โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลอีเจียน

ดัชนี ทะเลอีเจียน

แผนที่ตำแหน่งทะเลอีเจียน ทะเลอีเจียน (Aegean Sea) เป็นทะเลที่ติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อยู่ระหว่างประเทศกรีซกับตุรกี ทางด้านตะวันออกของกรีก เป็นแหล่งอารยธรรมของโลกสมัยหนึ่ง.

59 ความสัมพันธ์: ชานักกาเลช่องแคบบอสพอรัสช่องแคบตุรกีพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรียพระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรียพัตมอสพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมฟิลิสทีนส์กรีซโบราณกลุ่มเกาะกัลลิโพลีการปะทุแบบพลิเนียนภูมิศาสตร์ยุโรปมหารูปแห่งโรดส์มินะทอร์ยุทธนาวีที่ซาลามิสยุทธนาวีแหลมมะตะปันรัฐสุลต่านรูมรายชื่อทะเลสงครามกรีก-เปอร์เซียสปอระดีสสนธิสัญญาลอนดอน (1913)สไกรอสอะพอลโลอามอร์กอสอารยธรรมซิคละดีสธรรมศาลาทวีปเอเชียทะเลมาร์มะราทะเลดำดาร์ดะเนลส์คลองคอรินท์คาร์พาทอสงูแสมรังซันโดรีนีซาโมเทรซซิคละดีสปฏิบัติการแอ็บเซนชันประวัติศาสตร์อานาโตเลียประเทศกรีซประเทศตุรกีป้อมปืนนาวาโรนแม่น้ำเนสทอสโรดส์โจรสลัดโดเดคะนีสเกาะอีออสเกาะนักซอสเลมนอสเลสบอสเส้นทางการค้า...เส้นขนานที่ 36 องศาเหนือเส้นขนานที่ 40 องศาเหนือเส้นเมริเดียนที่ 25 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 26 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 27 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 28 องศาตะวันออกเอชเอ็มเอชเอส บริแทนนิกเธรซ300 มหาศึกกำเนิดอาณาจักร ขยายดัชนี (9 มากกว่า) »

ชานักกาเล

Troy'' ที่เมืองชานักกาเล สภาพเมืองชานักกาเล ชานักกาเล (Canakkale; ตุรกี: Çanakkale) เป็นเมืองแห่งหนึ่งในประเทศตุรกี ตั้งอยู่ในจังหวัดชานักกาเล ชานักกาเล เป็นเมืองที่ปัจจุบันเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของตุรกี มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เดิมมีชื่อว่า โบกาซี่ (Bogazi) หรือ เฮลเลสปอนต์ (Hellespont) มีความยาว 65 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดกว้าง 1.3 กิโลเมตร เนื่องจากตั้งอยู่บนจุดแคบที่สุดของช่องแคบดาร์ดาแนลส์ ใกล้กับ แหลมเกลิโบลูของกรีซ บนฝั่งของ 2 ทะเลคือ ทะเลมาร์มารา และ ทะเลเอเจียน ชานักกาเล อยู่ห่างจากกรุงอิสตันบูล เมืองหลวงของตุรกีด้วยการเดินทางทางรถยนต์ประมาณ 4 ชั่วโมง และนั่งเรือเฟอร์รี่ข้ามฟากไป ในอดีต เคยเป็นที่ตั้งของเมืองทรอย ที่ปรากฏในสงครามกรุงทรอย ปัจจุบัน มีซากของกำแพงเมืองที่เป็นหินหนาปรากฏอยู่ จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งทางทีมงานสร้างภาพยนตร์เรื่อง Troy ในปี ค.ศ. 2004 ได้มอบม้าไม้ที่ใช้ในเรื่อง ให้แก่เมือง ซึ่งปัจจุบัน ได้ตั้งแสดงอยู่ และมีการผลิตเป็นของที่ระลึก อีกทั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี ค.ศ. 1915 ชานักกาเลเป็นสมรภูมิที่สำคัญในยุทธภูมิชานักกาเล เมื่อทางทัพผสมของฝ่ายสัมพันธมิตร ต้องการเดินทัพเรือผ่านเมืองนี้เพื่อเข้าสู่ทะเลดำเพื่อโจมตีรัสเซีย ทหารของฝ่ายตุรกี ซึ่งขณะนั้นเป็นจักรวรรดิออตโตมาน ได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อยับยั้งจนได้รับชัยชนะในที่สุด มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของตุรกี ซึ่งในบรรดาทหารที่เข้าร่วมรบนั้น มี มุสตาฟา เคมาล หรือในเวลาต่อมา คือ อตาเติร์ก บิดาแห่งชาติตุรกี เข้าร่วมรบอยู่ด้วย ปัจจุบัน มีการสร้างอนุสาวรีย์และสุสานเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจำนวนมากในการต่อสู้ครั้งนี้.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและชานักกาเล · ดูเพิ่มเติม »

ช่องแคบบอสพอรัส

กอากาศของช่องแคบบอสฟอรัส ช่องแคบบอสพอรัส (Bosporus Strait) หรือ ช่องแคบบอสฟอรัส (Bosphorus Strait) หรือ ช่องแคบอิสตันบูล (İstanbul Boğazı) เป็นช่องแคบที่กั้นระหว่างตุรกีเธรซที่อยู่ในทวีปยุโรปกับคาบสมุทรอานาโตเลียในทวีปเอเชีย เป็นช่องแคบหนึ่งของตุรกีคู่กับช่องแคบดาร์ดะเนลส์ทางตอนใต้ที่เชื่อมกับทะเลอีเจียน ช่องแคบบอสฟอรัสทางตอนเหนือและช่องแคบดาร์ดาเนลส์ทางตอนใต้เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลมาร์มะราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่องแคบบอสฟอรัสยาวราว 30 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 3,700 เมตร ส่วนที่แคบที่สุดกว้าง 700 เมตร ความลึกระหว่าง 36 ถึง 124 เมตร ฝั่งทะเลของช่องแคบเป็นเมืองอิสตันบูลที่มีประชากรหนาแน่นถึงราว 11 ล้านคน.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและช่องแคบบอสพอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ช่องแคบตุรกี

ช่องแคบบอสฟอรัส (แดง), ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (เหลือง), และมีทะเลมาร์มาราอยู่ตรงกลาง ช่องแคบตุรกี (Turkish Straits) เป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของโลก ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศตุรกี โดยเชื่อมต่อระหว่างทะเลอีเจียน, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทะเลดำ โดยช่องแคบตุรกีประกอบไปด้วยช่องแคบดาร์ดะเนลส์, ทะเลมาร์มารา และช่องแคบบอสฟอรัส โดยเป็นช่องแคบที่สำคัญอย่างมากต่อตุรกีในการควบคุมน่านน้ำภายในและช่องแคบดังกล่าวได้ใช้ในการพิจารณาในการแบ่งเขตแดนระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป นอกจากนี้ ยังเป็นการแบ่งระหว่างตุรกีฝั่งยุโรป (East Thrace) ที่มีขนาดพื้นที่ 23,764 ตารางกิโลเมตร (คิดเป็นร้อยละ 3.09 ของพื้นที่ทั้งประเทศ) กับดินแดนอานาโตเลีย หมวดหมู่:ช่องแคบ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ตุรกี.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและช่องแคบตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย

ระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย(30 มกราคม พ.ศ. 2437 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2489)(พระนามเต็ม:บอริส คลีเมนต์ โรเบิร์ต มาเรีย ปิอุส ลุดวิก สตานิสเลาส์ ซาเวียร์)เป็นพระโอรสในพระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรียกับเจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งปาร์มา พระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติหลังจากพระบิดาทรงสละราชบัลลังก์ในปี..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย

ระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 — 10 กันยายน พ.ศ. 2491; พระนามเมื่อประสูติ: เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ แม็กซิมิลเลียน คาร์ล ลีโอโปลด์ มาเรียแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา-โคฮารี) ทรงเป็นองค์อธิปัตย์แห่งบัลแกเรีย และหลังจากนั้นทรงดำรงเป็นพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย ทรงเป็นทั้งนักประพันธ์,นักพฤกษาศาสตร์,นักกีฏวิทยาและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแสตมป.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและพระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

พัตมอส

กาะพัตมอส พัตมอส (กรีก, Πάτμος; Patmo; Patmos) เป็นเกาะเล็ก ๆ ของประเทศกรีซ ในทะเลอีเจียน หนึ่งในเกาะทางเหนือสุดของหมู่เกาะโดเดคะนีส มีประชากร 2,998 คน และมีพื้นที่ 34.05 ตร.กม.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและพัตมอส · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมฟิลิสทีนส์

้านหน้าพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมฟิลิสทีนส์ (המוזיאון לתרבות הפלשתים ע"ש קורין ממן; Corinne Mamane Museum of Philistine Culture) เป็นพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งหนึ่งในเมืองอัชดอด ประเทศอิสราเอล เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งเดียวในโลกที่จัดแสดงวัฒนธรรมของชาวฟีลิสทีนส์ที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง และเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของเมืองอัชดอด ซึ่งเปิดตั้งแต..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมฟิลิสทีนส์ · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มเกาะ

กลุ่มเกาะมะริด ในประเทศพม่า กลุ่มเกาะ (archipelago หรือ island group) เป็นหมู่เกาะที่โยงกันเป็นโซ่หรือเป็นกลุ่ม คำว่า archipelago มาจากภาษากรีก ἄρχι ("หลัก") และ πέλαγος ("ทะเล") ผ่านกลุ่มเกาะอิตาลี ในภาษาอิตาลี ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าหลักจากประเพณีความเก่าแก่ กลุ่มเกาะ (จากภาษากรีกสมัยกลาง ἀρχιπέλαγος) เป็นชื่อเฉพาะของทะเลอีเจียน และภายหลัง การใช้ได้เปลี่ยนเป็นหมายถึงหมู่เกาะอีเจียน (เพราะทะเลดังกล่าวมีชื่อเสียงกันว่ามีเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก) ปัจจุบัน ใช้หมายถึงกลุ่มเกาะใด ๆ หรือ บางครั้ง ทะเลที่บรรจุเกาะกระจัดกระจายกันจำนวนมาก เช่น ทะเลอีเจียน กลุ่มเกาะอาจพบห่างไกลในแหล่งน้ำหรืออยู่ใกล้กับผืนดินขนาดใหญ่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น สกอตแลนด์มีเกาะมากกว่า 700 เกาะล้อมแผ่นดินใหญ่ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มเกาะ กลุ่มเกาะนี้มักมีภูเขาไฟ ก่อตัวขึ้นตามหมู่เกาะโค้งที่เกิดจากเขตมุดตัวของเปลือกโลกหรือจุดศูนย์รวมความร้อน แต่ยังอาจเกิดจากการกัดเซาะ การทับถมและความสูงของพื้นที่ดิน ประเทศสมัยใหม่ขนาดใหญ่ที่สุดห้าประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักร รัฐกลุ่มเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกตามพื้นที่ คือ อินโดนีเซีย กลุ่มเกาะที่มีเกาะมากที่สุดอยู่ในทะเล Archipelago ในฟินแลน.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและกลุ่มเกาะ · ดูเพิ่มเติม »

กัลลิโพลี

คาบสมุทรกัลลิโพลี (Gallipoli; Gelibolu Yarımadası; Καλλίπολη) เป็นคาบสมุทรในประเทศตุรกี อยู่บนฝั่งตอนใต้ของประเทศส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรป เป็นแผ่นดินแคบ ๆ ยื่นยาวไปในทะเลตะวันตกเฉียงใต้ ระหว่างช่องแคบดาร์ดะเนลส์ทางตะวันออกเฉียงใต้กับอ่าวซารอสและทะเลอีเจียนทางตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตก หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศตุรกี.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและกัลลิโพลี · ดูเพิ่มเติม »

การปะทุแบบพลิเนียน

แผนภาพการปะทุแบบพลิเนียน(1) เถ้าปะทุ(2) ปล่องหินหนืด(3) เถ้าตก(4) ชั้นทับถมของหินหลอมและเถ้า(5) ชั้นหิน(6) โพรงหินหนืด การปะทุแบบพลิเนียน (Plinian eruption) คือ รูปแบบการปะทุของภูเขาไฟที่มีต้นแบบจากการปะทุของภูเขาไฟวิสุเวียสเมื่อปี ค.ศ. 79 ซึ่งทำลายเมืองปอมเปอีและเฮอร์คิวเลเนียมของจักรวรรดิโรมัน คำว่าพลิเนียนถูกตั้งตามชื่อพลินีผู้เยาว์ ผู้บรรยายลักษณะการปะทุของภูเขาไฟวิสุเวียสไว้ในจดหมายฉบับหนึ่ง และผู้ซึ่งลุงของเขา พลินีผู้อาวุโส เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ การปะทุแบบพลิเนียนมีลักษณะเด่น ได้แก่ การเกิดลำก๊าซและเถ้าภูเขาไฟตั้งสูงขึ้นไปในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ ซึ่งเป็นบรรยากาศชั้นที่สองของโลก การขับหินพัมมิสออกจากปากปล่องในปริมาณมาก และการปะทุเป่าก๊าซออกมาอย่างต่อเนื่องและรุนแรง เมื่อเทียบระดับความรุนแรงตามดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ (Volcanic Explosivity Index; VEI) การปะทุแบบพลิเนียนจะมีค่าดัชนีอยู่ระหว่าง 4-6 นอกจากนี้ยังมีการกำหนดการปะทุแบบ "ซับพลิเนียน" (sub-Plinian) มีระดับความรุนแรง 3 หรือ 4 และแบบ "อัลตราพลิเนียน" (ultra-Plinian) มีระดับความรุนแรง 6-8 การปะทุแบบสั้นอาจจบได้ภายในวันเดียว การปะทุแบบยาวอาจดำเนินตั้งแต่หลายวันจนถึงหลายเดือน ซึ่งการปะทุแบบยาวจะเริ่มต้นด้วยการก่อตัวของเมฆเถ้าภูเขาไฟและบางครั้งก็เกิดการไหลไพโรคลาสติก หินหนืด (แมกมา) อาจถูกพ่นออกมาจากโพรงหินหนืดใต้ภูเขาไฟจนหมด ทำให้ยอดภูเขาไฟยุบตัวลงเกิดเป็นแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (caldera) ส่วนเถ้าละเอียดอาจตกลงมาทับถมกันเป็นบริเวณกว้าง และบ่อยครั้งที่การปะทุแบบพลิเนียนทำให้เกิดเสียงดังมาก เช่นจากการปะทุของภูเขาไฟกรากะตัวในอินโดนีเซียเมื่อปี..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและการปะทุแบบพลิเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์ยุโรป

ูมิศาสตร์ยุโรป (Geography of Europe) คือลักษณะภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ของทวีปยุโรปซึ่งเป็น 1 ใน 7 ทวีปบนโลกและเป็นคาบสมุทรตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียโดยการแบ่งปวีปยุโรปกับทวีปเอเชียทางตะวันออกนั้นจะใช้เทือกเขายูรัลในประเทศรัสเซียในการแบ่งเขตส่วนในตะวันออกเฉียงใต้นั้นยังไม่มีการกำหนดอย่างแน่ชัดแต่ส่วนมากจะใช้แม่น้ำยูรัล, แม่น้ำเอ็มบาและทะเลดำในการแบ่งเขต โดยจุดสิ้นสุดของทวีปเอเชียคือช่องแคบบอสพอรัสในประเทศตุรกี ส่วนการแบ่งเขตของทวีปยุโรปกับทวีปแอฟริกานั้นจะใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยจุดที่ทวีปยุโรปใกล้กับทวีปแอฟริกามากที่สุดคือช่องแคบยิบรอลตาร์โดยมีความห่างกันเพียง 14.3 กิโลเมตรหรือ 8.9 ไมล์ ส่วนพรมแดนทางตะวันออกนั้นจะมีเทือกเขากลางสมุทรไอซ์แลนด์เป็นตัวแบ่งอาณาเขตระหว่างยุโรปกับอเมริกาเหนือ ส่วนประเทศไอซ์แลนด์ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอเมริกาเหนือกับยุโรปนั้นถือว่าอยู่ในทวีปยุโรปเพราะเหตุผลด้านวัฒนธรรมและมีพื้นที่ใกล้กับแผ่นดินใหญ่ของทวีปยุโรปมากกว่าแผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือถึง 2 เท่า นี้คือภาพถ่ายจากสถานนีอวกาศแห่งชาติโดยใช้กล้อง2ตัวโดยทางซ้ายมองไปทางเหนือและทางขวามองมาทางตรง.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและภูมิศาสตร์ยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

มหารูปแห่งโรดส์

วาดในจินตนาการของมหารูปแห่งโรดส์ มหารูปแห่งโรดส์ (Colossus of Rhodes) เป็นเทวรูปขนาดใหญ่ของเทพฮีลิออส หรือ อพอลโล เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก จัดอยู่ในยุคเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ ร่วมสมัยกับประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย มหารูปแห่งโรดส์สร้างมาจากสำริด เป็นเทวรูปของสุริยเทพอพอลโล ซึ่งเป็นหนึ่งในเทวสภาโอลิมปัส มีความสูงประมาณ 108 ฟุต (33 เมตร) มือขวาถือประทีป ประดิษฐานบนฐานทั้งสองข้างของปากอ่าวทางเข้าท่าเรือของเกาะโรดส์ ในทะเลอีเจียน ยืนถ่างขาคร่อมปากอ่าวให้เรือลอดไปมาได้ มหารูปนี้สร้างขึ้นโดย ชาเรสแห่งลินดอส ซึ่งเป็นประติมากรชาวกรีก ในราว 280 ปี ก่อนคริสตกาล ใช้เวลาสร้างประมาณ 12 ปี มีอายุยืนอยู่ได้ประมาณ 60 ปี ก่อนจะพังทลายลงด้วยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เมื่อ 226 ปี ก่อนคริสตกาล ซากชิ้นส่วนของมหารูปได้ถูกปล่อยปละละเลยไม่มีใครดูแล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 ซากที่เหลืออยู่ถูกขายให้แก่ชาวเมืองซาราเซน ไปทำอาวุธในการทำสงครามครูเสดจนหมด จนถึงปัจจุบันไม่มีเหลือซากของมหารูปนี้หลงเหลืออยู่แล้ว.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและมหารูปแห่งโรดส์ · ดูเพิ่มเติม »

มินะทอร์

มินะทอร์บนหม้อดินเผาสมัยกรีก ราว 515 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในเทพปกรณัมกรีก มินะทอร์ (Minotaur) เป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งมีศีรษะเป็นโค มีกายเป็นคน หรือที่โอวิด (Ovid) กวีโรมัน พรรณนาว่า "กึ่งคนกึ่งโค" มินะทอร์พำนักอยู่ในวงกตซึ่งเป็นหมู่อาคารมีทางเดินคดเคี้ยว ณ กลางเกาะครีต และเป็นผลงานที่สถาปนิกเดดาลัส (Daedalus) กับอีคารัส (Icarus) บุตร ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นตามพระราชโองการพระเจ้าไมนอส (Minos) แห่งเกาะครีต ภายหลัง มินะทอร์ถูกธีเซียส (Theseus) วีรบุรุษชาวเอเธนส์ ประหารในวงกตนั้นเอง คำ "มินะทอร์" ในภาษาอังกฤษมาจากคำ "Μῑνώταυρος" (Mīnṓtauros) ในภาษากรีกโบราณ แปลว่า โคแห่งพระเจ้าไมนอส โดยในภาษาอังกฤษนั้น คำ "มินะทอร์" เป็นทั้งวิสามานยนามใช้เรียกสิ่งมีชีวิตตามตำนานข้างต้น และเป็นสามานยนามใช้เรียกสิ่งมีชีวิตกึ่งโคกึ่งคนตัวอื่น ๆ โดยทั่วไป ส่วนชาวครีตเองเรียกสัตว์นี้ด้วยวิสามานยนามว่า "แอสเตเรียน (Asterion) ซึ่งเป็นนามของปู่มินะทอร์ (พระบิดาบุญธรรมของพระเจ้าไมนอส) เช่นกัน.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและมินะทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธนาวีที่ซาลามิส

การรุกรานครั้งที่ 2 ของเปอร์เซีย ยุทธนาวีที่ซาลามิส (Ναυμαχία τῆς Σαλαμῖνος, เนามาเคีย แตส ซาลามินอส) เป็นยุทธนาวีระหว่างฝ่ายพันธมิตรนครรัฐกรีก ภายใต้การนำของเธมิสโตคลีส กับจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้จักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราช เมื่อ ปีที่ 480 ก่อนคริสต์ศักราช โดยฝ่ายกรีกที่จำนวนเรือรบน้อยกว่าได้รับชัยชนะแบบเด็ดขาด ยุทธนาวีนี้เกิดขึ้นที่ช่องแคบระหว่างดินแดนใหญ่ของกรีซ กับเกาะซาลามิสในอ่าวซาโรนิค ใกล้กรุงเอเธนส์ และถือเป็นจุดสูงสุดของการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย ในการทัพรุกรานกรีกครั้งที่ 2 ของเปอร์เซีย กองกำลังเล็กๆของกรีก นำโดยทหารสปาร์ตา เข้าขวางทางเดินทัพของเปอร์เซียที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี (Thermopylae) ในขณะที่กองกำลังพันธมิตรทางนาวี ประกอบด้วยกองเรือของเอเธนส์เป็นหลัก เข้าปะทะกองเรือเปอร์เซียน ที่ช่องแคบอาร์เตมีเซียม (Artemisium) ห่างออกไปไม่ไกล กองกำลังระวังหลังของกรีกถูกสังหารหมดสิ้นในยุทธการที่เทอร์มอพิลี ในขณะที่ฝ่ายพันธมิตรกรีกในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม ก็ได้รับความเสียหายหนัก และต้องถอยกลับไปเมื่อช่องเขาเทอร์มอพิลีเสียให้แก่ข้าศึก ทัพเปอร์เซียจึงสามารถเข้ายึดครองบีโอเชีย (Boeotia, Βοιωτία, บอยยอเทีย) และแอตทิกาได้ เมืองเอเธนส์ถูกกองทัพเปอร์เชียเผาราบ ประชาชนต้องอพยพทิ้งเมือง แต่กำลังฝ่ายพันธมิตรกรีกสามารถเข้าป้องกันคอคอดคอรินท์ ซึ่งเชื่อมแอตทิกากับเพโลพอนนีสไว้ได้ ระหว่างนั้นทัพเรือของกรีกถูกถอยไปใช้เกาะซาลามิสเป็นฐานปฏิบัติการ แม้ว่ากำลังทางนาวีของกรีกจะน้อยกว่าเปอร์เซียมาก แต่เธมิสโตคลีสแม่ทัพชาวเอเธนส์ สามารถหว่างล้อมให้กองกำลังพันธมิตรเข้าทำศึกกับทัพเรือเปอร์เซียอีกครั้ง โดยหวังว่าชัยชนะจะป้องกันคาบสมุทรเพโลพอนนีสอันเป็นแผ่นดินใหญของกรีกไว้ได้ พระเจ้าเซอร์ซีสกษัตริย์เปอร์เซีย ทรงกระหายจะได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดเช่นกัน ทำให้ติดกับแผนลวงพรางของเธมิสโตคลีส ซึ่งล่อทัพเรือของเปอร์เซียให้ออกมาปิดกั้นทางเข้า-ออกของช่องแคบซาลามิส แต่ด้วยสภาพที่คับแคบของพื้นที่ ทัพเรือใหญ่ของเปอร์เซียไม่อาจแปรขบวนได้และตกอยู่ในสภาพขาดระเบียบ กองเรือพันธมิตรกรีกฉวยโอกาสจัดแถวเป็นแนวประจัญบานเข้าโจมตีและได้รับชัยชนะแบบพลิกความคาดหมาย ยุทธนาวีที่ซาลามิสกลายเป็นการรบที่มีความสำคัญต่ออารยธรรมกรีกในระดับเดียวกับ ยุทธการที่มาราธอน และยุทธการที่เทอมอพิลี โดยเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามกรีก-เปอร์เซีย หลังยุทธการซาลามิส คาบสมุทรเพโลพอนนีสและอารยธรรมกรีก ก็ปลอดภัยจากการรุกรานของเปอร์เซีย ในขณะที่อาณาจักรเปอร์เซียต้องสูญเสียทรัพยากรมหาศาล ขวัญกำลังใจตกต่ำ และเสียความน่าเกรงขาม หลังการศึกในยุทธการที่พลาตีอา (Πλάταια) และยุทธการที่มิกาลี (Μυκάλη) ทัพของเปอร์เซียก็ไม่เป็นภัยคุกคามอีกต่อไป ฝ่ายพันธมิตรกรีกจึงรุกกลับได้ และยังส่งผลให้อาณาจักรมาเซดอนลุกฮือเพื่อปลดแอกตนเองจากการปกครองของเปอร์เซีย โดยเธรซ หมู่เกาะในทะเลอีเจียน และไอโอเนีย จะทยอยหลุดจากความควบคุมของเปอร์เซียในอีกสามสิบปีต่อมา เนื่องจากการเกิดขึ้นของสันนิบาตดีเลียนภายใต้การนำโดยเอเธนส์ Achilleas Vasileiou ยุทธนาวีที่ซาลามิสจึงนับว่าเป็นการเปลี่ยนสมการของอำนาจให้มาอยู่ที่ฝ่ายกรีก โดยลดอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซียในทะเลอีเจียนลงอย่างเฉียบพลัน พร้อมๆกับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งความมั่งคั่ง และความเป็นมหาอำนาจทางทะเลของจักรวรรดิเอเธน.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและยุทธนาวีที่ซาลามิส · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธนาวีแหลมมะตะปัน

ยุทธนาวีแหลมมะตะปัน (Battle of Cape Matapan) เป็นยุทธนาวีในสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างวันที่ 27 - 29 มีนาคม ค.ศ. 1941 ที่บริเวณแหลมมะตะปัน ซึ่งตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเพโลพอนนีส ประเทศกรีซ กองเรือรบกองทัพเรืออังกฤษพร้อมด้วยเรือรบจากกองทัพเรือออสเตรเลียหลายลำ ภายใต้บังคับบัญชาของพลเรือเอกอังกฤษ แอนดรู คันนิงแฮม ได้เข้าขัดขวาง จม และสร้างความเสียหายอย่างหนักต่อเรือของกองทัพเรืออิตาลีภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอกอันเจโล ยากีโน หมวดหมู่:ยุทธการและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและยุทธนาวีแหลมมะตะปัน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสุลต่านรูม

รัฐสุลต่านรูม (Sultanate of Rûm, سلاجقة الروم) เป็นรัฐสุลต่านเซลจุคตุรกี ที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของอานาโตเลียระหว่างปี ค.ศ. 1077 จนถึงปี ค.ศ. 1307 โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่อิซนิคและต่อมาคอนยา เนื่องจากอาณาจักรสุลต่านเป็นอาณาจักรที่มีการเคลื่อนย้ายอยู่เสมอฉะนั้นเมืองอื่นเช่นเคย์เซรีและซิวาสต่างก็ได้เป็นเมืองหลวงอยู่ระยะหนึ่ง ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดอาณาจักรสุลต่านแห่งรัมมีอาณาบริเวณครอบคลุมกลางตุรกีตั้งแต่เมืองท่าอันทาลยา-อลันยาบนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงไซนอพบนฝั่งทะเลดำ ทางตะวันออกอาณาจักรสุลต่านก็ผนวกรัฐต่างๆ ของตุรกีไปจนถึงทะเลสาบวาน ทางด้านตะวันตกสุดก็มีอาณาบริเวณไปจรดบริเวณเดนิซลิและบริเวณทะเลอีเจียน.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและรัฐสุลต่านรูม · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทะเล

ทะเลคือพื้นที่น้ำเกลือที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทร หรือทะเลขนาดใหญ่ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (เช่น ทะเลแคสเปียน และทะเลเดดซี) .

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและรายชื่อทะเล · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกรีก-เปอร์เซีย

งครามกรีก-เปอร์เซีย (Greco-Persian Wars) หรือ สงครามเปอร์เซีย เป็นชุดความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) กับนครรัฐกรีก เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–449 ก่อนคริสตกาล จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเกิดจากการพิชิตภูมิภาคไอโอเนียของพระเจ้าไซรัสมหาราชในปีที่ 547 ก่อนคริสตกาลและต่อมาแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครอง ต่อมาในปีที่ 499 ก่อนคริสตกาล อริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัสที่มีเปอร์เซียหนุนหลัง นำกำลังเข้ายึดเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในเอเชียน้อยก่อกบฏต่อเปอร์เซียและนำไปสู่การกบฏไอโอเนีย นอกจากนี้อริสตาโกรัสยังร่วมมือกับเอเธนส์และอีรีเทรียเผาเมืองซาร์ดิส เมืองหลวงของภูมิภาคของเปอร์เซียในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชจึงส่งกองทัพเข้าสู้รบจนในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ฝ่ายเปอร์เซียรบชนะฝ่ายกบฏที่ยุทธการที่ลาเด ฝ่ายกบฏถูกปราบลงในปีต่อมา เพื่อป้องกันการกบฏครั้งใหม่และการแทรกแซง รวมถึงลงโทษการกระทำของเอเธนส์และอีรีเทรีย จักรพรรดิดาไรอัสจึงทำสงครามต่อเพื่อพิชิตกรีซทั้งหมด ฝ่ายเปอร์เซียเริ่มบุกกรีซในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล และประสบความสำเร็จในการยึดเธรซและมาซิดอน ต่อมาในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซียข้ามทะเลอีเจียน ยึดซิคละดีสและทำลายอีรีเทรีย แต่พ่ายแพ้ให้กับกองทัพเอเธนส์ในยุทธการที่มาราธอน เมื่อจักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล เซอร์ซีส พระราชโอรส ได้นำกำลังบุกกรีซอีกครั้ง ชัยชนะที่ช่องเขาเทอร์มอพิลีทำให้ฝ่ายเปอร์เซียสามารถยึดและเผาทำลายเอเธนส์ อย่างไรก็ตาม กองเรือเปอร์เซียพ่ายแพ้อย่างหนักในยุทธนาวีที่ซาลามิส และปีต่อมาพ่ายแพ้ในยุทธการที่พลาตีอา จึงเป็นการสิ้นสุดการบุกครองของฝ่ายเปอร์เซีย หลังจากนั้นกองทัพกรีกฉวยโอกาสนำกองเรือเข้าโจมตีฝ่ายเปอร์เซียต่อในยุทธนาวีที่มิเคลีและขับไล่ทหารเปอร์เซียออกจากเซสทอสและบิแซนเทียม การกระทำของแม่ทัพพอสซาเนียสในยุทธการที่บิแซนเทียมทำให้เกิดความบาดหมางในหมู่นครรัฐกรีกและสปาร์ตาและก่อให้เกิด "สันนิบาตดีเลียน" ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรต่อต้านฝ่ายเปอร์เซียที่นำโดยเอเธนส์ ฝ่ายสันนิบาตทำสงครามกับฝ่ายเปอร์เซียต่อเป็นเวลา 30 ปี หลังชัยชนะที่แม่น้ำยูรีมีดอนในปีที่ 466 ก่อนคริสตกาล เมืองในภูมิภาคไอโอเนียก็เป็นอิสระจากเปอร์เซีย แต่ความพ่ายแพ้ของฝ่ายสันนิบาตในการกบฏที่อียิปต์ทำให้การสงครามกับเปอร์เซียหยุดชะงัก การรบครั้งต่อ ๆ มาประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางแห่งชี้ว่าในปีที่ 449 ก่อนคริสตกาล ทั้งสองฝ่ายได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพคัลลิอัส ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามกรีก-เปอร์เซี.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและสงครามกรีก-เปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

สปอระดีส

หมู่เกาะสปอระดีส (Βόρειες Σποράδες; Sporades) เป็นหมู่เกาะนอกชายฝั่งตะวันออกของประเทศกรีซ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะยูบีอา"Skyros - Britannica Concise" (description), Britannica Concise, 2006, webpage: notes "including Skiathos, Skopelos, Skyros, and Alonnisos." ในทะเลอีเจียน ประกอบด้วยเกาะ 24 เกาะ เป็นเกาะที่ไม่มีคนอาศัยอย่างถาวร 4 เกาะ คือเกาะอโลนิสซอส เกาะสเกียทอส เกาะสโกเพลอส และเกาะสไกรอ.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและสปอระดีส · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาลอนดอน (1913)

นธิสัญญาลอนดอน ลงนามเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ระหว่างการประชุมลอนดอน..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและสนธิสัญญาลอนดอน (1913) · ดูเพิ่มเติม »

สไกรอส

หมู่บ้านบนเกาะสไกรอส สไกรอส (Σκύρος; Σκῦρος) เป็นเกาะใต้สุดในกลุ่มเกาะสปอระดีส ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของทะเลอีเจียน ประเทศกรีซ เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะ มีพื้นที่ 209 ตร.กม.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและสไกรอส · ดูเพิ่มเติม »

อะพอลโล

อะพอลโล (Apollo; Ἀπόλλων; อะพอลลอน; Apollō) เป็นหนึ่งในพระเจ้าองค์สำคัญที่สุดในพระเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีกและศาสนากรีกโบราณ ตลอดจนเทพปกรณัมโรมันและศาสนาโรมันโบราณ อะพอลโลทรงเป็นอุดมคติของคูรอส (kouros) คือ หนุ่มนักกีฬาไม่ไว้หนวด และทรงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเทพเจ้าแห่งแสงและดวงอาทิตย์ สัจจะและคำพยากรณ์ การรักษา โรคระบาด ดนตรี กวี ฯลฯ อะพอลโลทรงเป็นพระโอรสของซูสและลีโต และมีพระเชษฐภคินีฝาแฝด คือ อาร์ทิมิสซึ่งเป็นพรานหญิง ปัจจุบัน อะพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซาที่เรียกว่า โครงการอะพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่าง ๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น อะพอลโลเป็นเทพเจ้าที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียน ที่เกาะโรดส์ ที่มีชื่อว่า มหารูปแห่งโรดส์ นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณด้วย โดยทั่วไปรูปปั้นอะพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก หมวดหมู่:สุริยเทพ หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและอะพอลโล · ดูเพิ่มเติม »

อามอร์กอส

อามอร์กอส อามอร์กอส (Αμοργός; Amorgos) เป็นเกาะที่อยู่ทางตะวันออกสุดของหมู่เกาะซิคละดีส ของประเทศกรีซ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทะเลอีเจียน เป็นเกาะที่อยู่ใกล้กับโดเดคะนีสที่สุด เกาะมีพื้นที่ 126.346 กม² มีประชากร 1,973 คน (ค.ศ. 2011) หมวดหมู่:เกาะในประเทศกรีซ.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและอามอร์กอส · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรมซิคละดีส

อารยธรรมซิคละดีส (Cycladic civilization หรือ Cycladic culture หรือ The Cycladic period) เป็นอารยธรรมของยุคสำริดตอนต้นของหมู่เกาะซิคละดีสในทะเลอีเจียนที่รุ่งเรืองราวระหว่าง 3000 ถึง 2000 ปีก่อนคริสต์ศักร.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและอารยธรรมซิคละดีส · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมศาลา

ลาธรรมยิวในเมืองทรานี ในศาสนายูดาห์ ธรรมศาลา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศาลาธรรม (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (synagogue; συναγωγή; หมายถึง การชุมนุมหรือรวมตัว) เป็นศาสนสถานที่ใช้รวมกลุ่มกันทำการอธิษฐาน ทว่าสำหรับชาวยิวแล้ว พวกเขาไม่จำเป็นต้องไปธรรมศาลาเพื่อประกอบพิธี หากรวมตัวได้ครบองค์ประชุม (Quorum) ที่ประกอบด้วยผู้ชายที่บรรลุนิติภาวะแล้วจำนวนสิบคน เรียกว่า "องค์คณะสิบ" หรือ "มินยัน" (Minyan) ก็สามารถประกอบพิธีได้ เมื่อก่อนไม่อนุญาตให้สตรีเป็นหนึ่งในองค์คณะสิบ แต่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2001, ยิวอนุรักษ์นิกายอนุญาตให้สตรีเป็นหนึ่งในคณะมินยันได้ ในชุมชนยิวปัจจุบัน ธรรมศาลาไม่ได้มีไว้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น เช่น สถานที่จัดเลี้ยง โรงเรียนสอนศาสนา ห้องสมุด ศูนย์รับเลี้ยงเด็กเวลากลางวัน และครัวโคเชอร์ (Kosher) ตามหลักมาตรฐานอาหารยิว.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและธรรมศาลา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลมาร์มะรา

ที่ตั้งของทะเลมาร์มะรา ทะเลมาร์มะรา หรือ ทะเลมาร์โมรา (Sea of Marmara, Marmara Sea, Sea of Marmora; Marmara Denizi; Προποντίς) เป็นทะเลที่เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลอีเจียน ซึ่งแยกตุรกีในทวีปเอเชียจากตุรกีในทวีปยุโรป ทางตอนเหนือช่องแคบบอสฟอรัสเชื่อมกับทะเลดำ ทางตอนใต้ช่องแคบดาร์ดาเนลส์เชื่อมกับทะเลอีเจียน ทะเลมาร์มะรามีเนื้อที่ทั้งหมด 11,350 ตารางกิโลเมตร และจุดที่ลึกที่สุดลึก 1,370 เมตร.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและทะเลมาร์มะรา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลดำ

แผนที่บริเวณทะเลดำ ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณทะเลดำ โดยนาซา ทะเลดำ (Black Sea หรือชื่อในสมัยโบราณ​ Euxine Sea) เป็นทะเลที่อยู่ระหว่างทวีปยุโรป (ด้านตะวันออกเฉียงใต้),เอเชียไมเนอร์,และดินแดนคอเคซัส มีทางออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน,ทะเลอีเจียน และช่องแคบอีกหลายแห่ง ทางช่องแคบบอสฟอรัสที่เชื่อมต่อกับทะเลมาร์มะรา แล้วผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์เชื่อมต่อไปยังทะเลอีเจียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแห่งนี้ได้แยกยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตกออกจากกัน นอกจากนี้ทะเลดำยังเชื่อมต่อกับทะเลอะซอฟผ่านทางช่องแคบเคียร์ช ทะเลดำมีเนื้อที่ผิวประมาณ 436,402 ตารางกิโลเมตร (168,500 ตารางไมล์) (ไม่นับรวมทะเลอะซอฟ) ทะเลดำมีความลึกสุด 2,212 เมตร (7,257 ฟุต) และมีปริมาตร 547,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร (131,200 ลูกบาศก์ไมล์) ประเทศที่มีชายฝั่งติดทะเลดำ ได้แก่ ประเทศตุรกี, บัลแกเรีย, โรมาเนีย, ยูเครน, รัสเซีย และจอร์เจีย ดินแดนของแหลมไครเมียปัจจุบันเป็นของยูเครน ทะเลดำถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาพอนทิกทางทิศใต้ เทือกเขาคอเคซัสทางทิศตะวันออก และมีชะโงกผากว้างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะจากทิศตะวันออกไปจรดทิศตะวันตกยาวสุด 1,175 กิโลเมตร (730 ไมล์) ทะเลดำมีเมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่ง ประกอบด้วย เมืองโซชี (Sochi), โนโวรอสซีสค์ (Novorossiysk) และ เคียร์ช (Kerch) ประเทศรัสเซีย โอเดสซา (Odessa), เซวัสโตปอล (Sevastopol), และ ยัลต้า (Yalta) ประเทศยูเครน เมืองคอนสแตนตา (Constanta), เมืองแมงกาเลีย (Mangalia), และเมืองนาโวดารี (Năvodari) ประเทศโรมาเนีย เมืองวาร์นา (Varna) กับเมืองเบอร์กาส (Burgas) ประเทศบัลแกเรีย เมืองซอนกุลดาก (Zonkuldak), เมืองซัมซุน (Samsum), เมืองกีเรซัน (Giresun), เมืองออร์ดู (Ordu), เมืองไรซ์ (Rize), เมืองแทรบซอน (Trabzon), และเมืองโฮปา (Hopa) ประเทศตุรกี และเมืองบาตูมี (Batumi), เมืองปอตี (Poti), และเมืองซักฮูมี (Sukhumi) ประเทศจอร์เจี.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและทะเลดำ · ดูเพิ่มเติม »

ดาร์ดะเนลส์

องแคบดาร์ดะเนลส์ แผนที่แสดงสถานที่ตั้งของช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (สีเหลือง) ส่วนสีแดงคือช่องแคบบอสฟอรัส ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (Çanakkale Boğazı, Δαρδανέλλια, Dardanellia; Dardanelles) เป็นช่องแคบ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศตุรกี กั้นระหว่างคาบสมุทรกัลลิโพลีของตุรกีส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปกับตุรกีส่วนที่อยู่ในทวีปเอเชีย เชื่อมทะเลมาร์มะรากับทะเลอีเจียน ที่จุดพิกัด ช่องแคบมีความยาว 61 กิโลเมตร (38 ไมล์) แต่กว้างเพียง 1.2 ถึง 6 กิโลเมตร (0.75 ถึง 3.7 ไมล์) มีความลึก ลึกสุด 103 เมตร (338 ฟุต).

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและดาร์ดะเนลส์ · ดูเพิ่มเติม »

คลองคอรินท์

ลองคอรินท์ คลองคอรินท์ (Corinth Canal; Διώρυγα της Κορίνθου) เป็นคลองที่เชื่อมอ่าวคอรินท์เข้ากับอ่าวซาโรนิกในทะเลอีเจียน โดยตัดคอคอดคอรินท์และแบ่งคาบสมุทรเพโลพอนนีส ออกจากแผ่นดินกรีซ คลองมีความยาว 6.3 กิโลเมตรและสร้างระหว่างปี..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและคลองคอรินท์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์พาทอส

มืองพิกาเดียในคาร์พาทอส คาร์พาทอส (Κάρπαθος; Karpathos) เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในหมู่เกาะโดเดคะนีส ในประเทศกรีซ ตั้งอยู่ระหว่างด้านตะวันออกของเกาะครีตกับเกาะโรดส์ ในทะเลอีเจียน เกาะนี้อยู่ใต้การปกครองของชาวเวนิสระหว่าง..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและคาร์พาทอส · ดูเพิ่มเติม »

งูแสมรัง

งูแสมรัง เป็นสกุลของงูพิษ จำพวกงูทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hydrophis (/ไฮ-โดร-พิส/) ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) เป็นงูที่มีพิษร้ายแรงมากสกุลหนึ่ง.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและงูแสมรัง · ดูเพิ่มเติม »

ซันโดรีนี

ซันโดรีนี (Σαντορίνη, Santorini, ออกเสียง) หรือ ซีรา (Θήρα, Thira, ออกเสียง) เป็นเมืองบนเกาะตอนใต้ของทะเลอีเจียน ประเทศกรีซ มีความสวยงามจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง ได้รับการโหวตจากนักท่องเที่ยว ว่าเป็นเกาะอันดับ 2 ของโลกที่พวกเขาอยากมา ซึ่งมีสถานทีสำคัญเช่น ยอดเขาโปรฟีติสอีเลียส (Profitis Ilias) เป็นจุดชมความงดงามของเกาะซันโดรีนี เกาะมีความกว้างประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 567 เมตร ประวัติศาสตร์ของเกาะนี้ ชาวฟินีเชียนอพยพเข้ามาที่เกาะนี้ราว 3,600 ปี ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นชาวลาโคเนียนก็เข้ามาปกครองเกาะนี้ กระทั่งถึง 3,000 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์ไมนอส ผู้ปกครองแห่งเกาะครีตได้แผ่ขยายอิทธิพลด้านศิลปะและวัฒนธรรมจากอารยธรรมมิโนอันมายังธีรา แต่เกิดภูเขาไฟระเบิดขึ้นในเกาะในช่วงฤดูร้อนช่วง 1,650 ปีก่อนคริสตกาล (นักประวัติศาสตร์ยังถกเถียงเรื่องเวลาที่แน่นอนอยู่) ส่งผลให้เกาะธีราแตกออกเป็น 3 เกาะ กระแสลมยังพัดพาเถ้าภูเขาไฟไปไกลจนถึงเกาะต่าง ๆ ในละแวกใกล้เคียงและเกาะครีตที่อยู่ห่างไป 70 กิโลเมตร ไม่เพียงได้รับแรงระเบิดจากภูเขาไฟ ยังเกิดสึนามิที่มีความสูง 100-150 เมตร ถาโถมเข้าด้านเหนือของเกาะครีต ทำลายต้นไม้บ้านเรือน ทำให้เกาะทั้งเกาะจมทะเลในชั่วข้ามคืน ส่งผลให้อารยธรรมมิโนอันเป็นอันล่มสลาย และเชื่อกันว่าความหายนะของเกาะครีตและหมู่เกาะไซคลาดิสเป็นแรงบันดาลใจให้เพลโต เขียนตำนานเรื่องแอตแลนติส และนำไปสู่การบันทึกถึงเรื่องราวเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของศาสนายูดาย คริสต์ และอิสลาม ทั้งนี้นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เริ่มตามรอยอารยธรรมอันสาบสูญ โดยในปี..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและซันโดรีนี · ดูเพิ่มเติม »

ซาโมเทรซ

ท่าเรือสำคัญในซาโมเทรซ ซาโมเทรซ หรือ ซาโมทรากี (Σαμοθράκη, Samothrace) เป็นเกาะในประเทศกรีซ ตั้งอยู่ทางเหนือของทะเลอีเจียน เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเอวรอส ห่างจากเกาะเกิกเชอาดาของประเทศตุรกีไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 23 กิโลเมตร เกาะมีความยาว 17 กิโลเมตร มีพื้นที่ 178 ตร.กม.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและซาโมเทรซ · ดูเพิ่มเติม »

ซิคละดีส

แผนที่ของหมู่เกาะซิคละดีสในทะเลอีเจียน ซิคละดีส หรือ คีคลาเดส (Κυκλάδες; Cyclades) เป็นหมู่เกาะในประเทศกรีซ อยู่ทางตอนใต้ของทะเลอีเจียน ทิศใต้-ตะวันออกของแผ่นดินใหญ่ของประเทศกรีซ ระหว่างคาบสมุทรเพโลพอนนีสกับหมู่เกาะโดเดคะนีส ประกอบด้วยเกาะประมาณ 220 เกาะ มีเนื้อที่ 2,572 กม² เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศกรีซ เมืองหลวงชื่อ เออร์มูโปลิส เกาะที่สำคัญได้แก่ อันดรอส ทีนอส นักซอส อามอร์กอส เมลอส และพารอส หมวดหมู่:เกาะในประเทศกรีซ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2376 หมวดหมู่:จังหวัดในประเทศกรีซ.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและซิคละดีส · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการแอ็บเซนชัน

ปฏิบัติการแอ็บเซนชั่น (Operation abstention) เป็นชื่อรหัสใช้เรียกการรุกรานเกาะคาสเตโลริโซ นอกชายฝั่งตุรกี ของสหราชอาณาจักร ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อราวปลายเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและปฏิบัติการแอ็บเซนชัน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อานาโตเลีย

ประวัติศาสตร์อานาโตเลียกล่าวถึงดินแดนที่เรียกว่าอานาโตเลียหรือเอเชียไมเนอร์ ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันตกของทวีปเอเชีย ในทางภูมิศาสตร์หมายถึงดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศตุรกีในปัจจุบัน จากทะเลอีเจียนซึ่งเป็นขอบเขตทางตะวันตกจนถึงภูเขาชายแดนประเทศอาร์มีเนียทางตะวันออก และเทือกเขาทะเลดำทางเหนือจนถึงเทือกเขาเทารัสทางใต้ โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ อานาโตเลียเป็นเสมือนสะพานที่เชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชียตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเส้นทางสำหรับการเดินทางไปมาระหว่างยุโรปและเอเชีย ตลอดระยะเวลากว่า 4 ถึง 5,000 ปีที่ผ่านมา มีชนหลายเผ่าพันธุ์เดินทางเข้ามายังอานาโตเลียและได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของตนบนดินแดนแห่งนี้ อาณาจักรของชนเหล่านี้ได้พัฒนาเจริญรุ่งเรืองและในที่สุดก็ต้องล่มสลายไปตามกาลเวลา ความเก่าแก่และหลากหลายของอารยธรรมที่เคยเจริญรุ่งเรืองบนผืนแผ่นดินแห่งนี้เป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวตุรกีมีความภาคภูมิใจเป็นพิเศษสำหรับดินแดนอันเป็นประเทศตนในปัจจุบัน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ราบสูงอานาโตเลียเคยเป็นที่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคหิน ยุคประวัติศาสตร์ของอานาโตเลียเริ่มต้นขึ้นในยุคโลหะ ประมาณ 3,000 - 1,200 ก่อนคริสตกาล หากมองย้อนหลังไปในยุคดังกล่าวกลับมาจนถึงยุคปัจจุบันจะพบว่าอานาโตเลียมีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนดินแดนอื่นใดในโลกคือ เป็นดินแดนที่มีอารยธรรมที่เก่าแก่และหลากหลายของชนหลายกลุ่มซึ่งได้ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาครอบครองดินแดนแห่งนี้.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและประวัติศาสตร์อานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมปืนนาวาโรน

ป้อมปืนนาวาโรน (The Guns of Navarone) เป็นภาพยนตร์สงครามที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและป้อมปืนนาวาโรน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเนสทอส

แม่น้ำเนสทอส หรือแม่น้ำเมสตา เป็นแม่น้ำในประเทศบัลแกเรียและประเทศกรีซ ไหลจากบริเวณเทือกเขารีลา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศบัลแกเรียไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านประเทศกรีซ ลงสู่ทะเลอีเจียนทางเหนือ บริเวณตรงข้ามกับเกาะทาซอส (Thasos) แม่น้ำมีความยาว 230 กม.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและแม่น้ำเนสทอส · ดูเพิ่มเติม »

โรดส์

รดส์ (Rhodes; Ρόδος, Ródos, IPA:ˈro̞ðo̞s; Rodi; ออตโตมันตุรกี:ردوس Rodos; ลาดิโน: Rodi หรือ Rodes) เป็นเกาะของประเทศกรีซที่ตั้งอยู่ราว 18 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของตุรกีทางตะวันออกของทะเลอีเจียน โรดส์เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะโดเดคานีส (Dodecanese) ทั้งทางเนื้อที่และทางจำนวนประชากร โดยมีประชากร 117,007 คน (ค.ศ. 2001) โดย 53,709 พำนักอาศัยอยู่ในเมืองโรดส์ที่เป็นเมืองหลวงของเกาะ โรดส์มีความสำคัญในประวัติศาสตร์เพราะเป็นที่ตั้งของเทวรูปเฮลิออส (Colossus of Rhodes) ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตัวเมืองจากยุคกลางได้รับการสถาปนาให้เป็นมรดกโลก.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและโรดส์ · ดูเพิ่มเติม »

โจรสลัด

รสลัด (Pirate, Buccaneer, Frigate) คือบุคคลที่ปล้นหรือโจรกรรมในทะเล หรือบางครั้งตามชายฝั่งหรือท่าเรือต่างๆ โจรสลัดในปัจจุบันจะแตกต่างกับโจรสลัดในอดีตที่มีลักษณะเฉพาะคือจะมีผ้าคาดหัว ใช้ดาบใบกว้างหรือปืนพกและเรือโจรสลัดขนาดใหญ่ ในปัจจุบันโจรสลัดนิยมใช้เรือเร็ว และใช้ปืนกลแทนที่ดาบ เป้าหมายส่วนใหญ่ที่โจรสลัดเลือกคือเรือสินค้าและเรือโดยสาร สำหรับรูปแบบที่ใช้ในการบุกเข้าปล้นมีทั้งชูธงหลอกล่อเป้าหมายว่าเป็นเรือสินค้าบ้าง เรือของกองทัพหรือของศาสนจักรบ้าง หรือแม้กระทั่งใช้กำลังบุกเข้าโจมตีโดยตรงเลยก็มี.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและโจรสลัด · ดูเพิ่มเติม »

โดเดคะนีส

นที่ตั้งของหมู่เกาะโดเดคะนีสในกรีซ โดเดคะนีส (Δωδεκάνησα, Dodekánisa, Dodecanese) เป็นหมู่เกาะของประเทศกรีซในทะเลอีเจียน ประกอบด้วยเกาะ 12 เกาะได้แก่ เกาะอัสติพาเลีย คาลิมนอส คาร์พาทอส คาซอส คัลกี คอส เลรอส ลิปซอส นีซีรอส พัตมอส ซีมี ทีลอส และเกาะเล็ก ๆ อีก 150 เกาะ หมู่เกาะนี้ตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันตั้งแต่คริสต์ศวรรษที่ 16 จนถึง..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและโดเดคะนีส · ดูเพิ่มเติม »

เกาะอีออส

ท่าเรือบนเกาะอีออส เกาะอีออส (Ίος; Ios) เป็นเกาะในประเทศกรีซ ในหมู่เกาะซิคละดีส ในทะเลอีเจียน เป็นเกาะที่เต็มไปด้วยเนินเขาและหน้าผาติดทะเลโดยมาก เกาะตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเกาะนักซอสและซานโตรีนี เกาะมีความยาวราว 18 กม.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและเกาะอีออส · ดูเพิ่มเติม »

เกาะนักซอส

มืองนักซอส เกาะนักซอส (Νάξος; Naxos) เป็นเกาะในประเทศกรีซ เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มเกาะซิคละดีส (429 ตร.กม.) ตั้งอยู่ในทะเลอีเจียน มีเมืองนักซอสตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ เป็นแหล่งผลิตเหล้าองุ่น เมื่อ 490 ปีก่อนคริสต์ศักราชถูกเปอร์เซียยึดและกวาดทรัพย์สินไป ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเติร์กระหว่างปี..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและเกาะนักซอส · ดูเพิ่มเติม »

เลมนอส

ลมนอส เลมนอส หรือ ลีมนอส (Λήμνος, Limnos; Lemnos) เป็นเกาะในประเทศกรีซ ตั้งอยู่ในทะเลอีเจียนทางตอนเหนือ มีพื้นที่ 477 กม² เป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 8 ของประเทศกรีซ ชาวกรีกได้เข้าไปอาศัยอยู่ที่เกาะนี้เมื่อประมาณ 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาตกอยู่ใต้การปกครองของเปอร์เซีย จักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิไบแซนไทน์ และจักรวรรดิออตโตมันตามลำดับ จนตกเป็นของประเทศกรีซในปี..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและเลมนอส · ดูเพิ่มเติม »

เลสบอส

ลสบอส (Λέσβος; Lesbos) หรือในบางครั้งเรียก มีตีลีนี (Mytilini) เป็นเกาะในประเทศกรีซ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลอีเจียน นอกฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศตุรกี มีพื้นที่ 1632 กม² (630 ตร.ไมล์) ชายฝั่งยาว 320 กม.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและเลสบอส · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางการค้า

้นทางการค้า (trade route) คือเส้นทางที่ในเครือข่ายที่บ่งว่าเป็นเส้นทางและจุดหยุดพักที่ใช้ในการขนส่งสินค้าไปยังตลาดที่อยู่ในดินแดนที่ไกลออกไปจากต้นแหล่งที่ผลิตสินค้ามาก เส้นทางการค้าแต่ละเส้นทางก็จะประกอบด้วยถนนสายหลัก (Arterial road) ที่อาจจะมีเครือข่ายย่อยๆ ที่ใช้เป็นเส้นทางการค้าและการคมนาคมมาบรรจบ ในประวัติศาสตร์ช่วงตั้งแต่ปี 1532 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 36 องศาเหนือ

้นขนานที่ 36 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 36 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปแอฟริกา ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและเส้นขนานที่ 36 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือ

้นขนานที่ 40 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 40 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปยุโรป ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 15 ชั่วโมง 1 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 9 ชั่วโมง 20 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและเส้นขนานที่ 40 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 25 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 25 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 25 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 155 องศาตะวันตก เส้นเมริเดียนนี้หมายถึงเส้นแบ่งเขตแดนส่วนมากทางตะวันออกระหว่างลิเบียกับอียิปต์ และเป็นเส้นแบ่งเขตแดนทั้งหมดระหว่างลิเบียกับซูดาน.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและเส้นเมริเดียนที่ 25 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 26 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 26 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 26 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 154 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและเส้นเมริเดียนที่ 26 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 27 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 27 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 27 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 153 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและเส้นเมริเดียนที่ 27 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 28 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 28 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 28 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 152 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและเส้นเมริเดียนที่ 28 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เอชเอ็มเอชเอส บริแทนนิก

อชเอ็มเอชเอส บริแทนนิก (HMHS Britannic) คือชื่อเรือเดินสมุทรของบริษัทไวท์ สตาร์ ไลน์ (White Star Line) เริ่มก่อสร้างเมื่อ..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและเอชเอ็มเอชเอส บริแทนนิก · ดูเพิ่มเติม »

เธรซ

ในที่บรรจุศพ เธรซ (Thrace, Тракия, Trakiya, Θράκη, Thráki, Trakya) เป็นบริเวณประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป ในปัจจุบันเธรซหมายถึงบริเวณที่ครอบคลุม ตอนใต้ของบัลแกเรีย (เธรซเหนือ), ทางตะวันออกเฉียงเหนือของGreece (เธรซตะวันตก), และตุรกีในยุโรป (เธรซตะวันออก) พรมแดนเธรซติดกับทะเลสามทะเล: ทะเลดำ, ทะเลอีเจียน และทะเลมาร์มารา บางครั้งเธรซก็เรียกว่า “รูเมเลีย” (Rumelia) หรือ “ดินแดนของโรมัน”.

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและเธรซ · ดูเพิ่มเติม »

300 มหาศึกกำเนิดอาณาจักร

300 มหาศึกกำเนิดอาณาจักร (300: Rise of an Empire) เป็นภาพยนตร์ประวัติศาสตร์/สงคราม/จินตนิมิต กำกับโดยโนม เมอร์โร ร่วมอำนวยการสร้างและเขียนบทโดยแซ็ก สไนเดอร์ โดยอิงจากหนังสือการ์ตูนที่ยังไม่ออกเผยแพร่ชื่อ Xerxes ของแฟรงก์ มิลเลอร์ นำแสดงโดยซัลลิแวน สเตเพิลตัน, อีวา กรีน, ลีนา ฮีดดี, ฮันส์ แมทีสัน, เดวิด เวนแฮมและโรดรีกู ซานโตรู ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาคต่อจาก 300 ขุนศึกพันธุ์สะท้านโลก โดยดำเนินเรื่องไปพร้อมกับภาคก่อนและมีเหตุการณ์ในยุทธนาวีที่อาร์ทีมีเซียมและยุทธนาวีที่ซาลามิส ออกฉายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม..

ใหม่!!: ทะเลอีเจียนและ300 มหาศึกกำเนิดอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Aegean Seaทะเลเอเจียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »