โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลเอเดรียติก

ดัชนี ทะเลเอเดรียติก

ทะเลเอเดรียติกจากดาวเทียม ทะเลเอเดรียติก (Adriatic Sea) เป็นทะเลที่แยกคาบสมุทรอิตาลีจากคาบสมุทรบอลข่าน และเทือกเขาแอเพนไนน์จากเทือกเขาดินาริกแอลป์และเทือกเขาที่ติดกัน ทะเลเอเดรียติกเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางด้านตะวันตกของฝั่งทะเลคืออิตาลีขณะที่ฝั่งตะวันออกเป็นประเทศโครเอเชีย, มอนเตเนโกร, แอลเบเนีย, สโลวีเนีย และ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีน.

58 ความสัมพันธ์: บารีชิเบนีกพอดกอรีตซาภูมิศาสตร์ยุโรปมณฑลติรานาราชอาณาจักรอิตาลีรายชื่อทะเลรายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามจีดีพี (อำนาจซื้อ) ต่อหัวสมเด็จพระเจ้าโทมิสลาฟที่ 1 แห่งโครเอเชียสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียสปลิตสนธิสัญญาลอนดอน (1913)อากวีเลยาอิสเตรียฮวาร์ดินแดนเสรีตรีเยสเตดูบรอฟนีกดูร์เรสคาบสมุทรอิตาลีคาสต์ตราแผ่นดินของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียตรีเยสเตซาดาร์ซาเกร็บประเทศมอนเตเนโกรประเทศสโลวีเนียประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลประเทศแอลเบเนียประเทศโครเอเชียปรากปลาสเตอร์เจียนขาวแม่น้ำรูบิคอนแดลเมเชียแคว้นมาร์เคแคว้นอาบรุซโซแคว้นปกครองตนเองฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลียแคว้นปุลยาแคว้นโมลีเซแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาโฟล์กสวาเกน เจ็ตตาโจรสลัดโคเพอร์เชเซนาเกาะบราชเกาะพากเกาะกาแล็ชญักเกาะสเวตินิโกลาเรือยิงตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที 5เวนิสเส้นทางสายอำพัน...เส้นขนานที่ 41 องศาเหนือเส้นเมริเดียนที่ 14 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันออกเจ็ดสมุทรเทือกเขาแอเพนไนน์เตราโมLa strada ขยายดัชนี (8 มากกว่า) »

บารี

รี (Bari) เป็นเมืองหลักของแคว้นปุลยา บนชายฝั่งทะเลเอเดรียติก ประเทศอิตาลี เป็นเมืองสำคัญอันดับ 2 ในด้านเมืองเศรษฐกิจบนแผ่นดินใหญ่ทางใต้ของอิตาลี รองจากเมืองเนเปิลส์ เมืองมีประชากรราว 326,799 คน (ค.ศ. 2015) บนพื้นที่ ขณะที่เขตเมืองมีประชากร 700,000 คน เขตมหานครมีประชากร 1.3 ล้านคน บารีแบ่งพื้นที่เมืองเป็น 4 ส่วน ทางเหนือมีเมืองเก่าบนคาบสมุทร ตั้งอยู่ระหว่างท่าเรือทันสมัย 2 แห่ง มีมหาวิหารนักบุตรนิโคลัส, มหาวิหารซานซาบีโน (1035–1171) และปราสาทโฮเอินชเตาเฟิน ที่สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ในปัจจุบันเป็นย่านกลางคืนที่สำคัญ ทางทิศใต้มีค่ายทหารมูรัต (สร้างโดยฌออากีม มูว์รา) ตรงกลางของเมืองบารีเป็นที่พักอาศัยสมัยใหม่ สร้างขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง 1970 ตรงเขตชานเมืองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในคริสต์ทศวรรษ 1990 เมืองยังได้พัฒนาสนามบินที่ตั้งชื่อตามสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 โดยสนามบินชื่อ สนามบินการอล วอยตือวา ที่เชื่อมต่อกับหลายเมืองในยุโรป.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและบารี · ดูเพิ่มเติม »

ชิเบนีก

นีก (Šibenik) เป็นเมืองประวัติศาสตร์เมืองหนึ่งของประเทศโครเอเชีย ตั้งอยู่ในภูมิภาคแดลเมเชียตอนกลาง บริเวณที่แม่น้ำเคอร์คาไหลลงสู่ทะเลเอเดรียติก ชิเบนีกเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การขนส่ง อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวของเทศมณฑลชิเบนีก-คนีน และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในภูมิภาคแดลเมเชียอันเก่าแก่ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองของชาวโครแอตพื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดริมชายฝั่งทะเลอีกด้ว.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและชิเบนีก · ดูเพิ่มเติม »

พอดกอรีตซา

ที่ตั้งของกรุงพอดกอรีตซาในประเทศมอนเตเนโกร พอดกอรีตซา (อักษรโรมัน: Podgorica; อักษรซีริลลิก: Подгорица) เป็นเมืองหลวงของประเทศมอนเตเนโกร มีพิกัดภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ที่ละติจูด 42.47 องศาเหนือ และลองจิจูด 19.28 องศาตะวันออก มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 44 เมตร จากการสำรวจพบว่าในปี พ.ศ. 2546 เมืองนี้มีประชากร 136,473 คน พอดกอรีตซามีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ดี คือ ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบของแม่น้ำริบนีตซา (Ribnica) และแม่น้ำมอราตชา (Morača) ทางทิศเหนืออยู่ห่างจากศูนย์สกีฤดูหนาวเพียงไม่กี่กิโลเมตร ทางทิศใต้ก็เกือบจะติดกับทะเลเอเดรียติก ทำให้เมืองนี้มีสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการตั้งถิ่นฐาน ชื่อพอดกอรีตซาในภาษาเซอร์เบีย เมื่อแปลตามตัวอักษรจะมีความหมายว่า "ใต้กอรีตซา" กอรีตซา (หมายถึง ภูเขาลูกเล็ก ๆ) เป็นชื่อของเขาลูกหนึ่งซึ่งสามารถมองลงไปเห็นเมืองนี้ได้ บริเวณเมืองเก่าของเมืองนี้มีชื่อว่า โดเกลอา (Doclea) ในสมัยก่อนโรมันและสมัยโรมัน ต่อมาในสมัยกลางเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ริบนีตซา (Ribnica) และในระหว่างปี พ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2535 (1945 - 1992) ถูกเรียกว่า ตีโตกราด (Titograd) พอดกอรีตซาเป็นที่ตั้งของโรงละครและห้องสมุดหลายแห่ง รวมทั้งมหาวิทยาลัย 1 แห่ง หมวดหมู่:เมืองหลวง หมวดหมู่:ประเทศมอนเตเนโกร หมวดหมู่:เมืองในประเทศมอนเตเนโกร.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและพอดกอรีตซา · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์ยุโรป

ูมิศาสตร์ยุโรป (Geography of Europe) คือลักษณะภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ของทวีปยุโรปซึ่งเป็น 1 ใน 7 ทวีปบนโลกและเป็นคาบสมุทรตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียโดยการแบ่งปวีปยุโรปกับทวีปเอเชียทางตะวันออกนั้นจะใช้เทือกเขายูรัลในประเทศรัสเซียในการแบ่งเขตส่วนในตะวันออกเฉียงใต้นั้นยังไม่มีการกำหนดอย่างแน่ชัดแต่ส่วนมากจะใช้แม่น้ำยูรัล, แม่น้ำเอ็มบาและทะเลดำในการแบ่งเขต โดยจุดสิ้นสุดของทวีปเอเชียคือช่องแคบบอสพอรัสในประเทศตุรกี ส่วนการแบ่งเขตของทวีปยุโรปกับทวีปแอฟริกานั้นจะใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยจุดที่ทวีปยุโรปใกล้กับทวีปแอฟริกามากที่สุดคือช่องแคบยิบรอลตาร์โดยมีความห่างกันเพียง 14.3 กิโลเมตรหรือ 8.9 ไมล์ ส่วนพรมแดนทางตะวันออกนั้นจะมีเทือกเขากลางสมุทรไอซ์แลนด์เป็นตัวแบ่งอาณาเขตระหว่างยุโรปกับอเมริกาเหนือ ส่วนประเทศไอซ์แลนด์ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอเมริกาเหนือกับยุโรปนั้นถือว่าอยู่ในทวีปยุโรปเพราะเหตุผลด้านวัฒนธรรมและมีพื้นที่ใกล้กับแผ่นดินใหญ่ของทวีปยุโรปมากกว่าแผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือถึง 2 เท่า นี้คือภาพถ่ายจากสถานนีอวกาศแห่งชาติโดยใช้กล้อง2ตัวโดยทางซ้ายมองไปทางเหนือและทางขวามองมาทางตรง.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและภูมิศาสตร์ยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลติรานา

มณฑลติรานา (Qarku i Tiranës) เป็นหนึ่งใน 12 มณฑลของประเทศแอลเบเนีย มณฑลแบ่งการปกครอง ได้แก่ เขตคาเฟจา และเขตติรานา และแบ่งเมืองหลวง คือ ติรานา มีประชาชน 800,347 คน และเป็นมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดในมณฑลของประเทศแอลเบเนี.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและมณฑลติรานา · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอิตาลี

ราชอาณาจักรอิตาลี (Regno d'Italia) เป็นราชอาณาจักรบนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลาย ๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี ค.ศ. 1946 เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มีการลงประชามติให้มีการเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐ อิตาลีได้ประกาศสงครามต่อออสเตรียในปี..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทะเล

ทะเลคือพื้นที่น้ำเกลือที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทร หรือทะเลขนาดใหญ่ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (เช่น ทะเลแคสเปียน และทะเลเดดซี) .

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและรายชื่อทะเล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามจีดีพี (อำนาจซื้อ) ต่อหัว

้านล่างนี้เป็น รายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามจีดีพี (อำนาจซื้อ) ต่อหัว เมื่อปี..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและรายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามจีดีพี (อำนาจซื้อ) ต่อหัว · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าโทมิสลาฟที่ 1 แห่งโครเอเชีย

มเด็จพระเจ้าโทมิสลาฟที่ 1 แห่งโครเอเชีย (Tomislav I of Croatia) (? – ค.ศ. 928) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโครเอเชียแห่งราชวงศ์ Trpimirović ผู้ครองราชย์ต่อจากดยุกมันซิเมียร์แห่งโครเอเชียระหว่างปี ค.ศ. 910 จนเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 928 โดยมีสมเด็จพระเจ้าทรพิเมียร์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ โทมิสลาฟขึ้นเป็นประมุขในฐานะ "ดยุก" (dux Croatorum) แห่งดาลเมเชียโครเอเชีย ระหว่างปี ค.ศ. 910 จนถึงปี ค.ศ. 925 และทรงเป็นปฐมกษัตริย์ (rex Croatorum) แห่งราชอาณาจักรโครเอเชียระหว่างปี ค.ศ. 925 จนเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 928 โทมิสลาฟอาจจะเป็นพระราชโอรสของมันซิเมียร์ดยุกแห่งดาลเมเชียโครเอเชีย ในปี ค.ศ. 925 โทมิสลาฟก็ทรงรวมโครแอทแห่งดาลเมเชีย และ แพนโนเนียเข้าเป็นราชอาณาจักรเดียวกัน พระองค์ทรงรวมดินแดนตั้งแต่ทะเลเอเดรียติกไปจนถึงแม่น้ำดราวา และจากแม่น้ำราซาในอิสเตรียไปจนถึงแม่น้ำดรินา ภายใต้การปกครองของพระองค์ราชอาณาจักรโครเอเชียกลายเป็นราชอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดอาณาจักรหนึ่งในยุคกลาง.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและสมเด็จพระเจ้าโทมิสลาฟที่ 1 แห่งโครเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย

งครามออสเตรีย-ปรัสเซีย (Austro-Prussian War) หรือ สงครามเจ็ดสัปดาห์ (Seven Weeks' War) หรือ สงครามรวมชาติ (Unification War) หรือ สงครามพี่น้อง (Brothers War) เป็นสงครามในปี..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและสงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สปลิต

ปลิต (Split) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศโครเอเชียและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคแดลเมเชีย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรเล็ก ๆ ริมชายฝั่งตะวันออกของทะเลเอเดรียติก เมืองนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งและเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งภายในภูมิภาค และยังมีระบบขนส่งเชื่อมโยงกับกลุ่มเกาะในทะเลเอเดรียติกและเมืองในคาบสมุทรอิตาลีด้ว.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและสปลิต · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาลอนดอน (1913)

นธิสัญญาลอนดอน ลงนามเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ระหว่างการประชุมลอนดอน..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและสนธิสัญญาลอนดอน (1913) · ดูเพิ่มเติม »

อากวีเลยา

อากวีเลยา หรือ อากวีเลจา (Aquileia หรือ Aquilegia) เป็นที่ตั้งถิ่นฐานโบราณของเมืองโรมันที่ในปัจจุบันอยู่ในประเทศอิตาลีตรงส่วนบนสุดของทะเลเอเดรียติกริมทะเลสาบน้ำเค็มประมาณ 10 กิโลเมตรจากทะเลบนฝั่งแม่น้ำนาตีโซ (ปัจจุบันนาตีโซเน) ที่เปลี่ยนเส้นทางไปบ้างตั้งแต่สมัยโรมัน อากวีเลยาเป็นที่ตั้งของมรดกโลกพื้นที่โบราณคดีและมหาวิหารอากวีเล.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและอากวีเลยา · ดูเพิ่มเติม »

อิสเตรีย

มุทรอิสเตรีย อิสเตรีย (Istria; โครเอเชีย, สโลวีเนีย: Istra; Istriot: Eîstria; เยอรมัน: Istrien) หรือชื่อเก่าในภาษาละตินคือ Histria เป็นคาบสมุทรขนาดกลางในทะเลเอเดรียติก คาบสมุทรเป็นที่ตั้งสำคัญของอ่าวในทะเลเอเดรียติกคือ Gulf of Trieste และ Kvarner Gulf คาบสมุทรอิสเตรียเป็นดินแดนของสามประเทศคือ ประเทศโครเอเชีย, ประเทศสโลวีเนีย, และ ประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและอิสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ฮวาร์

วาร์ (Hvar, Pharos, Φαρος, Pharia, Lesina) เป็นเกาะในประเทศโครเอเชีย ตั้งอยู่ในทะเลเอเดรียติก นอกชายฝั่งดัลเมเชีย เป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ บริเวณลาดเขามีป่าต้นสน ไร่องุ่น สวนมะกอก ทุ่งลาเวนเดอร์ ผลิตผลสำคัญได้แก่ น้ำผึ้ง มะกอก เหล้าองุ่น หินอ่อน มีการประมง และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ภูมิอากาศเย็นไม่รุนแรงในฤดูหนาว และอุ่นในฤดูร้อน มีแสงแดดหลายชั่วโมง เกาะมีประชากร 11,103 คน เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโครเอเชีย ชาวกรีกเข้ามาตั้งถิ่นฐานราว 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 พวกสลาฟเข้ามาครอบครอง ตกเป็นของยูโกสลาเวียภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโครเอเชียเมื่อประเทศนั้นได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและฮวาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนเสรีตรีเยสเต

นแดนเสรีตรีเยสเต (Territorio libero di Trieste, Svobodno tržaško ozemlje; Slobodni teritorij Trsta) เป็นดินแดนเสรีในยุโรปกลางอยู่ระหว่างทางตอนเหนือของอิตาลีกับยูโกสลาเวีย ดินแดนติดกับทะเลเอเดรียติกโดยอยู่ใต้อาณัติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาต.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและดินแดนเสรีตรีเยสเต · ดูเพิ่มเติม »

ดูบรอฟนีก

ูบรอฟนีก (Dubrovnik) เป็นเมืองในประเทศโครเอเชีย ตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกของทะเลเอเดรียติก เป็นเมืองท่า สถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งในแถบเมดิเตอร์เรเนียน และศูนย์กลางของเทศมณฑลดูบรอฟนีก-เนเร็ตวา มีประชากรทั้งหมด 42,615 คน (สำมะโนประชากร ค.ศ. 2011) ใน..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและดูบรอฟนีก · ดูเพิ่มเติม »

ดูร์เรส

ูร์เรส (Durrës) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศแอลเบเนีย เป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่และมีความสำคัญที่สุดของแอลเบเนีย ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลเอเดรียติก ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม อยู่ห่างจากเมืองหลวง ติรานา ทางตะวันตก 33 กิโลเมตร มีประชากรราว 202,000 คน (ค.ศ. 2009) เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งน้ำมันมะกอก ยาสูบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องหนัง เดิมชื่อ เอพิแดมนัส สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 625 ปีก่อนคริสต์ศักราชและได้เปลี่ยนผู้ปกครองหลายทอดจนกระทั่งชาวเซิร์บเข้าปกครองระหว่าง..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและดูร์เรส · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรอิตาลี

ทางอากาศของคาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรอิตาลี หรือ คาบสมุทรแอเพนไนน์ (Penisola italiana, Penisola appenninica) เป็นคาบสมุทรที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ พื้นที่ทางตอนเหนือติดกับเทือกเขาแอลป์และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเอเดรียติก ทางทิศใต้ติดกับทะเลไอโอเนียน และทางทิศตะวันตกติดกับทะเลติร์เรเนียนและทะเลลิกูเรียน คาบสมุทรนี้มีรูปร่างคล้ายรองเท้าบูท โดยบริเวณตอนกลางของคาบสมุทรมีเทือกเขาแอเพนไนน์เป็นแกนกลาง บริเวณตอนเหนือมีที่ราบลุ่มแม่น้ำโปซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอลป์กับเทือกเขาแอเพนไนน์นั้น เป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์มีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม และเป็นที่ตั้งเมืองสำคัญของประเทศอิตาลี เช่น มิลาน ตูริน เวนิส โบโลญญา ปาร์มา เวโรนา คาบสมุทรอิตาลีมีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 290 กิโลเมตร และตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ มีพื้นที่ประมาณ 260,000 ตารางกิโลเมตร (ไม่นับรวมพื้นที่เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย) เป็นคาบสมุทรที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของทวีปยุโรป รองจาก คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรไอบีเรีย และคาบสมุทรบอลข่าน ตามลำดับ เมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรอิตาลีเรียงตามลำดับ 4 อันดับแรกได้แก่ โรม มิลาน เนเปิลส์ และตูริน ภูมิอากาศบริเวณคาบสมุทรอิตาลีเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกคือ มะกอกเพื่อทำน้ำมันมะกอก และองุ่นเพื่อใช้ทำไวน์ เมืองท่าที่สำคัญบนคาบสมุทรอิตาลีได้แก่ เจนัว เวนิส และเนเปิล.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและคาบสมุทรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

คาสต์

ต์ คาสต์ (Karst) เป็นลักษณะของหินปูนที่ถูกน้ำ ละลายหินออกไปจนเหลือหินเป็นลักษณะตะปุ่มตะป่ำ เต็มไปด้วยหลุมบ่อ,ถ้ำและทางน้ำใต้ดินที่ละลายเอาเนื้อหินปูนแทรกซึมหายลงไป พื้นที่แบบนี้มักเป็นที่แห้งแล้งและมีธารน้ำที่น้ำไหลลงที่ต่ำในหน้าฝน แต่ตอนปลายธารน้ำมุดดินหายไปหมด คำนี้แต่เดิมใช้แก้ที่ราบสูงคาสต์อันเป็นที่ราบสูงหินปูนชายฝั่งทะเลเอเดรียติก ในเขตประเทศยูโกสลาเวียในปัจจุบัน ในประเทศไทยมีลักษณะของคาสต์คล้ายกันนี้แต่มีบริเวณที่เล็กกว่าอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดพังงา, อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ ปรากฏเป็นหย่อมๆ ทางตะวันตกของ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและคาสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย

ตราแผ่นดินของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ประกอบไปด้วยรูปคบเพลิง5อัน สื่อถึงสาธารณรัฐในยูโกสลาเวีย หมายถึง พี่น้องร่วมชาติ และ เอกภาพ เหนือคบเพลิงมีรูปดาวแดงขอบทอง รองรับด้วยรวงข้าวสาลีประกอบแถบแพรสีฟ้า ภายในแถบจารึกว่า "29-XI-1943" 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ซึ่งเป็นวันที่ได้จัดการประชุมสภาแห่งชาติปลดปล่อยยูโกสลาเวีย ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่เมืองJajce ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 วันดังกล่าวถือว่าเป็นวันสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐ (ภายหลังสงครามโลก ได้มีการเฉลิมฉลองวันดังกล่าว).

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและตราแผ่นดินของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเยสเต

ตรีเยสเต (Trieste; Trst; Triest) เป็นเมืองท่าที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอิตาลี เป็นเมืองหลักของจังหวัดตรีเยสเตและแคว้นปกครองตนเองฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย ตั้งอยู่บนอ่าวตรีเยสเต ด้านตะวันออกเฉียงเหนือสุดของทะเลเอเดรียติก ตรีเยสเตมีท่าเรือที่มีคุณภาพและสะดวกในการขนส่งสินค้าทางเรือ ด้านอุตสาหกรรมของเมืองได้แก่ การสร้างเรือ โรงกลั่นปิโตรเลียม การผลิตผลิตภัณฑ์จากเหล็กและเหล็กกล้า สิ่งทอ เครื่องจักร และอุตสาหกรรมอาหาร บริเวณเมืองเก่าของตรีเยสเตตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขาของซาน จีอัสโตฮิลล์ ส่วนเมืองสมัยใหม่ตั้งอยู่ริมท่าเรือใกล้ชายฝั่ง ตรีเยสเตมีจุดน่าสนใจหลายอย่าง เช่น อัฒจันทร์กลางแจ้งโบราณตั้งแต่สมัยโรมัน มหาวิทยาลัยแห่งตรีเยสเต ซึ่งเคยใช้เป็นสถาบันสำหรับพัฒนาการเรียนฟิสิก..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและตรีเยสเต · ดูเพิ่มเติม »

ซาดาร์

ซาดาร์ (Zadar; Zara; Iader) เป็นเมืองใหญ่อันดับที่ห้าของประเทศโครเอเชีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับทะเลเอเดรียติกในภูมิภาคดัลเมเทีย มีอายุเก่าแก่ประมาณ 2,800 ปี ในอดีตเป็นเมืองท่าทางทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของทะเลเอเดรียติกและเป็นที่ช่วงชิงของหลายอาณาจักรเพื่อครองความได้เปรียบของการค้าทางทะเลในบริเวณนี้ ในช่วงสาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ซาดาร์ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่โดดเด่นแห่งหนึ่งของฝั่งทะเลเอเดรียติก และแม้ปัจจุบันนี้หลังโครเอเชียได้แยกตัวออกมาเป็นประเทศเอกราชจากยูโกสลาเวียเมื่อต้นทศวรรษที่ 90 ซาดาร์ก็ยังคงเป็น 1 ในแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้วยความที่อยู่ใต้การปกครองของสาธารณรัฐเวนิสมาช้านาน ซาดาร์จึงได้เป็นแหล่งกำเนิดของ Maraschino ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการบ่มเชอร์รี่สายพันธุ์ marasca.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและซาดาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซาเกร็บ

ตำแหน่งของเมืองซาเกร็บ โรงละครแห่งชาติในซาเกร็บ ซาเกร็บ (Zagreb) เป็นเมืองหลวงของประเทศโครเอเชีย ในปี พ.ศ. 2548 เมืองนี้มีจำนวนประชากร 973,667 คน มีที่ตั้งอยู่ที่ละติจูด 45°48′ เหนือ และลองจิจูด 15°58′ ตะวันออก ในบริเวณระหว่างเนินทางใต้ของภูเขาเมดเวดนีตซา (Medvednica) กับฝั่งเหนือของแม่น้ำซาวา (Sava) มีความสูงของพื้นที่ 120 เมตรจากระดับน้ำทะเล ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมของเมืองนี้คือ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบแพนโนเนีย ซึ่งเชื่อมโยงไปยังบริเวณเทือกเขาแอลป์ เทือกเขาไดนาริกแอลป์ ทะเลเอเดรียติก และภูมิภาคแพนโนเนีย ทำให้สามารถติดต่อและคมนาคมขนส่งกับภูมิภาคยุโรปกลางกับทะเลเอเดรียติกได้อย่างดีมาก การเป็นศูนย์กลางการขนส่ง อุตสาหกรรม และสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของเมืองนี้ เป็นพื้นฐานที่ทำให้เมืองนี้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ซาเกร็บยังเป็นศูนย์กลางการปกครอง การบริหาร และเป็นที่ตั้งของกระทรวง หน่วยงานราชการต่าง ๆ ของประเทศอีกด้วย หมวดหมู่:เมืองในประเทศโครเอเชีย หมวดหมู่:เมืองหลวง.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและซาเกร็บ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมอนเตเนโกร

มอนเตเนโกร (Montenegro ออกเสียง:; มอนเตเนโกร: มีความหมายว่า "ภูเขาสีดำ") เป็นประเทศเอกราชซึ่งตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตจรดทะเลเอเดรียติกและโครเอเชียทางทิศตะวันตก จรดบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาทางทิศเหนือ จรดเซอร์เบียทางทิศตะวันออก และจรดแอลเบเนียทางทิศใต้ มีพอดกอรีตซาเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ในอดีต มอนเตเนโกรมีสถานะเป็นสาธารณรัฐในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย และต่อมาได้เป็นส่วนหนึ่งในสหภาพการเมืองของเซอร์เบีย-มอนเตเนโกร หลังจากมีการลงประชามติเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 มอนเตเนโกรก็ได้ประกาศเอกราชในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มอนเตเนโกรได้รับการกำหนดให้เป็น "รัฐประชาธิปไตย สวัสดิการ และสิ่งแวดล้อม".

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและประเทศมอนเตเนโกร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสโลวีเนีย

ประเทศสโลวีเนีย (Slovenia; Slovenija) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย (Slovene:, abbr.: RS) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในยุโรปกลาง ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าและแหล่งวัฒนธรรมหลักของทวีปยุโรป มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดอิตาลี ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลเอเดรียติก ทางใต้และตะวันออกจรดโครเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดฮังการีและทางเหนือจรดออสเตรีย มีพื้นที่ประมาณ 20,273 ตารางกิโลเมตรและมีประชากร 2.06 ล้านคน สโลวีเนียเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาและเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ สหภาพยุโรปและเนโท เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดคือลูบลิยานา พื้นที่ส่วนใหญ่ของสโลวีเนียเป็นภูเขาและมีลักษณะอากาศแบบภูมิอากาศภาคพื้นทวีปหลัก ยกเว้นภูมิภาคชายฝั่งจะมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนและภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งมีภูมิอากาศแบบเทือกเขาแอลป์ นอกจากนี้ไดนาริกแอลป์และที่ราบพันโนเนียก็พอได้ในสโลวีเนียเช่นกัน สโลวีเนียเป็นหนึ่งประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในพื้นที่ ๆ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์มากในยุโรป ทั้งแม่น้ำจำนวนมาก ชั้นหินอุ้มน้ำและแหล่งธารน้ำใต้ดิน สโลวีเรียมีป่าปกคลุมมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ส่วนการตั้งถิ่นฐานของประชากรก็จะกระจักกระจายกันไป ประวัติศาสตร์สโลวีเนียได้รับทั้งวัฒนธรรมและภาษาจากสลาวิกตะวันตก สลาวิกใต้ เจอร์แมนิก โรมานซ์และฮังกาเรียน ถึงแม้ประชากรในประเทศจะไม่ได้เป็นเอกพันธุ์เดียวกันแต่ส่วนใหญ่เป็นชาวสโลวีน ภาษาสโลวีเนียซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาสลาวิกใต้เป็นภาษาราชการของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไม่นับถือศาสนาอย่างแท้จริง แต่วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของประเทศได้รับอิทธิพลจากโรมันคาทอลิกและลูเทอแรน เศรษฐกิจของประเทศสโลเวเนียเป็นแบบเปิดขนาดเล็กและเป็นอุตสาหกรรมมุ่งการส่งออก ที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ และได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปที่เริ่มช่วงปลายยุค 2000 เศรษฐกิจหลักคืออุตสาหกรรมบริการตามด้วยอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ในอดีตพื้นที่ของสโลเวเนียเป็นส่วนหนึ่งของรัฐที่แตกต่างกันหลายแห่งทั้งจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิไบแซนไทน์ จักรวรรดิการอแล็งเฌียง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ปกครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค สาธารณรัฐเวนิส จังหวัดอิลลิเรียของนโปเลียนที่ 1ที่ปกครองโดยฝรั่งเศส จักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและประเทศสโลวีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล

ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มักจะถูกนิยามว่าเป็นประเทศที่ถูกปิดล้อมหรือเกือบถูกปิดล้อมด้วยแผ่นดิน ในปี 2551 มีทั้งหมด 45 ประเทศ การเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลนับเป็นข้อด้อยทางภูมิศาสตร์ เพราะนอกจากจะถูกปิดกั้นจากทรัพยากรทางทะเลแล้ว ยังทำให้ไม่สามารถค้าขายทางทะเลได้อีกด้วย ประเทศที่มีชายฝั่งมีแนวโน้มที่จะร่ำรวยกว่าและมีประชากรมากกว่าประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล นอกจากนี้ยังมีคำว่า ทะเลปิด หมายถึงทะเลที่ไม่ได้เชื่อมกับมหาสมุทร เช่น ทะเลแคสเปียน ซึ่งในบางครั้งมองเป็นทะเลสาบ นอกจากนี้ทะเลอื่นๆ เช่น ทะเลดำ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลบอลติก และ ทะเลแดง มีช่องทางออกสู่ทะเลน้อ.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอลเบเนีย

แอลเบเนีย (Albania; Shqipëri) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอลเบเนีย (Republic of Albania; Republika e Shqipërisë) เป็นประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ พรมแดนทางเหนือติดต่อกับมอนเตเนโกร ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเซอร์เบีย (คอซอวอ) ทางตะวันออกติดต่อกับมาซิโดเนีย และทางใต้ติดต่อกับกรีซ ชายฝั่งตะวันตกจรดทะเลเอเดรียติก ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลไอโอเนียน ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไต.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและประเทศแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโครเอเชีย

รเอเชีย (Croatia; Hrvatska) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโครเอเชีย (Republic of Croatia; Republika Hrvatska) เป็นประเทศรูปเสี้ยววงเดือนในยุโรปที่มีอาณาเขตจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และบอลข่าน เมืองหลวงชื่อซาเกร็บ ในประวัติศาสตร์ปัจจุบัน โครเอเชียเคยเป็นสาธารณรัฐในยูโกสลาเวียเดิม แต่ได้รับเอกราชในพ.ศ. 2534 และได้สมัครเพื่อเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในอนาคต ชาวโครเอเชียลงประชามติรับรองการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลในกลางปี 2013 และเป็นสมาชิกลำดับที่ 28.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและประเทศโครเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ปราก

รรยากาศภายในกรุงปราก ปราก (Prague) หรือ ปราฮา (Praha) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศเช็กเกีย มีประชากรอาศัยประมาณ 1.2 ล้านคน เมื่อ ค.ศ. 1992 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้ปรากเป็นมรดกโลก.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและปราก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสเตอร์เจียนขาว

ปลาสเตอร์เจียนขาว (Beluga, European sturgeon, Giant sturgeon, Great sturgeon; Белуга-แปลว่า สีขาว) ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Acipenseridae มีลักษณะลำตัวยาว ส่วนของหางเหมือนปลาฉลาม มีเกล็ดเป็นหนามแหลม ๆ เรียงเป็นแถวอยู่บนลำตัว ปลายปากเรียวแหลม ช่องปากอยู่ด้านล่างของลำตัวมีหนวดขนาดเล็กหลายเส้นรอบ ๆ ปากไว้รับสัมผัส ส่วนหลังมีสีดำอมเทา ส่วนท้องและขอบครีบต่าง ๆ มีสีขาว เมื่อยังเล็กส่วนท้องจะมีสีขาว ส่วนขอบของครีบมีสีขาว พื้นลำตัวมีสีเทาและหนามบนหลังมีสีขาว จึงเป็นที่มาของชื่อ ปลาสเตอร์เจียนขาว นับเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 5 เมตร น้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม และมีบันทึกว่าพบใหญ่ที่สุดถึง 9 เมตร นับเป็น 2 เท่าตัวของความยาวปลาฉลามขาว ด้วยซ้ำจึงจัดว่าเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ในธรรมชาติพบการแพร่กระจายในเขตหนาวของทวีปยุโรป เช่น ทะเลดำ, ทะเลสาบแคสเปียน และทะเลเอเดรียติก หากินอยู่ตามพื้นน้ำโดยใช้หนวดสัมผัส อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ใน..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและปลาสเตอร์เจียนขาว · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำรูบิคอน

เส้นทางการไหลของแม่น้ำรูบิคอนที่ได้รับการสันนิษฐาน รูบิคอน (Rubicon), รูบีโคเน (Rubicone) หรือ รุบิโก (Rvbico) เป็นแม่น้ำตื้น ๆ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอิตาลี ยาวประมาณ 80 กิโลเมตร ทอดยาวจากเทือกเขาแอเพนไนน์ไปจนถึงทะเลเอเดรียติก ผ่านแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาตอนใต้ สำหรับ rvbico ในภาษาละติน มาจากคำคุณศัพท์ rvbevs แปลว่า "สีแดง" แม่น้ำรูบิคอนได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากน้ำในแม่น้ำมีสีแดงจากโคลนที่ทับถมกัน สำนวน "ข้ามแม่น้ำรูบิคอน" มีความหมายว่า ผ่านจุดที่ไม่มีทางหวนกลับ และหมายถึง การข้ามแม่น้ำดังกล่าวของจูเลียส ซีซาร์ เมื่อ 49 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งพิจารณาว่าเป็นการประกาศสงคราม เนื่องจากเส้นทางการไหลของแม่น้ำได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากนับตั้งแต่นั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะยืนยันอย่างชัดเจนว่าแม่น้ำรูบิคอนมีเส้นทางการไหลอย่างไรเมื่อซีซาร์และกองทหารลีเจียนของเขาข้ามแม่น้ำไป หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศอิตาลี หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์อิตาลี.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและแม่น้ำรูบิคอน · ดูเพิ่มเติม »

แดลเมเชีย

แดลเมเชีย (Dalmatia) หรือ ดัลมาตซียา (Dalmacija) คือภูมิภาคในบริเวณฝั่งตะวันออกของทะเลเอเดรียติกที่ในประเทศโครเอเชียปัจจุบัน บริเวณนี้รวมตั้งแต่เกาะราบทางตะวันตกเฉียงเหนือและอ่าวโคทอร์ทางตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและแดลเมเชีย · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นมาร์เค

มาร์เค (Marche) หรือ มาร์ชิส (Marches) เป็นแคว้นหนึ่งใน 20 แคว้นของประเทศอิตาลี อยู่ในภาคกลางของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาและประเทศซานมารีโนทางทิศเหนือ ติดกับแคว้นตอสคานาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับแคว้นอาบรุซโซและแคว้นลัตซีโยทางทิศใต้ และติดต่อกับทะเลเอเดรียติกทางทิศตะวันออก มีประชากรทั้งหมดประมาณ 1.6 ล้านคน และมีพื้นที่ 9,694 ตารางกิโลเมตร มีเมืองหลักคือ อังโคนา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ยกเว้นเพียงแค่แม่น้ำระหว่างหุบเขา และชายฝั่งทะเลที่มีพื้นที่แคบ ๆ เท่านั้น การคมนาคมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีเพียงทางรถไฟที่มาจากโบโลญญาไปยังบรินดีซี พาดผ่านตลอดชายฝั่งทะเลในภูมิภาคแห่งนี้ แต่ในวันนี้การเดินทางจากเหนือไปใต้ ก็มีเส้นทางถนนตัดผ่านแม้กระทั่งในแผ่นดินใหญ่ที่มีภูเขาหนาแน่น.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและแคว้นมาร์เค · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอาบรุซโซ

อาบรุซโซ (Abruzzo) เป็นแคว้นหนึ่งในยี่สิบแคว้นของประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ห่างจากกรุงโรมไปทางตะวันออกประมาณ 50 ไมล์ มีพื้นที่ติดต่อกับแคว้นมาร์เคทางทิศเหนือ ทะเลเอเดรียติกทางทิศตะวันออก แคว้นโมลีเซทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และแคว้นลัตซีโยทางทิศตะวันตกและทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงแม้ว่าแคว้นอาบรุซโซมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่บริเวณภาคกลาง แต่แคว้นนี้มักถูกจัดอยู่ในภาคใต้เนื่องจากมีลักษณะทางประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสองในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมตอนใต้ของอิตาลีทั้งหม.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและแคว้นอาบรุซโซ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปกครองตนเองฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย

ฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย (Friuli-Venezia Giulia; ฟรียูลี: Friûl-Vignesie Julie; Friaul-Julisch Venetien; Furlanija-Julijska krajina) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี มีอาณาเขตจรดแคว้นเวเนโตทางทิศตะวันตก จรดประเทศออสเตรียทางทิศเหนือ จรดประเทศสโลวีเนียทางทิศตะวันออก และจรดทะเลเอเดรียติกทางทิศใต้ มีเมืองหลักชื่อตรีเยสเต ฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลียมีพื้นที่ 7,856 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.2 ล้านคน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดโกริตเซีย จังหวัดปอร์เดโนเน จังหวัดตรีเยสเต และจังหวัดอูดีเน มีภาษาท้องถิ่นคือภาษาฟรียูลี แคว้นนี้ครอบคลุมภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ฟรียูลีและบางส่วนของภูมิภาคทางประวัติศาสตร์เวเน็ตเซียจูเลีย ปัจจุบันมีเส้นทางการคมนาคมหลักตัดผ่านจากด้านตะวันออกสู่ด้านตะวันตกของภูมิภาคยุโรปใต้.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและแคว้นปกครองตนเองฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปุลยา

ปุลยา (Puglia) หรือ อะพิวเลีย (Apulia) เป็นแคว้นหนึ่งในยี่สิบแคว้นของประเทศอิตาลี อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ มีอาณาเขตจรดทะเลเอเดรียติกทางทิศตะวันออก จรดทะเลไอโอเนียนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจรดช่องแคบโอตรันโตและอ่าวตารันโตทางทิศใต้ ส่วนใต้สุดของแคว้นเป็นคาบสมุทรเล็ก ๆ ที่มีชื่อว่าซาเลนโต มีรูปร่างคล้ายกับส้นรองเท้าหากเปรียบอิตาลีเป็นรองเท้าบูต แคว้นปุลยามีพื้นที่ทั้งหมด 19,358 ตารางกิโลเมตร (7,474 ตารางไมล์) และมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 4 ล้านคน มีอาณาเขตทางพื้นดินจรดแคว้นโมลีเซทางทิศเหนือ จรดแคว้นคัมปาเนียทางทิศตะวันตก และจรดแคว้นบาซีลีคาตาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศที่อยู่ใกล้เคียงได้แก่ โครเอเชีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร แอลเบเนีย และกรีซซึ่งตั้งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของทะเลเอเดรียติกและทะเลไอโอเนียน แคว้นนี้มีอาณาเขตขยายไปทางตอนเหนือถึงมอนเตการ์กาโน และเป็นสถานที่ปฏิบัติการครั้งสุดท้ายในสงครามพิวนิกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและแคว้นปุลยา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นโมลีเซ

มลีเซ (Molise) เป็นแคว้นหนึ่งในยี่สิบแคว้นของประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศ มีพื้นที่เล็กที่สุดเป็นอันดับสองของรองจากแคว้นปกครองตนเองวัลเลดาออสตา แคว้นโมลีเซก่อตั้งในปี ค.ศ. 1963 ก่อนหน้านี้เคยเป็นส่วนของภูมิภาคที่มีชื่อว่าภูมิภาคอาบรุซซีและโมลีเซ (รวมกับแคว้นอาบรุซโซ) ซึ่งในปัจจุบันได้แยกออกจากกันแล้ว แคว้นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 4,438 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 320,000 คน.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและแคว้นโมลีเซ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา

อมีเลีย-โรมัญญา (Emilia-Romagna) เป็นแคว้นหนึ่งทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี มีเนื้อที่ทั้งหมด 22,446 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 4.4 ล้านคน เมืองหลักของแคว้นคือโบโลญญา เอมีเลีย-โรมัญญาเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มั่งคั่งที่สุดและได้รับการพัฒนามากที่สุดในยุโรป โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากรสูงเป็นอันดับที่ 3 ในอิตาลี.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา · ดูเพิ่มเติม »

โฟล์กสวาเกน เจ็ตตา

ฟล์กสวาเกน เจ็ตตา (Volkswagen Jetta) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กรุ่นหนึ่งที่ผลิตโดยโฟล์กสวาเกน บริษัทรถยนต์สัญชาติเยอรมนี เริ่มผลิตครั้งแรกใน..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและโฟล์กสวาเกน เจ็ตตา · ดูเพิ่มเติม »

โจรสลัด

รสลัด (Pirate, Buccaneer, Frigate) คือบุคคลที่ปล้นหรือโจรกรรมในทะเล หรือบางครั้งตามชายฝั่งหรือท่าเรือต่างๆ โจรสลัดในปัจจุบันจะแตกต่างกับโจรสลัดในอดีตที่มีลักษณะเฉพาะคือจะมีผ้าคาดหัว ใช้ดาบใบกว้างหรือปืนพกและเรือโจรสลัดขนาดใหญ่ ในปัจจุบันโจรสลัดนิยมใช้เรือเร็ว และใช้ปืนกลแทนที่ดาบ เป้าหมายส่วนใหญ่ที่โจรสลัดเลือกคือเรือสินค้าและเรือโดยสาร สำหรับรูปแบบที่ใช้ในการบุกเข้าปล้นมีทั้งชูธงหลอกล่อเป้าหมายว่าเป็นเรือสินค้าบ้าง เรือของกองทัพหรือของศาสนจักรบ้าง หรือแม้กระทั่งใช้กำลังบุกเข้าโจมตีโดยตรงเลยก็มี.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและโจรสลัด · ดูเพิ่มเติม »

โคเพอร์

อร์ (Koper) หรือ กาโปดิสเตรีย (Capodistria) เป็นเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสโลวีเนีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเอเดรียติกและเป็นเมืองท่าการค้าของประเทศสโลวีเนีย ภาษาราชการคือภาษาอิตาลีและภาษาสโลวีน มีประชากรทั้งหมด 24,996 คน และมีเนื้อที่ 13 ตร.กม.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและโคเพอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เชเซนา

เชเซน่า (Cesena) เป็นเมืองในจังหวัดฟอร์ลิ-เชเซน่า และในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองราเวนน่า และทางตะวันตกของเมืองริมินี ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาแอเพนไนน์ และห่างจากทะเลเอเดรียติก 15 กิโลเมตร นอกจากนี้เมืองเชเซน่ายังเป็นที่ตั้งของสโมสรฟุตบอลเชเซน่าอีกด้วย หมวดหมู่:เมืองในประเทศอิตาลี หมวดหมู่:แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเชเซนา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะบราช

กาะบราช (ภาษาถิ่น: Broč; Bretia, Brattia; Brazza) เป็นเกาะในทะเลเอเดรียติก นอกชายฝั่งดัลเมเชีย ของประเทศโครเอเชีย มีพื้นที่ 396 กม² ทำให้เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในดัลเมเชีย และเป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเอเดรียติก เกาะมีประชากร 14,436 คน.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเกาะบราช · ดูเพิ่มเติม »

เกาะพาก

กาะพาก (Pag ออกเสียง; Pagus, Pago, Baag) เป็นเกาะในประเทศโครเอเชีย ทางทิศเหนือของทะเลเอเดรียติก เป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโครเอเชีย และเป็นเกาะหนึ่งที่มีชายฝั่งยาวที่สุด จากการสำรวจประชากรในปี..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเกาะพาก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะกาแล็ชญัก

กาแล็ชญัก (Galešnjak, หรือเรียกว่า เกาะแห่งรัก, เกาะแห่งคนรัก, Otok za zaljubljene) ตั้งอยู่ในทะเลเอเดรียติก ระหว่างเกาะปัชมันกับเมืองตูรัญบนแผ่นดินใหญ่ของประเทศโครเอเชีย ความน่าสนใจคือรูปร่างของเกาะนี้เป็นรูปหัวใจซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ คล้ายกับแนวปะการังรูปหัวใจในหมู่เกาะวิตซันเดส์ของประเทศออสเตรเลีย กาแล็ชญักมีพื้นที่ 0.132 ตารางกิโลเมตร มีชายหาดยาว 1.55 กิโลเมตร จุดสูงสุดของเกาะคือยอดเขาสองลูกที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 36 เมตร รูปร่างของเกาะนี้ได้รับการบันทึกครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยนักเขียนแผนที่ของนโปเลียนนามว่า ชาร์ล-ฟร็องซัว โบต็อง-โบเพร ซึ่งแสดงเกาะนี้ไว้ในแผนที่เล่มแสดงชายฝั่งของภูมิภาคแดลเมเชีย (ปัจจุบันเก็บอยู่ในหอสมุดแห่งชาติและแห่งมหาวิทยาลัยในซาเกร็บ) ในเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเกาะกาแล็ชญัก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะสเวตินิโกลา

กาะสเวตินิโกลา (เกาะเซนต์นิโคลัส) เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ในทะเลเอเดรียติก อยู่นอกชายฝั่งเมืองบุดวา ประเทศมอนเตเนโกร ห่างจากแผ่นดินใหญ่ 1 กิโลเมตร เกาะสเวตินิโกลามีความยาว 2 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 36 เฮกตาร์ (360,000 ตารางเมตร) มีลักษณะเป็นแผ่นดินลาดเอียง ด้านหนึ่งเป็นหน้าผา มีความสูง 121 เมตร ลาดเอียงสู่ชายหาดอีกด้านหนึ่งของเกาะ พื้นที่บางส่วนของเกาะเป็นถิ่นอาศัยของกวาง เกาะแห่งนี้มีชื่อในภาษาพื้นเมืองว่า Školj เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเมืองบุดดา เนื่องจากมีชายหาดถึงสามแห่ง มีความยาวถึง 840 เมตร จนได้รับฉายาว่า ฮาวายแห่งมอนเตเนโกร นายนพดล ปัทมะ ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเกาะสเวตินิโกลา · ดูเพิ่มเติม »

เรือยิงตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที 5

รือยิงตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที 5 (T5) เป็นเรือยิงตอร์ปิโดประจำการในราชนาวียูโกสลาเวียระหว่างปี..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเรือยิงตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที 5 · ดูเพิ่มเติม »

เวนิส

วนิส (Venice) หรือ เวเน็ตเซีย (Venezia) เป็นเมืองหลักของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลเอเดรียติก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges) และเมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light) เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเอเดรียติก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำปลาวี มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในแตร์ราแฟร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่น ๆ ในทะเล.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเวนิส · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางสายอำพัน

“เส้นทางการค้าสายอำพัน” เส้นทางสายอำพัน (Amber Road) เป็นเส้นทางการค้าสายโบราณสำหรับการขนส่งอำพัน เส้นทางการค้าสายอำพันเป็นเส้นทางบกและทางน้ำที่เชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชีย และจากตอนเหนือของยุโรปไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อำพันเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการตกแต่งที่ขนส่งจากฝั่งทะเลเหนือและทะเลบอลติกข้ามแผ่นดินใหญ่ยุโรปตามลำแม่น้ำวิสทูรา (Vistula River) และ แม่น้ำนีพเพอร์ ไปยังอิตาลี, กรีซ, ทะเลดำ และอียิปต์เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้วและเป็นเวลานานหลังจากนั้น ในสมัยโรมันเส้นทางสายหลักแล่นลงมาทางใต้จากฝั่งทะเลบอลติกในภูมิภาคปรัสเซีย ฝ่าดินแดนโบอิอิ (สาธารณรัฐเช็ก และ สโลวาเกียปัจจุบัน) ไปยังตอนต้นทะเลเอเดรียติก อำพันจากฝั่งทะเลบอลติกพบในที่ฝังพระศพของฟาโรห์ตุตันคามุน และถูกส่งจากทะเลเหนือไปเครื่องสักการะยังเทวสถานอพอลโลที่เดลฟี จากทะเลดำอำพันก็ถูกส่งต่อไปยังเอเชียโดยเส้นทางสายไหมซึ่งเป็นเส้นทางการค้าสายโบราณอีกสายหนึ่ง จุดเริ่มต้นของเส้นทางอยู่ที่เมืองคอพและทรูโซในภูมิภาคปรัสเซียเดิมบนฝั่งทะเลบอลติก เส้นทางการค้าสายอำพันอาจจะมีส่วนช่วยในการสร้างความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมของยุคสัมฤทธิ์นอร์ดิก (Nordic Bronze Age) ในสแกนดิเนเวียโดยการนำอิทธิพลของเมดิเตอเรเนียนเข้ามายังประเทศต่าง ๆ ทางตอนเหนือสุดของยุโรป บางครั้งแคว้นคาลินินกราด ก็เรียกว่า “Янтарный край” หรือ “บริเวณอำพัน”.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเส้นทางสายอำพัน · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 41 องศาเหนือ

้นขนานที่ 41 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 40 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปยุโรป ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 15 ชั่วโมง 8 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 9 ชั่วโมง 13 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเส้นขนานที่ 41 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 14 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 14 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 14 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 166 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเส้นเมริเดียนที่ 14 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันออก

อนุสาวรีย์สัญลักษณ์เส้นเมริเดียนในสตาร์การ์ดชเชชีงสกี, โปแลนด์ อนุสาวรีย์สัญลักษณ์เส้นเมริเดียนในกือราลิตซ์, เมืองทางตะวันออกสุดของประเทศเยอรมนี สัญลักษณ์ของเส้นเมริเดียน 15 องศาบนทางเท้าใน อินด์ชิฮูอาราแด็ก, สาธารณรัฐเช็ก เส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 165 องศาตะวันตก เส้นเมริเดียนนี้ ถือเป็นแกนกลางของเวลายุโรปกลาง.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 164 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเส้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เจ็ดสมุทร

thumb เจ็ดสมุทร หรือ เจ็ดย่านน้ำ (Seven Seas) เป็นวลีซึ่งมีที่มาจากสำนวนภาษาอังกฤษแต่โบราณว่า "sail the Seven Seas" หมายความว่า ท่องเที่ยวไปในโลก ย่านน้ำทั้งเจ็ดนี้อาจหมายถึง ท้องทะเลทั่วไปในโลก หรือท้องทะเลเจ็ดแห่งซึ่งมีกำหนดไว้ต่าง ๆ กันในวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค เช่น ในวัฒนธรรมจีนและอาหรับ หมายถึง อ่าวเปอร์เซีย อ่าวขัมภัต อ่าวเบงกอล อ่าวไทย ทะเลมะละกา ทะเลสิงคโปร์ และทะเลจีนใต้ ส่วนในวัฒนธรรมยุโรป หมายถึง ทะเลเอเดรียติก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำ ทะเลแดง ทะเลแคสเปียน ทะเลอาหรับ และอ่าวเปอร์เซี.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเจ็ดสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอเพนไนน์

ทือกเขาแอเพนไนน์ เทือกเขาแอเพนไนน์ (Apennines; Appenninus; Appennini) เป็นเทือกเขาซึ่งมีขนาดความยาว 1000 กม. และความกว้างสูงสุดอยู่ที่ 80/140 km จากเหนือจรดใต้ของประเทศอิตาลีตามชายฝั่งทางตะวันออก ชื่อของเทือกเขาสันนิษฐานว่ามาจากรากศัพท์ภาษาละติน "เปนเน" (penne) ซึ่งหมายถึง ขนนก หรือ ขน และยังเป็นรากศัพท์ของคำว่า "pinnacle" (จุดยอด) ในภาษาอังกฤษอีกด้วย ดังนั้นในทางนิรุกติศาสตร์ของเทือกเขาเพนไนน์ในอังกฤษ ชื่อของเทือกเขาเป็นที่มาของชื่อคาบสมุทรแอเพนไนน์ซึ่งเป็นส่วนประกอบใหญ่ของประเทศอิตาลี ภูเขาส่วนใหญ่มีสีเขียวและเต็มไปด้วยป่าเขาลำนาไพร ถึงแม้ว่ายอดสูงสุดของเทือกเขานี้ กอร์โนกรันเด (2,912 ม.) ปกคลุมไปด้วยธารน้ำแข็งที่อยู่ใต้สุดของทวีปยุโรป ส่วนลาดเอียงของเทือกเขาทางตะวันออกของประเทศอิตาลีไปจนถึงทะเลเอเดรียติกลาดชันมาก ขณะที่ส่วนลาดเอียงของเทือกเขาทางตะวันตกทำให้เกิดที่ราบซึ่งเป็นที่ที่เมืองทางประวัติศาสตร์ของอิตาลีส่วนใหญ่ตั้งอยู.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเทือกเขาแอเพนไนน์ · ดูเพิ่มเติม »

เตราโม

ตราโม (Teramo; Interamnia) เป็นเมืองและเทศบาลทางตอนกลางของแคว้นอาบรุซโซ เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเตราโม อยู่ห่างจากกรุงโรม 150 กม.

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและเตราโม · ดูเพิ่มเติม »

La strada

La strada (อ่านว่า ลา สตราดา แปลว่า "ถนน") ภาพยนตร์ภาษาอิตาเลียนแนวนีโอเรียลลิสต์ ที่เขียนบทและกำกับโดยเฟเดอริโก เฟลลินี ออกฉายในปี..

ใหม่!!: ทะเลเอเดรียติกและLa strada · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Adriatic Sea

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »