สารบัญ
86 ความสัมพันธ์: บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินชุมชนนิมนต์ยิ้มพรรคเทียนแห่งธรรมพระมหาพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระธรรมทูตพระเจ้าสุทโธทนะพุทธศาสนิกชนกัลยาณชนกัลยาณธรรมการจัดการปกครองกุศลกรรมบถกถาญาตัตถจริยาภิกษุภิกษุณีในประเทศจีนมหายานมหาวิทยาลัยรังสิตมาติกามิตซูโอะ ชิบาฮาชิมูลนิธิแผ่นดินธรรมมงคลยาระงับสรรพโรครัตนตรัยรายนามพระโพธิสัตว์รูป (ศาสนาพุทธ)วัชรปรัชญาปารมิตาสูตรวัฏฏะ คลาสสิฟายด์สวัดหนองปล้องวัดคลองโพธิ์วัดใหญ่ชัยมงคลวัดเส้าหลินวันพระวันมาฆบูชาวันวิสาขบูชาวันออกพรรษาวันอาสาฬหบูชาวันเข้าพรรษาวิญญูชน (ศาสนาพุทธ)ศาสนาศาสนาฮินดูแบบบาหลีศาสนาแบบอินเดียสัมมาวาจาสาวกสถานีวิทยุศึกษาสติปัฏฐาน 4หอไตรอรัญวาสีอาราธนาอุตริมนุสธรรม... ขยายดัชนี (36 มากกว่า) »
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
รรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (Financial Institution Asset Management Corporation) เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ.
ดู ธรรมและบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
ชุมชนนิมนต์ยิ้ม
มชนนิมนต์ยิ้ม เป็นการ์ตูนทีวีแอนิเมชัน 3 มิติ ที่ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับธรรมะเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งผลิตโดยบริษัท โฮมรัน เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ออกอากาศโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ครั้งแรกในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.
พรรคเทียนแห่งธรรม
รรคเทียนแห่งธรรม (อักษรย่อ: ท.ห.ธ. Tien Haeng Dhama Party - T.H.D.) จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551 มีสำนักงานใหญ่ของพรรคตั้งอยู่ เลขที่ 1548 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นายธนากร วีรกุลเดชทวี เป็นหัวหน้าพรรค และนางจันทิมา วีรกุลเดชทวี เป็นเลขาธิการพรร.
พระมหา
ระมหากษัตริย์ไทยถวายพัดยศสมณศักดิ์สายเปรียญธรรม แก่พระสงฆ์ โดยยกย่องถวายคำว่า "มหา" เพื่อใช้นำหน้าพระภิกษุผู้สอบไล่ได้ และเพื่อเป็นการยกย่องพระสงฆ์ผู้อุตสาหะในการศึกษาภาษาบาลี ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน พระมหา เป็นคำสมณศักดิ์ใช้นำหน้าชื่อพระภิกษุที่สอบไล่ได้ตั้งแต่เปรียญธรรม 3 ประโยค ขึ้นไป โดยคำ "มหา" มาจากศัพท์ในภาษาบาลี (มหนฺต ลดรูปเป็น มหา) ใช้นำหน้าพระเถระผู้มีร่างกายสูงใหญ่ในสมัยพุทธกาลเช่น พระมหากัสสปเถระ พระมหาโมคคัลลานะ และใช้เรียกนำหน้ายกย่องพระเถระผู้เป็นที่น่าเคารพนับถือว่า พระมหาเถระ แปลว่า พระเถระผู้ใหญ่ โดยคำว่า "พระมหา" สันนิษฐานว่ากร่อนมาจากคำว่า "พระมหาชาติ" ที่ชาวพุทธใช้เรียกพระผู้ทรงภูมิบาลีแตกฉาน จนสามารถเทศนาพระมหาชาติเวสสันดรชาดกได้ และต่อมาพระมหากษัตริย์จึงใช้คำนี้แต่งตั้งพระผู้ทรงภูมิบาลีให้ดำรงสมณศักดิ์ที่พระมหา หรือพระมหาชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลีเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณถวายพัดยศสมณศักดิ์สายเปรียญธรรม (พัดยศมหาเปรียญ) แก่พระสงฆ์โดยยกย่องถวายคำว่า "มหา" เพื่อใช้นำหน้าพระภิกษุผู้สอบไล่ได้ ประโยคบาลี เพื่อเป็นการถวายกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้สนใจเล่าเรียนศึกษาและมีความรู้สอบไล่ได้สายเปรียญธรรมบาลีตั้งแต่ชั้นเปรียญตรีขึ้นไปจนถึงปัจจุบันนี้ (โดยในอดีตนั้นพระมหากษัตริย์เคยมีการถวายนิตยภัตรแก่พระสงฆ์และสามเณรที่เป็นมหาเปรียญทุกชั้น แต่ปัจจุบันคงมีการถวายนิตยภัตรายเดือนเฉพาะผู้สอบได้ระดับเปรียญธรรม ๙ ประโยค เท่านั้น) ในปัจจุบัน พัดยศมหาเปรียญ นั้นจะแบ่งเป็นสีและระบุเลขลำดับชั้นเปรียญ ซึ่งเปรียบได้กับครุยวิทยฐานะของบัณฑิตผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย โดยพัดยศเปรียญมีฐานะเสมือนหนึ่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ทำความชอบในราชการ พระสงฆ์สามเณรผู้ได้รับพระราชทานจะนำพัดยศมหาเปรียญออกใช้ประกอบสมณศักดิ์ได้แต่ในงานพระราชพิธีสำคัญเท่านั้น จะใช้ทั่วไปมิได้ ในอดีตก่อนมีการเลิกทาส หากพระภิกษุหรือสามเณรรูปใดที่สอบไล่ได้เปรียญธรรม มีบิดามารดาเป็นทาสเขาอยู่ ก็จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์ไถ่ให้พ้นตัวจากความเป็นทาสมีอิสรภาพแก่ตนในทันทีที่บุตรชายของตนได้เป็นพระมหาเปรียญหรือสามเณรเปรียญ ปัจจุบันเรียกพระภิกษุที่สอบได้พระปริยัติธรรมตั้งแต่ เปรียญธรรม ๓ ประโยคขึ้นไปว่า "พระมหาเปรียญ".
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องบรมราชาภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ระหว่างวันที่ 4 - 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 ปรากฏบันทึกรายละเอียดไว้ ดังนี้.
ดู ธรรมและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระธรรมทูต
ระธรรมทูต (อ่านว่า -ทำมะทูด) หรือ พระธรรมจาริก หมายถึง ภิกษุที่เดินทางไปแสดงธรรมในที่ต่าง ๆ ทำหน้าที่เหมือนทูตทางธรรมหรือทูตของพระศาสนา พระธรรมทูตเริ่มมีครั้งแรกเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจนมีพระสาวกมากรูปแล้วจึงส่งพระสาวกเหล่านั้นไปประกาศธรรมในทิศต่างๆ โดยตรัสว่า "เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชุมชน เพื่ออนุเคราะห์แก่ประชุมชน" ดังนี้เป็นต้น พระธรรมจาริก มีความหมายเดียวเช่นเดียวกันกับพระธรรมทูต แต่เป็นคำบัญญัติที่เกิดที่หลังคำว่าพระธรรมทูต ปัจจุบันแบ่งพระธรรมทูตออกเป็น 2 ประเภทคือ พระธรรมทูตในประเทศ กับ พระธรรมทูตต่างประเท.
พระเจ้าสุทโธทนะ
ระเจ้าสุทโธทนะ (สุทฺโธทน; ศุทฺโธทน (शुद्धोदन); Suddhodana) มักเรียกว่า พระเจ้าสิริสุทโธทน์สุทรรศน์ มีพระนามราชสกุลว่าโคตมะ เป็นพระมหากษัตริย์แคว้นสักกะ (ซึ่งมีนครหลวงคือกรุงกบิลพัสดุ์) เป็นพุทธบิดาของพระโคตมพุทธเจ้า พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสีหหนุกับพระนางกัญจนา มีพระอนุชาและพระกนิษฐาร่วมพระชนกชนนีอีก 6 พระองค์ ได้แก่ สุกโกทนะ อมิโตทนะ โธโตทนะ ฆนิโตทนะ ปมิตา และอมิตา พระเจ้าสุทโธทนะ มีพระอัครมเหสีนามว่าพระนางสิริมหามายา เจ้าหญิงโกลิยวงศ์จากกรุงเทวทหะ และมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งคือ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจากพระสิทธัตถราชกุมารประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็สวรรคต พระสุทโธทนะจึงอภิเษกสมรสใหม่กับพระนางมหาปชาบดีหรือโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาร่วมชนนีกับพระนางสิริมหามายา และมีพระโอรสคือ “เจ้าชายนันทะ” และพระธิดาคือ “เจ้าหญิงรูปนันทา” พระเจ้าสุทโธทนะเป็นกษัตริย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและยึดมั่นในราชประเพณีอย่างเคร่งครัดในการปกครองบ้านเมือง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงมุ่งหวังที่จะให้พระโอรสโดยเฉพาะสิทธัตถะได้รับเลือกจากสภาศากยะให้เป็นราชาสืบต่อจากตน แต่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช และพอทราบว่า เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงเชิญพระศาสดากลับมาที่กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระบรมศาสดาที่เสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์คราวนี้ พระเจ้าสุทโธทนะได้สดับรับฟังพระธรรมเทศนา ทรงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา บรรลุพระโสดาบันเป็นอุบาสกพุทธบริษัท ในพรรษาที่ 5 ของพระโคตมพุทธเจ้า พระเจ้าสุทโธทนะประชวรหนัก พระบรมศาสดาเสด็จจากกูฎาคาร ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี มายังเมืองกบิลพัสดุ์ แสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา 7 วัน ในวันสุดท้าย พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลและนิพพาน ภาพ:BabyBuddha.JPG|ภาพวาดพุทธประวัติ: พระเจ้าสุทโธทนะทรงอุ้มเจ้าชายสิทธัตถะ (พระราชโอรส) ให้กาฬเทวินดาบสทำนายมหาบุรุษลักษณะของพระราชกุมาร.
พุทธศาสนิกชน
ทธศาสนิกชน (Buddhist) แปลว่า คนที่นับถือศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า พุทธมามกะ ซึ่งหมายถึง ผู้ประกาศตนว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดาของตน พุทธศาสนิกชน หมายถึง คนที่ยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เต็มใจที่จะปฏิบัติตามหลักธรรมคือ เว้นจากการทำความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้หมดจดจากกิเลส ด้วยการบำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา เช่น ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาเพื่อขัดเกลา อบรม บ่มเพาะกาย วาจา ใจให้งดงามเรียบร้อย ให้สงบนิ่ง และให้พ้นจากความเศร้าหมองต่างๆ พุทธศาสนิกชน ที่พึงประสงค์คือผู้ปฏิบัติตนให้เป็นผู้รู้ ผู้ฉลาด ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่งมงาย ไม่ประมาทมัวเมา ไม่หลงไปตามกระแสกิเล.
กัลยาณชน
กัลยาณชน แปลว่า คนดี, คนงาม ใช้ว่า สาธุชน ก็มี หมายถึงคนที่มีความประพฤติดี คนที่ประกอบด้วยคุณอันงาม คือ คนที่มีวิถีชีวิตที่งดงาม มีคุณธรรมประจำใจ ประกอบอาชีพในทางสุจริต เว้นอาชีพที่ผิดเป็นทุจริต ตั้งอยู่ในเมตตา กรุณาธรรม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน ไม่เป็นศัตรู ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใด เป็นต้น กัลยาณชน ว่าโดยธรรม ก็คือ ผู้ดำรงมั่นคงอยู่ในกัลยาณธรรม คือ เบญจศีลและเบญจธรรม นั่นเอง.
กัลยาณธรรม
กัลยาณธรรม ตามรูปศัพท์ แปลว่า ธรรมอันดี, ธรรมอันงาม หมายถึงคุณธรรมที่ดีงาม ธรรมที่เป็นหลักปฏิบัติของกัลยาณชน ธรรมที่ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นกัลยาณชน ผู้ประพฤติกัลยาณธรรมเป็นปกตินอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณชนแล้ว ชีวิตของผู้นั้นย่อมสงบสุข ไม่มีเวรภัย ไม่มีศัตรู กัลยาณธรรม โดยตรงคือ.
การจัดการปกครอง
การจัดการปกครอง (Governance) เป็นคำศัพท์ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงบทบาทของรัฐช่วงทศวรรษ 1990 เป็นการวางแนวทางและจัดความสัมพันธ์ในการปกครองของภาครัฐใหม่เพื่อให้ระบบการเมืองเปิดกว้าง และกระจายอำนาจมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ตัวแสดงนอกภาครัฐสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนแปลงจากอำนาจที่รวมศูนย์อยู่ที่รัฐบาล ให้กระจายออกไปตามท้องถิ่นต่างๆ เพื่อให้เกิดองค์กรท้องถิ่นที่ปกครองตัวเอง และลดขนาดของภาครัฐให้เล็กลงเพื่อความคล่องตัว (เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา, 2550: 134-135).
กุศลกรรมบถ
กุศลกรรมบถ หมายถึง ทางแห่งกรรมดี,ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ (wholesome course of action) เป็นธรรมส่วนสุจริต 10 ประการ จึงเรียกชื่อว่า กุศลกรรมบถ 10 คำว่า กรรมบถ (อ่านว่า กำมะบด) แปลว่า ทางแห่งกรรม คือ การกระทำที่เข้าทางเป็นกรรมหรือที่นับว่าเป็นกรรม หมายถึง ทางแห่งกุศลกรรม คือการกระทำที่นับว่าเป็นความดีได้แก.
กถา
กถา แปลว่า ถ้อยคำ, คำพูด, เรื่อง, การกล่าว, การพูด, การอธิบาย หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวหรือเรื่องแต่งขึ้นเพื่อสื่อความ เพื่ออธิบายความ หรือเพื่อชี้แจงรายละเอียด เป็นต้น เป็นสำนวนร้อยแก้ว คือมีสำนวนภาษาไพเราะสละสลวย เหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย เช่น บทเทศน์ บทความ คำปรารภ กถา นิยมใช้ตามหลังคำอื่น ๆ เช่น.
ดู ธรรมและกถา
ญาตัตถจริยา
ญาตัตถจริยา แปลว่า การประพฤติประโยชน์ต่อญาติ, การบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ญาติ ญาตัตถจริยา เป็นคำเรียกพระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าที่ทรงปฏิบัติประการหนึ่งใน ๓ ประการ ญาตัตถจริยา หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติหน้าที่สงเคราะห์ญาติในฐานะที่เป็นญาติ กล่าวคือทรงสงเคราะห์พระบิดา พระมารดา ตลอดถึงพระประยูรญาติ พระบรมวงศานุวงศ์ให้ได้เข้าถึงพระรัตนตรัย เข้าถึงธรรม จึงถึงให้ได้บวชในพระศาสนาและบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นต้นว่าเสด็จไปโปรดพระบิดาและพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์หลังจากตรัสรู้ได้ไม่นาน เสด็จไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสด็จไปห้ามพระญาติสองฝ่ายมิได้รบพุ่งกันเพราะเหตุแย่งน้ำทำนา ประทานอุปสมบทให้แก่พระนันนทะ พระนางรูปนันทา ซึ่งเป็นพระอนุชา และพระภคินีต่างพระมารดา ทรงแนะนำสั่งสอนจนได้เป็นพระอรหันต์ทั้งสององ.
ภิกษุ
กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.
ดู ธรรมและภิกษุ
ภิกษุณีในประเทศจีน
ประวัติภิกษุณีสงฆ์ในประเทศจีน ปลายปีรัชกาลย่งเจีย(หย่งเกีย)แห่งราชวงศ์จิ้น(พ.ศ.850-855) หญิงจีนมีนามว่า จิ้งเจี่ยน ตัดสินใจปลงผม และขอรับศีล10 จากพระอุปัชฌาย์ พระชญาณเมรุ มีผู้หญิงจีนศรัทธาและเข้ารับการบรรพชาพร้อมเธอ24คน แล้วก่อตั้ง อารามจู๋หลินซื่อ(เต๊กลิ้มยี่)แปลว่า วัดป่าไผ่ ขึ้นที่ประตูทางทิศตะวันตกของเมืองหลวง เนื่องจากบรรดาสามเณรีเหล่านี้ไม่มีปวัตตินี เธอจึงศึกษาธรรมอยู่กับพระอาจารย์จิ้งเจี่ยน ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถในการสั่งสอนอบรม พระอุปัชฌาย์นั้นคือ พระชญาณเมรุ สมณะจากแคว้นกาศมีระ(แคชเมียร์)ในดินแดนทางทิศตะวันตก ท่านเป็นอาจารย์ที่ปราดเปรื่องและมีเมตตาธรรม นอกจากนั้น ยังเป็นอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาและมีความรู้ดีในพระสูตรต่างๆในปลายปีรัชกาลย่งเจีย แห่งราชวงศ์จิ้น ท่านได้เดินทางมาประเทศจีน และยังชีพโดยการภิกขาจาร ท่านสั่งสอนธรรมและเผยแผ่คำสอนในพระพุทธศาสนา แต่ประชาชนในยุคนั้นยังไม่ค่อยศรัทธาในพระพุทธศาสนามากนัก จึงไม่ค่อยมีใครสนใจจะศึกษากับท่านอย่างจริงจัง ในปีแรกของปีรัชกาลเจี้ยนอู่(พ.ศ.860) ท่านจึงได้เดินทางกลับไปยังแคว้นกาศมีระ ต่อมาพระอาจารย์อีกรูปหนึ่งชื่อ พุทธจิงค์ เดินทางจากประเทศอินเดียมายังประเทศจีนอีกและได้สรรเสริญถึงคุณธรรมและความสามารถของพระชญาณเมรุ ทำให้ประชาชนชาวจีนพากันเสียใจ และเสียดายโอกาสในความโง่เขลาของตนที่ไม่ได้เล่าเรียนพระพุทธศาสนาจากพระอาจารย์ผู้มีความสามารถในขณะที่ท่านอยู่ในประเทศจีน ขณะเดียวกัน จิ้งเจี่ยน ก็อบรมสั่งสอนศิษย์อยู่ที่อารามแห่งเดิมนั้น เธอเป็นผู้มีท่วงทีงามสง่า คือการปฏิบัติในแนวทางสายกลางและเป็นผู้มีจริยาวัตรที่มั่นคงในธรรม เธอมีความสามารถในการเทศน์สอนจนสามารถเอาชนะใจผู้ฟังได้ดี ระหว่างปลายปีรัชกาลเสียนคัง ในราชวงศ์จิ้น(พ.ศ.878-885)พระสมณะเซิงเจี้ยน ได้รับคัมภีร์ต้นฉบับมหาสังฆิกภิกษุณีกรรม และ ภิกษุณีปราติโมกข์ มาจากอาณาจักรง้วยสี และได้แปล(จากภาษาสันสกฤต)เป็นภาษาจีน ในวันที่8 เดือน2 ปีที่1 ในปีรัชกาลเซิงผิง(พ.ศ.900-904)ในเมืองลั่วหยาง พระอาจารย์ชาวต่างประเทศคือ พระสมณะธรรมคุปต์ได้กำหนดเขตสีมา ศีลมณฑล เพื่อการบรรพชาอุปสมบทภิกษุณีขึ้น แต่พระอาจารย์จีนชื่อ สมณะซือเต้าฉาง โต้แย้ง โดยอ้างว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติดังปรากฏในวินัยสูตร ดังนั้น จึงได้ตระเตรียมเรือลอยกลางแม่น้ำซื่อ จิ้งเจี่ยน พร้อมผู้หญิงอีก3คนจึงขึ้นไปบนเรือนั้น และได้รับศีลภิกษุณีจากพระภิกษุ นับเป็นหญิงจีนคนแรกที่ได้รับการบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุณีในประเทศจีน.
มหายาน
มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.
มหาวิทยาลัยรังสิต
มหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University; ชื่อย่อ: มรส. - RSU) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 20 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศ นอกจากนี้ยังถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุด ลำดับที่ 1 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.
มาติกา
มาติกา (อ่านว่า มาดติกา) แปลว่า หัวข้อ, แม่บท มาติกา หมายถึงพระบาลีที่เป็นหัวข้อ เป็นแม่บท เรียกว่า บทมาติกา เรียกการที่พระสงฆ์สวดพระบาลีเฉพาะหัวข้อธรรมในพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขึ้นต้นด้วยบทว่า กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา ในงานที่เกี่ยวกับศพว่า สวดมาติกา มาติกา คำนี้ในงานเผาศพจะใช้คู่กับคำว่า บังสุกุล เป็น มาติกา บังสุกุล กล่าวคือพระสงฆ์จะสวดมาติกาก่อนแล้วบังสุกุลต่อกันไป เช่นที่เขียนในบัตรเชิญงานศพว่า "14.00 น.
มิตซูโอะ ชิบาฮาชิ
มิตซูโอะ ชิบาฮาชิ (มิสึโอะ ชิบะฮะชิ) หรือ อดีตพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เป็นอดีตพระภิกษุชาวญี่ปุ่น บวชในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท คณะมหานิกาย ท่านเป็นศิษย์รุ่นแรกของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท).
มูลนิธิแผ่นดินธรรม
มูลนิธิแผ่นดินธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เป็นองค์กรการกุศลทางพระพุทธศาสนา ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อผลิตรายการธรรมะป้อนโทรทัศน์เพื่อให้ประชาชนชาวพุทธทั่วไปได้เข้าใจหลักพุทธธรรมของพระพุทธเจ้าจากคัมภีร์พระไตรปิฎก ภาษาบาลี ทั้งในเชิงทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะในเชิงภาคปฏิบัตินั้น ทีมงานผู้ผลิตรายการแผ่นดินธรรมได้เลือกปฏิปทาของพระอาจารย์กรรมฐานหรือพระป่า เช่น พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต มานำเสนอเป็นประจำ เพื่อให้ประชาชนได้รู้ว่าหลักธรรมของพระพุทธเจ้านั้นทันสมัยอยู่เสมอ สามารถศึกษาและนำไปปฏิบัติได้จริง แม้สังคมจะเจริญเพียงใดก็ตาม.
มงคล
มงคล แปลว่า เหตุนำความสุขความเจริญมาให้ คือสิ่งที่นำความโชคดี ความสวัสดี และความสุขมาให้ตามที่ปรารถนา มงคลมี 2 อย่างคือ มงคลทางโลก กับ มงคลทางธรรม มงคลทางโลก คือสิ่งที่เป็นวัตถุซึ่งชาวโลกถือว่าเป็นมงคล ได้แก่สิ่งของ สัตว์ และต้นไม้บางชนิด เช่น มงคลแฝด ของขลัง ช้างเผือก ใบเงินใบทอง รวมถึงชื่อ อักษร กาลเวลาหรือฤกษ์ยามเป็นต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มงคลนอก มงคลทางธรรม คือมงคลที่เป็นข้อปฏิบัติ ต้องทำต้องปฏิบัติให้ได้จริงจึงจะเป็นมงคล มี 38 ประการ เช่นไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต การให้ทาน การประพฤติธรรม ความกตัญญู เป็นต้น เรียกอีกอย่างว่า มงคลใน หรือ มงคล 38 หรือ มงคลชีวิต ก็เรียก.
ดู ธรรมและมงคล
ยาระงับสรรพโรค
ำสำคัญ "ยาระงับสรรพโรค" สามารถหมายถึง.
รัตนตรัย
ระรัตนตรัย หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน ที่เรียกว่า รัตน (แก้ว) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า, พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเรียกเต็มว่าพุทธรัตนะ, ธรรมรัตนะ, สังฆรัตนะ ซึ่งได้แก.
รายนามพระโพธิสัตว์
ระโพธิสัตว์ คือบุคคลที่บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระโพธิสัตว์สำคัญตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายานมีดังนี้ พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ พระจันทรประภาโพธิสัตว์ และพระสุริยประภาโพธิสัตว์ พระจุนทีโพธิสัตว์ พระนางตารา พระนาคารชุนะ พระปัทมสัมภวะ พระนางปรัชญาปารมิตา พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ นางวสุธระ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ พระศรีอริยเมตไตรย พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอากาศครรภโพธิสัตว.
รูป (ศาสนาพุทธ)
รูปในทางพุทธศาสนา มีหลายความหมาย ดังนี้.
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร
ระสุภูติกราบทูลอาราธนาพระโคตมพุทธเจ้าแสดงวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ภาพจากม้วนหนังสือวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรที่พบในถ้ำผาม่อเกา ประเทศจีน วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (Diamond Sutra) เป็นชื่อพระสูตรสำคัญหมวดปรัชญาปารมิตาของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เชื่อกันว่าพระสูตรหมวดปรัชญาปารมิตานี้เป็นพระสูตรมหายานรุ่นแรก ๆ ที่เกิดขึ้น เนื้อหาสาระสำคัญเป็นเรื่องราวการเทศนาสั่งสอนของพระพุทธเจ้ากับพระสุภูติซึ่งเป็นพระอรหันตสาวก ที่พระเชตวันมหาวิหาร ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ จะต้องกระทำด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวง เป็นการอรรถาธิบายถึงหลักศูนยตา ความว่างเปล่าปราศจากแก่นสารของอัตตาตัวตนและสรรพสิ่งทั้งปวง แม้ธรรมะและพระนิพพานก็มีสภาวะเป็นศูนยตาด้วยเช่นเดียวกัน สรรพสิ่งเป็นแต่เพียงสักว่าชื่อเรียกสมมติขึ้นกล่าวขาน หาได้มีแก่นสารแท้จริงอย่างใดไม่ เพราะสิ่งทั้งปวงอาศัยเหตุปัจจัยประชุมพร้อมกันเป็นแดนเกิด หาได้ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเอง เช่นนี้สิ่งทั้งปวงจึงเป็นมายา พระโพธิสัตว์เมื่อบำเพ็ญบารมีพึงมองเห็นสรรพสิ่งในลักษณะเช่นนี้ เพื่อมิให้ยึดติดในมายาของโลก ท้ายที่สุด พระพุทธองค์ได้สรุปว่าผู้เห็นภัยในวัฏสงสารพึงยังจิตมิให้บังเกิดความยึดมั่นผูกพันในสรรพสิ่งทั้งปวง เพราะสังขตธรรมนั้นอุปมาดั่งภาพมายา ดั่งเงา ดั่งความฝัน ดั่งฟองในน้ำ และดั่งสายฟ้าแลบ เกิดจากการอิงอาศัยไม่มีสิ่งใดเป็นแก่นสารจีรังยั่งยืน แนวคิดเรื่องศูนยตานี้ได้พัฒนาต่อไปโดยท่านคุรุนาคารชุนแห่งนิกายมาธยมิกะ จนกลายเป็นความคิดหลักทางพุทธปรัชญาที่ลึกล้ำและโดดเด่นในโลกจนทุกวันนี้ พระสูตรนี้มีแปลเป็นภาษาไทยโดย เสถียร โพธินันท.
ดู ธรรมและวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร
วัฏฏะ คลาสสิฟายด์ส
| company_name.
วัดหนองปล้อง
วัดหนองปล้อง ตั้งอยู่เลขที่ 258 บ้านหนองปล้อง หมู่ที่ 7 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตัววัดตั้งอยู่บนเนินเขาขนาดย่อม มีชื่อเดิมว่า วัดพุทธสุวรรณหงษ์บรรพต ตัววัดมีความร่มรื่นและเงียบสงบ ห่างไกลจากหมู่บ้าน ตัววัดตั้งอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ สามารถมองเห็นอาณาบริเวณโดยรอบได้ชัดเจน มีบรรยากาศที่สงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม.
วัดคลองโพธิ์
วัดคลองโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงแห่งแรกของจังหวัดอุตรดิตถ์ วัดคลองโพธิ์ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันวัดคลองโพธิ์เป็นวัดจำพรรษาของเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ และมีสำนักเรียนพระปริยัติธรรมซึ่งถือได้ว่า เป็นสำนักเรียนของคณะสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ มีการศึกษาทั้งแผนกนักธรรม แผนกบาลี โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ และโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิต.
วัดใหญ่ชัยมงคล
วัดใหญ่ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อ "วัดป่าแก้ว" หรือ "วัดเจ้าไท" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด นอกจากนี้แล้ว ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.
วัดเส้าหลิน
วัดเส้าหลินหรือสำนักเส้าหลิน (เส้าหลินซื่อ; แต้จิ๋ว: เสี้ยวลิ้มยี่; ฮกเกี้ยน: เชี้ยวหลิมซี; คำแปล: วัดป่าบนเขาเส้าซื่อ) เป็นวัดทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีความเก่าแก่อายุมากกว่า 1,500 ปี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาซงซาน หนึ่งในจำนวนห้ายอดเขาอันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวจีน เป็นเทือกเขาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดทั้งในด้านของประวัติศาสตร์และในแวดวงยุทธภพ ประกอบด้วยยอดเขาน้อยใหญ่จำนวน 72 ยอด แบ่งเป็นสองกลุ่มคือในกลุ่มของเขาไท่ซื่อ จำนวน 36 ยอด และกลุ่มของเขาเส้าซื่อ จำนวน 36 ยอด ในอำเภอเติงเฟิง เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองเจิ้งโจวและเมืองลั่วหยาง บริเวณรอบ ๆ วัดเส้าหลินเป็นพื้นที่โล่งกว้าง ใช้สำหรับฝึกวิทยายุทธของหลวงจีน รายล้อมด้วยป่าเจดีย์หรือถ่าหลิน ซึ่งเป็นสุสานของอดีตเจ้าอาวาสและหลวงจีน ซึ่งมีมาตั้งแต่ในยุคสมัยของราชวงศ์ถัง วัดเส้าหลินมีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดในประเทศจีนและในต่างประเทศ ได้รับการกล่าวขานในเรื่องของกระบวนท่าวิทยายุทธ เพลงหมัดมวย พลังลมปราณและกังฟูเส้าหลินเป็นอย่างมาก เป็นแหล่งวิชาการต่อสู้และศิลปะการป้องกันตัวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน ปรากฏชื่อในนิยายกำลังภายในหลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งล้วนแต่กล่าวถึงวิชาเพลงหมัดมวย พลังลมปราณและกังฟูเส้าหลินอยู่เสมอ โดยเฉพาะนิยายกำลังภายในของกิมย้งเช่น มังกรหยก, จอมใจจอมยุทธ์, จิ้งจอกภูเขาหิมะ เป็นต้น ปัจจุบันมีหลวงจีนที่บวชเพื่อศึกษาธรรมะและกังฟูจำนวน 180 รูป มีหลวงจีน ซือ หย่งซิน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งในประเทศจีน ที่ทางรัฐบาลจีนได้ร้องขอต่อองค์กรยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก และได้รับการพิจารณาให้เป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.
วันพระ
ทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตรที่วัดในวันพระ (ภาพ: การทำบุญใส่บาตรในกรุงเวียงจันทร์ ประเทศลาว) วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ) วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ) แล้วแต่กรณี หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น ในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น 14 ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้.
วันมาฆบูชา
ปุรณมี วันมาฆบูชา (มาฆปูชา; Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๓๐, ๓๐ มีนาคม..
วันวิสาขบูชา
วันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า '''"วันพระพุทธเจ้า"''' วันวิสาขบูชา (วิสาขปุณฺณมีปูชา; Vesak) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติRequest for inclusion of an additional item in the agenda of the fifty-fourth session in United Nations (12 November 1999).
วันออกพรรษา
ออกจาริกเพื่อปฏิบัติธรรม และโปรดพุทธศาสนิกชนตามสถานที่ต่าง ๆ ก่อนจะกลับเข้าจำพรรษาอีกครั้งในปีถัดไปเพื่อความเข้าใจ: วันสุดท้ายของการอยู่จำพรรษา 3 เดือน ของพระภิกษุ ตามคัมภีร์เรียกว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา นั้น ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เราเรียกกันว่า "วันออกพรรษา" ตามที่เข้าใจกันทั่วไป แต่ตามพระวินัยบัญญัติ พระภิกษุทั้งหลายยังต้องอยู่ในจำพรรษาในคืนวันนั้น (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) อีกคืนหนึ่ง จะไปค้างแรมที่อื่นเลยไม่ได้ ต้องให้ผ่านอรุณเข้าวันใหม่ (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) เสียก่อนสรุปว่า "วันออกพรรษา" ตามที่เรียกและเข้าใจกันทั่วไป (และจะกล่าวถึงต่อไปในบทความนี้) คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ส่วน "วันออกพรรษาจริง" ตามพระวินัย คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 "วันออกพรรษา" (ตามที่เข้าใจกัน) เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรม คือ การปวารณาในวันนี้ วันออกพรรษา (ออกปุริมพรรษา) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย การปวารณา ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระภิกษุโดยเฉพาะ เรียกว่า เป็นญัตติกรรมวาจา (สังฆกรรม) ประเภทหนึ่ง ให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาส (3 เดือน) สามารถว่ากล่าวตักเตือนและชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่ตนเองที่ตั้งใจปฏิบัติตนเป็นอุบาสก-อุบาสิกา ส่วนพระสงฆ์จำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาส (3 เดือน) หรือในวันถัดไปคือ วันออกพรรษา(จริง) (คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยนิยมไปทำบุญตักบาตร เรียกว่า บุญเทศกาลบาตรเทโว หรือ บาตรเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลก ลงมายังโลกมนุษย์หลังจากการโปรดเทพบุตร อดีตพระพุทธมารดา พระนางสิริมหามายา บนสวรรค์ดาวดึงส์ (ชั้นที่ 2) ในพรรษาที่ 7 เสด็จลงมายังเมืองสังกัสสะ พร้อมกับทรงแสดงไตรโลกวิวรณปาฏิหาริย์ (ทรงปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้ง 3.
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา (อาสาฬหปูชา; Āsāḷha Pūjā) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๗๕, ตอน ๕๒, ๑๒ มิถุนายน..
วันเข้าพรรษา
ประกอบความดีในช่วงนี้อีกด้วย วันเข้าพรรษา (บาลี: วสฺส, สันสกฤต: วรฺษ, Vassa, เขมร: វស្សា, พม่า: ဝါဆို) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือภาษาปากว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง พระสงฆ์จะไม่จำพรรษาไม่ได้ เนื่องจากรูปใดไม่จำพรรษาถือว่าต้องอาบัติทุกกฏตามพระวินัย การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางศาสนพุทธที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา" นอกจากนี้ ในปี พ.ศ.
วิญญูชน (ศาสนาพุทธ)
วิญญูชน แปลว่า ผู้รู้แจ้ง, ผู้รู้โดยแจ่มแจ้งชัดเจน วิญญูชน ใช้หมายถึงคนฉลาด, นักปราชญ์ ผู้รอบรู้, ผู้มีปัญญา, ผู้รู้ผิดรู้ชอบ วิญญูชน คือผู้ประกอบด้วยหลักนักปราชญ์คือ สุ จิ ปุ ลิ ประกอบด้วยปัญญาพินิจ มีหลักโยนิโสมนสิการ คือเป็นผู้ฉลาดในการคิด คิดอย่างถูกวิธี ถูกระบบ พิจารณาไตร่ตรองรอบคอบ แล้วสามารถแยกแยะผิดถูก ชั่วดี ควรไม่ควร เหมาะไม่เหมาะเป็นต้นได้อย่างถูกต้องแจ่มแจ้ง วิญญูชน เป็นผู้สามารถที่จะรู้ธรรมของพระพุทธเจ้าได้ ดังบทบาลีว่า ปจจตต เวทิตพโพ วิญญูหิ - พระธรรมอันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน.
ศาสนา
ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.
ดู ธรรมและศาสนา
ศาสนาฮินดูแบบบาหลี
ตรีบาหลีขณะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่อูบุดก่อนถวายของบูชาแด่เทพเจ้า ปัทมาสน์ที่ประทับของอจินไตย ศาสนาฮินดูแบบบาหลี (Agama Hindu Dharma) หรือ ลัทธิวารีศักดิ์สิทธิ์ (Agama Tirtha) เป็นศาสนาฮินดูรูปแบบหนึ่งที่ปฏิบัติในกลุ่มชาวบาหลีบนเกาะบาหลีในประเทศอินโดนีเซีย อันมีความแตกต่างจากศาสนาฮินดูสายหลักคือมีการสักการะผีพื้นเมือง บูชาผีบรรพบุรุษ และเคารพพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นของคติทางศาสนาพุทธด้วย แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอินโดนีเซียจะนับถือศาสนาอิสลามและคริสต์ แต่ชาวบาหลียุคปัจจุบันยังคงยึดมั่นในหลักธรรมของตนและยังประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอย่างฮินดูอยู.
ศาสนาแบบอินเดีย
นาแบบอินเดีย (Indian religions) คือศาสนาที่มีต้นกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาซิกข์Adams, C.
สัมมาวาจา
ัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ วจีสุจริต4 (เว้นจาก วจีทุจริต4).
สาวก
วก แปลว่า ผู้ฟัง คือผู้ฟังตามครูบาอาจารย์ผู้สั่งสอนหลักธรรม ใช้สำหรับบุรุษ ถ้าเป็นสตรีใช้ว่า สาวิกา สาวก ในคำวัดใช้หมายถึงผู้ฟังโอวาทนุสาสนี หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยเคารพ ใช้เรียกทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ เช่นใช้ว่า พระอรหันตสาวก พระสงฆ์สาวก ภิกษุสาวก ภิกษุณีสาวิกาและใช้หมายถึงลูกศิษย์ของศาสดาอื่นๆ ด้วย เช่นวสาวกของนิครนถ์นาฏบุตร สาวกของพราหมณ์พาวรี สาวก ในคำไทยใช้หมายรวมไปถึงลูกศิษย์ ลูกน้อง ผู้ติดตามนักบวชนักบุญผู้มีชื่อเสียงตลอดถึงผู้มีอำนาจ เช่นใช้ว.
ดู ธรรมและสาวก
สถานีวิทยุศึกษา
นีวิทยุศึกษา เป็นสถานีวิทยุของกระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอรายการเกี่ยวกับการศึกษา ธรรมะ สุขภาพ ข่าวสาร และรายการบันเทิงต่าง.
สติปัฏฐาน 4
ติปัฏฐาน 4 เป็นหลักการภาวนาตามมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 อย่าง กาย เวทนา จิต และธรรม คำว่าสติปัฏฐานนั้นแปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง ส่วนปัฏฐาน แปลได้หลายอย่าง แต่ในมหาสติปัฏฐานสูตรและสติปัฏฐานสูตร หมายถึง ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก.
หอไตร
หอไตรภายในวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร หอไตร หมายถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะเป็นหอสูงสำหรับเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกหรือหนังสือธรรมทางพุทธศาสนา เรียกว่าหอพระไตร ก็มี หอพระธรรม ก็มี หอไตรใช้เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานที่จารึกคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่าพระไตรปิฎก หรือจารึกความรู้เรื่องอื่นๆ เช่นเรื่องตำรายาโบราณ วรรณคดีโบราณ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นของสูง เป็นของศักดิ์สิทธิ์ และหาได้ยาก และนิยมสร้างไว้กลางสระน้ำในวัด ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มดปลวกและแมลงสาบขึ้นไปกัดแทะทำลายคัมภีร์เหล่านั้น ส่วนใหญ่นิยมสร้างเพื่อมุ่งบุญกุศลเป็นสำคัญ ด้วยถือคติว่าสร้างไว้เก็บรักษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ จึงนิยมสร้างอย่างวิจิตรงดงาม มีรูปทรงพิเศษแปลกตาด้วยฝีมือที่สุดยอดในยุคสมัยนั้น.
ดู ธรรมและหอไตร
อรัญวาสี
อรัญวาสี (อ่านว่า อะ-รัน-ยะ-วา-สี) แปลว่า ผู้อยู่ในป่า, ผู้อยู่ประจำป่า อรัญวาสี เป็นชื่อเรียกคณะสงฆ์โบราณคณะหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในป่าห่างชุมชน เรียกว่า คณะอรัญวาสี คู่กับ คณะคามวาสี ซึ่งตั้งวัดอยู่ในชุมชน อรัญวาสี ปัจจุบันหมายถึงภิกษุผู้อยู่ในป่าหรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า พระป่า ซึ่งมีกิจวัตรประจำวันเน้นหนักไปในทางวิปัสสนาธุระคืออบรมจิต เจริญปัญญา นุ่งห่มด้วยผ้าสีปอนหรือสีกรัก มุ่งการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่เป็นหลัก ไม่เน้นงานด้านการบริหารปกครอง การศึกษาพระปริยัติธรรม และสาธารณูปการหรือการก่อสร้างพัฒนาวัด อรัญวาสี ถูกนำมาใช้เป็นสร้อยนามสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ระดับพระราชาคณะขึ้นไป เพื่อแสดงให้รู้ว่าเป็นพระป.
อาราธนา
อาราธนา (อ่านว่า อาราดทะนา) แปลว่า การทำให้ยินดี, ทำให้ดีใจ, ทำให้หายโกรธ, ทำให้ชอบ, ทำให้สำเร็จ อาราธนา ในคำวัดใช้ในความหมายว่าเชิญ, เชื้อเชิญ, อ้อนวอน, ร้องขอภิกษุสามเณรให้ยินดีพอใจทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือร้องขอให้ทำสิ่งใดให้สำเร็จ เช่น.
อุตริมนุสธรรม
อุตริมนุสธรรม หรือ อุตริมนุษยธรรม แปลว่า ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่ง ได้แก่ คุณวิเศษซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถมีหรือเป็นได้ มิใช่วิสัยของมนุษย์ทั่วไป แต่เป็นวิสัยของผู้บรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว ซึ่งก็คือ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค และผล การที่ภิกษุแสดงตนหรือพูดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนได้ฌานชั้นนั้นชั้นนี้ ตนได้บรรลุวิโมกข์ ได้สมาธิ สามารถเข้าสมาบัติได้ หรือสำเร็จมรรคสำเร็จผลอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่า อวดอุตริมนุสธรรม หรืออวดอุตริมนุษยธรรม ปัจจุบัน ถ้อยคำดังกล่าวใช้เรียกผู้ชอบอวดอ้างตนเหนือกว่าคนอื่นหรือทำอะไรที่แผลง ๆ ที่คนทั่วไปไม่ทำกัน ว่า "อวดอุตริ" หรือ "อุตริ" เฉ.
ผล
ผล อาจหมายถึง.
ดู ธรรมและผล
ผู้บริหาร
ผู้บริหาร (executive) มี 3 แบบด้วยกันคือ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับล่าง.
ธรรมจักษุ
นิตยสารธรรมจักษุ เป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกของไทย โดยออกตีพิมพ์ครั้งแรกสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2437 โดยการบุกเบิกของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระองค์ได้ทรงพยายามแปลพระสูตรต่างๆ ในพระไตรปิฎกที่ยังไม่เคยมีผู้ใดแปลมาก่อนมาเป็นภาษาไทย แล้วทยอยนำลงในนิตยสารธรรมจักษุ ในเวลาเดียวกัน ก็มีการอธิบายธรรมให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปด้วย ทำให้นิตยสารธรรมจักษุกลายเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกที่ไม่เพียงแต่จะนำเสนอเนื้อหาสาระทางพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ซึ่งเดิมนั้น มีอยู่ในใบลาน เป็นภาษาบาลีเท่านั้น ยังเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกที่กระตุ้นให้เกิดการประยุกต์หลัก พุทธธรรม มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมร่วมสมัยอย่างกว้างขวางด้ว.
ธรรมขันธ์
ธรรมขันธ์ (ธมฺขนฺธ) หมายถึง กองธรรม, หมวดธรรม, ประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่ มี ๕ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์; กำหนดหมวดธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็นวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ สุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ และอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ หมวดหมู่:หลักธรรมของศาสนาพุทธ หมวดหมู่:อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ.
ธัมมิกประชาธิปไตย
ัมมิกประชาธิปไตย หมายถึง ประชาธิปไตยที่ประกอบด้วยธรรมที่ครบวงจรกล่าวคือ ด้านการศึกษา การปกครอง เศรษฐกิจ และการประเมินผลต้องประกอบด้วยธรรมทั้งหมด ซึ่งเกิดมาจากการบูรณาการโดยดุลยภาพของโอวาทปาติโมกข์ พุทธทาสปณิธาน เศรษฐกิจพอเพียง.
ธงชาติไทย
งชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และสีน้ำเงินขาบ ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร.
ทศพิธราชธรรม
ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม 10 คือจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้.
ดนัย จันทร์เจ้าฉาย
นัย จันทร์เจ้าฉาย เกิดวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2509 เป็นบุตรของนายดำรงค์ จันทร์เจ้าฉาย (เสียชีวิต) และนางชนิตร์นันท์ จันทร์เจ้าฉาย เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา ดนัย เป็น นักคิด นักเขียน นักจัดรายการวิทยุ นักบรรยาย นักบริหารการตลาดและประชาสัมพันธ์ ที่ปลูกฝังแนวคิดธุรกิจสีขาว ด้วยหลักการกลยุทธ์น่านน้ำสีขาว (White Ocean Strategy) และการสื่อสารบนพื้นฐานของความเป็นจริง ซึ่งเป็นต้นแบบการประชาสัมพันธ์ที่มุ่งเน้น เรื่องคุณธรรมจริยธรรมอย่างเป็นรูปธรรม ขยายผลอย่างกว้างขวางในสังคมทุกภาคส่วน และยังเป็นวิทยากรรับเชิญบรรยายในหัวข้อ คุณธรรม จริยธรรม ธรรมะ การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤต ให้กับสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ผู้ดำเนินรายการ CEO Vision และHuman Talk คลื่นความคิด 96.5 FM อสมท.
คามวาสี
มวาสี (อ่านว่า คา-มะ-วา-สี) แปลว่า ผู้อยู่ในหมู่บ้าน, ผู้ประจำอยู่ในหมู่บ้าน หมายถึงภิกษุที่พำนักอยู่ตามวัดในหมู่บ้านหรือในตัวเมือง มีกิจวัตรประจำเน้นหนักไปในทางคันถธุระ คือศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม มีภารกิจคือการบริหารปกครอง การเผยแผ่ธรรม และการก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเป็นหลัก เรียกกันทั่วไปว่า พระบ้าน พระเมือง ซึ่งเป็นคู่กับคำว่า อรัญวาสี คือ พระป่า คามวาสีถูกนำมาใช้เป็นสร้อยนามสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ระดับพระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป เพื่อแสดงให้รู้ว่าเป็นพระบ้าน ทั้งพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิก.
คำมูล
ำมูล คือ คำที่เกิดจากการประสมของโครงสร้างคำและมีความหมาย ผู้ฟังและผู้อ่านฟังแล้วอ่านแล้วเข้าใจว่าหมายถึงอะไร หรือสิ่งใด หรืออย่างไร คำนั้นจะเป็นคำไทย หรือคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ แต่คำมูลแต่ละคำจะมีความหมาย คำมูลคำหนึ่งมักมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่มีอยู่บ้างที่คำคำเดียว รูปลักษณ์อย่างเดียวมีหลายความหมาย เช่น ติด มีความหมายว่า ข้องอยู่ ไปไม่ได้ เกาะอยู่ ทำให้แน่น ฯลฯ หรือคำหลายคำมีรูปลักษณ์หลายอย่างแต่มีความหมายอย่างเดียว เช่น สตรี นารี ยุพา กัญญา หมายถึง ผู้หญิง คำพื้นฐานที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง กล่าวคือ เป็นคำที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะอาจเป็นคำไทยดั้งเดิมหรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ และจะเป็นคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้.
ดู ธรรมและคำมูล
ฆราวาส
ราวาส (อ่านว่า คะราวาด) นัยแรกแปลว่า การอยู่ครองเรือน, การอยู่ในเรือน, การเป็นอยู่แบบชาวบ้าน เช่น "ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง...." ฆราวาส นัยที่สองแปลว่า ผู้ครองเรือน, ผู้อยู่ในเรือน ได้แก่ชาวบ้านทั่วไปที่มิใช่นักบวช เป็นคำที่มีความหมายเดียวกับคำว่า คฤหัสถ์ เช่น "ฆราวาสธรรมเป็นธรรมสำหรับผู้ครองเรือนจะพึงประพฤติปฏิบัติ" "เมื่อเรายังเป็นฆราวาสอยู่ ได้ตกแต่งร่างกายนุ่งห่มเสื้อผ้าอันงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยจุรณจันทน....." ฆราวาส มักพูดหรืออ่านเพี้ยนไปว่า ฆราวาส (คาระวาด).
ตบะ
ตบะ แปลว่า ความเพียรอันเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลส ตบะ ในที่ทั่วไปหมายถึงการบำเพ็ญเพียรเพื่อให้กิเลสเบาบางหดเหี้ยนหมดไป ด้วยการทำพิธีกรรม หรือด้วยการทรมานกายแบบต่างๆ เช่นบูชาไฟ ยืนขาเดียว ทาตัวด้วยฝุ่น เป็นต้น เรียกว่าบำเพ็ญตบะ เรียกผู้บำเพ็ญตบะว่า ดาบส ซึ่งแปลว่า ผู้บำเพ็ญตบะคือเผาผลาญกิเลส ตบะ ในพระพุทธศาสนาใช้หมายถึงธรรมต่างๆ ที่มุ่งกำจัดเผาผลาญอกุศลวิตก (ความตรึกที่เป็นบาปอกุศล)เป็นหลัก เช่น ปธาน (ความเพียร) ขันติ (ความอดทน) ศีล (การรักษากายวาจา) อุโบสถกรรม (การรักษาอุโบสถศีล) การเล่าเรียนปริยัติ การถือธุดงค์ การบำเพ็ญสมณธรรม และเรียกการประพฤติปฏิบัติธรรมเหล่านี้ว่า บำเพ็ญตบะ เช่นกัน.
ดู ธรรมและตบะ
ตักบาตรเทโว
ตักบาตรเทโว ตักบาตรเทโว หมายถึงการทำบุญตักบาตร ปรารภเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ในวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) คำว่า เทโว เรียกกร่อนมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก ความเดิมมีว่า ในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา ที่ได้กำเนิดเป็นเทพบุตรอยู่ในชั้นดุสิต (สวรรค์ชั้นที่ 4) โดยลงมาฟังธรรมที่ชั้นดาวดึงส์ (สวรรค์ชั้นที่ 2) จนบรรลุโสดาปัตติผล (สาเหตุที่พระศาสดาไม่เสด็จไปแสดงธรรมในชั้นดุสิต เพราะเทวดาที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ไม่สามารถขึ้นไปในชั้นดุสิตได้ ด้วยศักดานุภาพที่น้อยกว่า เพื่อให้โอกาสฟังธรรมแก่เทวดาเหล่านั้น) ครั้นถึงวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) จึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสนครอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ 14 เรื่องยมกปาฏิหาริย์ เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จากhttp://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b.
ตำนานนางพญางูขาว
นางพญางูขาว เป็นนิทานพื้นบ้านของชาวเมืองหังโจว ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์หลายครั้ง อีกทั้งยังเคยสร้างเป็นภาพยนตร์อะนิเมะ ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์อะนิเมะเรื่องยาวเรื่องแรกของญี่ปุ่นด้ว.
ปฏิคาหก
ปฏิคาหก แปลว่าผู้รับ คู่กับคำว่า ทายก ที่แปลว่า ผู้ให้ ปฏิคาหก หมายถึงผู้รับทาน, ผู้รับของถวายจากทายก ปกติใช้กับนักพรต นักบวช หรือบรรพชิต เช่นภิกษุสามเณร ในบุคคลทั่วไปก็มีใช้บ้างในกรณีที่เป็นผู้เข้าไปรับทานจากทายกผู้ใจบุญ เช่นพระเวสสันดรให้ทานก็มีปฏิคาหกที่เป็นคนทั่วไปมารับทานกันมาก ปฏิคาหก ที่เป็นพระอริยบุคคลและเป็นผู้ทรงศีลทรงธรรมถือว่าเป็นปฏิคาหกผู้ยอดเยี่ยม นำให้ทายกผู้ถวายได้รับบุญอานิสงส์มาก เพราะเป็นปฏิคาหกผู้หมดกิเลสแล้วหรือเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ เป็นผู้ปฏิบัติธรรม.
ปฏิปทา
ปฏิปทา แปลว่า ทางดำเนิน ข้อปฏิบัติ แนวทางปฏิบัติ ความประพฤติ ในทางธรรมมักปรากฏต่อท้ายคำอื่นๆ เช่น มัชฌิมาปฏิปทา ทุกขนิโรธปฏิปทา เป็นต้น ส่วนปฏิปทาในทางโลกมักถูกนำมาใช้ในความหมายว่าความประพฤติ และใช้กับความประพฤติที่ดีงาม ไม่ใช้กับความประพฤติที่ไม่ดี เช่นใช้ว่า "เขาเป็นคนมีปฏิปทาอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว" หมายความว่าเขาเป็นคนมีความประพฤติที่ดี เช่น ชอบช่วยเหลือคนอื่น มีอัธยาศัยดี หรือมีอุปนิสัยใจคอตามที่แสดงออกมาเช่นนั้น.
ปฐมเทศนา
ระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ที่ขุดพบในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่มีผู้ยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนาที่งามที่สุดในโลกhttp://www.pharm.chula.ac.th/computer/web_india_1/idia1_09_esipat2/9_esipat2.htm อิสิปตนมฤคทายวัน สมัยหลังพุทธกาล.
ปริยัติธรรม
ปริยัติธรรม (อ่านว่า ปะริยัดติทำ) หมายถึงธรรมที่พึงศึกษาเล่าเรียน ได้แก่พระพุทธพจน์หรือพระไตรปิฎก เรียกเต็มว่า พระปริยัติธรรม ปริยัติธรรมหรือพระพุทธพจน์ที่พึงศึกษาเล่าเรียนนั้นมี 9 อย่าง คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดา 9 ประเภท) การศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรมทั้ง 9 อย่างนี้ของพระภิกษุสามเณรในปัจจุบัน เรียกว่า เรียนนักธรรม เรียนบาลี และแบ่งปริยัติธรรมออกเป็น 2 คือ พระปริยัติธรรมแผนกธรรม พระปริยัติธรรมแผนกบาลี.
ปัญญา
ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย ในสังคีติสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่า ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ.
ดู ธรรมและปัญญา
ปัญจวัคคีย์
ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ปัญจวัคคีย์ คือ กลุ่มนักบวชที่ตั้งขึ้นมา เป็นนักบวชที่ปรากฏอยู่ในศาสนาพุทธในฐานะภิกษุชุดแรกที่เข้ามาบวชเป็นสาวก มีทั้งหมด 5 รูป ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ แต่เดิมปัญจวัคคีย์เป็นนักบวชที่ออกบวชติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้าตั้งแต่เสด็จออกผนวชใหม่ ๆ ทั้งหมดเป็นชาวกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้ฟังปฐมเทศนาเป็นรุ่นแรก ได้เป็นภิกษุรุ่นแรกและได้เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกในพระพุทธศาสนา เฉพาะโกณฑัญญะเป็นผู้เคยทำนายลักษณะพระพุทธเจ้าตั้งแต่ตอนประสูติใหม่ ส่วนอีก 4 ท่าน เป็นบุตรของพราหมณ์ที่ทำนายลักษณะของพระพุทธเจ้าร่วมกับโกณฑัญญะ เพราะมีความเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะต้องได้เป็นพระพุทธเจ้าจึงได้ออกบวชตาม ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ได้แสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน โกณฑัญญะได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะในด้านรัตตัญญู เรียกว่า มีราตรีนาน คือเป็นผู้รู้ธรรมก่อนใคร และได้บวชก่อนผู้อื่นในพระพุทธศานา จากนั้นพระพุทธองค์ทรงประทาน ปกิณณกเทศนา สั่งสอนที่เหลืออีก 4 ท่าน ให้บรรลุโสดาบันแล้วประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ ในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตร ซึ่งมีใจความดังนี้ ขณะสดับพระธรรมเทศนา พระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ไม่ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปาทาน สามารถละสังโยชน์ครบ 10 ประการ ได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 รูป.
ปางโปรดพุทธบิดา
ปางโปรดพุทธบิดา เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าประคองบาตร พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วพระหัต.
ปางโปรดอสุรินทราหู
มเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ ปางโปรดอสุรินทราหู เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถ นอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) ลักษณะเดียวกับปางปรินิพพานและปางทรงพระสุบิน หรือเรียกโดยทั่วไปว่าพระปางไสยาสน.
นวโกวาท
นวโกวาท แปลว่า คำสั่งสอนพระใหม่หรือพระบวชใหม่ เป็นชื่อหนังสือที่เป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นหนังสือที่ประมวลหัวข้อธรรมจากพระไตรปิฎกสำหรับสั่งสอนอบรมและศึกษาเล่าเรียนของพระนวกะโดยเฉพาะ ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่ายต่อมาใช้เป็นหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี หนังสือ นวโกวาท มี 3 ส่วน ส่วนต้นเป็น วินัยบัญญัติ หรือศีลของภิกษุ ส่วนกลางเป็น ธรรมวิภาค คือธรรมที่ต้องแยกคัดจัดไว้เป็นหมวดหมู่ เช่นธรรมที่มี 2 ข้อย่อย รวมไว้หมวดหนึ่ง มี 3 ข้อย่อยรวมไว้หมวดหนึ่ง เป็นต้น และส่วนหลังเป็น คิหิปฏิบัติ คือหลักปฏิบัติและหลักควรเว้นสำหรับคฤหัสถ์หรือชาวบ้านทั่วไป เช่น อบายมุข เป็นต้น หนังสือเล่มนี้เป็นนิยมใช้กันมากในวงการนักศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดพระราชอาณาจักร และเหมาะสำหรับทุกครอบครัวที่จะมีไว้เพื่อการศึกษ.
โพธิปักขิยธรรม
ปักขิยธรรม หรือ โพธิปักขิยธรรม 37 เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี 37 ประการคือ.
โยนิโสมนสิการ
นิโสมนสิการ (บาลี: yonisomanasikāra, คำอ่าน: โยนิโสมะนะสิกาน) หมายถึง การทำในใจให้ดีละเอียดถี่ถ้วน กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ทางพุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาทหรือ "อัปมาท" ซึ่งเป็นแหล่งรวมแห่งธรรมฝ่ายดีหรือ "กุศลธรรม" ทั้งปวง ดังปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ข้อ ๔๖๔ หน้า ๑๒๙ นอกจากนั้น ยังจัดเป็นธรรมะข้อหนึ่งในกลุ่มธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา และเป็นธรรมะมีอุปการะมากแก่มนุษย์ดังพรรณาในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ข้อ ๒๖๘-๙ หน้า ๓๓๒ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘: ๕๘๗.
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในพระอุปถัมภ์ฯ
รงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในพระอุปถัมภ์ฯ เป็นโรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.
ดู ธรรมและโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในพระอุปถัมภ์ฯ
โลภะ
ลภะ แปลว่า ความโลภ ความอยากได้ เป็นเป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ 3 อย่างคือ โลภะ โทสะ โมหะ โลภะ เกิดจากตัณหาคือความทะยานอยากได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตหิวโหยอยากได้ เกิดความดิ้นรน อยู่ไม่เป็นสุข หากหยุดยั้งไม่ได้ก็จะเป็นต้นเหตุให้ดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่อยากได้มาสนองความต้องการ หรือเมื่อไม่ได้โดยวิธีชอบธรรมก็นำให้ไปทำความชั่วความไม่ดีงามต่าง ๆ เช่น ลักขโมย ทุจริต คอรัปชั่น โกง ปล้น จนถึงฆ่าคนตาย โลภะ เป็นอันตรายแก่ธรรมทั้งปวง คือเป็นตัวทำลายศีลธรรม มโนธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม สามัคคีธรรม ยุติธรรมและธรรมชาติ โลภะ ละได้ด้วยการให้ทาน การเสียสละ เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันในทางที่ชอบ ---- กลุ่มโลภะ ธรรมฝ่ายชั่วนี้มี 3 อย่าง คือ.
ดู ธรรมและโลภะ
ไหว้ครูรำมวย
การรำไหว้ครูในกีฬามวยไทย ไหว้ครูรำมวย เป็นการร่ายรำในกีฬามวยไทยเพื่อแสดงถึงความกตัญญูรู้คุณและความเคารพต่อครูมวย เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เช่นเดียวกับวิชาการหลายแขนงของไทย ที่มักทำการไหว้ครูก่อน และให้มีการสวมมงคลขณะทำการร่ายรำไหว้ครู เนื่องจากถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ท่าที่นิยมทำการไหว้ครูมากที่สุดคือ พรหมสี่หน้า, หงส์เหิร, ยูงฟ้อนหาง, สอดสร้อยมาลา, พระรามแผลงศร, พยัคฆ์ตามกวาง, เสือลากหาง, สาวน้อยประแป้ง, ลับหอกโมกขศักดิ์ และกวางเหลียวหลัง ฯลฯ การรำไหว้ครูเริ่มจากนั่ง กราบเบญจางคประดิษฐ์ คุกเข่าถวายบังคม ขึ้นพรหมนั่ง-ยืน ท่ารำมวย (อาจมีการเดินแปลง ย่างสามขุม การรูดเชือก การบริกรรมคาถา) เพื่อสำรวจ ทักทายหรือข่มขวัญซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละค่าย หรือสำนัก โดยมีการบรรเลงดนตรีให้จังหวะในการต่อสู้ซึ่งใช้ "เพลงสะหระหม่าแขก" ใช้ในการไหว้ครู "เพลงบุหลันชกมวย" และ "เพลงเชิด" ใช้ในการต่อสู้ ส่วนเครื่องดนตรีไทยที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย ปี่ชวา, กลองแขก และฉิ่ง.
เกศริน ชัยเฉลิมพล
นันท์ เนสแลนด์ หรือในชื่อเดิมว่า เกศริน ชัยเฉลิมพล (ชื่อเล่น: แนท) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ น้องแนท เป็นนักแสดงภาพยนตร์แผ่นในเชิงอีโรติกและภาพยนตร์ลามกชาวไท.
เล่าจื๊อ
ล่าจื๊อ, จาก ''ไมท์แอนด์ลีเจนส์ออฟไชน่า'', ค.ศ. 1922 โดย อี.ที.ซี. เวอร์เนอร์ เล่าจื๊อ (Lao Zi หรือ Lao Tzu) นักปรัชญาชาวจีนที่มีชื่อเสียงที่สุดท่านหนึ่ง เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในช่วง 500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงของสงครามปรัชญา และสงครามการเมืองยุคชุนชิว เล่าจื๊อได้เขียนตำราอันเป็นแบบแผนในทางเต๋า นั่นคือ "เต๋าเต็กเก็ง" (Tao Te Ching) (道德經) ซึ่งเป็นผลงานทางลัทธิเต๋าที่ยังคงตกทอดมาถึงยุคปัจจุบันนี้ เล่าจื๊อเป็นนักปราชญ์ที่เชี่ยวชาญทางเต๋า ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร.
เอมิล เคร็บส์
อมิล เคร็บส์ (เกิดในวันที่ 15 พฤศจิกายน 1867 ใน Freiburg, Schlesien เสียชีวิตเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 1930 ในกรุงเบอร์ลิน) – ชาวเยอรมันที่เป็นต้นแบบการเรียนรู้หลายภาษา (พูดได้หลายภาษา) เป็นบุตรชายของช่างไม้ แหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือแห่งหนึ่งได้เปิดเผยว่าเขาเข้าใจ 68 ภาษาในการพูดหรือการเขียนได้ในระดับดี.
เอหิภิกขุอุปสัมปทา
อหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นชื่อเรียกวิธีบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในสมัยพุทธกาลยุคต้นๆ โดยพระพุทธเจ้าทรงประทานให้ด้วยพระองค์เอง โดยการตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ตรัสเพียงเท่านี้ ก็เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว เพราะคำตรัสขึ้นต้นว่า เอหิ ภิก...
เจตสิก
ตสิก (อ่านว่า เจตะสิก) (cetasika; caitasika) แปลว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต, สิ่งที่เกิดในใจ, ทางใจ เจตสิกหมายถึงองค์ประกอบของจิต อาการหรือการแสดงออกของจิต จัดเป็นสมรรถนะหรือคุณสมบัติของจิต มีลักษณะที่เกิดดับพร้อมกับจิต เป็นอารมณ์ของจิต มีวัตถุที่อาศัยเดียวกับจิต เป็นกฎเกณฑ์ให้ประกอบเป็นจิต เจตสิกแยกเป็นขันธ์ ได้ 3 ขันธ์ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ (คือความแปรปรวนทางนามธาตุ) สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ (เปรียบเช่นภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จดจำการแก้ทุกขัง) เจตสิกที่เหลืออีก 50 เป็น สังขารขันธ์ (ได้แก่นามธาตุต่างๆมีสภาวะเป็นข้อมูล ที่เป็นกฎเกณฑ์ให้เป็นไปทั่วของจิต อันเป็นดุจรหัสพันธุ์กรรมของจิต) เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ.
เทวธรรม
ทวธรรม คือ ผู้ที่มีธรรมของเทวดาในโลก เป็นธรรมะที่เทพเจ้าหรือเทวดาถามหาหรือต้องการจากมนุษย์ เป็น สัปบุรุษผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริโอตัปปะตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันผ่องแผ้ว เทวธรรมจะประกอบด้วย "หิริ" คือ การละอายต่อบาป "โอตัปปะ" คือการเกรงกลัวต่อผลของบาป หิริ นั้นประกอบด้วย ความละอายต่อการ คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว โอตัปปะ คือการเกรงภัยของการคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วจะมาถึงตน มีอธิบายขยายความเทวธรรมและยกเรื่องราวประกอบอยู่ในหนังสือธรรมบทภาค ๕ เรื่อง พหุภณฺฑิกภิกฺขุวตฺถุ (ภิกษุผู้มีภัณฑะมาก) สาเหตุของการทำให้เกิดหิริโอตัปป.
เดียรถีย์
ียรถีย์ (tīrthika; ติตฺถิย) แปลว่า ผู้มีลัทธิดังท่าน้ำอันเป็นที่ข้าม ใช้หมายถึง นักบวชนอกศาสนาพุทธในประเทศอินเดียสมัยพุทธกาล มีหลายพวก เช่น ปริพาชก นิครนถ์ ดาบส อเจลก (ชีเปลือย) ปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้เรียกผู้ทำนอกเรื่องหรือนอกรีตนอกรอย ประพฤตินอกธรรมนอกพระวินัยว่า พวกเดียรถีย์ ซึ่งถือเป็นคำดูถูกหรือคำ.
เปรียญธรรม 3 ประโยค
ัดยศเปรียญธรรม 3 ประโยค เปรียญธรรม 3 ประโยค (ชื่อย่อ ป.ธ.3) เป็นระดับชั้นการศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย เรียกพระภิกษุผู้สอบไล่ได้ในชั้นนี้ว่า "พระมหา" และสามเณรว่า "สามเณรเปรียญ" กระทรวงศึกษาธิการเทียบวุฒิผู้สอบได้ในชั้นนี้ให้เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนต้น คณะสงฆ์ เคยมีการขอให้ปรับวุฒิผู้สอบไล่ได้ชั้นนี้ ให้เทียบเท่าระดับอุดมศึกษา แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากผู้เกี่ยวข้อง แต่เปรียญธรรม 3 ประโยค ก็ยังเป็นที่นับถือกันโดยพฤตินัยในวงการคณะสงฆ์ไทยว่าผู้สอบได้ในชั้นนี้เป็น "ปริญญาตรี" ของฝ่ายคณะสงฆ์ หรือเปรียบได้กับคฤหัสถ์ผู้สอบไล่ได้ปริญญาบัณฑิตของฝ่ายฆราวาส โดยผู้สอบได้ในชั้นนี้จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ โปรดฯ ทรงตั้งให้เป็นเปรียญ ได้รับพระราชทานประกาศนียบัตร พัดเปรียญธรรม 3 ประโยค การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในชั้น "เปรียญธรรม 3 ประโยค" นั้น แบ่ง รายวิชาที่สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวงกำหนดให้พระภิกษุสามเณรสอบไล่เพื่อผ่านในชั้นนี้ได้เป็น 4 วิชา คือ วิชาไวยากรณ์, วิชาแปลมคธเป็นไทย, วิชาสัมพันธ์ไทย และวิชาบุร.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ หลักธรรมพระพุทธศาสนาพระธรรมเทศนาธรรมะ