โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทิวซิดิดีส

ดัชนี ทิวซิดิดีส

ทิวซิดิดีส (Thucydides; Θουκυδίδης,; ช่วง 460 – 395 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก และเป็นผู้เขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน (History of the Peloponnesian War) ซึ่งบรรยายถึงเหตุการณ์ และชนวนสาเหตุของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่างสปาร์ตากับเอเธนส์ในช่วงระหว่าง ปี 500 ถึง 411 ก่อนคริสต์ศักราช ตัวทิวซีดิดีสเองก็มีความเกี่ยวข้องกับสงครามนี้ในฐานะนักการทหารระดับแม่ทัพของเอเธนส์ และเคยนำทัพเอเธนส์รบในต่างแดนหลายครั้ง แต่ความล้มเหลวในสมรภูมิที่แอมฟิโปลิส ทำให้ท่านถูกเนรเทศตามกฎหมายของเอเธนส์ ทิวซิดิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมาตรฐานที่เข้มงวดในเรื่องของการรวบรวมพยานหลักฐาน และการวิเคราะห์ในด้านเหตุและผล โดยปราศจากการอ้างอิงถึงความเกี่ยวข้อง หรือการแทรกแทรงจากเทพเจ้า ซึ่งจะพบได้จากสรุปใจความสำคัญในบทคำนำในงานเขียนของท่าน ทิวซิดิดีสได้รับสมญานามว่า เป็นบิดาแห่งสำนักความคิดสัจนิยมทางการเมือง ซึ่งมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาติว่า เป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอำนาจมากกว่าความชอบธรรม นอกจากนี้ทิวซิดิดีสยังแสดงความสนใจในเรื่องการใช้ประวัติศาสตร์ศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เพื่ออธิบายถึงพฤติกรรมในวิกฤตการณ์ดังเช่น การเกิดโรคระบาด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ดังเช่นกรณีของชาวเมเลียน) และสงครามกลางเมือง งานเขียนสำคัญจากยุคสมัยกรีกโบราณของท่าน ยังคงได้รับการศึกษาอย่างแพร่หลายในสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และบทสนทนาโบราณระหว่างทหารเอเธนส์กับผู้ปกครองชาวเมเลียน (The Melian Dialogue) ที่บันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน ก็ยังทรงอิทธิพลต่องานเขียนในด้านทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาจนปัจจุบัน.

19 ความสัมพันธ์: ชาวกรีกบทสดุดีพ.ศ. 144กรีซยุคอาร์เคอิกยุทธการที่เทอร์มอพิลีวรรณกรรมกรีกโบราณศิลปะของการเขียนภาพ (เฟอร์เมร์)สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซอีเลียดคลื่นสึนามิความเอนเอียงเพื่อยืนยันประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียนเพริคลีสเพลลาเหตุแห่งสงครามเอเธนส์เอเธนส์ยุคคลาสสิกเธมิสโตคลีส

ชาวกรีก

วกรีก (Έλληνες) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการกระจายที่กรีซ, ไซปรัส, อานาโตเลียตะวันตก, อิตาลีใต้ และอีกหลายภูม.

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและชาวกรีก · ดูเพิ่มเติม »

บทสดุดี

ทสดุดี (Panegyric) คือ สุนทรพจน์อย่างเป็นทางการ หรือต่อมาหมายถึงบทเขียนที่ใช้ในการกล่าวสรรเสริญบุคคลหรือปรัชญาความคิด และเป็นงานที่เป็นที่ทำการศึกษากันมากที่ไม่ใช่บทยกย่อง (eulogy) และมิใช่งานเขียนที่มีจุดประสงค์ในการวิพากษ์ “Panegyric” มาจากภาษากรีก “πανηγυρικός” ที่แปลว่า “สุนทรพจน์ที่เหมาะกับที่ประชุมใหญ่” (ศาสนชุมนุมของกรีก (Panegyris)) ในเอเธนส์สุนทรพจน์ดังกล่าวมักจะกล่าวเนื่องในโอกาสที่มีเทศกาลหรือการกีฬาระดับชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ในการปลุกเร้าใจพลเมืองให้เห็นดีเห็นงามไปกับการกระทำอันเป็นวีรบุรุษของบรรพบุรุษ บทสดุดีที่มีชื่อเสียงที่สุดก็ได้แก่บทสดุดี “Olympiacus” โดย จอร์จิอัส, “Olympiacus” โดย ลิเซียส และ “Panegyricus” และ “Panathenaicus” โดยอิโซคราทีส แต่ไม่ได้กล่าวจริง การกล่าวสดุดีเนื่องในโอกาสงานศพเช่นสุนทรพจน์ที่เขียนโดยนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกธูซิดิดีสที่กล่าวโดยเพรีคลีสก็อยู่ในประเภทที่เรียกว่า “บทสดุดี” ในสมัยโรมันโบราณบทสดุดีจำกัดใช้ในการสรรเสริญผู้ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น และใช้ “บทสรรเสริญผู้ตาย” (funeral oration) สำหรับผู้เสียชีวิตไปแล้วเท่านั้น ตัวอย่างของบทสดุดีที่มีชื่อเสียงในภาษาลาตินก็ได้แก่บทสดุดีที่กล่าวโดยพลินิผู้เยาว์ในวุฒิสภาโรมันเนื่องในโอกาสที่ได้รับตำแหน่งเป็นกงสุล ที่มีเนื้อหาบางส่วนพาดพิงไปถึงบทยกย่องจักรพรรดิทราจัน เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 3 และระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียนก็เกิดมีประเพณีการสรรเสริญคุณสมบัติของความเป็นมหาวีรบุรุษของพระจักรพรรดิที่กำลังทรงราชย์อยู่ในงานเทศกาลทางวรรณกรรม ในปี..

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและบทสดุดี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 144

ทธศักราช 144 ใกล้เคียงกับ ก่อน..

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและพ.ศ. 144 · ดูเพิ่มเติม »

กรีซยุคอาร์เคอิก

กรีซยุคอาร์เคอิก (Archaic Greece) ยุคอาร์เคอิกของกรีซ คือสมัยอารยธรรมของประวัติศาสตร์กรีซโบราณที่รุ่งเรืองราวระหว่าง 800 ถึง 480 ปีก่อนคริสต์ศักราช อันเป็นยุคก่อนก่อนหน้ากรีซยุคคลาสสิก (ศตวรรษที่ 4 และ 5 ก่อนคริสตกาล) กรีซในยุคอาร์เคอิกเป็นช่วงเวลาที่จำนวนประชากรกรีกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีลำดับเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์ที่พลิกโฉมหน้าอารยธรรมของชาวกรีก ณ ช่วงสิ้น.ที่ 8 ก่อนคริสตกาล จนกลายสภาพไปในลักษณะที่แทบจำไม่ได้หากเปรียบเทียบกับยุคก่อนหน้า นักวิชาการเชื่อว่ายุคอาร์เคอิกของกรีซ เกิดขึ้นจากการปฏิวัติที่สำคัญสองประเภท คือ การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง ประเภทหนึ่ง และ การปฏิวัติทางปัญญา อีกประเภทหนึ่ง การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง นำไปสู่การสร้างแผนที่ และการกำหนดสถานะทางการเมืองระหว่างกันขึ้นในโลกของชาวกรีก เริ่มมีการก่อตั้งนครรัฐ "โปลิส" (poleis) ที่มีแบบแผนเฉพาะตัวขึ้นมา ในยุคนี้ชาวกรีกได้พัฒนาทฤษฎีการเมือง การเศรษฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การสงคราม และวัฒนธรรมขึ้นอย่างรวดเร็ว และสิ่งเหล่านี้ปูพื้นฐานไปสู่ยุคทอง หรือยุคคลาสสิคของอารยธรรมกรีก นอกจากนี้ชาวกรีกในยุคอาร์เคอิกยังได้ฟื้นฟูการเขียนที่หายไปในระหว่างยุคมืด โดยมีการพัฒนาตัวอักษรกรีกจนมีลักษณะอย่างที่ใช้กันมาจนปัจจุบัน ทำให้วรรณคดีของกรีซโดยเฉพาะมหากาพย์ของโฮเมอร์ เปลี่ยนจากการถ่ายทอดทางมุขปาถะ (ปากเปล่า) มาเป็นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในด้านศิลปะได้ปรากฏการสร้างเครื่องปั้นดินเผารูปเขียนสีแดง (red-figure pottery) ด้านการทหารได้มีการพัฒนากระบวนทัพแบบฮอปไลต์ขึ้น ซึ่งกลายเป็นแกนหลักและยุทธวิธีหลักของกองทัพกรีก ในนครเอเธนส์สถาบันประชาธิปไตยยุคเริ่มแรกถูกนำมาใช้ภายใต้การการชี้นำของโซลอน และต่อมาการปฏิรูปของไคลธีนีส (Cleisthenes) ในช่วงปลายยุคนำได้พัฒนาไปสู่ ประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ อันเป็นรูปแบบการปกครองที่สืบต่อเนื่องมาในสมัยคลาสสิค คำว่า "กรีซยุคอาร์เคอิก" เป็นคำที่เริ่มใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่กลายมาเป็นคำมาตรฐานที่ใช้กันตั้งแต่นั้นมา คำดังกล่าวเป็นคำที่มาจากการศึกษาศิลปะกรีกที่หมายถึงลักษณะส่วนใหญ่ของศิลปะการตกแต่งพื้นผิวและประติมากรรม ที่ตกอยู่ระหว่างศิลปะเรขาคณิตกับกรีซคลาสสิก.

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและกรีซยุคอาร์เคอิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เทอร์มอพิลี

ทธการที่เทอร์มอพิลี (Battle of Thermopylae; Greek: Μάχη τῶν Θερμοπυλῶν, มาแค ตอน แธมอปูลอน) เกิดขึ้นในปี 480 ปีก่อนคริสตกาล พันธมิตรรัฐกรีกตั้งรับการรุกรานของจักรวรรดิเปอร์เซีย ณ ช่องเขาเทอร์มอพิลีในกรีซตอนกลาง กองทัพกรีกเสียเปรียบด้านจำนวนอย่างมหาศาล แต่ก็ยังสามารถยันกองทัพเปอร์เซียได้เป็นเวลาสามวัน ยุทธการดังกล่าวเป็นหนึ่งในการรบจนตัวตายที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ กองทัพกรีกขนาดเล็กนำโดยกษัตริย์ลีออนิดัสที่ 1 แห่งสปาร์ตา ได้เข้าปิดช่องเขาเล็ก ๆ ซึ่งขัดขวางกองทัพมหึมาของจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้การนำของจักรพรรดิเซอร์ซีสที่ 1 ไว้ หลังจากการรบสามวัน เฮโรโดตุสเชื่อว่ามีคนทรยศที่บอกเส้นทางให้กับกองทัพเปอร์เซียซึ่งนำไปสู่ด้านหลังของกองทัพสปาร์ต้า และในวันที่สาม กองทัพกรีกได้ถอนตัวออกไปราว 2,300 นาย หลังเที่ยงวันของวันที่สาม กองทัพเปอร์เซียสามารถเจาะผ่านแนวกรีกได้ แต่ก็ต้องประสบกับความสูญเสียอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับความสูญเสียของกองทัพกรีก การต้านทานอย่างบ้าระห่ำของกองทัพกรีกได้ซื้อเวลาอันหาค่ามิได้ในการเตรียมกองทัพเรือ ซึ่งอาจตัดสินผลแพ้ชนะของสงคราม The 1913 edition (same page numbers) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Google Books,.

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและยุทธการที่เทอร์มอพิลี · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรมกรีกโบราณ

หน้ากระดาษจากหนังสือเรื่อง ''งานและวัน'' ของเฮสิโอด ฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1539 วรรณกรรมกรีกโบราณ คือ วรรณคดีที่เขียนด้วยภาษากรีกโบราณ ตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีการจารึกเป็นภาษากรีกต่อมาจนถึงสมัยจักรวรรดิไบเซนไทน์ งานวรรณคดีภาษากรีกที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลือตกทอดมา คือ มหากาพย์สองเรื่องที่กวีโฮเมอร์รจนาขึ้นในยุคอาร์เคอิก หรือประมาณศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ได้แก่ อีเลียด และโอดิสซี ซึ่งเล่าเหตุการที่เกิดขึ้นในยุคขุนศึกของอารยธรรมไมซีนี มหากาพย์สองเรื่องนี้ กับงานเขียนร้อยกรองในยุคเดียวกัน ได้แก่ เพลงสวดโฮเมอริค (Homeric Hymns) และบทกวีอีกสองเรื่องของเฮสิโอด คือ ธีออโกนี (Theogony) และ งานและวัน (works and days) ถือได้ว่าเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและรากฐานของธรรมเนียมทางวรรณกรรมของชาวกรีก สืบต่อไปถึงยุคคลาสสิค, สมัยอารยธรรมเฮเลนิสติก และยังเป็นรากฐานให้กับวรรณคดีของชาวโรมันอีกด้วย งานวรรณกรรมกรีกโบราณ เริ่มต้นขึ้นจากบทกวีขับร้องประกอบการเล่นดนตรีอย่างเช่น มหากาพย์ของโฮเมอร์ และบทกวีไลริค (lyric poetry) ซึ่งมีกวีนามอุโฆษ เช่น แซพโพ อัลซีอัส และพินดาร์ เป็นแบบอย่างที่มีอิทธิพลในช่วงยุคบุกเบิกของศิลปะทางกวีนิพนธ์ ต่อมามีการพัฒนาศิลปะการละครขึ้น งานนาฏกรรมบทละครที่ตกทอดมาได้แก่ของ เอสคิลัส (ราว 525-456 ก.คริสต์) ซอโฟคลีส (497-406 ก.คริสต์) ยูริพิดีส (480-406 ก.คริสต์) และอริสโตฟานีส (446-436 ก.คริสต์) ในบรรดานาฏศิลปินทั้งสี่ เอสคิลัสเป็นนักประพันธ์ละครคนแรกสุดที่มีงานตกทอดมาถึงเราอย่างสมบูรณ์ ซอโฟคลีสเป็นนักแต่งบทละครที่มีชื่อเสียงจากงานโศกนาฏกรรมไตรภาคเกี่ยวกับอีดิปัส โดยเฉพาะเรื่องพระเจ้าอีดิปัส (Oedipus Rex) และแอนติโกเน่ฯ ยูริพิดีสมีชื่อเสียงจากการสร้างงานประพันธ์ที่พยายามท้าทายขอบเขตของโศกนาฏกรรม ส่วนนักประพันธ์สุขนาฏกรรม (หรือ หัสนาฏกรรม) อริสโตฟานีสมีปรีชาสามารถในสาขางานสุขนาฏกรรมแบบดั้งเดิม (old comedy) ในขณะที่เมแนนเดอร์เป็นผู้บุกเบิกสุขนาฏกรรมใหม่ ภาพวาดจากซีนในบทสนทนา ซิมโพเซียม (ปรัชญาว่าด้วยความรัก) ของเพลโต (Anselm Feuerbach, 1873) สำหรับงานร้อยแก้วมีเฮโรโดตัส และธิวซิดิดีส เป็นผู้บุกเบิกงานเขียนทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกรีซในช่วงศตวรรษที่ 5 (และความเป็นมาก่อนหน้านั้น) ซึ่งเป็นช่วงที่ทั้งสองท่านมีชีวิตอยู่ เพลโตถ่ายทอดความคิดเชิงปรัชญาผ่านบทสนทนา ซึ่งมีโสเครตีสผู้เป็นอาจารย์ของท่านเป็นจุดศูนย์กลาง ในขณะที่อริสโตเติ้ลลูกศิษย์ของเพลโตบุกเบิกสาขาปรัชญาใหม่ๆ รวมทั้งพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง รวมทั้งการจำแนกหมวดหมู่สัตว์ และทฤษฎีทางกลศาสตร์ซึ่งเป็นชุดความรู้ที่สังคมตะวันตกยึดถือกันต่อมาอีกเกือบสองพันปีจนกระทั่งถูกเปลี่ยนแปลงในสมัยของไอแซก นิวตัน.

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและวรรณกรรมกรีกโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะของการเขียนภาพ (เฟอร์เมร์)

ลปะของการเขียนภาพ หรือ อุปมานิทัศน์ของการเขียนภาพ หรือ จิตรกรในห้องเขียนภาพ (The Art of Painting หรือ The Allegory of Painting หรือ Painter in his Studio) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยโยฮันส์ เวร์เมร์จิตรกรสมัยบาโรกชาวเนเธอร์แลนด์ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะในกรุงเวียนนาในประเทศออสเตรีย เวร์เมร์เขียนภาพ “ศิลปะของการเขียนภาพ” เสร็จในปี ค.ศ. 1666 ผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะหลายท่านกล่าวว่างานชิ้นนี้เป็นอุปมานิทัศน์ของการเขียนภาพฉะนั้นภาพเขียนจึงรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า “อุปมานิทัศน์ของการเขียนภาพ” และเป็นภาพเขียนที่ใหญ่ที่สุดและซับซ้อนที่สุดของงานทั้งหมดที่เวร์เมร์เขียน ภาพเขียนนี้มีชื่อเสียงเป็นภาพเขียนที่เวร์เมร์ชอบที่สุดและเป็นภาพที่เป็นงานเขียนแบบภาพลวงตา แม้ว่าจะเป็นภาพที่เขียนในสมัยที่ยังไม่มีเทคโนโลยีในด้านการถ่ายภาพแต่ก็สามารถแสดงความเป็นจริงในการสร้างรายละเอียดทางจักษุอย่างภาพถ่ายได้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของภาพนี้คือการใช้สีที่สดและแสงที่จัดจ้าที่สาดเข้ามาทางหน้าต่างที่อาบบนสิ่งต่างๆ ใน.

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและศิลปะของการเขียนภาพ (เฟอร์เมร์) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ

มเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ (ภาษากรีก: Γεώργιος Β', Βασιλεύς των Ελλήνων) (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 - 1 เมษายน พ.ศ. 2490) ทรงปกครองกรีซตั้งแต..

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

อีเลียด

ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นสึนามิ

แสดงคลื่นสึนามิพัดขึ้นฝั่ง คลื่นสึนามิ เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่นๆ (รวมทั้งการจุดวัตถุระเบิดหรือวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น คลื่นสึนามิไม่เหมือนกับคลื่นทะเล(tidal wave)ตามปกติ เพราะมีความยาวคลื่นยาวกว่ามาก แทนที่จะเป็นคลื่นหัวแตก (breaking wave) ตามปกติ คลื่นสึนามิเริ่มแรกอาจดูเหมือนกับว่าคลื่นน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุนี้ คลื่นสึนามิจึงมักเรียกว่าเป็นคลื่นยักษ์ โดยทั่วไป คลื่นสึนามิประกอบด้วยกลุ่มคลื่นซึ่งมีคาบเป็นนาทีหรืออาจมากถึงชั่วโมง มากันเรียกว่าเป็น "คลื่นขบวน" (wave train) ความสูงของคลื่นหลายสิบเมตรนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ขนาดใหญ่ แม้ผลกระทบของคลื่นสึนามินั้นจะจำกัดอยู่แค่พื้นที่ชายฝั่ง แต่อำนาจทำลายล้างของมันสามารถมีได้ใหญ่หลวงและสามารถมีผลกระทบต่อทั้งแอ่งมหาสมุทร คลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ธูซิดดิดีส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เสนอเมื่อ 426 ปีก่อนคริสตกาล ว่า คลื่นสึนามิเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวใต้ทะเลThucydides: แต่ความเข้าใจในธรรมชาติของคลื่นสึนามิยังมีเพียงเล็กน้อยกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 และยังมีอีกมากที่ยังไม่ทราบในปัจจุบัน ขณะที่แผ่นดินไหวที่รุนแรงน้อยกว่ามากกลับก่อให้เกิดคลื่น พยายามพยากรณ์เส้นทางของคลื่นสึนามิข้ามมหาสมุทรอย่างแม่นยำ และยังพยากรณ์ว่าคลื่นสึนามิจะมีปฏิสัมพันธ์กับชายฝั่งแห่งหนึ่ง ๆ อย่างไร.

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและคลื่นสึนามิ · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน

วามเอนเอียงเพื่อยืนยัน (ความคิดฝ่ายตน)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ bias ว่า "ความลำเอียง, -เอนเอียง" หรือ ความลำเอียงเพื่อยืนยัน (Confirmation bias, confirmatory bias, myside bias) เป็นความลำเอียงในข้อมูลที่ยืนยันความคิดหรือทฤษฎีหรือสมมติฐานฝ่ายตน เรียกว่ามีความลำเอียงนี้เมื่อสะสมหรือกำหนดจดจำข้อมูลที่เลือกเฟ้น หรือว่าเมื่อมีการตีความหมายข้อมูลอย่างลำเอียง ความลำเอียงนี้มีอยู่ในระดับสูงในประเด็นที่ให้เกิดอารมณ์หรือเกี่ยวกับความเชื่อที่ฝังมั่น นอกจากนั้นแล้ว คนมักตีความหมายข้อมูลที่ยังไม่ชัดเจนว่าสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง มีการใช้การสืบหา การตีความหมาย และการทรงจำข้อมูลประกอบด้วยความลำเอียงเช่นนี้ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและความเอนเอียงเพื่อยืนยัน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน

ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน (History of The Peloponnesian War; Ιστορία του Πελοποννησιακού Πολέμου) เป็นงานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งบรรยายถึงเหตุการณ์การสู้รบ และการเมืองระหว่างประเทศในระหว่างสงครามเพโลพอนนีเซียน (431 - 404 ปีก่อนคริสตศักราช) ซึ่งเป็นการสู้รบระหว่าง ฝ่ายสันนิบาตเพโลพอนนีสภายใต้การนำของ สปาร์ตา และฝ่ายสันนิบาตดีเลียนภายใต้การนำของเอเธนส์ ที่กินเวลายาวนานถึง 30 ปี และจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของนครเอเธนส์ ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของสันนิบาตดีเลียน และเป็นจุดสิ้นสุดยุครุ่งเรืองของเอเธนส์ งานนิพนธ์นี้ถูกประพันธ์ขึ้นโดย ทิวซิดิดีส นักประวัติศาสตร์ และนักการทหารชาวเอเธนส์ ผู้มีส่วนร่วมในสงครามครั้งนี้โดยตรงในฐานะแม่ทัพ บันทึกเหตุการณ์ความขัดแย้งของทิวซิดิดีส ถือเป็นงานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญระดับคลาสสิคมาแต่โบราณ และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในฐานะงานวิชาการทางประวัติศาสตร์อย่างแท้จริงชิ้นแรกของอารยธรรมตะวันตก ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียนถูกแบ่งออกเป็น 8 เล่มย่อย หมวดหมู่:สงครามเพโลพอนนีเซียน.

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

เพริคลีส

ริคลีส (Pericles; Περικλῆς "เป-ริ-แคลส"; ราว 495 – 429 ก่อนคริสตกาล)เป็นรัฐบุรุษ นักปราศัย และนายพล ที่มีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลอย่างสูง แห่งนครรัฐเอเธนส์ ในช่วงยุครุ่งเรืองของนครรัฐเอเธนส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กรีกทำสงครามสู้รบกับเปอร์เซีย (ดู สงครามกรีก-เปอร์เซีย) และ ในช่วงมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน เพริคลีสสืบเชื้อสายทางฝ่ายแม่มาจากตระกูลแอลคมีโอนิดีที่มีอิทธิพลและทรงอำนาจ โดยเป็นหลานตาของ ไคลสธีนีส รัฐบุรุษผู้สถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้กับชาวเอเธนส์ เพริคลีสเป็นนักการเมืองที่อิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อนครเอเธนส์ ท่านมีส่วนอย่างมากในการสร้างอัตลักษณ์และความเจริญให้กับเอธนส์ใช่วงยุครุ่งเรือง ทิวซิดิดีสนักประวัติที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับท่าน ขนานนามเพริคลีสว่าเป็น "พลเมืองหมายเลขหนึ่งของเอเธนส์"Thucydides, 2.65 เพริคลีสเปลี่ยนสันนิบาตดีเลียน (League of Delian) ให้กลายเป็นจักรวรรดิทางทะเลที่มีศูนย์กลางที่เอเธนส์ และเป็นผู้นำของชาวเอเธนส์จนถึงช่วงสองปีแรกของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน ในช่วงระหว่างปี 461 ถึง 429 ก่อนคริสตกาล เพริคลีสนำนครเอเธนส์รุ่งเรืองจนสู่ขีดสูงสุด ท่านส่งเสริมการพัฒนางานศิลปะ วรรณกรรม และวิทยาการความรู้สาขาต่างๆ จนผลักดันให้เอเธนส์กลายเป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมและการศึกษาของโลกกรีซโบราณ เพริคลีสริเริ่มโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่มากมายจนเปลี่ยนเอเธนส์ให้กลายเป็นนครที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมหินอ่อนที่อลังการ รวมไปถึงวิหารพาร์เธนอน ซึ่งยังปรากฏให้เห็นบนอะโครโพลิสของเอเธนส์มาจนปัจจุบัน โปรเจกต์ก่อสร้างเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความสวยงามยิ่งใหญ่อลังการ และช่วยปกป้องตัวเมืองจากศัตรู แต่ยังสร้างงานให้กับประชากรเอเธนส์ ยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ยุคสมัยของเพริคลีส" เพริคลีสเป็นนักพูดที่มีทักษะและไหวพริบมาก นอกจากนี้ยังเป็นรัฐบุรุษที่มีสเน่ห์และมีบารมีน่ายำเกรง เพราะมาจากตระกูลชนชั้นสูง เพริคลีสมักใช้ทักษะการพูด กล่าวตักเตือนให้ประชาชนของเอเธนส์มีความภาคภูมิใจในชาติ และมีความสามัคคีกัน ซึ่งจะเห็นได้จากเนื้อหาของสุนทรพจน์ไว้อาลัยของเพริคลีส (Pericles' Funeral Oration) ที่ให้ไว้ต่อชาวเอเธนส์เพื่อไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตในปีแรกของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน กล่าวกันว่านครเอเธนส์เป็นประชาธิปไตยอยู่ได้อย่างมั่นคงก็เพราะมีนักการเมืองอย่างเพริคลีสเป็นผู้ชี้นำ เพริคลีสจึงไม่ได้เป็นเพียงนักการเมืองประชานิยมที่เก่งกาจ แต่ยังเป็นผู้นำทางจิตใจและทางศีลธรรมของชาวเอเธนส์ด้ว.

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและเพริคลีส · ดูเพิ่มเติม »

เพลลา

ลลา (Πέλλα) เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ทางตอนกลางของมาเซโดเนีย ประเทศกรีซ รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นเมืองหลวงในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ในสมัยกรีซโบราณ และเป็นสถานที่ประสูติของทั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และพระเจ้าพีลิปโปสที่ 2 พระราชบิดาของพระองค์ ชื่อ เพลลา ในภาษากรีกโบราณ หมายถึง "ก้อนหิน" เพลลาถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรก โดยเฮรอโดตัสแห่งฮาลิคาร์นาสซัส (ล.VII, 123) ในความเกี่ยวเนื่องกับการสงครามของพระเจ้าเซิร์กซีส และ โดยนักประวัติศาสตร์ ธูซีดิดีส (Thucydides) ซึ่งบรรยายถึงการขยายตัวของมาเกโดนีอา และสงครามกับชาวเทรเชียน เพลลาถูกสร้างขึ้นให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโดยพระเจ้าอาร์คิเลอัสที่ 1 แห่งมาเกโดนีอา (Ἀρχέλαος) เพื่อแทนที่พระราชวัง-นคร ไอไก (Aigai) ซึ่งเป็นพระราชวังเก่า (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองเวรกีน่า (Vergina) ในตอนเหนือของกรีซ) โดยอาร์คิเลอัสเชิญ ซีวซิส (Zeuxis) ช่างวาดภาพและทาสีที่เก่งที่สุดในสมัยนั้นมาตกแต่งพระราชวังให้ และยังเชิญศิลปินเรืองนามอื่นๆมาพำนักด้วย รวมถึงนาฏศิลปินเอกยูริพิดีสจากเอเธนส์ ละครของยูริพิดีสเรื่อง แบคไค (Bacchae) ก็ได้ออกแสดงบนเวทีเป็นครั้งแรกที่วังนี้ ราวปีที่ 408 ก่อนค.ศ.ฯ เซโนฟอนบันทึกไว้ (เมื่อปีที่ 382 ก่อน..) ว่า เพลลาเป็นเมืองที่ใหญ่ และรำ่รวยที่สุดในมาเกโดนีอา เมืองเพลลาเข้าสู่ยุคที่มีขีดความมั่งคั่งสูงสุดหลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์ โดยเฉพาะภายใต้การปกครองของราชวงศ์แอนติปาทริด - ราชวงศ์อายุสั้นที่ก่อตั้งโดยแอนติปาเตอร์ และมีคาสซานเดอร์เป็นปฐมกษัตริย์ - และราชวงศ์แอนติโกนีด สิ่งก่อสร้างใหญ่โตที่หลงเหลือให้เห็นในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีส่วนใหญ่สร้างในรัชสมัยของแอนติโกนัสที่ 2 หลังจากที่พันธมิตรกรีกและมาเกโดนีอา ถูกกองทัพสาธารณรัฐโรมันกำหราบลงในสงครามมาเกโดนีอาครั้งที่สาม นครเพลลาถูกเข้าปล้นชิงโดยกองทัพของโรม ในปีที่ 168 ก่อนค.ศ. ทรัพย์สินของมีค่าถูกขนไปโรมเกือบทั้งหมด และราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็ถูกลดสถานะลงเป็นแค่จังหวัดหนึ่งของโรมนับแต่นั้นม.

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและเพลลา · ดูเพิ่มเติม »

เหตุแห่งสงคราม

หตุแห่งสงคราม (Casus belli) เป็นสำนวนภาษาละติน หมายถึง เหตุผลสำหรับการปฏิบัติแห่งสงคราม Casus หมายถึง "เหตุการณ์", "แตกแยก" หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ "เหตุ" ขณะที่ belli แปลว่าการต่อสู้ ("แห่งสงคราม") casus belli นั้นต่างจาก casus foederis ด้วย casus belli ถูกใช้เพื่ออ้างถึงการโจมตีหรือภัยคุกคามโดยตรงต่อประเทศชาติ และ casus foederis อ้างถึงการโจมตีหรือภัยคุกคามอื่น พันธมิตรชาติ ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกัน เช่น NATO Informal usage varies beyond its technical definition to refer to any "just cause" a nation may claim for entering into a conflict.

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและเหตุแห่งสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

เอเธนส์

อเธนส์ (Athens; Αθήνα อธีนา) เป็นเมืองหลวงของประเทศกรีซ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ ใช้ชื่อตามพระเจ้าอะธีนาในปุราณวิทยา เป็นหนี่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดนกินช่วงระยะเวลามากกว่า 3,400 ปี และมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ประมาณช่วงสหัสวรรษที่ 11 และ 7 ก่อนคริสตกาล ในช่วงยุคคลาสสิกของกรีซ หรือประมาณปีที่ 508-322 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ และเป็นนครรัฐที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศิลปะ การเรียนรู้ และปรัชญา เมืองเอเธนส์ยังได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และเป็นที่ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปัจจุบันเอเธนส์เป็นเมืองนานาชาติที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม การเมือง และชีวิตทางวัฒนธรรมในกรีซ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เป็นที่ตั้งของท่าเรือไพรีอัส ซึ่งเป็นท่าเรือผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เอเธนส์ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่รวยที่สุดอันดับที่ 39 ของโลก ในปี 2012 ประชากรในเขตเทศบาลเมือง บนขนาดพื้นที่ มีประมาณ 655,442 คน (796,442 คน ณ ปี ค.ศ. 2004) ส่วนประชากรในเขตเมือง (urban area) ทั้งหมด บนขนาดพื้นที่ มี 3,090,508 คน ตามสถิติเมื่อปี..

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเธนส์ยุคคลาสสิก

อเธนส์ (Ἀθῆναι, Athênai, a.tʰɛ̂ː.nai̯: อะแธไน) ในสมัยคลาสสิกของกรีซโบราณ (508-322 ก่อนค.ศ.) เป็นศูนย์กลางของชุมชนเมืองในนครรัฐเอเธนส์ ตั้งอยู่ในแอตติกา ประเทศกรีซ เอเธนส์เป็นชาติผู้นำแห่งสันนิบาตดีเลียน ในสงครามเพโลพอนนีซ ระหว่างสันนิบาตดีเลียน และสันนิบาตเพโลพอนนีเซียน ซึ่งนำโดยสปาร์ตา ไคลส์ธีนีสเป็นผู้ก่อตั้งประชาธิปไตยขึ้นในเอเธนส์ ในปีที่ 508 ก่อน..

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและเอเธนส์ยุคคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

เธมิสโตคลีส

มิสโตคลีส หรือ เธมิสโตเคลส (Themistocles; Θεμιστοκλῆς เธ-มิส-ตอ-แคลส; "ชัยชนะแห่งกฎหมาย") c. 524–459 BC) เป็นนักการเมืองและแม่ทัพชาวเอเธนส์ เธมิสโตคลีสเป็นนักการเมืองสายพันธ์ใหม่ของเอเธนส์ในยุคที่ประชาธิปไตยก่อตัว โดยไม่ได้มาจากครอบครัวชนชั้นสูง โดยเขาเป็นหนึ่งในนักการเมืองประชานิยมที่มีฐานเสียงเป็นพลเมืองชั้นล่างของเอเธนส์ และมักขัดแย้งกับอภิสิทธิชนในเอเธนส์ เธมิสโตคลีสถูกเลือกให้เป็น อาร์คอน (กรีก: ἄρχων) หรือตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของเมือง ในปี 493 ก่อนคริสตกาล เขามีทัศนะวิสัยเห็นว่าเอเธนส์มีศักยภาพทางภูมิศาสตร์ที่จะเป็นมหาอำนาจทางทะเลได้ และเกลี้ยกล่อมให้สภาของเอเธนส์เพิ่มกำลังรบทางเรือ ในระหว่างการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย เธมิสโตคลีสเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพกรีกที่สมรภูมิมาราธอน และน่าเชื่อว่าคงจะเป็นหนึ่งในสิบนายพลของเอเธนส์ หรือ สตราเตกอส ในยุทธการนั้น หลังจากกลายเป็นฮีโร่ของยุทธการที่มาราธอน จนถึงการรุกรานครั้งที่สองของเปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 480-490 กอ่นคริสตศักราช เธมิสโตคลีสกลายเป็นแม่ทัพที่โดดเด่นที่สุดของเอเธนส์ และยังคงสนับสนุนให้เอเธนส์จัดหากำลังทางน้ำเพิ่ม โดยในปีที่ 483 กอ่นคริสตศักราช เขาอ้างคำทำนายของเทพพยากรณ์เดลฟี ซึ่งแนะนำให้ชาวเอเธนส์สร้าง "กำแพงไม้" (wooden wall) และโน้มน้าวให้ชาวเมืองอนุมัติทุนเพื่อสร้างกองเรือไม้ ไตรรีม (triremes) สองร้อยลำ สำหรับต้านทานการบุกรุกของกองทัพเปอร์เซียที่กำลังจะมาถึง; เธมิสโตคลีสนำทัพเรือเอเธนส์และพันธมิตรกรีก เข้าสู้ทัพเรือของเปอร์เซียในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม และที่ซาลามิส ในปีที่ 480 BC. โดยการล่อทัพเรือเปอร์เซียให้เข้ามาในช่องแคบซาลามิส ชัยชนะของทัพเรือกรีกในยุทธนาวีที่ซาลามิส เป็นจุดเปลี่ยนของสงครามและในไปสู่ความพ่ายแพ้ของทัพเปอร์เซียในยุทธการที่พลาตีอา (Battle of Plataea) หลังสงครามสงบ เธมิสโตคลีสกลายเป็นรัฐบุรุษที่ดดเด่นในสังคมเอเธนส์ ชัยชนะทางยุทธนาวีของฝ่ายพันธมิตรกรีก นำไปสู่การก่อตั้งสันนิบาตดีเลียน ในปีที่ 478 BC และทำให้เอเธนส์ผงาดขึ้นในฐานะมหาอำนาจทางทะเล (thalassocratic empire) แต่นโยบายที่หยิ่งยะโสของเธมิสโตคลีส เช่นการสั่งให้สร้างป้อมปราการรอบเอเธนส์ เป็นการยั่วยุให้สปาร์ตาขุ่นเคือง ชาวเมืองเอเธนส์เองก็เบื่อหน่ายในความหยิ่งยะโสของเธมิสโตคลีส เขาโดนสปาร์ต้าวางแผนใส่ร้ายข้อหากบฏ ในปี 478 และถูกประชาชนลงเสียงขับไล่ (ostracise) ออกจากเมืองในปีที่ 471 และไปเสียชีวิตที่แม็กนีเซีย ในปีที่ 459 ก่อนคริสตศักราช เธมิสโตคลีสยังคงเป็นที่จดจำในฐานะบุรุษผู้กู้อารยธรรมกรีกจากอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซีย นโยบายการสั่งสมกำลังทางทะเลของเขาเป็นจุกเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ของนครรัฐเอเธนส์ในศตวรรษที่ 5 เพราะอำนาจทางทะเลเป็นหลักศิลาของจักรวรรดิเอเธนส์ ทิวซิดิดีสกล่าวว่าเธมิสโตคลีสเป็น "ผู้ที่เปล่งประกายของอัจฉริยภาพโดยอย่างไม่ต้องสงสัย".

ใหม่!!: ทิวซิดิดีสและเธมิสโตคลีส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Thucydidesธูซิดิดีสธูซิดดิดีส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »