โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ

ดัชนี ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ

รรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) หรือเรียกโดยย่อว่า ธรรมนูญกรุงโรม (Rome Statute) เป็นสนธิสัญญาซึ่งมีเนื้อหาสาระเป็นการจัดตั้งและจัดเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ธรรมนูญนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐต่าง ๆ ณ การประชุมทางการทูตที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2541 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545 โดยในเดือนกรกฎาคม..

8 ความสัมพันธ์: การบังคับให้บุคคลสูญหายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คการร้องทุกข์ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศการสังหารหมู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รายชื่อสนธิสัญญาศาลอาญาระหว่างประเทศ

การบังคับให้บุคคลสูญหาย

การบังคับให้บุคคลสูญหาย หรือภาษาปากเรียก การอุ้มหาย (forced disappearance หรือ enforced disappearance) เป็นคำในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หมายถึง กรณีที่บุคคลถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์การการเมือง หรือบุคคลอื่นซึ่งได้รับอนุญาต การสนับสนุน หรือการรับรู้จากรัฐหรือองค์การการเมือง ลักพาตัวไป และรัฐ องค์การการเมือง หรือบุคคลอื่นดังกล่าว บอกปัดไม่รับรู้ชะตากรรมหรือถิ่นที่อยู่ของผู้หายตัวไป โดยจงใจจะให้ผู้นั้นอยู่ภายนอกความคุ้มครองของกฎหมาย ตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2002 เมื่อการบังคับให้บุคคลสูญหายนั้นกระทำเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีพลเรือนเป็นวงกว้างหรือเป็นระบบ ก็จะถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและไม่อยู่ในอายุความ นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2006 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติยังได้ตกลงรับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) โดยปรกติแล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่า บุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายจะถูกฆ่าทิ้ง เพราะบ่อยครั้งที่ผู้เสียหายในกรณีเช่นนั้นถูกลักพา หน่วงเหนี่ยวไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทรมานระหว่างการรีดเอาข้อมูล ฆ่าปิดปาก แล้วเอาศพไปซ่อน อนึ่ง แน่นอนว่า การฆ่าดังกล่าวย่อมกระทำโดยซ่อนเร้น ส่วนศพก็มักถูกกำจัดเพื่อมิให้ถูกพบ พยานหลักฐานสำหรับพิสูจน์เกี่ยวกับความตายจึงมักได้มายากเย็น ผู้กระทำจึงสามารถบอกปัดได้ และผู้เสียหายจึงสาบสูญไปในที่สุด กรณีเช่นนี้ ภาษาปากเรียก การอุ้ม.

ใหม่!!: ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศและการบังคับให้บุคคลสูญหาย · ดูเพิ่มเติม »

การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553

กลุ่มผู้ชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ วันที่ 14 มีนาคม กลุ่มผู้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์ วันที่ 3 เมษายน กลุ่มผู้ชุมนุมที่เซ็นทรัลเวิลด์ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาต..

ใหม่!!: ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศและการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

ซึดดอยท์เชอไซทุง (Süddeutsche Zeitung) ลงข่าว "คำพิพากษาในเนือร์นแบร์ค" ในภาพคือ: (แถวจากซ้ายไป - รูปจากบนลงมา) ''แถวที่หนึ่ง'' เกอริง, เฮสส์, ริบเบนทรอพ, โรเซนแบร์ก, ฟรังค์ และฟริก; ''แถวที่สอง'' ฟุงค์, ชไตเชอร์ และชัชท์; ''แถวที่สาม'' เดอนิทซ์, แรเดอร์ และชีรัช; ''แถวที่สี่'' เซาค์เคล, โยเดิล, พาเพิน, ไซซ์-อินควัร์ท, สเปร์, นอยรัท และบอร์มันน์ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค (Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหารที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้จัด มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีซึ่งพ่ายสงคราม การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศและการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

การร้องทุกข์ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตราสัญลักษณ์ศาลอาญาระหว่างประเทศ ตามความในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) อันเป็นสนธิสัญญาจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น บุคคลหรือองค์กรจะแจ้งความดำเนินคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศต่อศาลนั้นก็ได้ ถ้าบุคคลเป็นผู้ยื่น เรียกว่า "ร้องทุกข์" (complain) ถ้ารัฐภาคีศาลก็ดี หรือเลขาธิการสหประชาชาติก็ดี เป็นผู้ยื่น เรียกว่า "เสนอข้อหา" (refer) และเรียกรวมกันว่า "กล่าวโทษ" (communicate)International Criminal Court.

ใหม่!!: ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศและการร้องทุกข์ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

การสังหารหมู่

การสังหารหมู่ (mass murder) หมายถึง การทำให้คนตายเป็นหมู่ในเวลาเดียวกันหรือไล่เลี่ยกัน โดยอาจเป็นการกระทำของบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลก็ได้ และหมายความรวมถึง การที่หน่วยงานของรัฐประหารคนเป็นหมู่โดยเจตนาและโดยการเลือกปฏิบัติ เช่น การยิงใส่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงที่ปราศจากอาวุธ การทิ้งระเบิดแบบปูพรมเพื่อถล่มเมืองให้ราบเป็นหน้ากลอง การโยนระเบิดมือเข้าไปยังเรือนจำ หรือการประหารพลเรือนแบบสุ่มตัว การสังหารหมู่ยังอาจเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลที่มีความประสงค์จะทำให้คนตายเพื่อปรนเปรออารมณ์หรือความเบิกบานแห่งตน การสังหารหมู่ครั้งใหญ่ตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ มักเป็นการกระทำเพื่อกวาดล้างกลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มศาสนา ความผิดฐานสังหารหมู่เรียก "พันธุฆาต" (genocide) และในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศเรียก "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" (crimes against humanity).

ใหม่!!: ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศและการสังหารหมู่ · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) คือ การกระทำอย่างเป็นระบบและไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ ถึงแม้จะมีผู้ให้นิยามของ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ไว้มากมายและบางทีก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ทางนิติศาสตร์นั้น สหประชาชาติได้กำหนดนิยามของพฤติการณ์นี้ในข้อ 2 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (United Nations Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide) ว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หมายถึง "การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ เป็นต้นว่า ฆ่าสมาชิกของกลุ่ม กระทำให้สมาชิกของกลุ่มถึงแก่พิกลพิการอย่างหนักทางกายภาพหรือจิตภาวะ กระทำโดยไตร่ตรองหรือโดยคาดการณ์ไว้แล้วเพื่อให้เกิดแก่หรือนำพามาสู่สมาชิกของกลุ่มซึ่งทุกขเวทนาในสภาพความเป็นอยู่ กระทำโดยมาตรการใด ๆ เพื่อกันมิให้มีการถือกำเนิดของทารกภายในกลุ่ม หรือใช้กำลังนำพาผู้เยาว์ในกลุ่มไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง"Office of the High Commissioner for Human Rights.

ใหม่!!: ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศและรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC/ICCt; Cour Pénale Internationale) เป็นศาลระหว่างประเทศซึ่งมีที่ทำการอยู่ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเขตอำนาจดำเนินคดีผู้กระทำความผิดอาญาระหว่างประเทศ 3 ฐาน คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมนุษนชาติ, และอาชญากรรมสงคราม ก่อตั้งขึ้นโดยประสงค์จะให้เป็นส่วนเสริมของระบบยุติธรรมที่แต่ละประเทศมีอยู่ จึงมีเขตอำนาจเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขเท่านั้น เช่น เมื่อศาลระดับประเทศไม่สามารถหรือไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแล้ว หรือเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือรัฐหนึ่ง ๆ เสนอคดีมาให้พิจารณา ศาลนี้เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศและศาลอาญาระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ธรรมนูญกรุงโรมธรรมนูญกรุงโรมฯ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »