เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

นกโพระดกคอสีฟ้า

ดัชนี นกโพระดกคอสีฟ้า

นกโพระดกคอสีฟ้า (Blue-throated barbet) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกโพระดก (Megalaimidae) มีความยาวจากจะงอยปากจรดหางประมาณ 22-23 เซนติเมตร ขนปกคลุมลำตัวส่วนใหญ่สีเขียว บริเวณคาง ใต้คอ คอด้านข้าง และบริเวณหน้ามีสีฟ้า หน้าผากและตอนท้ายกระหม่อมเป็นสีแดง กลางกระหม่อมมีสีแถบสีดำพาดกลางและยาวลงมาทางด้านหน้าของหน้า ใต้คอตอนล่างที่เป็นสีฟ้ามีแต้มสีแดง นกทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายคลึงกัน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย โดยไม่พบในประเทศไทยเพียงแค่ชนิดเดียว ซึ่งแตกต่างกันไปตามแถบสีดำส่วนหัว (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ลำพังเพียงตัวเดียวหรือเป็นฝูงเล็ก ๆ แต่ในสถานที่ ๆ อาหารอุดมสมบูรณ์อาจอยู่เป็นฝูงใหญ่ เป็นนกที่กินผลไม้และลูกไม้ป่า เช่น ไทร, มะเดื่อฝรั่ง เป็นอาหารหลัก ในยามที่อาหารขาดแคลนก็อาจกินหนอนหรือแมลง เป็นอาหารได้ เป็นนกที่ร้องเก่ง เสียงดัง โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์จะร้องบ่อยทั้งในตอนเช้าและตอนเย็น เวลาร้องจะหมุนคอไปรอบทิศทาง ทำให้จับทิศทางของเสียงได้ยาก ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: รายชื่อนกรายชื่อนกที่พบในประเทศไทยวงศ์นกโพระดกวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนนกตีทอง

รายชื่อนก

รายชื่อนก เป็นการรวบรวมรายชื่อนกในแต่ละวงศ์ สกุลและชนิดทั่วโลก เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับวงจรชีวิตความเป็นอยู่ของนก สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อนก ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อนกที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่รายชื่อนก.

ดู นกโพระดกคอสีฟ้าและรายชื่อนก

รายชื่อนกที่พบในประเทศไทย

นกกระจอกบ้านนกประจำถิ่นที่พบเห็นได้ง่ายมาก มีนกทั้งสิ้น 982 ชนิดที่มีบันทึกว่าพบในธรรมชาติของประเทศไทย มี 3 ชนิดเป็นนกถิ่นเดียว หนึ่งชนิดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่นำเข้ามาโดยมนุษย์ และ 45 ชนิดพบเห็นได้ยาก 7 ชนิดในรายชื่อทั้งหมดสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วในประเทศไทยซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในบทความนี้ และ 49 ชนิดที่ถูกคุกคามทั่วโลก เรียงลำดับวงศ์และชนิดตาม เคลเมนต์ (2000) และเพิ่มชนิดตาม ร็อบสัน (2004) และหมอบุญส่ง ชื่อในภาษาไทยอ้างอิงตามหนังสือคู่มือดูนกของหมอบุญส่ง เลขะกุล ในปี..

ดู นกโพระดกคอสีฟ้าและรายชื่อนกที่พบในประเทศไทย

วงศ์นกโพระดก

นกโพระดก เป็นนกขนาดกลาง อยู่ในวงศ์ Megalaimidae (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Ramphastidae หรือนกทูแคน ที่พบในอเมริกาใต้ โดยจัดให้เป็นวงศ์ย่อย Megalaiminae) จัดอยู่ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) มีลักษณะจะงอยปากหนาใหญ่ และมีขนที่โคนปาก ร้องเสียงดัง ได้ยินไปไกล ลำตัวอ้วนป้อม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม มีทั้งหมด 26 ชนิด พบทั่วไปในทวีปเอเชียตั้งแต่ทิเบต จนถึงอินโดนีเซีย พบมากในคาบสมุทรมลายู และเกาะสุมาตรา ทำรังในโพรงไม้ ด้วยการเจาะไม้ให้เป็นรูเหมือนกับนกหัวขวาน ซึ่งเป็นนกในอันดับเดียวกัน แต่โพรงของนกโพระดกจะมีขนาดพอดีตัวทำให้การเข้าออกรังบางทีทำได้ไม่คล่องเท่านกหัวขวาน วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 13-15 วัน เป็นนกที่กินผลไม้เช่น ลูกโพ, ลูกมะเดื่อฝรั่ง และแมลง เป็นอาหาร สำหรับนกในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทยมีทั้งหมด 15 ชนิด ได้แก่Short, L.

ดู นกโพระดกคอสีฟ้าและวงศ์นกโพระดก

วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เป็นวนอุทยานในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอน ตั้งอยู่ในตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ 5,000 ไร่ จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม..

ดู นกโพระดกคอสีฟ้าและวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

นกตีทอง

นกตีทอง (coppersmith barbet, crimson-breasted barbet, coppersmith) เป็นนกโพระดก (Megalaimidae) ที่เล็กที่สุด ตัวเขียว คอเหลือง อกและหน้าผากแดง ขอบตาเหลือง มักเกาะบนต้นไม้สูง รู้จักกันดีเพราะร้องเสียง “ป๊ก ๆ” เป็นจังหวะสมํ่าเสมอเหมือนกับช่างตีทอง (ฝรั่งว่าเหมือนกับช่างตีทองแดง) เป็นนกประจำถิ่นของเอเชียใต้ และบางส่วนของเอเชียอาคเนย์ ทำรังโดยเจาะโพรงไม้เหมือนกับนกโพระดกประเภทอื่น ๆ โดยมากกินผลไม้ เช่น ลูกไทร แต่บางครั้งก็กินแมลงอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะแมลงเม่า (ปลวกมีปีก) ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก.

ดู นกโพระดกคอสีฟ้าและนกตีทอง

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Blue-throated barbetCyanops davisoniMegalaima asiatica