โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธงชาติภูฏาน

ดัชนี ธงชาติภูฏาน

งชาติภูฏาน มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมพื้นผ้ากว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวทแยงมุม จากมุมธงด้านปลายธงบนมายังมุมธงด้านต้นธงล่าง ครึ่งบนเป็นพื้นสีเหลือง ครึ่งล่างเป็นพื้นสีส้ม กลางธงระหว่างเส้นทแยงมุมมีรูปมังกรสายฟ้าสีขาวหรือดรุก หันหน้าไปทางด้านปลายธง ต้นแบบของธงนี้เริ่มใช้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 ก่อนจะเปลี่ยนแปลงมาเป็นธงรูปแบบปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2512.

7 ความสัมพันธ์: มายึม โชยิง วังโม ดอร์จีธงชาติประเทศในทวีปเอเชียดรุก เซนเดนตราแผ่นดินของภูฏานประเทศภูฏานประเทศภูฏานใน ค.ศ. 1969เส้นเวลาของธงประจำชาติ

มายึม โชยิง วังโม ดอร์จี

มายึม โชยิง วังโม ดอร์จี (Mayeum Choying Wangmo Dorji; ประสูติ พ.ศ. 2440 — สิ้นพระชนม์ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2537) หรือ รานีโชยิง วังโม ดอร์จี (Rani Choying Wangmo Dorji) เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระราชินีเกซัง โชเดน พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จี วังชุก และเป็นที่รู้จักจากการออกแบบธงชาติภูฏาน.

ใหม่!!: ธงชาติภูฏานและมายึม โชยิง วังโม ดอร์จี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติประเทศในทวีปเอเชีย

นี่คือธงชาติประเทศและดินแดนของทวีปเอเชี.

ใหม่!!: ธงชาติภูฏานและธงชาติประเทศในทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ดรุก เซนเดน

ลงชาติแห่งราชอาณาจักรภูฏานมีชื่อว่า ดรุก เซนเดน (ซองคา: འབྲུག་ཙན་དན་, Druk tsendhen) ชื่อของเพลงนี้มีความหมายว่า "อาณาจักรมังกรสายฟ้า" ประพันธ์ทำนองโดย อากู ตองมี (Aku Tongmi) คำร้องโดย ดาโช เยลดุน ทินเลย์ (Dasho Gyaldun Thinley) สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จี วังชุก พระมหากษัตริย์แห่งภูฏานรัชกาลที่ 3 ได้มีพระบรมราชโองการให้ประพันธ์เพลงชาติภูฏานขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2496 แต่เพลงชาติภูฏานได้แต่งขึ้นจริงเมื่อประมาณ พ.ศ. 2501 เมื่อภูฏานจำเป็นต้องมีเพลงชาติเพื่อใช้ในพิธีการต้อนรับนายกรัฐมนตรีชวาหระลาล เนห์รู แห่งประเทศอินเดีย เนื่องในโอกาสการเยือนภูฏานอย่างเป็นทางการ ตองมีซึ่งขณะนั้นเพิ่งกลับจากการอบรมทางดนตรีในประเทศอินเดีย และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ควบคุมวงโยธวาทิตคนแรกของกองทัพภูฏาน จึงได้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติขึ้น โดยทำนองฉบับแรกที่เขาแต่งนั้นได้รับอิทธิพลทั้งจากเพลงชาติอินเดีย (ชนะ คณะ มนะ) และเพลงชาติสหราชอาณาจักร (ก็อดเซฟเดอะควีน) รวมทั้งปรับปรุงจากทำนองเพลงพื้นเมืองที่มีชื่อว่า "Thri nyampa med pa pemai thri" (ชื่อเพลงมีความหมายว่า "บัลลังก์ดอกบัวอันมั่นคง" หรือ "The Unchanging Lotus Throne") ต่อมาทำนองดังกล่าวนี้ได้มีการปรับปรุงอีก 2 ครั้ง โดยผู้ที่รับตำแหน่งผู้ควบคุมวงโยธวาทิตสืบต่อจากเขา สำหรับบทร้องของเพลงนี้ เดิมแต่งเป็นบทร้องความยาว 12 วรรค ต่อมาได้ย่อลงให้เหลือเพียง 6 วรรคในปี พ.ศ. 2507 เนื่องจากเนื้อร้องเดิมค่อนข้างยาว และเรียบเรียงเป็นทำนองสำหรับบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีทองเหลืองได้ยาก.

ใหม่!!: ธงชาติภูฏานและดรุก เซนเดน · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของภูฏาน

ตราแผ่นดินของภูฏาน ไม่ปรากฏปีที่ใช้ตราปัจจุบัน มีส่วนประกอบต่อไปนี้.

ใหม่!!: ธงชาติภูฏานและตราแผ่นดินของภูฏาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศภูฏาน

ประเทศภูฏาน (Bhutan; บูตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen และชื่อเพลงชาติ เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาบาลี ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน).

ใหม่!!: ธงชาติภูฏานและประเทศภูฏาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศภูฏานใน ค.ศ. 1969

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1969 ในประเทศภูฏาน.

ใหม่!!: ธงชาติภูฏานและประเทศภูฏานใน ค.ศ. 1969 · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของธงประจำชาติ

้านล่างนี้เป็นรายการภาพธงชาติ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นไป.

ใหม่!!: ธงชาติภูฏานและเส้นเวลาของธงประจำชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »