โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทีซีพี

ดัชนี ทีซีพี

เกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล หรือ ทีซีพี (Transmission Control Protocol: TCP) เป็นหนึ่งในโพรโทคอลหลักในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน้าที่หลักของทีซีพี คือ ควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างแม่ข่ายถึงเครือข่าย เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยตัวโพรโทคอลจะรับประกันความถูกต้อง และลำดับของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่าย นอกจากนั้นทีซีพียังช่วยจำแนกข้อมูลให้ส่งผ่านไปยังแอปพลิเคชัน ที่ทำงานอยู่บนแม่ข่ายเดียวกันให้ถูกต้องด้วย งานหลักที่สำคัญของทีซีพีอีกงานหนึ่งคือ เป็นโพรโทคอลที่ขั้นกลางระหว่างแอปพลิเคชันและเครือข่ายไอพี ทำให้แอปพลิเคชันจากแม่ข่ายหนึ่ง สามารถส่งข้อมูลออกยังอีกแม่ข่ายหนึ่งผ่านเครือข่ายเปรียบเสมือนมีท่อส่งข้อมูลระหว่างกัน ทีซีพี เป็นโพรโทคอลที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลกของอินเทอร์เน็ต มีแอปพลิเคชันจำนวนมากที่ใช้โพรโทคอลทีซีพีเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อ เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นต้น หมวดหมู่:โพรโทคอลบนอินเทอร์เน็ต.

18 ความสัมพันธ์: ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่อเอชทีทีพีแบบคงอยู่ยูดีพีระบบโทรศัพท์ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)ซีเชลล์แบบจำลองโอเอสไอโพรโทคอลสแตกโทรคมนาคมเว็บมินเอชทีทีพีเอฟทีพีเอสเอ็มทีพีเอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์เอ็นเอ็นทีพีเนตเวิร์กสวิตช์

ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต

รโทคอลอินเทอร์เน็ต เป็นมาตรฐานที่ทำให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมต่อเข้าหากัน และติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยการกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยใช้แนวคิดของการแบ่งลำดับชั้นโปรโตโคล.

ใหม่!!: ทีซีพีและชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

การเชื่อมต่อเอชทีทีพีแบบคงอยู่

ปรียบเทียบระหว่างการเชื่อมต่อหลายครั้ง กับการเชื่อมต่อแบบคงอยู่ การเชื่อมต่อเอชทีทีพีแบบคงอยู่ (HTTP persistent connection) คือแนวคิดของการใช้การเชื่อมต่อบนเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) อันเดียวกันในการส่งข้อความร้องขอและข้อความตอบรับของเกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ (HTTP) ซึ่งปกติจะเป็นการเปิดการเชื่อมต่อใหม่ทุกครั้งเมื่อการรับส่งข้อความกันหนึ่งคู.

ใหม่!!: ทีซีพีและการเชื่อมต่อเอชทีทีพีแบบคงอยู่ · ดูเพิ่มเติม »

ยูดีพี

เกณฑ์วิธีเดทาแกรมผู้ใช้ หรือ ยูดีพี (User Datagram Protocol: UDP) เป็นโพรโทคอลหลักในชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต การส่งข้อมูลผ่านยูดีพีนั้น คอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลขนาดเล็กที่เรียกว่า ดาทาแกรม (datagram) ผ่านเครือข่ายไปยังเครื่องปลายทาง โดย UDP จะไม่รับประกันความน่าเชื่อถือและลำดับของเดทาแกรม อย่างที่ทีซีพีรับประกัน ซึ่งหมายความว่าเดทาแกรมอาจมาถึงไม่เรียงลำดับ หรือสูญหายระหว่างทางได้ แอปพลิเคชันที่ใช้ยูดีพีเป็นฐานในการส่งข้อมูลคือ ระบบการตั้งชื่อโดเมน, สื่อแบบส่งต่อเนื่อง, การสนทนาบนไอพี และเกมออนไลน์ หมวดหมู่:อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล หมวดหมู่:มาตรฐานอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: ทีซีพีและยูดีพี · ดูเพิ่มเติม »

ระบบโทรศัพท์

รูปแสดงระบบโทรศัพท์พื้นฐาน ระบบโทรศัพท์ (telephony) เป็นสาขาหนึ่งของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา, การนำไปประยุกต์ใช้งาน, การใช้งานบริการโทรคมนาคมสำหรับการส่งผ่านแบบอิเล็กทรอนิกส์ของเสียง, โทรสาร และข้อมูลระหว่างบุคคลที่อยู่ห่างไกล.

ใหม่!!: ทีซีพีและระบบโทรศัพท์ · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)

ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91) ครอบคลุมความเป็นช่างประดิษฐ์และความก้าวหน้าทางนวัตกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกาภายในบริบททางประวัติศาสตร์, ย้อนไปตั้งแต่ยุคร่วมสมัยถึงยุคปัจจุบัน, ซึ่งได้บรรลุความสำเร็จโดยนักประดิษฐ์ทั้งหลาย ผู้เป็นทั้งประชากรโดยกำเนิดหรือได้รับเป็นพลเมืองของประเทศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ทีซีพีและลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91) · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์

วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ (Windows Live Messenger หรือ WLM) เป็นโปรแกรมประเภทเมสเซนเจอร์ ซึ่งเป็นฟรีแวร์ จากไมโครซอฟท์ สำหรับวินโดวส์ เอกซ์พี วินโดวส์ วิสตา และวินโดวส์โมบาย ซึ่งก่อนหน้านี้จะรู้จักกันในชื่อของ "เอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์" (MSN Messenger) และยังเป็นที่นิยมอย่างสูงในประเทศไทย ผู้ใช้มักยังเรียกสั้น ๆ ว่า "เอ็มเอสเอ็น"หรือ"เอ็ม" ตามชื่อเก่า วินโดวส์ไลฟ์เมสเซนเจอร์ เป็นส่วนหนึ่งของชุดบริการออนไลน์วินโดวส์ไลฟ์ สามารถรองรับระบบปฏิบัติการ วินโดวส์เอ็กพี ขึ้นไป รุ่นเสถียรล่าสุดคือ 14.0.8117.416 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นรุ่นที่รองรับทั้งหมด 34 ภาษา และเป็นรุ่นแรกที่รองรับการแสดงผลภาษาไทย ซึ่งประเทศไทยมีผู้ใช้ วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์อยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน โดยส่งข้อความโดยเฉลี่ย 70 ล้านข้อความต่อวัน หรือประมาณ 2.2 พันล้านข้อความต่อเดือน ในวันที่ 8 เมษายน..

ใหม่!!: ทีซีพีและวินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

#ทอร์เบราว์เซอร์ --> ทอร์ (Tor) เป็นซอฟต์แวร์เสรี (ฟรี) ที่ช่วยให้สื่อสารทางอินเทอร์เน็ตอย่างนิรนามได้ด้วยการจัดเส้นทางการสื่อสารแบบหัวหอม รวมทั้งช่วยให้สามารถเรียกดูเว็บไซต์บางแห่งที่ถูกเซ็นเซอร์ได้ ส่วนชื่อเป็นอักษรย่อจากโปรเจ็กต์ซอฟต์แวร์ดั้งเดิมคือ "The Onion Router" (เราเตอร์หัวหอม) ทอร์ส่งการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายทั่วโลก ฟรี ให้บริการโดยอาสาสมัคร และมีสถานีส่งต่อ/รีเลย์มากกว่า 7,000 สถานี เพื่อซ่อนตำแหน่งและการใช้งานของผู้ใช้จากใครก็ได้ที่ทำการเพื่อสอดแนมทางเครือข่าย หรือเพื่อวิเคราะห์การสื่อสาร เพราะการใช้ทอร์จะทำให้ตามรอยกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตกลับไปหาผู้ใช้ได้ยากขึ้น ซึ่งรวมทั้ง "การเยี่ยมใช้เว็บไซต์ การโพสต์ข้อความออนไลน์ การส่งข้อความทันที และรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ" ทอร์มุ่งหมายเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ รวมทั้งป้องกันเสรีภาพและให้สมรรถภาพในการสื่อสารอย่างเป็นส่วนตัว โดยป้องกันการสื่อสารไม่ให้เฝ้าสังเกตได้ การจัดเส้นทางแบบหัวหอม (Onion routing) ทำให้เกิดผลโดยการเข้ารหัสลับในชั้นโปรแกรมประยุกต์ของโพรโทคอลสแตกที่ใช้ในการสื่อสาร โดยทำเป็นชั้น ๆ เหมือนกับของหัวหอม คือทอร์จะเข้ารหัสข้อมูล รวมทั้งเลขที่อยู่ไอพีของโหนดหรือสถานีต่อไปเป็นชั้น ๆ แล้วส่งข้อมูลผ่านวงจรเสมือนที่ประกอบด้วยสถานีรีเลย์ของทอร์ที่เลือกโดยสุ่มเป็นลำดับ ๆ สถานีรีเลย์แต่ละสถานีจะถอดรหัสชั้นการเข้ารหัสชั้นหนึ่ง เพื่อหาว่า สถานีไหนเป็นรีเลย์ต่อไปในวงจร แล้วส่งข้อมูลเข้ารหัสที่เหลือไปให้ สถานีสุดท้ายจะถอดรหัสชั้นลึกสุด แล้วส่งข้อมูลดั้งเดิมไปยังเป้าหมายโดยไม่เปิดเผยและก็ไม่รู้ด้วยถึงเลขที่อยู่ไอพีซึ่งเป็นแหล่งเบื้องต้น เพราะการจัดเส้นทางการสื่อสารจะปิดไว้ส่วนหนึ่ง ณ สถานีเชื่อมต่อทุก ๆ สถานีภายในวงจร วิธีการนี้กำจัดจุด ๆ เดียวชนิดที่การสอดแนมทางเครือข่ายอาจกำหนดต้นปลายการสื่อสาร แต่ฝ่ายตรงข้ามก็อาจพยายามระบุผู้ใช้โดยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งอาจทำได้โดยการถือเอาประโยชน์จากจุดอ่อนของซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เช่น สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐมีเทคนิคที่ใช้จุดอ่อนหนึ่งที่ตั้งชื่อรหัสว่า EgotisticalGiraffe ในเว็บเบราว์เซอร์มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ล้าสมัยรุนหนึ่ง ที่เคยรวมแจกจ่ายกับชุดโปรแกรมทอร์ และโดยทั่วไป สำนักงานจะเพ่งเล็งเฝ้าสังเกตผู้ใช้ทอร์ในโปรแกรมการสอดแนม XKeyscore ขององค์กร การโจมตีทอร์เป็นประเด็นงานวิจัยที่ยังดำเนินการอยู่ ซึ่งโปรเจ็กต์ทอร์เองก็สนับสนุน อย่างไรก็ดี ไม่ใช่เพียงแค่ครั้งหนึ่งเท่านั้นเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ที่ทอร์ได้พัฒนาขึ้นโดยบุคคลที่อยู่ใต้สัญญาการว่าจ้างจากสำนักงานโปรเจ็กต์การวิจัยก้าวหน้าของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (DARPA) และจากแล็บวิจัยกองทัพเรือสหรัฐ (U.S. Naval Research Laboratory) แต่ตั้งแต่เริ่มโครงการมา เงินทุนโดยมากก็มาจากรัฐบาลกลางสหรั.

ใหม่!!: ทีซีพีและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) · ดูเพิ่มเติม »

ซีเชลล์

ซีเชลล์ (Zsh หรือ Z Shell) เป็น เชลล์ยูนิกซ์ ที่สามารถใช้เป็นเชลล์ปฏิสัมพันธ์ และเป็นตัวแปลคำสั่งภาษาที่ทรงพลังสำหรับการเขียนเชลล์สคริปต์ ซีเชลล์เป็นส่วนขยายของบอร์นเชลล์ที่ได้รับการปรับปรุงเป็นอย่างมาก รวมถึงการเพิ่มฟังก์ชั่นบางประการของแบช เคเชล และทีซีเชล.

ใหม่!!: ทีซีพีและซีเชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

แบบจำลองโอเอสไอ

แบบจำลองโอเอสไอ (Open Systems Interconnection model: OSI model) (ISO/IEC 7498-1) เป็นรูปแบบความคิดที่พรรณนาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสารโดยแบ่งเป็นชั้นนามธรรม และโพรโทคอลของระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) แบบจำลองนี้จะทำการจับกลุ่มรูปแบบฟังก์ชันการสื่อสารที่คล้ายกันให้อยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่งในเจ็ดชั้นตรรกะ ชั้นใดๆจะให้บริการชั้นที่อยู่บนและตัวเองได้รับบริการจากชั้นที่อยู่ด้านล่าง ตัวอย่างเช่นชั้นที่ให้การสื่อสารที่ error-free ในเครือข่ายจะจัดหาเส้นทางที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันชั้นบน ในขณะที่มันเรียกชั้นต่ำลงไปให้ส่งและรับแพ็คเก็ตเพื่อสร้างเนื้อหาของเส้นทางนั้น งานสองอย่างในเวลาเดียวกันที่ชั้นหนึ่งๆจะถูกเชื่อมต่อในแนวนอนบนชั้นนั้นๆ ตามรูปผู้ส่งข้อมูลจะดำเนินงานเริ่มจากชั้นที่ 7 จนถึงชั้นที่ 1 ส่งออกไปข้างนอกผ่านตัวกลางไปที่ผู้รับ ผู้รับก็จะดำเนินการจากชั้นที่ 1 ขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 7 เพื่อให้ได้ข้อมูลอันนั้น ตัวอย่างการทำงานของ OSI ชั้นที่ 5.

ใหม่!!: ทีซีพีและแบบจำลองโอเอสไอ · ดูเพิ่มเติม »

โพรโทคอลสแตก

โพรโทคอลสแตก (Protocol stack) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้ชุดโพรโทคอลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใช้งานได้จริง ชุดโพรโทคอลและโพรโทคอลสแตกมักใช้แทนกันได้ แต่ถ้าหากจะกล่าวให้แม่นยำแล้วชุดโพรโทคอลคือนิยาม และโพรโทคอลสแตกคือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ได้จริงตามนิยาม โพรโทคอลแต่ละตัวในชุดโพรโทคอลหนึ่งมักออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์เดียว การทำให้เป็นโมดูลแบบนี้ทำให้การออกแบบและการทดสอบง่ายขึ้น เนื่องจากว่าส่วนมากแล้วแต่ละโมดูลติดต่อกับโมดูลอื่นๆ อีกสองโมดูล ซึ่งสามารถจินตนาการให้เป็นสแตกได้ โดยโมดูลที่อยู่ด้านล่างของสแตกจัดการกับการสื่อสารในระดับล่างเช่นการตอบโต้กับฮาร์ดแวร์ ชั้นที่สูงขึ้นมาก็เพิ่มลักษณะเด่นขึ้นมากขึ้น โดยอาศัยชั้นที่อยู่ล่างกว่าจัดการการสื่อสารในระดับต่ำให้ โปรแกรมประยุกต์มักติดแต่เฉพาะชั้นบนสุดของโพรโทคอลสแตก ดูเพิ่มในแบบจำลองโอเอสไอ โพรโทคอลสแตกที่ใช้กันทั่วไปมีลักษณะด้านล่าง หมวดหมู่:เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:ซอฟต์แวร์ หมวดหมู่:โพรโทคอลเครือข่าย.

ใหม่!!: ทีซีพีและโพรโทคอลสแตก · ดูเพิ่มเติม »

โทรคมนาคม

ผลงานเลียนแบบโทรศัพท์ต้นแบบของอเล็กซานเดอร์ แกรฮ์ม เบลล์ ที่พิพิธภัณฑ์ Musée des Arts et Métiers ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สายอากาศการสื่อสารดาวเทียมแบบ parabolic ที่สถานีขนาดใหญ่ที่สุดใน Raisting, Bavaria, Germany โทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึงการสื่อสารระยะไกล โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านทางสัญญาณไฟฟ้า หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เนื่องจากเทคโนโลยีที่แตกต่างกันจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับคำนี้ จึงมักใช้ในรูปพหูพจน์ เช่น Telecommunications เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมในช่วงต้นประกอบด้วยสัญญาณภาพ เช่น ไฟสัญญาณ, สัญญาณควัน, โทรเลข, สัญญาณธงและ เครื่องส่งสัญญาณด้วยกระจกสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ ตัวอย่างอื่นๆของการสื่อสารโทรคมนาคมก่อนช่วงที่ทันสมัยได่แก่ข้อความเสียงเช่นกลอง, แตรและนกหวีด เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมด้วยไฟฟ้าและแม่เหล็กไฟฟ้าได้แก่โทรเลข, โทรศัพท์และ โทรพิมพ์, เครือข่าย, วิทยุ, เครื่องส่งไมโครเวฟ, ใยแก้วนำแสง, ดาวเทียมสื่อสารและอินเทอร์เน็ต การปฏิวัติ ในการสื่อสารโทรคมนาคมไร้สายเริ่มต้นขึ้นในปี 190X กับการเป็นผู้บุกเบิกพัฒนาใน การสื่อสารทางวิทยุโดย Guglielmo มาร์โคนี ที่ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ในปี 1909 สำหรับความพยายามของเขา นักประดิษฐ์ผู้บุกเบิกและนักพัฒนาอื่นๆที่น่าทึ่งมากๆในด้านการ สื่อสารโทรคมนาคมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวมถึง ชาร์ลส์ วีทสโตน และ ซามูเอล มอร์ส (โทรเลข), Alexander Graham Bell (โทรศัพท์), เอ็ดวิน อาร์มสตรอง และลี เดอ ฟอเรสท์ (วิทยุ) เช่นเดียวกับที่ จอห์น โลจี แบร์ด และ Philo Farnsworth (โทรทัศน์) กำลังการผลิตที่มีประสิทธิภาพของโลกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมสองทางเพิ่มขึ้นจาก 281 เพตาไบต์ของข้อมูล (ที่ถูกบีบอัดอย่างดีที่สุด) ในปี 1986 เป็น 471 petabytes ในปี 1993 และ 2.2 (บีบอัดอย่างดีที่สุด) เอ็กซาไบต์ ในปี 2000 และ 65 (บีบอัดอย่างดีที่สุด) exabytes ในปี 2007 นี่คือเทียบเท่าข้อมูลของสองหน้า หนังสือพิมพ์ต่อคนต่อวันในปี 1986 และ หกเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ต่อคนต่อวันในปี 2007 ด้วยการเจริญเติบโตขนาดนี้, การสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเศรษฐกิจโลกและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกประมาณ$ 4.7 ล้านล้านภาคเศรษฐกิจในปี 2012 รายได้จากการให้บริการของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกถูกประเมินไว้ที่ $1.5 ล้านล้านในปี 2010 สอดคล้องกับ 2.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก (GDP).

ใหม่!!: ทีซีพีและโทรคมนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เว็บมิน

ว็บมิน (Webmin) เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่ช่วยในการจัดการระบบในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ในตระกูลยูนิกซ์ โดยการใช้จะทำผ่านเว็บเบราว์เซอร์เช่น Internet Explorer Google Chrome Mozilla Firefox ส่วนใหญ่ของเว็บมินพัฒนาด้วยภาษาเพิร์ล และทำงานร่วมกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ มักใช้ TCP พอร์ตหมายเลข 10000 ในการติดต่อ และสามารถใช้โพรโทคอล SSL ถ้ามีโปรแกรม OpenSSL ติดตั้งไว้แล้ว โครงสร้างภายในเป็นลักษณะโมดูล ซึ่งมีส่วนติดต่อไปยังไฟล์เก็บการตั้งค่าและอีกส่วนไปยังเซิร์ฟเวอร์เว็บมิน โครงสร้างนี้มีความยืดหยุ่น ผู้ที่สนใจสามารถเพิ่มเติมขีดความสามารถใหม่ โดยการเขียนส่วนเสริมเพิ่มเองได้ เว็บมินยังยอมให้ควบคุมเครื่องหลายเครื่องพร้อมกัน เว็บมินเป็นเว็บโปรแกรมที่เผยแพร่โดยใช้สัญญาอนุญาตแบบ BSD license ผู้พัฒนาหลักคือ เจมี แคเมรอน (Jamie Cameron) ชาวออสเตรเลีย เว็บมินมีโครงการพี่น้องที่ชื่อ ยูสเซอร์มิน (Usermin) สำหรับควบคุมงานทั่วไปที่ไม่เพียงแค่งานบริหารร.

ใหม่!!: ทีซีพีและเว็บมิน · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีทีพี

กณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี (HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร (resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิพร็อกซี เกตเวย์ และทุนเนล เอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้ ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วยเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) ไปยังพอร์ตเฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "HTTP/1.1 200 OK" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL)) โดยใช้ http: หรือ https: เป็นแผนของตัวระบุ (URI scheme).

ใหม่!!: ทีซีพีและเอชทีทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอฟทีพี

อฟทีพี หรือ เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (FTP: File Transfer Protocol) เป็นโพรโทคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพีเช่นอินเทอร์เน็ต เอฟทีพีถูกสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบระบบรับ-ให้บริการ (client-server) และใช้การเชื่อมต่อสำหรับส่วนข้อมูลและส่วนควบคุมแยกกันระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย โปรแกรมประยุกต์เอฟทีพีเริ่มแรกโต้ตอบกันด้วยเครื่องมือรายคำสั่ง สั่งการด้วยไวยากรณ์ที่เป็นมาตรฐาน แต่ก็มีการพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ขึ้นมาสำหรับระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปที่ใช้กันทุกวันนี้ เอฟทีพียังถูกใช้เป็นส่วนประกอบของโปรแกรมประยุกต์อื่นเพื่อส่งผ่านไฟล์โดยอัตโนมัติสำหรับการทำงานภายในโปรแกรม เราสามารถใช้เอฟทีพีผ่านทางการพิสูจน์ตัวจริงด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน หรือเข้าถึงด้วยผู้ใช้นิรนาม นอกจากนี้ยังมีทีเอฟทีพี (Trivial File Transfer Protocol) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเอฟทีพีที่ลดความซับซ้อนลง แต่ไม่สามารถควบคุมให้ทำงานประสานกันได้ และไม่มีการพิสูจน์ตัวจริง.

ใหม่!!: ทีซีพีและเอฟทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอสเอ็มทีพี

กณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย หรือ เอสเอ็มทีพี (Simple Mail Transfer Protocol: SMTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับส่งอีเมลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต SMTP เป็นโพรโทคอลแบบข้อความที่เรียบง่าย ทำงานอยู่บนโพรโทคอล TCP พอร์ต 25 ในการส่งอีเมลไปยังที่อยู่ที่กำหนด จำเป็นต้องใช้ค่า MX (Mail eXchange) ของ DNS ปัจจุบันมี mail transfer agent กว่า 50 โปรแกรมที่สามารถใช้ SMTP ได้ โดยมีโปรแกรม Sendmail เป็นโปรแกรมแรกที่นำ SMTP ไปใช้ โปรแกรมตัวอื่นได้แก่ Postfix, qmail และ Microsoft Exchange เป็นต้น.

ใหม่!!: ทีซีพีและเอสเอ็มทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์

อ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์ (MSN Messenger) เป็นโปรแกรมเมสเซนเจอร์จากไมโครซอฟท์ และเป็นเมสเซนเจอร์ที่นิยมใช้มากที่สุดในประเทศไทย มักถูกเรียกสั้นๆว่า "เอ็มเอสเอ็น"หรือ"เอ็ม" เอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์มักถูกเข้าใจว่าเป็นบริการดอตเน็ตเมสเซนเจอร์ (.NET Messenger Service - โพรโทคอลและเซิร์ฟเวอร์ที่อนุญาตให้ระบบจัดการได้) มากกว่าจะเป็นเพียงตัวไคลเอนต.

ใหม่!!: ทีซีพีและเอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นเอ็นทีพี

เกณฑ์วิธีขนส่งข่าวบนเครือข่าย หรือ เอ็นเอ็นทีพี (Network News Transfer Protocol: NNTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการอ่านและเขียนกลุ่มข่าว (Usenet) และใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างแต่ละเซิร์ฟเวอร์กลุ่มข่าว โพรโทคอล NNTP พัฒนาต่อมาจากโพรโทคอล SMTP โดยใช้พอร์ต 119 ของโพรโทคอล TCP แต่ถ้าใช้การเชื่อมต่อแบบเข้ารหัสด้วย SSL จะใช้พอร์ต 563 แทนและเรียกว่า NNTPS หมวดหมู่:โพรโทคอลชั้นโปรแกรมประยุกต์ หมวดหมู่:มาตรฐานอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:ยูสเน็ต.

ใหม่!!: ทีซีพีและเอ็นเอ็นทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เนตเวิร์กสวิตช์

นทเวิร์คสวิตช์ (Network Switch) เป็นอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกลุ่มเครือข่ายหรืออุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยทั่วไปคำๆนี้หมายถึง network bridge หรือสะพานเครือข่ายหลายพอร์ตที่ประมวลและจัดเส้นทางข้อมูลที่ชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (data link layer - เลเยอร์ 2) ของแบบจำลองโอเอสไอ.

ใหม่!!: ทีซีพีและเนตเวิร์กสวิตช์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

TCPTransmission Control Protocolเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »