โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ท่าพระจันทร์

ดัชนี ท่าพระจันทร์

ท่าพระจันทร์ในยุคปัจจุบัน ท่าพระจันทร์ เป็นท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บริเวณสุดถนนพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ให้บริการเฉพาะเรือข้ามฟากในเส้นทางท่าพระจันทร์-วังหลัง และท่าพระจันทร์-พระปิ่นเกล้า บริเวณท่าเรือแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์ ซึ่งเป็นป้อมแห่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามแนวกำแพงพระนครด้านตะวันตก ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ใช้บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นท้องสนามหลวง ถนนหน้าพระธาตุ ป้อมต่าง ๆ รอบกำแพงพระราชวังบวรสถานมงคลถูกรื้อลงหมดรวมถึงป้อมพระจันทร์ด้วย ถนนที่ตัดตรงสู่บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์จึงมีชื่อว่า "ถนนพระจันทร์" และท่าน้ำในบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์จึงเรียกว่า "ท่าพระจันทร์" มาจนถึงปัจจุบัน ใช้เป็นท่าเรือโดยสารซึ่งมีบริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินกิจการเดินเรือข้ามฟากที่ประมูลมาจากกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน บริเวณท่าพระจันทร์เป็นแหล่งการค้าที่คึกคักมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาเย็น โดยเป็นที่รู้จักกันดีของการเป็นตลาดพระเครื่องและวัตถุมงคลต่าง ๆ รวมถึงร้านค้า, ร้านอาหาร, ร้านหนังสือต่าง ๆ อีกด้ว.

32 ความสัมพันธ์: บุญชูพศุฑย์ พงศ์พศุตม์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกวี ตันจรารักษ์การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551การเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกำแพงเมืองและป้อมปราการกรุงเทพมหานครฝัน-หวาน-อาย-จูบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครรายชื่อตลาดในกรุงเทพมหานครละอองเพชร แสงพราววรเวช ดานุวงศ์วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารสถานีศิริราช (รถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีแดงอ่อน)จันทร์จารุพงษ์ ทองสินธุ์ถนนพระจันทร์ถนนมหาราชถนนวังหลังท่าวังหลังและท่าพรานนกดีทูบีคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตึกโดมประยุทธ์ อุดมศักดิ์ปลื้มเอ็กซ์พลอร์ป้อมพระจันทร์ใหม่ เจริญปุระโรงพยาบาลศิริราชโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์เดอะคิงเนเวอร์สไมลส์

บุญชู

นตร์เรื่องบุญชู ภาคแรก บุญชู เป็นภาพยนตร์ไทย ประเภทหนังตลกขบขัน ที่มีการสร้างถึง 8 ครั้ง 10 ภาค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2553 สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น โดย 7 ภาคแรก กำกับภาพยนตร์และเขียนบทภาพยนตร์โดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล โดยมี สันติสุข พรหมศิริ และ จินตหรา สุขพัฒน์ แสดงนำ โดยเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จได้รับความนิยมสูงสุดในยุคนั้น นอกจากนั้นภาพยนตร์ชุดบุญชูที่สร้างภาคต่อๆ มาถึง 6 เรื่อง ก็ได้รับการบันทึกว่าเป็นภาพยนตร์ซึ่งได้รับความนิยมทำรายได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกภาค ซึ่งหลังจากหนังเรื่องนี้ บัณฑิตก็กลายเป็นคนทำหนังร่วมสมัยที่มีหนังทำเงินและหนังคุณภาพมากที่สุด ระหว่างปี 2531-2538 และสามารถคว้ารางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขาภาพยนตร์ยอดนิยม ติดต่อกันถึงสามปีซ้อน บุญชูได้เคยถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2541 ออกอากาศทางช่อง 5 โดยใช้ชื่อว่า บุญชู สระอูยาว สร้างโดย มีเดีย ออฟ มีเดียส์ กำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล เช่นเดิม นำแสดงโดย เพ็ญเพชร เพ็ญกุล, ผาณิต สุทธาศวิน, สันติสุข พรหมศิริ, กีรติ เจนปรมกิจ ภาพยนตร์ชุดบุญชูอย่างเรื่อง บุญชูผู้น่ารัก ยังเป็นหนี่งในภาพยนตร์ไทย 100 เรื่องที่คนไทยควรดู และหนึ่งในภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติครั้งที่ 3 ภาคสุดท้ายของบุญชู มีชื่อเรื่องว่า บุญชู จะอยู่ในใจเสมอ ฉายในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการเปลี่ยนตัวผู้กำกับภาพยนตร์เป็น เกียรติ กิจเจริญ หนึ่งในกลุ่มนักแสดงบุญชูซึ่งร่วมงานมาทุก.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และบุญชู · ดูเพิ่มเติม »

พศุฑย์ พงศ์พศุตม์

ฑย์ พงศ์พศุตม์ ชื่อเดิม ศุภณัฐ พงศ์พศุตม์ ชื่อเล่น ณัฐ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และพศุฑย์ พงศ์พศุตม์ · ดูเพิ่มเติม »

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy, PAD) หรือเรียกว่า กลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ หรือ กลุ่มคนเสื้อเหลือง เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในช่วง พ.ศ. 2548-2552 โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กรทั่วประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ภายใต้จุดประสงค์ในการขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแสดงความต้องการให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนอย่างเปิดเผยBloomberg,, 19 December 2008 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีแกนนำคนสำคัญ ได้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง สัญลักษณ์หลักของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีการใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์หลัก และมีการใส่เสื้อสีเหลืองพร้อมผ้าโพกศีรษะที่มีข้อความว่า "กู้ชาติ" และผ้าพันคอสีฟ้า และมีมือตบเป็นเครื่องมือสัญลักษณ์ ในปี..

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

กวี ตันจรารักษ์

กวี ตันจรารักษ์ มีชื่อเล่นว่า บีม เป็นนักร้องและนักแสดงชาวไทย อดีตสมาชิกนักร้องกลุ่มวงดีทูบี ปัจจุบัน เป็นศิลปินอิสร.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และกวี ตันจรารักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551

การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไต..

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

การเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีกำหนดระหว่างวันที่ 25–29 ตุลาคม..

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และการเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

กำแพงเมืองและป้อมปราการกรุงเทพมหานคร

กำแพงเมืองและประตูเมืองที่เหลืออยู่ด้านทิศเหนือ หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร กำแพง และ ประตูพระนคร ของกรุงเทพมหานครนั้น ตั้งอยู่ในเขตพระนคร ปัจจุบันหลงเหลืออยู่ 2 แห่ง ก็คือ ป้อมพระสุเมรุ บริเวณกำแพงเมืองและประตูเมืองด้านทิศเหนือ และบริเวณป้อมมหากาฬ กำแพงเมืองพระนครสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยนำอิฐที่จากกำแพงกรุงศรีอยุธยามาสร้าง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ มีประตูใหญ่ 16 ประตู ประตูเล็กหรือช่องกุด 47 ประตู และมีป้อม 14 ป้อม ประตูเมืองและกำแพงเมือง ทางทิศเหนือนั้นกรมศิลปากรได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นประตูเมืองตามแบบในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นประตูยอด โดยแตกต่างจากประตูไม้ทาดินแดงในสมัยรัชกาลที่ 1 และประตูก่ออิฐข้างบนซึ่งใช้เป็นหอรบในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนกำแพงเมืองทางด้านป้อมมหากาฬนั้น ได้ถูกรื้อถอนออกเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนน และที่อยู่อาศัย จะเหลือให้เห็นเพียงระยะประมาณ 100 เมตร ติดต่อกับตัวป้อมมหากาฬ ด้านหลังกำแพงมีชุมชนแออัดอาศัยอยู่ ในปัจจุบัน มีแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็นสวนสาธารณะ ซึ่งอาจจะต้องย้ายชุมชนหรืออาจจะแบ่งกลุ่มให้ชาวชุมชนเป็นผู้ดแล.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และกำแพงเมืองและป้อมปราการกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ฝัน-หวาน-อาย-จูบ

ฝัน-หวาน-อาย-จูบ หรือ 4 Romance เป็นโครงการภาพยนตร์ไทย ที่รวมเรื่องราว 4 ความรัก 4 รูปแบบ สร้างโดยสหมงคลฟิล์มอินเตอร์เนชั่นแนลและบาแรมยู กำกับโดยผู้กำกับ 4 คนคือ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล (ฝัน), ปรัชญา ปิ่นแก้ว (หวาน), บัณฑิต ทองดี (อาย) และ ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล (จูบ) โดยมีรูปแบบ เรื่องราว วิธีเล่า และแนวความคิดที่ผ่านผู้กำกับแต่ละคน ทั้งรูปแบบมิวสิกคัล,ดราม่า,คอมิดี้,แอ็คชั่น ฯลฯ โดยมีวงออกัสมาร้องเพลงประกอบ ภาพยนตร์มีกำหนดออกฉายวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ด้วยจำนวนโรงฉาย 95 โรง ทำเงินในสัปดาห์แรกที่ 14,718,104.79 บาท.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และฝัน-หวาน-อาย-จูบ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University) หรือเรียกโดยย่อว่า ม. (TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" หรือ "ม..ก." (The University of Moral and Political Sciences หรือ UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน..

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519

รัฐประหาร 6 ตุลาคม..

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อและระยะทางของถนนในเขตกรุงเทพมหานคร เฉพาะถนนสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท รวมทั้งเส้นทางที่ตัดผ่านที่ดินของหน่วยงานราชการอื่นและเส้นทางของเอกชนที่ได้รับการกำหนดให้เป็น "ถนน" อย่างเป็นทางการจากกรุงเทพมหานครแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมเส้นทางที่ใช้สัญจรเฉพาะภายในพื้นที่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา บ้านจัดสรร และสถานที่เอกชนซึ่งมักมีการปิดกั้นหรือควบคุมทางเข้าออก.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตลาดในกรุงเทพมหานคร

ต่อไปนี้คือ ตลาดในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และรายชื่อตลาดในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ละอองเพชร แสงพราว

ละอองเพชร แสงพราว เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงเสียงดี ที่อยู่ในวงการมายาวนานหลายสิบปี โดยแม้จะอยู่ในวัยเกือบ 60 ปี ก็ยังเคยถูกเรียกตัวให้มาผลิตผลงานเพลงประดับวงการเพลงลูกทุ่ง ส่วนผลงานเพลงที่ออกมาก่อนหน้านั้น บางเพลงก็เป็นเพลงระดับอมตะ แต่น่าประหลาดที่ตัวเธอเองกลับไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของแฟนเพลง จนน่าจะได้ชื่อว่านักร้องอาภัพตัวจริงอีกคนของวงการลูกทุ่งไทย ละอองเพชร แสงพราว โด่งดังอย่างมากจากเพลง “ บวชพระดีแน่ “.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และละอองเพชร แสงพราว · ดูเพิ่มเติม »

วรเวช ดานุวงศ์

วรเวช ดานุวงศ์ (ชื่อเล่น: แดน) เป็นนักร้อง, นักแสดงและ ผู้กำกับภาพยนตร์ ชาวไทย และเป็นอดีตสมาชิกนักร้องกลุ่มดีทูบี.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และวรเวช ดานุวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง, วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1 วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา วัดระฆังโฆสิตารามมีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สถานีศิริราช (รถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีแดงอ่อน)

นีศิริราช (หรืออาจใช้ชื่อสถานีบางกอกน้อย) เป็นโครงการสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ซึ่งโครงการยังอยู่ระหว่างการวางแผนและออกแบบ มีแนวเส้นทางผ่านใจกลางพื้นที่อนุรักษ์เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ในกรุงเทพมหานคร และลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยามาจนถึงฝั่งธนบุรี จุดที่ตั้งสถานีแห่งนี้มีความสำคัญเพราะสามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเก่าแก่ที่สุดและเป็นสถาบันทางการแพทย์ที่ใหญ่และมีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศไทยได้โดยตรง ขณะเดียวกันก็ยังมีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับกรุงธนบุรีในอดีต และยังมีสถานีรถไฟธนบุรี ซึ่งเคยเป็นต้นทางของทางรถไฟสายใต้ และทางรถไฟสายมรณะ ไทย-พม่า ที่กองทัพญี่ปุ่นสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และสถานีศิริราช (รถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีแดงอ่อน) · ดูเพิ่มเติม »

จันทร์

ันทร์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

จารุพงษ์ ทองสินธุ์

รุพงษ์ ทองสินธุ์ เป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ผู้สูญหายไปในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โศกนาฏกรรมครั้งนั้น ได้กลายเป็นตัวแทนของความโหดร้ายในเหตุการณ์ 6 ตุลา เพื่อเป็นการระลึกถึงจารุพงษ์ ชื่อของเขาถูกนำไปเป็นชื่อห้องประชุม "จารุพงษ์ ทองสินธุ์" ของ สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ตั้งอยู่ที่ตึกกิจกรรม ท่าพระจันทร์) จารุพงษ์ ชื่อเล่นชื่อ เกี๊ยะ เกิดเมื่อ 7 กันยายน พ.ศ. 2500 อาศัยที่ 188 หมู่ที่ 2 ตำบล อิปัน อำเภอพระแสง บิดาชื่อ นายจินดา ทองสินธุ์ รับราชการเป็นครู มารดาชื่อ นางลิ้ม ทองสินธุ์ เป็นชาวสวน สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ก่อนเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงนั้น จารุพงษ์เป็นนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ปีที่ 2 เข้าร่วมกิจกรรมการเมืองซึ่งกำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนั้น โดยเป็นอุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) และกรรมการบริหารศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เพื่อนนักศึกษาคนหนึ่งสมัยเรียนธรรมศาสตร์ของจารุพงษ์ ทองสินธุ์ คือ ศาสตราจารย์ ดร.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และจารุพงษ์ ทองสินธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระจันทร์

นนพระจันทร์ ถนนพระจันทร์ (Thanon Phra Chan) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นตั้งต้นจากถนนหน้าพระธาตุไปสิ้นสุดลงที่ท่าพระจันทร์ ถนนพระจันทร์เป็นถนนที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่มีลักษณะเป็นถนนพูนดินให้สูงขึ้นยังไม่เป็นลักษณะของการปูอิฐหรือมีทางระบายน้ำ ซึ่งลักษณะเช่นนี้เริ่มสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนพระจันทร์เป็นถนนเลียบกำแพงพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าด้านทิศใต้ เริ่มต้นจากปลายถนนหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์บริเวณหน้าพระราชวังบวรสถานมงคลเลียบพระราชวังไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยาด้านป้อมพระจันทร์ ชื่อถนนพระจันทร์มาจากชื่อป้อมพระจันทร์บนกำแพงเมืองด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งต่อมาได้ถูกรื้อไป ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนเดิมให้กว้างขึ้น ทรงเริ่มสร้างถนนใหม่รอบพระบรมมหาราชวัง และถนนเลียบกำแพงพระนครด้านในจนเชื่อมถึงกัน เริ่มจากถนนเดิมคือ ถนนพระจันทร์ไปถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ถนนจักรเพชร และถนนมหาราช ซึ่งชื่อถนนเหล่านี้มาจากชื่อป้อมบนกำแพงพระนครทั้งสิ้น ถนนพระจันทร์ เป็นถนนสายเล็ก ๆ ขนาบไปกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้านท้องสนามหลวงกับกำแพงวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ริมสองฟากถนนเป็นแหล่งรวมของการเช่าขายพระเครื่อง และวัตถุมงคลต่าง ๆ ในแบบแบกะดิน รวมถึงหมอดูด้ว.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และถนนพระจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมหาราช

รถตุ๊กตุ๊กจอดอยู่บริเวณหน้าตลาดท่าเตียน ริมถนนมหาราช ถนนมหาราช (Thanon Maha Rat) เป็นถนนรอบพระนครด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ต่อจากถนนจักรเพชรที่สะพานเจริญรัชในย่านปากคลองตลาด ไปจดถนนพระจันทร์ที่ย่านท่าพระจันทร์ ในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ถนนมหาราช เป็นถนนดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เดิมเป็นถนนข้างกำแพงพระราชวังหลวงด้านตะวันตก เป็นถนนที่ตัดล้อมพระราชวังเช่นเดียวกับถนนหน้าพระลาน, ถนนท้ายวัง และถนนสนามไชย เดิมเป็นทางเดินแคบ ๆ ที่ปูด้วยอิฐรูแผ่นใหญ่ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนในแนวดังกล่าว เป็นถนนเลียบกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศตะวันตก เริ่มตั้งแต่ปากคลองตลาดเป็นจุดบรรจบของถนน 3 สาย คือ ถนนมหาราช, ถนนราชินี และถนนมหาไชย แล้วพระราชทานนามว่า "ถนนมหาราช" โดยชื่อถนนนั้นมีผู้สันนิษฐานว่ามาจากส่วนหนึ่งของคำว่าพระบรมมหาราชวัง.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และถนนมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวังหลัง

นนวังหลัง (Thanon Wang Lang) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นถนนแอสฟัลต์ 4 ช่องจราจร ไม่มีเกาะกลาง ความยาวประมาณ 950 เมตร เขตถนนกว้าง 14.50 เมตร ผิวจราจรกว้าง 11.40 เมตร เริ่มต้นจากท่าเรือพรานนกและท่าเรือวังหลัง (ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามท่าพระจันทร์) ตรงไปทางทิศตะวันตกในท้องที่แขวงศิริราช ตัดกับถนนอรุณอมรินทร์ที่ทางแยกศิริราช จากนั้นข้ามคลองบ้านขมิ้น ตั้งแต่จุดนี้ถือเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงศิริราชทางฟากเหนือกับแขวงบ้านช่างหล่อทางฟากใต้ของถนน ตรงไปทางทิศเดิมจนกระทั่งสิ้นสุดถนนที่ทางแยกพรานนก โดยมีแนวถนนตรงต่อเนื่องไปเป็นถนนพรานนก.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และถนนวังหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าวังหลังและท่าพรานนก

ท่าวังหลัง ท่าศิริราช ที่อยู่ใกล้เคียง ท่าวังหลัง หรือ ท่าพรานนก หรือ ท่าศิริราช เป็นท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกหรือฝั่งธนบุรี บริเวณปลายถนนวังหลัง ในพื้นที่แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยท่าเรือด่วนเจ้าพระยา และท่าเรือข้ามฟาก โดยแบ่งการให้บริการออกเป็นท่าเรือหลายท่าเรียงรายอยู่ในบริเวณเดียวกัน.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และท่าวังหลังและท่าพรานนก · ดูเพิ่มเติม »

ดีทูบี

ีทูบี (D2B) เป็นศิลปินกลุ่มในช่วง พ.ศ. 2544 – 2550 (ต่อมาในชื่อ แดน-บีม) ในเครือบริษัทอาร์เอส จำกัด (มหาชน) โดยที่มาของชื่อวงเกิดจากการนำอักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของสมาชิกทั้ง 3 คน (แดน บิ๊ก บีม) มารวมกัน ซึ่งถือได้ว่า D2B เป็นกลุ่มบอยแบนด์ไทยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก พวกเขาได้รับรางวัลต่างๆ มากมายจากหลายเวที รวมถึง ศิลปินยอดนิยมประจำประเทศไทยในงาน MTV Asia Awards ปี 2003 การรวมวงดีทูบีเกิดจาก "บิ๊ก" และ "แดน" ที่เข้าประกวดโครงการ "พานาโซนิค สตาร์ ชาเลนจ์" ในปี 2543 บวกกับ "บีม" ที่เข้ามาเรียนร้องเพลงและมีผลงานภาพยนตร์ในอาร์เอสอยู่ก่อนแล้ว ในช่วงปลายปี 2544 "บิ๊ก แดน บีม" มีผลงานเพลงร่วมกันในนาม "ดีทูบี" โดยมีเพลงที่สร้างชื่อ อาทิเช่น เพลง ต่อหน้าฉัน(เธอทำอย่างนั้นได้อย่างไร) ซ...(สั่นๆ) คนใจอ่อน(อ่อนใจ) เป็นต้น โดยดีทูบีได้มีผลงานในวงการบันเทิงเรื่อยมาจนกระทั่งในปี 2546 "บิ๊ก" หนึ่งในสมาชิกของวงดีทูบีประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นเจ้าชายนิทรา ทำให้วงดีทูบีถูกยุบลง หลังจากการประสบอุบัติเหตุของบิ๊กในปี 2546 แดนและบีมได้แยกออกมาตั้งวงใหม่ในชื่อ แดน-บีม ซึ่งภายหลังได้ยุบตัวลงในวันที่ 25 ตุลาคม 2550 อย่างไรก็ดี จากกระแสเรียกร้องจากแฟนคลับและความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทำให้เกิดคอนเสิร์ตเพื่อรำลึกถึงดีทูบีขึ้นใน พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2558 ซึ่งคอนเสิร์ตได้รับกระแสตอบรับที่ดีมากทั้งสองคอนเสิร์ต.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และดีทูบี · ดูเพิ่มเติม »

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันเปิดสอนวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด วิทยาศาสตร์การกีฬาและการพัฒนากีฬา และรังสีเทคน.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตึกโดม

ตึกโดม หรือ แม่โดม (ชื่อที่นิยมเรียกอย่างเคารพของบุคคลภายในมหาวิทยาลัย) แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือชื่ออย่างเป็นทางการเดิม อาคารโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอาคารทรงโดมยอดแหลม วางซ้อนตัวกัน 2 ชั้น ได้รับการออกแบบโดย นายจิตรเสน (หมิว) อภัยวงศ์ ด้วยการเชื่อมต่ออาคารทั้ง 4 หลัง ที่เป็นของกองพันทหารราบที่ 4 เดิม เข้าเป็นตึกเดียวกัน โดยจุดเชื่อมตรงกลางระหว่างอาคารที่ 2 และ 3 ได้ออกแบบให้มีลักษณะโดนเด่น ซึ่งศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองได้ให้แนวคิด เพื่อให้เป็นสถาปัตยกรรม ที่มีลักษณะที่โดดเด่น ไม่ได้เลียนแบบชาติอื่นแต่อย่างใด ตึกโดมในปัจจุบัน คงเหลือเพียงอาคาร 2 และ 3 เดิม เท่านั้น เนื่องได้มีการทุบตึกฝั่งเหนือและใต้ออกเพื่อสร้างตึกคณะเศรษฐศาสตร์ สำนักหอสมุด (หอสมุดปรีดี พนมยงค์) และอาคารเอนกประสงค์ ตัวหลังคาตึกโดมเป็นรูปทรงกรวยยอดแหลม 2 ชั้น มีความหมายดังนี้.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และตึกโดม · ดูเพิ่มเติม »

ประยุทธ์ อุดมศักดิ์

ประยุทธ์ อุดมศักดิ์ ชื่อจริง สวัสดิ์ ดอกมณี เจ้าของฉายา ม้าสีหมอก เก..

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และประยุทธ์ อุดมศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลื้มเอ็กซ์พลอร์

ปลื้มเอ็กซ์พลอร์(ปลื้ม EXPLORE!) เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทวาไรตี้เกี่ยวกับอาหาร โดยมีรูปแบบที่เป็นจุดเด่นขรายการนี้ คือการเดินชิมอาหารตามข้างถนนรวมถึงร้านอาหารต่างๆ โดยมีการสอดแทรกเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีการใช้ชีวิต รวมถึงการแนะนำสถานที่ต่างๆ เช่น วัด หรือชุมชน ในรูปแบบที่เป็นกันเอง โดยรายการนี้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี โดยเสนอทุกวันอาทิตย์ เวลา 16:30 น. - 17:00 น. (ก่อนรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เสนอในเวลา 17:00-17:30 น.) ออกอากาศครั้งแรกในวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 รายการมีคำขวัญ คือ ปลื้มเดินดิน ชิมทั่วทุกถิ่น.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และปลื้มเอ็กซ์พลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมพระจันทร์

ป้อมพระจันทร์ เป็นป้อมรอบกำแพงพระนคร อยู่ด้านตะวันตกริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าพระจันทร์ในปัจจุบัน ใช้เป็นป้อมของพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าด้วย ปัจจุบันรื้อแล้ว สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นป้อม 1 ใน 14 ป้อมที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันรักษาพระนคร เมื่อมีการรื้อป้อมแล้ว ชื่อป้อมพระจันทร์ได้กลายเป็นชื่อถนนซึ่งตัดผ่านบริเวณนี้ และเป็นชื่อท่าเรือที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และป้อมพระจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ใหม่ เจริญปุระ

ใหม่ เจริญปุระ (เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2512) เป็นนักร้องและนักแสดงชาวไทยระดับซุปเปอร์สตาร์หญิงแถวหน้าของเมืองไทย มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกคือ ขอแค่คิดถึง ในปี พ.ศ. 2527 โดยใช้ชื่อว่า "ใหม่ สิริวิมล" และประเดิมละครเรื่องแรก คนเริงเมือง พ.ศ. 2531 ให้กับไทยทีวีสีช่อง 3 อัลบั้มชุดแรก ไม้ม้วน ในปี พ.ศ. 2532 ประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลนักร้องหน้าใหม่จากเวทีสีสันอะวอดส์ และในปี พ.ศ. 2535 อัลบั้ม ความลับสุดขอบฟ้า สามารถทำสถิติ นักร้องหญิงของแกรมมี่คนแรกที่สร้างยอดขายเทปทะลุ 2 ล้านตลับ เธอยังสามารถคว้ารางวัลจากสีสันอะวอดส์อีกครั้งในฐานะศิลปินหญิงยอดเยี่ยมจากอัลบั้ม "แผลงฤทธิ์" ในปี พ.ศ. 2541 และใหม่ยังได้รับฉายา Queen of poprock ยุค 90 อีกด้ว.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และใหม่ เจริญปุระ · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลศิริราช

รงพยาบาลศิริราช เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของ ประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เคยเป็นที่ประทับรักษาพระประชวรของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ เช่น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร.

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และโรงพยาบาลศิริราช · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

รงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์).

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะคิงเนเวอร์สไมลส์

อะคิงเนเวอร์สไมลส์ (The King Never Smiles; "กษัตริย์ไม่เคยยิ้ม") เป็นหนังสือว่าด้วยพระราชประวัติอย่างไม่เป็นทางการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและราชวงศ์จักรี เขียนโดย พอล แฮนด์ลีย์ (Paul Handley) นักเขียนชาวอเมริกัน จัดพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเยล (Yale University Press) และออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2549 หนังสือนี้ทางการไทยจัดให้เป็น "หนังสือต้องห้าม" อย่างไม่เป็นทางการ ตั้งแต่ก่อนตีพิมพ์ โดยมิได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการในกฎหมายว่าด้วยการจดแจ้งการพิมพ์ ต่อมามีหนังสือกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่ ตช 0016.146/289 ลงวันที่ 18 มกราคม 2551 ว่าหนังสือเล่มนี้เป็น "หนังสือต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร", ประชาไท, 29 มกราคม..

ใหม่!!: ท่าพระจันทร์และเดอะคิงเนเวอร์สไมลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ตลาดท่าพระจันทร์แยกท่าพระจันทร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »