โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์

ดัชนี ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์

ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ (Reichskanzlei ไรชส์คันซไล) คือชื่อที่ใช้เรียกสำนักงานและที่พำนักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี (ไรชส์คันซเลอร์) ในยุคไรช์เยอรมันระหว่าง..

10 ความสัมพันธ์: ฟือเรอร์ฟือเรอร์บุงเคอร์พินัยกรรมฉบับหลังสุดของอดอลฟ์ ฮิตเลอร์การประชุมรัฐบาลไรช์ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1941วิลเฮล์ม มอนเคออสัญกรรมของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อนุสรณ์สถานทหารโซเวียต (สวนเทร็พทัวร์)ดีด็อยท์เชอว็อคเคินเชานาซีเยอรมนีเอฟา เบราน์

ฟือเรอร์

ฟือเรอร์ (Führer) ในภาษาเยอรมัน หมายถึง "ผู้นำ" โดยคำว่า "ฟือเรอร์" มักจะหมายถึง ฉายาของผู้นำนาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และเป็นตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐบาลสมัยนาซีเยอรมนี และองค์กรกึ่งทหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยเอ็สเอ็ส) โดยคำดังกล่าวเป็นการเอาอย่างจากคำว่า อิลดูเช ในภาษาอิตาลี ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน.

ใหม่!!: ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์และฟือเรอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟือเรอร์บุงเคอร์

ำลองแผนผังของบุงเคอร์ฟือเรอร์ใต้ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ ฟือเรอร์บุงเคอร์ (Führerbunker "บังเกอร์ท่านผู้นำ") เป็นที่หลบภัยการโจมตีทางอากาศ ตั้งอยู่ในสวนของทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี แบ่งการก่อสร้างออกเป็นสองเฟส คือในปี 1936 และ 1944 ฮิตเลอร์เข้าพำนักในฟือเรอร์บุงเคอร์เมื่อวันที่ 16 มกราคม..

ใหม่!!: ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์และฟือเรอร์บุงเคอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พินัยกรรมฉบับหลังสุดของอดอลฟ์ ฮิตเลอร์

หน้าแรกของพินัยกรรมทางการเมือง ความประสงค์และพินัยกรรมครั้งสุดท้ายของอดอลฟ์ ฮิตเลอร์ (last will and testament of Adolf Hitler) ได้เกิดขึ้นหลังจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้รับโทรเลขจากจอมพล แฮร์มันน์ เกอริง ขอสืบทอดตำแหน่งเป็นผู้นำคนใหม่ หลังถูกตัดขาดจากภายนอกร์ร่วมกับข่าวของการเจรจาขอยอมจำนนต่อสัมพันธมิตรตะวันตกจากไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ และได้รับรายงานว่าทหารแห่งกองทัพแดงได้เข้ามาใกล้ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์เพียงสองหรือสามช่วงตึก พินัยกรรมได้ถูกเขียนขึ้นโดยฮิตเลอร์และเลขานุการส่วนตัว เทราด์ ยุงเกอร์ในฟือเรอร์บุงเคอร์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน ปี 1945 ในวันที่ฮิตเลอร์และเอฟา เบราน์ได้แต่งงานกัน พวกเขาได้กระทำอัตวินิบาตกรรมพร้อมกันในเช้าวันรุ่งขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน สองวันที่ก่อนกองทัพเยอรมันในกรุงเบอรลินจะยอมจำนนต่อกองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตในวันที่ 2 พฤษภาคม และเพียงสัปดาห์กว่าก่อนการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปในวันที่ 8 พฤษภาคม พินัยกรรมประกอบไปด้วยเอกสารสองชุดคือความประสงค์ส่วนตัวและการมอบตำแหน่งทางการเมือง.

ใหม่!!: ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์และพินัยกรรมฉบับหลังสุดของอดอลฟ์ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมรัฐบาลไรช์ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1941

รชส์ทาค 11 ธันวาคม ค.ศ. 1941 การประชุมรัฐบาลไรช์ 12 ธันวาคม..

ใหม่!!: ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์และการประชุมรัฐบาลไรช์ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1941 · ดูเพิ่มเติม »

วิลเฮล์ม มอนเคอ

วิลเฮล์ม มอนเคอ (Wilhelm Mohnke) (15 มีนาคม 1911 - 6 สิงหาคม 2001) เป็นหนึ่งในหน่วยสมาชิกทหารรักษาการณ์ของหน่วยเอสเอส (ชุทซ์ชทัฟเฟิล) (Stabswache) ในกรุงเบอร์ลินซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม ปี 1933.

ใหม่!!: ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์และวิลเฮล์ม มอนเคอ · ดูเพิ่มเติม »

อสัญกรรมของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

'''"ฮิตเลอร์ตายแล้ว"''' หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ของกองทัพสหรัฐ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ระหว่างที่กรุงเบอร์ลินกำลังถูกโซเวียตบุกนั้นเอง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ยิงตัวตายเมื่อวันที่ 30 เมษายน 1945 ในฟือเรอร์บุงเคอร์ ส่วนภรรยาของเขา เอฟา เบราน์ ได้ฆ่าตัวตายด้วยยาพิษไซยาไนด์ ทั้งนี้ ศพของทั้งสองได้ถูกเคลื่อนย้ายไปยังทางออกฉุกเฉินของบังเกอร์ตามคำสั่งเสียของฮิตเลอร์ ทหารนำศพทั้งสองจัดวางในหลุมที่ขุดเตรียมไว้บริเวณด้านหลังทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ จากนั้นก็จัดการราดน้ำมันเชื้อเพลิงพร้อมกับจุดไฟเผาเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารฝ่ายศัตรูนำไปประจานและกระทำยำยีอย่างเช่นที่เกิดขึ้นกับเบนิโต มุสโสลินี ผู้นำอิตาลี จากบันทึกของพวกโซเวียตระบุว่า ทหารโซเวียตได้ขุดร่างของฮิตเลอร์ขึ้นมา และนำไปฝังไว้ในหลายสถานที่ด้วยกันจนถึงปี 1970 ที่ร่างซึ่งโซเวียตอ้างว่าเป็นของฮิตเลอร์ถูกขุดขึ้นมาเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะถูกนำไปเผาและโปรยเถ้า ด้วยรายงานที่มีความแตกต่างกันออกไปที่ได้ระบุสาเหตุการตาย; บางกรณีได้ระบุว่า เขาตายด้วยยาพิษเท่านั้นและอีกบางกรณีหนึ่งคือเขาตายด้วยการใช้ปืนยิงศีรษะตัวเองพร้อมกับกัดแคปซูลบรรจุสารพิษไซยาไนด์ แต่นักประวัติศาสตร์สมัยนั้นได้ปฏิเสธรายงานเหล่านี้เพราะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อของสหภาพโซเวียตหรือความพยายามการประนีประนอมเพื่อหาข้อสรุปที่แตกต่างกัน พยานคนหนึ่งได้บันทึกเอาไว้ว่า ศพมีรอยบาดแผลจากการถูกยิงทะลุผ่านปาก แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามันเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับกระโหลกศีรษะและกระดูกขากรรไกรที่ถูกขุดขึ้นได้โดยระบุว่าเป็นของฮิตเลอร์จริงหรือไม่ ในปี..

ใหม่!!: ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์และอสัญกรรมของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์สถานทหารโซเวียต (สวนเทร็พทัวร์)

นรามาของอนุสรณ์สถานทหารโซเวียต (สวนเทร็พทัวร์) อนุสรณ์สถานทหารโซเวียต (Sowjetisches Ehrenmal im Treptower Park) เป็นอนุสรณ์สถานสงครามและสุสาน ตั้งอยู่ที่สวนเทร็พทัวร์ใกล้กรุงเบอร์ลิน (เบอร์ลินตะวันออกในอดีต) อนุสรณ์ออกแบบโดยสถาปนิกชาวโซเวียต ยาคอฟ เบโลปอลสกี โดยสร้างเพื่อรำลึกถึงทหารโซเวียต 7,000 ถึง 80,000 คนที่เสียชีวิตระหว่างการรบในยุทธการที่เบอร์ลิน ระหว่างเดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม 1945 อนุสรณ์สถานเปิดให้เข้าชมในวันที่ 8 พฤษภาคม 1949 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จบลง 4 ปี อนุสรณ์สถานเป็นอนุสรณ์สถานหลักของเยอรมนีตะวันออก โดยอนุสรณ์สถานนี้เป็นหนึ่งในสามอนุสรณ์สถานทหารโซเวียตที่สร้างในกรุงเบอร์ลิน โดยมีอนุสรณ์สถานอีกสองที่คือ อนุสรณ์สถานที่เทียร์การ์เทน สร้างขึ้นในปี 1945 ในเขตเทียร์การ์เทน ต่อมาเขตนี้เป็นของเบอร์ลินตะวันตก และ อนุสรณ์สถานที่เชินฮอลเซอร์ ไฮเดอ ในเขตพานโคฟ อนุสาวรีย์หลักของอนุสรณ์สถานทหารโซเวียตออกแบบและสร้างโดยสถาปนิกชาวโซเวียต เยฟเกนี วูเชติช มีความสูง 12 เมตร อนุสาวรีย์ประกอบไปด้วยทหารโซเวียตถือดาบกำลังอุ้มเด็กผู้หญิงชาวเยอรมัน โดยยืนอยู่เหนือ เครื่องหมายสวัสดิกะที่ถูกทำลาย โดยสร้างจากความประสงค์ของจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต วาซีลี ชุยคอฟ โดยเพื่อรำลึกถึงสิบเอกนิโคไล มาซาลอฟ ระหว่างการบุกครั้งสุดท้ายที่ตอนกลางของกรุงเบอร์ลิน โดยได้ช่วยชีวิตเด็กสาวอายุสามขวบ ที่ตามหาแม่ที่หายไปท่ามกลางกระสุนปืนกลของนาซี นอกจากนี้อนุสรณ์สถานยังมีโลงหิน 16 โลง แต่ละโลงจะจารึกชื่อ 16 สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต (ในปี 1940–56 โดยรวมถึง สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช ต่อมาคือ สาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตคาเรลียา ในชื่อ 16 "สาธารณรัฐของสหภาพ") โดยที่หินอ่อนสีน้ำตาลแดงและโลงหินที่ใช้ในการสร้างอนุสรณ์สถานทหารโซเวียตนี้ส่วนใหญ่ได้มาจากการทำลายอาคารทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ หลังจากที่กำแพงเบอร์ลินถูกทำลาย มีผู้ไม่หวังดีนิรนามได้ทำลายข้าวของในอนุสรณ์สถาน รวมถึงได้สร้างรอยขูดขีดเขียนต่อต้านโซเวียต ทำให้ชาวเยอรมันตะวันออก 250,000 คน ได้มีการเดินขบวนที่อนุสรณ์สถานในวันที่ 3 มกราคม 1990.

ใหม่!!: ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์และอนุสรณ์สถานทหารโซเวียต (สวนเทร็พทัวร์) · ดูเพิ่มเติม »

ดีด็อยท์เชอว็อคเคินเชา

Harry Giese กำลังใช้ไมโครโฟนบรรยายในปี 1941 Mixing room, 1941 ดีด็อยท์เชอว็อคเคินเชา (Die Deutsche Wochenschau) เป็นชื่อของชุดภาพยนตร์ข่าว ที่ออกฉายทั่วโรงภาพยนตร์ใน นาซีเยอรมนี ตั้งแต่ปี 1940 จนถึง สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง โดยภาพยนตร์ข่าวยังเป็นหนึ่งในเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อหลัก ของนาซีตลอดสงคราม ดีด็อยท์เชอว็อคเคินเชา จะได้รับม้วนภาพยนตร์จากคลังภาพยนตร์ของหน่วยรายงานสงครามของเวร์มัคท์ (Propagandakompanien) และจากช่างภาพเด่น ๆ เช่น Hans Ertl และ Walter Frentz รวมถึงภาพจากภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อ อย่าง The Eternal Jew และ Feldzug in Polen โดยผู้ให้เสียงบรรยายหลักคือ Harry Giese โดยได้รับมอบหมายให้เป็น "เสียง" ของภาพยนตร์ข่าวเหมือนเป็นเสียงแห่งเสรีภาพที่ถูกนำมาใช้กับการบรรยายข้อเท็จจริงในเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของนาซี ภาพยนตร์ข่าวมีม้วนภาพยนตร์เด่น ๆ ที่ถูกถ่ายเช่นการรบที่นอร์ม็องดี, ภาพการพบของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และ เบนิโต มุสโสลินี หลัง แผนลับ 20 กรกฎาคม และม้วนสุดท้าย (No. 755) ที่ฮิตเลอร์มอบเครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนเหล็ก ให้กับอาสาสมัครของยุวชนฮิตเลอร์ที่สวนในทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ก่อนยุทธการที่เบอร์ลิน และสารคดีสุดท้ายคือ คนทรยศที่ศาลประชาชน ซึ่งเกี่ยวกับการพิจรณาคดีผู้สมรู้ร่วมคิดในแผนลับ 20 กรกฎาคมRobert Edwin Hertzstein, The War That Hitler Won p283.

ใหม่!!: ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์และดีด็อยท์เชอว็อคเคินเชา · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

เอฟา เบราน์

อฟา อันนา เพาลา ฮิตเลอร์ (Eva Anna Paula Hitler) สกุลเดิม เบราน์ เป็นเพื่อนเก่าแก่ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และเป็นภรรยาของเขาในช่วง 40 ชั่วโมงสุดท้ายของชีวิต เบราน์พบฮิตเลอร์ในมิวนิกขณะที่เธอมีอายุได้ 17 ปี ขณะที่ทำงานเป็นผู้ช่วยและนางแบบของช่างถ่ายภาพส่วนตัวของเขาและเริ่มพบฮิตเลอร์บ่อยครั้งขึ้นในอีกราวสองปีถัดมา เธอเคยพยายามฆ่าตัวตายสองครั้งในความสัมพันธ์ระยะแรกระหว่างทั้งสอง ใน..

ใหม่!!: ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์และเอฟา เบราน์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Reichskanzlei

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »