เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ท้าวทศรถ

ดัชนี ท้าวทศรถ

ท้าวทศรถ เป็นพระราชโอรสของท้าวอัชบาล กับพระนางเทพอัปสร ครองกรุงอโยธยาต่อจากพระราชบิดา ท้าวทศรถได้กำหราบยักษ์หลายตน เช่น ปทูตทันต์ ในการศึกนั้นท้าวทศรถต่อสู้ด้วยศร จนปทูตทันต์กระเด็นไป ปทูตทันต์โมโหก็ขว้างกระบองแก้ว ทำให้เกิดเสียงดังกัมปนาท และบังเกิดเปลวไฟ ท้าวทศรถเห็นเพลิงจึงขว้างพระขรรค์ เกิดเป็นฝนตกลงมาดับไฟ ทำให้เพลารถหัก พระนางไกษเกษีเห็นดังนั้น จังนำแขนมาเทียมรถ ได้รับความเจ็บปวดอย่างมาก ปทูตทันต์โมโหโทโส กระโดดเข้ามาใหม่ ท้าวทศรถจึงขว้างพระขรรค์ไปใหม่ ด้วยอำนาจอันเรืองฤทธิ์ของพระขรรค์ ปทูตทันต์จึงกระเด็นตกยังพื้นพสุธาคอหักตายคาที และท้าวทศรถจึงได้ให้รางวัลแก่พระนางไกษเกษี ว่าในวันข้างหน้า หากนางขออะไร ก็จะให้ตามที่นางขอ ท้าวทศรถอยู่ในราชสมบัติได้หกหมื่นปี ก็มาคิดเรื่องโอรสทั้งสี่ที่จะแบ่งสมบัติให้ โดยพระพรตและพระสัตรุตจะได้ครองกรุงไกยเกษ ส่วนพระรามและพระลักษมณ์จะให้ครองเมืองอโยธยาแต่การนี้พระนางไกยเกษีมเหสีองค์รองขัดขวาง โดยยกเรื่องของรางวัลในอดีตมาเป็นข้อต่อรอง ให้พระรามไปอยู่ในป่าสิบสี่ปี และให้พระพรตขึ้นครองราชย์แทน ท้าวทศรถเสียใจมากจึงสวรรคตด้วยความตรอมพระทั.

สารบัญ

  1. 13 ความสัมพันธ์: พระพรตพระรามพระลักษมณ์พระสัตรุดกัลมาษบาทรามายณะรามเกียรติ์ (ละครโทรทัศน์)วานรสิบแปดมงกุฎศิวะ พระมหาเทพสีดา ราม ศึกรักมหาลงกาสดายุทศกัณฐ์ (ละครโทรทัศน์)ไกยเกษี

พระพรต

ระพรต เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีแดง (คือจักรแก้วของพระนารายณ์ที่อวตารลงมาพร้อมกับพระราม) เป็นโอรสของท้าวทศรถกับพระนางไกยเกษี คำว่า "พรต" มีความหมายว่า "พระ" (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งเมืองอโยธยา).

ดู ท้าวทศรถและพระพรต

พระราม

ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.

ดู ท้าวทศรถและพระราม

พระลักษมณ์

ระลักษมณ์ (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา) เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พระลักษมณ์ คือพญาอนันตนาคราชที่ประทับของพระนารายณ์และสังข์ของพระนารายณ์มาเกิด เป็นโอรสของท้าวทศรถและนางสมุทรชา มีพระวรกายสีเหลืองดั่งทองทา มีพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ พระสัตรุด พระลักษมณ์มีความจงรักภักดีต่อพระรามมาก เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าถึง 14 ปี พระลักษมณ์ก็ได้ติดตามไปด้วย และยังช่วยออกรบกับกองทัพของกรุงลงกา อย่างกล้าหาญหลายครั้งหลายหน ทรงเคียงคู่พระรามเสมอ ในระหว่างเกิดศึกกรุงลงกา และเมื่อพระรามต้องเสด็จเดินดงเป็นครั้งที่สอง ก็ได้ทูลขอเสด็จตามไปด้วยอีก ทรงร่วมผจญหมู่มารและเหล่าศัตรูเคียงคู่พระรามหลายครั้งหลายครา พระลักษมณ์เคยได้ไปร่วมพิธียกธนูโมลีที่มิถิลา ได้ยกศรก่อนพระราม เมื่อจับศรแล้วศรขยับ แต่แกล้งทำเป็นยกไม่ได้ เพราะรู้ว่าพระรามหลงรักนางสีดาตั้งแต่แรกเห็น อีกทั้งพระลักษมณ์ก็ไม่ได้รักนางสีดาแบบชู้สาว จึงเปิดโอกาสให้พระราม พระรามจึงได้อภิเษกสมรสกับนางสีดา ในระหว่างศึกสงคราม พระลักษมณ์ได้ออกรบจนถูกอาวุธได้รับบาดเจ็บเกือบสิ้นพระชนม์ถึง 5 ครั้ง จากหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ ศรนาคบาศกับศรพรหมาสตร์ของอินทรชิต หอกแก้ววราวุธของมูลพลัม และหอกกบิลพัทของทศกัณฐ์ แต่ฝีมือก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร ได้สังหารกุมภกาศ อินทรชิต มูลพลัม จิตรไพรี ทศคีรีวัน ทศคีรีธร พระนามของพระลักษมณ์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าผู้มีเครื่องหมายอันเป็นมงคล หรือผู้ที่มีลักษณะดี.

ดู ท้าวทศรถและพระลักษมณ์

พระสัตรุด

ระสัตรุดคือคทาของพระนารายณ์อวตารลงมาพร้อมกับพระองค์ พระสัตรุดเป็นโอรสของท้าวทศรถ บิดาของพระราม กับพระนางสมุทรชา เป็นพระอนุชาฝาแฝดของพระลักษมณ์ เป็นจอมทัพร่วมกับพระพรตผู้เป็นพระเชษฐา ตอนศึกกรุงลงกาครั้งที่ 2และศึกเมืองมลิวัน ภายหลังได้เป็นเจ้าอุปราชแห่งเมืองไกยเกษ แม้พระสัตรุดจะเป็นพระอนุชาร่วมพระมารดากับพระลักษมณ์ คือ นางสมุทรชา แต่ทั้งในรามายณะของอินเดียและรามเกียรติ์ของไทย ก็มักกล่าวถึงพระสัตรุดคู่ไปกับพระพรต และกล่าวถึงพระรามคู่กับพระลักษมณ์ ในรามเกียรติ์ตอนต้นจนถึงตอนกลางเรื่อง พระสัตรุดมีบทบาทน้อย แต่มีบทบาทมากขึ้นในตอนท้ายเรื่อง พระนามพระสัตรุดในรามเกียรติ์เขียน สัตรุด แต่ในรามายณะ เขียน ศตฺรุฆฺน (อ่านว่า สะ -ตฺรุ-คฺนะ) แปลว่า ผู้สังหารศัตรู.

ดู ท้าวทศรถและพระสัตรุด

กัลมาษบาท

ในเทพปกรณัมฮินดู กัลมาษบาท (कल्माषपाद กลฺมาษปาท), เสาทาส (सौदास), มิตรสหะ (मित्रसह), หรือ อมิตรสหะ เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์อิกษวากุ ซึ่งถูกฤษีวสิษฐะสาปให้กลายเป็นรากษส พระเจ้ากัลมาษบาทเป็นต้นวงศ์ของพระรามซึ่งถือกันว่าเป็นอวตารของเทพวิษณุและเป็นวีรบุรุษในมหากาพย์ฮินดูเรื่อง รามายณะ เอกสารหลายฉบับพรรณนาว่า พระเจ้ากัลมาษบาททรงถูกสาปให้สิ้นพระชนม์ถ้าร่วมประเวณีกับพระมเหสี พระองค์จึงขอให้ฤษีวสิษฐะประทานบุตรให้ด้วยวิธีนิโยคอันเป็นวิธีตามประเพณีโบราณที่ชายสามารถขอให้ภริยามีสัมพันธ์กับชายอื่นเพื่อให้เกิดบุตรได้ พระเจ้ากัลมาษบาทยังปรากฏในร้อยกรองเรื่องสำคัญอย่าง ปุราณะ, มหาภารตะ, และ รามายณะMani, p.

ดู ท้าวทศรถและกัลมาษบาท

รามายณะ

พระรามประทับบนไหล่หนุมาน เข้าต่อรบกับพญายักษ์ราวณะ (ทศกัณฐ์), ภาพวาดบนกระดาษ, ศิลปะอินเดีย, ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1820 (สมบัติของบริติชมิวเซียม) รามายณะ (रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้.

ดู ท้าวทศรถและรามายณะ

รามเกียรติ์ (ละครโทรทัศน์)

รามเกียรติ์ (Ramayan) เป็นละครโทรทัศน์ที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2013 กล่าวถึงสงครามครั้งสำคัญในวรรณกรรมเรื่องยิ่งใหญ่ รามายณะ ที่กล่าวการยกทัพของพระรามกับพญาทศกัณฐ์ เพื่อชิงเอานางสีดาคืนมา นำแสดงโดย กากัน มาลิค, เนหา ซากัม ออกอากาศทางช่องซีหนัง ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 19.00 น.

ดู ท้าวทศรถและรามเกียรติ์ (ละครโทรทัศน์)

วานรสิบแปดมงกุฎ

รูปบางส่วนของวานรสิบแปดมงกุฎ ในการแสดงโขนที่ลานคนเมืองเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน2549 วานรสิบแปดมงกุฏ เป็นวานร (ลิง) ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ วานรเหล่านี้เป็นเทวดาที่จุติลงมาเป็นวานร และมาเป็นทหารเอกในกองทัพของพระราม ผู้ซึ่งเป็นองค์พระนารายณ์อวตารลงมา และต้องไปอยู่ในป่าเป็นเวลา ๑๔ ปี เพื่อรักษาสัจจวาจาของพระราชบิดา คือท้าวทศรถ เมื่อพระมเหสีของพระราม คือ นางสีดา ถูกทศกัณฐ์ กษัตริย์เมืองลงกา ลักพาตัวไป พระรามต้องนำกองทัพติดตามไปรับนางสีดาคืนมา โดยมีหนุมานผู้นำเอา สุครีพ ซึ่งเป็นน้าชายมาถวายตัวพร้อมไพร่พลเมืองขีดขิน และท้าวมหาชมพูที่ยกกำลังพลเมืองชมพูให้เป็นทหารแห่งองค์พระราม วานรสิบแปดมงกุฏจึงเป็นกำลังพลในทัพขององค์พระราม ที่มาจากสองเมืองคือ เมืองขีดขินของสุครีพ และเมืองชมพูของท้าวมหาชมพู.

ดู ท้าวทศรถและวานรสิบแปดมงกุฎ

ศิวะ พระมหาเทพ

วะ พระมหาเทพ (Devon Ke Dev...) หรือ ตำนานพระพิฆเนศ (ชื่อไทยในฉบับดีวีดี) เป็นละครโทรทัศน์ที่ถ่ายทำเมื่อปี ค.ศ. 2014 กล่าวถึงพระประวัติของ พระศิวะ นำแสดงโดย โมหิต ไรนา รับบท พระศิวะ ออกอากาศทางช่อง ไบรต์ทีวี ละครเรื่องนี้ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 20.00 น.

ดู ท้าวทศรถและศิวะ พระมหาเทพ

สีดา ราม ศึกรักมหาลงกา

ีดา ราม ศึกรักมหาลงกา หรือ สีดาราม ศึกรักมหาลงกา (Siya Ke Ram) เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงสงครามครั้งสำคัญในวรรณกรรมเรื่องยิ่งใหญ่ รามายณะ ที่กล่าวการยกทัพของพระรามกับพญาทศกัณฐ์ เพื่อชิงเอานางสีดาคืนมา นำแสดงโดย อาชิช ชาร์มา, มาดิรักศรี มันเดิล ออกอากาศทาง ช่อง 8 ออกอากาศ ทุกวันเสาร์- อาทิตย์ เวลา 10.00 น.

ดู ท้าวทศรถและสีดา ราม ศึกรักมหาลงกา

สดายุ

ทศกัณฐ์สังหารนกหัสดายุ ผลงานของราชา รวิ วรรมา ศิลปินชาวอินเดียช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นกสดายุ หรือ พระยาสดายุเป็นพระยาปักษาชาติ (นก)หนึ่งในตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นสหายกับท้าวทศรถ เมื่อทศกัณฐ์ไปลักนางสีดาจากบรรณศาลา พาอุ้มเหาะจะนำไปไว้ ณ สวนขวัญ กรุงลงกา ขณะที่พระรามไม่อยู่ในอาศรม แต่นกสดายุบินผ่านมาเห็นเหตุการณ์จึงเข้ามาสกัดไว้ ผลสุดท้าย พระยาสดายุหรือ นกสดายุถูกขว้างด้วยแหวนของนางสีดาปีกหักตกลงมายังพื้นดินแต่ยังไม่ตาย ทศกัณฐ์พานางสีดาหนีไปได้ สดายุรอคอยแจ้งเหตุกับ พระรามที่ออกติดตามหานางสีดา เมื่อพระรามมาเจอสดายุก็ได้มอบแหวนของนางสีดาให้แล้วจึงสิ้นชีพไป.

ดู ท้าวทศรถและสดายุ

ทศกัณฐ์ (ละครโทรทัศน์)

ทศกัณฐ์ (Raavan, Ravana) เป็นละครโทรทัศน์อินเดียที่กล่าวถึงประวัติของพญาทศกัณฐ์ ออกอากาศทางช่อง Zee TV ในอินเดีย ต่อมาสหมงคลฟิล์มได้ซื้อลิขสิทธิ์ แล้วก็นำมาออกอากาศทางช่อง มงคลแชนแนล ในประเทศไทย โดยมีทีมพากย์พันธมิตรใให้เสียงพากย์ภาษาไทย นำแสดงโดย นาเรนดร้า จา, ปาราส ออโรรา รับบทเป็น พญาทศกัณฐ์ ซึ่งละครเรื่องนี้ออกอากาศต่อจากละครโทรทัศน์เรื่อง พระศิวะ ที่อวสานลงไป.

ดู ท้าวทศรถและทศกัณฐ์ (ละครโทรทัศน์)

ไกยเกษี

ระนางไกยเกษี เป็นพระธิดาของท้าวไกยเกษ กับพระมหาเทวีเจ้าประไภวดีหรือเกศินี เป็นพระอัครมเหสีองค์หนึ่งของท้าวทศรถ มีพระโอรสชื่อพระพรต เมื่อครั้งพระอินทร์เชิญท้าวทศรถขึ้นไปปราบอสูรปทูตทันต์ที่ขึ้นไปรุกรานสวรรค์ ปทูตทันต์แผลงศรถูกเพลารถพระที่นั่งหักลง พระนางไกยเกษีเอาแขนสอดแทนเพลาที่หัก และสังหารอสูรตนนั้น ท้าวทศรถจึงพระราชทานพร เมื่อท้าวทศรถจะมอบราชบัลลังก์ให้พระราม นางจึงใช้โอกาสขอพรนั้น ให้พระพรตครองราชย์ก่อน และขอให้พระรามออกผนวชเป็นเวลา ๑๔ ปี นางจึงเป็นต้นเหตุให้พระรามเดินป่า และท้าวทศรถสิ้นพระชนม์ด้วยความตรอมพระทัยที่พรากจากโอรส นางถูกห้ามไม่ให้จุดไฟพระเพลิง หลังจากพิธีบรมศพ นางไปทูลขอลุแก่โทษและกราบทูลให้พระรามกลับมาครองร.

ดู ท้าวทศรถและไกยเกษี

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ทศรถนางสมุทรชา