โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธาตุหายาก

ดัชนี ธาตุหายาก

แร่หายาก ขนาดเมื่อเทียบกับเหรียญเพนนีของสหรัฐอเมริกา accessdate.

9 ความสัมพันธ์: พลูโทเนียมพาราแมกเนติกสภาพนำยวดยิ่งทรายดำดาวฤกษ์ซาแมเรียมเศรษฐกิจจีนเอิร์ทเอิร์ท (อนุกรมเคมี)

พลูโทเนียม

ลูโทเนียม (Plutonium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 94 และสัญลักษณ์ คือ Pu เป็นธาตุโลหะกัมมันตรังสี เป็นโลหะแอกทิไนด์สีขาวเงิน และจะมัวลงเมื่อสัมผัสอากาศซึ่งเกิดจากการรวมตัวกับออกซิเจน โดยปกติ พลูโทเนียมมี 6 ไอโซโทป และ 4 สถานะออกซิเดชัน สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับคาร์บอน ฮาโลเจน ไนโตรเจน และซิลิกอน เมื่อสัมผัสอากาศชื้นจะสร้างสารประกอบออกไซด์และไฮไดรด์มากกว่า 70 % ของปริมาตรซึ่งจะแตกออกเป็นผงแป้งที่สามารถติดไฟได้เอง พลูโทเนียมมีพิษที่เกิดจากการแผ่รังสีที่จะสะสมที่ไขกระดูก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ทำให้การจัดการพลูโทเนียมเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ไอโซโทปที่สำคัญของพลูโทเนียม คือ พลูโทเนียม-239 ซึ่งมีครึ่งชีวิต 24,100 ปี พลูโทเนียม-239 และ 241 เป็นวัสดุฟิสไซล์ ซึ่งหมายความว่านิวเคลียสของอะตอมสามารถแตกตัว โดยการชนของนิวตรอนความร้อนเคลื่อนที่ช้า ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงาน รังสีแกมมา และนิวตรอนจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ได้ นำไปสู่การประยุกต์สร้างอาวุธนิวเคลียร์และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ไอโซโทปที่เสถียรที่สุด คือ พลูโทเนียม-244 ซึ่งมีครึ่งชีวิตประมาณ 80 ล้านปี นานพอที่จะสามารถพบได้ในธรรมชาติ พลูโทเนียม-238 มีครึ่งชีวิต 88 ปี และปลดปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมา มันเป็นแหล่งความร้อนของเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนจากไอโซโทปรังสี ซึ่งใช้ในการให้พลังงานในยานอวกาศ พลูโทเนียม-240 มีอัตราของการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมด้วยตัวเองสูง เป็นการเพิ่มอัตรานิวตรอนพื้นฐานของตัวอย่างที่มีไอโซโทปนี้ประกอบอยู่ด้วย การมีอยู่ของ Pu-240 เป็นข้อจำกัดสมรรถภาพของพลูโทเนียมที่ใช้ในอาวุธหรือแหล่งพลังงานและเป็นตัวกำหนดเกรดของพลูโทเนียม: อาวุธ (19%) ธาตุลำดับที่ 94 สังเคราะห์ได้เป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ธาตุหายากและพลูโทเนียม · ดูเพิ่มเติม »

พาราแมกเนติก

พาราแมกเนติก พาราแมกเนติก (paramagnetic) ก็เหมือนกับ diamagnetic เพียงแต่ว่าจะขึ้นอยู่กับ ความเข้มของสนามแม่เหล็ก B เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น โพแทสเซียม ออกซิเจน ทังสเตน และธาตุหายาก (rare earth) และเกลือของมัน หมวดหมู่:เคมี หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์.

ใหม่!!: ธาตุหายากและพาราแมกเนติก · ดูเพิ่มเติม »

สภาพนำยวดยิ่ง

แม่เหล็กกำลังลอยตัวอยู่เหนือตัวนำยิ่งยวดอุณหภูมิสูง แม่เหล็กกำลังลอยตัวอยู่เหนือตัวนำยิ่งยวดอุณหภูมิสูง Y123 สภาพนำยวดยิ่ง (superconductivity) เป็นปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่เกิดขึ้นกับวัสดุบางชนิด ณ อุณหภูมิที่ต่ำมาก จะมีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ และไม่มีสนามแม่เหล็กภายในวัสดุนั้น และเรียกสารที่มีสมบัติเช่นนี้ว่าตัวนำยวดยิ่ง (superconductor) ความต้านทานไฟฟ้าในตัวนำไฟฟ้าที่เป็นโลหะนั้นจะลดลงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง อย่างไรก็ตาม ตัวนำทั่วไปอย่างเช่น ทองแดงและเงินที่ไม่บริสุทธิ์หรือมีตำหนิอื่น ๆ จะมีขีดจำกัดในการลดอุณหภูมิลง ถึงแม้อุณหภูมิจะเข้าใกล้ศูนย์สัมบูรณ์ แต่ทองแดงก็ไม่สามารถมีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ได้ ในทางตรงกันข้าม ความต้านทานของตัวนำยวดยิ่งนั้นจะแสดงสภาพความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ได้โดยไม่ต้องลดอุณหภูมิให้ถึงศูนย์สัมบูรณ์ เพียงแค่ลดอุณหภูมิให้ถึงค่า ๆ หนึ่งที่เรียกว่า"อุณหภูมิวิกฤต" (Critical Temperature) ความต้านทานไฟฟ้าจะมีค่าเป็นศูนย์อย่างทันที่ทันใด กระแสไฟฟ้าจะไหลในวงจรที่มีสายไฟที่มีสภาพตัวนำยวดยิ่งอย่างไม่จำกัดโดยไม่มีการสูญเสียกำลังเลยแม้แต่น้อย ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจหนึ่งของตัวนำยวดยิ่ง คือ ปรากฏการณ์ทางแม่เหล็ก ที่เรียก ว่า ปรากฏการณ์ไมสเนอร์ โดยถ้านำก้อนของตัวนำยวดยิ่งในสถานะปกติไปวางใน สนามแม่เหล็กอ่อน ๆ และให้อุณหภูมิมากกว่าอุณหภูมิวิกฤต จะไม่มีปรากฏการณ์พิเศษอะไรเกิดขึ้น แต่ถ้านำก้อนของตัวนำยวดยิ่งในสภาพนำยวดยิ่งไปวางในสนามแม่เหล็กอ่อน ๆ และให้อุณหภูมิน้อยกว่าอุณหภูมิวิกฤตตัวนำ จะประพฤติตัวเป็นแม่เหล็กไดอาที่สมบูรณ์ จะทำให้มีสนามแม่เหล็กภายในตัวนำจะเท่ากับศูนย์ และเส้นแรงแม่เหล็กจะถูกผลักออกจากตัวนำ สภาพนำยวดยิ่งเป็นปรากฏการณ์ทางกลศาสตร์ควอนตัมเช่นเดียวกับ ferromagnetism และ atomic spectral lines ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าตัวนำยวดยิ่งจะมีสภาพนำไฟฟ้าที่สมบูรณ์แบบตามแบบฉบับของฟิสิกส์ยุคเก่า ทั้งนี้ตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิมนี้สามารถใช้ทฤษฎีบีซีเอส อธิบายได้ สภาพนำยวดยิ่งเกิดขึ้นกับสสารหลายชนิด รวมไปถึงธาตุที่หาง่ายอย่างดีบุกและอะลูมิเนียมหรือวัสดุมีค่าอย่างอัลลอยและสารกึ่งตัวนำที่ถูกโดปอย่างหนักบางชนิดอีกด้วย สภาพนำยวดยิ่งจะไม่เกิดขึ้นในโลหะมีค่าอย่างทองคำหรือเงินหรือสารแม่เหล็กส่วนใหญ่ ในปัจจุบันตัวนำยวดยิ่งสามารถแบ่งได้ตามสมบัติแม่เหล็กได้เป็น 2 ชนิดคือ ตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 1 และตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2 ในปี 1986 มีการค้นพบตระกูลวัสดุเซรามิค cuprate-perovskite ที่รู้จักกันดีในชื่อของ ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง (High temperature superconductor) โดยมีอุณหภูมิวิกฤตประมาณ 90 เคลวิน อย่างไรก็ตามอุณหภูมินี้ก็สูงเพียงพอที่จะนำมาใช้งานโดยหล่อเย็นด้วยไนโตรเจนเหลว (77 เคลวิน) ที่มีราคาไม่แพงมากนัก ทำให้สารชนิดนี้เป็นที่น่าสนใจและนำมาสู่การวิจัยค้นคว้าสภาพนำยวดยิ่งกันอย่างแพร่หลาย สารชนิดนี้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ธาตุหายากและสภาพนำยวดยิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ทรายดำ

thumb ทรายดำ (black sand) เป็นตะกอนเม็ดทรายสีดำที่พบสะสมตัวบริเวณชายหาด ที่มีการสะสมตัวของเม็ดทรายสีดำที่มีความทนทานต่อการผุพังสลายตัว และมีความหนาแน่นมากกว่าแร่ควอตซ์ เป็นชายหาดที่มีกำลังคลื่นมากเพียงพอที่จะพัดพาเอาวัตถุที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าออกไป โดยที่วัตถุที่มีความหนาแน่มากกว่าจะถูกพัดพาออกไปได้ช้ากว่าหรือยังคงตกสะสมตัวอยู่กับที่ สะสมตัวจนเกิดเป็นชายหาดที่มีทรายสีดำสะสมตัวเป็นหลัก หาดทรายดำอาจเกิดจากการตกสะสมตะกอนที่แตกหักมาจากหินต้นกำเนิด แล้วถูกพัดพาไปสะสมตัวบริเวณชายหาด (placer deposit) หรืออาจเกิดจากการที่ลาวาร้อนไหลลงไปสัมผัสกับน้ำทะเลอย่างฉับพลัน จนทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง (steam explosion หรือ littoral explosion) ทำให้เกิดเม็ดทรายและถูกพัดพาไปสะสมตัวเป็นหาดทรายสีดำ.

ใหม่!!: ธาตุหายากและทรายดำ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: ธาตุหายากและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซาแมเรียม

ซาแมเรียม (Samarium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 62 และสัญลักษณ์คือ Sm ซาแมเรียมเป็นธาตุหายาก ลักษณะเป็นสีเงินมันวาว ซาแมเรียมมีความเสถียรในอากาศ และติดไฟได้เองที่อุณหภูมิ 150 °C.

ใหม่!!: ธาตุหายากและซาแมเรียม · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจจีน

รษฐกิจจีนเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยม เป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดอันดับสองของโลกตามจีดีพีราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลกตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ (PPP) จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเทศจีนเป็นเศรษฐกิจใหญ่เติบโตเร็วสุดของโลกก่อนปี 2558 โดยมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย 10% ในช่วงกว่า 30 ปี เนื่องจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และการเมืองของเศรษฐกิจกำลังพัฒนาของจีน ภาครัฐของจีนจึงมีสัดส่วนเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าภาคเอกชนที่กำลังเฟื่องฟู สำหรับรายได้ต่อหัวนั้น ประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 71 ตามจีดีพี (ราคาตลาด) และที่ 78 ตามจีดีพี (PPP) ในปี 2559 จากข้อมูลของ IMF ประเทศจีนมีทรัพยากรธรรมชาติประเมินมูลค่า 23 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจำนวนนี้กว่า 90% เป็นถ่านหินและโลหะหายาก ประเทศจีนเป็นเศรษฐกิจการผลิตและผู้ส่งสินค้าออกรายใหญ่สุดของโลก มักได้รับขนานนามเป็น "โรงงานของโลก" ประเทศจีนยังเป็นตลาดผู้บริโภคเติบโตเร็วสุดของโลก และผู้นำสินค้าเข้ารายใหญ่สุดอันดับสองของโลก ประเทศจีนเป็นผู้นำเข้าสุทธิซึ่งผลิตภัณฑ์บริการ ในปี 2559 ประเทศจีนเป็นประเทศการค้าใหญ่สุดอันดับสองของโลกและมีบทบาทเด่นในการค้าระหว่างประเทศ และเข้าร่วมองค์การและสนธิสัญญาการค้าเพิ่มขึ้นในปีหลัง ๆ ประเทศจีนเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกในปี 2544 ประเทศจีนยังมีความตกลงการค้าเสรีกับหลายชาติ รวมทั้งอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน เกาหลีใต้และสวิสเซอร์แลนด์ มณฑลในแถบชายฝั่งของจีนมีแนวโน้มกลายเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น ส่วนบริเวณในแผ่นดินยังด้อยพัฒนากว่า เพื่อเลี่ยงค่าใช้จ่ายทางสังคมและเศรษฐกิจระยะยาวของมลภาวะสิ่งแวดล้อมในประเทศจีน นิโคลัส สเทิร์นและเฟอร์กัส กรีนแห่งสถาบันวิจัยแกรนแธมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Grantham Research Institute on Climate Change and the Environment) แนะนำว่า เศรษฐกิจจีนควรเปลี่ยนเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนต่ำไฮเท็คที่มีการจัดสรรทรัพยากรของชาติไปยังนวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนาสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนให้ดีขึ้นเพื่อผลกระทบของอุตสาหกรรมหนักของจีน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการวางแผนของรัฐบาลกลาง ฝันจีนของสี จิ้นผิงอธิบายว่าบรรลุ "สองร้อย" คือ เป้าหมายของจีนทางวัตถุให้กลายเป็น "สังคมกินดีอยู่ดีปานกลาง" ภายในปี 2564 ซึ่งปีครบรอบ 100 ปีพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเป้าหมายการทำให้จีนทันสมัยเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างสมบูรณ์ในปี 2592 ซึ่งเป็นปีที่ 100 ของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชน สากลวิวัฒน์ของเศรษฐกิจจีนยังมีผลกระทบต่อการพยากรณ์เศรษฐกิจปรับเป็นมาตรฐานซึ่งดัชนีผู้จัดการซื้อออกในประเทศจีนอย่างเป็นทางการในปี 2543 ต่อมาในปี 2549 ประเทศจีนเป็นประเทศในทวีปเอเชียประเทศเดียวที่มีจีดีพี (PPP) เกิน 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ร่วมกับสหรัฐและสหภาพยุโรป) ในปี 2558 ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่มีจีดีพี (PPP) เกิน 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเศรษฐกิจจีนเติบโต เงินตราเหรินหมินปี้ของจีนก็เติบโตด้วย ซึ่งผ่านกระบวนการที่จำเป็นสำหรับสากลวิวัฒน์ ประเทศจีนริเริ่มการก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชียในปี 2558 การพัฒนาเศรษฐกิจของเซินเจิ้นถูกเรียกว่าเป็นซิลิคอนแวลลีย์แห่งถัดไปของโลก.

ใหม่!!: ธาตุหายากและเศรษฐกิจจีน · ดูเพิ่มเติม »

เอิร์ท

อิร์ท (อ. Earth) อาจหมายถึง:; คำทับศัพท.

ใหม่!!: ธาตุหายากและเอิร์ท · ดูเพิ่มเติม »

เอิร์ท (อนุกรมเคมี)

อิร์ท (earth) อาจแปลได้ว่า "ปฐวีธาตุ" (ธาตุดิน) นิยามโดยทั่วไปในภาษาอังกฤษ จึงอาจอ้างเทียบกับ "ธาตุดิน" กล่าวคือหมายถึง มวลสารที่ประกอบขึ้นเป็นแผ่นดินโลก หรือสสารที่มีสถานะเป็นของแข็ง สำหรับนิยามทางเคมี และวิทยาแร่ อาจเจาะจงหมายถึง แร่หรือสารประกอบกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นสารประกอบประเภทออกไซด์ของธาตุโลหะ ที่ปรากฏพบได้ในธรณีภาค (ชั้นหิน) ของโลก รวมถึง ธาตุเคมี ที่ประกอบขึ้นเป็นแร่หรือสารประกอบนั้น โดยมีข้อสังเกตว.

ใหม่!!: ธาตุหายากและเอิร์ท (อนุกรมเคมี) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

แรร์เอิร์ท

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »