซู (Santa Teresa de Jesús) เป็นนักพรตหญิงโรมันคาทอลิกชาวสเปน นักการปฏิรูปคาทอลิก ผู้ก่อตั้งคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรในปี..

ใหม่!!: นักพรตหญิงและเตเรซาแห่งอาบีลา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภคินี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »