โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นอร์ฟอล์ก

ดัชนี นอร์ฟอล์ก

ที่ตั้งของมณฑลนอร์ฟอล์ก นอร์ฟอล์ก หรือ นอร์เฟิก (Norfolk) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษ โดยมีนอริชเป็นเมืองหลวง นอร์ฟอล์กมีเขตแดนติดกับลิงคอล์นเชอร์ทางตะวันตก เคมบริดจ์เชอร์ทางตะวันตกและทางตะวันตกเฉียงใต้ และซัฟฟอล์กทางด้านใต้ ทางเหนือและตะวันออกติดทะเลเหนือ.

49 ความสัมพันธ์: ฟรานเซส แชนด์ คีดด์ฟิชแอนด์ชิปส์พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรมาเรียแห่งเท็ครอเบิร์ต วอลโพลราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียราชอาณาจักรอีสต์แองเกลียราชาธิปไตยแห่งสหราชอาณาจักรรายชื่อสวนสัตว์รายชื่อนครในสหรัฐอเมริกาเรียงตามจำนวนประชากรรายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรรายนามผู้ครองตำแหน่งมิสยูเอสเอลิงคอล์นเชอร์วิลเลียม ไฮด์ วูลลาสตันสมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนีสถาปัตยกรรมทิวดอร์อาสนวิหารนอริชอำพันอีสต์ออฟอิงแลนด์อเล็กซานดราแห่งเดนมาร์กจอห์น รอล์ฟดับเบิลยูซีดับเบิลยู เวิลด์วอร์ 3ซัฟฟอล์กนอริชแบล็คชัคแมทธิว แม็คฟาเดียนแจ็คผู้สยบยักษ์โบสถ์กลมโบสถ์หอกลมโลตัส (รถยนต์)โลตัส อีลิสโลตัส เอ็กซิจโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์เรือนส้มเอดิธ คาเวลเอ็ดเวิร์ดแห่งนอริช ดยุกที่ 2 แห่งยอร์กเฮนเนสซี เวนอม จีทีเจคอบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิงเจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์เจ้าชายจอห์นแห่งสหราชอาณาจักรเจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งกลอสเตอร์เทศมณฑลเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษเดอะเกรทอเมริกันแบช (2004)เคมบริดจ์เชอร์

ฟรานเซส แชนด์ คีดด์

ฟรานเซส รูธ แชนด์ คีดด์ (Frances Shand Kydd; สกุลเดิม โรช และเคยเป็นดำรงตำแหน่ง "ไวเคานเตสอัลธอร์พ") (20 มกราคม พ.ศ. 2479 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2547) เกิดที่พาร์กเฮาส์ นอร์ฟอล์ค เป็นภรรยาคนแรกของจอห์น สเปนเซอร์, เอิร์ลสเปนเซอร์ที่ 8 และมารดาของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ หลังจากประสบปัญหาชีวิตสมรสล้มเหลวถึงสองครั้ง และการเสียชีวิตของ จอห์น ลูกชายคนแรกในวัยทารก และไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ลูกสาวคนเล็กจากอุบัติเหตุ ในบั้นปลายชีวิตฟรานเซสได้เปลี่ยนศาสนาเป็นนิกายโรมันคาทอลิกและอุทิศตนให้กับงานสาธารณกุศล ฟรานเซสเป็นบุตรีของ เอ็ดมุนด์ ร็อช บารอนเฟอร์มอยที่ 4 ผู้เป็นพระสหายของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 มารดาของเธอคือ รูธ โรช บารอนเนสเฟอร์มอย นางสนองพระโอษฐ์ของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ ฟรานเซสเสียชีวิตในวันที่ 3 มิถุนายน..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและฟรานเซส แชนด์ คีดด์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิชแอนด์ชิปส์

ฟิชแอนด์ชิปส์ (fish and chips) เป็นอาหารจานร้อนที่มีต้นกำเนิดในอังกฤษ ประกอบด้วยเนื้อปลาที่ชุบแป้ง โดยมักจะเป็นปลาค็อดแอตแลนติก (Atlantic cod) หรือปลาค็อดชนิดอื่น รวมทั้งมันฝรั่งทอด เป็นอาหารที่เตรียมไว้ขายและเครื่องเคียงที่กินร่วมกันคือถั่วอ่อน.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและฟิชแอนด์ชิปส์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร (George V of the United Kingdom) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในราชวงศ์วินด์เซอร์ซึ่งทรงสถาปนาขึ้นจากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาสายอังกฤษ ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพแห่งอังกฤษ พระองค์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดียและปฐมกษัตริย์เสรีรัฐไอร์แลนด์อีกด้วย พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติตั้งแต่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ผ่านช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2461) จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2479 พระองค์ทรงปฏิบัติราชการในราชนาวีอังกฤษตั้งแต่พระชนมายุ 12 พรรษา แต่หลังจากการสิ้นพระชนม์อย่างไม่คาดฝันของเจ้าชายอัลเบิร์ต วิกเตอร์ ดยุกแห่งแคลเรนซ์และแอวันเดล พระเชษฐา ทำให้ทรงกลายเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์และอภิเษกสมรสกับพระคู่หมั้นของพระเชษฐาคือเจ้าหญิงแมรีแห่งเทก ถึงแม้ว่าทั้งสองพระองค์จะเสด็จประพาสจักรวรรดิอังกฤษเป็นบางโอกาส แต่พระเจ้าจอร์จที่ 5 โปรดที่จะประทับที่พระตำหนักพร้อมกับการสะสมดวงตราไปรษณียากร และทรงมีชีวิตที่ต่อมานักชีวประวัติเห็นว่าไม่น่าสนใจเนื่องจากความเป็นธรรมดาและเรียบง่าย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปี..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

มาเรียแห่งเท็ค

มาเรียแห่งเท็ค (Maria von Teck) หรือ เจ้าหญิงวิกตอเรีย แมรี ออกัสตา ลูอิส โอลกา พอลีน คลอดีน แอกเนสแห่งเท็ค (Princess Victoria Mary Augusta Louise Olga Pauline Claudine Agnes of Teck) เป็นเจ้าหญิงเยอรมันจากราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค ผู้ซึ่งอภิเษกสมรสเข้าสู่พระราชวงศ์อังกฤษ พระนางเป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าจอร์จที่ 5 จึงถูกออกพระนามว่า สมเด็จพระราชินีแมรี (Queen Mary) พระนางยังทรงมีพระยศเป็นจักรพรรดินีแห่งอินเดียและพระราชินีแห่งไอร์แลนด์อีกด้วย หกสัปดาห์ภายหลังจากการหมั้นหมายกับเจ้าชายอัลเบิร์ต วิกเตอร์ ดยุกแห่งคลาเรนซ์ รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ เจ้าชายสิ้นพระชนม์ด้วยโรคปวดบวม ในปีต่อมาเจ้าหญิงแมรีทรงหมั้นหมายกับรัชทายาทพระองค์ใหม่ พระอนุชาในเจ้าชายอัลเบิร์ต วิกเตอร์ คือ เจ้าชายจอร์จ ในฐานะสมเด็จพระราชินีอัครมเหสีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2453 พระองค์ทรงสนับสนุนพระราชสวามีตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เนื่องจากพระพลานามัยที่ไม่สมบูรณ์และการเปลี่ยนแปลงทางการครั้งใหญ่ที่เกิดมาจากผลกระทบหลังสงครามและการอุบัติขึ้นของลัทธิสังคมนิยมและชาตินิยม หลังการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าจอร์จที่ 5 พระราชสวามีเมื่อปี พ.ศ. 2479 เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด พระโอรสองค์โตได้ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี-จักรพรรดิ แต่กลับสร้างความผิดหวังให้กับพระองค์ด้วยการสละราชสมบัติในปีเดียวกันเพื่ออภิเษกกับนางวอลลิส ซิมป์สัน สาวสังคมชาวอเมริกันที่หย่าร้างมาแล้วสองครั้ง พระองค์ทรงสนับสนุนเจ้าชายอัลเบิร์ต ซึ่งทรงสืบต่อราชบัลลังก์อังกฤษเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 6 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2495 พระองค์ก็เสด็จสวรรคตในปีต่อมา ในช่วงเวลาของพระองค์ สมเด็จพระราชินีแมรีทรงเป็นที่รู้จักถึงการกำหนดลีลาให้พระราชวงศ์อังกฤษดำเนินไป ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างของความเป็นระเบียบทางการและขนบธรรมเนียมของพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะในงานพระราชพิธีต่าง ๆ พระองค์เป็นสมเด็จพระราชินีมเหสีที่ทรงเข้าร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกของทายาทของพระองค์ นอกจากนั้นพระองค์ที่ยังทรงเป็นที่รู้จักถึงการประดับเพชรพลอยในงานพิธีทางการต่าง ๆ ทรงทิ้งชุดเครื่องเพชรต่างๆ ซึ่งถือว่าประเมินค่ามิได้ในขณะนี้เอาไว้.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและมาเรียแห่งเท็ค · ดูเพิ่มเติม »

รอเบิร์ต วอลโพล

รอเบิร์ต วอลโพล เอิร์ลแห่งออร์ฟอร์ด (Robert Walpole, 1st Earl of Orford) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม เซอร์ รอเบิร์ต วอลโพล เป็นรัฐบุรุษและนักการเมืองชาวอังกฤษผู้ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกโดยพฤตินัย และยังถือเป็นนายกรัฐมนตรีที่ครองตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ เขาเป็นหนึ่งในนักการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ เขาได้รับเลือกตั้งเข้าไปในสภาในปี 1701 ในฐานะสมาชิกพรรควิก และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง เนื่องจากเขาเป็นพวกผู้ดีจากนอกกรุง ดังนั้นเขาจึงมองหาฐานการเมืองจากนอกกรุงเป็นหลัก.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและรอเบิร์ต วอลโพล · ดูเพิ่มเติม »

ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย

มเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี พระราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Descendants of Queen Victoria) เป็นเรื่องราวของการสืบสายพระโลหิตของพระราชโอรสและธิดาทั้งหมด 9 พระองค์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร (อเล็กซานดรินา วิกตอเรีย; 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2362 - 22 มกราคม พ.ศ. 2444 เสวยราชสมบัติ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2380) โดยมีพระราชนัดดา 42 พระองค์ และพระราชปนัดดา (เหลน) 88 พระองค์ แต่ละพระองค์จึงเป็นทั้งพี่น้องกันหรือพระญาติชั้นที่หนึ่งซึ่งกันและกัน (first cousin) และด้วยการอภิเษกสมรสเข้าไปยังราชสำนักต่างๆ ในทวีปยุโรป พระองค์จึงทรงมีผลกระทบต่อโชคชะตาของราชวงศ์ยุโรปอย่างมาก ทรงมีความเกี่ยวข้องทางสายพระโลหิตและการอภิเษกสมรสกับราชวงศ์สเปน เยอรมนี กรีซ รัสเซีย โรมาเนีย ยูโกสลาเวีย นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก จึงทำให้ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า สมเด็จย่าแห่งยุโรป (Grandmother of Europe) สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ เป็นเวลา 63 ปีเศษ ระหว่างปี..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย

ราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย (ภาษาอังกฤษ: Kingdom of the East Angles หรือ Kingdom of East Anglia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักร ชื่อของอาณาจักรมาจากชื่อดินแดนแองเกิล (Angeln) ของชนแองเกิล ทางตอนเหนือของเยอรมนี ที่เมื่อแรกเริ่มประกอบด้วยนอร์โฟล์ค และซัฟโฟล์ค ชื่อที่อาจจะได้รับหลังจากการตั้งถิ่นฐานของชาวเดนส์ (“North folk (people)”.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยแห่งสหราชอาณาจักร

ระบอบราชาธิปไตยของสหราชอาณาจักร เป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของสหราชอาณาจักรและอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรผู้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและราชาธิปไตยแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสวนสัตว์

;.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและรายชื่อสวนสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อนครในสหรัฐอเมริกาเรียงตามจำนวนประชากร

รายชื่อเมืองในสหรัฐอเมริกาเรียงตามจำนวนประชากร ที่มีจำนวนประชากรมากกว่า 100,000 คน ข้อมูลจากปี..2008 นิวยอร์กซิตี รัฐนิวยอร์ก ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ฮิวสตัน รัฐเทกซัส ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย แซนแอนโทนีโอ รัฐเทกซัส แซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย แดลลัส รัฐเทกซัส แซนโฮเซ รัฐแคลิฟอร์เนีย ดิทรอยต์ รัฐมิชิแกน แจ็กสันวิลล์ รัฐฟลอริดา แซนแฟรนซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย โคลัมบัส รัฐโอไฮโอ ฟอร์ตเวิร์ท รัฐเทกซัส เอลแพโซ รัฐเทกซัส ซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน วอชิงตัน ดี.ซี. มิลวอกี รัฐวิสคอนซิน เดนเวอร์ รัฐโคโลราโด แนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี โอคลาโฮมาซิตี รัฐโอคลาโฮมา แอลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย เฟรสโน รัฐแคลิฟอร์เนีย แซคราเมนโต รัฐแคลิฟอร์เนีย เมซา รัฐแอริโซนา เวอร์จิเนียบีช รัฐเวอร์จิเนีย โอมาฮอ รัฐเนแบรสกา โอกแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ทัลซา รัฐโอคลาโฮมา.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและรายชื่อนครในสหรัฐอเมริกาเรียงตามจำนวนประชากร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักร

สโตนเฮนจ์เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกโลกสโตนเฮนจ์ เอฟเบอรี และสถานที่ใกล้เคียง ในสหราชอาณาจักรและอาณานิคมโพ้นทะเลมีแหล่งมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกทั้งหมด 31 แห่ง โดยอยู่ในอังกฤษ 17 แห่ง, สกอตแลนด์ 5 แห่ง, อังกฤษและสกอตแลนด์ 1 แห่ง, เวลส์ 3 แห่ง, ไอร์แลนด์เหนือ 1 แห่ง และในดินแดนโพ้นทะเลเบอร์มิวดา หมู่เกาะพิตแคร์น เซนต์เฮเลนา และยิบรอลตาร์ที่ละ 1 แห่ง แหล่งมรดกโลกของสหราชอาณาจักรที่ได้ขึ้นทะเบียนในครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2529 ได้แก.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

รายนามผู้ครองตำแหน่งมิสยูเอสเอ

้านล่างนี้คือรายนามผู้ครองตำแหน่งมิสยูเอสเอ ผู้ที่ได้รับรางวัลมิสยูเอสเอ 8 คนได้รับเลือกให้เป็นนางงามจักรวาล โดยแสดงเป็นตัวหนา ตั้งแต่ในปี..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและรายนามผู้ครองตำแหน่งมิสยูเอสเอ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงคอล์นเชอร์

ที่ตั้งของมณฑลลิงคอล์นเชอร์ ลิงคอล์นเชอร์ หรือ ลิงคอล์นเชียร์ (Lincolnshire, or,; ย่อ Lincs) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษโดยมีลิงคอล์นเป็นเมืองหลวง ลิงคอล์นเชอร์มีเขตแดนติดกับนอร์โฟล์ค, เคมบริดจ์เชอร์, รัทแลนด์, เลสเตอร์เชอร์, น็อตติงแฮมเชอร์, เซาท์ยอร์คเชอร์, and the อีสต์ไรดิงแห่งยอร์คเชอร์ และมีเขตแดนติดกับนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ราว 19 เมตรซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างมณฑลที่สั้นที่สุดในอังกฤษ.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและลิงคอล์นเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ไฮด์ วูลลาสตัน

วิลเลียม ไฮด์ วูลลาสตัน (William Hyde Wollaston; 6 สิงหาคม ค.ศ. 1766 – 22 ธันวาคม ค.ศ. 1828) เป็นนักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองเดียแรม เป็นบุตรของนักดาราศาสตร์ ฟรานซิส วูลลาสตันและอัลเธีย ไฮด์ วูลลาสตันเรียนที่โรงเรียนชาร์เตอร์เฮาส์และวิทยาลัยกอนวิลล์และคีสในเคมบริดจ์ ในปี..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและวิลเลียม ไฮด์ วูลลาสตัน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์

มเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ (2 กรกฎาคม 1903 - 17 มกราคม 1991) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ ตั้งแต่ปี 1957 จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคต พระองค์เป็นสมาชิกราชวงศ์ชเลสวิก-ฮอลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึคส์บูร์ก สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 เสด็จพระราชสมภพที่สหราชอาณาจักร พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวในสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และสมเด็จพระราชินีม็อดแห่งนอร์เวย์ พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร กับ อเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร ผ่านทางสายพระราชมาร.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและสมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี

มเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี (Queen Elizabeth, The Queen Mother), เอลิซาเบธ แองเจลา มาร์เกอริต โบวส์-ลีออน (Elizabeth Angela Marguerite Bowes-Lyon; 4 สิงหาคม พ.ศ. 2443 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2545) เป็นสมเด็จพระราชินีมเหสีในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร ตั้งแต..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมทิวดอร์

้านนอกของชาเปลคิงส์คอลเลจ สถาปัตยกรรมทิวดอร์ หรือ แบบทิวดอร์ (Tudor style architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นขั้นตอนสุดของสถาปัตยกรรมของยุคกลางที่เกิดขึ้นใน “สมัยทิวดอร์” ระหว่าง ค.ศ. 1485 จนถึง ค.ศ. 1603 และเลยไปกว่านั้นสำหรับผู้สร้างที่ยังคงเป็นอนุรักษนิยม สถาปัตยกรรมทิวดอร์สืบต่อมาจากสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษและตามมาด้วยสถาปัตยกรรมเอลิซาเบธ ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของผู้มีอันจะกิน แต่ลักษณะการก่อสร้างแบบทิวดอร์ก็มิได้สูญหายไปจนหมดสิ้นและยังคงเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่ยังคงเป็นที่นิยมกันในอังกฤษ ส่วนต่อเติมของวิทยาลัยต่างๆ ของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็ยังคงสร้างแบบทิวดอร์ที่คาบเกี่ยวกับลักษณะเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมทิวดอร์ก็ได้แก่โค้งทิวดอร์ซึ่งเป็นโค้งแป้น, หน้าต่างมุขโอเรียล (oriel window) ที่เป็นมุขยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้างกรุด้วยหน้าต่างกระจก, บัวที่แผ่กว้างออกไป และ ใบไม้ดอกไม้ตกแต่งที่ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น แต่กระนั้น “แบบทิวดอร์” ก็ยังเป็นงานที่ยังมีลักษณะค่อนข้างแข็งอยู่ ตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมทิวดอร์ในสกอตแลนด์ก็ได้แก่วิทยาลัยคิงส์, อเบอร์ดีน.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและสถาปัตยกรรมทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารนอริช

อาสนวิหารนอริช อาสนวิหารนอริช (ภาษาอังกฤษ: Norwich Cathedral) เป็นอาสนวิหาร นิกายอังกลิคัน ตั้งอยู่ที่เมืองนอริช มณฑลนอร์โฟล์ค (Norfolk) ใน สหราชอาณาจักร เริ่มสร้างเมื่อ ค.ศ. 1145 ลักษณะโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นแบบโรมาเนสก์ สร้างโดยบาทหลวงเฮอร์เบิร์ต เดอ โลซินยา (Bishop Herbert de Losinga) ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 ประมาณ..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและอาสนวิหารนอริช · ดูเพิ่มเติม »

อำพัน

อำพันตกแต่งเป็นเหรียญประดับรูปไข่ขนาด 2x1.3 นิ้ว อำพัน เป็นซากดึกดำบรรพ์ของยางไม้ เป็นสิ่งมีค่าด้วยสีสันและความสวยงามของมัน อำพันที่มีคุณภาพดีเยี่ยมจะถูกนำมาผลิตเป็นเครื่องประดับและอัญมณี แม้ว่าอำพันจะไม่จัดเป็นแร่แต่ก็ถูกจัดให้เป็นพลอย โดยทั่วไปแล้วจะเข้าใจผิดกันว่าอำพันเกิดจากน้ำเลี้ยงของต้นไม้ แต่แท้ที่จริงแล้ว น้ำเลี้ยงเป็นของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ในระบบท่อลำเลียงของพืช ขณะที่ยางไม้เป็นอินทรียวัตถุเนื้ออสัณฐานกึ่งแข็งที่ถูกขับออกมาผ่านเซลล์เอพิทีเลียมของพืช เพราะว่าอำพันเคยเป็นยางไม้ที่เหนียวนิ่มเราจึงพบว่าอาจมีแมลงหรือแม้แต่สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กอยู่ในเนื้อของมันได้ ยางไม้ที่มีสภาพเป็นกึ่งซากดึกดำบรรพ์รู้จักกันในนามของโคปอล สีของอำพันมีได้หลากหลายสีสัน ปรกติแล้วจะมีสีน้ำตาล เหลือง หรือส้ม เนื้อของอำพันเองอาจมีสีได้ตั้งแต่ขาวไปจนถึงเป็นสีเหลืองมะนาวอ่อนๆ หรืออาจเป็นสีน้ำตาลจนถึงเกือบสีดำ สีที่พบน้อยได้แก่สีแดงที่บางทีก็เรียกว่าอำพันเชอรี่ อำพันสีเขียวและสีฟ้าหายากที่มีการขุดค้นหากันมาก อำพันที่มีค่าสูงมากๆจะมีเนื้อโปร่งใส ในทางตรงกันข้ามอำพันที่พบกันมากทั่วไปจะมีสีขุ่นหรือมีเนื้อทึบแสง อำพันเนื้อทึบแสงมักมีฟองอากาศเล็กๆเป็นจำนวนมากที่รู้จักกันในนามของอำพันบาสตาร์ดหมายถึงอำพันปลอม ซึ่งแท้ที่จริงแล้วก็เป็นอำพันของแท้ๆนั่นเอง.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและอำพัน · ดูเพิ่มเติม »

อีสต์ออฟอิงแลนด์

ตะวันออกของอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: East of England) เป็นหนึ่งในเก้าของภาคการปกครองของอังกฤษที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1994 และรับเป็นส่วนหนึ่งของสถิติใน ปี ค.ศ. 1999 ภาคตะวันออกของอังกฤษรวมมลฑลเอสเซกซ์, ฮาร์ทฟอร์ดเชอร์, เบดฟอร์ดเชอร์, เคมบริดจ์เชอร์, นอร์โฟล์ค และซัฟโฟล์ค ในปี..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและอีสต์ออฟอิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก

้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก ซึ่งภายหลังคือ สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร (อเล็กซานดรา แคโรไลนา มารี ชาร์ล็อต หลุยส์ จูเลีย; 1 ธันวาคม พ.ศ. 2387 - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร และสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอินเดียในช่วงระหว่างรัชกาลของพระสวามี ก่อนหน้านี้ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ระหว่างปี พ.ศ. 2406 - พ.ศ. 2444 (ยาวนานกว่าผู้ใดที่เคยดำรงพระอิสริยยศนี้) หลังการเสด็จสวรรคตของพระสวามีในปี พ.ศ. 2453 ตราบจนถึงการเสด็จสวรรคตของพระองค์เอง ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมราชชนนี ที่ทรงเป็นทั้งพระราชินีและพระราชชนนีของกษัตริย์ที่ทรงครองราชย์อยู่ คือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร แต่ไม่โปรดใช้พระอิสริยยศเช่นนี้ จึงได้มีพระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา" (Her Majesty Queen Alexandra) ตลอดการเป็นหม้ายของพระอง.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น รอล์ฟ

อห์น รอล์ฟ (John Rolfe) (1585–1622) เป็นชาวอังกฤษรุ่นแรก ๆ ที่อพยพจากอาณาจักรอังกฤษไปตั้งรากฐานใหม่ที่อเมริกาเหนือ มีชื่อเสียงจากการปลูกยาสูบได้สำเร็จในอเมริกาเหนือ และยังสามารถส่งยาสูบออกขายได้อีกด้วย ซึ่งทำรายได้ให้แก่อาณานิคมเวอร์จิเนีย นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงด้วยการที่เป็นเป็นสามีของโพคาฮอนทัส ผู้เป็นลูกสาวของหัวหน้าเผ่าพาวแฮแทนอีกด้ว.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและจอห์น รอล์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลยูซีดับเบิลยู เวิลด์วอร์ 3

ับเบิลยูซีดับเบิลยู เวิลด์วอร์ 3 เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิวมวยปล้ำอาชีพของ เวิลด์แชมเปี้ยนชิพเรสต์ลิง โดยจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและดับเบิลยูซีดับเบิลยู เวิลด์วอร์ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ซัฟฟอล์ก

ที่ตั้งของมณฑลซัฟฟอล์ก ซัฟฟอล์ก หรือ ซัฟเฟิก (Suffolk) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ในบริเวณอีสต์แองเกลียของอังกฤษ โดยมีอิปสวิชเป็นเมืองหลวง ซัฟฟอล์กมีเขตแดนติดกับนอร์ฟอล์กทางตอนเหนือ, เคมบริดจ์เชอร์ทางตะวันตก และเอสเซ็กซ์ทางตอนใต้ ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและซัฟฟอล์ก · ดูเพิ่มเติม »

นอริช

“มหาวิหารนอริช” ในนอริช นอริช (Norwich,, สะกดอ่าน: Nor-rich) เป็นนครที่ตั้งอยู่ในนอร์โฟล์คในอีสต์แองเกลียในภาคตะวันออกของอังกฤษในอังกฤษ เป็นเมืองบริหารส่วนภูมิภาคและเมืองหลวงของนอร์โฟล์ค ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 นอริชเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นที่สองของอังกฤษรองจากลอนดอน ที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ และเป็นที่ตั้งของมหาวิหารนอร.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและนอริช · ดูเพิ่มเติม »

แบล็คชัค

รูปในจินตนาการของแบล็คชัค แบล็คชัค (Black Shuck) เป็นปีศาจสุนัขสีดำตัวใหญ่ตามความเชื่อของชาวยุโรปที่นับถือศาสนาคริสต์ ว่าการปรากฏตัวของมันนำมาซึ่งความตาย ซึ่งทุกทีที่แบล็คชัคปรากฏตัว มักจะเกิดการเผาไหม้และได้กลิ่นของกำมะถันด้ว.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและแบล็คชัค · ดูเพิ่มเติม »

แมทธิว แม็คฟาเดียน

วิด แมทธิว แม็คฟาเดียน (David Matthew Macfadyen; เกิด 17 ตุลาคม ค.ศ. 1974 เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ ผู้ชนะเลิศรางวัลแบฟตาในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จากบทบาทเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับ ทอม ควินน์ ในละครซีรีส์โทรทัศน์บีบีซีเรื่อง Spooks ในปี 2005 เขารับบทเป็น มิสเตอร์ฟิตซ์วิลเลี่ยม ดาร์ซี่ ในภาพยนตร์เรื่อง ดอกไม้ทรนงกับชายชาติผยอง คู่กับ คีร์รา ไนท์ลีย์ นอกนี้นี้เขาเป็นที่รู้จักกันดีในภาพยนตร์เรื่อง Frost/Nixon ในปี 2015 เขารับบทเป็นกาย ลียง เพลย์แฟร์ ในละครซีรีส์เรื่อง The Enfield Haunting.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและแมทธิว แม็คฟาเดียน · ดูเพิ่มเติม »

แจ็คผู้สยบยักษ์

แจ็คผู้สยบยักษ์ (Jack the Giant Slayer) เป็นภาพยนตร์ผจญภัย/แฟนตาซีที่เตรียมจัดฉาย ซึ่งอิงจากเทพนิยายเรื่อง "แจ็คผู้ฆ่ายักษ์" และ "แจ็คกับต้นถั่ว" กำกับภาพยนตร์โดยไบรอัน ซิงเกอร์ และนำแสดงโดยนิโคลัส ฮอลท์, เอลินอร์ ทอมลินสัน, สแตนลีย์ ทุชชี, เอียน แม็คเชน, บิล ไนอี และอีวาน แมคเกรเกอร์ เขียนบทภาพยนตร์โดยดาร์เรน เลมเก, คริสโตเฟอร์ แม็คควอร์รี และแดน สตัดนีย์ ภาพยนตร์ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของแจ็ค ซึ่งเป็นคนรับจ้างทำไร่นาที่ต้องช่วยเจ้าหญิงให้รอดพ้นจากเหล่ายักษ์ หลังจากที่ได้ก้าวไปสู่โลกของพวกมันอย่างไม่ได้ตั้งใจ การพัฒนาภาพยนตร์ แจ็คผู้สยบยักษ์ เริ่มขึ้นในเดือนมกราคม..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและแจ็คผู้สยบยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์กลม

“วัดกลม” ที่บอว์มอร์ในสกอตแลนด์ วัดกลม (Round church) เป็นสถาปัตยกรรมคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่มีผังเป็นทรงกลมทั้งหลัง วัดกลมมักจะพบในสวีเดน และเดนมาร์ก (โดบเฉพาะบนเกาะบอร์นโฮล์ม) และเป็นทรงที่นิยมกันในสแกนดิเนียเวียระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 ตัวอย่างของวัดกลมก็ได้แก่วัดเฮดวิกเอเลโอโนราในสตอกโฮล์มในสวีเดน ในอังกฤษก็มีวัดกลมด้วยกันห้าวัดที่รวมทั้ง วัดโฮลีเซพัลเครอ, เคมบริดจ์ และ วัดเท็มเพิลในลอนดอน วัดกลมไม่ควรจะสับสนกับสิ่งก่อสร้างที่มีรูปทรงคล้ายคลึงกันเช่นวัดหอกลมที่เฉพาะหอที่ติดกับตัววัดเท่านั้นที่กลม ที่ส่วนใหญ่จะพบในบริเวณอีสต์แองเกลีย โดยเฉพาะในมณฑลนอร์โฟล์ค และ มณฑลซัฟโฟล.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและโบสถ์กลม · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์หอกลม

วัดเซนต์ปีเตอร์, Bruisyard, ซัฟโฟล์ค โบสถ์หอกลม (Round-tower church) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่ส่วนใหญ่ปรากฏในอังกฤษโดยเฉพาะในอีสต์แองเกลีย ที่ยังคงมีเหลืออยู่ด้วยกันทั้งสิ้นราว 185 แห่ง ในมณฑลนอร์โฟล์คมี124 แห่ง ในมณฑลซัฟโฟล์คมี 38 แห่งในมณฑลเอสเซ็กซ์มี 6 แห่ง ในมณฑลซัสเซ็กซ์มี 3 แห่ง และอีกมณฑลละ 2 แห่งในเคมบริดจ์เชอร์ และในบาร์คเชอร์ ในเยอรมนีมีหลักฐานว่ามีอยู่ราว 280 ที่มีรูปทรงคล้ายกับที่ปรากฏในอีสต์แองเกลีย ประเทศที่มีโบสถ์หอกลมก็รวมทั้งอันดอร์รา สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฝรั่งเศส อิตาลี สวีเดน นอร์เวย์ โปแลนด์ และแอฟริกาใต้ ลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของคริสต์ศาสนสถานดังกล่าวที่เห็นได้ชัดคือการมีหอกลม แต่สาเหตุที่สร้างที่ส่วนใหญ่โดยแซ็กซอนยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ ข้อสันนิษฐานที่เสนอกันมาก็ได้แก่.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและโบสถ์หอกลม · ดูเพิ่มเติม »

โลตัส (รถยนต์)

รถโลตัส (Lotus Cars Limited) เป็นบริษัทผลิตรถยนต์จากประเทศอังกฤษ เน้นการผลิตรถยนต์นั่งสมรรถนะสูงและรถแข่ง มีรุ่นที่มีชื่อเสียงหลายรุ่น อาทิเช่น เอสพรี, เอลาน, ยูโรปา และอีลิส รวมถึงทีมฟอร์มูลาวันที่ประสบความสำเร็จ โรงงานผลิตรถโลตัสตั้งอยู่ที่ ฮีเทล (Hethel) ในนอร์โฟล์ค ซึ่งเดิมเคยเป็นฐานทัพทหารอากาศแห่งสหราชอาณาจักร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทเน้นการออกแบบรถสปอร์ตขนาดเล็กที่มีน้ำหนักน้อยและมีระบบแฮนด์ลิงที่ดี โลตัสเคยเปลี่ยนเจ้าของหลายครั้งในปี 1986 ก็ถูกขายให้กับเจเนรัลมอเตอร์ ต่อมาก็ถูกขายกับนายโรมานา อาร์ติโอลิ (Romano Artioli) ในปี 1996 ผู้ซึ่งเคยเป็นอดีตเจ้าของบูกัตติ แต่ภายหลังการล้มละลายของบริษัท ก็ถูกขายให้กับ DRB-HICOM บริษัทสัญชาติมาเลเซีย และเป็นบริษัทลูกของโปรตอนอีกทีหนึ่งด้ว.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและโลตัส (รถยนต์) · ดูเพิ่มเติม »

โลตัส อีลิส

ลตัส อีลิส (Lotus Elise) เป็นรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง เครื่องยนต์กลางลำหลัง ขับเคลื่อนสองล้อท้าย (RMR) 2 ประตู 2 ที่นั่ง ผลิตโดยบริษัท โลตัสจากอังกฤษ เริ่มออกแบบและพัฒนาในปี..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและโลตัส อีลิส · ดูเพิ่มเติม »

โลตัส เอ็กซิจ

ลตัส เอ็กซิจ (Lotus Exige) เป็นรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง เครื่องยนต์กลางลำหลัง ขับเคลื่อนสองล้อท้าย (RMR) 2 ประตู 2 ที่นั่ง ผลิตโดยบริษัท โลตัสจากอังกฤษ เริม่สายการผลิตตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและโลตัส เอ็กซิจ · ดูเพิ่มเติม »

โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1

ลเรือโท โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 ดยุกแห่งบรงเต (Horatio Nelson, 1st Viscount Nelson, 1st Duke of Bronté) เป็นนายทหารเรือแห่งราชนาวีอังกฤษ เป็นหนึ่งในชาวอังกฤษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติ ผู้มากด้วยกลยุทธ์ ชั้นเชิงสมัยใหม่ นำมาซึ่งชัยชนะของฝ่ายอังกฤษในหลายยุทธนาวี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามนโปเลียน ตลอดการรับราชการทหารของลอร์ดเนลสัน เขาได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้หลายครั้ง ครั้งหนึ่งเขาสูญเสียดวงตาข้างหนึ่งไปที่คอร์ซิกา และสูญเสียแขนข้างหนึ่งไปในยุทธนาวีที่ซันตาครูซเดเตเนรีเฟ (Santa Cruz de Tenerife) เขาเสียชีวิตขณะบัญชาการรบในยุทธการที่ตราฟัลการ์ ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะอันงดงามของอังกฤษ เนลสันเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในนอร์ฟอล์กของอังกฤษ และเข้ารับราชการในราชนาวีตามกัปตันเมาริช ซัคลิง (Maurice Suckling) ผู้เป็นลุง เนลสันเติบโตในราชการอย่างรวดเร็วจนได้ทำงานกับเหล่าผู้บัญชาการระดับสูง ก่อนที่ตัวเขาเองจะได้เป็นผู้บัญชาการเรือครั้งแรกในปี 1778 ความกล้าหาญตลอดจนการคิดค้นกลยุทธ์ต่างๆทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ภายหลังสงครามปฏิวัติอเมริกาซึ่งทำให้อังกฤษตกต่ำ เขาก็ต้องประสบกับความเจ็บป่วยตลอดจนถูกให้เกษียณจากราชการ เมื่อสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสปะทุขึ้น เขาก็ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการอีกครั้ง โดยคุมกองเรืออยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เขาเข้าต่อสู้ในศึกย่อยๆที่ชายฝั่งเมืองตูลงตลอดจนศึกสำคัญอย่างการเข้ายึดครองคอร์ซิกา และเป็นผู้ประสานงานทางการทูตกับบรรดาแคว้นในอิตาลี เขาโดดเด่นขึ้นมาอย่างมากจากชัยชนะในยุทธนาวีที่แหลมเซาวีแซงต์ (São Vicente) ของโปรตุเกสในปี 1797 ไม่นานหลังจากนั้น เขาก็ทำศึกในยุทธนาวีที่ซันตาครูซเดเตเนรีเฟ ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเขาและตัวเองได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการสูญเสียแขนขวา เขาจำต้องกลับอังกฤษเพื่อพักรักษาตัว และในปีต่อมา เขาก็ได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยเหนือฝรั่งเศสในยุทธนาวีที่แม่น้ำไนล์ และยังคงประจำการอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อคอยสนับสนุนราชอาณาจักรเนเปิลส์เพื่อต้านทานการรุกรานโดยฝรั่งเศสของนโปเลียน ต่อมาในปี 1801 เขาถูกโอนย้ายไปคุมกองเรือที่ทะเลบอลติกและได้รับชัยชนะเหนือเดนมาร์ก-นอร์เวย์ในยุทธนาวีที่โคเปนเฮเกน ต่อมาเขาบัญชาการการปิดล้อมกองเรือผสมของฝรั่งเศสและสเปนที่ตูลง แต่กองเรือผสมก็สามารถฝ่าออกไปได้ เขาไล่ตามกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนไปจนถึงหมู่เกาะเวสต์อินดีสในทวีปอเมริกา แต่ก็ไม่สามารถล่อกองเรือผสมให้ออกมาทำศึกได้ หลังจากนำกองเรือกลับมายังอังกฤษ เขาก็ไปปิดล้อมเมืองกาดิซในปี 1805 แต่เมื่อกองเรือฝรั่งเศส-สเปนเคลื่อนกำลังออกจากท่า กองเรือของเนลสันก็ไล่ตามไปจนถึงแหลมตราฟัลการ์ และเกิดเป็นยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ ซึ่งถือเป็นชัยชนะทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ความทะเยอทะยานในการพิชิตอังกฤษของนโปเลียนได้แตกสลาย อย่างไรก็ตาม ระหว่างการปะทะ เนลสันที่กำลังบัญชาการรบอยู่บนดาดฟ้าเรือหลวงวิกตอรี ก็ถูกกระสุนปืนจากพลแม่นปืนของฝรั่งเศสยิงเข้าที่บริเวณหน้าอกและเสียชีวิต ร่างของเขาถูกนำตัวกลับไปยังอังกฤษ มีการจัดรัฐพิธีศพให้อย่างสมเกียรติและยิ่งใหญ่ มีการสร้างอนุสาวรีย์ของเขาและนำขึ้นประดับไว้บนเสากลางตั้งจัตุรัสทราฟัลการ์ของกรุงลอนดอน.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

อานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ มีพระนามเต็มว่า ไดอานา ฟรานเซส (อังกฤษ: Diana Frances) สกุลเดิม สเปนเซอร์ (อังกฤษ: Spencer) ประสูติ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 — สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เป็นพระชายาองค์แรกของเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ มกุฎราชกุมารอังกฤษ ไดอานาถือกำเนิดในตระกูลขุนนางที่สืบทอดเชื้อสายจากราชวงศ์อังกฤษโบราณ  เป็นบุตรีคนที่ 3 ของ จอห์น สเปนเซอร์ ไวเคานต์อัลธอร์พ และฟรานเซส โรช ในวัยเด็กไดอานาพักอาศัยที่คฤหาสน์พาร์กเฮาส์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในพื้นที่ตำหนักซานดริงแฮม ไดอานาเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนที่ประเทศอังกฤษและได้เข้าศึกษาต่อเป็นเวลาสั้นๆ ในโรงเรียนการเรือนที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์  เมื่ออายุได้ 14 ปี ไดอานาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น เลดี้ เมื่อบิดาสืบทอดฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น เอิร์ลแห่งสเปนเซอร์ ไดอานาเริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกเมื่อเป็นเข้าพิธีหมั้นหมายกับเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ใน..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เรือนส้ม

รือนส้ม (Orangery) คือสิ่งก่อสร้างที่มักจะพบภายในบริเวณเนื้อที่ของคฤหาสน์หรือวังใหญ่โตของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 19 ที่เป็นการเสริมสร้างให้สิ่งก่อสร้างทั้งหมดมีลักษณะเป็นแบบคลาสสิก เรือนส้มมีลักษณะคล้ายกับเรือนกระจก หรือ เรือนคอนเซอเวอทรี (Conservatory) ชื่อของสิ่งก่อสร้างสะท้อนถึงที่มาที่เดิมเป็นสิ่งก่อสร้างใช้เป็นเรือนสำหรับปลูกพืชตระกูลส้ม ที่มักจะปลูกในกระถางที่จะเลื่อนเข้ามาเก็บไว้ในเรือนในช่วงฤดูหนาวเพื่อให้รอดจากความหนาวเย็นและการแข็งตัวจากภาวะอากาศภายนอก และก็มิได้หวังที่จะได้ดอกหรือผล เรือนส้มเป็นเรือนที่ช่วยยืดการมีพรรณไม้นอกฤดูของเวลาที่ปกติแล้วภายนอกจะมีก็แต่ต้นไม้ที่ปราศจากใบ เพราะไม้ภายในเรือนจะได้รับการปกป้องจากภาวะอากาศและยังคงมีความอบอุ่นที่ได้รับจากกำแพงที่ทำด้วยอิฐที่อมความร้อน ร้อยปีหลังจากที่มีการปลูกต้นส้ม และ มะนาว ก็เริ่มมีการปลูกพันธุ์ไม้ชนิดอื่นที่ไม่สามารถทนอากาศในฤดูหนาวภายนอกได้ที่รวมทั้งไม้พุ่ม และ ไม้ต่างแดน (Exotic plants) กันในเรือนส้ม ที่มีการใช้เตาทำความร้อนเพื่อสร้างความอบอุ่นภายในเรือนระหว่างฤดูหนาวที่มีอากาศเยือกเย็นทางตอนเหนือของยุโรป เรือนส้มเริ่มขึ้นในสมัยการสร้างสวนเรอเนสซองซ์ในอิตาลี เมื่อเทคนิคการทำกระจกมีความก้าวหน้าขึ้นจนสามารถที่จะสร้างกระจกที่มีขนาดใหญ่และใสขึ้นกว่าเดิมได้ ทางตอนเหนือของยุโรปเนเธอร์แลนด์เป็นผู้นำในการวิวัฒนาการการสร้างกระจกขนาดใหญ่สำหรับสร้างหน้าต่าง/ผนังเรือนส้ม ภาพพิมพ์เรือนส้มในคู่มือของดัตช์แสดงภาพเรือนส้มที่มีหลังคาทึบทั้งแบบคานและโค้ง และจะมีเตาสำหรับทำความร้อน แทนที่จะเป็นการก่อกองไฟ ไม่นานนักเรือนส้มก็กลายเป็นสัญลักษณ์แสดงฐานะในบรรดาผู้มีฐานะมั่งคั่ง ส่วนหลังคากระจกของเรือนส้มที่ช่วยเพิ่มแสงแดดที่ส่องเข้ามาในอาคารเป็นวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรือนส้มที่คฤหาสน์เดอแรมพาร์คในกลอสเตอร์เชอร์ที่เดิมสร้างราวปี..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและเรือนส้ม · ดูเพิ่มเติม »

เอดิธ คาเวล

อดิธ คาเวล (Edith Louisa Cavell, 4 ธันวาคม ค.ศ. 1865 – 12 ตุลาคม ค.ศ. 1915) เป็นนางพยาบาลและสายลับชาวอังกฤษ มีชื่อเสียงจากการช่วยช่วยชีวิตทหารทุกฝ่ายโดยไม่แบ่งแยก และในการช่วยทหารฝ่ายสัมพันธมิตรราว 200 นาย ให้หลบหนีจากเบลเยียมที่ถูกเยอรมนียึดครองไว้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก่อนถูกจับกุมหลังจากนั้น เธอถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหากบฏหลังมีการพิจารณาโดยศาลทหาร เธอได้รับโทษประหารชีวิตและถูกยิงด้วยชุดยิง เธอเป็นที่รู้จักกันดีจากคำกล่าวของเธอที่ว่า "ความรักชาตินั้นไม่เพียงพอ" (patriotism is not enough) ความเชื่ออย่างแรงกล้าในนิกายแองกลิกันของเธอทำให้เธอช่วยเหลือทุกคนที่ต้องการความช่วยเหลือ ทั้งทหารเยอรมันและฝ่ายสัมพันธมิตร คำคมหนึ่งของเธอมีว่า "ฉันหยุดไม่ได้ในเมื่อมีชีวิตอีกมากที่ต้องช่วยเหลือ" (I can’t stop while there are lives to be saved) คาเวลยังเป็นผู้บุกเบิกในการพยาบาลสมัยใหม่ในเบลเยียมผู้ทรงอิทธิพลอีกด้ว.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและเอดิธ คาเวล · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดเวิร์ดแห่งนอริช ดยุกที่ 2 แห่งยอร์ก

อ็ดเวิร์ดแห่งนอริช ดยุคแห่งยอร์คที่ 2 (Edward of Norwich, 2nd Duke of York หรือ Edward of Norwich, 1st Duke of Aumale) (ค.ศ. 1373 - 25 ตุลาคม ค.ศ. 1415) เอ็ดเวิร์ดแห่งนอริช ดยุคแห่งยอร์คที่ 2เป็นขุนนางชาวอังกฤษผู้มีบทบาทในการต่อสู้กับราชอาณาจักรฝรั่งเศสในสงครามร้อยปี เอ็ดเวิร์ดเสียชีวิตระหว่างการต่อสู้ในยุทธการอาแฌงคูร์ต เอ็ดเวิร์ดเป็นบุตรของเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1และภรรยาคนแรกอินแฟนตาอิสซาเบลลาแห่งคาสตีล ปู่และย่าทางพ่อคือสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1และพระราชินีฟิลลิปปา ปู่และย่าทางแม่คือสมเด็จพระเจ้าเปโดรแห่งคาสตีลและมาเรียเดอปาดิลล.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและเอ็ดเวิร์ดแห่งนอริช ดยุกที่ 2 แห่งยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เฮนเนสซี เวนอม จีที

นเนสซี เวนอม จีที (Hennessey Venom GT) เป็นรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง เครื่องยนต์กลางลำหลัง ขับเคลื่อนสองล้อท้าย (RMR) 2 ประตู 2 ที่นั่ง ผลิตโดยบริษัทรถยนต์สัญชาติอเมริกา เฮนเนสซีเพอร์ฟอร์แมนซ์เอนจีเนียริง (Hennessey Performance Engineering) รถเกิดจากการประกอบขึ้น 2 ส่วน คือ ส่วนตัวถังซึ่งใช้เค้าโครงมาจากโลตัส เอ็กซิจ แต่มีการปรับปรุงตัวโครงหลายส่วนเช่น เพิ่มช่วงฐานและความยาวเป็นต้น และส่วนเครื่องยนตร์ที่บริษัทเฮนเนสซีสร้างขึ้นเอง เฮนเนสซี เวนอม จีที ใช้เครื่องยนตร์ขนาด 7.0 ลิตร LSX ทวินเทอร์โบชาร์ทจ์ วี8 ระบบเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ รถประกอบขึ้นจากคาร์บอนไฟเบอร์รวมถึงล้อ ทำให้มีน้ำหนักเปล่าโดยรวมเพียง 2,743 ปอนด์ (1,244 กิโลกรัม) ในวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและเฮนเนสซี เวนอม จีที · ดูเพิ่มเติม »

เจคอบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิง

อบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิง (Jacob Astley, 1st Baron Astley of Reading; ค.ศ. 1579 - กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1652) เป็นนายทัพฝ่ายนิยมกษัตริย์ผู้มีบทบาทสำคัญในยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษ เจคอบ แอสต์ลีย์มาจากครอบครัวที่เป็นหลักเป็นฐานในนอร์ฟอล์ก แอสต์ลีย์มีประสบการณ์ด้านการสงครามตั้งแต่อายุได้เพียง 18 ปีเมื่อเข้าร่วมในการเดินทางในการสำรวจร่วมกับรอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 2 แห่งเอสเซกซ์ และเซอร์วอลเตอร์ รอลีไปยังอะโซร.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและเจคอบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิง · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์

้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์ (Prince George, Duke of Kent) หรือพระนามเต็ม จอร์จ เอ็ดเวิร์ด อเล็กซานเดอร์ เอ็ดมันด์ (George Edward Alexander Edmund; ประสูติ: 20 ธันวาคม พ.ศ. 2445; สิ้นพระชนม์: 25 สิงหาคม พ.ศ. 2485 - ทรงอุบัติเหตุขณะเดินทางกับกองทัพที่สกอตแลนด์) เป็นสมาชิกในราชวงศ์อังกฤษ พระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 และสมเด็จพระราชินีแมรี แห่งเท็คทรงสถาปนาเป็นดยุกแห่งเคนต์ เมื่อ พ.ศ. 2477 จนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2485.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและเจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายจอห์นแห่งสหราชอาณาจักร

้าชายจอห์นแห่งสหราชอาณาจักร (Prince John of the United Kingdom) หรือพระนามเต็ม จอห์น ชาลส์ ฟรานซิส (John Charles Francis; ประสูติ: 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2448; สิ้นพระชนม์: 18 มกราคม พ.ศ. 2462) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 5 ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรกับสมเด็จพระราชินีแมรีแห่งเทก เจ้าชายจอห์นประสูติในขณะที่พระราชบิดามีพระยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ และรัชทายาทในราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักร ในปี..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและเจ้าชายจอห์นแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งกลอสเตอร์

เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งกลอสเตอร์ (เฮนรี วิลเลียม เฟรเดอริค อัลเบิร์ต ประสูติ 31 มีนาคม พ.ศ. 2443 สิ้นพระชนม์ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2517) พระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 และสมเด็จพระราชินีมารี เป็นพระราชอนุชาในพระมหากษัตริย์ 2 พระองค์คือสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 และสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 หมวดหมู่:ดยุกแห่งกลอสเตอร์ หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลนอร์ฟอล์ก หมวดหมู่:ไนท์ออฟเดอะการ์เตอร์ หมวดหมู่:บุคคลจากวิทยาลัยอีตัน.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและเจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งกลอสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑล

น์ตี (county) เป็นหน่วยย่อยของการปกครองในหลายประเทศ มีไว้เพื่อการบริหารท้องถิ่นตลอดจนการอื่นที่จำเป็นThe Chambers Dictionary, L. Brookes (ed.), 2005, Chambers Harrap Publishers Ltd, Edinburgh คำ เคาน์ตี มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า conté (กงเต) แปลว่าเขตการปกครองภายใต้เจ้าต่างกรมหรือขุนนางระดับเคานต์The Oxford Dictionary of English Etymology, C. W. Onions (Ed.), 1966, Oxford University Press เคาน์ตีในแต่ละประเทศมีฐานะการปกครองที่แตกต่างกันไม่เป็นแบบเดียวกันเสียทีเดียว จึงต้องพิจารณาถึงฐานะการปกครองเสียก่อนจึงเทียบให้เข้ากับระบบการปกครองของไทย ในสหรัฐอเมริกา เคาน์ตีมักเรียกว่า เทศมณฑล มีฐานะรองลงจากรัฐ (ซึ่งมีรัฐบาลอิสระจากรัฐบาลกลาง) แต่ใหญ่กว่าหมู่บ้านหรือเมือง แต่ในสหราชอาณาจักร เคาน์ตีมีฐานะเป็นจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดประจำ รวมทั้งมีสภาจังหวัดและ/หรือสภาอำเภอ (กรมการอำเภอ) ปกครอง ในประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ คำ เคาน์ตี จะหมายถึงหน่วยการปกครองที่แตกต่างกันออกไป (โปรดดูรายละเอียดในบทความ).

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและเทศมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ

มณฑลเมโทรโพลิตันและมณฑลนอกเมโทรโพลิตันของอังกฤษ เป็นระดับการปกครองหนึ่งของสี่ระดับของระดับการปกครองของอังกฤษที่ใช้สำหรับรัฐบาลระดับท้องถิ่นนอกนครลอนดอนและปริมณฑล ตามความหมายเดิมมณฑลเมโทรโพลิตันและมณฑลนอกเมโทรโพลิตันแต่ละมณฑลประกอบด้วยกลุ่มอำเภอ (District), เมืองมณฑล และเป็นมณฑลผู้แทนพระองค์ (Ceremonial counties of England) แต่ต่อมาคำจำกัดความนี้ก็เปลี่ยนไปโดยกฎหมายระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่อนุญาตให้รวมมณฑลที่ไม่มีเทศบาลมณฑลและ “รัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียว” ของตำบลเดียว มณฑลผู้แทนพระองค์ในปัจจุบันได้รับความหมายใหม่โดยพระราชบัญญัติมณฑลผู้แทนพระองค์ ค.ศ. 1997 (Lieutenancies Act 1997) ที่จำลองมาจากมณฑลเมโทรโพลิตันและมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน และคาดกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองระดับท้องถิ่นอีกครั้งในปี..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษและเวลส์ในประวัติศาสตร์, แผนที่จากปี ค.ศ. 1824 มณฑลการปกครองของอังกฤษในประวัติศาสตร์ เป็นเขตการปกครองโบราณของอังกฤษ ที่ก่อตั้งโดยการบริหารของชนนอร์มันและในกรณีส่วนใหญ่จำลองมาจากเขตการปกครองราชอาณาจักรและไชร์ของแองโกล-แซ็กซอนก่อนหน้านั้น เขตการปกครองเหล่านั้มีประโยชน์ในการใช้สอยหลายอย่างมาเป็นเวลาหลายร้อยปีBryne, T., Local Government in Britain, (1994) และยังใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาการจัดเขตการปกครองของรัฐบาลส่วนท้องถิ่นในสมัยปัจจุบันHer Majesty's Stationery Office, Aspects of Britain: Local Government, (1996)Hampton, W., Local Government and Urban Politics, (1991) มณฑลเหล่านี้บางครั้งก็รู้จักกันว่า “มณฑลโบราณ” (ancient counties).

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเกรทอเมริกันแบช (2004)

อะเกรทอเมริกันแบช (2004) (The Great American Bash (2004)) เป็นรายการเพย์-เพอร์-วิวมวยปล้ำอาชีพของเวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (WWE) จัดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน..

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและเดอะเกรทอเมริกันแบช (2004) · ดูเพิ่มเติม »

เคมบริดจ์เชอร์

มบริดจ์เชอร์ (Cambridgeshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอังกฤษที่มีเขตแดนติดกับมณฑลลิงคอล์นเชอร์ทางตอนเหนือ, มณฑลนอร์โฟล์คทางตะวันออกเฉียงเหนือ, มณฑลซัฟโฟล์คทางตะวันออก, มณฑลเอสเซ็กซ์และมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ทางตอนใต้ และ มณฑลเบดฟอร์ดเชอร์และมณฑลนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ทางตะวันตก เคมบริดจ์เชอร์ปัจจุบันเกิดจากอดีตมณฑลเคมบริดจ์เชอร์เดิม และมณฑลฮันทิงดันเชอร์และไอล์ออฟอีลี (Isle of Ely) และโซคออฟปีเตอร์บะระห์ (Soke of Peterborough) เมืองหลวงของมณฑลคือเคมบริดจ์ เคมบริดจ์เชอร์มีเนื้อที่ 3,389 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 760,700 คน ถัวเฉลี่ย 224 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: นอร์ฟอล์กและเคมบริดจ์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Norfolkมณฑลนอร์โฟล์คนอร์ฟอล์คนอร์โฟล์ค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »