โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลอันดามัน

ดัชนี ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร.

275 ความสัมพันธ์: บรรจบ พลอินทร์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดีพะยูนพะอานพายุโซนร้อนแฮเรียตพายุไต้ฝุ่นลินดากระทือกลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทยกลุ่มเกาะมะริดกองทัพเรือไทยกะปิกั้งกระดานกั้งตั๊กแตนเจ็ดสีการกัดเซาะชายฝั่งกุ้งการ์ตูนกุ้งกุลาดำกุ้งมังกรกุ้งดีดขันภาษาไทยถิ่นใต้ภาคใต้ (ประเทศไทย)ภูมิศาสตร์ไทยภูมิอากาศไทยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรังมหาสมุทรอินเดียมะริดมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370มณฑลยูนนานม้าน้ำหนามขอรัฐภูมิ อยู่พร้อมรายชื่อทะเลรายชื่อคำขวัญประจำจังหวัดรายชื่อประเทศที่ติดต่อกับมหาสมุทรอย่างน้อยสองมหาสมุทรวันเดอร์ฟูลทาวน์วาฬเพชฌฆาตวิกฤตผู้ลี้ภัยโรฮีนจา พ.ศ. 2558วงศ์ย่อยหอยมือเสือวงศ์ปลากระโทงวงศ์ปลาวัววงศ์ปลาสลิดหินวงศ์ปลาสินสมุทรวงศ์ปลาผีเสื้อวงศ์ปลานกแก้วสกุลไซโนกลอสซัสสมิทธ ธรรมสโรชสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสะพานหินสาหร่ายวุ้นสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505)สถานีรถไฟกันตังสงครามพระเจ้าอลองพญา...สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่งหมึกกระดองลายเสือหมึกสายวงน้ำเงินหมู่เกาะรูปโค้งหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์หมู่เกาะนิโคบาร์หวายกำพวนหวายขริงหอยสังข์หนามเล็กหอยสังข์แตรหอยหมากหอยหลอดหอยหวานหอยงวงช้างหอยงวงช้างมุกหอยปีกนางฟ้าหอยเบี้ยจักจั่นหาดปากเมงอันดับปลาซีกเดียวอันดามันอาหารไทยภาคใต้อาณาจักรธนบุรีอาณาจักรตามพรลิงค์อำเภอกะทู้อำเภอกะเปอร์อำเภอกันตังอำเภอละงูอำเภอสิเกาอำเภอสุขสำราญอำเภอหาดสำราญอำเภอถลางอำเภอทุ่งหว้าอำเภอท่าแพอำเภอท้ายเหมืองอำเภอคลองท่อมอำเภอคุระบุรีอำเภอตะกั่วทุ่งอำเภอตะกั่วป่าอำเภอปะเหลียนอำเภอเกาะยาวอำเภอเกาะลันตาอำเภอเมืองภูเก็ตอำเภอเมืองระนองอำเภอเมืองสตูลอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตาอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพีอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิอุทยานแห่งชาติแหลมสนองค์การบริหารส่วนตำบลบางวันอ่าวพังงาอ่าวเมาะตะมะจังหวัดพังงาจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดระนองจังหวัดสมุทรสาครจังหวัดสตูลจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดตรังจังหวัดตากธันวาคม พ.ศ. 2548ทวายทับละมุทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง–กันตังทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 404ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44ที่หยุดรถไฟบ้านป่ากอที่หยุดรถไฟพรุใหญ่ที่หยุดรถไฟยางยวนที่หยุดรถไฟคลองมวนที่หยุดรถไฟควนเมาที่หยุดรถไฟนาป้อดินแดนในเรื่องพระอภัยมณีคลองเดินเรือสมุทรคอคอดกระค้างคาวขอบหูขาวเล็กงูสมิงทะเลปากเหลืองงูแสมรังตำบลไม้ขาวตำบลเกาะสองต้มยำกุ้ง (อาหาร)ประเทศพม่าประเทศมาเลเซียประเทศไทยประเทศเกาหลีใต้ปลาบู่เกาะสุรินทร์ปลากระจังปลากระโทงร่มปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกปลากระเบนหางหนามปลากระเบนจุดฟ้าปลากระเบนทองปลากะพงหน้าลายปลากะพงผีปลากะพงแดงสั้นหางปานปลากะพงแดงหน้าตั้งปลากะพงเหลืองห้าเส้นปลากะพงเขียวปลากะมงครีบฟ้าปลากะตักใหญ่ปลาการ์ตูนมะเขือเทศปลาการ์ตูนลายปล้องปลาการ์ตูนส้มขาวปลาการ์ตูนอานม้าปลาการ์ตูนอินเดียนแดงชมพูปลาการ์ตูนแดงดำปลาวัวจมูกยาวปลาวัวดำปลาวัวตัวตลกปลาวัวปิกัสโซปลาวัวไททันปลาวาฮูปลาสร้อยนกเขาจุดทองปลาสลิดหินฟ้าหางเหลืองปลาสลิดหินมะนาวปลาสลิดหินม้าลายปลาสลิดหินแขกปลาสากหางเหลืองปลาสิงโตธรรมดาปลาสิงโตปีกเข็มปลาสินสมุทรบั้งเหลืองปลาสินสมุทรหางเส้นปลาสินสมุทรจักรพรรดิปลาสุดสาครจิ๋วลายเข้มปลาสีกุนครีบยาวปลาสีขนปลาสีนวลปลาหางแข็งปลาอมไข่ตาแดงปลาอีโต้มอญปลาผีเสื้อจมูกยาวเหลืองปลาผีเสื้อนกกระจิบปลาจะละเม็ดขาวปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่างปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจใบไม้ปลาจิ้มฟันจระเข้เขียวปลาทูปลาทูปากจิ้งจกปลาทูน่าเขี้ยวหมาปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวินปลาขี้ตังเบ็ดลายปลาดุกทะเลลายปลาตะลุมพุกปลาตะคองปลาตะคองจุดเหลืองปลาตั๊กแตนหินสองสีปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มปลาตาเดียวปลาตีนปลาฉลามปลาฉลามพยาบาลสีน้ำตาลปลาฉลามกบปลาฉลามหลังหนามหนามสั้นปลาฉลามหินปลาฉลามครีบดำปลาซาร์ดีนแปซิฟิกปลาซิวตาเขียวปลาปักเป้ากล่องดำลายจุดปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาวปลาปักเป้าหนามทุเรียนด่างดำปลาปากขลุ่ยปลานกขุนทองปากยื่นปลานกแก้วหัวตัดปลานโปเลียนปลาแป้นเขี้ยวปลาใบขนุนปลาใบโพปลาใบโพจุดปลาโรนันจุดขาวปลาโอดำปลาโอแถบปลาโนรีหน้าหักปลาโนรีครีบยาวปลาโนรีเทวรูปปลาไหลมอเรย์ลายเมฆปลาไหลมอเรย์หน้าปานปลาไหลริบบิ้นปลาเก๋าดอกหมากยักษ์ปลาเก๋าแดงปลิงทะเลปะการังเทียมปูก้ามดาบปูม้าปูทะเลป้ายหยุดรถไฟบ้านพูนนกชาปีไหนนกลุมพูขาวนกหัวโตทรายใหญ่นกตะขาบทุ่งนกแก้วโม่งนกโจรสลัดนกเค้าเหยี่ยวแมงดาจานแม่หอบแม่น้ำกระบุรีแม่น้ำอิรวดีแม่น้ำตรังแม่น้ำตาปีแฮ็กฟิชโลมาหลังโหนกโลมาปากขวดอินโดแปซิฟิกโจรสลัดไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์เกมร้ายเกมรักเกาะพีพีเลเกาะญองอูพีเกาะลังกาวีเกาะสองเกาะตะรุเตาเรือหลวงกระบี่เรือหลวงจักรีนฤเบศรเรือหัวโทงเส้นขนานที่ 10 องศาเหนือเส้นขนานที่ 15 องศาเหนือเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)เขตตะนาวศรีเขนงนายพรานเต่าหญ้าเต่าทะเลเต่าตนุเปอรานากัน ขยายดัชนี (225 มากกว่า) »

บรรจบ พลอินทร์

รรจบ พลอินทร์ หรือ จ๊อบ บรรจบ (16 ธันวาคม พ.ศ. 2501 -) นักร้อง และนักดนตรีแนวเร็กเก้ ชาวไทย มีชื่อในการแสดงว่าวง Job 2 Do.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและบรรจบ พลอินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี

นีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี (Channel 9 MCOT HD; ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งแรกของประเทศไทย ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 9 จนถึงปัจจุบัน สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล มีพลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เป็นประธานกรรมการบริษัท และนายเขมทัตต์ พลเดชเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี · ดูเพิ่มเติม »

พะยูน

ูน เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในอันดับพะยูน (Sirenia).

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและพะยูน · ดูเพิ่มเติม »

พะอาน

อาน (ဘားအံမြို့) เป็นเมืองหลักของรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ห่างจากปากแม่น้ำสาละวินซึ่งไหลลงสู่ทะเลอันดามันราว 50 กิโลเมตร จากการสำรวจสำมะโนประชากรเมื่อปี..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและพะอาน · ดูเพิ่มเติม »

พายุโซนร้อนแฮเรียต

ซนร้อนแฮเรียต เป็นพายุที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยเมื่อเดือนตุลาคม ปี..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและพายุโซนร้อนแฮเรียต · ดูเพิ่มเติม »

พายุไต้ฝุ่นลินดา

ต้ฝุ่นลินดา (Linda) เริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำขึ้นเป็นดีเปรสชั่นเขตร้อน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและพายุไต้ฝุ่นลินดา · ดูเพิ่มเติม »

กระทือ

กะทือ ชื่ออื่นๆคือ กะทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ (เหนือ) เฮียงแดง (แม่ฮ่องสอน) เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5 - 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกของเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม แทงหน่อใหม่เมื่อถึงฤดูฝน ใบเดี่ยวเรียงสลับ และเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 5 - 10 ซม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและกระทือ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทย

แนวรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย โดยกรมทรัพยากรธรณี (พ.ศ. 2555) กลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทย สำหรับประเทศไทยมีการจัดกลุ่มรอยเลื่อนที่สำคัญไว้สามกลุ่ม ตามทิศทางการวางตัวและการเคลื่อนที.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและกลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มเกาะมะริด

แผนที่ของกลุ่มเกาะมะริด กลุ่มเกาะมะริด (မြိတ်ကျွန်းစု; Mergui Archipelago) เป็นกลุ่มเกาะในประเทศพม่า ประกอบด้วยเกาะมากกว่า 800 เกาะ มีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันไป ตั้งแต่ขนาดเล็กมากไปจนถึงพื้นที่ 100 ตร.กม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและกลุ่มเกาะมะริด · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือไทย

กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวีไทย (คำย่อ: ทร., Royal Thai Navy) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือมีจำนวนกำลังพลประจำการเป็นลำดับ 2 (รองจากกองทัพบก) ซึ่งมีเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 74 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (กบร. กร.) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร. กร.) และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.).

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและกองทัพเรือไทย · ดูเพิ่มเติม »

กะปิ

กะปิของมาเลเซีย กะปิ (shrimp paste หรือ shrimp sauce) เป็นเครื่องปรุงรสอย่างหนึ่งที่แพร่หลายในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนใต้ของประเทศจีน คำว่า กะปิ ใช้กันแพร่หลายทั้งในไทย ลาว และกัมพูชา ส่วนในอินโดนีเซีย เรียกกะปิว่าเตอราซี terasi (หรือ trassi, terasie), มาเลเซีย เรียกว่า เบลาจัน belacan (หรือ belachan, blachang), เวียดนาม เรียกว่า mắm tôm, ฟิลิปปินส์ เรียกว่า bagoong alamang (หรือ bagoong aramang) และ ภาษาจีนฮกเกี้ยน เรียกว่า hom ha หรือ hae ko (POJ: hê-ko) คำว่า "กะปิ" ในภาษาไทยมาจากคำในภาษาพม่าว่า "ง่าปิ" (ငါးပိ) แปลว่า "ปลาหมัก" ในประเทศไทย มีกะปิมากมายหลายชนิดให้เลือกรับประทาน กะปิแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน ทั้งคุณภาพ วัตถุดิบ กรรมวิธีผลิต ตามแต่ท้องถิ่นนั้น ๆ โดยส่วนใหญ่ทำจากกุ้งเคย ซึ่งมีมากในแทบชายฝั่งทะเลอันดามัน จึงทำให้มีการผลิตกะปิในหลาย ๆ แห่ง ในพื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเล.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและกะปิ · ดูเพิ่มเติม »

กั้งกระดาน

กั้งกระดาน หรือ กุ้งกระดาน (Flathead lobster, Lobster Moreton Bay bug, Oriental flathead lobster) เป็นกุ้งชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายกั้ง จึงนิยมเรียกกันว่ากั้ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thenus orientalis จัดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Thenus และวงศ์ย่อย Theninae มีส่วนหัวและอกอยู่รวมกัน แต่ไม่มีกรีแหลมที่หัวลำตัวแบนและสั้นกว่ากุ้งทั่วไป ส่วนหัวแผ่ออกเป็นแผ่นใหญ่ ผิวขรุขระ เบ้าตาบุ๋มลงในขอบหน้าส่วนของหัว นัยน์ตามีขนาดเล็กอยู่บนก้านตา นัยน์ตาสามารถเคลื่อนไหวได้คล้ายกับตาของปู หนวดสั้น มีข้อต่อกันคล้ายใบสน แนวกลางหัวและลำตัวเป็นสันแข็ง มีขาเดิน 5 คู่ ปลายแหลมและมีขนสั้น ๆ อยู่บนขา ขาเดินคู่ที่ 5 ของตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้มาก ลำตัวแบ่งออกเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีขาว่ายน้ำอยู่หนึ่งคู่ หางมีลักษณะเป็นแผ่นแบนประกอบด้วยรยางค์ 5 อัน อันกลางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง ใช้ในการดีดตัวหลบหนีศัตรู หัว ลำตัว และหางเป็นสีน้ำตาล มีตุ่มเล็กเรียงเป็นแถวบนลำตัว นัยน์ตาสีดำ อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน แถบที่เป็นพื้นโคลนปนทราย มีความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร หากินสัตว์น้ำขนาดเล็กตามหน้าดินเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก, ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ทะเลแดง, ทะเลอันดามัน, ตอนใต้ของญี่ปุ่น, จีน จนถึงอ่าวมอร์ตัน ในออสเตรเลีย นิยมรับประทานเป็นอาหาร มีรสชาติดีแต่เหนียวกว่ากุ้ง จึงนิยมแช่แข็งส่งออกขายต่างประเทศ เป็นที่นิยมกันมากที่สิงคโปร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและกั้งกระดาน · ดูเพิ่มเติม »

กั้งตั๊กแตนเจ็ดสี

กั้งตั๊กแตนเจ็ดสี (Peacock mantis shrimp, Harlequin mantis shrimp, Painted mantis shrimp) เป็นครัสเตเชียนชนิดหนึ่ง จำพวกกั้ง จัดอยู่ในวงศ์ Odontodactylidae เป็นกั้งที่มีสีสวย มักอยู่ตามพื้นทราย นอกเขตแนวปะการัง บางครั้งอาจพบได้ในเขตน้ำตื้น ส่วนใหญ่หลบซ่อนอยู่ในรูที่มีทางออกหลายทาง แต่บางครั้งอาจเดินอยู่บนพื้นเพื่อหาอาหาร ได้แก่ หอยฝาเดียว, กุ้ง, ปู หรือปลาขนาดเล็ก ตามีการพัฒนาสูงสุด จนถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีระบบการมองเห็นที่ดีที่สุดในบรรดาอาณาจักรสัตว์โลก โดยดวงตากลมโตทั้งสองข้างนั้นสามารถกลอกกลิ้งไปมาได้อย่างเป็นอิสระ มีเซลล์รับแสงมากถึง 12 สี เมื่อเทียบกับตามนุษย์ที่มีเซลล์รับแสงเพียงแค่ 3 สีเท่านั้น นอกจากจะมองเห็นสีสันได้มากมายหลายเฉดสีแล้ว ยังสามารถรับรู้แสงโพลาไรซ์ได้อีกด้วย และสามารถสแกนภาพได้ โดยใช้เส้นขนานกลางตาเพื่อเล็งเหยื่อ ก่อนใช้ขาคู่หน้าที่คล้ายกับกำปั้นหรือสันหมัดของมนุษย์ดีดไปอย่างแรง ลักษณะคล้ายตั๊กแตนตำข้าวจับเหยื่อ อาจใช้ดีดจนกระดองปูหรือเปลือกหอยแตกได้ หรือดีดเพื่อเกี่ยวกลับเข้ามา ซึ่งแรงดีดนี้รุนแรงมาก แม้แต่จะทำให้มนุษย์บาดเจ็บได้ หรือแม้กระทั่งกระจกตู้ปลาอาจแตกด้วยแรงดีดเพียงครั้งเดียว เพราะเป็นสัตว์ที่มีแรงในการดีดหนักกว่าน้ำหนักของตัวเองมากกว่า 1,000 เท่า ในอัตราความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (เร็วกว่ากระสุนขนาด.22 มิลลิเมตร) และยังสามารถดีดได้มากถึง 50,000 ครั้งโดยที่ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด เนื่องจากโครงสร้างภายในของขาคู่หน้านั้นมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ซับซ้อน บริเวณที่รับแรงกระแทกโดยตรง ประกอบด้วยไฮดรอกซิลอะพาไทต์แบบผลึกที่พบมากในกระดูกและฟันของมนุษย์ จึงทำให้ผิวชั้นนี้มีสมบัติทนทานต่อแรงกดอัดได้ดี อีกทั้งที่อยู่ด้านในมีลักษณะซ้ำ ๆ ของชั้นเส้นใยไคตินที่มีสมบัติด้านความแข็งตึง (ความสามารถในการรักษารูปร่าง) ต่ำ ซึ่งพบมากในโครงสร้างภายนอกของสัตว์ครัสเตเชียน มีการจัดเรียงตัวในลักษณะวนเป็นเกลียวและเติมเต็มด้วยสารอนินทรีย์ชนิดอสัณฐานที่โครงสร้างของสสารไม่เป็นผลึกอยู่ระหว่างกลาง ทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับแรงกระแทกที่เกิดจากการจู่โจม ส่วนชั้นที่มีลักษณะเป็นลายริ้ว ๆ เป็นเส้นใยไคตินมีหน้าที่ห่อหุ้มขาคู่หน้าทั้งหมดเพื่ออัดองค์ประกอบอนินทรีย์ต่าง ๆ ให้อยู่ภายในระยางค์เพื่อป้องกันการบาดเจ็บได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ซึ่งลักษณะทางกายภาคที่ยอดเยี่ยมเช่นนี้เป็นต้นแบบให้นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาแคลิฟอร์เนีย, ริเวอร์ไซด์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยเพอร์ดู ของสหรัฐอเมริกาใช้ศึกษาเพื่อพัฒนาการสร้างวัสดุที่มีความแข็งแกร่งสูงแต่น้ำหนักเบา โดยเลียนแบบจากโครงสร้างอันนี้ มีพฤติกรรมหลบซ่อนอยู่ในรู โดยโผล่มาแต่เฉพาะส่วนหัว เมื่อภัยอันตรายเข้ามาใกล้ จะหดหัวเข้าไป ก่อนจะโผล่หัวออกมาดูอีกครั้งภายในเวลา 2–3 นาที แต่ถ้าเดินหากินอยู่ไกลโพรง เมื่อพบเจอกับศัตรู บางครั้งจะชูตัวยกขึ้นแล้วชูขาหน้าเพื่อขู่ศัตรู หากไม่ได้ผล จะงอตัวกลิ้งกับพื้น หากจวนตัวจะดีดตัวอย่างรวดเร็วพุ่งหายไป มีขนาดความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร พบในความลึกไม่เกิน 20 เมตร พบกระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่เกาะกวมจนถึงแอฟริกาตะวันออก ในน่านน้ำไทยพบได้น้อยทางฝั่งอ่าวไทย แต่จะพบได้มากกว่าทางฝั่งทะเลอันดามัน เป็นกั้งที่ไม่ได้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ เพราะมีเนื้อน้อย แต่มีการเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงาม โดยผู้เลี้ยงอาจหาท่อพีวีซีใส่ในตู้ เพื่อให้เป็นที่หลบซ่อน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและกั้งตั๊กแตนเจ็ดสี · ดูเพิ่มเติม »

การกัดเซาะชายฝั่ง

กระแสน้ำขึ้นลง การกัดเซาะชายฝั่ง (coastal erosion) เกิดจากพลังของคลื่น ลม และกระแสน้ำขึ้นลง (tidal ranges) ที่ส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทำให้มีการสึกกร่อนพังทลายไป และเป็นต้นเหตุของการเกิดรูปร่างลักษณะของชายฝั่งทะเลที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ต่างๆชายฝั่งที่พบลักษณะการกัดเซาะส่วนมากมักเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลน้ำลึก ที่ลักษณะของชายฝั่งมีความลาดชันลงสู่ท้องทะเล ทำให้คลื่นลม และกระแสน้ำสามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและการกัดเซาะชายฝั่ง · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งการ์ตูน

กุ้งการ์ตูน หรือ กุ้งตัวตลก (Harlequin shrimp, Painted shrimp, Clown shrimp, Dancing shrimp) เป็นกุ้งทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีลวดลายและสีสันสวยงาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hymenocera picta จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Hymenocera (ในกรณีนี้ในหลายข้อมูลมีการแบ่งออกเป็น 2 ชนิด โดยอีกชนิดหนึ่งนั้นคือ H. elegans ซึ่งจำแนกจากสีสันและแหล่งที่อยู่อาศัย แต่ทว่าก็มีความเป็นไปได้ว่าเป็นชนิดเดียวกัน ซึ่งความแตกต่างของสีสันเกิดจากสีของกุ้งที่เปลี่ยนไป) มีลักษณะลำตัวมีเปลือกแข็งสีขาว แต้มด้วยลายจุดสีฟ้า สีน้ำตาลตัวผู้มีเปลือกสีขาวค่อนไปทางเหลือง แต่ไม่มีจุดสีน้ำเงิน ส่วนตัวเมียจะมีสีจุดน้ำเงินชัดเจน มีขนาดลำตัวยาวเต็มที่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร กินอาหารจำพวก ดาวทะเล, ปลิงทะเล และเม่นทะเล ในบางครั้งจะช่วยกันยกดาวทะเลไปไว้ในที่อาศัยเพื่อที่จะเก็บไว้กินได้ในหลายวัน พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือโพรงหินตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ทะเลแดง, อินโด-แปซิฟิก, ตอนเหนือของออสเตรเลีย จนถึงหมู่เกาะกาลาปากอส ในน่านน้ำไทยจะพบมากบริเวณหมู่เกาะพีพี ในเขตทะเลอันดามัน กุ้งการ์ตูนวัยเจริญพันธุ์สามารถผสมพันธุ์และมีลูกกุ้งได้ คือวัย 7 เดือน ถึง 1 ปี ขึ้นไป โดยสามารถให้ลูกได้ตั้งแต่ 700-2,000 ตัว บางครั้งอาจให้ลูกถึง 3,000 ตัว ขึ้นอยู่กับช่วงวัย หากเป็นกุ้งที่มีอายุมาก จำนวนลูกก็จะยิ่งมาก ในลูกกุ้งวัยอ่อนจะกินแพลงก์ตอนทั้งแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ ด้วยความที่มีขนาดเล็ก และสวยงาม จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามในตู้กระจก ซึ่งในปัจจุบัน กุ้งการ์ตูนสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและกุ้งการ์ตูน · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งกุลาดำ

กุ้งกุลาดำ หรือ กุ้งม้าลาย (Tiger prawn) เป็นกุ้งทะเล ขนาดประมาณ 18 - 25 เซนติเมตร มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ Penaeidae อาศัยอยู่ในเขตร้อน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันหลายชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบ แต่ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป คือ Penaeus monodon Frabricius และมีชื่อภาษาอังกฤษที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ใช้อยู่คือ Giant Tiger Prawn ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก ห่างออกจากฝั่งและชอบพื้นทะเลที่เป็นดินทราย สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทนอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงและความเค็มต่ำ เช่น บริเวณป่าชายเลนได้ดี และหาอาหารจำพวกแพลงก์ตอน, หนอน, แมลงน้ำ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและกุ้งกุลาดำ · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งมังกร

วนหางของกุ้งมังกรแช่น้ำแข็ง พร้อมบริโภค ระวังสับสนกับ: ล็อบสเตอร์ สำหรับกุ้งมังกรที่พบในน้ำจืด ดูที่: เครย์ฟิช กุ้งมังกร หรือ กุ้งหัวโขน หรือ กุ้งหนามใหญ่ เป็นครัสเตเชียนทะเลจำพวกหนึ่ง เป็นกุ้งที่อยู่ในวงศ์ Palinuridae.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและกุ้งมังกร · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งดีดขัน

กุ้งดีดขัน หรือ กุ้งกระเตาะ (Snapping shrimps) เป็นครัสเตเชียนจำพวกหนึ่งในวงศ์ Alpheidae จัดเป็นกุ้งขนาดเล็ก ลำตัวใส ส่วนหัวมีขนาดใหญ่เรียวเล็กลงไปถึงหาง นัยน์ตาเล็กและมีหนวดยาว มีก้ามใหญ่โต โดยเฉพาะข้างหนึ่งจะใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่ง มีความสามารถงับก้ามทำให้เกิดเสียงดัง "แป๋ง ๆ " โดยเฉพาะเมื่อกระทบขันน้ำโลหะเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า "กุ้งดีดขัน" ซึ่งการที่ทำแบบนี้ได้ก็เพื่อทำให้ศัตรูตกใจ จากนั้นจะใช้ก้ามอีกข้างหนึ่งที่เล็กกว่าบีบน้ำใส่หน้าของศัตรูแล้วหนีไป มีพฤติกรรมชอบหลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อย และในน้ำจืดบางชนิด ซึ่งบางครั้งพบได้ในท้องร่องสวนบางที่ หรือตามลำห้วยที่ไหลมาจากน้ำตกได้อีกด้วย แรงดันของน้ำที่เกิดจากก้ามของกุ้งดีดขันมีมากได้ถึง 80 kPa ในรัศมี 4 เซนติเมตร ซึ่งมีความรุนแรงที่ทำให้ปลาตัวเล็ก ๆ ช็อกตายได้ และเสียงจากการกระทำดังนี้มีความดังถึง 218 dB/µPa/m (เดซิเบล/ไมโครปาสคาล/เมตร) เมื่อเทียบกับเสียงของน้ำตกไนแองการาซึ่งดังเพียง 90 dB เสียงในโรงงานอุตสาหกรรมดังเพียง 80 dB เสียงพูดคุยปกติธรรมดา 30 dB นับว่ากุ้งดีดขันสามารถทำเสียงได้ดังกว่า มีทั้งหมด 45 สกุล ชนิดที่พบเจอบ่อย ๆ ได้แก่ Alpheus microrhynchus ซึ่งพบในน้ำจืด และ A. digitalis เป็นต้น เฉพาะสกุล Alpheus นั้นพบในประเทศไทยทั้งหมด 35 ชนิด โดยพบในอ่าวไทย 8 ชนิด ทะเลอันดามัน 5 ชนิด และพบทั้งสองฟากทะเล 22 ชนิด กุ้งดีดขันมีความสำคัญในแง่ของการประมง ที่บังกลาเทศ, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลียตอนเหนือ นิยมนำมารับประทาน และยังนิยมทำเป็นเหยื่อตกปลาอีกด้วย นอกจากนี้แล้วจากความสามารถที่ทำเสียงดังได้ ทำให้กุ้งดีดขันมักถูกจับมาขายเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ซึ่งชนิดที่มักถูกจับมาขายเป็นสัตว์เลี้ยง คือ A. cyanoteles ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้ในน้ำจืดสนิทหน้า 88-91.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและกุ้งดีดขัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นใต้

ษาไทยถิ่นใต้ หรือ ภาษาตามโพร (Dambro) เป็นภาษาถิ่น ที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัด และตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้าน ในรัฐกลันตัน, รัฐปะลิส, รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี), รัฐเประก์ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย รวมถึงบางหมู่บ้าน ในเขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้ มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและภาษาไทยถิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาคใต้ (ประเทศไทย)

ใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและภาคใต้ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์ไทย

แผนที่ประเทศไทย ประเทศไทยมีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศได้มีอิทธิพลต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย ประเทศไทยยังเป็นเส้นทางทางบกเพียงทางเดียวจากทวีปเอเชียไปยังประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศไทย

ประเทศไทยจากทางอากาศ แผนที่ประเทศไทยแสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน:(Aw) ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา(Am) ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน(Af) ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ ภูมิอากาศ ของประเทศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้นหรือภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ในขณะที่ภาคใต้และทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเป็นเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 19-38 องศาเซลเซียส อากาศจะร้อนที่สุดช่วงกลางเดือนเมษายน หลังจากนั้น ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนและฤดูหนาวตามลำดับ พื้นที่ทั้งประเทศได้รับปริมาณฝนอย่างเพียงพอ ยกเว้นบางพื้นที่เท่านั้น แต่ระยะเวลาของฤดูฝนและปริมาณฝนมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและระดับความสูง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและภูมิอากาศไทย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง เป็นวิทยาเขตในสังกัดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่ 179 หมู่ที่ 3 ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นวิทยาเขตที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งทะเลอันดามัน เอื้อต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นปฏิบัติ และเดินทางท่องเที่ยว เป็นอย่างยิ่ง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มะริด

มะริด (မြိတ်, มเยะ หรือ เบะ; ဗိက်; Myeik) มีชื่อเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า เมอร์กุย (Mergui) เป็นเมืองหนึ่งในภูมิภาคตะนาวศรี ประเทศพม่า ตั้งอยู่ทางตอนใต้บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน จากผลสำรวจสำมะโนครัวประชากรมีประชากรราว 209,000 คน World Gazetteer.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและมะริด · ดูเพิ่มเติม »

มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370

มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370 (MH370) เป็นเที่ยวบินโดยสารระหว่างประเทศที่สูญหายเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2557 ระหว่างบินจากท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ไปท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ประเทศจีน เที่ยวบินดังกล่าวติดต่อด้วยเสียงครั้งสุดท้ายกับศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศเมื่อเวลา 01:19 MYT ของวันที่ 8 มีนาคม (17:19 UTC ของวันที่ 7 มีนาคม) ขณะบินเหนือทะเลจีนใต้ไม่ถึงชั่วโมงหลังนำเครื่องขึ้น อากาศยานหายจากจอเรดาร์ของผู้ควบคุมจราจรทางอากาศเมื่อเวลา 01:22 MYT เรดาร์ทหารของมาเลเซียยังติดตามอากาศยานขณะที่เครื่องเบี่ยงจากเส้นทางการบินตามแผนและข้ามคาบสมุทรมลายู เครื่องพ้นรัศมีของเรดาร์ทหารมาเลเซียเมื่อเวลา 02:22 ขณะบินเหนือทะเลอันดามัน ห่างจากปีนังทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศมาเลเซียไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 200 ไมล์ทะเล (370 กิโลเมตร) อากาศยานดังกล่าว ซึ่งเป็นโบอิง 777-200 อีอาร์ บรรทุกสมาชิกลูกเรือชาวมาเลเซีย 12 คน และผู้โดยสาร 227 คนจาก 15 ชาติ เริ่มความพยายามค้นหานานาชาติในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ที่ซึ่งมองเห็นสัญญาณของเที่ยวบินครั้งสุดท้ายบนเรดาร์สอดส่องดูแลทุติยภูมิ และไม่นานก็ขยายไปช่องแคบมะละกาและทะเลอันดามัน การวิเคราะห์การสื่อสารดาวเทียมระหว่างอากาศยานและเครือข่ายคมนาคมดาวเทียมอินมาร์แซทได้ข้อสรุปว่าเที่ยวบินดำเนินไปจนอย่างน้อย 08:19 และบินลงใต้เข้าสู่มหาสมุทรอินเดียใต้ แม้ยังไม่สามารถกำหนดตำแหน่งแม่นยำได้ ออสเตรเลียรับผิดชอบความพยายามค้นหาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม เมื่อการค้นหาย้ายไปมหาสมุทรอินเดียใต้ วันที่ 24 มีนาคม รัฐบาลมาเลเซียสังเกตว่าตแหน่งสุดท้ายที่กำหนดจากการสื่อสารดาวเทียมอยู่ไกลกว่าที่ลงจอดใด ๆ ที่เป็นไปได้ และสรุปว่า "เที่ยวบิน MH370 สิ้นสุดในมหาสมุทรอินเดียใต้" การค้นหาระยะปัจจุบัน ซึ่งเป็นการค้นหาที่ใหญ่และแพงที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน คือ การสำรวจพื้นสมุทรอย่างครอบคลุมประมาณ 1,800 กิโลเมตร (970 ไมล์ทะเล) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเพิร์ธ เวสเทิร์นออสเตรเลีย ซึ่งเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม 2557 ไม่พบอากาศยานจนวัที่ 29 กรกฎาคม 2558 เมื่อมีชิ้นส่วนกองเศษทะเลถูกพัดขึ้นฝั่งเกาะเรอูนียง ซึ่งต่อมามีการยืนยันว่าเป็นแฟลปเพอรอน (flaperon) จากเที่ยวบินที่ 370 ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งลำตัวเครื่องได้ ทำให้เกิดทฤษฎีจำนวนมากเกี่ยวกับการสาบสูญ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370 · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและมณฑลยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

ม้าน้ำหนามขอ

ม้าน้ำหนามขอ หรือ ม้าน้ำหนามยาว (Thorny seahorse, Spiny seahorse) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกม้าน้ำ มีปากที่ยาวกว่าม้าน้ำชนิดอื่น ๆ มีส่วนของหนามยาว ปลายแหลมและคมกว่าม้าน้ำชนิดอื่น ๆ ปลายหนามโค้งเล็กน้อยและมักจะมีสีเข้มหรือดำ มีสีผิวลำตัวแตกต่างกันไป เช่น สีเหลือง, สีเขียว, สีส้ม, สีชมพู มีความยาวเต็มที่ประมาณ 7.9-13.5 เซนติเมตร มีรายงานความยาวสูงสุด 17 เซนติเมตร พบในเขตร้อน แถบทะเลแดง, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิคตอนกลางและตะวันตก สำหรับในน่านน้ำไทยพบทั้งในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในแนวปะการัง หรือซากเรือจม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและม้าน้ำหนามขอ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐภูมิ อยู่พร้อม

รัฐภูมิ อยู่พร้อม อดีตทหารเรือชาวไทย จาก มติชน ผู้พายเรือคายัคคนเดียวเป็นระยะทาง 1500 ไมล์ ตลอดชายฝั่งทะเลอันดามัน และอ่าวไทย เมื่อ..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและรัฐภูมิ อยู่พร้อม · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทะเล

ทะเลคือพื้นที่น้ำเกลือที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทร หรือทะเลขนาดใหญ่ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (เช่น ทะเลแคสเปียน และทะเลเดดซี) .

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและรายชื่อทะเล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด

ำขวัญประจำจังหวัด เป็นคำขวัญที่แต่ละจังหวัดในประเทศไทยแต่งขึ้น เพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ความภาคภูมิใจ และความโดดเด่นที่มีอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ มักเป็นคำคล้องจองสั้น ๆ เพื่อให้จดจำง่าย นอกจากคำขวัญประจำจังหวัดแล้ว ปัจจุบันยังมีการแต่งคำขวัญประจำท้องถิ่นในส่วนย่อยลงไปอีก เช่น คำขวัญประจำอำเภอ คำขวัญประจำเขต (ในกรุงเทพมหานคร) เป็นต้น คำขวัญประจำจังหวัด แยกตามภาคได้ดังนี้.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและรายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศที่ติดต่อกับมหาสมุทรอย่างน้อยสองมหาสมุทร

้านล่างนี้เป็น รายชื่อประเทศที่ติดต่อกับมหาสมุทรอย่างน้อยสองมหาสมุทร ซึ่งรวมถึงรัฐเอกราชและดินแดนในภาวะพึ่งพิง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและรายชื่อประเทศที่ติดต่อกับมหาสมุทรอย่างน้อยสองมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

วันเดอร์ฟูลทาวน์

วันเดอร์ฟูลทาวน์ หรือ เมืองเหงาซ่อนรัก เป็นภาพยนตร์ความยาว 92 นาที กำกับโดย อาทิตย์ อัสสรัตน์ ออกฉายครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและวันเดอร์ฟูลทาวน์ · ดูเพิ่มเติม »

วาฬเพชฌฆาต

วาฬเพชฌฆาต หรือ วาฬออร์กา (Killer whale, Orca) เป็นสปีชี่ส์ที่ใหญ่ที่สุดในในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) สามารถพบเห็นได้ในมหาสมุทรทั่วโลก ตั้งแต่แถบอาร์กติกและแอนตาร์กติกา จนถึงทะเลในแถบเขตร้อน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถพบเห็นได้ทั่วโลกมากที่สุดนอกเหนือจากมนุษ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและวาฬเพชฌฆาต · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตผู้ลี้ภัยโรฮีนจา พ.ศ. 2558

วิกฤตผู้ลี้ภัยโรฮีน..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและวิกฤตผู้ลี้ภัยโรฮีนจา พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยหอยมือเสือ

วงศ์ย่อยหอยมือเสือ (Giant clam; วงศ์ย่อย: Tridacninae) เป็นวงศ์ย่อยของหอยสองฝา ในวงศ์ใหญ่ Cardiidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tridacninae เป็นหอยสองฝาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แบ่งออกได้เป็น 2 สกุล 9 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและวงศ์ย่อยหอยมือเสือ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระโทง

ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก วงศ์ปลากระโทง, วงศ์ปลากระโทงแทง หรือ วงศ์ปลาปากนก ปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่จำพวกหนึ่งอาศัยอยู่ในทะเล อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Istiophoridae โดยคำว่า Istiophoridae ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ιστίων" (Istion) หมายถึง "ใบเรือ" รวมกับคำว่า "φέρειν" (pherein) หมายถึง "แบกไว้" ปลากระโทง เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ที่มีความปราดเปรียวและว่องไวมาก จัดเป็นปลาที่สามารถว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกด้วยมีกล้ามเนื้อที่ทรงพลัง และกระดูกหลังที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถพุ่งจากน้ำได้เร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และในฤดูอพยพอาจทำความเร็วได้ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีลำตัวค่อนข้างกลม ปากกว้าง มีฟันแบบวิลลิฟอร์ม ครีบหลังและครีบก้นมีอย่างละ 2 ครีบ ไม่มีครีบฝอย ครีบท้องมีก้านครีบ 1-3 ก้าน มีสันที่คอดหาง ครีบหางเว้าลึก มีจุดเด่นคือปลายปากด้านบนมีกระดูกยื่นยาวแหลมออกมา ใช้ในการนำทาง ล่าเหยื่อ และป้องกันตัว ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสิ่งที่เหลืออยู่จากยุคก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อป้องกันตัวจากบรรดาปลานักล่าต่าง ๆ ที่มีอยู่ดาษดื่นSuper Fish: fastest predator in the sea, สารคดีทางแอนิมอลพลาเน็ต.ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2556 มีครีบกระโดงหลังมีสูงแหลม ในบางชนิด จะมีกระโดงสูงมากและครอบคลุมเกือบเต็มบริเวณหลัง ดูแลคล้ายใบเรือ มีสีและลวดลายข้างลำตัวแตกต่างออกไปตามแต่ชนิด ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามสภาพอารมณ์ หากตกใจหรือเครียด สีจะซีด และใช้เป็นสิ่งที่แยกของปลาแต่ละตัว โดยมากแล้วมักจะอาศัยหากินอยู่บริเวณผิวน้ำ พบได้ในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ออกล่าเหยื่อเป็นปลาขนาดเล็กกว่า บางครั้งอาจอยู่รวมเป็นฝูงนับร้อยตัว มักล่าเหยื่อในเวลากลางวัน เนื่องจากเป็นปลาที่ล่าด้วยประสาทสัมผัสทางตาเป็นหลัก สามารถโดดพ้นน้ำได้สูงและมีความสง่างามมาก จึงนิยมตกเป็นเกมกีฬา ได้รับฉายาจากนักตกปลาว่าเป็น "ราชินีแห่งท้องทะล" โดยมักจะออกตกด้วยการล่องเรือไปกลางทะเลและตกด้วยอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้ด้วยกันเวลาหลายชั่วโมง ด้วยการให้ปลายื้อเบ็ดจนหมดแรงเอง โดยปลากระโทงชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลากระโทงสีน้ำเงิน (Makaira nigricans) เป็นชนิดที่พบที่มหาสมุทรแอตแลนติก ที่สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 5 เมตร หนักกว่า 636 กิโลกรัม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและวงศ์ปลากระโทง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาวัว

วงศ์ปลาวัว หรือ วงศ์ปลางัว หรือ วงศ์ปลากวาง (วงศ์: Balistidae, Triggerfish, ฮาวาย: Humuhumu) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวกว้างแบนเป็นทรงกลมรีคล้ายรูปไข่ ข้างตำแหน่งตาอยู่สูงบริเวณด้านบนของหัว ที่ครีบหลังอันแรกจะมีหนามแข็ง 3 อัน สามารถพับเก็บได้ และจะตั้งขึ้นได้เพื่อใช้ในการข่มขู่ศัตรู มีก้านครีบหางจำนวน 12 ก้าน และ 18 ก้านครีบที่ครีบหลัง มีเกล็ดที่ใหญ่แข็งและหนังหนา ส่วนของใบหน้ายาวและยื่นแหลมออกมา ปากมีขนาดเล็ก ภายในมีฟัน 4 ซี่ที่ด้านนอก และด้านในอีก 3 ซี่ ที่แหลมคมมาก ใช้สำหรับขบกัดสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ กินเป็นอาหาร รวมถึงฟองน้ำ, ปะการัง, สาหร่าย หรือเม่นทะเลด้วย เช่นเดียวกับปลาปักเป้า อันเป็นปลาในอันดับเดียวกัน แต่อยู่ต่างวงศ์กัน พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น อินโด-แปซิฟิก, หมู่เกาะฮาวาย, ทะเลแดง, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลฟิลิปปิน และมหาสมุทรแอตแลนติก ตาของปลาวัวสามารถกลอกกลิ้งไปมาได้ อันเป็นลักษณะเฉพาะ โดยปกติแล้ว เป็นปลาที่มีอุปนิสัยดุร้าวก้าวร้าวมาก มักไล่กัดปลาอื่นหรือแม้แต่พวกเดียวกันเองที่รุกล้ำเข้ามาในถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นปลาที่จะหากินและอาศัยอยู่ในแนวปะการัง มีพฤติกรรมหากินโดยซอกซอนหากินเอาในแนวปะการังในเวลากลางวัน และนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วมากโดยใช้ครีบหลัก ๆ ทั้ง 2 ครีบในด้านบนและด้านล่างของลำตัว ขณะที่ครีบหางใช้เป็นตัวควบคุมทิศทาง เป็นปลาที่มีพฤติกรรมผสมพันธุ์วางไข่ โดยวางไข่ตามพื้นในรังซึ่งตัวผู้จะทำหน้าที่เฝ้าระวัง ซึ่งบางชนิดจะมีนิสัยดุร้ายมากในช่วงนี้ โดยมากแล้วเป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงามสดใสมาก จึงเป็นที่นิยมมากของนักดำน้ำและนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย แต่ว่าเป็นปลาที่ดุร้ายมาก สามารถพุ่งเข้ากัดจนเป็นแผลเหวอะหรือไล่มนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใหญ่กว่ามากได้อย่างไม่เกรงกลัว มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 25-50 เซนติเมตร โดยมีชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาวัวไททัน (Balistoides viridescens) ที่ใหญ่ได้ถึง 75 เซนติเมตร หรือราว 1 เมตร และนับเป็นชนิดที่อันตรายมาก เพราะมีรายงานการกัดและไล่นักดำน้ำมาแล้วในหลายที.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและวงศ์ปลาวัว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสลิดหิน

ระวังสับสนกับ ปลาสลิดทะเล วงศ์ปลาสลิดหิน (Damsel, Demoiselle) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacentridae เป็นปลาทะเลหรือน้ำกร่อยขนาดเล็ก โดยรวมแล้วมีขนาดประมาณ 4-8 เซนติเมตร มีความโดดเด่นตรงที่มีสีสันและลวดลายสดใสสวยงาม จึงเป็นที่นิยมของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแนวปะการัง นับเป็นปลาที่พบได้บ่อยและชุกชุมที่สุดในแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นฝูง มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มักกัดทะเลาะวิวาทกันเองภายในฝูง กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอน, สาหร่าย และสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ จัดเป็นปลาที่วงศ์ใหญ่ มีจำนวนสมาชิกในวงศ์ประมาณ 360 ชนิด ใน 29 สกุลหรือวงศ์ย่อย ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ ปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) ที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 28 ชนิด โดยที่คำว่า Pomacentridae ที่เป็นภาษาละตินที่ใช้เป็นชื่อวงศ์ในทางวิทยาศาสตร์นั้น แปลงมาจากภาษากรีกคำว่า "poma" แปลว่า "ปก" หมายถึง "แผ่นปิดเหงือก" และ "kentron" แปลว่า "หนาม" ซึ่งหมายถึง "หนามที่บริเวณแผ่นปิดเหงือกอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของปลาในวงศ์นี้" ลักษณะทางชีววิทยา คือ ลำตัวสั้นปอมรูปไขรีแบนขาง เกล็ดเป็นแบบสาก เสนขางตัวขาดตอน ครีบหลังติดกันเปนครีบเดียว มี รูจมูกเพียงคูเดียว ครีบทองอยูในตำแหนงอก ไมมีฟนที่พาลาทีน ปลาในวงศ์ปลาสลิดหิน โดยมากแล้ว เป็นปลาที่ดูแลไข่จนกระทั่งฟักเป็นตัว โดยทั้งปลาตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล แต่ก็มีบางจำพวกอย่าง ปลาการ์ตูน ที่สามารถเปลี่ยนเพศได้ตามสถานการณ์ โดยปกติแล้วเป็นปลาทะเลและปลาน้ำกร่อย แต่ก็มีบางชนิดเท่านั้นที่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืดด้ว.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและวงศ์ปลาสลิดหิน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสินสมุทร

วงศ์ปลาสินสมุทร (Angelfish, Marine angelfish) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacanthidae (/โป-มา-แคน-ทิ-ดี้/) ปลาสินสมุทรนั้นมีรูปร่างและสีสันโดยรวมคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) บางสกุล เช่น Chaetodon กล่าวคือ มีรูปร่างแบนข้างเป็นทรงรีหรือรูปไข่ในแนวนอน ปากมีขนาดเล็กมีริมฝีปากหนา เกล็ดเล็กละเอียดกลม ไม่มีหนามที่ขอบตาด้านหน้า ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปลาในวงศ์นี้ เส้นข้างลำตัวโค้งและสมบูรณ์ ครีบท้องและครีบทวารมนกลม ก้านครีบแข็งค่อนข้างจะยาวกว่าก้านครีบอ่อน โดยก้านครีบอันแรกของครีบเอวจะยาวมาก ครีบหางมีลักษณะเป็นหางตัดหรือมนกลม ปลาสินสมุทรจัดเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังวงศ์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ คือ มีขนาดตั้งแต่ 10-40 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามช่วงวัย มีอาณาบริเวณหากินค่อนข้างชัดเจน อีกทั้งเป็นปลาที่ไม่เกรงกลัวมนุษย์ ซ้ำยังมักว่ายน้ำเข้าหามาเมื่อมีผู้ดำน้ำลงไปในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย โดยอาศัยและหากินในแนวปะการังเป็นหลัก แต่ก็มีบางชนิดที่หากินลึกลงไปกว่านั้นเป็นร้อยเมตร ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่นเดียวกับปลาการ์ตูนหรือปลาผีเสื้อ อันเนื่องจากสีสันที่สวยงาม พบทั้งหมด 9 สกุล (ดูในตาราง) มีประมาณ 74 ชนิด ในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ (Pomacanthus imperator), ปลาสินสมุทรวงฟ้า (P. annularis) และปลาสินสมุทรลายบั้ง (P. sexstriatus) เป็นต้น.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและวงศ์ปลาสินสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาผีเสื้อ

วงศ์ปลาผีเสื้อ (วงศ์: Chaetodontidae, Butterflyfish, Bannerfish, Coralfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลจำพวกหนึ่ง ในชั้นปลากระดูกแข็ง อันดับปลากะพง (Perciformes) ประกอบไปด้วยสมาชิกแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 10 สกุล พบประมาณ 114 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง มีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไว มีสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม มีพฤติกรรมอาศัยเป็นฝูงหรือเป็นคู่ในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค เป็นปลาที่ออกหากินในเวลากลางวัน โดยอาศัยการแทะกินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตามแนวปะการัง ส่วนในเวลากลางคืนจะอาศัยหลับนอนตามโพรงหินหรือปะการัง และจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นเพื่ออำพรางตัวจากศัตรู ซึ่งในหลายชนิดและบางสกุล จะมีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่คล้ายดวงตาอยู่บริเวณท้ายลำตัวเพื่อล่อหลอกให้ศัตรูสับสนได้อีกด้วยคล้ายกับผีเสื้อที่เป็นแมลง มีการสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับปลาในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด ด้วยความสวยงามและรูปร่างที่น่ารัก จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในบางชนิดสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ หลายชนิดเลี้ยงได้ไม่ยากนัก ขณะที่บางชนิดที่เลี้ยงได้ยาก สำหรับในน่านน้ำไทยพบปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus), ปลาผีเสื้อทอง (Chaetodon semilarvatus), ปลาผีเสื้อจมูกยาวขอบตาขาว (Forcipiger flavissimus), ปลาโนรีเกล็ด (Heniochus diphreutes) เป็นต้น โดยจะพบในด้านทะเลอันดามันมากกว่าอ่าวไทย ซึ่งปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนั้น ในอดีตเมื่อเริ่มมีการอนุกรมวิธาน ด้วยลักษณะปากที่ยื่นยาวทำให้มีความเข้าใจผิดว่า สามารถพ่นน้ำจับแมลงได้เหมือนเช่น ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด โดยความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1764 เมื่อมีการส่งตัวอย่างปลาในยังกรุงลอนดอนเพื่อลงรูปตีพิมพ์ลงในหนังสือ ปรากฏเป็นภาพของปลาผีเสื้อนกกระจิบ และถูกบรรยายว่าสามารถพ่นน้ำจับแมลงกินเป็นอาหารได้ จึงถูกกล่าวอ้างต่อมาอย่างผิด ๆ อีกนาน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและวงศ์ปลาผีเสื้อ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลานกแก้ว

ปลานกแก้ว (parrotfish) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งในวงศ์ Scaridae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) เป็นปลาที่มีขนาดโตเต็มที่มีประมาณ 30-70 เซนติเมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae) อาศัยอยู่ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในน่านน้ำไทยพบได้ในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบมากกว่า 20 ชนิด เป็นปลาที่มีฟันแหลมคมคล้าย ๆ จะงอยของนกแก้วอันเป็นที่มาของชื่อเรียก จะงอยปากยืดหดได้ เกล็ดมีขนาดใหญ่ เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหางกลมมนหรือตัดตรง เป็นปลาที่กินฟองน้ำ, ปะการังหรือสาหร่ายเป็นอาหาร บ่อยครั้งจะพบรวมฝูงขณะหาอาหาร เวลาว่ายนำจะดูสง่างามเหมือนนกกำลังบินในอากาศ ปลานกแก้วเป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยปลาตัวผู้จะมีสีสันสวยงามปลาตัวเมีย ลำตัวรียาว ส่วนใหญ่มีครีบหางแบบเว้าโดยขอบบนและขอบล่างของครีบหางมักยื่นยาวออก มีฟันคล้าย ๆ จะงอยปากนกแก้วเพื่อนำมาใช้ขูดกินปะการัง และมีฟันอีกชุดในคอหอยด้วย ซึ่งเมื่อกัดแทะนั้นจะเกิดเป็นเสียง เวลาถ่ายจะถ่ายออกมาเป็นผงตะกอนซึ่งมีประโยชน์ต่อแนวปะการัง สามารถเปลี่ยนเพศได้ ออกหากินในเวลากลางวัน นอนหลับในเวลากลางคืน เมื่อนอนปลานกแก้วจะนอนตามซอกหินแล้วปล่อยเมือกออกมาห่อหุ้มร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายจากพวกสัตว์ทะเลต่าง ๆ เช่น พวกหนอนพยาธิหรือปรสิตที่จะมาทำร้ายหรือมารบกวน เป็นปลาที่สวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และรับประทานเป็นอาหาร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและวงศ์ปลานกแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

สกุลไซโนกลอสซัส

กุลไซโนกลอสซัส (Tonguefishes) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็ง ในวงศ์ปลายอดม่วง (Cynoglossidae) ใช้ชื่อสกุล Cynoglossus (/ไซ-โน-กลอส-ซัส/) เป็นปลาที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์นี้ มีลักษณะคือ มีครีบท้องมีเฉพาะด้านซ้าย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นติดต่อรวมกัน มีเส้นข้างลำตัว 2 หรือ 3 เส้น อยู่ด้านเดียวกับนัยน์ตา ริมฝีปากทั้งสองข้างราบเรียบ ปากงุ้มเป็นตะขอ ช่องเปิดเหงือกอยู่ทางด้านซ้ายของลำตัว เป็นปลาที่พบได้ในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ปกติจะฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายหรือโคลน พบกระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิกตั้งแต่ ฟิลิปปิน, ทะเลแดง, อ่าวไทย, ทะเลอันดามัน, ทะเลจีนใต้, คาบสมุทรมลายู, อ่าวเบงกอล และพบได้จรดถึงชายฝั่งแอฟริกา ในประเทศไทยพบได้หลายชนิด อาทิ ปลายอดม่วงเกล็ดใหญ่ (C. macrolepidotus) พบในน้ำจืด 2 ชนิด คือ ปลายอดม่วงเกล็ดถี่ (C. microlepis) และปลายอดม่วงลาย (C. feldmanni).

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและสกุลไซโนกลอสซัส · ดูเพิ่มเติม »

สมิทธ ธรรมสโรช

มิทธ ธรรมสโรช เป็นทั้งอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรี อดีตประธานกรรมการอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิท.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและสมิทธ ธรรมสโรช · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

มเด็จพระเจ้าทรงธรรม หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 1 หรือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงธรรมอันมหาประเสริฐ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 21 แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย หลังจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สำเร็จโทษพระมหากษัตริย์องค์ก่อนแล้ว พระศรีศิลป์หรือพระพิมลธรรม หรือพระเจ้าทรงธรรมก็เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัต.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม · ดูเพิ่มเติม »

สะพานหิน

นหิน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจภายในตัวเมืองภูเก็ต มีลักษณะเป็นชายหาดอยู่สุดถนนภูเก็ตซึ่งยื่นลงไปในทะเลเล็กน้อย เป็นที่ตั้ง ของอนุสาวรีย์หลัก 60 ปี ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัสไมล์ ชาวออสเตรเลียผู้นำเรือขุดแร่ลำแรกมาใช้ขุดแร่ดีบุกในประเทศไทย เมื่อ..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและสะพานหิน · ดูเพิ่มเติม »

สาหร่ายวุ้น

หร่ายวุ้น อยู่ในกลุ่ม Red algae มีตั้งแต่สีดำแดง,สีแดง,สีน้ำตาล,สีน้ำตาลแดง,สีชมพู,สีม่วงเข้ม,สีม่วงแดง,สีเทา,สีเขียว,สีเหลือง หรือใส เกือบทุกชนิดสามารถรับประทานได้ หรือนำมาสกัดวุ้น จึงรวมเรียกว่า สาหร่ายวุ้น มีชื่อพื้นเมืองว่า สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheri) และชื่อสามัญว่า สาหร่ายวุ้น.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและสาหร่ายวุ้น · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505)

รณรัฐแห่งสหภาพพม่า เป็นประเทศพม่าหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษและปกครองด้วยรัฐบาลของพลเรือน การปกครองในยุคนี้สิ้นสุดลงใน..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505) · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟกันตัง

ทางรถไฟฝั่งอันดามัน ตัวอาคารสถานี สถานีรถไฟกันตัง (Kantang Railway Station) เป็นสถานีปลายทางของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าค่าย ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 850.08 กิโลเมตร เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน ใช้สัญญาณแบบหลักเขตสถานี ตัวย่อของสถานีคือ กต.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและสถานีรถไฟกันตัง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามพระเจ้าอลองพญา

งครามพระเจ้าอลองพญา เป็นชื่อเรียกความขัดแย้งทางทหารครั้งแรกระหว่างอาณาจักรโกนบองแห่งพม่า กับอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง สงครามครั้งนี้เป็นการจุดชนวนการสงครามนานหลายศตวรรษระหว่างทั้งสองรัฐขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจะกินเวลานานไปอีกหนึ่งศตวรรษข้างหน้า ฝ่ายพม่านั้นอยู่ที่ "ขอบแห่งชัยชนะ" แล้วเมื่อจำต้องถอนกำลังจากการล้อมอยุธยา เนื่องจากพระเจ้าอลองพญาถูกระเบิดปืนใหญ่สิ้นพระชนม์ พระองค์สวรรคตและทำให้สงครามครั้งนี้ยุติลง ความต้องการครอบครองชายฝั่งตะนาวศรีและการค้าขายในแถบนี้เป็นชนวนเหตุของสงครามBaker, et al, p. 21James, Fall of Ayutthaya: Reassessment, p. 75 และการให้การสนับสนุนของอยุธยาต่อกบฏมอญแห่งอดีตราชอาณาจักรหงสาวดีฟื้นฟู ราชวงศ์โกนบองที่เพิ่งจะสถาปนาขึ้นใหม่นั้นต้องการจะแผ่ขยายอำนาจเข้าควบคุมชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนอีกครั้ง (ปัจจุบันคือ รัฐมอญ) ซึ่งอยุธยาได้ให้การสนับสนุนแก่กบฏชาวมอญและจัดวางกำลังพลไว้ ฝ่ายอยุธยาปฏิเสธข้อเรียกร้องของพม่าที่จะส่งตัวผู้นำกบฏมอญหรือระงับการบุกรุกดินแดนซึ่งพม่ามองว่าเป็นดินแดนของตน สงครามครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและสงครามพระเจ้าอลองพญา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง

งครามพม่า–อังกฤษครั้งที่หนึ่ง (First Anglo-Burmese War) เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิอังกฤษกับราชวงศ์อลองพญาของพม่า เป็นระยะเวลา 2 ปี ในระหว่าง..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หมึกกระดองลายเสือ

หมึกกระดองลายเสือ หรือ หมึกหน้าดิน หรือ หมึกแม่ไก่ (Pharaoh cuttlefish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sepia pharaonis) ปลาหมึกเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับหอย มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศน์ และมีความสำคัญในห่วงโซ่อาหาร รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปลาหมึกกระดองลายเสือมีลำตัวกว้าง ครีบกว้างทอดยาวตลอดด้านข้างของลำตัว ด้านหลังของลำตัวและส่วนหัวมีลายคล้ายลายเสือพาดขวาง และมีกระดอง(cuttlebone) เป็นแผ่นแข็งสีขาวขุ่น เป็นสารประกอบจำพวกหินปูน ซึ่งเรียกกันว่า “ลิ้นทะเล เพศผู้จะมีลายมีสีม่วงเข้ม ส่วนตัวเมียจะมีลายที่แคบกว่า และสีจางกว่า ที่บริเวณหัวมีหนวด(arm) 4 คู่ และหนวดจับ(tentacle) 1 คู่ และหนวดคู่ที่ 4 ข้างซ้ายของเพศผู้ใช้สำหรับการผสมพัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหมึกกระดองลายเสือ · ดูเพิ่มเติม »

หมึกสายวงน้ำเงิน

หมึกสายวงน้ำเงิน หรือ หมึกบลูริง (Blue-ringed octopus) เป็นหมึกในสกุล Hapalochlaena ในอันดับหมึกยักษ์ จัดเป็นหมึกขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีจุดเด่น คือสีสันตามลำตัวที่เป็นจุดวงกลมคล้ายแหวนสีน้ำเงินหรือสีม่วงซึ่งสามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกคุกคาม ตัดพื้นลำตัวสีขาวหรือเขียว แลดูสวยงามมาก แต่ทว่า หมึกสายวงน้ำเงินนั้นมีพิษที่ผสมอยู่ในน้ำลายที่มีความร้ายแรงมาก ซึ่งร้ายแรงกว่างูเห่าถึง 20 เท่า ผู้ที่ถูกกัดจะตายภายใน 2-3 นาที ทั้งสามารถฆ่าคนได้ 26 คนในคราวเดียว นับเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำที่มีพิษร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหมึกสายวงน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะรูปโค้ง

หมู่เกาะรูปโค้ง (island arc) เป็นหมู่เกาะประเภทหนึ่งเกิดขึ้นจากเพลตเทคโทนิกด้วยแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่งทำให้เกิดหินหนืด (magma) หมู่เกาะรูปโค้งที่เกิดขึ้นตามขอบของแผ่นเปลือกทวีป (เช่น ส่วนใหญ่ของแอนดีส อเมริกากลาง แนวเทือกเขาแคนา) อาจเรียกว่า volcanic arc การสูญเสียของสารระเหยของแผ่นเปลือกโลกที่กำลังมุดตัวในเขตมุดตัวของเปลือกโลกทำให้สิ่งหลอมเหลวบางส่วนของเนื้อโลกด้านบนเกิดเป็นหินหนืดของแคลซ์-อัลคาไลน์ที่มีความหนาแน่นต่ำจึงเบาตัวดันแทรกซอนขึ้นมาผ่านแผ่นชั้นธรณีภาคที่อยู่ด้านบน ผลได้ทำให้เกิดเป็นแนวภูเขาไฟเรียงรายยาวขนานไปกับขอบเขตรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นที่กำลังเคลื่อนที่ลู่เข้าหากันและโค้งออกด้านนอกเข้าหาแผ่นเปลือกโลกที่กำลังมุดตัว ลักษณะนี้เป็นผลเนื่องมาจากหลักเรขาคณิตของการย่นตัวของแผ่นเปลือกโลกเป็นรูปทรงกลมไปตามแนวบนผิวทรงกลมหนึ่งๆ ด้านที่กำลังมุดตัวของหมู่เกาะรูปโค้งจะเป็นร่องลึกก้นสมุทรที่แคบและลึกซึ่งเป็นร่องรอยบนพื้นผิวโลกที่แสดงถึงขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่กำลังมุดตัวกับแผ่นเปลือกโลกที่วางขี่ทับอยู่ด้านบน แนวร่องลึกนี้เกิดขึ้นจากการดึงโดยแรงโน้มถ่วงของแผ่นเปลือกโลกที่กำลังมุดตัวซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าลากดึงลงไป มีการเกิดแผ่นดินไหวตามแนวขอบเขตการมุดตัวนี้โดยมีจุดไฮโปเซนเตอร์ของการไหวสะเทือนอยู่ที่ระดับที่ลึกลงไปใต้แนวหมู่เกาะรูปโค้งนี้ เรียกแนวการเกิดไหวสะเทือนนี้ว่าแนววาดาติ-เบนนิออฟ (Wadati-Benioff) แอ่งมหาสมุทรที่กำลังลดขนาดลงด้วยการมุดตัวนี้เรียกว่า ‘มหาสมุทรส่วนที่เหลือ’ (remnant ocean) ด้วยมันกำลังหดตัวลงอย่างช้าๆและบดขยี้จากการชนกันของแผ่นเปลือกโลก กระบวนการนี้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดประวัติทางธรณีวิทยาของโลกใบนี้.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหมู่เกาะรูปโค้ง · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์

หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (Andaman and Nicobar Islands; अंडमान और निकोबार द्वीपसमूह; আন্দামান ও নিকোবর দ্বীপপুঞ্জ; அந்தமான் நிக்கோபார் தீவுகள்; అండమాన్ నికోబార్ దీవులు) เป็นหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่มีเกาะรวมกันทั้งหมด 572 เกาะ ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ในบรรดาเกาะทั้งหมดมีเพียง 38 เกาะเท่านั้นที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ราว 350,000 คน มีเนื้อที่ประมาณ 8,293 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 92 ของพื้นที่ปกคลุมไปด้วยป่าฝนหนาทึบ โดยมีเกาะนิโคบาร์ใหญ่เป็นศูนย์กลางทางใต้ และมีเกาะอันดามันเป็นศูนย์กลางทางตอนเหนือ และเป็นที่ตั้งของเมืองพอร์ตแบลร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของดินแดนสหภาพ เมืองพอร์ตแบลร์ตั้งอยู่ทางด้านชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะอันดามัน และเมืองพอร์ตแบลร์อยู่ห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 450 กิโลเมตร ห่างจากเมืองเจนไน 1,190 กิโลเมตร และห่างจากเมืองโกลกาตาราว 1,255 กิโลเมตร หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย ทางการอินเดียได้จัดให้หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์เป็นดินแดนสหภาพแห่งหนึ่ง ปัจจุบันอินเดียยังได้ให้ความสำคัญแก่หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ในฐานะจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของกองทัพเรืออินเดียอีกด้ว.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะนิโคบาร์

แผนที่หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะนิโคบาร์ (Nicobar Islands) ปรากฏในแผนที่โบราณสมัยกรุงศรีอยุธยาและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ว่า นาควารีเกาะคนเปลือย เป็นหมู่เกาะทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเขตปกครองพิเศษอาเจะห์และเกาะสุมาตรา ราว 150 กม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์ · ดูเพิ่มเติม »

หวายกำพวน

หวายกำพวน เป็นหวายกอขนาดใหญ่ โตเร็ว ใบย่อยรวมกันเป็นกลุ่ม กาบหุ้มลำมีหนามสีดำหนาแน่น โคนของหนามสีเหลืองอ่อน มีมือเกี่ยวเนื้อค่อนข้างหยาบ ในไทยใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ชาวเกาะในทะเลอันดามันนำผลมารับประทาน พบในบังกลาเทศไทย พม่า หมู่เกาะนิโคบาร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหวายกำพวน · ดูเพิ่มเติม »

หวายขริง

หวายขริง เป็นหวายกอเริ่มออกดอกเมื่อความสูงไม่มากนัก มีมือเกาะ กาบหุ้มลำมีสีเขียวออกเหลืองเมื่อสด เมื่อแห้งมีสีน้ำตาลแกมเทา มีหนามสีน้ำตาล โคนหนามสีเหลือง กาบหุ้มลำที่อ่อนมีผงรังแคสีน้ำตาลแดงปกคลุมหนา ปลอกใบสีน้ำตาลเข้มไม่มีหนาม ดอกช่อ ผลรูปรีมีสีเขียวเมื่อสดและมีสีเหลืองแกมส้นเมื่อแห้ง สันเกล็ดหุ้มผลเป็นร่อง ขอบเกล็ดมีสีดำ กระจายพันธุ์ตั้งแต่พม่า จีนตอนใต้ ไปจนถึงมาเลเซียและหมู่เกาะในทะเลอันดามัน ใช้เป็นโครงของเฟอร์นิเจอร์ได้ดี.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหวายขริง · ดูเพิ่มเติม »

หอยสังข์หนามเล็ก

หอยสังข์หนามเล็ก (ชื่อสามัญ:Murex trapa) เป็นสปีชีส์หนึ่งในหอยทากทะเลอยู่ในไฟลัมมอลลัสกาในวงศ์หอยหนามBouchet, P. (2015).

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหอยสังข์หนามเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

หอยสังข์แตร

หอยสังข์แตร (Triton's trumpet, Giant triton) จัดเป็นมอลลัสคาในชั้นหอยฝาเดี่ยว มีรูปร่างลักษณะและลวดลายสีสวยงาม เปลือกค่อนข้างบาง ยอดเรียวแหลมคล้ายเจดีย์ ช่องปากเปิดกว้างมีสีส้มพื้นผิวด้านนอกสีน้ำตาลอ่อนแต้มด้วยลวดลายสีน้ำตาลเข้มจางสลับกัน ขนาดความยาวเปลือกประมาณ 1 ฟุต มักอาศัยอยู่ในแนวปะการังน้ำตื้น ของอินโด-แปซิฟิก สำหรับในน่านน้ำไทยจัดว่าเป็นหอยฝาเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยจะพบในความลึกประมาณ 30 เมตร ทั้ง บริเวณอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน เช่นอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดภูเก็ต เป็นต้น กินอาหารจำพวก ปลิงทะเลและดาวทะเลเป็นอาหาร โดยเฉพาะดาวมงกุฎหนาม ซึ่งเป็นสัตว์ที่กินปะการังเป็นอาหาร จึงจัดได้ว่าหอยสังข์แตรเป็นตัวควบคุมตามธรรมชาติมิให้ปะการังต้องสูญหาย ถือเป็นสัตว์น้ำที่หาได้ยากในปัจจุบัน และมีสถานะทางกฎหมายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ปัจจุบันกรมประมงเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เพื่อปล่อยกลับลงทะเลดังเดิมเพื่อคงปริมาณจำนวนในธรรมชาติไว้ให้สมดุล เปลือกของหอยสังข์แตร ใช้เป็นเครื่องเป่าในพิธีกรรมต่าง ๆ ของศาสนาพราหมณ์มาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์นั้น ตั้งมาจากชื่อของ ไทรตัน ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งท้องทะเลตามเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหอยสังข์แตร · ดูเพิ่มเติม »

หอยหมาก

หอยหมาก (Spiral babylon snail) เป็นมอลลัสคาในชั้นหอยฝาเดียว ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับหอยหวาน (B. areolata) แต่มีความแตกต่างกันที่ หอยหมากจะมีเปลือกสีเข้มกว่าและมีแต้มสีน้ำตาลจำนวนมาก ส่วนหัวที่เป็นเกลียวจะเป็นร่องลึก มีขนาดเล็กกว่าหอยหวาน พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่แคบกว่าหอยหวาน โดยในน่านน้ำไทยจะพบแพร่กระจายอยู่ทางฝั่งทะเลอันดามัน โดยพบมากที่จังหวัดระนอง ต่างประเทศ พบที่ปากีสถาน, ศรีลังกา จนถึงไต้หวัน จัดเป็นหอยที่ใช้ในการบริโภคเช่นเดียวกับหอยหวาน แต่ได้รับความนิยมน้อยกว่า และมีราคาขายที่ถูกกว.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหอยหมาก · ดูเพิ่มเติม »

หอยหลอด

หอยหลอด เป็นชื่อสามัญของหอยทะเลกาบคู่หลายชนิดในวงศ์ Solenidae ชนิดที่พบในไทย เช่น S. corneus, S. exiguus, S. malaccensis, S. regularis, S. strictus, S. thailandicus ในสกุล Solen เป็นต้น.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหอยหลอด · ดูเพิ่มเติม »

หอยหวาน

หอยหวาน หรือ หอยตุ๊กแก หรือ หอยเทพรส (Spotted babylon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Babylonia areolata) เป็นหอยทะเลฝาเดี่ยวชนิดหนึ่ง มีเปลือกที่ค่อนข้างหนารูปไข่ ผิวเรียบสีขาวมีลวดลายสีน้ำตาลเข้ม มีหนวด 1 คู่ ตา 1 คู่ มีท่อ มีเท้าขนาดใหญ่ใช้สำหรับเคลื่อนที่ อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลน ในระดับความลึกตั้งแต่ 2–20 เมตร พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในต่างประเทศพบได้ที่ ทะเลฟิลิปปิน, ทะเลจีนใต้ และไต้หวัน กินอาหารโดยใช้อวัยวะที่เป็นท่อสีขาวยื่นออกมา โดยจะยื่นปลายท่อไปยังอาหารและส่งน้ำย่อยออกไปและดูดอาหารกลับทางท่อเข้าร่างกาย หลังกินอาหารแล้ว ก็จะเคลื่อนที่ไปฝังตัวใต้ทราย ซึ่งอาหารได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ชนิดต่าง ๆ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40–100 มิลลิเมตร ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ โดยหอยตัวเมียจะวางไข่เป็นฟัก วางไข่ครั้งละประมาณ 20–70 ฝัก โดยวางไข่ได้ทั้งปี ระยะเดือนมกราคมถึงมีนาคม จะวางไข่ได้มากที่สุด ฝักไข่มีความกว้างเฉลี่ย 10.32 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 29.31 มิลลิเมตร มีก้านยึดติดกับวัตถุในพื้นทะเล เช่น เม็ดทราย ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 5–7 วัน ลูกหอยวัยอ่อนจะดำรงชีวิตแบบแพลงก์ตอน คือ ลอยไปมาตามกระแสน้ำ กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ระยะเวลาเติบโตจนเป็นวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 1 ปี ปัจจุบัน หอยหวานถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่ง นิยมรับประทานกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นอาชีพ แต่ทว่าปริมาณหอยที่ได้นั้นยังไม่เพียงพอต่อการตล.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหอยหวาน · ดูเพิ่มเติม »

หอยงวงช้าง

ำหรับหอยงวงช้างที่นิยมนำมารับประทาน ดูที่: หอยกูอีดั๊ก หอยงวงช้าง เป็นมอลลัสคาในชั้นเซฟาโลพอด จัดอยู่ในอันดับย่อย Nautilina จัดเป็นมอลลัสคาที่มีวิวัฒนาการค่อนข้างสูง เป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้แล้วกว่า 350 ล้านปี จัดอยู่ในชั้นเซฟาโลพอด อันเป็นชั้นเดียวกับปลาหมึก ในชั้นย่อยนอติลอยด์ จัดเป็นนอติลอยด์เพียงกลุ่มเดียวเท่าที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่งก็ว่าได้.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหอยงวงช้าง · ดูเพิ่มเติม »

หอยงวงช้างมุก

หอยงวงช้างมุก (Chambered nautilus, Pearly nautilus) เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมมอลลัสคา ชั้นเซฟาโลโพดา จัดเป็นหอยงวงช้าง (Nautilidae) ชนิดหนึ่ง มีลักษณะของเปลือกค่อนข้างโตและมีพื้นสีขาว มีลายสีส้มอมแดง จากบริเวณปากไปจนถึงก้นเปลือกหอย โดยเป็นสัตว์ที่มีชีวิตอยู่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการพบซากฟอสซิลที่ทะเลเกาะลูซอน ในประเทศฟิลิปปินส์ มีขนาดประมาณ 10-25 เซนติเมตร พบได้ทั่วไปในน่านน้ำเขตอินโด-แปซิฟิก จนถึงฟิลิปปิน, ทะเลญี่ปุ่น, ทะเลซูลู จนถึงเกรตแบร์ริเออร์รีฟ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) ในน่านน้ำไทยจัดว่าหาได้ยาก โดยจะพบได้น้อยที่ฝั่งทะเลอันดามัน เช่น เกาะอาดัง, หมู่เกาะสิมิลัน, เกาะหลีเป๊ะ โดยไม่พบในอ่าวไทย เป็นสัตว์ที่ว่ายและหากินในแถบกลางน้ำและพื้นดิน โดยสามารถดำน้ำได้ถึง 3 กิโลเมตร จับสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เช่น ปลาหรือกุ้ง เป็นอาหาร รวมทั้งซากสัตว์ทั่วไป เป็นสัตว์ที่ใช้เนื้อรับประทานได้เช่นเดียวกับหมึกหรือหอยทั่วไป เปลือกใช้ประโยชน์ในการทำเครื่องประดับ รวมถึงการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทั่วไป ซึ่งหอยงวงช้างมุกจะไม่ค่อยเคลื่อนไหวมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากในธรรมชาติอาศัยอยู่ในน้ำลึก แต่จะลอยตัวนิ่ง ๆ อยู่ข้างตู้มากกว่า อุณหภูมิที่ใช้เลี้ยงจะอยู่ที่ประมาณ 18-20 องศาเซลเซียส และเป็นสัตว์ที่ไม่กินอาหารมากนัก จนสามารถให้อาหารเพียงแค่สัปดาห์ละครั้งหรือ 2 ครั้งเท่านั้น โดยสามารถใช้ไม้เสียบล่อให้มากินหรือให้อาหารเองกับมือได้ นอกจากนี้แล้วในสถานที่เลี้ยงพบว่า หอยงวงช้างมุกสามารถวางไข่ได้ด้วย โดยจะวางไข่ติดกับก้อนหิน ไข่ใช้ระยะเวลาฟัก 8 เดือน หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ ตัวอ่อนมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 3 เซนติเมตร แต่อย่างไรก็ตาม จวบจนปัจจุบันยังไม่สามารถเลี้ยงลูกหอยงวงช้างมุกจนกระทั่งโตเต็มวัยได้.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหอยงวงช้างมุก · ดูเพิ่มเติม »

หอยปีกนางฟ้า

หอยปีกนางฟ้า (Lister's conch, Lister's spider conch) เป็นหอยฝาเดี่ยวชนิดหนึ่ง ในวงศ์หอยชักตีน (Strombidae) มีเปลือกแข็งมีวงก้นประมาณ 9-10 วง ปากยาว มีขอบเปลือกแผ่ยื่นกว้างออกมาจากลำตัวเป็นปีกดูสวยงาม และที่ตัวเปลือกเองจะมีลวดลายสวยงามด้วยเช่นกัน กินซากอินทรียสารที่เน่าเปื่อยเป็นอาหาร มีความยาวเต็มที่ประมาณ 10-13 เซนติเมตร จะพบได้ในเขตน้ำลึกของมหาสมุทรอินเดียเท่านั้น โดยมักพบบริเวณไหล่ทวีปอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นโคลน พบมากทางทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล เป็นหอยที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง จึงนิยมที่จะใช้ทำเครื่องประดับ และเก็บสะสม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหอยปีกนางฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

หอยเบี้ยจักจั่น

หอยเบี้ยจักจั่น หรือ หอยเบี้ยจั่น (Money cowry) เป็นหอยทะเลฝาเดียวชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monetaria moneta (ศัพทมูลวิทยา: moneta (/โม-เน-ตา/) เป็นภาษาละตินแปลว่า "เงินตรา") ในวงศ์ Cypraeidae มีเปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปากยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง 2 ข้าง เป็นลำราง ริมปากทั้ง 2 เป็นหยักคล้ายฟัน ไม่มีฝาปิด มีความยาวประมาณ 12-24 มิลลิเมตร มีถิ่นแพร่กระจายอยู่ในทะเลเขตอบอุ่นทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย อาทิ ทะเลแดง อินโด-แปซิฟิก นอกชายฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรแปซิฟิกของอเมริกากลาง ชายฝั่งทะเลทวีปแอฟริกาตอนตะวันออกและใต้ ทะเลอันดามัน อ่าวไทย ทะเลญี่ปุ่น ไปจนถึงโอเชียเนีย ดำรงชีวิตอยู่ตามแนวปะการังใกล้ชายฝั่ง กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนและสาหร่ายทะเลที่ลอยมาตามกระแสน้ำ เปลือกหอยของหอยเบี้ยชนิดนี้ มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนสิ่งของแทนเงินตราในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าคำว่า "เบี้ย" ในภาษาไทยก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "รูปี" ซึ่งเป็นหน่วยเงินตราของอินเดียมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลคอลัมน์ Aqua Pets โดย จอม สมหวัง ปัทมคันธิน "สุดยอดแฟนพันธุ์แท้เปลือกหอย 2 สมัย" หน้า 107 นิตยสาร Aquarium Biz Vo.1 issue 6 ฉบับเดือนธันวาคม 2010 นอกจากนี้แล้ว เปลือกหอยเบี้ยจักจั่นยังใช้เป็นเครื่องรางของขลังในวัฒนธรรมไทย โดยมักนำไปบรรจุปรอทแล้วเปิดทับด้วยชันโรงใต้ดิน อาจจะมีแผ่นทองแดงลงอักขระยันต์หรือไม่ก็ได้ เชื่อกันว่า ถ้าพกเปลือกหอยเบี้ยชนิดนี้ไว้กับตัวเวลาเดินทางสัญจรในป่า จะช่วยป้องกันไข้ป่า รวมถึงป้องกันและแก้ไขภยันอันตรายจากร้ายให้กลายเป็นดีได้ หรือนำไปตกแต่งพลอยเรียกว่า "ภควจั่น" ในเด็ก ๆ เชื่อว่าช่วยป้องกันฟันผุ หรือพกใส่กระเป๋าสตางค์ เชื่อว่าทำให้เงินทองไหลเทมาและโชคดี ปัจจุบัน เปลือกหอยเบี้ยจักจั่นยังนิยมสะสมกันเป็นของประดับและของสะสมกันอีกด้วย โดยมีชนิดที่แปลกแตกต่างไปจากปกติ คือ "ไนเจอร์" (Niger) ที่หอยจะสร้างเมลานินสีดำเคลือบเปลือกไว้จนกลายเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลคล้ำทั้งหมด และชนิดที่มีราคาสูงที่สุด เรียกว่า "โรสเตรท" (Rostrat) หรือ หอยเบี้ยจักจั่นงวง คือ เป็นหอยเบี้ยจักจั่นในตัวที่ส่วนท้ายของเปลือกมิได้กลมมนเหมือนเช่นปกติ แต่สร้างแคลเซี่ยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลาหลายปี จนกระทั่งยาวยืดออกมาและม้วนขึ้นเป็นวงอย่างสวยงามเหมือนงวงช้าง ซึ่งหอยในรูปแบบนี้จะพบได้เฉพาะแถบอ่าวด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะนิวแคลิโดเนียที่เดียวในโลกเท่านั้น มีการประเมินราคาของเปลือกหอยลักษณะนี้ไว้ถึง 25 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นราคาของเปลือกหอยที่มีค่าสูงที่สุดในโลกอีกด้ว.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหอยเบี้ยจักจั่น · ดูเพิ่มเติม »

หาดปากเมง

หาดปากเมง (Pak Meng Beach) ชายหาดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ซึ่งอยู่ใกล้กัน เป็นชายหาดแห่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับนิยมของจังหวัดตรัง ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งแรก ๆ ที่ผู้คนมักคิดถึงและไปท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง หาดปากเมง อยู่ห่างตัวอำเภอเมืองตรังประมาณ 35 กิโลเมตร เป็นชายหาดรูปพระจันทร์เสี้ยวติดทะเลอันดามัน ของมหาสมุทรอินเดีย เมื่อน้ำลดลงต่ำสุดจะมีความกว้างขวาง 500 เมตร จนสามารถขับรถยนต์ลงไปได้ เพราะทรายมีความหนาแน่นเพียงพอที่จะรองรับน้ำหนักรถได้ มีจุดสังเกต คือ เขารูปคล้ายคนขนาดยักษ์นอนหงายอยู่ มีชื่อเรียกว่า "เขาเมง" หรือ "เกาะเมง" อันที่มาของชื่อเรียก ซึ่งมาจากนิทานพื้นบ้านเรื่องของเฒ่าเมง ผู้เฒ่าชาวประมงที่กำลังจะแต่งงานลูกสาวชื่อ มุก กับพระยาลันตา มีความงามอย่างยิ่งยามพระอาทิตย์ตก ขนาบด้วยแนวต้นสนทะเลยาว 5 กิโลเมตร ถัดออกไปทางอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมยังมีสะพานคอนกรีต 2 แห่ง ที่นิยมใช้เป็นสถานที่ตกปลาอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นสถานที่ตั้งของท่าเรือปากเมง ซึ่งเป็นท่าเรือที่รับส่งนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวยังเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณทะเลจังหวัดตรัง เช่น เกาะมุก, ถ้ำมรกต, เกาะไหง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและหาดปากเมง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาซีกเดียว

อันดับปลาซีกเดียว (Flatfish) ปลากระดูกแข็งในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ พบได้ทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ในภาษาไทยมักเรียกปลาในอันดับนี้รวม ๆ กัน เช่น "ลิ้นหมา", "ซีกเดียว", "ยอดม่วง", "ลิ้นเสือ", "ลิ้นควาย", "ใบไม้" หรือ "จักรผาน" เป็นต้น โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pleuronectiformes.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอันดับปลาซีกเดียว · ดูเพิ่มเติม »

อันดามัน

อันดามัน สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอันดามัน · ดูเพิ่มเติม »

อาหารไทยภาคใต้

อาหารไทยภาคใต้ เป็นอาหารไทยที่นิยมรับประทานในภาคใต้ของประเทศ โดยมีลักษณะเฉพาะตัวที่มีเครื่องเทศเป็นหลัก ซึ่งอาหารไทยในภาคใต้มีความหลากหลายไปตามกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ที่โดดเด่นคืออาหารของชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีเชื้อสายมลายู และกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน โดยเฉพาะในจังหวัดภูเก็ต นอกจากนั้น อาหารในแถบทะเลอันดามัน อ่าวไทย และทะเลสาบสงขลาก็มีลักษณะเด่นเฉพาะกลุ่มเช่นกัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอาหารไทยภาคใต้ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรธนบุรี

อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดของไทย คือระหว่าง..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอาณาจักรธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรตามพรลิงค์

อาณาจักรตามพรลิงค์ (สันสกฤต: ตามฺพฺรลิงฺค; ताम्ब्रलिङ्ग) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น อาณาจักรนครศรีธรรมราช นั้น เป็นอาณาจักรโบราณที่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธศตวรรษที่ 7 มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน (อาจจะเป็นบริเวณบ้านท่าเรือ หรือบ้านพระเวียง) อยู่ทางด้านเหนือของอาณาจักรลังกาสุกะ (บริเวณปัตตานี) มีอาณาเขตทางตะวันออก และตะวันตกจรดทะเลอันดามันถึงบริเวณที่เรียกว่าทะเลนอก ซึ่งเป็นบริเวณจังหวัดกระบี่ในปัจจุบัน คำว่า "ตามพ" เป็นภาษาบาลี แปลว่า ทองแดง ส่วน "ลิงค์" เป็นเครื่องหมายบอกเพศ เขียนเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า Tambalinga หรือ Tanmaling หรือ Tamballinggam จีนเรียก ตันเหมยหลิง หรือโพ-ลิง หรือโฮลิง (แปลว่าหัวแดง) บางทีเรียกว่า เชียะโท้ว (แปลว่าดินแดง) อาณาจักรตามพรลิงค์ มีกษัตริย์สำคัญคือ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช และ พระเจ้าจันทรภาณุ อาณาจักรตามพรลิงค์นี้เป็นเส้นทางการเผยแพร่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ไปยังอาณาจักรสุโขทัยและดินแดนทั่วแหลมมลายู เนื่องจากอาณาจักรตามพรลิงค์กับศรีลังกามีความสัมพันธ์แบบบ้านพี่เมืองน้องมาแต่สมัยโบราณ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอาณาจักรตามพรลิงค์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอกะทู้

กะทู้ เป็นอำเภอหนึ่งในสามอำเภอของจังหวัดภูเก็ต.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอกะทู้ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอกะเปอร์

กะเปอร์ ตั้งอยู่ในจังหวัดระนอง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอกะเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอกันตัง

กันตัง เป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งในจังหวัดตรัง คำว่า "กันตัง" สันนิษฐานว่าเป็นคำในภาษามลายู.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอกันตัง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอละงู

อำเภอละงู ตั้งอยู่ในจังหวัดสตูล.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอละงู · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสิเกา

อำเภอสิเกา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง สิเกา อำเภอเล็กๆ อำเภอหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดตรัง เมืองแห่งความสงบและธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ที่มาของชื่อเมือง"สิเกา"นี้ หลายคนคงตีความไปต่างๆ นาๆ บ้างก็ว่ามีกงสี(บ้านพักชาวสวนยาง)เก่า เคยตั้งอยู่บริเวณนี้ บ้างก็ว่าคนจีนฮกเกี้ยนที่เคยอพยพมาจากสิงคโปร์และปีนังเข้ามาอยู่เรียกพื้นที่นี้ว่า"สี่เก้า" ต่อมาเพี้ยนเป็นสิเกา ซึ่งอย่างไรก็ตาม ที่มาของชื่อสิเกาที่น่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ คำว่า "สิเกา" เพี้ยนมาจากคำว่ากงสีเก่า เนื่องจากได้มีชาวจีนปีนัง ฮกเกี้ยน และประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาอาศัยประกอบอาชีพตัดไม้ขาย ต่อมาได้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ขึ้นที่ริมคลองสิเกา เพื่อนำไม้ คบ น้ำมันยาง ไม้ไผ่ และถ่านไม้โกงกางไปจำหน่ายยังต่างประเทศ และบรรทุกสินค้าอื่นๆ จากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในอำเภอสิเกา ในยุคนั้นจึงมีผู้คนอาศัยอย่างหนาแน่น ต่อมาปริมาณไม้ลดลง ชาวจีนจึงเลิกกิจการกลับประเทศจีน บ้างก็ย้ายไปตั้งรกรากใหม่ ในตลาดทับเที่ยง(เทศบาลนครตรัง) บ้างก็เปลี่ยนไปทำไร่พริกไทย สวนยางพารา สวนมะพร้าว บ้างก็มีลูกเมียตั้งรกรากอยู่ที่ตำบลบ่อหิน (ตัวอำเภอปัจจุบัน) แต่ตัวโรงงานแปรรูปไม้หรือสถานที่ตั้งโรงงานยังมีอยู่ ชาวบ้านพากันเรียกว่า "กงสีเก่า" ต่อมานานวันเข้าก็เพี้ยนเป็น"สีเก่า" ผลสุดท้ายด้วยความเคยชินของสำเนียงใต้จึงได้เรียกเป็น"สิเกา หรืออีกแนวคิดหนึ่งก็คือที่ตั้งอำเภอนี้อยู่ใกล้ภูเขาสี่ลูก จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านสี่เขา" ต่อมาเพี้ยนเป็น"สีเกา" และ "สิเกา" ตามลำดับ อำเภอสิเกา ได้รับการสถาปนาเป็นอำเภอ ขึ้นต่อจากเมืองกันตัง(เมืองตรังในขณะนั้น) เมื่อปี..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอสิเกา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสุขสำราญ

อำเภอสุขสำราญ ตั้งอยู่ในจังหวัดระนอง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอสุขสำราญ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอหาดสำราญ

อำเภอหาดสำราญ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอหาดสำราญ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอถลาง

อำเภอถลาง อำเภอหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอถลาง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอทุ่งหว้า

ทุ่งหว้า เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสตูล.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอทุ่งหว้า · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอท่าแพ

ท่าแพ ตั้งอยู่ในจังหวัดสตูล.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอท่าแพ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอท้ายเหมือง

ท้ายเหมือง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพังง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอท้ายเหมือง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอคลองท่อม

ลองท่อม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกระบี.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอคลองท่อม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอคุระบุรี

ระบุรี ตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา เดิมชื่อกิ่งอำเภอเกาะคอเขา แล้วได้เปลี่ยนเป็น อำเภอปากน้ำ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอคุระบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอตะกั่วทุ่ง

ตะกั่วทุ่ง เป็นอำเภอตั้งอยู่ในจังหวัดพังง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอตะกั่วทุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอตะกั่วป่า

ตะกั่วป่า เป็นหนึ่งในแปดอำเภอของจังหวัดพังง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอตะกั่วป่า · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอปะเหลียน

ปะเหลียน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอปะเหลียน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเกาะยาว

อำเภอเกาะยาว ตั้งอยู่ในจังหวัดพังง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอเกาะยาว · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเกาะลันตา

กาะลันตา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกระบี.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอเกาะลันตา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองภูเก็ต

อำเภอเมืองภูเก็ต เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอเมืองภูเก็ต · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองระนอง

อำเภอเมืองระนอง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดระนอง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอเมืองระนอง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองสตูล

อำเภอเมืองสตูล เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การบริหาร การศึกษา และเศรษฐกิจของจังหวัดสตูล.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอำเภอเมืองสตูล · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา

กาะลันตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยที่สวยงามจำนวนมาก อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ป่าชายหาด ป่าชายเลย แนวเขตปะการังที่สมบูรณ์ และหาดทรายรอบเกาะต่างๆ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 151.90 ตารางกิโลเมตร หรือ 94,937.50 ไร่ (แยกเป็นส่วนพื้นดิน ประมาณ 26.728 ตารางกิโลเมตร และพื้นน้ำประมาณ 125.172 ตารางกิโลเมตร).

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

ทิวทัศน์เกาะสิมิลันหรือเกาะแปด อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา (ที่ทำการอุทยานตั้งอยู่ที่ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง) ครอบคลุมพื้นที่ 80,000 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2525 คำว่า สิมิลัน เป็นภาษามลายูแปลว่า เก้า หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มี 9 เกาะ เรียงจากเหนือมาใต้คือ เกาะหูยง เกาะปายัง เกาะปาหยัน เกาะเมี่ยง เกาะปายู เกาะหัวกะโหลก เกาะสิมิลัน และเกาะบางู หมู่เกาะสิมิลัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา ปลาไหลมอเรย์ ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุดคือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเก.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งชื่อตามพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) เทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ผู้ค้นพบเกาะ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดพังงา มีลักษณะเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามัน อยู่ติดกับชายแดนไทย–พม่า มีพื้นที่ประมาณ 84375 ไร่ ร้อยละ 76 ของพื้นที่เป็นทะเล ส่วนที่เหลือเป็นแผ่นดิน ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ (เกาะตอรินลา) เกาะกลาง (เกาะปาจุมบา) เกาะรี (เกาะสต๊อก) และ 1 กองหินปริ่มน้ำ คือกองหินริเชลิว เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี

อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลอันดามันด้านทิศตะวันตกของภาคใต้ เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ รอบ ๆ เกาะมีปะการัง กัลปังหา ทิวทัศน์ใต้ทะเลที่งดงาม และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติคือภูเขาหินปูนที่มีหน้าผาเป็นชั้น ๆ ถ้ำที่สวยงาม ตลอดจนชายหาดยาวสะอาด สุสานหอย 40 ล้านปี ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 389.96 ตารางกิโลเมตร หรือ 243,725 ไร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดตรัง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ

นินช้างศึก ยอดเขาช้างเผือก อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยเขย่งและป่าเขาช้างเผือก ในเขตท้องที่อำเภอทองผาภูมิและอำเภอสังขละบุรี.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติแหลมสน

อุทยานแห่งชาติแหลมสน (Laem Son National Park) เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล ประกอบไปด้วยป่าชายเลน หาดทราย และแนวปะการัง มีพื้นที่ 315 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมอำเภอเมืองและอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอุทยานแห่งชาติแหลมสน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การบริหารส่วนตำบลบางวัน

องค์การบริหารส่วนตำบลบางวัน เป็นองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ในตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ตำบลบางวันได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2539 โดยรับผิดชอบพื้นทั้งหมดในตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ซึ่งมีทั้งหมด 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านบางวัน หมู่ที่ 2 บ้านตำหนัง หมู่ที่ 3 บ้านบางครั่ง หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งละออง หมู่ที่ 5 บ้านคุรอด หมู่ที่ 6 บ้านบางติบ หมู่ที่ 7 บ้านโค้งศรราม หมู่ที่ 8 บ้านไทรทอง หมู่ที่ 9 บ้านบางเอียง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและองค์การบริหารส่วนตำบลบางวัน · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวพังงา

กาะในอ่าวพังงา อ่าวพังงา เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย อยู่ทางตอนเหนือของทะเลอันดามัน และอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีชื่อเดียวกับอ่าวนี้ด้วย และจังหวัดภูเก็ตทางอำเภอถลาง อ่าวพังงามีพื้นที่ราว 400 กม² ในปี..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอ่าวพังงา · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเมาะตะมะ

อ่าวเมาะตะมะ อ่าวเมาะตะมะ (မုတ္တမပင်လယ်ကွေ့; Gulf of Martaban) เป็นพื้นน้ำส่วนหนึ่งของทะเลอันดามันทางตอนใต้ของประเทศพม่า ชื่อของอ่าวเมาะตะมะได้มาจากเมืองเมาะตะมะ แม่น้ำสะโตงและแม่น้ำย่างกุ้งต่างไหลลงสู่อ่าวนี้.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและอ่าวเมาะตะมะ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพังงา

ังงา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไท.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและจังหวัดพังงา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกระบี่

กระบี่ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น หาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการัง ถ้ำ และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 100 เกาะ และเป็นที่ตั้งของเรือนรับรองที่ประทับแหลมหางน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและจังหวัดกระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดภูเก็ต

ูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า "ภูเขา" ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า "บูเก๊ะ" หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและจังหวัดภูเก็ต · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดระนอง

ระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2,141,250 ไร่ มีพื้นที่ติดต่อทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดชุมพร ทางใต้ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ทางตะวันตกติดกับประเทศพม่าและทะเลอันดามัน มีลักษณะพื้นที่เรียวและแคบ มีความยาวถึง 169 กิโลเมตร และมีความแคบในบริเวณอำเภอกระบุรี เพียง 9 กิโลเมตร ระนองเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ เดิมเป็นหัวเมืองขนาดเล็กขึ้นกับเมืองชุมพร คำว่าระนองเพี้ยนมาจากคำว่า แร่นอง เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดมีแร่อยู่มากม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและจังหวัดระนอง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสมุทรสาคร

ังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้รับการจัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและจังหวัดสมุทรสาคร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสตูล

ตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย (ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน) คำว่า สตูล มาจากคำภาษามลายูเกดะห์ว่า เซอตุล (ستول) (ภาษามาเลย์ว่า เซอตุล (setul)) แปลว่ากระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและจังหวัดสตูล · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุตรดิตถ์

ังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและจังหวัดอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตรัง

ตรัง เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ตรังหรือเมืองทับเที่ยงเป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและจังหวัดตรัง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตาก

นมิตรภาพ ไทย-พม่า (แม่สอด-เมียวดี) ทอดข้ามแม่น้ำเมย จังหวัดตาก (30px) เป็นจังหวัดในภาคตะวันตกหรือบางแห่งจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่างของไทย มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ แต่มีประชากรเบาบางที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดชายแดนที่สำคัญอีกจังหวัดหนึ่งของไทย มีประวัติศาสตร์เก่าแก่นับแต่สมัยกรุงสุโขทัย ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่งดงามหลายแห่งด้วย นอกจากนี้จังหวัดตากยังเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดอื่น ๆ ถึง 9 จังหวั.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและจังหวัดตาก · ดูเพิ่มเติม »

ธันวาคม พ.ศ. 2548

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและธันวาคม พ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

ทวาย

ทวาย (ထားဝယ်, ดะแว; ဓဝဲါ, ออกเสียง ฮะไหว่) เป็นเมืองทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศพม่า เป็นเมืองหลวงของภูมิภาคตะนาวศรี ตั้งอยู่ห่างจากย่างกุ้งราว 614.3 กม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและทวาย · ดูเพิ่มเติม »

ทับละมุ

ทับละมุ เป็นชื่อของหมู่บ้าน ตั้งอยู่หมู่ 5 ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เป็นชุมชนชาวมุสลิม ไทยพุทธและ พม่า ประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก เป็นที่ตั้งของท่าเรือทับละมุ และฐานทัพเรือพังง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและทับละมุ · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง–กันตัง

| ทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง–กันตัง หรือ ทางแยกกันตัง เป็นเส้นทางรถไฟสายหนึ่งที่แยกมาจากทางรถไฟสายใต้ (ธนบุรี–สุไหงโก-ลก) ที่สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีปลายทางที่สถานีรถไฟกันตัง จังหวัดตรัง ปัจจุบันถือเป็นเส้นทางรถไฟเพียงสายเดียวของภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง–กันตัง · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 สายเชียงใหม่–แม่ฮ่องสอน หรือที่นิยมเรียกว่า ถนนเชียงใหม่-หางดง, ถนนเชียงใหม่-ฮอด หรือ ถนนเชียงใหม่-แม่สะเรียง เป็นทางหลวงสายหลักที่ใช้สำหรับเดินทางเข้าสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชื่อมต่อระหว่างเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อการคมนาคมระหว่างชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในพื้นที่ด้านใต้ของทั้งสองจังหวัด จากจุดเริ่มต้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ สามารถเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองแม่ฮ่องสอนได้ด้วยระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 404

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 404 สายตรัง–หยงสตาร์ เป็นทางหลวงที่อยู่ในความควบคุมของแขวงทางหลวงตรัง สำนักงานทางหลวงที่ 16 นครศรีธรรมราช และแขวงทางหลวงสตูล สำนักงานทางหลวงที่ 18 สงขลา เป็นเส้นทางหลักในจังหวัดตรังที่เชื่อมอำเภอต่าง ๆ ทางใต้ของจังหวัดเข้ากับอำเภอเมืองตรัง มีระยะทางเริ่มต้นจากในตัวเมืองตรัง แล้ววิ่งลงใต้ไปสิ้นสุดที่บ้านหยงสตาร์ อำเภอปะเหลียน อยู่ในความควบคุมของแขวงทางหลวงตรัง 30.0 กิโลเมตร และอยู่ในความควบคุมของแขวงทางหลวงสตูล 19.64 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งหมด 49.64 กิโลเมตร อยู่ในเขตจังหวัดตรังทั้งหม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 404 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 สายอ่าวลึก–หินโงก หรือที่เรียกกันว่า ถนนเซาท์เทิร์น เป็นทางหลวงแผ่นดินที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสะพานเศรษฐกิจ (Land Bridge) เชื่อมโยงระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทย ซึ่งเกิดขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 · ดูเพิ่มเติม »

ที่หยุดรถไฟบ้านป่ากอ

ที่หยุดรถไฟบ้านป่ากอ ตั้งอยู่บ้านป่ากอ หมู่ 6 ตำบลคลองชีล้อม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นที่หยุดรถของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและที่หยุดรถไฟบ้านป่ากอ · ดูเพิ่มเติม »

ที่หยุดรถไฟพรุใหญ่

ที่หยุดรถไฟพรุใหญ่ ที่หยุดรถไฟพรุใหญ่ ตั้งอยู่บ้านพรุใหญ่ หมู่ 2 ตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นที่หยุดรถของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและที่หยุดรถไฟพรุใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ที่หยุดรถไฟยางยวน

ที่หยุดรถ ยางยวน ตั้งอยู่บ้านยางยวน หมู่ 1 ตำบลหนองช้างแล่น อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นที่หยุดรถของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและที่หยุดรถไฟยางยวน · ดูเพิ่มเติม »

ที่หยุดรถไฟคลองมวน

ที่หยุดรถ คลองมวน ตั้งอยู่บ้านคลองมวน หมู่ 1 ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง เป็นที่หยุดรถของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและที่หยุดรถไฟคลองมวน · ดูเพิ่มเติม »

ที่หยุดรถไฟควนเมา

ที่หยุดรถ ควนเมา ตั้งอยู่ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง เป็นที่หยุดรถของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและที่หยุดรถไฟควนเมา · ดูเพิ่มเติม »

ที่หยุดรถไฟนาป้อ

ที่หยุดรถไฟนาป้อ ที่หยุดรถไฟนาป้อ ตั้งอยู่บ้านนาป้อ หมู่ 3 ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เป็นที่หยุดรถของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและที่หยุดรถไฟนาป้อ · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนในเรื่องพระอภัยมณี

แผนที่ทะเลอันดามัน เทียบกับสถานที่ในเรื่อง พระอภัยมณี สำหรับ ดินแดนในเรื่องพระอภัยมณี อันเป็นผลงานประพันธ์ของสุนทรภู่นั้น มีความโดดเด่นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากการวางตำแหน่งเมืองและสถานที่ต่าง ๆ ในท้องเรื่องอย่างมีหลักการ ประหนึ่งว่าผู้ประพันธ์มีแผนที่อยู่ในมือ เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในเรื่อง พระอภัยมณี เกิดขึ้นในท้องทะเล นักวิชาการหลายคนต่างวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอว่า ทะเลในเรื่องพระอภัยมณี คือทะเลอันดามัน มิใช่อ่าวไทยกาญจนาคพัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและดินแดนในเรื่องพระอภัยมณี · ดูเพิ่มเติม »

คลองเดินเรือสมุทร

ลองปานามา คลองเดินเรือสมุทร (Ship canal) เป็นคลองที่วางแผนเอาไว้โดยเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เรือที่ใช้มหาสมุทร ทะเล หรือทะเล.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและคลองเดินเรือสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

คอคอดกระ

อคอดกระ (เบื้องหลังเป็นเทือกเขาตะนาวศรี) คอคอดกระ หรือ กิ่วกระ เป็นส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายูอยู่ในเขตบ้านทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง กับ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ประมาณกิโลเมตรที่ 545 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ห่างจากเขตเทศบาลเมือง 66 กิโลเมตร ในบริเวณนี้มีแผ่นป้ายคอนกรีตขนาดใหญ่จำลอง คอคอดกระ มีระยะทางจากฝั่งทะเลตะวันตกจรดฝั่งตะวันออกกว้างเพียง 50 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนนี้นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ที่ได้รับความสนใจตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในการที่จะขุดคลองตัดผ่านจนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 ฝรั่งเศสคิดจะขุดคอคอดกระเพื่อร่นระยะทางในการเดินเรือจากฝั่งทะเลอันดามันข้ามมายังฝั่งอ่าวไทย โดยไม่ต้องอ้อมไปทางแหลมมลายู แต่เนื่องด้วยความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับอังกฤษที่เป็นเจ้าของกิจการท่าเรือในปีนังและสิงคโปร์โครงการนี้จึงต้องระงับไป ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองในสนธิสัญญาสมบูรณ์แบบไทยยินยอมที่จะไม่ขุดคลองคอคอดกระหากไม่ได้รับความยินยอมจากอังกฤษก่อน ปรีดี พนมยงค์ได้เสนอให้ขุดคลอง เมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 แต่ยังคงไม่มีการขุดคลองแต่อย่างใดจวบจนปัจจุบัน ซึ่งมีหลายเหตุผลคัดค้านรวมถึงไม่ต้องการให้ประเทศไทยแยกออกเป็นสองส่วน ผนวกกับประเทศสิงคโปร์กลัวจะเสียผลประโยชน์ด้วย ใน พ.ศ. 2544 วุฒิสภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระ ผลการศึกษาที่รายงานต่อที่ประชุมมีสาระสำคัญให้เรียกชื่อคลองว่า "คลองไทย" และบริเวณที่ขุดมิใช่คอคอดกระ เนื่องด้วยเหตุผลทางวิศวกรรมศาสตร์ อันได้แก่สภาพพื้นที่ที่ต้องขุดที่คอคอดกระนั้นเป็นหินและภูเขา และความมั่นคงเนื่องจากบริเวณคอคอดกระอยู่ที่ชายแดนพม่าปากแม่น้ำกระบุรี บริเวณที่วุฒิสภาเห็นว่ามีความเป็นไปได้และเกิดประโยชน์สูงสุดในการขุดคลองไทย คือ เส้นทาง 9A ผ่านจังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา ระยะทาง 120 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและคอคอดกระ · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวขอบหูขาวเล็ก

้างคาวขอบหูขาวเล็ก (อังกฤษ: Lesser Short-nosed Fruit Bat, Common Short-nosed Fruit Bat) ค้างคาวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cynopterus brachyotis อยู่ในวงศ์ค้างคาวผลไม้ (Pteropodidae) เป็นค้างคาวขนาดเล็ก มีจุดเด่นคือขอบใบหูทั้งสองข้างมีขอบสีขาวอันเป็นที่มาของชื่อ มีใบหน้าคล้ายสุนัข จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ค้างคาวหน้าหมา" (Lesser Dog-faced Fruit Bat) ขนตามลำตัวหลากหลายมีตั้งแต่สีเทาจาง, น้ำตาลจาง ๆ จนถึงน้ำตาลเข้ม มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 28-40 กรัม ค้างคาวตัวเมียตกลูกครั้งละ 1 ตัว พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตั้งแต่อินเดีย, ศรีลังกา, หมู่เกาะนิโคบาร์ในทะเลอันดามัน, จีนตอนใต้, เอเชียอาคเนย์ พบได้ในภูมิประเทศที่มีความหลากหลายมาก ตั้งแต่ป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,600 เมตร จนถึงชุมชนในเมืองใหญ่ และสวนผลไม้ต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามต้นไม้ใหญ่หรือต้นผลไม้ กินอาหารจำพวก ผลไม้ เช่น มะม่วง และน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ จึงนับเป็นศัตรูของผลไม้ด้วยชนิดหนึ่ง แต่ก็มีประโยชน์ในการผสมพันธุ์และแพร่กระจายละอองเกสรดอกไม้และผลไม้ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคเหนือตอนบนและภาคอีสาน จากการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวาง ทำให้มีชนิดย่อยมากมายด้วยกันถึง 7 ชนิดย่อย คือ C.b. altitudinis พบในที่ราบสูงคาแมรอน ในมาเลเซีย, C.b. brachysoma พบในหมู่เกาะอันดามัน, C.b. cylonensis พบในศรีลังกา, C.b. concolor ที่เกาะอังกาโน, C.b. hoffetti พบในเวียดนาม, C.b. insularum พบในหมู่เกาะคังเกียน, C.b. javanicus พบในเกาะชวา และ C.b. minutus พบบนเกาะนิเอ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและค้างคาวขอบหูขาวเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

งูสมิงทะเลปากเหลือง

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและงูสมิงทะเลปากเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

งูแสมรัง

งูแสมรัง เป็นสกุลของงูพิษ จำพวกงูทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hydrophis (/ไฮ-โดร-พิส/) ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) เป็นงูที่มีพิษร้ายแรงมากสกุลหนึ่ง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและงูแสมรัง · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลไม้ขาว

ตำบลไม้ขาว เป็นตำบลใน อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและตำบลไม้ขาว · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลเกาะสอง

ตำบลเกาะสอง (ကော့သောင်မြို့နယ်; Kawthaung Township) หนึ่งในสองตำบลของเขตการปกครองเขตเกาะสอง เขตตะนาวศรี ประเทศพม่า โดยมีเมืองเอกคือ เมืองเกาะสอง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและตำบลเกาะสอง · ดูเพิ่มเติม »

ต้มยำกุ้ง (อาหาร)

ต้มยำกุ้ง เป็นอาหารไทยภาคกลางประเภทต้มยำ ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานไปทุกภาคในประเทศไทย เป็นอาหารที่รับประทานกับข้าวและ มีรสเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลักผสมเค็มและหวานเล็กน้อย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ต้มยำน้ำใส และ ต้มยำน้ำข้น.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและต้มยำกุ้ง (อาหาร) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลีใต้

รณรัฐเกาหลี (Republic of Korea; 대한민국 (ฮันกึล); 大韓民國 (ฮันจา)) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เกาหลีใต้ (South Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือ มีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบเกาหลีกั้นไว้ ในภาษาเกาหลีอ่านชื่อประเทศว่า แทฮันมินกุก (대한민국; 大韓民國) โดยเรียกสั้น ๆ ว่า ฮันกุก (한국) ที่หมายถึงเกาหลี และบางครั้งจะใช้ชื่อว่า นัมฮัน (남한) ที่หมายถึง เกาหลีทางใต้ ส่วนชาวเกาหลีเหนือจะเรียกเกาหลีใต้ว่า นัมโชซ็อน (남조선) ที่หมายถึง โชซ็อนใต้.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและประเทศเกาหลีใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบู่เกาะสุรินทร์

ปลาบู่เกาะสุรินทร์ หรือ ปลาบู่ปาปัวนิวกินี (Aporos sleeper, Ornate sleeper, Snakehead gudgeon, Mud gudgeon) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาบู่ทราย (Eleotridae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Giuris มีรูปร่างคล้ายปลาบู่ทั่วไปผสมกับปลาช่อน คือ มีส่วนหัวใหญ่และกลมมน เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามมากชนิดหนึ่ง ลำตัวเป็นสีเหลืองอมส้ม มีจุดประสีส้มและสีฟ้าอมน้ำเงิน ที่แก้มและคางมีสีส้มสด ครีบต่าง ๆ เป็นสีฟ้าหรือน้ำเงินแลดูสวยงาม มีขนาดความยาวเต็มที่ 40 เซนติเมตร ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 20-25 เซนติเมตร ตัวผู้มีครีบและมีสีสดสวยกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัดเจน เป็นปลาที่พบแพร่กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง โดยพบในลำธารหรือบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยติดกับทะเล ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจากแอฟริกาตอนใต้ถึงอินโดนีเซีย รวมถึงหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปาปัวนิวกินี, เมลานีเซีย, ปาเลา, เกาะเซเลบีส, เกาะโอกินาวา ไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบเพียงที่เดียว คือ ในลำธารที่หมู่เกาะสุรินทร์ ในเขตทะเลอันดามัน เป็นปลาที่กินสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ รวมถึงแมลงน้ำ เป็นอาหาร ฟักไข่และวัยอ่อนเจริญเติบโตในทะเล ก่อนจะอพยพเข้าสู่น้ำจืดหรือน้ำกร่อยเมื่อเจริญวัยขึ้น นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ถือเป็นปลาที่มีความสวยงาม เลี้ยงได้ง่าย เนื่องจากอุปนิสัยที่ไม่หลบซ่อนตัว และไม่ดุร้ายก้าวร้าวต่อปลาอื่นในที่เลี้ยง อีกทั้งยังกินอาหารสำเร็จรูปได้อีกด้ว.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาบู่เกาะสุรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระจัง

ปลากระจัง หรือ ปลาตีนเขี้ยว (Giant mudskipper) เป็นปลาทะเลและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) วงศ์ย่อยปลาตีน (Oxudercinae) เป็นปลากระดูกแข็งมีขนาดลำตัวยาวตั้งแต่ 5-30 เซนติเมตร จัดเป็นปลาตีนที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีครีบคู่หน้า ครีบอกที่แข็งแรงใช้ครีบอกที่แข็งแรงใช้ครีบกระโดดเป็นช่วง ๆ ไปมาบนพื้นเลน และคลานขึ้นต้นไม้ หรือยึดเกาะกับต้นโกงกางหรือแสม ตัวผู้มีขนาดลำตัวแบนเล็กน้อย มีเกล็ดปกคลุมทั่วลำตัว มีฟันเขี้ยวซี่เล็ก ๆ ขบซ้อนเหลื่อมกันทั้งริมขากรรไกรบนและล่าง ตำแหน่งของปากอยู่ปลายสุดของหัวขนานกับพื้น ลำตัวมีสีเทาแถบสีน้ำตาลพาดบริเวณหัวและตามตัวมีจุดวาวสีเขียวมรกต ปลายครีบหลังสีขาว, สีน้ำตาล, สีน้ำเงินแวววาวเหมือนมุก ส่วนตัวเมียสีลำตัวค่อนข้างเหลือง เมื่ออยู่บนบก จะหายใจผ่านผิวหนังและช่องเหงือก กินอาหารจำพวกลูกกุ้ง, ลูกปู, ตัวอ่อนของสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ, สาหร่าย และซากพืชและสัตว์บนผิวเลน ในฤดูผสมพันธุ์ ปลากระจังตัวผู้จะมีสีเข้มขึ้น จะใช้ปากขุดโคลนสร้างหลุม เพื่อไว้เป็นที่ผสมพันธุ์ และมีพฤติกรรมหวงเขตแดนเมื่อมีตัวผู้อื่นเข้ามารุกล้ำจะกางครีบหลังขู่และเคลื่อนที่เข้าหาผู้บุกรุกเพื่อต่อสู้ด้วยการกัดทันที กระจายพันธุ์ไปในป่าชายเลนที่มีพื้นเป็นเลนหรือโคลน ตั้งแต่อ่าวเบงกอล, ชายฝั่งทะเลอันดามัน, คาบสมุทรมลายู และเกาะบอร์เนียว เป็นปลาที่มักถูกจับกินเป็นอาหารสำหรับชาวพื้นถิ่น และถูกจับขายเป็นปลาสวยงามด้ว.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลากระจัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระโทงร่ม

รีบหลังอันใหญ่เป็นเอกลักษณ์ ปลากระโทงร่ม หรือ ปลากระโทงแทงร่ม (Sailfish) เป็นปลากระโทงที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในสกุล Istiophorus มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนของสันหลังมีกล้ามเนื้อหนา หัวค่อนข้างโต ปากกว้าง จะงอยปากเรียวยาวและแหลม มีครีบกระโดงหลังสูงใหญ่เวลาแผ่กว้างจะมีลักษณะคล้ายใบเรือ ซึ่งใหญ่กว่าปลากระโทงสกุลอื่น ครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องเรียวยาวเหมือนแถบริบบิ้น ครีบก้นแยกเป็นสองอันเล็ก ๆ อันที่สองอยู่ตรงข้ามครีบหลังซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน สีของลำตัวด้านหลังเป็นสีน้ำเงินเข้มปนดำข้างตัวสีน้ำเงินอ่อนกว่าด้านหลัง ท้องสีขาวเงินมีลายเป็นเส้นประพาดจากด้านหลังลงไปถึงท้อง ครีบทุกครีบมีสีดำ มีความยาวได้ถึง 3.5 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 100-125 กิโลกรัม กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลเปิดของมหาสมุทรต่าง ๆ ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก โดยสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากเป็นปลาที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมาก ข้อต่อของกระดูกและครีบต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี มีการอพยพย้ายถิ่นไปตามกระแสน้ำ ลูกปลาวัยอ่อนเมื่อฟักออกมาจากไข่มีขนาดเพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น และจะมีขนาดเหมือนตัวเต็มวัยเมื่อมีความยาวได้ 20 เซนติเมตร ปลาวัยอ่อนจะอาศัยหากินตามผิวน้ำที่ไม่ไกลจากฝั่งมากนัก และบางครั้งอาจเข้าไปหากินใกล้ชายฝั่งหรือใกล้กับเกาะ โดยใช้จะงอยปากที่แหลมยาวและครีบหลังที่ใหญ่ไล่ต้อน ซึ่งอาหารที่ชื่นชอบ คือ ปลาขนาดเล็กและหมึก เมื่อจะล่าเหยื่อ โดยเฉพาะปลาแมกเคอเรล จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เนื่องจากสายตาของปลาแมกเคอเรลไวต่อแสงสีฟ้าหรือสีน้ำเงินมาก รวมทั้งสามารถมองเห็นแสงอัลตราไวโอเลตด้วย การเปลี่ยนเป็นสีฟ้าจะทำให้ปลาแมกเคอเรลสับสน ปลากระโทงร่ม เป็นปลาที่เป็นทื่นิยมอย่างมากในการตกเป็นเกมกีฬา ด้วยเป็นปลาที่สู้กับเบ็ดและต้องใช้พละกำลังและเวลาอย่างมากในการตก.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลากระโทงร่ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก

ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก หรือ ปลากระโทงแทงกล้วย (Banana sailfish, Indo-Pacific sailfish) เป็นปลากระโทงที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง และจัดเป็นปลากระโทงร่มชนิดหนึ่ง มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนของสันหลังมีกล้ามเนื้อหนา หัวค่อนข้างโต ปากกว้าง จะงอยปากเรียวยาวและแหลม มีครีบกระโดงหลังสูงใหญ่เวลาแผ่กว้างจะมีลักษณะคล้ายใบเรือ ซึ่งใหญ่กว่าปลากระโทงชนิดอื่น ๆ ครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องเรียวยาวเหมือนแถบริบบิ้น ครีบก้นแยกเป็นสองอันเล็ก ๆ อันที่สองอยู่ตรงข้ามครีบหลังซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน สีของลำตัวด้านหลังเป็นสีน้ำเงินเข้มปนดำข้างตัวสีน้ำเงินอ่อนกว่าด้านหลัง ท้องสีขาวเงินมีลายเป็นเส้นประพาดจากด้านหลังลงไปถึงท้อง ครีบทุกครีบมีสีดำ มีครีบท้องเป็นเส้นยาวชัดเจน มีความยาวได้ถึง 3.5 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 100-125 กิโลกรัม กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเขตร้อนของทะเลเปิดของมหาสมุทรต่าง ๆ ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก โดยสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากเป็นปลาที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมาก ข้อต่อของกระดูกและครีบต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี มีการอพยพย้ายถิ่นไปตามกระแสน้ำ ลูกปลาขนาดเล็ก ปลาที่ถูกตกได้ที่คอสตาริกา ลูกปลาวัยอ่อนเมื่อฟักออกมาจากไข่มีขนาดเพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น และจะมีขนาดเหมือนตัวเต็มวัยเมื่อมีความยาวได้ 20 เซนติเมตร ปลาวัยอ่อนจะอาศัยหากินตามผิวน้ำที่ไม่ไกลจากฝั่งมากนัก และบางครั้งอาจเข้าไปหากินใกล้ชายฝั่งหรือใกล้กับเกาะ โดยใช้จะงอยปากที่แหลมยาวและครีบหลังที่ใหญ่ไล่ต้อน ซึ่งอาหารที่ชื่นชอบ คือ ปลาขนาดเล็กและหมึก เมื่อจะล่าเหยื่อ โดยเฉพาะปลาแมกเคอเรล จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เนื่องจากสายตาของปลาแมกเคอเรลไวต่อแสงสีฟ้าหรือสีน้ำเงินมาก รวมทั้งสามารถมองเห็นแสงอัลตราไวโอเลตด้วย การเปลี่ยนเป็นสีฟ้าจะทำให้ปลาแมกเคอเรลสับสน ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก เป็นปลาที่เป็นทื่นิยมอย่างมากในการตกเป็นเกมกีฬา ด้วยเป็นปลาที่สู้กับเบ็ดและต้องใช้พละกำลังและเวลาอย่างมากในการตก.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนหางหนาม

ปลากระเบนหางหนาม (Jenkins' whipray) ปลาทะเลกระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมด้านเท่า จะงอยปากแหลมเล็กน้อย ขอบปีกด้านข้างเป็นมุมมน ด้านหลังมีตุ่มแหลมมาก มีแกนกลางเป็นตุ่มใหญ่ไปจนถึงโคนหาง หางมีตุ่มหยาบมาก ลำตัวสีน้ำตาลแดง ด้านท้องสีขาว หางสีคล้ำ มีขนาดความกว้างได้ถึง 150 เซนติเมตร จากปีกด้านหนึ่งไปอีกยังด้านหนึ่ง อาศัยอยู่ตามพื้นทรายหรือพื้นที่มีโคลนปนตามแถบชายฝั่งจนถึงแนวปะการัง ตั้งแต่ชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออก, แอฟริกาใต้, อ่าวเปอร์เซีย, ทะเลอาหรับ, ทะเลแดง, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลฟิลิปปิน ไปจนถึงตอนเหนือออสเตรเลีย เป็นปลาที่หากินสัตว์น้ำหน้าดินต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น หอย, ปู ในน่านน้ำไทยถือเป็นปลาที่พบได้น้อย หายาก แต่ที่มัลดีฟส์ เป็นปลาที่พบได้ง่าย โดยมักจะว่ายเข้ามาหานักท่องเที่ยวเพื่อขออาหารกิน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลากระเบนหางหนาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนจุดฟ้า

ระวังสับสนกับ: ปลากระเบนทอง ปลากระเบนจุดฟ้า (Bluespotted stingray, Bluespotted maskray) ปลากระดูกอ่อนน้ำเค็มชนิดหนึ่ง จำพวกปลากระเบน อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีจะงอยปากและปลายครีบอกเป็นมุมกว้าง ด้านหลังลำตัวเรียบ หางเรียวยาวกว่าลำตัวเล็กน้อย ตาโตอยู่ชิดกันและมีแถบสีคล้ำระหว่างดวงตา ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอ่อนอมเทาหรือเหลือง มีจุดประสีฟ้าอ่อนและดำกระจาย ด้านท้องสีจาง ปลายหางมีสีดำ มีปล้องสีขาวอยู่ 1-2 ปล้อง มีขนาดความกว้างของลำตัวประมาณ 50 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามแถบชายฝั่ง ตั้งแต่แนวปะการังไปจนถึงที่ลึกอย่างไหล่ทวีป ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย โดยพบได้ประปรายในทวีปแอฟริกา มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายในที่ตื้น ๆ โดยกินสัตว์น้ำเช่น กุ้ง, ปู และหอย เป็นอาหาร ในเขตน่านน้ำไทยพบได้ชุกชุมในบางพื้นที่ และพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันหน้า 101, คู่มือปลาทะเล โดย ชวลิต วิทยานนท์ ดร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลากระเบนจุดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนทอง

ระวังสับสนกับ: ปลากระเบนจุดฟ้า ปลากระเบนทอง หรือ ปลากระเบนหิน (Blue-spotted fantail ray, Bluespotted ribbontail ray) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Taeniura lymma อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีลำตัวแบนค่อนข้างกลม ตาโปนโต มีช่องจมูกทางด้านข้างของตาขนาดใหญ่ ด้านล่างมีปากเว้าโค้ง ลำตัวกว้างประมาณ 25 เซนติเมตร หรือ 1 ฟุต มีหางยาวเท่า ๆ กับความยาวลำตัว มีเงี่ยงที่โคนหาง 2 อัน ลักษณะแหลมยาว ปลายหางมีแผ่นหนังบาง ๆ คล้ายปลากระเบนชายธง และมีแถบสีฟ้าเป็นคู่ขนานกันตั้งแต่โคนจรดปลายหาง ตามลำตัวเป็นเมือกลื่นสีเหลืองทอง และมีจุดสีฟ้าแต้มอยู่ทั่วทางด้านบน พื้นลำตัวมีหลากหลายสี ทั้ง สีเขียว, สีน้ำตาล หรือสีเทา ส่วนใต้ท้องมีสีขาว อาศัยอยู่ตามพื้นทรายในบริเวณแนวปะการังเขตร้อนทั่วไป พบได้ตั้งแต่ความลึกไม่เกิน 30 เมตร จนถึงชายฝั่ง กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็ก ตลอดจนสัตว์มีกระดองชนิดต่าง ๆ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกไปจนถึง ทะเลแดง, อ่าวเปอร์เซีย, อ่าวเบงกอล, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลจีนใต้, ทะเลฟิลิปปิน ไปจนถึงออสเตรเลียทางตอนเหนือ จัดเป็นปลากระเบนอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดไม่ใหญ่นักและมีความสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลากระเบนทอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงหน้าลาย

ปลากะพงหน้าลาย (bluespotted snapper, blubberlip snapper, Maori snapper) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต ด้านหน้าโค้งลาด ลำตัวกว้าง ครีบอกเรียวโค้ง ครีบหางเว้าตื้น หัวและตัวสีน้ำตาลแดงหรือสีคล้ำ บริเวณส่วนหน้ามีลายเส้นวนสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีจุดประเล็ก ๆ สีเดียวกันทั่วทั้งตัว ในบางตัวมีขอบครีบสีเหลือง มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 90 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เพียงลำพังตัวเดียว โดยหากินตามกองหินใต้น้ำเหรือแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกจนถึงตาฮิติ, ทะเลญี่ปุ่น จนถึงตอนใต้ของออสเตรเลีย สำหรับในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย แต่ในฝั่งอ่าวไทยจะพบได้เฉพาะเป็นบางจุดเท่านั้น จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย นิยมบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐก.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลากะพงหน้าลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงผี

ปลากะพงผี (Black beauty, Black and white snapper) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) มีลักษณะทั่วไปเหมือนปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกันทั่วไป แต่ส่วนหัวโตกว่า ปากกว้าง ลำตัวกว้าง ครีบหางเว้าตื้น ลำตัวสีคล้ำ มีลวดลายสีเหลืองหรือสีจาง ๆ ที่หน้าและลำตัว ปลาขนาดใหญ่มักมีสีคล้ำ ปลาขนาดเล็ก มีลายสีขาว-ดำตัดกันชัดเจน มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 75 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูง มักพบในแนวปะการังในที่ลึก โดยปลาขนาดเล็กมักว่ายอยู่ตามหน้าหิน กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กไปเป็นอาหาร เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิก ไปจนถึงออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยพบได้ในแถบทะเลอันดามันเท่านั้น โดยเป็นปลาที่พบได้น้อ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลากะพงผี · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงแดงสั้นหางปาน

ปลากะพงแดงสั้นหางปาน (Malabar red snapper, Malabar blood snapper, scarlet sea perch) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) มีลำตัวค่อนข้างป้อม ด้านข้างแบน หางยาว หัวโต ตาใหญ่ จะงอยปากสั้น ปากกว้างมีฟันซี่เล็ก ๆ เรียงติดกันเป็นแผง ครีบหลังมีฐานยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งมีขอบปลายเว้าขึ้นลงตามความสูงต่ำของก้านครีบ ครีบก้นอยู่ใกล้กับหาง ครีบอกและครีบท้องมีขนาดไล่เลี่ยกัน ครีบหางใหญ่และลำตัวตรง พื้นลำตัวด้านบนสีแดงหรือชมพูอมแดง ส่วนท้องสีเหลือง เหมือนเส้นข้างตัวมีเส้นสีเหลืองจางพาดเฉียงขึ้น เมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน จะมีลำตัวสีเหลืองอ่อน จะมีแถบสีดำพาดผ่านบริเวณส่วนหน้า และข้อหางมีปื้นสีดำคล้ายปาน อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีขนาดใหญ่ที่สุดถึง 1 เมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยที่พบคือ 30-60 เซนติเมตร หากินตามแนวปะการังหรือใกล้ชายฝั่ง พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อ่าวเปอร์เซีย, ทะเลอาหรับ, อินโด-แปซิฟิก, ฟิจิ, ทะเลญี่ปุ่น จนถึงออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้ปรุงเป็นอาหาร เนื้อมีรสชาติดี.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลากะพงแดงสั้นหางปาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงแดงหน้าตั้ง

ปลากะพงแดงหน้าตั้ง (Emperor red snapper) เป็นปลาน้ำเค็มกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lutjanus sebae อยู่ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) มีรูปร่างป้อมสั้น ด้านข้างแบน ส่วนของท่อนหางยาว หัวโต บริเวณหัวส่วนบนมีลักษณะลาดชัน นัยน์ตามีขนาดใหญ่ ปากกว้างมีฟันซี่เล็ก ๆ เรียงเป็นแผง ครีบหลังมีฐานยาว ปลายเรียวแหลม ครีบก้นอยู่ใกล้กับคอดหางและมีส่วนปลายแหลม ครีบหูและครีบท้องมีส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งมีจำนวนใกล้เคียงกัน ครีบหางยาวและเว้าลึก สีจะเข้มหรือจางขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของปลา ขณะที่เป็นปลาวัยอ่อนลำตัวจะมีสีชมพูและมีแถบสีดำเข้ม 3 แถบ พาดบริเวณส่วนหน้าผ่านนัยน์ตาไปจนบริเวณคาง ข้างลำตัวบริเวณครีบหู และข้างลำตัวโค้งจากบริเวณครีบหลังตอนที่ 2 ไปจรดท่อนหาง ดูแลสวยงามเห็นได้ชัดเจน เมื่อปลาโตขึ้น บริเวณส่วนหัวลาดชันขึ้น แถบดังกล่าวจะกลายเป็นสีแดงและเริ่มลดขนาดลง และเมื่อเจริญเติบโตเต็มวัย แถบสีดังกล่าวจะค่อย ๆ เลือนจางจนหายไปเมื่อปลาโตเต็มที่ เหลือแต่เพียงเป็นจุดสีแดงเรื่อ ๆ บนพื้นลำตัวสีขาวอมแดงเท่านั้น มีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดขนาด 1 เมตร น้ำหนักราว 20-30 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อยู่ในบริเวณแนวปะการังและชายฝั่งของอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน ในวัยเล็กมักอาศัยอยู่คู่กับเม่นทะเล โดยว่ายผ่านไปมาระหว่างขนของเม่นทะเล เพื่อป้องตัวกันจากนักล่า เป็นปลาที่นิยมรับมาบริโภคโดยการปรุงสุดเช่นเดียวกับปลากะพงแดงชนิดอื่น ๆ รวมทั้งเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ซึ่งพฤติกรรมในสถานที่เลี้ยงนั้น ปลากะพงแดงหน้าตั้งเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก ทรหดอดทน ทนทานต่อโรค และกินอาหารง่ายแบบตะกละไม่เลือกทั้งอาหารสดหรืออาหารเม็.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลากะพงแดงหน้าตั้ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงเหลืองห้าเส้น

ปลากะพงเหลืองห้าเส้น หรือ ปลากะพงเหลืองแถบฟ้า (five-lined snapper, blue-striped snapper, blue-banded sea perch) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน แต่มีลักษณะเด่น คือ มีแถบข้างลำตัวเป็นสีฟ้าบนพื้นสีเหลืองสด และมีแต้มสีดำระหว่างเส้นสองแถบบน ลูกปลาขนาดเล็กมีลำตัวใสจนมองเห็นกระดูกภายในได้ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 35 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแถบชายฝั่งและแนวปะการังของอินโด-แปซิฟิกตะวันออก ไปจนถึงออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีการบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจบ้าง แต่รสชาติไม่อร่อย จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่า เนื่องจากความสวยงามที่โดดเด่น นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียกอื่น อีก เช่น "ปลากะพงข้างปาน", "ปลากะพงทอง" หรือ "ปลาเหลืองลีซี".

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลากะพงเหลืองห้าเส้น · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงเขียว

ปลากะพงเขียว (Blue-gray snapper, Green jobfish) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากยาวปลายมน นัยน์ตาโตและอยู่ใกล้ช่องเปิดเหงือก ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีฟันเป็นเขี้ยวที่แหลมคมท่อนหางยาวเรียว มีเกล็ดขนาดเล็กที่หัวและลำตัว ครีบหลังยาว ส่วนของก้านครีบแข็งและอ่อนติดเป็นแผ่นเดียวกัน ครีบหางเว้าเป็นแฉกกว้าง ปลายแฉกเรียวแหลม พื้นลำตัวมีสีเขียวปนน้ำเงิน ส่วนท้องเป็นสีขาวปนเทาจาง ๆ จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Aprion (มาจากภาษากรีกคำว่า "Aprion" หมายถึง "ปราศจาก" กับคำว่า "prion" หมายถึง "เลื่อย") มีความยาวประมาณ 60-80 เซนติเมตร ใหญ่ที่สุดพบยาวถึง 112 เซนติเมตร น้ำหนัก 15.4 กิโลกรัม เป็นปลาที่แพร่กระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่เกาะฮาวาย, แอฟริกาตะวันออก, ญี่ปุ่น จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยพบมากที่ทะเลอันดามัน มักพบในหน้าดิน บริเวณเกาะ, แนวปะการัง ในระดับความลึกไม่เกิน 100 เมตร เป็นปลาเศรษฐกิจ ที่มีรสชาติดี มีความสำคัญในการทำประมง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลากะพงเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะมงครีบฟ้า

ปลากะมงครีบฟ้า หรือ ปลามงครีบฟ้า (Bluefin trevally, Black ulua) ปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) มีลำตัวแบนข้างมาก ครีบหลังและครีบก้นยกสูง ครีบหางเล็ก ครีบอกยาวเป็นรูปเคียว ลำตัวสีเงินแวววาวอมฟ้า มีจุดประสีคล้ำหรือสีเหลือง ครีบมีสีฟ้าอ่อนถึงฟ้าสด มีความยาวเต็มที่ 120 เซนติเมตร ขนาดโดยเฉลี่ย 60 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในระดับกลางน้ำ ไล่ล่าปลาขนาดเล็ก เช่น ปลากะตัก รวมถึงสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น หมึก กินเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ทะเลแดงจนถึงแอฟริกาตะวันออก, ตอนเหนือของหมู่เกาะริวกิว, ตอนใต้ของนิวแคลิโดเนีย แถบอเมริกากลาง เม็กซิโกจนถึงปานามา ในน่านน้ำไทย พบได้บ่อยทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ในฮาวายมีรายงานว่าผสมข้ามพันธุ์กับปลาหางกิ่วหม้อ (C. sexfasciatus) ด้วย เป็นปลาที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา และใช้เนื้อในการบร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลากะมงครีบฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะตักใหญ่

ปลากะตักใหญ่ หรือ ปลากะตักควาย (Indian anchovy) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stolephorus indicus ในวงศ์ปลากะตัก (Engraulidae) มีลำตัวยาวเรียวด้านข้างแบน ท้องเป็นสันคม เกล็ดบริเวณหน้าครีบท้องแข็งเป็นหนาม หัวโต จะงอยปากสั้น ปากกว้างและเฉียงขึ้นข้างบน ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบหางลึกเป็นแฉก ครีบหูและครีบท้องมีขนาดเล็ก มีแถบสีขาวคาดที่ข้างลำตัวและมีจะงอยปากใหญ่กว่าปลากะตักชนิดอื่น ๆ ไม่มีเส้นดำบนด้านหลังระหว่างหัวถึงครีบหลัง ลำตัวเป็นสีเทาโปร่งแสง มีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ หากินตามผิวน้ำ โดยมีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร กินอาหารขนาดเล็ก จำพวก แพลงก์ตอน, เคยหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลที่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 0.5-1.5 ไมล์ทะเล สามารถเข้าไปหากินถึงในแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำได้ ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นอกจากนั้นแล้วยังพบได้ไกลถึงชายฝั่งของแอฟริกาใต้, ทะเลแดง, อ่าวเปอร์เซีย, ซามัว, ตาฮิติ, มาดากัสการ์, ทะเลจีนตะวันออก และออสเตรเลีย มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ในแง่ของการทำเป็นน้ำปลา, ปลาแห้ง, ปลาป่น และแกงกะหรี่ ในอินเดีย ปลากะตักใหญ่ ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลามะลิ", "ปลากล้วย" หรือ "ปลาไส้ตัน".

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลากะตักใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ

ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ (Tomato clownfish, Bridled clownfish, Red clownfish, Tomato anemonefish) เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่ง ในปลาขนาดเล็กจะมีลายสีขาวพาดลำตัวด้านละ 3 ลาย แต่เมื่อโตขึ้นลายดังกล่าวจะหายไป เหลือเพียงลายบริเวณหน้าด้านตรงแผ่นปิดเหงือกเท่านั้น มีขนาดโตเต็มที่ 14 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณหมู่เกาะริวกิว, ทะเลญี่ปุ่น, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยปกติแล้วไม่พบในน่านน้ำไทย แต่ก็มีรายงานและภาพถ่ายหลายครั้งที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยปกติแล้วจะอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเล ชนิด ดอกไม้ทะเลนมสาว (Entacmaea quadricolor) เป็นปลาทะเลที่ได้รับความนิยมในการเป็นปลาสวยงาม จัดเป็นปลาที่สวยงามและเลี้ยงง่ายกว่าปลาการ์ตูนชนิดอื่น เช่น ปลาการ์ตูนส้มขาว (A. ocellaris) หรือปลาการ์ตูนเพอร์คูล่า (A. percula) ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาการ์ตูนมะเขือเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ตูนลายปล้อง

ปลาการ์ตูนลายปล้อง หรือ ปลาการ์ตูนลายปล้องหน้าทอง (Clark's anemonefish, Yellowtail clownfish) เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่ง มีสีสันบนลำตัวเมื่อยังเล็ก ด้านล่างจะเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม และด้านบนบริเวณหลังจะเป็นสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงดำ เมื่อโตขึ้นสีดำนี้จะค่อย ๆ ลามลงมาเรื่อย ๆ ทางด้านท้องจนดำสนิททั้งตัว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5.5 นิ้ว พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียจนถึง เมลานีเซีย, ไมโครนีเซีย, เกาะไต้หวัน, ตอนใต้ของญี่ปุ่น, หมู่เกาะริวกิว และออสเตรเลีย ทางน่านน้ำไทย ไม่พบทางฝั่งอ่าวไทย แต่จะพบทางฝั่งอันดามัน เป็นปลาการ์ตูนอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง แต่ปลาที่มีขายในตลาดปลาสวยงามส่วนใหญ่ในประเทศไทย ยังเป็นปลาที่จับมาจากแหล่งธรรมชาติจากต่างประเทศอยู่ เนื่องจากมีสีสันที่สวยและได้มาตรฐานกว่า อีกประการ คือ ปลาที่จับได้ในน่านน้ำไทยมักจะตายในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากการกระบวนการจับที่ผิดวิธี.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาการ์ตูนลายปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ตูนส้มขาว

ปลาการ์ตูนส้มขาว (ocellaris clownfish, clown anemonefish, clownfish, false percula clownfish) เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่ง ที่ลำตัวตัวมีสีส้มเข้ม มีแถบสีขาว 3 แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ขอบของแถบสีขาวเป็นสีดำ ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ อาศัยในที่ลึก ตั้งแต่ 1-15 เมตร ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla gigantea เป็นต้น ในดอกไม้ทะเลแต่ละกออาจพบอยู่ด้วยกัน 6-8 ตัว มีการกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย, หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์, ทะเลฟิลิปปิน, อินโดนีเซีย หายากที่เกาะโอะกินะวะและเกาะไต้หวัน ส่วนในน่านน้ำไทยจะไม่พบในด้านอ่าวไทย แต่จะพบได้ในฝั่งทะเลอันดามัน โดยอาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่ ปลาการ์ตูนส้มขาวนับเป็นปลาการ์ตูนชนิดที่รู้จักกันดีและคุ้นเคยเป็นอย่างดี และถือเป็นตัวละครเอกในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Finding Nemo ของพิกซาร์ ในปี ค.ศ. 2003 จนได้รับการเรียกขานเล่น ๆ ว่า "ปลานีโม" เป็นปลาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง โดยสถานที่แรกที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จ คือ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ในประเทศไทย และยังสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้อีกจากภาคเอกชนต่าง ๆ จนในปัจจุบัน ปลาการ์ตูนส้มขาวที่มีจำหน่ายในตลาดปลาสวยงามในประเทศไทย เกิดจากการเพาะขยายพันธุ์ทั้งสิ้น แต่ก็ยังมีความต้องการปลาจากธรรมชาติอยู่อีก โดยถูกจับมาจากทะเลฟิลิปปิน และอินโดนีเซีย เนื่องจากมีสีสันที่สวยงามกว่านั่นเอง นอกจากนี้แล้ว ยังมีชนิดย่อยของปลาการ์ตูนส้มขาวอีกชนิดหนึ่ง คือ "ปลาการ์ตูนดำ" ซึ่งจะพบได้ในถิ่นเฉพาะคือทางเหนือของออสเตรเลียเท่านั้น และพบได้น้อยมาก ซึ่งมีขนาดและลวดลายเหมือนเช่นปลาการ์ตูนส้มขาวชนิดธรรมดา แต่ส่วนที่เป็นสีส้มนั้นจะเป็นสีดำ ซึ่งในช่วงแรกนั้นมีราคาซื้อขายที่สูงมากถึงคู่ละ 5,000-6,000 บาท โดยเป็นปลาที่นำจากประเทศอังกฤษ แต่ต่อมาไม่นานก็ได้มีการเพาะขยายพันธุ์ได้มากขึ้น จนในปัจจุบันราคาขายปลาการ์ตูนดำอยู่ที่คู่ละ 600-700 บาท เท่านั้น.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาการ์ตูนส้มขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ตูนอานม้า

ปลาการ์ตูนอานม้า (Saddleback anemonefish, Saddleback clownfish) เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่ง ได้ชื่อมาจากการที่มีลายสีขาวพาดตั้งแต่บริเวณปลายครีบหลังมายังบริเวณกลางลำตัว เหมือนอานม้า พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในมหาสมุทรอินเดีย เช่นเดียวกับปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง (A. sebae) มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 12 เซนติเมตร จะอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด พรมทะเล (Stichodactyla haddoni) ซึ่งจะฝังตัวอยู่ในทรายพื้นทะเล ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ปลาการ์ตูนอานม้า นับว่าเป็นปลาการ์ตูนที่มีความหลากหลายทางสีสันและลวดลายมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยบางตัวอาจมีลายสองแถบ หรือสามแถบ สีสันมีตั้งแต่สีดำตลอดทั้งลำตัว หรือบางตัว มีเฉพาะส่วนปากเท่านั้นที่มีสีส้ม ลำตัวสีดำ ส่วนปากและท้องเป็นสีส้ม ไปจนถึงบางตัวที่มีสีส้มตั้งแต่ปาก, ท้อง และลำตัว มากกว่าพื้นที่สีดำบนลำตัว และขณะที่บางตัวอาจมีลายอานม้าเพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของลำตัว แต่บางตัวมีลายอานม้าพาดยาวไปจนสุดด้านล่างของลำตัว เป็นต้น ส่วนปลาที่พบในเขตน่านน้ำไทยมักมีลายแถบสามแถบครึ่งลำตัว และมีลำตัวสีดำตลอดทั้งลำตัว เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาการ์ตูนอานม้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ตูนอินเดียนแดงชมพู

ปลาการ์ตูนอินเดียนแดงชมพู หรือ ปลาการ์ตูนชมพู (Pink skunk clownfish, Pink anemonefish) เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับปลาการ์ตูนอินเดียนแดง (A. akallopisos) มาก แต่มีความแตกต่างตรงที่จะมีลายสีขาวคาดบริเวณแผ่นปิดเหงือก พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออก, หมู่เกาะโคโคส และหมู่เกาะคริสต์มาส ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีขนาดโตเต็มที่ 10 เซนติเมตร เป็นปลาที่เลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ แต่ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากสีสันไม่สวยงามเหมือนกับปลาการ์ตูนชนิดอื่น ๆ เช่นเดียวกับปลาการ์ตูนอินเดียนแดง แม้ปัจจุบันจะเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วก็ตาม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาการ์ตูนอินเดียนแดงชมพู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ตูนแดงดำ

ปลาการ์ตูนแดงดำ หรือ ปลาสลิดหินส้ม (Red saddleback anemonefish, Saddle clownfish, Black-backed anemonefish) เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่ง มีลักษณะและสีสันคล้ายกับปลาการ์ตูนมะเขือเทศ (A. frenatus) มาก จนอาจทำให้เกิดความสับสนกันได้ เนื่องจากมีสีดำบริเวณลำตัวเหมือนกัน แต่ต่างกันคือ ปลาการ์ตูนแดงดำจะไม่มีสีขาวขาดบริเวณหัวเหมือนปลาการ์ตูนมะเขือเทศเลย ตั้งแต่เล็กจนโต มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10-12 เซนติเมตร พบขนาดใหญ่ที่สุด 14 เซนติเมตร มีรายงานพบว่ามีอายุขัยสูงสุดถึง 16 ปี พบกระจายพันธุ์ในทะเลอันดามันและอ่าวไทย จัดเป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่งที่พบได้ในน่านน้ำไทย และพบได้จนถึงทะเลชวา, เกาะสุมาตรา, หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ เป็นปลาการ์ตูนอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง มีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามบ้าง แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากสีสันไม่สวยงาม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาการ์ตูนแดงดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาวัวจมูกยาว

ปลาวัวจมูกยาว หรือ ปลาวัวจุดส้ม (Long-nose filefish, Orangespotted filefish, Harlequin filefish, Beaked leatherjacket) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxymonacanthus longirostris อยู่ในวงศ์ปลาวัวจมูกยาว (Monacanthidae) มีรูปร่างเรียวยาวอย่างเห็นได้ชัด มีจะงอยปากยื่นยาวคล้ายหลอดหรือท่อ ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกมีเงี่ยงแข็งซึ่งสามารถตั้งชี้หรือกระดกได้เพื่อใช้ข่มขู่ผู้รุกรานหรือป้องกันตัวจากปลาที่ใหญ่กว่า เมื่อเวลาถูกกินเข้าปากจะถูกเงี่ยงนี้ทิ่มเอา ครีบท้องลดรูปลงไปทำให้เล็กและมีก้านครีบแข็งเช่นเดียวกับครีบหลัง สามารถพับเก็บได้ ครีบท้องยาว ครีบหางกลมเป็นรูปพัด มีจุดกลมสีส้มกระจายอยู่ทั่วบนพื้นลำตัวสีเขียวอมฟ้า โดยที่ส่วนหน้าจะเป็นรอยขีดยาวตามดวงตา ที่ปลายครีบหางจะมีจุดสีดำขนาดใหญ่ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบได้ตั้งแต่ชายฝั่งของทวีปแอฟริกาฝั่งตะวันออกและใต้, โมซัมบิก, ทะเลแดง, ซามัว, หมู่เกาะริวกิวในทะเลจีนตะวันออก, นิวแคลิโดเนีย, ตองกา และเกรต แบร์ริเออร์ รีฟ ในน่านน้ำไทยพบได้เฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มักอยู่เป็นคู่ โดยจะพบมากที่สุดในแนวปะการัง เพราะกินปะการังเขากวาง (Acropora spp.) เป็นหลัก พบได้ในความลึกตั้งแต่ 4-30 เมตร หากินในเวลากลางวัน และนอนหลับในเวลากลางคืนในแนวปะการังหรือกองหิน เป็นปลาที่เป็นที่ชื่นชอบถ่ายรูปของนักดำน้ำเนื่องจากเป็นปลาที่สวยงามและไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้ว.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาวัวจมูกยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาวัวดำ

ปลาวัวดำ (Black trigger, Niger trigger, Redtoothed triggerfish, Redtoothed filefish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Odonus niger อยู่ในวงศ์ปลาวัว (Balistidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Odonus.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาวัวดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาวัวตัวตลก

ปลาวัวตัวตลก หรือ ปลาวัวมงกุฎ หรือ ปลาวัวจุด (Clown triggerfish, Bigspotted triggerfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาวัว (Balistidae) มีรูปร่างเป็นรูปไข่รี คอดหางมีหนามเป็นขอสั้น ๆ ด้านหลังมีสีดำเข้ม มีลายประสีเหลือง ปากเหลือง บริเวณใบหน้ามีคาดสีเหลือง ท้องเป็นดวงใหญ่สีขาว มีลายสีเหลืองและจุดสีดำ ครีบหลังและครีบก้นใส มีฐานครีบสีเหลือง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 35 เซนติเมตร มีพบใหญ่ที่สุด 50 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตอินโด-แปซิฟิกตามแนวปะการัง โดยกินหอยเม่น, ครัสเตเชียน, หอย และสัตว์น้ำหน้าดินต่าง ๆ เป็นอาหาร จัดเป็นปลาวัวอีกชนิดหนึ่งที่มีอุปนิสัยดุร้าวก้าวร้าว โดยเฉพาะตัวผู้ในฤดูฟักไข่ ในน่านน้ำไทยจะพบเฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย ด้วยความที่มีสีสันและลวดลายสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ทว่ามีนิสัยดุร้ายมาก จึงต้องเลี้ยงตามลำพัง หรือเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าหรือไล่เลี่ยกัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาวัวตัวตลก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาวัวปิกัสโซ

ปลาวัวปิกัสโซ (Lagoon triggerfish, Blackbar triggerfish, Picasso triggerfish, Jamal, White-banded triggerfish, ฮาวาย: Humuhumu) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinecanthus aculeatus อยู่ในวงศ์ปลาวัว (Balistidae) มีรูปร่างกลมรีคล้ายรูปไข่ ปากมีขนาดเล็กแต่มีฟันแหลมคม ส่วนหน้าและจะงอยปากยาว มีลักษณะเฉพาะ คือ ลวดลายบนลำตัวที่จะเป็นแถบสีสดขีดไปมาเหมือนไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นหรือตั้งใจวาด ทั้งสีเขียวมะกอก, สีดำ, ฟ้า, เหลือง บนพื้นสีขาว แต่แลดูแล้วสวยงาม เหมือนกับภาพวาดของปาโบล ปิกัสโซ จิตรกรชื่อดังระดับโลก อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25-30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทย พบได้ทางฝั่งทะเลอันดามันทางภาคใต้แต่ก็พบในปริมาณที่น้อยมาก กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังชนิดต่าง ๆ เช่น มอลลัสคา, ครัสตาเชียน รวมทั้งปะการังและสาหร่ายด้วย โดยออกหากินในเวลากลางวัน และนอนหลับพักผ่อนตามโขดหินหรือแนวปะการังในเวลากลางคืน นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยสามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีขนาดและพฤติกรรมใกล้เคียงกันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากแม้จะเป็นปลาก้าวร้าว แต่ก็ไม่ถึงกับดุร้ายเกินไปนัก ซึ่งผู้เลี้ยงสามารถฝึกให้กินอาหารจากมือได้ด้วย แต่ก็ต้องระวังเพราะมีฟันที่แหลมคมมาก ซึ่งปลาที่ถูกขายกันในตลาดปลาสวยงามนั้น โดยมากเป็นปลาขนาดเล็ก และนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียและทะเลฟิลิปปิน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาวัวปิกัสโซ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาวัวไททัน

ปลาวัวไททัน หรือ ปลาวัวอำมหิต หรือ ปลาวัวหน้าลาย (Titan triggerfish, Giant triggerfish, Bluefin filefish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาวัว (Balistidae) มีรูปร่างที่บึกบึนกว่าปลาวัวชนิดอื่น ปากมีขนาดใหญ่มีเขี้ยวสั้นคมอยู่ภายใน ครีบหางปลายตัดมน ข้างแก้มมีสีน้ำตาลส้ม มีปื้นสีคล้ำคาดบริเวณหน้า ปากมีคาดสีดำสลับขาว ด้านหลังสีน้ำตาลอ่อน ข้างลำตัวมีสีคล้ำลายสีน้ำตาลเข้ม ครีบสีส้มมีขอบสีคล้ำ ครีบหางสีส้มขอบสีดำ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร พบยาวที่สุดได้ถึง 75 เซนติเมตร นับเป็นปลาวัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง และเป็นปลาวัวที่มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าวมาก โดยเฉพาะตัวผู้ในฤดูกาลดูแลฟักไข่ จะพุ่งเข้ามาทำร้ายด้วยการกัดสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวเข้ามาใกล้รังหรือถิ่นที่อยู่อาศัย ไม่เว้นแม้แต่สิ่งมีชีวิตที่ใหญ่กว่า คือ มนุษย์ จนเป็นที่เลื่องลือและรู้จักกันดีในหมู่นักประดาน้ำ เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแนวปะการังในมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น ของอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยเป็นปลาที่พบได้บ่อยและพบได้ทั้ง 2 ฝั่ง คือ ฝั่งอันดามัน และอ่าวไทย กินหอยเม่น และสัตว์น้ำหน้าดินเป็นอาหาร เป็นปลาที่ใช้บริโภคได้ แต่บางตัวอาจจะมีสารพิษซิวกัวเทร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาวัวไททัน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาวาฮู

ปลาวาฮู หรือ ปลาอินทรีน้ำลึก (Wahoo) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acanthocybium solandri อยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาในสกุลปลาอินทรี (Scomberomorus spp.) อย่างมาก โดยมีความแตกต่างกันคือ ครีบหลังของปลาวาฮูในตอนแรกจะมีความสูงกว่า และมีที่ว่างของครีบหลังตอนแรกและตอนหลังมากกว่าปลาในสกุลปลาอินทรี ครีบหางมีลักษณะเว้าที่ตื้นกว่า มีส่วนของจะงอยปากแลดูแหลมคมกว่า และรูปร่างที่เพรียวบางกว่า จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Acanthocybium มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5 เมตร และมีน้ำหนักถึง 83 กิโลกรัม เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นฝูงในเขตน้ำลึกได้ถึง 80 เมตร ในทะเลเปิดเขตอบอุ่นและกึ่งอบอุ่นทั่วโลก โดยในฮาวายจะเรียกว่า "Ono" ขณะที่แถบทะเลแคริบเบียนและอเมริกากลางจะเรียกว่า "Peto" ว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาวาฮู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยนกเขาจุดทอง

ปลาสร้อยนกเขาจุดทอง (Painted sweetlips) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแสม (Haemulidae) มีลำตัวค่อนข้างยาว ด้านบนแบนข้าง สันหลังโค้งนูน ท้องแบนเรียบ ปากเล็กมีริมปากหนา มีฟันขนาดเล็กบนขากรรไกรทั้งสองข้าง ใต้คางมีรูพรุน 6 รู เกล็ดมีขนาดเล็กปกคลุมตลอดลำตัวและหัว สีลำตัวจะเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดอายุของปลา คือ ปลาขนาดเล็กจะมีสัสันสวยงาม โดยลำตัวเป็นสีขาว ส่วนหัวด้านบนสีเหลือง และมีแถบสีน้ำตาลปนดำ 5 แถบพาดไปตามความยาวลำตัว เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นแถบสีจะจางหายไป และมีจุดสีน้ำตาลปนดำปรากฏขึ้นมาแทน และจุดสีจะจางหายไปเมื่อปลาอายุมากขึ้น กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามหน้าดินหรือแนวปะการัง พบทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยหากินปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ ตามบริเวณที่อยู่อาศัยเป็นอาหาร มีความยาวประมาณ 35-45 เซนติเมตร แต่เคยพบว่าบางตัวมีความยาวถึง 60 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยนิยมบริโภค ตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในลูกปลาขนาดเล็กที่ยังมีลายแถบ ปลาสร้อยนกเขาจุดทอง เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้สำเร็จในที่เลี้ยงเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 โดย สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลา โดยรวบรวมพ่อแม่ปลา 4-5 ตัวจากธรรมชาติ หลังจากที่เลี้ยงมาประมาณ 1 ปี ปลาก็วางไข่โดยธรรมชาติ ประมาณ 10,000-20,000 ฟอง จากนั้นได้รวบรวมไข่ขึ้นมาฟักและอนุบาลได้จำนวน 3,000 ตัว เมื่อลูกปลาอายุ 40 วัน มีขนาดความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร เหลือจำนวน 400 ตัว ให้อาหารเป็นโรติเฟอร์และไรทะเล.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสร้อยนกเขาจุดทอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสลิดหินฟ้าหางเหลือง

ปลาสลิดหินฟ้าหางเหลือง หรือ ปลาแดมเซลฟ้าหางเหลือง (Yellow-tail damsel, Smith's damsel) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาสลิดหินหางเหลืองนอก (Chrysiptera parasema) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ มีลำตัวและครีบทุกครีบสีน้ำเงินเข้ม ยกเว้นครีบหางและโคนครีบหางที่เป็นสีเหลือง และมีรูปร่างที่ยาวกว่า มีขนาดลำตัวโตเต็มที่ประมาณ 7 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลอันดามัน และพบได้จนถึงทะเลฟิลิปปิน และทะเลอินโดนีเซีย เป็นปลาที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุได้แล้ว แต่ปลาส่วนใหญ่ที่มีการซื้อขายกันในตลาดปลาสวยงามในประเทศไทยนั้นจะเป็นปลาที่จับมาจากแหล่งธรรมชาติในอินโดนีเซีย โดยมีชื่อเรียกในวงการว่า "ปลาแดมเซลหางเหลืองไทย".

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสลิดหินฟ้าหางเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสลิดหินมะนาว

ปลาสลิดหินมะนาว (Lemon damsel) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาในวงศ์นี้ทั่วไป มีสีลำตัวเป็นสีเหลืองสดตลอดทั้งลำตัวเหมือนสีของมะนาวหรือเลมอน มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 9 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลอันดามันจนถึงทะเลญี่ปุ่น บริเวณหมู่เกาะริวกิว และตองกา นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักเพราะมีอุปนิสัยดุร้าย ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วเหมือนปลาในวงศ์เดียวกันชนิดอื่นอีกหลายชน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสลิดหินมะนาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสลิดหินม้าลาย

ปลาสลิดหินม้าลาย หรือ ปลาสลิดหินอานม้า (หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาม้าลาย หรือ ปลาอานม้า; Whitetail dascyllus, Hambug dascyllus, Three stripe damsel, Threebar dascyllus) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dascyllus aruanus อยู่ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae).

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสลิดหินม้าลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสลิดหินแขก

ปลาสลิดหินแขก หรือ ปลาใบขนุนลายแถบ (Java rabbitfish, Bluespotted spinefish, Streaked spinefoot) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสลิดทะเล (Siganidae) มีรูปร่างแบนข้างเป็นรูปไข่ ช่องปากมีขนาดเล็กอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก ครีบหลังและครีบก้นมีก้านครีบแข็งหลายชิ้น ครีบท้องมีก้านครีบแข็งรวมด้านหน้าและด้านหลังเป็นสองชิ้น ผิวเรียบ ครีบหางแบบเว้าตื้น ด้านหลังมีสีกากีอมเหลือง ด้านข้างลำตัวและด้านท้องมีสีเหลือง มีลายเส้นสีจางตามทางยาวหลายเส้นตลอดทั้งลำตัว หัวและด้านหน้าเป็นลายจุด ครีบมีสีคล้ำ หรือมีสีเหลือสดที่ครีบก้น ครีบหางมีคล้ำ ไม่มีลาย มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยประมาณ 15-20 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงและอาศัยหากินสาหร่ายและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ ตามกองหินและแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตน่านน้ำอินโด-แปซิฟิก อ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มีพิษที่ก้านครีบแข็ง แต่สามารถใช้เนื้อในการรับประทานได้ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสลิดหินแขก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสากหางเหลือง

ระวังสับสนกับ ปลาน้ำดอกไม้เหลือง ปลาสากหางเหลือง (Yellowstripe barracuda, Yellowtail barracuada) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสาก (Sphyraenidae).

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสากหางเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสิงโตธรรมดา

ปลาสิงโตธรรมดา (Common lionfish, Miles' firefish, Devil firefish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสิงโต (Scorpaenidae) มีลักษณะเด่น คือ มีครีบอกยาวเป็นเส้นแลดูสวยงาม ครีบหลังมีก้านครีบแข็งยาวมาก ในปลาขนาดเล็กตาจะมีติ่งแหลม ซึ่งเมื่อโตขึ้นจะค่อย ๆ หดสั้นลงจนหายไปในที่สุด ลำตัวมีสีสันหลากหลาย ตั้งแต่ สีแดง, สีส้ม, สีน้ำตาลเข้ม เป็นลายบั้งเล็ก ๆ สลับกับบั้งสีจาง ๆ หรือสีชมพู ครีบหลังตอนท้ายหรือครีบก้นจะเป็นครีบใสโปร่งแสง มีจุดประสีดำ มีพฤติกรรมล่าปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร โดยใช้ครีบอกที่แผ่ยาวเป็นเส้นไล่ต้อนให้จนมุม แล้วใช้ปากฮุบกินไปทั้งตัว มีขนาดใหญ่ประมาณ 15 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 35 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังและกองหินใต้น้ำ ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาใต้, ทะเลแดง, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก, อินโดนีเซีย ในน่านน้ำไทยพบได้เฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน จัดเป็นปลาที่พบได้บ่อยในบางพื้นที่ เป็นปลาที่มีพิษ ไม่มีการรับประทานกันเป็นอาหาร นิยมเลี้ยงกันตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและตู้ปลาตามบ้านในฐานะปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสิงโตธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสิงโตปีกเข็ม

ปลาสิงโตปีกเข็ม หรือ ปลาสิงโตครีบขาว (White-lined lionfish, Clearfin turkeyfish, Radiata lionfish, Radial firefish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแมงป่อง (Scorpaenidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาสิงโตชนิดอื่น แต่มีครีบอกที่ส่วนปลายเป็นเส้นเรียวเล็กคล้ายปลายเข็ม ครีบหลังมีก้านครีบสั้นกว่า มีติ่งที่ตายาว ลายบนลำตัวเป็นบั้งขนาดใหญ่และมีจำนวนน้อยกว่าปลาสิงโตชนิดอื่น และเป็นสีแดงเข้มหรือสีคล้ำสลับกับลายสีจาง ครีบต่าง ๆ เป็นสีใสปนแดง ปลายครีบอกสีขาว มีขนาดความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุด 23 เซนติเมตร เป็นปลากินเนื้อ กินกุ้งและปลาขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ของเขตอินโด-แปซิฟิก, แอฟริกาใต้, หมู่เกาะริวกิว, นิวแคลิโดเนีย ในน่านน้ำไทยจัดเป็นปลาที่พบได้ไม่บ่อย โดยพบได้ที่ฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น เช่น หมู่เกาะสุรินทร์, หมู่เกาะสิมิลัน, หมู่เกาะอาดัง-ราวี เป็นต้น นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสิงโตปีกเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสินสมุทรบั้งเหลือง

ปลาสินสมุทรบั้งเหลือง หรือ ปลาสินสมุทรบั้ง หรือ ปลาพีค็อก (Royal angelfish, Regal angelfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pygoplites ตอนบนของหัวจะมีสีฟ้าอมเทา จมูก คางและอกเป็นสีเหลืองอ่อน ลำตัวมีสีส้มสดเป็นสีพื้นและมีแนวสีฟ้าอ่อน ขอบเข้มอีก 5-9 เส้นแนวพาดตรงจากหลังจรดบริเวณท้อง ครีบหางสีเหลืองสด ขณะที่ยังเป็นลูกปลาอยู่จะมีแถบสีอ่อนซึ่งมีขอบสีเข้ม 4 แถบพาดผ่านสีข้างช่วงตอนท้ายของครีบหลังจะมีปื้นสีเข้มขนาดใหญ่ ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร มักพบเป็นคู่หรืออยู่ลำพังเพียงตัวเดียว กินฟองน้ำและเพรียงหัวหอมเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อน แถบอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทย พบได้ในฝั่งทะเลอันดามัน จัดเป็นปลาชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามมาก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และแสดงตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสินสมุทรบั้งเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสินสมุทรหางเส้น

ปลาสินสมุทรหางเส้น หรือ ปลาสินสมุทรโคราน หรือ ปลาสินสมุทรลายโค้ง หรือที่นิยมเรียกกันในวงการปลาสวยงามว่า โครานแองเจิล หรือ บลูโคราน (Koran angel, Sixbanded angel, Semicircle angel, Half-circle angel, Blue koran angel, Zebra angel) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacanthus semicirculatus อยู่ในวงศ์ปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) มีลำตัวแบน ครีบหลังมี 2 ตอนเชื่อมต่อกัน โดยที่ครีบหลังยื่นยาวออกไปทางหาง ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อปลามีอายุเพิ่มมากขึ้น ครีบหูบางใส ครีบอกยาวแหลม ส่วนปลายครีบทวารยื่นยาวออกไปเช่นเดียวกับครีบหลัง ครีบหางโค้งเป็นรูปพัด พื้นผิวลำตัวของตัวอายุน้อยมีสีเหลืองอมน้ำตาล มีเส้นคาดตามขวางในแนวโค้งสีขาวและสีน้ำเงินมากกว่า 12 เส้น ลายเหล่านี้จะค่อย ๆ จางหายไปหมดเมื่อเจริญเต็มวัย โดยจะมีพื้นสีเหลืองอมเขียว แต้มด้วยจุดสีดำและสีน้ำเงินทั่วลำตัว ขอบแก้มและขอบครีบต่าง ๆ เป็นเส้นสีน้ำเงิน ซึ่งลวดลายและสีสันของปลาสินสมุทรหางเส้นวัยอ่อนนั้นจะคล้ายกับปลาสินสมุทรวงฟ้า (P. annularis) มาก หากแต่ลูกปลาสินสมุทรวงฟ้านั้น มีลวดลายบนตัวเป็นไปในลักษณะค่อนข้างตรง และครีบหางเป็นสีขาวหรือใสไม่มีสี ขณะที่ครีบหางของลูกปลาสินสมุทรหางเส้นจะมีลาย โดยลูกปลาจะเริ่มเปลี่ยนสีสันและลวดลายไปเหมือนตัวเต็มวัยเมื่อมีขนาดประมาณ 7-8 นิ้ว มีความยาวเต็มที่ประมาณ 36-40 เซนติเมตร นับเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ที่มีขนาดใหญ่ กระจายพันธุ์อยู่ตามเกาะแก่งและแนวปะการังใต้น้ำของมหาสมุทรอินเดีย และอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้ที่ทะเลอันดามัน แต่ไม่พบในฝั่งอ่าวไทย ลูกปลาวัยอ่อนจะกินสาหร่ายในแนวปะการังเป็นหลัก เมื่อเป็นปลาเต็มวัยจะกินฟองน้ำ, ปะการัง และสาหร่ายเป็นหลัก รวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอย่างอื่น อาทิ หนอนท่อ, กระดุมทะเล, ปะการังอ่อน และหอยสองฝา เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยถือเป็นปลาสินสมุทรที่เลี้ยงง่ายมากชนิดหนึ่ง เป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป ประกอบกับมีราคาไม่แพง เหมาะสำหรับผู้เลี้ยงปลาทะเลมือใหม่ แต่ควรเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่ที่มีความจุน้ำไม่ต่ำกว่า 400 ลิตร เนื่องจากเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ และเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวมาก โดยเฉพาะต่อปลาในสกุลเดียวกัน โดยปลาที่มีการซื้อขายกันในตลาดปลาสวยงามนั้น เป็นปลาที่ต้องจับรวบรวมจากทะเลทั้งนั้น.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสินสมุทรหางเส้น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ

ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ (Emperor angelfish) เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacanthus imperator อยู่ในวงศ์ปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มากชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ กล่าวคือ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร มีลายสีเหลืองสลับสีน้ำเงินตามความยาวลำตัว ลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยม และมีเงี่ยงที่บริเวณแผ่นปิดเหงือก มีแถบสีดำตัดด้วยเส้นสีน้ำเงินบาง ๆ ตั้งแต่บริเวณหน้าผากผ่านดวงตาลงมาและย้อนขึ้นไปตัดกับลายเส้นบนลำตัว ครีบและแก้มเป็นสีน้ำเงิน และปลายปากเป็นสีขาว มักพบในแหล่งที่น้ำใสของแนวปะการังที่สมบูรณ์ ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน แต่จะพบได้ในทะเลอันดามันมากกว่า เป็นปลาที่มักอยู่ลำพังตัวเดียวหรืออยู่เป็นคู่ ในความลึกตั้งแต่ 3-100 เมตร ในช่วงที่เป็นปลาวัยอ่อนนั้น จะมีสีน้ำเงิน มีเส้นลายสีขาวและมีลายก้นหอยบริเวณส่วนปลายของลำตัวใกล้โคนหาง และไม่มีสีเหลืองมาปะปน กระทั่งเติบโตขึ้น ครีบหางและครีบใต้ท้องด้านใกล้โคนหางก็จะเริ่มมีสีเหลืองและลวดลายของลำตัวก็จะเริ่มเปลี่ยนไป จนกระทั่งมีลวดลายและสีสันคล้ายกับปลาที่โตเต็มที่ขึ้นมาเรื่อย ๆ ตามวัย สันนิษฐานว่าเป็นไปเพื่อป้องกันตัวจากนักล่า เนื่องจากเป็นปลาที่ไม่ดูแลลูกอ่อน ปลาสินสมุทรจักรพรรดิเป็นปลาอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยจะต้องจับปลามาจากแหล่งกำเนิดในทะเล จัดว่าเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายชนิดหนึ่ง สามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ไม่ยาก โดยต้องทำการเลี้ยงในตู้ที่มีขนาดใหญ่กว่า 60 นิ้วขึ้นไป เนื่องจากเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งพฤติกรรมในที่เลี้ยง ปลาสินสมุทรจักรพรรดิเป็นปลาที่มีความก้าวร้าวต่อปลาชนิดเดียวกันหรือวงศ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน แต่มีความสุภาพต่อปลาในวงศ์อื่น ๆ ปลาสินสมุทรจักรพรรดิที่พบในอ่าวไทยหรือด้านมหาสมุทรแปซิฟิก มีความแตกต่างปลาสินสมุทรจักรพรรดิที่พบในทะเลอันดามัน หรือ มหาสมุทรอินเดีย คือ ไม่มี "เปีย" หรือชายครีบบนที่ยื่นยาวออกมาเป็นเส้นคล้ายกับปลาสินสมุทรวงฟ้า (P. annularis) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน โดยปลาที่มีเปียยื่นยาวออกมาจะมีราคาซื้อขายที่แพงกว่าพวกที่ไม่มี.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสินสมุทรจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสุดสาครจิ๋วลายเข้ม

ปลาสุดสาครจิ๋วลายเข้ม (Blacktail angelfish) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) มีรูปทรงลำตัวเป็นรูปไข่ ลำตัวมีสีเทา มีลายบั้งเป็นสีส้มพาดขวางทั้งลำตัว ปาก, ท้อง และครีบท้องสีเหลืองอมส้ม ด้านท้ายครีบหลังและครีบหางเป็นสีดำ ปลายครีบหางมีขลิบสีฟ้า มีความยาวโดยเฉลี่ย 10 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 15 เซนติเมตร เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามลำพังหรือเป็นฝูงขนาดเล็ก กินอาหารจำพวก ฟองน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบอาศัยอยู่ในตอนลึกในแนวปะการัง ตั้งแต่มหาสมุทรอินเดียตะวันออก, อินโดนีเซีย จนถึงตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยเป็นปลาที่พบได้เฉพาะทะเลอันดามัน จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาหมอส้ม".

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสุดสาครจิ๋วลายเข้ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสีกุนครีบยาว

ำหรับปลาผมนางสกุลอื่น ดูที่: ปลาผมนาง สำหรับปลามงแซ่ชนิดอื่น ดูที่: ปลาจุยจินขาว ปลาสีกุนครีบยาว หรือ ปลามงแซ่ หรือ ปลาผมนาง (Bumpnose trevally, Longfin trevally) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง หัวโต หน้าสั้น สันหัวโค้งนูน นัยน์ตาโต ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย คอดหางเล็กและสั้นมาก ครีบหลังมี 2 อัน อันแรกมีขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยมอันที่สองยาวมีปลายครีบอ่อนบางอันยืดยาวออกเป็นเส้นเดียวประมาณ 7 อัน คล้ายปลาผมนาง ครีบก้นส่วนที่เป็นก้านครีบอ่อนมีลักษณะเช่นเดียวกับครีบหลังอันที่สอง และมีหนามแหลมสั้น ๆ 2 อัน อยู่หน้าครีบก้น ครีบหูเรียวเป็นรูปเคียว ครีบหางเป็นแฉกลึก มีเกล็ดแข็งอยู่บริเวณโคนหางพื้นลำตัวสีขาว มีสีเหลืองอ่อนตามแนวเส้นข้างตัว ขอบกระดูกกระพุ้งเหงือกมีแถบสีดำเล็ก ๆ อยู่ข้างละแถบ ครีบหางสีเหลืองจัด ครีบอื่น ๆ สีน้ำตาลจาง ๆ เป็นปลาที่กินสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 32 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก พบตั้งแต่แอฟริกาใต้จนถึงญี่ปุ่น และซามัว ด้านฝั่งตะวันออก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้เนื้อเป็นอาหาร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสีกุนครีบยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสีขน

ปลาสีขน หรือ ปลาหางกิ่วหม้อ หรือ ปลากะมงตาแดง หรือ ปลากะมงตาโต (Bigeye trevally, Dusky jack, Great trevally) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) มีลำตัวค่อนข้างอ้วน ยาวเรียว หัวมีขนาดใหญ่และป้อม ปากกว้าง เกล็ดมีขนาดปานกลางบริเวณเส้นข้างลำตัวมีเกล็ดขนาดใหญ่แข็งคม โดยเฉพาะบริเวณโคนหาง ตามีขนาดใหญ่อยู่เกือบสุดปลายจะงอยปาก ครีบอกยาวเรียวแหลม ครีบหลังยาวแยกเป็นสองอัน อันที่เป็นก้านครีบแข็งสั้น อันอ่อนส่วนหน้ายกสูงขึ้นและมีขนาดใกล้เคียงกับครีบก้น ครีบท้องมีขนาดเล็กอยู่ใต้ครีบอก ครีบหางปลายเป็นแฉกลึก พื้นลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำเงินปนเขียว จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 120 เซนติเมตร หนัก 18 กิโลกรัม แต่ขนาดโดยเฉลี่ยราว 40-60 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตร้อน ได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่แคลิฟอร์เนีย, เอกวาดอร์, แอฟริกาใต้, ญี่ปุ่นทางตอนเหนือ จนถึงออสเตรเลียด้วย สำหรับในน่านน้ำไทยจะพบชุกชุมบริเวณช่องเกาะคราม, แสมสาร, เกาะเต่า ในฝั่งอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน โดยมักจะอยู่รวมกันบางครั้งอาจพบได้ใต้โป๊ะ เป็นต้น และพบได้ถึงแหล่งน้ำจืด เป็นปลาที่มีรสชาติดี จึงนิยมบริโภคเป็นอาหาร และตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในน้ำจืด หรือน้ำกร่อย โดยเลี้ยงกันตั้งแต่ยังเล็ก ๆ เหมือนเช่นปลากะมงพร้าว (C. ignobilis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า หน้า 123-128, Amphidromous story สุดยอดนักล่า ปลาสองน้ำ คอลัมน์ Wild Ambition โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์, กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสีขน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสีนวล

ปลาสีนวล หรือ ปลากะพงสลิดลายน้ำเงิน หรือ ปลาสลิดทะเลน้ำเงิน (Bluefish, Topsail drummer) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงสลิด (Kyphosidae) มีลำตัวหนาแบนข้าง รูปร่างเป็นทรงรูปไข่ ครีบหลังและครีบก้นตอนท้ายปลายเรียว ครีบหางเว้าลึก ครีบหลังแบ่งออกเป็นสองตอนชัดเจน เกล็ดมีขนาดเล็ก ปากมีขนาดเล็ก มีฟันซี่เล็ก ๆ เป็นขน ลำตัวสีเทาคล้ำ มีแถบสีน้ำตาลตามแนวเกล็ดหลายแถบ ครีบต่าง ๆ มีสีคล้ำ มีขนาดความยาวเต็มที่ได้ถึง 50 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 45 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, ฮาวาย, ทะเลญี่ปุ่น และตอนเหนือของออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยพบได้ชุกชุมทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ว่ายไปไหนมาไหนด้วยกันทั้งฝูง มักรวมตัวกันบริเวณกองหินหรือแนวปะการังใกล้ชายฝั่ง กินสาหร่ายเป็นอาหารหลัก เป็นปลาที่มีความสำคัญทางการประมงเพียงเล็กน้อ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาสีนวล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหางแข็ง

ปลาหางแข็ง หรือ ปลาแข้งไก่ (Torpedo scad, Hardtail scad, Finny scad, Finletted mackerel scad, Cordyla scad) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Megalaspis มีลำตัวเรียวยาวคล้ายกระสวย หัวค่อนข้างแหลมตากลมโต ปากกว้าง หางยาวเรียวและคอด บริเวณโคนหางมีเกล็ดแข็งที่มีลักษณะคล้ายขาไก่ หรือแข้งไก่ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ครีบหลังและครีบก้นมีครีบฝอย ครีบหูเรียวโค้งคล้ายเคียว ลำตัวสีน้ำเงินปนเขียว ด้านหลังมีสีเขียวเข้ม มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 80 เซนติเมตร และหนักได้ถึง 40.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาหางแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอมไข่ตาแดง

ปลาอมไข่ตาแดง (Spotted cardinalfish, Pajama cardinalfish, Pyjama cardinalfish) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอมไข่ (Apogonidae) เป็นปลาที่มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5-6 เซนติเมตร โดยปกติแล้วจะพบในทะเลอันดามัน แต่ไม่พบในน่านน้ำไทย พบได้ตั้งแต่ฟิจิ, ฟิลิปปิน, หมู่เกาะริวกิว จนถึงเกรตแบร์ริเออร์รีฟ เป็นปลาที่ไม่สามารถแยกเพศได้เมื่อมองจากลักษณะภายนอก นอกจากตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย เป็นปลาที่มีความสวยงามอีกชนิดหนึ่ง จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว แต่ปลาที่มีขายกันอยู่มักเป็นปลาที่ถูกจับมาจากแหล่งธรรมชาติในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นปลาที่เมื่อเทียบกับปลาอมไข่ครีบยาว (Pterapogon kauderni) แล้ว ถือว่าเลี้ยงง่ายกว่ามาก เพราะราคาถูก และสามารถกินอาหารสำเร็จรูปได้แทบทุกตัว โดยเมื่อลูกปลาฟักออกจากไข่แล้ว พ่อปลาจะคายลูกออกจากปากทันที ลูกปลาแรกฟักจะมีชีวิตเหมือนแพลงก์ตอน และจะเริ่มกินอาหารได้เมื่อมีอายุเข้าวันที่ 2-3 วัน โดยกินโรติเฟอร์ในช่วงแรก.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาอมไข่ตาแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอีโต้มอญ

ปลาอีโต้มอญ (Common dolphinfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Percifoemes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coryphaena hippurus จัดอยู่ในวงศ์ปลาอีโต้ (Coryphaenidae) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันเพียง 2 ชนิดเท่านั้น ปลาอีโต้มอญ มีลำตัวยาวเรียว แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นลำตัวจะกว้างขึ้นและแบนข้างเล็กน้อย หัวงุ้มลง ทำให้มีรูปร่างคล้ายมีดโต้ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีเกล็ดเล็กละเอียด ปากกว้างและเฉียงขึ้น ฟันเล็กละเอียด ครีบหลังยาวเริ่มตั้งแต่บริเวณโหนกหัวไปจนถึงโคนหาง ครีบหางใหญ่เว้าลึกรูปส้อม ตัวผู้มีโหนกหัวนูนออกไปข้างหน้าเป็นแนวตั้งฉากกับปากคล้ายกับโลมา อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ ส่วนตัวเมียจะมีโหนกหัวลาดลง ปลาขนาดโตเต็มวัยลำตัวมีสีน้ำเงินปนเขียว ข้างตัวมีจุดดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วลำตัว มีความยาวตั้งแต่ 40-100 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดมีความยาวถึง 150 เซนติเมตร เป็นปลาที่อยู่รวมตัวกันเป็นฝูงขนาดไม่ใหญ่ อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก และมักขึ้นมาหากินและหาอาหารบริเวณผิวน้ำ มักพบอยู่บริเวณข้างเกาะแก่ง ตามต้นไม้หรือกิ่งไม้หรือซากอวนที่ลอยมาตามน้ำ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่ปราดเปรียวว่องไว ว่ายน้ำได้เร็วมาก กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร เป็นปลาที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในการตกปลาเป็นเกมกีฬา เช่นเดียวกับปลากระโทง (Istiophoridae) หรือปลาทูน่า (Scombridae) เนื่องจากเป็นปลาที่สู้เบ็ดและมีความสวยงามเมื่อเวลาตก และนิยมจับเพื่อการประมงเชิงพาณิชย์ด้วย ซึ่งประเทศในแถบแคริบเบียนเป็นกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากปลาอีโต้มอญกลุ่มใหญ่ของโลก ส่วนหลาย ๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรปมีปริมาณการบริโภคเพิ่มมากขึ้นทุกปี และญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่บริโภคปลาชนิดนี้เป็นปริมาณมากเช่นกัน ปลาอีโต้มอญ ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ในภาษาไทย เช่น "หน้ามอม", "อีโต้", "มงเจ้าเลือด", "โต้มอญ" หรือ "สีเสียดอินเดีย" เป็นต้น ในขณะที่ภาษาฮาวายจะเรียกว่า "Mahi-mahi" ซึ่งเป็นชื่อที่เพิ่งใช้ไม่นานมานี้ โดยจะปรากฏบนเฉพาะบนเมนูอาหาร ในขณะที่ภาษาสเปนจะเรียกว่า "Dorado" ที่หมายถึง ทองคำ สถานะของปลาอีโต้มอญ ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) ได้จัดให้อยู่สถานะสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC).

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาอีโต้มอญ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาผีเสื้อจมูกยาวเหลือง

ปลาผีเสื้อจมูกยาวเหลือง หรือ ปลาผีเสื้อจมูกยาวขอบตาขาว (Yellow longnose butterflyfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มีส่วนปากยาวมาก ครีบหลังตอนหน้ามีก้านครีบยาว ลำตัวสีเหลืองสด หน้าและหัวสีคล้ำถึงครึ่งบนลูกตา ขอบตาด้านล่างขาวถึงจะงอยปากและข้างแก้ม มีจุดสีดำตรงด้านท้ายครีบก้น ครีบหางใส มีความยาวประมาณ 19 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังในทะเลเขตร้อน-เขตอบอุ่นทั่วโลก ตั้งแต่อินโดแปซิฟิก, ฮาวาย, ทะเลแดง, ทะเลคอร์เตซ, อเมริกาใต้, หมู่เกาะกาลาปากอส, ทะเลญี่ปุ่น, ไมโครนีเซีย ในน่านน้ำไทย เฉพาะฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่ กินโพลิปของปะการัง, หอย และหนอนทะเล เป็นอาหาร เป็นปลาผีเสื้ออีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และจัดแสดงตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาผีเสื้อจมูกยาวเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาผีเสื้อนกกระจิบ

ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Copperband butterflyfish, Beak coralfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelmon rostratus ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มีลำตัวแบนข้าง ลบลำตัวมีสีขาวคาดด้วยแถบสีส้มจำนวน 4 แถบ โดย 2 แถบแรกมีขอบสีดำตัดบาง ๆ ทั้งด้านหน้าและหลัง ปลายครีบบนและครีบล่างเจือด้วยปื้นสีส้ม โคนหางมีจุดสีดำเล็ก ๆ และมีจุดสีดำขนาดใหญ่บริเวณโคนครีบบนหนึ่งจุด คล้ายตา เพื่อใช้หลอกล่อศัตรูให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นดวงตาจริง ๆ ในขณะที่ดวงตาแท้ ๆ มีแถบสีส้มคาดเพื่ออำพรางไม่ให้ดูเด่นกว่าจุดวงกลมสีดำนั้น ปากยื่นยาวและมีขนาดเล็กคล้ายหลอด ใช้สำหรับดูดกินหรือแทะกินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังต่าง ๆ ที่อาศัยตามแนวปะการังที่หลบตามซอกหลีบได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วยังสามารถกินดอกไม้ทะเลแก้ว (Aiptasia spp.) ซึ่งเป็นดอกไม้ทะเลขนาดเล็กที่หนวดพิษสามารถทำร้ายปะการังได้ด้วย นับเป็นปลาที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศในทะเลชนิดหนึ่ง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแนวปะการังของมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก เช่น ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, หมู่เกาะริวกิว จนถึงออสเตรเลีย เป็นปลาที่ได้รับความนิยมในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม จัดเป็นปลาที่ราคาไม่แพง เลี้ยงง่าย แต่ไม่อาจจะฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้เหมือนปลาผีเสื้อชนิดอื่น ๆ ซึ่งผู้เลี้ยงต้องให้กินอาหารสด เช่น ไรทะเลหรือเนื้อหอยชนิดต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นปลาที่ต้องรวบรวมมาจากแหล่งน้ำรรมชาติ ซึ่งในปลาขนาดกลางที่ไม่เล็กไปหรือใหญ่ไป ราว ๆ 2.5-3.5 นิ้ว เป็นขนาดที่กำลังพอดีที่จะนำมาเลี้ยง เพราะปลาจะปรับตัวให้เข้ากับตู้เลี้ยงได้ไม่ยากนัก ไม่ตื่นกลัวเหมือนปลาใหญ่หรืออ่อนแอเกินไปเหมือนปลาขนาดเล็ก อนึ่ง ปลาผีเสื้อนกกระจิบนั้น ในแวดวงของการดำน้ำยังมีการเรียกปนกับปลาผีเสื้อจมูกยาวในสกุลปลาผีเสื้อจมูกยาว ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ปลาผีเสื้อจมูกยาวใหญ่ (Forcipiger longirostris) และปลาผีเสื้อจมูกยาวเหลือง (F. flavissimus) ซึ่งปลาทั้ง 2 ชนิดนั้นมีสีสันที่แตกต่างออกจากปลาผีเสื้อนกกระจิบพอสมควร โดยมีสีเหลืองสดเป็นสีพื้นเป็นหลัก.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาผีเสื้อนกกระจิบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจะละเม็ดขาว

ปลาจะละเม็ดขาว (White pomfret, Silver pomfret) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาจะละเม็ด (Stromateidae) มีรูปร่างป้อมสั้น เกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนหัวป้อมสั้น ตาค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กและเฉียงขึ้น ครีบหลังและครีบก้นมีความยาวของฐานเกือบเท่ากัน ครีบหางเว้า และปลายทั้งสองเรียวยาวเป็นรยางค์ ครีบอกยาว ปลาที่โตเต็มวัยจะไม่มีครีบท้อง เกล็ดมีลักษณะเล็กบางและหลุดง่าย สันหลังสีเทาปนสีขาวเงิน ส่วนที่อยู่ใต้ลงมาจะมีสีจางลง บริเวณท้องจะเป็นสีขาวเงิน ปลายของครีบท้องมีแถบสีดำ ครีบอื่น ๆ สีเหลือง มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 60 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง, เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงทะเลญี่ปุ่น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง มักหากินอยู่ตามพื้นหน้าดินที่มีน้ำใส พื้นเป็นทรายปนโคลน บางครั้งเข้าไปหากินในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย ในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งในฝั่งอ่าวไทย และบริเวณหมู่เกาะอ่างทองมีอยู่ชุกชุม รวมถึงฝั่งทะเลอันดามันด้วย โดยอาหารที่ชื่นชอบ คือ แมงกะพรุนขนาดเล็ก มีชื่ออื่น ๆ เรียกอีก เช่น "ปลาแปะเชีย" (银鲳) ในภาษาแต้จิ๋ว เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย เช่น นึ่ง, นึ่งบ๊วย, นึ่งซีอิ๊ว หรือทอ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาจะละเม็ดขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่าง

ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่าง (Scribbled pipefish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathidae) เป็นปลาจิ้มฟันจระเข้ชนิดหนึ่ง มีลำตัวเรียวยาว จะงอยปากสั้น ตาโต ครีบหลังอยู่ตอนกลางลำตัว ครีบหางเล็กปลายมน ครีบอกเล็ก ตามลำตัวเป็นสันเล็ก ๆ เป็นปล้องตลอดลำตัวไปจนโคนหาง มีลำตัวสีเทาอมเขียวหรือสีฟ้า และมีลายเส้นเป็นสีคล้ำหรือดำ ครีบต่าง ๆ ใสโปร่งแสง ครีบหางสีแดงเรื่อ ๆ มีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร พบยาวเต็มที่ได้ถึง 19.8 เซนติเมตร ในตัวผู้ อาศัยอยู่ตามกอสาหร่ายหรือกองหินใต้น้ำ หรือแนวปะการัง ในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่แอฟริกาตะวันออก จนถึงวานูอาตู ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จัดเป็นปลาที่พบได้ไม่บ่อยนัก เป็นปลาที่กินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร ตัวผู้จะเป็นฝ่ายฟักไข่โดยติดไว้ที่หน้าท้องเป็นแพ โดยทุก ๆ เช้า ตัวเมียที่มีไข่เต็มท้องจะออกมาจากที่อาศัยเพื่อว่ายคลอเคลียกับตัวผู้เพื่อทำความคุ้นเคย ทั้งคู่จะว่ายพันกันไปมา และตัวผู้จะใช้โอกาสนี้ย้ายไข่ของตัวเมียมาไว้ที่หน้าท้องของตัวเอง โดยไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัว 10 ตัว ซึ่งตัวเมียสามารถผลิตไข่ชุดใหม่ได้เลยภายใน 20 วัน ดังนั้นปีหนึ่ง ๆ ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่างจึงสามารถผลิตลูกได้เยอะมาก นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่าง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจใบไม้

ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจใบไม้ (Green ghost pipefish, Bluefinned ghost pipefish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ (Solenostomidae) มีจะงอยปากยาว ลำตัวแบนข้างเล็กน้อยคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ (S. paradoxus) แต่ตามตัวไม่มีติ่งเนื้อสั้น ๆ สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมได้ ทั้งสีน้ำตาล, น้ำตาลแดง หรือสีเขียว มีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร โตเต็มที่ได้ถึง 15 เซนติเมตร พบว่าเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดของวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ พบกระจายพันธุ์ตามแนวปะการัง, กอหญ้าทะเล, ปะการังอ่อน หรือกัลปังหา กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก พบได้จนถึงอินโดนีเซียและออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยจัดเป็นปลาที่พบได้น้อยมาก โดยพบได้เฉพาะทะเลอันดามันเท่านั้น มีพฤติกรรมลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ อาศัยอยู่รวมกันเป็นคู่ กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนสัตว.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจใบไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจิ้มฟันจระเข้เขียว

ปลาจิ้มฟันจระเข้เขียว หรือ ปลาจิ้มฟันจระเข้ท้องคม (Alligator pipefish, Horned pipefish, Twobarbel pipefish, Spiraltail pipefish) เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง จำพวกปลาจิ้มฟันจระเข้ (Syngnathinae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Syngnathoides ลำตัวเป็นปล้อง 15-18 ปล้อง มีปล้องส่วนหาง 40-45 ปล้อง ทั้งสันส่วนบนและส่วนล่างต่อเนื่องกับสันของส่วนหางที่อยู่ในแนวเดียวกัน ส่วนท้ายของสันด้านข้างลำตัวโค้งขึ้นสู่ด้านหลังและสิ้นสุดใกล้กับฐานครีบหลัง ลำตัวแบนจากบนลงล่าง ส่วนกลางของลำตัวกว้างที่สุด ปลายหัวตามแนวกลางมีสันแข็งไม่สูงและขอบเรียบ สันแข็งบริเวณท้ายทอยมักมีหนามแหลม ๆ เล็ก ๆ บนขอบ จุดกำเนิดของครีบหลังอยู่ตรงปล้องลำตัว ไม่มีครีบหาง ปลายหางสามารถม้วนงอได้ มีสีลำตัวสีเขียวจนถึงสีน้ำตาลหรือสีเทา และมีแต้มสีเข้มที่ไม่แน่นอนตางกันไปตามแต่ละตัว มีความยาวเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามกอสาหร่ายและหญ้าทะเล โดยมักจะเอาส่วนหางเกาะเกี่ยวกับใบของพืชเหล่านี้ไม่ให้ไหลไปกับกระแสน้ำ แล้วตั้งตัวเป็นมุมฉากเพื่อหลีกเลี่ยงศัตรูผู้ล่าและดักจับแพลงก์ตอนสัตว์กินเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ปัจจุบัน เป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามตามตู้ปลาหรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาจิ้มฟันจระเข้เขียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทู

ปลาทู, ปลาทูตัวสั้น หรือ ปลาทูสั้น เป็นปลาทูชนิดที่ชาวไทยนิยมบริโภคมากที.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาทู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทูปากจิ้งจก

ปลาทูปากจิ้งจก เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งในสกุลปลาทู (Rastrelliger) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาลังหรือปลาทูโม่ง (R. kanagurta) แต่มีขนาดความยาวเท่าปลาทู (R. neglectus) ความกว้างของลำตัวน้อยกว่าปลาลัง ปากแหลม ด้านบนลำตัวมีสีน้ำเงิน แวววาว ด้านท้องมีสีขาวเงิน มีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในน่านน้ำไทยทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยกินแพลงก์ตอนเป็นอาหารในระดับผิวน้ำและกลางน้ำ ปลาทูปากจิ้งจกมีเนื้อหยาบแข็ง รสชาติไม่อร่อย ดังนั้นจึงไม่เป็นที่นิยมรับประทาน แต่บางครั้งอาจพบเห็นขายปะปนมากับปลาทูชนิดอื่น ๆ โดยรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) รายงานว่าปลาทูปากจิ้งจกไม่ใช่ปลาเศรษฐกิจ แต่ในรายงานของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (ไอยูซีเอ็น) รายงานว่าในแต่ละปีมีการจับรวมเป็นน้ำหนักมากกว่า 800,000 ตัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาทูปากจิ้งจก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทูน่าเขี้ยวหมา

ปลาทูน่าเขี้ยวหมา หรือ ปลาโอฟันหมา (Dogtooth tuna, Scaleless tuna) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอ หรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง ที่มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Gymnosarda มีรูปร่างเพรียวยาวเป็นทรงกระสวยหรือตอร์ปิโดป้อม ครีบหลังตอนท้ายคล้ายกับของปลาทู ครีบหางเว้าลึก โคนครีบมีสันเล็ก ๆ ผิวเรียบ บริเวณครีบอกมีแถบเกล็ดหนา ครีบอกมีขนาดเล็ก ลำตัวสีเงินอมฟ้า มีลายเส้นสีคล้ำที่ด้านท้าย ด้านท้องสีจาง ครีบสีคล้ำ มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 100 เซนติเมตร หรือ 1 เมตร โตเต็มที่ได้ถึง 160 เซนติเมตร หรือ 1.6 เมตร เป็นปลาที่อาศัยอยู่ลำพังเพียงตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในระดับกลางน้ำในทะเลเปิดในแนวปะการังที่ค่อนข้างลึก หรือข้างเกาะ พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้เฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน เป็นปลาที่พบได้น้อย นิยมตกเป็นเกมกีฬา และบริโภคเป็นปลาเศรษฐก.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาทูน่าเขี้ยวหมา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน คือ ชนิดของปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า แม่น้ำสาละวิน นับเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่มีความยาว 2,800 กิโลเมตร มีจุดกำเนิดที่เทือกเขาหิมาลัยไหลผ่านประเทศจีน, พม่า, ไทย และไหลลงมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ มีความหลากหลายของชนิดปลาที่พบได้ในแม่น้ำแห่งนี้ ซึ่งรวมถึงแควสาขาของแม่น้ำด้วย เช่น แม่น้ำปาย, แม่น้ำเมย, แม่น้ำยวม, แม่น้ำกษัตริย์, แม่น้ำสุริยะ และรวมไปถึงแม่น้ำอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น แม่น้ำบีคลี, แม่น้ำซองกาเลีย, แม่น้ำรันตี โดยหลายชนิดเป็นปลาในสกุลที่พบได้มากในประเทศอินเดียและอนุทวีปอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกัน หลายชนิด หลายสกุลก็เป็นปลาที่พบเฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินที่เดียวด้ว.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาขี้ตังเบ็ดลาย

ปลาขี้ตังเบ็ดลาย (Clown surgeonfish, Lined surgeonfish, Striped surgeonfish) หรือที่นิยมเรียกกันในวงการปลาสวยงามว่า ปลาเซอร์เจี้ยนลาย เป็นปลาทะเลที่มีความสวยงามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด (Acanthuridae) มีสีสันและลวดลายที่สวยงามหลากหลายบนลำตัว ที่เป็นลายเส้นในแนวนอนทั้งเขียว, เหลือง, ดำ และน้ำเงิน พาดไปตามลำตัวตั้งแต่หัวจรดหาง ครีบหางแฉกปลายแหลมทั้งสองข้าง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 38 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังของเขตอบอุ่นตั้งแต่ชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออก จนถึงทะเลอันดามัน และอินโด-แปซิฟิก มีพฤติกรรมชอบที่อาศัยอยู่เพียงตัวเดียว หรือรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยมีตัวผู้เพียงตัวเดียว รวมกับตัวเมียหลายตัว โดยตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียและเจริญเติบโตเร็วกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด เมื่อผสมพันธุ์จะกระทำในคืนที่พระจันทร์เต็มดวง ที่น้ำขึ้นอย่างเต็มที่ ด้วยการปล่อยไข่และอสุจิให้ปฏิสนธิกันในกระแสน้ำ และปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปกับกระแสน้ำ จนกระทั่งลูกปลาฟักออกมาเป็นตัว เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน เช่น ปลาขี้ตังเบ็ดโซฮาล (A. sohal) หรือปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า (Paracanthurus hepatus) แต่จัดเป็นปลาที่เลี้ยงได้ยากชนิดหนึ่ง เนื่องจากปลาที่ถูกจับจากแหล่งน้ำธรรมชาติมักไม่ค่อยยอมรับอาหารและไม่อาจปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในที่เลี้ยงได้ จะมีเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่สามารถจะยอมกินอาหารได้ และในอีกหลาย ๆ ตัวเมื่อเลี้ยงไปสักระยะหนึ่ง กลับตายอย่างไร้สาเหต.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาขี้ตังเบ็ดลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกทะเลลาย

ปลาดุกทะเลลาย หรือ ปลาดุกทะเลแถบ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปลาดุกทะเล (Striped eel catfish) เป็นปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plotosus lineatus (มาจากภาษากรีก Plotos หมายถึง "ว่ายน้ำ" และ lineatus หมายถึง "ลายแถบ") อยู่ในวงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae) มีรูปร่างเรียวยาวด้านข้างแบน ส่วนหัวแบนลงมีหนวด คู่ครีบหลังและครีบหูมีก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง มีลักษณะเป็นฟันเลื่อย ไม่มีครีบไขมัน ส่วนหัวแบนยาวเรียวแหลมครีบหลังอันที่สอง ครีบก้นและครีบหางติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจอยู่ที่รูก้น ด้านหลังลำตัวมีสำดำปนน้ำตาล ด้านท้องมีสีขาว ปลาขนาดเล็กจะมีลายแถบสีขาวปนเหลือง 3 แถบพาดไปตามยาวลำตัว เมื่อโตขึ้นแถบเหล่านี้จะเลือนหายไปกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนแทน โดยที่ปลาดุกทะเลชนิดนี้ ตามเงี่ยงแข็งในแต่ละครีบนั้นมีพิษร้ายแรงมาก ถึงขนาดมีรายงานแทงมนุษย์จนถึงขั้นเสียชีวิตมาแล้ว มีความยาวเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร แต่ขนาดที่พบทั่วไปคือ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตั้งแต่ทะเลแดง, ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และพบในทะเลสาบน้ำจืดของทวีปแอฟริกา เช่น ทะเลสาบมาลาวี และมาดากัสการ์ด้วย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมถึงในปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปลาวัยอ่อนจะอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในทะเลใกล้ชายฝั่ง ในแนวปะการังหรือตามกอสาหร่าย เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน โดยมักจะขุดรูอยู่ในดินหรือเลนใกล้ชายฝั่ง เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และนิยมนำมาบริโภคกันโดยปรุงสุด แต่เนื้อมีกลิ่นคาวจึงมักจะนำไปปรุงประเภทรสจัดเช่น ผัดฉ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาดุกทะเลลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะลุมพุก

ทความนี้หมายถึงปลา ส่วนตะลุมพุกในความหมายอื่นดูที่: ตะลุมพุก ปลาตะลุมพุก หรือ ปลากระลุมพุก หรือ ปลาหลุมพุก (ใต้) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่เข้ามาวางไข่ในน้ำจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tenualosa toli ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae).

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาตะลุมพุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะคอง

ระวังสับสนกับ: ปลาตะคองจุดเหลือง ปลาตะคอง หรือ ปลาตะคองเหลือง หรือ ปลาทูทอง (Golden trevally, Golden toothless trevally, Yellow jack) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Gnathanodon มีลำตัวด้านข้างแบนข้างมาก ลักษณะลำตัวค่อนไปทางยาวแบนคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เกล็ดมีขนาดเล็ก ใต้ท้องไม่มีเกล็ด ในปลาวัยอ่อนมีสีเหลืองทอง มีแถบสีดำเล็ก ๆ พาดตามแนวตั้ง ซึ่งจะค่อย ๆ ลดจำนวนและจางลงเมื่อปลาโตขึ้น หัวมีลักษณะกลมป้าน จะงอยปากกลมมน ปากกว้าง ไม่มีฟัน ครีบทุกครีบเป็นสีเหลือง ปลายครีบสีดำ ขนาดโดยทั่วไปประมาณ 50–70 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 120 เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงในแนวปะการังและกองหิน พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งแต่ชายฝั่งแคลิฟอร์เนียจนถึงเอกวาดอร์, มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ตลอดจนการเลี้ยงดูไว้ดูเล่นตามบ้าน โดยเฉพาะในลูกปลาที่มีแถบสีดำ เพราะมีสีสันสวยงามและมีความแวววาวบนลำตัว อีกทั้งสามารถเลี้ยงในน้ำที่มีสภาพเป็นน้ำกร่อย ที่มีปริมาณความเค็มต่ำได้ โดยจัดเป็นปลาน้ำกร่อยที่เลี้ยงได้ง่ายมากอีกชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาตะคอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะคองจุดเหลือง

ระวังสับสนกับ: ปลาตะคองเหลือง ปลาตะคองจุดเหลือง (Island trevally, Yellow-spotted trevally, Thicklip trevally) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) มีรูปร่างแบนข้างและกว้างปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน ครีบหลังและครีบก้นมีปลายเรียวยาว ลำตัวมีสีเงินเทาหรือเงินอมเหลือง กลางลำตัวมีจุดสีเหลืองสดอันเป็นที่มาของชื่อ มีขนาดโดยเฉลี่ย 20 เซนติเมตร แต่พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 75 เซนติเมตร น้ำหนัก 6.6 กิโลกรัม เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามลำพังหรือเป็นฝูงตั้งแต่แนวปะการัง จนถึงชายฝั่งจนถึงหิ้งไหล่ทวีป ในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่โมซัมบิก จนถึงฮาวาย, หมู่เกาะเซเชลส์ และหมู่เกาะเรบียาคีเคโด ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เป็นปลาที่พบได้บ่อย กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร จัดเป็นปลาเศรษฐกิจเหมือนกับปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาตะคองจุดเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตั๊กแตนหินสองสี

ปลาตั๊กแตนหินสองสี หรือ ปลาตุ๊ดตู่สองสี (Bicolor blenny) ปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตั๊กแตนหิน (Blenniidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาบู่ แต่ตัวป้อมสั้นกว่าและแบนข้าง ริมฝีปากหนา เหนือตามีติ่งสั้น ๆ เป็นเส้น ครีบหลังเว้าเป็นสองตอน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเป็นเส้นเล็ก ลำตัวแบ่งเป็นสีสองสีชัดเจน คือ ลำตัวช่วงแรกเป็นสีเทา ขณะที่ด้านหลังเป็นสีส้ม มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 10-12 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในโพรงหินหรือซอกหินในแนวปะการัง ในความลึกระดับ 1-21 เมตร กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์น้ำหน้าดินขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบฟิจิ, อินโดนีเซีย และศรีลังกา ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จัดเป็นปลาที่พบได้บ่อย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาตั๊กแตนหินสองสี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้ม

ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้ม (Midas blenny, Persian blenny) ปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตั๊กแตนหิน (Blenniidae) เป็นปลาจำพวกปลาตั๊กแตนหิน หรือปลาเบลนนี่ มีลักษณะคล้ายปลาบู่ แต่ปากมีขนาดเล็ก เหนือตามีเส้นเป็นติ่งสั้น ๆ ไม่มีเกล็ด ครีบท้องเป็นเส้น ครีบหลังตอนเดียว ครีบหางมีลักษณะเหมือนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ตามีสีน้ำเงินอมฟ้า ครีบหลังเป็นสีเหลืองทองขอบฟ้า ตอนหลังสีเหลืองทอง ส่วนท้องสีชมพู มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 12 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการัง อาศัยอยู่ตามซอกหิน กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก กระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ทะเลแดงจนถึงโพลีนีเซีย ในน่านน้ำไทยเป็นปลาที่พบได้ไม่บ่อย พบได้เฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน เป็นปลาอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตาเดียว

ปลาตาเดียว เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psettodes erumei อยู่ในวงศ์ปลาตาเดียว (Psettodidae) อันดับปลาซีกเดียว (Pleuronectiformes) มีรูปร่างยาวรี หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาทั้งสองข้างอยู่ใกล้กันและอยู่บนซีกเดียวกับตำแหน่งของตาซึ่งอยู่ค่อนไปทางส่วนบนของลำตัว ปากกว้างและเฉียงขึ้น มีฟันแหลมคมแบบฟันเขี้ยวเห็นชัดเจนอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังนัยน์ตา ครีบหลัง ครีบหางและครีบก้นไม่เชื่อมติดกัน ครีบหางมีปลายเว้าเป็นสองลอน มีพื้นลำตัวด้านมีนัยน์ตาเป็นสีน้ำตาลเข้มตลอดทั้งตัว ส่วนซีกล่างมีสีขาว สามารถปรับเปลี่ยนสีลำตัวได้ตามสภาพแวดล้อม มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 64 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 18-50 เซนติเมตร นับว่าเป็นชนิดที่มีความใหญ่ที่สุดของวงศ์นี้ โดยพบน้ำหนักมากที่สุดคือ 9,000 กรัม พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ชายฝั่งของทวีปแอฟริกา, ทะเลแดง, มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวไทย, ทะเลอันดามัน, ทะเลญี่ปุ่น จนถึงออสเตรเลีย โดยกินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าตามพื้นน้ำหรือพื้นทรายในเวลากลางคืนเป็นอาหาร พบได้ตั้งแต่ความลึก 1-100 เมตร ปลาตาเดียวนับเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะมีขนาดลำตัวใหญ่ เนื้อเยอะ จึงมักนิยมทำเป็นอาหาร โดยนอกจากชื่อตาเดียวแล้วยังมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น "จักรผาน", "หน้ายักษ์", "ซีกเดียว", "ใบขนุน" หรือ "โทต๋า" เป็นต้น.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาตาเดียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตีน

ปลาตีน คือปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อย Oxudercinae ในวงศ์ปลาบู่ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามชายทะเลโคลนและป่าชายเลนในเขตร้อนตั้งแต่เขตมหาสมุทรแอตแลนติก ชายฝั่งแอฟริกาจนถึงเอเชียแปซิฟิก มีความยาวลำตัวแตกต่างออกไปตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร ในชนิด Zappa confluentus จนถึงเกือบหนึ่งฟุต ในชนิด Periophthalmodon schlosseri.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาตีน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลาม

ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามพยาบาลสีน้ำตาล

ปลาฉลามพยาบาลสีน้ำตาล หรือ ปลาฉลามขี้เซาสีน้ำตาล (Tawny nurse shark, Nurse shark, Sleepy shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nebrius ferrugineus (นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ปลาฉลามพยาบาล หรือ ปลาฉลามขี้เซา) อยู่ในวงศ์ Ginglymostomatidae เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Nebrius จัดเป็นปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes หรือปลาฉลามหน้าดินขนาดใหญ่ จะงอยปากยื่นยาว ตาเล็กมาก มีรูหายใจเล็ก ๆ อยู่หลังตา ครีบใหญ่ ปลายครีบแหลม ครีบอกโค้งยาว ครีบหางยาว มีครีบก้น ลำตัวสีน้ำตาลเข้มหรือสีเทาอมน้ำตาลอ่อน และอาจมีจุดกระสีดำเล็ก ๆ กระจายไปทั่ว ซึ่งในครั้งหนึ่งเคยสร้างความสับสนให้แก่แวดวงวิชาการว่ามี 2 ชนิดหรือไม่ แต่ในปัจจุบันได้จัดแบ่งออกมาเป็นอีกชนิด คือ ปลาฉลามพยาบาล (Ginglymostoma cirratum) ซึ่งเป็นปลาฉลามพยาบาลชนิดที่พบได้ในทวีปอเมริกา มีขากรรไกรที่แข็งแรง ในปากมีฟันที่แบนและงุ้มเข้าภายใน ใช้สำหรับงับอาหารซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็กกว่าตามหน้าดินและสัตว์มีกระดองและมอลลัสคาต่าง ๆ รวมถึงหอยเม่นให้อยู่และกัดให้แตก โดยใช้อวัยวะที่คล้ายหนวดเป็นเครื่องนำทางและเป็นประสาทสัมผัส จะใช้วิธีการกินด้วยการดูดเข้าปาก เป็นปลาที่อาศัยและหากินตามพื้นน้ำในความลึกไม่เกิน 70 เมตร ตามกองหินหรือแนวปะการังใต้น้ำ บางครั้งพบได้ใกล้ชายฝั่งหรือป่าชายเลน เนื่องจากเข้ามาหาอาหารกินVacation Nightmares, "Dangerous Encounters".

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาฉลามพยาบาลสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามกบ

ปลาฉลามกบ หรือ ปลาฉลามปล้องอ้อย (Brownbanded bamboo shark, Banded cat shark) เป็นปลาฉลามขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chiloscyllium punctatum อยู่ในวงศ์ Hemiscylliidae มีลำตัวและหางเรียวยาว จะงอยปากกว้างอยู่บริเวณด้านหน้าของตาทั้ง 2 ข้าง ตามีขนาดเล็ก ครีบหางแฉกบนโค้งเรียวยาวกว่าแฉกล่าง ในลูกปลาวัยอ่อนจะมีลายเป็นแถบสีขาวสลับดำคาดตามขวางลำตัวและจะค่อย ๆ จางลงเมื่อโตขึ้นและกลายเป็นสีน้ำตาลแทน และมีอวัยวะคล้ายหนวดบริเวณส่วนหน้าด้วย จึงได้อีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ปลาฉลามแมว" ขนาดเมื่อโตเต็มที่ความยาวที่เคยพบสูงสุด คือ 121 เซนติเมตร พบทั่วไปตามพื้นทรายแนวปะการังในเขตน่านน้ำอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ อินเดีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, จีน, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์ จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย และไทย พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาฉลามที่หากินอยู่บริเวณหน้าดิน มีพฤติกรรมชอบอยู่นิ่ง ๆ กินแต่พืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร ออกลูกเป็นไข่ โดยที่ตัวเมียจะไม่ดูแลไข่ แต่จะวางไข่อยู่บริเวณแนวปะการังที่มีสาหร่ายล้อมรอบอยู่ และสร้างเปลือกไข่ที่แข็งแรงเพื่อปกป้องตัวอ่อน จัดเป็นปลาทะเลอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม จากการที่เป็นปลาขนาดเล็กและสีสันที่สวยงาม ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในตู้เลี้ยง ตั้งแต่ยังเป็นไข่ โดยมีการเพาะฟักจนกลายเป็นปลาวัยอ่อนและนำไปปล่อยคืนสู่ทะเลเพื่อเป็นการอนุรักษ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาฉลามกบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหลังหนามหนามสั้น

ปลาฉลามหลังหนามหนามสั้น (Shortspine spurdog, Green-eye spurdog) เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาฉลามน้ำลึก (Squalidae) ปลาฉลามหลังหนามหนามสั้นเป็นปลาฉลามที่มีขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่มีขนาดไม่เกิน 1 เมตร มีลักษณะเด่น คือ ครีบหลังมีก้านครีบที่เป็นหนามแหลม อันเป็นที่มาของชื่อ ปลาฉลามหลังหนามหนามสั้น เป็นปลาที่หาอาศัยและหากินบริเวณหน้าดินที่เป็นโขดหินในจุดที่ลึกมากถึง 950 เมตร แต่ส่วนใหญ่จะพบในความลึกประมาณ 100-700 เมตร เช่น ไหล่ทวีป แต่บางครั้งอาจพบได้ที่บริเวณชายฝั่ง แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย จนถึงตอนใต้ของออสเตรเลีย ในเขตน่านน้ำไทยจะพบได้ในทะเลอันดามัน ในบริเวณไหล่ทวีปที่ลึกประมาณ 90 เมตร เป็นปลาที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร สามารถจับได้ด้วยอุปกรณ์ประมงแบบน้ำลึก และใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้ เช่น ทำน้ำมันปลา และผิวหนังนำไปทำเป็นกระดาษทร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาฉลามหลังหนามหนามสั้น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหิน

ปลาฉลามหิน หรือ ปลาฉลามกบ (Grey bamboo shark, Bamboo cat shark) เป็นปลาทะเลกระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลาม อยู่ในวงศ์ Hemiscylliidae มีลักษณะคล้ายกับปลาฉลามกบ (C. punctatum) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีขนาดยาวเต็มที่ไม่เกิน 1 เมตร พบได้ทั่วไปในพื้นทะเลทุกสภาพ ไม่ว่าจะเป็นพื้นทราย, พื้นโคลน หรือทรายปนโคลน กระจายพันธุ์อย่างกว้างไกลตั้งแต่ทะเลอาหรับ, ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลญี่ปุ่น, ทะเลตะวันออก, ทะเลฟิลิปปิน, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เมื่อยังเป็นลูกปลาวัยอ่อน จะมีสีสันและลวดลายสวยงาม โดยจะมีสีขาวเป็นสีพื้น และมีสีดำสลับเป็นปล้อง ๆ จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ปลาฉลามปล้องอ้อย" แต่เมื่อโตขึ้นแล้วลวดลายเหล่านี้จะหายไป เหลือเพียงแค่ลำตัวสีเขียวหรือเทาตลอดทั้งลำตัว และมีจุดกระสีดำเป็นจุด ๆ ทั้งลำตัวไปจรดปลายหาง เป็นปลาฉลามที่ออกลูกเป็นไข่ โดยลักษณะไข่เป็นกระเปาะคล้ายแคปซูลรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเปลือกเหนียวและมีเส้นใยไว้ยึดติดกับวัสดุใต้น้ำ ลูกปลาจะใช้เวลาในการพัฒนาตัวในกระเปาะไข่ประมาณ 12 สัปดาห์ โดยกินอาหารจากถุงไข่แดง และเมื่อฟักออกมาแล้วจะสามารถหาอาหารกินได้เองเลย ซึ่งได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่หน้าดินพื้นทะเล จัดเป็นปลาฉลามที่มีขนาดเล็ก และมีสีสันสวยงามโดยเฉพาะเมื่อยังเล็ก จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ซึ่งสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง ซึ่งการขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงเมื่อแม่ปลาออกไข่มาแล้ว จะเก็บขึ้นมาอนุบาลในบ่อที่มีกระแสน้ำไหลเวียนและมีคุณภาพดี จนกว่าลูกปลาจะฟักออกมาเป็นตัว.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาฉลามหิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามครีบดำ

ปลาฉลามครีบดำ หรือ ปลาฉลามหูดำ (Blacktip reef shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเพรียวยาว ปากกว้าง มีแถบดำที่ครีบหลัง ครีบไขมัน ครีบก้น และครีบหางตอนล่าง เป็นที่มาของชื่อ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยไม่ดุร้ายเมื่อเทียบกับปลาฉลามชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณใกล้ชายฝั่ง และอาจเข้ามาในบริเวณน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำ โดยสามารถเข้ามาหากินใกล้ชายฝั่ง แม้กระทั่งในพื้นที่ ๆ มีน้ำสูงเพียง 1 ฟุต เป็นปลาหากินในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวพักผ่อนตามแนวปะการัง โดยจะหากินอยู่ในระดับน้ำความลึกไม่เกิน 100 เมตร ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ตัวเมียตั้งท้องนาน 18 เดือน ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 2-4 ตัว เมื่อโตขึ้นมาแล้วสีดำตรงที่ครีบหลังจะหายไป คงเหลือไว้แต่ตรงครีบอกและครีบส่วนอื่น ปลาฉลามครีบดำ นับเป็นปลาฉลามชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในทะเล และเป็นต้นแบบของปลาฉลามในสกุลปลาฉลามปะการัง มีนิสัยเชื่องคน สามารถว่ายเข้ามาขออาหารได้จากมือ เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้ที่นิยมการดำน้ำ พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นิยมใช้บริโภคโดยเฉพาะปรุงเป็นหูฉลาม เมนูอาหารจีนราคาแพง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้ว.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซาร์ดีนแปซิฟิก

ปลาซาร์ดีนแปซิฟิก หรือ ปลาซาร์ดีนอเมริกาใต้ (South American pilchard, Pacific sardine, California sardine, Chilean sardine, Japanese sardine, South African sardine, Monterrey sardine) เป็นปลาทะเลจำพวกปลาซาร์ดีนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sardinops sagax อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Sardinops และเป็นปลาที่มีชื่อพ้องจำนวนมาก มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาซาร์ดีนยุโรป (Sardina pilchardus) ซึ่งพบในภาคพื้นยุโรป แต่มีความยาวกว่า คือ ยาวได้ถึงเกือบ 40 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไป คือ 20 เซนติเมตร ครีบหลังและครีบก้นไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบก้นมีกานครีบอ่อน 12-23 ก้าน มีกระดูกสันหลัง 48-53 ท่อน มีรูปร่างยาวทรงกระบอกและกลม ลำตัวมีสีฟ้าอมเขียวเหลือบขาว ลำตัวด้านข้างท่อนบนมีจุดสีคล้ำเป็นแถว มีแผ่นกระดูกปิดเหงือกที่แตกต่างไปจากปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการแยกชนิดได้ชัดเจน มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ในแถบอินโด-แปซิฟิก ทั้ง อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลญี่ปุ่น, ทะเลฟิลิปปิน, ทะเลจีนใต้, ทะเลซูลู จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยปลาที่พบในนิวซีแลนด์จะมีขนาดความยาวของลำตัวใหญ่กว่าที่อื่น และมีไข่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาซาร์ดีนแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวตาเขียว

ปลาซิวตาเขียว หรือ ปลาซิวเขียว (Yellow neon rasbora, Green neon rasboara) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวสั้นและแบนข้างมากกว่าปลาซิวทั่ว ๆ ไป ตามีขนาดกลมโต ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดเล็กสีเงินแววาวอมเหลืองอ่อน ตามีสีเหลือบเขียวอ่อน ลำตัวค่อนข้างใส ครีบใส ครีบหางมีขอบสีคล้ำ มีขนาดโดยทั่วไป 2-3 เซนติเมตร มีพฤติกรรมรวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ใกล้กับบริเวณผิวน้ำ โดยพบได้เฉพาะในลำธารในป่าดิบ ในบริเวณที่เป็นคุ้งน้ำใส เดิมทีเคยพบได้เฉพาะในพื้นที่จังหวัดระนองและตลอดจนภาคใต้ฝั่งอันดามันของไทย แต่ปัจจุบันได้มีการนำไปปล่อยในแม่น้ำแควน้อย, แม่น้ำซองกาเลีย และแม่น้ำกษัตริย์ อันเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างไทยกับพม่า ในแถบจังหวัดตากและกาญจนบุรี ซึ่งปลาสามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ได้และขยายเผ่าพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาซิวตาเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุด

ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุด หรือ ปลาปักเป้ากล่องจุดขาว (Spotted boxfish, Pahu, White-spotted boxfish) ปลาปักเป้ากล่องชนิดหนึ่ง ลำตัวมีเกราะหุ้มเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูในแนวตัดขวาง ปากมีขนาดใหญ่และมีฟันซี่เล็ก ๆ ครีบหางใหญ่ ส่วนครีบอื่น ๆ เล็กเหมือนปลาปักเป้าทั่วไป มีลำตัวสีดำ ด้านหลังมีจุดกลมสีขาว ด้านข้างสีคล้ำ มีลายเป็นตาข่ายสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน และสีเหลือง ครีบหางมีจุดดำ ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุด ใน 2 เพศสามารถแยกแยะได้ด้วยตาเปล่าได้ง่าย เริ่มต้นวงจรชีวิตโดยการเป็นปลาเพศเมียที่มีลวดลายดังกล่าว ก่อนจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นเพศผู้ หรือเมื่อโตขึ้น โดยเริ่มจากบริเวณส่วนหน้า ก่อนจะมีพื้นข้างลำตัวเป็นสีน้ำเงินประเหลืองทั้งตัว คงสีพื้นดำจุดขาวไว้เฉพาะบริเวณส่วนหลังเท่านั้น มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ในแนวปะการังตอนลึกของมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย กินสาหร่ายและสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่หลบซ่อนหรือเกาะติดกับหลืบหินปะการังเป็นอาหาร รวมทั้งฟองน้ำด้วย ปกติจะอาศัยอยู่ตามลำพัง ในน่าน้ำไทยพบเฉพาะจุดในฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้นหน้า 174, "คู่มือปลาทะเล" โดย ชวลิต วิทยานนท์ ดร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาปักเป้ากล่องดำลายจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว หรือ ปลาปักเป้าสามแถบ (long-spine porcupinefish, spiny balloonfish, freckled ballonfish) เป็นปลาปักเป้าชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟัน 2 ซี่ (Diodontidae) มีตัวค่อนข้างกลมและแบนทางด้านบนเล็กน้อย หัวขนาดใหญ่เรียวเล็กลงไปทางหาง ตากลมโตกลอกไปมาได้และมีหนังตายื่นลงมาเป็นติ่ง ปากหนามีฟันเชื่อมต่อกัน ครีบหูมีขนาดใหญ่คลี่ออกคล้ายพัด ครีบหลังมีอันเดียวอยู่เยื้องไปทางหาง ไม่มีครีบท้อง ครีบทวารอยู่ตรงกับครีบหลัง ครีบหางโค้งกลม ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 50 เซนติเมตร ผิวลำตัวเป็นหนังย่นและมีหนามแข็งพับลู่ไปทางหาง ซึ่งเมื่ออยู่ในยามปกติก็เห็นได้ชัดเจน แต่จะตั้งขึ้นเมื่อตกใจหรือถูกรบกวนและพองตัวได้ พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลเขียว มีลายจุดสีดำเป็นปื้นตามลำตัวและบนหลัง ซึ่งเมื่อปลาโตขึ้นจุดเหล่านี้จะค่อย ๆ จางไป จัดเป็นปลาปักเป้าที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตั้งแต่ฟลอริดา, บาฮามาส, บราซิล, หมู่เกาะกาลาปากอส, เกาะอีสเตอร์ รอบ ๆ แอฟริกาใต้, เรอูนียง, ทะเลแดง, มาดากัสการ์, มอริเชียส, หมู่เกาะฮาวาย, อ่าวเบงกอล, อินโด-แปซิฟิก, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, อ่าวตังเกี๋ย, ทะเลเหลือง, ทะเลจีนใต้, ทะเลจีนตะวันออก พบไปจนถึงทะเลญี่ปุ่น, ทะเลฟิลิปปิน และเกรตแบร์ริเออร์รีฟ เป็นปลาที่ไม่ใช้เนื้อในการบริโภค แต่นิยมทำมาเป็นเครื่องประดับ โดยนำมาสตัฟฟ์เมื่อเวลาที่พองตัวออก และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนด่างดำ

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนด่างดำ (Black-blotched porcupinefish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่ (Diodontidae) เป็นปลาปักเป้าหนามทุเรียนชนิดหนึ่ง มีรูปร่างทรงกลม มีขากรรไกรและฟันแบบไม่ผ่าซีก ผิวหนังมีหนามสั้น ที่บริเวณใต้ตามีหนามชิ้นหนึ่งชี้ลงด้านล่าง ครีบทุกครีบมีขนาดเล็กปลายมน ลำตัวสีเทาอมเหลือง มีจุดเด่น คือ มีดวงสีดำขนาดใหญ่ที่มีขอบขาวทั่วตัว ครีบทุกครีบมีสีเหลืองใสโปร่งแสง ใต้ท้องสีขาว มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30-45 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 65 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามโพรงหินและวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก จากแอฟริกาใต้จนถึงทะเลญี่ปุ่น จนถึงตอนใต้ของออสเตรเลีย และหมู่เกาะมาร์แชลล์ ในน่านน้ำไทยพบได้ชุกชุม ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มักพบตามชายฝั่งและแนวปะการัง กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็กที่อยู่บริเวณพื้นทะเล เป็นปลาที่มีพิษ เนื้อใช้รับประทานไม่ได้ นิยมสตั๊ฟฟ์ทำเป็นเครื่องประดับ และเลี้ยงแสดงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาปักเป้าหนามทุเรียนด่างดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปากขลุ่ย

ปลาปากขลุ่ย หรือ ปลาปากแตรจุดสีฟ้า (Bluespotted cornetfish, Reef cornetfish) ปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสามรส (Fistulariidae) มีรูปร่างเรียวยาว ปากเป็นท่อยาวเหมือนแตรหรือขลุ่ย ปลายครีบหางมีเปียยื่นยาวออกมาเหมือนแส้ ไม่มีก้านครีบแข็งหน้าครีบหลัง ลำตัวด้านหลัง ด้านข้าง และจะงอยปากมีจุดสีฟ้าเรียงกันเป็นแถว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 150 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ได้กว้างไกล ทั้งทะเลแดง, ทะเลญี่ปุ่น, อินโด-แปซิฟิค และน่านน้ำไทยด้านทะเลอันดามัน โดยมีพฤติกรรมมักลอยตัวนิ่ง ๆ อยู่เหนือพื้นทราย หรือแนวปะการังเพื่อหาอาหาร อันได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ โดยรวมกลุ่มกันประมาณ 2-3 ตัว อาจพบได้ในท้องน้ำลึกได้ถึง 123 เมตร ซึ่งอาจจะสังเกตได้ยากเนื่องจากมีสีลำตัวเป็นสีเขียวกลมกลืนไปกับสีของน้ำทะเล จัดว่าเป็นปลาที่พบได้บ่อ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาปากขลุ่ย · ดูเพิ่มเติม »

ปลานกขุนทองปากยื่น

ปลานกขุนทองปากยื่น (Longjawed wrasse, Slingjaw wrasse) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Epibulus เป็นปลาที่มีความแปรฝันของสีสันลำตัวสูง โดยปกติแล้วตัวเมียจะมีสีเหลือง ส่วนตัวผู้มีลำตัวสีดำ บริเวณส่วนหน้าและหลังสีขาว แต้มด้วยสีแดงบริเวณหน้าผาก มีขากรรไกรที่ออกแบบมาให้ยื่นออกไปได้ยาวเป็นพิเศษเพื่อใช้จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร อันเป็นที่มาของชื่อ มีพฤติกรรมว่ายน้ำโดยการเอาหน้าทำมุมกับพื้นเพื่อมองหาเหยื่ออยู่ตลอดเวลา อาศัยอยู่ในบริเวณแนวปะการัง มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลานกขุนทองปากยื่น · ดูเพิ่มเติม »

ปลานกแก้วหัวตัด

ปลานกแก้วหัวตัด (Steephead parrotfish, Indian ocean steephead parrotfish) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลานกแก้ว (Scaridae) มีตัวอ้วนกลม หัวตัดโค้ง ปลายแพนหางบนและล่างแหลมยาว ปลาเพศผู้มีสีเขียวเข้ม แก้มมีสีขาวอมเหลือง หลังตามีแถบสีเขียวเข้ม 3 แถบ ปลาเพศเมียลำตัวด้านบนมีสีเหลืองอมเขียวอกและท้องมีสีส้ม มีฟันและจะงอยปากที่เป็นแผ่นตัดแหลมคม ใช้สำหรับกัดแทะปะการังหรือสาหร่ายเป็นอาหาร มีขนาดความยาวได้ถึง 75 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่แอฟริกาตะวันออก, อินโดนีเซีย และทะเลอันดามันทางตอนเหนือ มักอาศัยอยู่ในแนวปะการัง ในระดับความลึก 2- 25 เมตร มักหากินอยู่เพียงลำพัง หรืออยู่เป็นคู่ ไม่ค่อยพบอยู่รวมกันเป็นฝูงเหมือนปลานกแก้วชนิดอื่น เวลากลางคืนนอนตามพื้นหรือซากปะการัง มีการสร้างเมือกห่อหุ้มตัว เป็นปลานกแก้วชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้บริโภคเป็นอาหาร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลานกแก้วหัวตัด · ดูเพิ่มเติม »

ปลานโปเลียน

ปลานโปเลียน หรือ ปลานกขุนทองหัวโหนก (Napoleonfish, Humphead wrasse, Mauri wrase) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cheilinus undulatus จัดอยู่ในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae).

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลานโปเลียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแป้นเขี้ยว

ปลาแป้นเขี้ยว (Toothed ponyfish, Toothed soapy) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแป้น (Leiognathidae) มีลำตัวป้อมสั้นเป็นสีขาวเงิน ด้านข้างแบน นัยน์ตาโต ปากมีขนาดเล็ก ปากสามารถยืดหดได้คล้ายปลาแบบทั่ว ๆ ไป มีฟันเขี้ยวตรงบริเวณริมฝีปากบนและล่าง บริเวณลำตัวมีเกล็ดเล็กแต่ส่วนหัวและครีบใต้หูไม่มีเกล็ด ครีบหลังมีก้านครีบแข็งแล้วต่อด้วยก้านครีบอ่อนเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบหางเว้าแฉกเข้าด้านใน ส่วนบนของลำตัวจะมีลายเส้นสีน้ำตาลทองและมีรอยแต้มสีแดงและสีน้ำเงิน บริเวณครีบอกครีบก้นจะมีแถบสีเหลืองอยู่ตรงบริเวณตอนส่วนหน้าของครีบ จัดเป็นปลาขนาดเล็กมีความยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 21 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแถบชายฝั่งหรือปากแม่น้ำ เป็นปลาที่กินสัตว์น้ำขนาดเล็กรวมถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, หมู่เกาะริวกิว และออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยพบได้ที่ฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เช่น บางปะกง, ชลบุรี, สมุทรปราการ, ภูเก็ต, ระนอง, พังงา เป็นต้น เป็นปลาที่มักถูกทำเป็นปลาเป็ด คือ ปลาป่นสำหรับทำอาหารสัตว.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาแป้นเขี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาใบขนุน

ปลาใบขนุน หรือที่นิยมเรียกและรู้จักกันในชื่อภาษาแต้จิ๋วว่า ปลาอังนั้ม (乳香鱼; False trevally, Milkfish, Whitefish, Butterfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lactarius lactarius อยู่ในวงศ์ Lactariidae เป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้และวงศ์นี้ มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายกับปลาทู ซึ่งอยู่ในวงศ์ Scombridae คือ มีลำตัวป้อม แบนข้าง หัวโตปากกว้างและเชิดขึ้น มีฟันซี่เล็ก ๆ เรียงกันเป็นแผงอยู่บนขากรรไกรเพดานและลิ้น เกล็ดเป็นแบบบางเรียบขนาดใหญ่และหลุดง่าย มีครีบหลัง 2 ตอน ตอนที่ 2 ยาวและมีลักษณะคล้ายครีบก้นซึ่ง อยู่ตรงข้ามและยาวกว่าเล็กน้อย มีลำตัวสีเงินตลอด ที่ขอบด้านบนของแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำดูเด่น ครีบต่าง ๆ สีเหลืองอ่อน และมีสีน้ำเงินแทรกด้านหลังและท้องบริเวณหลัง เป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มักหากินตามชายฝั่งซึ่งบางครั้งอาจพบได้ในแถบน้ำกร่อย มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 40 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป คือ 15-30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ตอนใต้ทะเลญี่ปุ่น, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ และฟิจิ ในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ปลาใบขนุนที่ตลาดสดของรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง เนื้อมีรสชาติดี นิยมนำมาบริโภคด้วยการปรุงสด ปลาใบขนุนยังมีมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกเช่น "ปลาขนุน", "ปลาซับขนุน", "ปลาสาบขนุน" หรือ "ปลาญวน" เป็นต้น.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาใบขนุน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาใบโพ

ปลาใบโพ (หรือสะกดว่า ปลาใบโพธิ์) หรือ ปลาใบปอ หรือ ปลาแมลงปอ (Banded sicklefish, Concertina fish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาใบโพ (Drepaneidae) มีลำตัวป้อมสั้นเกือบกลม ด้านข้างแบน ดูคล้ายใบโพ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก สันหลังโค้งนูน หัวค่อนข้างใหญ่ จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต บริเวณระหว่างตาโค้งนูนออกมา ปากเล็กและยืดหดได้ มีฟันเล็กและแหลมคมบนขากรรไกรบนและล่าง ลำตัวด้านบนสีขาวปนเทาและมีจุดเล็ก ๆ สีส้มเรียงเป็นแถวขวางลำตัวจำนวน 4-11 แถว ซึ่งแตกต่างจากปลาใบโพจุด (D. punctata) ที่มีแถบสีเทาเรียงในลักษณะเดียวกัน ปลาวัยอ่อนจะมีแถบสีดำในบริเวณที่เป็นจุดสีส้ม มีความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 40 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการังและแหล่งน้ำกร่อย กินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน จัดเป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาใบโพ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาใบโพจุด

ปลาใบโพจุด (หรือสะกด ปลาใบโพธิ์จุด) (Spotted sicklefish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาใบโพ (Drepaneidae) มีลำตัวป้อมสั้นเกือบกลม ด้านข้างแบน ดูคล้ายใบโพ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก สันหลังโค้งนูน หัวค่อนข้างใหญ่ จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต บริเวณระหว่างตาโค้งนูนออกมา ปากเล็กและยืดหดได้ มีฟันเล็กและแหลมคมบนขากรรไกรบนและล่าง ลำตัวด้านบนสีขาวปนเทาและมีจุดเล็ก ๆ สีส้มเรียงเป็นแถวขวางลำตัวจำนวน 4-11 แถว ปลาวัยอ่อนจะมีแถบสีดำในบริเวณที่เป็นจุดสีส้ม มีความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 40 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการังและแหล่งน้ำกร่อย กินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน จัดเป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาใบโพจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโรนันจุดขาว

ปลาโรนันจุดขาว (Spotted guitarfish, Giant guitarfish) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกปลาโรนันยักษ์ (Rhynchobatidae) มีส่วนหัวแบนราบคล้ายปลากระเบน และเป็นทรงแหลมคล้ายหัวหอก ครีบหูขนาดใหญ่ ปาก และช่องเปิดเหงือกอยู่ด้านล่าง ครึ่งหลังคล้ายปลาฉลาม เพราะลำตัวส่วนนี้ค่อนข้างกลมมีครีบหลังสองอัน และมีแพนหางเหมือนปลาฉลาม พื้นลำตัวสีเขียว มีจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วลำตัว ปลาโรนันจุดขาว มีความยาวประมาณ 60–180 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร น้ำหนัก 227 กิโลกรัม จัดว่าเป็นปลาโรนันชนิดที่ใหญ่ที่สุด พบได้ตามพื้นทะเลบริเวณชายฝั่ง ของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิค, ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา, ทะเลแดง ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มักอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำตื้นมากกว่าน้ำลึก รวมทั้งบางครั้งอาจเข้าไปในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดบริเวณปากแม่น้ำได้ด้วย หากินอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดิน เช่น ปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำมีเปลือกชนิดต่าง ๆ ปลาโรนันจุดขาว ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจโดยตรง แต่ในบางครั้งก็ติดเบ็ดหรืออวนของชาวประมง จึงเจอมีขายเป็นปลาบริโภคในตลาดปลาริมทะเลบางตลาดเป็นบางครั้งบางคราว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาโรนันจุดขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโอดำ

ปลาโอดำ หรือ ปลาโอหม้อ หรือ ปลาทูน่าน้ำลึก (longtail tuna, northern bluefin tuna) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอหรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง เป็นปลาผิวน้ำที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเช่นเดียวกับปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้ทั่วไป มีลำตัวค่อนข้างกลมและยาวเพรียวแบบกระสวย ครีบหลังที่แยกออกจากกันเป็นสองอันและอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อยเท่าขนาดความ ยาวของตา ครีบอกหลังยาวมาก ครีบท้องตั้งอยู่ในแนวเดียวกับครีบอก ครีบก้นอยู่เยื้องครีบหลังอันที่สองเล็กน้อย ครีบหางใหญ่เว้าลึกเป็นรูปวงเดือน มีเกล็กเล็กละเอียดอยู่บริเวณแนวท้อง มีจุดสีขาวเรียงกันเป็นแถวไปตามความยาวของส่วนท้อง ครีบฝอยของครีบหลังและครีบก้นมีสีเทาแกมเหลือง มีความยาวประมาณ 40-70 เซนติเมตร มีขนาดความยาวใหญ่สุดถึง 145 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 35.9 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดงและแอฟริกาตะวันออกถึงนิวกินี, ทะเลญี่ปุ่นตอนเหนือ จนถึงตอนใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในน่านน้ำไทยพบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่หากินบริเวณผิวน้ำ โดยล่าปลาหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง เนื้อสามารถทำไปปลาดิบในอาหารญี่ปุ่นได้.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาโอดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโอแถบ

ปลาโอแถบ หรือ ปลาทูน่าท้องแถบ (Skipjack tuna, Arctic bonito, Striped tuna, Victor fish) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอหรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Katsuwonus มีรูปร่างกลมและยาวเพรียวแบบรูปกระสวย ปากกว้าง นัยน์ตาขนาดปานกลาง ครีบหลังอันที่สองมีขนาดเล็กและไม่สูงครีบหูมีขนาดเล็ก ปลายแหลมเรียว ครีบท้องเล็ก ครีบก้นมีจุดเริ่มต้นอยู่ประมาณกลางครีบหลังอันที่สอง มีเกล็ดเฉพาะบริเวณใต้ครีบหลังอันแรกและบริเวณเส้นข้างลำตัวมีแถบสีดำ ประมาณ 4-6 แถบ อยู่ใต้เส้นข้างตัว แลดูเด่นเป็นลักษณะเฉพาะ เป็นปลาที่มีพฤติกรรมรวมฝูงขนาดใหญ่เป็นพันหรือหมื่นตัวกันหากินตามผิวน้ำ และชอบกระโดดพร้อมกันทีเดียว มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 40-80 เซนติเมตร โตเต็มที่ได้ถึง 110 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางมาก ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในน่านน้ำไทยจะพบชุกชุมที่ทะเลอันดามันแถบจังหวัดระนอง, พังงา, ภูเก็ตถึงสตูล.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาโอแถบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโนรีหน้าหัก

ปลาโนรีหน้าหัก หรือ ปลาโนรีเขา (Phantom bannerfish, Indian Ocean bannerfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heniochus pleurotaenia ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มีรูปร่างเหมือนปลาโนรีหลังเหลือง (H. singularius) คือ มีครีบหลังที่ไม่ยื่นยาว มีจุดเด่น คือ บริเวณหน้าผากมีอวัยวะแข็งคล้ายเขาหรือนอแหลมยื่นออกมาบริเวณเหนือดวงตา มีครีบแข็งตั้งบนหลัง ไม่มีครีบยาวยื่นออกมาเหมือนปลาโนรีชนิดอื่น ครีบหลังยกสูง ลำตัวมีสีออกน้ำตาลคาดขาว-ดำ เมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน ครีบหลังจะยกสูง จนดูทำให้มีรูปร่างคล้ายตัวอักษรเอ (A) เป็นปลาที่พบในเขตน้ำลึกกว่าปลาโนรีชนิดอื่น ๆ พบเจอตัวได้ยากกว่า มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 17 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ มัลดีฟส์, เกาะชวา, ศรีลังกา, ทะเลอันดามันตอนเหนือ แม้เป็นปลาที่ไม่สวยงาม แต่ก็มีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาโนรีหน้าหัก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโนรีครีบยาว

ปลาโนรีครีบยาว (Pennant coralfish, Longfin bannerfish, Coachman, Black and White Heniochus, Poor mans' moorish idol, Black and White bannerfish, Featherfin bullfish) เป็นปลาทะเลจำพวกปลาโนรีชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heniochus acuminatus อยู่ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) เป็นปลาที่สังเกตและแยกแยะได้ง่าย เพราะมีครีบหลังยาวออกมาเป็นเส้น ลำตัวเป็นลายสีขาวดำ ครีบและหางมีสีเหลือง ลักษณะคล้ายกับปลาโนรีอีกชนิดหนึ่ง คือ ปลาโนรีเกล็ด (H. diphreutes) แต่ปลาโนรีเกล็ดนั้นมีลำตัวที่ค่อนข้างกลมกว่า มีความยาวเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มักหากินกระจัดกระจายตามลำพังบ้าง เป็นคู่บ้าง หรือบางทีก็พบรวมกันเป็นฝูง ตามกองหินและแนวปะการัง เป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารได้ง่าย และมีพฤติกรรมที่ไม่ก้าวร้าว แต่ยังเป็นปลาที่ต้องจับมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติในทะเล.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาโนรีครีบยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโนรีเทวรูป

ปลาโนรีเทวรูป หรือ ปลาผีเสื้อเทวรูป (Moorish idol) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zanclus cornutus จัดอยู่ในวงศ์ Zanclidae (มาจากภาษากรีกคำว่า zagkios หมายถึง ทแยง) และถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ และสกุล Zanclus ปลาโนรีเทวรูป มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มาก โดยเฉพาะกับปลาโนรี (Heniochus spp.) ซึ่งในอดีตเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ปัจจุบันได้มีการแยกออกมา แต่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปลาโนรีเทวรูปมีความใกล้เคียงกับปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) หรือปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) มากกว่า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาโนรีครีบยาว (H. acuminatus) และปลาโนรีเกล็ด (H. diphreutes) มาก แต่มีลำตัวทางด้านท้ายเป็นสีเหลืองนวล จะงอยปากแหลมยาวกว่า ครีบหางมีสีดำ และสีครีบหางจะคล้ำและมีรอยคล้ายเขม่าที่บริเวณครีบหลัง ลักษณะเกล็ดแลดูเรียบเป็นมันเงา มีความยาวเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยจะได้พบในด้านทะเลอันดามัน ในต่างประเทศ พบได้กว้างขวางมาก ตั้งแต่ มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวแคลิฟอร์เนีย, อเมริกาใต้, ฮาวาย, ทะเลญี่ปุ่น, ไมโครนีเซีย, แอฟริกา หากินอยู่ตามแนวปะการังเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อ และสามารถหากินได้ลึกถึงหน้าดินในความลึกถึง 182 เมตร ซ้ำยังมีพฤติกรรมออกหากินในเวลากลางวันเช่นเดียวกัน แต่เป็นปลาที่มักอาศัยอยู่ตามลำพังหรือไม่ก็เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ โดยกินฟองน้ำเป็นอาหารหลัก และสัตว์น้ำทั่วไปขนาดเล็ก ปลาวัยอ่อนมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่ลำตัวโปร่งใส ใช้ชีวิตคล้ายกับแพลงก์ตอนคือ จะถูกกระแสน้ำพัดพาลอยไปไกลจากถิ่นกำเนิด จึงทำให้การแพร่กระจายพันธุ์เป็นไปอย่างกว้างขวาง นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อหรือปลาโนรี และสามารถเลี้ยงรวมกันได้ ซึ่งในวัฒนธรรมร่วมสมัย ปลาโนรีเทวรูปได้ถูกสร้างเป็นตัวละครตัวหนึ่งในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Finding Nemo ของวอลต์ ดีสนีย์ ออกฉายในปี ค.ศ. 2003 โดยเป็นหัวหน้าฝูงปลาชื่อ กิลด์ (ให้เสียงพากย์โดย วิลเลม ดาโฟ) ในตู้กระจกภายในคลินิกทันตแพทย์ ปลาโนรีเทวรูป ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ได้แก่ "ปลาผีเสื้อหนัง" หรือ "ปลาโนรีหนัง".

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาโนรีเทวรูป · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไหลมอเรย์ลายเมฆ

ปลาไหลมอเรย์ลายเมฆ หรือ ปลาหลดหินลายเมฆ (Snowflake moray, Starry moray, White moray, Clouded moray) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae) มีลำตัวเรียวยาว ปลายหางแหลม ส่วนหัวสั้นทู่กว่าปลาไหลมอเรย์ชนิดอื่น จะงอยปากสีเทา ลำตัวมีสีเทาอ่อน มีลายและจุดสีน้ำตาลเข้มกระจายอยู่เป็นรอยเลอะ ๆ ทั้งตัว ส่วนหัวมีลายสีเหลืองสลับกับสีน้ำตาลดำ มีความยาวโดยเฉลี่ย 80 เซนติเมตร พบยาวที่สุดได้ถึง 100 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในซอกหินในแนวปะการังน้ำตื้น เป็นปลาที่พบได้ไม่บ่อย ในเขตอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, ไมโครนีเซีย จนถึงอ่าวแคลิฟอร์เนีย, อ่าวเม็กซิโก และอเมริกาใต้ ในเขตน่านน้ำไทย จะพบได้เฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาไหลมอเรย์ลายเมฆ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไหลมอเรย์หน้าปาน

ปลาไหลมอเรย์หน้าปาน หรือ ปลาหลดหินหน้าปาน (Darkspotted moray, Fimbriated moray, Yellowhead eel) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae) มีลำตัวเรียวยาวอวบ ปลายหางเรียวหัวและลำตัวมีสีเหลืองอมเทา มีด่างสีคล้ำบนใบหน้าและเป็นแต้มขนาดใหญ่บนลำตัว ครีบต่าง ๆ ไปจนถึงปลายหางมีสีดำมากขึ้น ปลาขนาดใหญ่มีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มมากขึ้น มีความยาวเต็มที่ประมาณ 80 เซนติเมตร กินอาหารประเภท ปลา, กุ้ง, ปู และหมึกสาย มีพฤติกรรมรอเหยื่ออยู่ในเขตน้ำตื้นหรือบริเวณชายฝั่ง อาศัยอยู่ในแนวปะการังน้ำตื้นและหาดหิน กระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิก และมาดากัสการ์ ไปจนถึงออสเตรเลีย และไมโครนีเซีย ในน่านน้ำไทยเป็นปลาที่พบได้ในเขตทะเลอันดามัน เป็นปลาที่พบได้บ่อ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาไหลมอเรย์หน้าปาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไหลริบบิ้น

ปลาไหลริบบิ้น (Ribbon eel, Black leafnosed moray eel, Black ribbon eel, Ribbon moray) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae) และจัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Rhinomuraena จัดเป็นปลาไหลมอเรย์ขนาดเล็ก มีสีสันสดใส และสามารถเปลี่ยนเพศได้ตามวัย นั้นคือเมื่อยังเล็ก ลำตัวเป็นสีดำ โดยที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย แต่เมื่อโตขึ้นลำตัวเป็นสีน้ำเงินและเป็นตัวผู้และเมื่อมีอายุมากขึ้นอีกลำตัวเป็นสีเหลืองและกลายเป็นตัวเมีย กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร โดยปลาไหลจะยืดตัวออกจากรูเพื่อหาอาหาร โดยปกติจะซ่อนตัวอยู่ในรูตามพื้นทะเล ซึ่งเป็นทราย มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 1 เมตร เป็นปลาที่พบได้น้อย กระจายพันธุ์อยู่ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยก็พบได้น้อย โดยพบได้ทั้งทางฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย เช่น เกาะเต่า, หมู่เกาะสิมิลัน เป็นต้น เป็นปลาที่สร้างสีสันให้แก่การดำน้ำ และมีบางส่วนที่ถูกจับไปขายเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาไหลริบบิ้น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเก๋าดอกหมากยักษ์

ปลาเก๋าดอกหมากยักษ์ (Potato Cod, Potato grouper, Potato bass) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะเหมือนกับปลากะรังชนิดอื่น ๆ แต่มีพื้นลำตัวสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน และมีลายจุดสีน้ำตาลหรือสีดำอยู่ตามลำตัวและครีบ อาศัยตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำ นับเป็นปลาในแนวปะการังที่มีความใหญ่มากชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับปลาหมอทะเล (E. lanceolatus) เพราะเมื่อโตเต็มที่อาจมีความยาวได้ถึง 2 เมตร น้ำหนักกว่า 110 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์กว้างขวางตั้งแต่มาดากัสการ์, มอริเตเนีย, อ่าวเปอร์เซีย, ทะเลแดง, อินโด-แปซิฟิก, มัลดีฟส์, ทะเลจีนใต้, ทะเลฟิลิปปิน, ทะเลญี่ปุ่น และออสเตรเลีย สำหรับในน่านน้ำไทยจะพบได้ในทะเลอันดามันแถบหมู่เกาะสิมิลัน นับว่าเป็นปลาที่หายากกว่าปลาหมอทะเล จัดเป็นปลาที่มีความใหญ่ชนิดหนึ่ง จึงเป็นที่นิยมของผู้ที่นิยมการดำน้ำ และมีเลี้ยงไว้ตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาเก๋าดอกหมากยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเก๋าแดง

ปลาเก๋าแดง (Blacktip grouper, Red-banded grouper) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว แบนข้าง หัวโต จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ฟันซึ่งมีอยู่ตรงขากรรไกรบนและล่างมีลักษณะเป็นเขี้ยวยาวและคม ครีบหลังยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งยาวกว่าส่วนที่เป็นก้านครีบฝอย ส่วนหน้าของครีบก้นมีก้านแข็งเป็นหนามแหลม ครีบหางมนกลม มีจุดเด่น คือ มีทั้งสีแดงสด, สีชมพูอ่อน และน้ำตาลปนแดง ขึ้นอยู่สภาพแวดล้อมและขนาดของปลา ข้างตัวมีแถบสีแดงปนน้ำตาล 5 แถบ ขอบครีบหลังที่เป็นก้านครีบแข็งมีสีแดงปนน้ำตาล เกล็ดเล็กละเอียด มีขนาดตั้งแต่ 15-40 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามแนวปะการังและกองหินใต้น้ำ ตั้งแต่แอฟริกาใต้, ทะเลแดง จนถึงทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, คาบสมุทรเกาหลี และออสเตรเลีย เป็นปลาที่มีรสชาติดี นิยมใช้ในการบร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลาเก๋าแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลิงทะเล

ปลิงทะเล (sea cucumber) เป็นสัตว์ทะเลที่ไร้กระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในตระกูลเอคไคโนเดิร์ม ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับดาวทะเลและหอยเม่น เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีรูปร่างกลมยาว คล้ายไส้กรอกขนาดใหญ่ ปลายทั้งสองข้างเป็นช่องเปิดของปากและทวาร ผิวหนังส่วนนอกคล้ายเนื้อยืดหยุ่นได้ ภายในผิวหนังมีตุ่มเม็ดหินปูนกระจายอยู่ทั่วไปตามผิวนอกมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ คล้ายหนวดสั้น ๆ เรียงอยู่เป็นแถว ทำหน้าที่ช่วยในการหายใจและเคลื่อนไหว ปากของปลิงทะเลอยู่ตอนปลายสุดด้านที่มีหนวดลักษณะคล้ายต้นไม้ล้อมรอบ ทำหน้าที่ในการหาอาหาร โดยใช้หนวดขุดโคลนตมหน้าดินเข้าปากผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร และกากที่เหลือจะถ่ายออกทางช่องก้นซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่ง ทวารของปลิงทะเลเป็นช่องเล็ก ๆ ทำหน้าที่ในการขับถ่ายของเสีย หายใจ เป็นทางออกของเชื้ออสุจิ ปลิงมีสารพิษ โฮโลทูลิน ซึ่งปล่อยออกทางผิวหนัง ใช้ในการป้องกันอันตรายจากปลาและปู ถ้าหากนำปลิงทะเลไปใส่ในตู้เลี้ยงปลามันจะปล่อยสารพิษดังกล่าวออกมามากจนทำให้ปลาตายได้ ถิ่นอาศัย พบตามพื้นทะเลที่เป็นทรายปนโคลนใน อ่าวไทยและทะเลอันดามัน อาหาร กินอินทรีย์วัตถุตามพื้นดินโคลนและทราย ขนาด มีความยาวประมาณ 30–40 ซม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปลิงทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปะการังเทียม

นักประดาน้ำกำลังก่อสร้างปะการังเทียมจากแท่งคอนกรีต ปะการังเทียม (Artificial reef) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีแบบแผน เพื่อดัดแปลงสภาพของพื้นท้องทะเลให้อุดมสมบูรณ์ให้เหมือนสมัยก่อน โดยปะการังตามธรรมชาติมีการถูกทำลายและเหลือจำนวนน้อยลง โดยการจัดทำสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยหรือเรียกง่าย ๆ ว่า บ้านปลา เลียนแบบบริเวณที่มีกองหินใต้น้ำ ซากเรืออัปปาง หรือแนวปะการังธรรมชาติ โดยการใช้วัสดุที่แข็งแรง ทนทาน มีน้ำหนัก สามารถต้านทานกระแสน้ำได้ ราคาไม่แพง มีรูปแบบที่มีช่องเงาให้สัตว์น้ำกำบังหรือหลบซ่อนตัวได้ และนำไปวางรวมกลุ่มกันในบริเวณต่างๆ ตามแนวชายฝั่งที่เหมาะสม วัสดุที่ใช้ก่อสร้างนั้นเป็นคอนกรีตล้วน เรียกว่า มาลีนไทด์ ซึ่งเป็นคอนกรีตที่ไม่ถูกกัดเซาะจากน้ำเค็ม โดยดำเนินการในหลายพื้นที่ อาทิ จังหวัดเพชรบุรี, ชุมพร, พังงา, ปัตตานี, นราธิวาส, ตราด, สุราษฎร์ธานี และในปี 2549 นี้ จะมีการดำเนินการจัดสร้างปะการังเทียมในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชลบุรี แต่ในบางท้องถิ่นไม่ได้มีสิ่งของดังกล่าวเสมอไป จึงต้องหาวัสดุอื่นมาทดแทน เช่น ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว เนื่องจากมีปริมาณเหลือใช้ค่อนข้างมาก จึงมีการนำมามัดรวมกันเป็นชุดๆ ชาวประมงท้องถิ่นสามารถทำได้เองในราคาที่ค่อนข้างถูก.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปะการังเทียม · ดูเพิ่มเติม »

ปูก้ามดาบ

ปูก้ามดาบ หรือ ปูเปี้ยว (Fiddler crabs, Ghost crabs) เป็นปูทะเลขนาดเล็กสกุลหนึ่ง อยู่ในสกุล Uca ในวงศ์ Ocypodidae.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปูก้ามดาบ · ดูเพิ่มเติม »

ปูม้า

ปูม้า (Flower crab, Blue crab, Blue swimmer crab, Blue manna crab, Sand crab) จัดเป็นปูที่อาศัยอยู่ในทะเลชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Portunus ซึ่งพบทั้งหมด 90 ชนิดทั่วโลก และพบในน่านน้ำไทยราว 19 ชน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปูม้า · ดูเพิ่มเติม »

ปูทะเล

ปูทะเล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Scylla serrata) เป็นปูชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทะเล มีกระดองกลมรีเป็นรูปไข่ สีดำปนแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมนำมาปรุงสดเป็นอาหาร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและปูทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ป้ายหยุดรถไฟบ้านพูน

ป้ายหยุดรถ บ้านพูน ตั้งอยู่ที่บ้านพูน หมู่ 5 ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นป้ายหยุดรถของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและป้ายหยุดรถไฟบ้านพูน · ดูเพิ่มเติม »

นกชาปีไหน

thumb นกชาปีไหน หรือ นกกะดง (Nicobar pigeon, Nicobar dove) เป็นนกชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) นับเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ในสกุล Caloenas ในขณะที่ชนิดอื่น ๆ สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว โดยมีความใกล้ชิดกับนกโดโดที่สูญพันธุ์ไปแล้วด้วย นกชาปีไหน มีขนาดลำตัวเท่า ๆ กับไก่แจ้ มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 40-41 เซนติเมตร มีลำตัวขนาดใหญ่ แต่มีหัวขนาดเล็กและมีเนื้อนูนเป็นตุ่มบริเวณจมูก ขนตามลำตัวเป็นสีเขียวเหลือบเทา ขนหางสีขาว แต่จะมีขนบริเวณคอห้อยยาวออกมาเหมือนสร้อยคอ ซึ่งขนนี้จะยาวขึ้นเมื่อนกมีอายุมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีขาขนาดใหญ่แข็งแรง เพราะเป็นนกที่ชอบเดินหากินตามพื้น นกชาปีไหน แม้จะเป็นนกที่หากินบนพื้นดินเป็นหลัก แต่ก็เป็นนกที่สามารถบินได้ มีรายงานว่าสามารถบินข้ามไปมาระหว่างเกาะต่าง ๆ ได้ เป็นนกที่หากตกใจจะบินหรือกระโดดขึ้นบนต้นไม้ และไม่ค่อยส่งเสียงร้องนัก นานครั้งจึงจะได้ยินเสียงร้องทีหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์เฉพาะหมู่เกาะต่าง ๆ บริเวณทะเลอันดามันและอินโด-แปซิฟิก เช่น หมู่เกาะนิโคบาร์, หมู่เกาะอันดามัน, หมู่เกาะโซโลมอนและปาเลา ในประเทศไทยจัดเป็นนกที่หาได้ยากมากชนิดหนึ่ง โดยจะอาศัยอยู่ในป่าดิบหรือป่าชายหาดของหมู่เกาะสิมิลัน, หมู่เกาะสุรินทร์ หรือหมู่เกาะอ่างทอง รวมถึงอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี เท่านั้น เป็นนกที่ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักรราช 2535 แต่ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยทางการของไทย เมื่อปี พ.ศ. 2538 พบว่านกชาปีไหนสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยสร้างรังแบบหยาบ ๆ รูปร่างคล้ายจาน โดยใช้กิ่งไม้และใบไม้แห้งวางไข่ ครั้งละเพียง 1 ฟอง มีขนาด 31.64x45.0 มิลลิเมตร น้ำหนัก 25.05 กรัม พ่อและแม่นกช่วยกันฟักไข่ มีระยะฟัก 25-29 วัน แม่นกสามารถจะวางไข่ชุดใหม่ต่อไปได้หลังจากลูกนกมีอายุได้ประมาณ 40 วัน ลูกนกออกจากไข่ไม่มีขนปกคลุมตัว จัดอยู่ในพวกอัลติเชียล (นกที่บินไม่ได้) พ่อและแม่นกช่วยกันเลี้ยงดูลูกนกจนมีอายุได้ 34-36 วัน ลูกนกจึงจะทิ้งรังและกินอาหารเองได้ ขนชุดแรกขึ้นปกคลุมตัวสมบูรณ์หมด เมื่อลูกนกมีอายุได้ 3 เดือน และเมื่อมีอายุ 7 เดือน มีการผลัดขนปีกชุดแรก และมีขนชุดใหม่งอกขึ้นมาแทนที.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและนกชาปีไหน · ดูเพิ่มเติม »

นกลุมพูขาว

นกลุมพูขาว หรือ นกกระลุมพูขาว (Pied imperial pigeon) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 40 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน รูปร่างคล้ายนกชนิดอื่นทั่วไปในวงศ์เดียวกัน ขนบริเวณหัวและลำตัวสีขาว ปลายปีกและขนหางมีสีดำ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ตามป่าชายเลนและเกาะกลางทะเล มักหากินอยู่รวมเป็นฝูงประมาณ 15-30 ตัว ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ เป็นนกที่บินได้เก่งและบินเร็ว มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง กินเมล็ดพืชและผลไม้ เป็นอาหาร มีถิ่นกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย สำหรับในประเทศไทย ถือเป็นนกประถิ่นที่พบได้บ่อยพบบริเวณเกาะทางด้านชายฝั่งทะเลตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอันดามัน พบหาได้ยากบนแผ่นดินใหญ่ อาจมีการย้ายถิ่นไปตามแหล่งอาหาร เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและนกลุมพูขาว · ดูเพิ่มเติม »

นกหัวโตทรายใหญ่

'' Charadrius leschenaultii '' นกหัวโตทรายใหญ่ เป็นนกชายเลนในสกุลนกหัวโต และเป็นนกอพยพในกลุ่มที่ผลัดขนในฤดูผสมพันธุ์ และมีความแตกต่างระหว่างเพศในฤดูผสมพันธุ์ โดยฤดูผสมพันธุ์มีถิ่นอาศัยบริเวณกึ่งทะเลทรายในประเทศตุรกี ต่อเนื่องถึงเอเชียกลาง ส่วนฤดูหนาวจะอพยพมาทางเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทย พบได้ในแหล่งน้ำใกล้ป่าชายเลน ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันช่วงประมาณเดือน พฤศจิกายน ถึง มกราคม ชื่อชนิดทางวิทยาศาสตร์ (leschenaultii) ดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคล คือ Jean Baptiste Leschenault de la Tour (ค.ศ. 1773 - 1826) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้พบและจำแนกชนิดได้ครั้งแรก ที่เมืองพอนดิเชอร์รี ในประเทศอินเดี.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและนกหัวโตทรายใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกตะขาบทุ่ง

นกตะขาบทุ่ง หรือ นกขาบ (Indian roller, Blue jay) เป็นนกประจำถิ่นที่พบในทวีปเอเชีย บริเวณตั้งแต่ประเทศอิรัก อนุทวีปอินเดีย จนถึงคาบสมุทรอินโดจีน พบได้ทั่วไปตามต้นไม้ริมทางหรือสายไฟ ทุ่งนา ป่าโปร่ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ฝั่งอันดามัน นกตะขาบทุ่งเป็นนกหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae) ที่พบในประเทศไทย ซึ่งอีกชนิดคือ นกตะขาบดง (Eurystomus orientalis) นกตะขาบทุ่งมีขนาดใกล้เคียงกับนกพิราบ อาหารคือแมลง สัตว์ตัวเล็ก ๆ หรือกิ้งก่าในบางครั้ง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและนกตะขาบทุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

นกแก้วโม่ง

แก้วโม่ง (Alexandrine parakeet, Alexandrine parrot) เป็นนกตระกูลนกแก้วขนาดเล็ก-กลาง โดยมีชื่อสามัญตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ อเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรมาซิโดเนีย เมื่อครั้งยาตราทัพเข้ามาสู่ในทวีปเอเชีย โดยได้นำนกแก้วชนิดนี้กลับไปยังทวีปยุโรป นกแก้วโม่งมีถิ่นกำเนิดแพร่กระจายทั่วไปในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ไล่ลงไปยังอินเดีย, อินโดจีน เช่น พม่า หรือ ประเทศไทยฝั่งตะวันตก รวมทั้งยังพบได้ตามหมู่เกาะในทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและนกแก้วโม่ง · ดูเพิ่มเติม »

นกโจรสลัด

นกโจรสลัด หรือ นกฟรีเกต เป็นนกทะเลขนาดกลาง-ใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Fregatidae มีเพียงสกุลเดียวเท่านั้น คือ Fregata ในอันดับ Pelecaniformes อันดับเดียวกันกับนกกระทุง มีรูปร่างโดยรวม คือ มีปากยาวกวางหัวและเป็นรูปทรงกระบอก ปลายจะงอยปากทั้งสองเป็นขอบแนวสบเรียบ รูจมูกเล็กลักษณะเป็นรองยาว ถุงใต้คางเล็กแต่พองออกได้ ปากยาวมาก ปลายปากแหลม ขนปลายปากเส้นสุดท้ายหรือเส้นนอกสุดยาวที่สุด หางเป็นหางแบบเว้าลึก มีขนหาง 12 เส้น แข็งเล็กและสั้น ประมาณ 1 ใน 5 ของความยาวปาก นิ้วยาว โดยมีนิ้วที่ 3 ยาวที่สุด ปลายนิ้วเป็นเล็บยาว เล็บหยัก มีพังผืดนิ้วเป็นแบบตีนพัดเต็ม แต่มักมีขนาดเล็กและเชื่อมเฉพาะโคนนิ้ว ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะและสีสันแตกต่างกัน ทำรังเป็นกลุ่มตามพุ่มไม้เตี้ย หรือตามโขดหิน หรือพื้นทราย วางไข่เพียงครอกละ 1 ฟอง เปลือกไข่สีขาว จะช่วยกันกกไข่ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ลูกนกแรกเกิดมีสภาพเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน ลูกนกที่จะเริ่มออกมาจากรังเกาะกิ่งไม้ แต่ก็ยังต้องอยู่ในความดูแลของพ่อแม่อีกนานนับปี พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก นกโจรสลัดจัดเป็นนกที่บินได้ ที่เมื่อกางปีกออกแล้วถือว่าเป็นนกจำพวกหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพราะกางปีกออกแล้วจะมีความยาวจากปีกข้างหนึ่งไปจรดอีกข้างหนึ่งประมาณ 70-100 เซนติเมตร และสามารถบินอยู่บนอากาศได้เป็นเวลาหลายวัน โดยไม่ต้องลงพื้นดิน เป็นนกที่ทรงตัวได้ดี เนื่อวงจากปีกมีขนาดใหญ่และหางในการรับน้ำหนัก และทรงตัว นกโจรสลัดเป็นนกที่กินเนื้อเป็นอาหาร มีพฤติกรรมชอบโฉบขโมยปลาจากนกอื่น เช่น นกนางนวลเป็นประจำ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก แต่บางครั้งก็จะโฉบจับเหยื่อจากน้ำด้วยตัวเอง แต่ไม่สามารถที่จะดำน้ำได้ เป็นนกที่หากินในเวลากลางวัน และนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน นอกจากนี้ยังกินอาหารอย่างอื่นได้ด้วย เช่น ลูกเต่าทะเลแรกฟัก เป็นต้น เป็นนกที่มีความแตกต่างระหว่างเพศผู้และเพศเมียอย่างชัดเจน เพศผู้เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์จะมีถุงใต้คางสีแดงสดเห็นชัดเจน จนเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งถุงนี้มีไว้เพื่ออวดเพศเมียในฤดูผสมพันธุ์ เพื่อดึงดูดความสนใจจากเพศเมีย โดยจะป่องหรือเป่าถุงนี้ให้พองขึ้น นกโจรสลัดได้ถูกจำแนกออกเป็น 5 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและนกโจรสลัด · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าเหยี่ยว

นกเค้าเหยี่ยว (Brown Hawk-owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับนกเหยี่ยวหรืออินทรี มีลำตัวขนาดใหญ่ ปีกกว้างและกลมมน ตากลมโตสีเหลืองทอง ระหว่างตามีแถบคาดสีเหลือง หัวและลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวด้านล่างสีกีกาหรือสีขาว มีลายจุดสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเหลือง มีขนาดใหญ่เต็มที่สูงได้ถึง 30 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคตะวันออกกลางจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ หมู่เกาะอันดามันในทะเลอันดามัน จนถึงภาคใต้ของจีนและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ในภาคเหนือ, ภาคตะวันตก, ภาคใต้, บางส่วนของภาคตะวันออก และจัดเป็นนกอพยพในภาคใต้ โดยพบในป่าโปร่ง, ป่าชายเลน จนถึงป่าที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,200 เมตร มีทั้งหมด 12 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในประเทศไทย พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและนกเค้าเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

แมงดาจาน

แมงดาจาน เป็นแมงดาเพียงหนึ่งในสองชนิดที่พบได้ในประเทศไทย และจัดเป็นหนึ่งในสองชนิดที่อยู่ในสกุล Tachypleus แมงดาจานมีลักษณะกระดองแบนราบและกว้างกว่าแมงดาถ้วย หางมีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาเป็นสามเหลี่ยม มีสันซึ่งมีหนามเล็ก ๆ เรียงเป็นแถวตามความยาวอยู่ตรงกลางด้านบนของหาง ตัวผู้มีขอจับพองออกเป็นกระเปาะ 2 คู่ ตัวเมียมีหนามบริเวณขอบด้านข้างของส่วนท้องขนาดยาว 3 คู่แรก และสั้น 3 คู่หลังในตัวผู้มีขนาดความยาวใกล้เคียงกัน ด้านท้องมีสีน้ำตาลอ่อนและมีสีเข้มตอนขอบหน้า ขนาดใหญ่สุดมีความกว้างของกระดอง ไม่เกิน 25 เซนติเมตร หรือประมาณเท่าจานข้าวใบใหญ่ อันเป็นที่มาของชื่อ สีของกระดองอ่อนกว่าแมงดาถ้วย ความยาวของกระดองประมาณ 35–40 เซนติเมตร พบกระจายทั่วไปในเขตชายฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย, ทางตะวันออกของอ่าวเบงกอล, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ซาราวะก์, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย ไปจนถึงจีน สำหรับในประเทศไทยซึ่งพบแพร่กระจายชุกชุมทั้ง 2 ฟาก ในฝั่งทะเลอันดามันพบได้ตั้งแต่บริเวณจังหวัดสมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, เพชรบุรีถึงชุมพร ในฝั่งอ่าวไทยพบได้ที่ จังหวัดสมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรีจนถึงจันทบุรี แมงดาจานนั้น มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า แมงดาทะเลหางเหลี่ยม หรือ แมงดาทะเลหางสามเหลี่ยม ตามลักษณะของหาง จัดเป็นแมงดาชนิดที่รับประทานได้ โดยนิยมนำไข่และเนื้อมาย่าง หรือทำเป็นห่อหมก โดยที่พิษของแมงดาจานนั้น ในประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานพบ แต่ทว่าในต่างประเทศ มีรายงานพบประมาณร้อยละ 10 เช่นที่ สิงคโปร์ แมงดาจานอาศัยอยู่บริเวณน้ำตื้นตามชายฝั่งทะเล โดยวางไข่ไว้บนหาดทรายด้วยการขุดหลุมประมาณ 8–12 หลุม วางไข่แต่ละครั้งประมาณ 9,000 ฟอง ช่วงต้นฤดูร้อนประมาณตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน โดยจะวางไข่ในช่วงน้ำขึ้นสูงสุดประมาณ 2–3 วัน ทุก ๆ รอบ 15 วัน ไข่มีสีเหลืองอ่อน และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 มิลลิเมตร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและแมงดาจาน · ดูเพิ่มเติม »

แม่หอบ

แม่หอบ หรือ จอมหอบ (อังกฤษ: Mud lobster, Mangrove lobster) เป็นสัตว์น้ำประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกครัสเตเชียนชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสกุล Thalassina และวงศ์ Thalassinidae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตโบราณหรือซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตที่ดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคไมโอซีนยาวนานถึง 16 ล้านปี มีรูปร่างคล้ายกุ้งผสมกับปูโดยขาคู่แรกขนาดใหญ่คล้ายก้ามปู นอกจากใช้เดินแล้วยังทำหน้าที่ขุดรูและขนดินออกมากองคล้ายจอมปลวก แต่มีขนาดเล็กกว่า หัวเหมือนกุ้งมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีแดงเข้มเป็นปล้อง ๆ คล้ายกั้ง ท้องขนาดเล็กยาวเรียวไม่มีแพนหาง ลักษณะคล้ายแมงป่อง มีขนาดความยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร (7.9–12 นิ้ว) อาศัยโดยการขุดรูอยู่ตามพื้นป่าชายเลน โดยขนดินขึ้นมากองทับถมกันเป็นเนินสูง และอาศัยอยู่ด้านใต้กองดินนั้น สามารถอยู่บนบกได้เป็นเวลานานกว่าครัสตาเซียนจำพวกอื่น ๆ กินอาหารจำพวกอินทรีย์สารที่อยู่ในดินเลนในเวลากลางคืน ในประเทศไทยพบเฉพาะป่าชายเลนทางภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ในต่างประเทศพบได้ที่รัฐเกรละ ในอินเดีย, ศรีลังกาจรดถึงเวียดนาม, หมู่เกาะริวกิวของญี่ปุ่น จนถึงชายฝั่งทะเลของปาปัวนิวกินีและออสเตรเลียทางตอนเหนือและตะวันตก รวมถึงฟิจิและซามัว พบได้รอบ ๆ พื้นที่เกษตรกรรม เช่น พื้นที่เพาะเลี้ยงปลาหรือกุ้ง โดยถือว่าเป็นสัตว์คุกคาม การที่ได้ชื่อในภาษาไทยว่า "แม่หอบ" เนื่องจากมีความเชื่อว่า เนื้อของแม่หอบสามารถรักษาอาการหอบหืดได้ จึงนิยมนำมาเผาไฟรับประทานกันในอดีต สอดคล้องกับชื่อวิทยาศาสตร์ Thalassina ที่หมายถึง "การย้อนกลับทางเดินหายใจ" เพื่อให้เหงือกไม่มีสิ่งสกปรก สถานะปัจจุบันของแม่หอบ ถือได้ว่าหมิ่นเหม่ต่อการสูญพันธุ์ อันเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ประกอบกับเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างบอบบางตายง่าย เช่น ในช่วงฤดูมรสุมน้ำทะเลอาจท่วมรูของแม่หอบ จนทำให้แม่หอบตายได้.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและแม่หอบ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำกระบุรี

แม่น้ำกระบุรี หรืออีกชื่อหนึ่งของคนในท้องถิ่นว่า แม่น้ำปากจั่น ภาษาพม่าเรียก แม่น้ำจัน (မြစ်ကြီးနား, BGN/PCGN: myitkyina) เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า มีความยาวตลอดสายประมาณ 60 กิโลเมตร บางแห่งว่า 95 กิโลเมตร บางแห่งว่า 125 กิโลเมตร มีต้นน้ำมาจากเทือกเขาตะนาวศรี ไหลผ่านพื้นที่อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง จังหวัดระนอง แม่น้ำสายนี้มีลักษณะพิเศษทางภูมิประเทศที่เป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า ชะวากทะเล หมายถึงบริเวณปากแม่น้ำมีระยะห่างระหว่างฝั่งทั้งสองค่อย ๆ ขยายกว้างออกไปจนเป็นอ่าว อันเกิดจากแผ่นดินมีการยุบตัวลง มีอิทธิพลน้ำเค็มจากทะเลเข้าไปได้ สองฝั่งแม่น้ำจึงมีสภาพนิเวศแบบป่าชายเลนไปตลอดจนถึงเขตอำเภอละอุ่น บริเวณปากคลองละอุ่นจึงเริ่มเป็นบริเวณที่แม่น้ำมีความกว้างเป็นปรกติ โดยมีความกว้างสุด 6 กิโลเมตร ก่อนออกสู่ทะเลนั้นก็มีลำน้ำสาขาไหลออกสู่แม่น้ำกระบุรี คือ คลองบางหมี คลองขี้นาค คลองลำเลียง คลองบางสองรา คลองบางใหญ่เหนือ คลองบางใหญ่ คลองละอุ่น คลองจิก คลองหลุมถ่าน คลองเส็ตกวด และคลองหินช้าง ประชาชนทั้งสองฝั่งแต่เดิมเป็นคนพื้นเมืองปักษ์ใต้ หมู่บ้านที่อยู่ตรงข้ามกับอำเภอกระบุรี (เมืองตระในอดีต) คือหมู่บ้านหมาราง หมู่บ้านตลิ่งชัน ขึ้นกับเมืองมะลิวัลย์ ซึ่งแต่เดิมเป็นดินแดนของราชอาณาจักรสยาม ได้เสียให้แก่อังกฤษไปในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อมกับเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี แม่น้ำสายนี้ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและแม่น้ำกระบุรี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำอิรวดี

แม่น้ำอิรวดี (ออกเสียง เอยาวะดี) เป็นแม่น้ำที่ไหลจากเหนือจรดใต้ผ่านประเทศพม่า เป็นแม่น้ำที่ใหญ่สุดในประเทศและเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญที่สุด ชื่ออิรวดีในพม่ามาจาก ภาษาบาลี Irāvatī Airavati Erāvatī เป็นชื่อบาลีของช้างเอราวัณพาหนะของพระอินทร์ ช้างมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับน้ำ และถูกนำมาใช้เป็นชื่อของแม่น้ำอื่น ๆ ในหลายภูมิภาคเช่น แม่น้ำอจิรวดี ในอินเดีย แม่น้ำอิรวดีมีต้นกำเนิดจากจุดบรรจบกันของ แม่น้ำมะลิขา และ แม่น้ำเมขา ที่ไหลลงมาจากธารน้ำแข็งบริเวณเทือกเขาหิมาลัยทางตอนเหนือของปูตาโอในพม่าตอนบน แม่น้ำค่อนข้างไหลเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และไหลลงสู่ทะเลอันดามัน แม่น้ำอิรวดีมีพื้นที่ลุ่มน้ำ 404,200 ตารางกิโลเมตร (156,026 ตารางไมล์) ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศพม่า นักกวีชาวอังกฤษ รัดยาร์ด คิปลิง มีการบรรยายถึงแม่น้ำอิรวดีในบทกวีที่เขาแต่งเรื่อง 'ถนนสู่มัณฑะเลย์' กว่าหกศตวรรษที่แม่น้ำถูกใช้สำหรับการค้าขายและการขนส่ง แม่น้ำมีความสำคัญต่อจักรวรรดิอังกฤษหลังได้พม่าเข้ามาอยู่ในอาณานิคมได้มีการพัฒนาเครือข่ายคลองชลประทาน แม่น้ำยังคงมีความสำคัญในปัจจุบันเนื่องจากเป็นเส้นทางการจราจรและเป็นเส้นทางของสินค้าส่งออกจำนวนมาก ข้าวมีการผลิตในเขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีซึ่งมีการใช้น้ำจากแม่น้ำ ในปี..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและแม่น้ำอิรวดี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำตรัง

แม่น้ำตรัง เป็นแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดตรัง มีความยาวประมาณ 123 กิโลเมตร เมื่ออยู่ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกว่า แม่น้ำหลวง เมื่อไหลเข้าเขตจังหวัดตรังเรียกว่า แม่น้ำตรัง ในช่วงที่ไหลผ่านอำเภอเมืองตรัง เรียกว่า คลองท่าจีน เดิมใช้เป็นเส้นทางคมนาคม จากดินแดนภายในจังหวัดติดต่อไปยังทะเลที่ปากน้ำกันตัง กล่าวกันว่า ในสมัยโบราณสามารถเดินเรือไปได้ถึงทุ่งสง เดิมแม่น้ำสายนี้มีความกว้างราว 50 เมตร แต่ปัจจุบันบางแห่งเหลือความกว้างเพียง 30 เมตร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและแม่น้ำตรัง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำตาปี

แม่น้ำตาปี ช่วงที่ไหลผ่านเมืองสุราษฎร์ธานี แม่น้ำตาปี ช่วงที่ไหลผ่าน อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช แม่น้ำตาปี เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของประเทศไทย มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวง อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และไหลสู่อ่าวไทยที่อ่าวบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี นักปราชญ์ชาวกรีกนามว่าปโตเลมี ได้กล่าวถึง แม่น้ำอัตตาบาส์ ซึ่งหมายถึง แม่น้ำตาปี.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและแม่น้ำตาปี · ดูเพิ่มเติม »

แฮ็กฟิช

แฮ็กฟิช (hagfish, slim eel) เป็นปลาในชั้นปลาไม่มีขากรรไกรเพียงหนึ่งในสองจำพวกที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน (อีกหนึ่งจำพวก คือ ปลาแลมป์เพรย์) ที่อยู่ในชั้น Myxini ซึ่งมีเพียงอันดับเดียว คือ Myxiniformes และวงศ์เดียว คือ Myxinidae แฮ็กฟิชเป็นปลาที่อยู่ในทะเล โดยการกินปลาตาย หรือใกล้ตายรวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม เช่น หนอนปล้อง มอลลัสคาและครัสเตเชียนเป็นอาหาร จึงต่างจากปลาแลมป์เพรย์ที่ใช้ชีวิตเหมือนเป็นปรสิต และไม่ได้เป็นสัตว์ล่าเหยื่อ แต่ค่อนมาทางกินซากสัตว์มากว่า แฮ็กฟิชมีต่อมเมือกทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่กระจายอยู่ที่ผิวหนังและมีต่อมเมือกเรียงตัวเป็นแนวอยู่ทางด้านข้างตลอดความยาวของลำตัว มีคำกล่าวว่า แฮ็กฟิช 1 ตัว สามารถทำให้น้ำ 1 ถัง แปรสภาพเป็นก้อนวุ้นสีขาวภายใน 1 นาที จากเมือกของตัวที่ปล่อยออกมา ซึ่งมีความเหนียวมากกว่าใยแมงมุมด้วยซ้ำ สามารถใช้ในการห้ามเลือดได้ และนักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาเพื่อที่นำไปพัฒนาในการสร้างใยสังเคราะห์ แฮ็กฟิชมีประมาณ 67 ชนิด ชนิดที่รู้จักกันดีในทวีปอเมริกาเหนือ ในมหาสมุทรแอตแลนติก คือ ชนิด Myxine glutinosa และในมหาสมุทรแปซิฟิก คือ แฮ็กฟิชแปซิฟิก (Eptatretus stonti) แฮ็กฟิชจะกินปลาตายหรือปลาใกล้ตายโดยการกัดไชเข้าไปทางทวารหรือถุงเหงือก ซึ่งปากของแฮ็กฟิชจะอยู่ส่วนล่างของหัวต่ำลงมาเมื่อเปรียบเทียบกับปลาแลมป์เพรย์ แล้วกินส่วนของตัวปลาที่อ่อนนุ่มเหลือไว้แต่หนังและกระดูก นอกจากนี้แฮ็กฟิชยังกินปลาที่ติดอวนลอยอยู่ ทำความเสียหายให้แก่ชาวประมง แต่หลังจากมีการประมงโดยใช้อวนลากขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง ปัญหาที่เกิดจากแฮ็กฟิชจึงลดลง และในบางประเทศ ก็มีการปรุงแฮ็กฟิชรับประทานเป็นอาหารเช่นเดียวกับปลาแลมป์เพรย์ เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นต้น ในน่านน้ำไทยเคยมีรายงานพบแฮ็กฟิชด้วย ในฝั่งทะเลอันดามันในเขตที่ลึกกว่า 200 เมตร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและแฮ็กฟิช · ดูเพิ่มเติม »

โลมาหลังโหนก

ลมาหลังโหนก หรือ โลมาขาวเทา หรือ โลมาเผือก หรือ โลมาสีชมพู (Chinese white dolphin, Pacific humpback dolphin, Indo-Pacific humpbacked dolphin;; 中華白海豚; พินอิน: Zhōnghuá bái hǎitún) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) มีลักษณะทั่วไป คือ มีจะงอยปากยาวโค้งเล็กน้อยที่เด่นชัดคือส่วนของฐานครีบหลังจะเป็นสันนูนสูงรองรับครีบหลังสีลำตัวจะมีการผันแปรต่างกันมาก ตัวเล็กจะมีสีจางจนเหมือนเผือก แม้บางตัวก็มีสีออกขาว หรืออย่างน้อยขาวในบางส่วน หรือสีชมพู ซึ่งสีเหล่านี้ไม่ได้มาจากเม็ดสี แต่เป็นสีของหลอดเลือดที่ช่วยให้ไม่ให้อุณหภูมิร่างกายสูงจนเกินไป และมีส่วนหลังที่เป็นสันนูนเหมือนโหนก อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ขนาดโตเต็มที่ ตัวผู้ยาวประมาณ 3.2 เมตร ขณะที่ตัวเมียยาว 2.5 เมตร และลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1 เมตร มีอายุโดยเฉลี่ย 40 ปี โลมาหลังโหนกเมื่ออายุมากขึ้นสีชมพูตามตัวจะยิ่งเข้มขึ้น และส่วนด้านท้องและด้านล่างลำตัวจะเป็นจุด และมีสีที่สว่างกว่าลำตัวด้านบน กระจายพันธุ์ตามแถบชายฝั่งหรือแหล่งน้ำตื้นที่มีความลึกไม่เกิน 20 เมตร บริเวณอินโดแปซิฟิก พบมากที่สุด คือ อ่าวรีพัลส์ หรือเกาะลันเตา ที่ฮ่องกง ที่มีจำนวนประชากรในฝูงนับร้อย โดยมากชายฝั่งทะเลที่โลมาหลังโหนกอาศัยอยู่นั้นมักจะมีป่าชายเลนอยู่ด้วยเสมอ ๆ แต่จะต้องอยู่ในบริเวณน้ำตื้นเท่านั้น มีอุปนิสัยอาศัยประจำที่หรือมีการย้ายที่อพยพน้อยมากและอาศัยไม่ห่างจากชายฝั่งเกินระยะ 1 กิโลเมตร จึงพบเห็นตัวได้โดยง่าย โดยมักจะพบเห็นตั้งแต่ตอนเช้า จะอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 10 ตัว ว่ายน้ำช้า ประมาณ 4.8 กิโลเมตร/ชั่วโมง และจะดำน้ำประมาณ 40-60 วินาที ก่อนจะโผล่ขึ้นมาหายใจ กินปลาทั้งตามชายฝั่งและในแนวปะการังเป็นอาหารหลัก รวมทั้งหมึก, กุ้ง, ปู ออกหาอาหารเป็นฝูง โดยใช้คลื่นเสียง เป็นโลมาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาฝึกกันตามสวนน้ำหรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและโลมาหลังโหนก · ดูเพิ่มเติม »

โลมาปากขวดอินโดแปซิฟิก

ลมาปากขวดอินโดแปซิฟิก หรือ โลมาปากขวดมหาสมุทรอินเดีย (Indo-Pacific bottlenose dolphin, Indian ocean bottlenose dolphin) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายคลึงกับโลมาปากขวดธรรมดา (T. truncatus) คือ มีผิวหนังสีน้ำเงินเข้มอมเทา สีจางหรือบางครั้งอมชมพูด้านท้อง จะงอยปากค่อนข้างสั้นใหญ่ครีบหลังขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นรูปโค้งอยู่กึ่งกลางหลัง รูปร่างค่อนข้างอ้วน สิ่งที่แตกต่างจากโลมาปากขวด คือ มีจุดสีเทาเข้มเป็นประอยู่ด้านข้างและด้านท้องลำตัว และมีขนาดเล็กกว่า คือ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 1.9-2.3 เมตร เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดเดียวกันกับโลมาปากขวดธรรมดา จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1998 จึงได้รับการยอมรับให้แยกออกมาเป็นชนิดต่างหาก พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตอินโดแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย เช่น ทะเลแดง, ออสเตรเลียตอนเหนือ, ทะเลจีนใต้, ชายฝั่งแอฟริกา ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน แต่ปัจจุบันพบได้น้อยลง และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและโลมาปากขวดอินโดแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

โจรสลัด

รสลัด (Pirate, Buccaneer, Frigate) คือบุคคลที่ปล้นหรือโจรกรรมในทะเล หรือบางครั้งตามชายฝั่งหรือท่าเรือต่างๆ โจรสลัดในปัจจุบันจะแตกต่างกับโจรสลัดในอดีตที่มีลักษณะเฉพาะคือจะมีผ้าคาดหัว ใช้ดาบใบกว้างหรือปืนพกและเรือโจรสลัดขนาดใหญ่ ในปัจจุบันโจรสลัดนิยมใช้เรือเร็ว และใช้ปืนกลแทนที่ดาบ เป้าหมายส่วนใหญ่ที่โจรสลัดเลือกคือเรือสินค้าและเรือโดยสาร สำหรับรูปแบบที่ใช้ในการบุกเข้าปล้นมีทั้งชูธงหลอกล่อเป้าหมายว่าเป็นเรือสินค้าบ้าง เรือของกองทัพหรือของศาสนจักรบ้าง หรือแม้กระทั่งใช้กำลังบุกเข้าโจมตีโดยตรงเลยก็มี.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและโจรสลัด · ดูเพิ่มเติม »

ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์

ทสัน อาร.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ · ดูเพิ่มเติม »

เกมร้ายเกมรัก

กมร้ายเกมรัก เป็นนวนิยายไทย จากบทประพันธ์ชื่อเดิม "เกมร้ายพ่ายเกมรัก" โดยนามปากกาของ "บุษบาพาฝัน" ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2554 เขียนบทโทรทัศน์โดย ปณธี กำกับการแสดงโดย อำไพพร จิตติ์ไม่งง ดำเนินงานโดย บริษัท ละครไท จำกัด ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554 นำแสดงโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ, อุรัสยา เสปอร์บันด์,ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ,ณัฐวรา วงศ์วาสนา ร่วมด้วยนักแสดงสมทบอีกมากมาย และออกอากาศรีรันซ้ำอีกครั้งทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 14.10 - 15.30 น. เริ่มวันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556 โดยออกอากาศต่อจากละครเรื่อง เมียแต่ง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเกมร้ายเกมรัก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะพีพีเล

กาะพีพีเล อ่าวมาหยา เกาะพีพีเล เกาะพีพีเล เป็นเกาะในอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ทะเลอันดามัน จังหวัดกระบี่ มีพื้นที่เพียง 6.6 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่เต็มไปด้วยภูเขาหินปูน มีหน้าผาสูงชัน ตั้งฉากกับพื้นผิวทะเล เกือบทั้งเกาะ ความลึกน้ำเฉลี่ยราว 20 เมตร ลึกสุดประมาณ 34 เมตร ทางตอนใต้ของเกาะ อ่าวในเกาะมีความสวยงาม เช่น อ่าวปิเละ อ่าวมาหยา ฯลฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะมีถ้ำชื่อไวกิ้ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้เมื่อปี..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเกาะพีพีเล · ดูเพิ่มเติม »

เกาะญองอูพี

เกาะญองอูพี เกาะญองอูพี (Nyaung Oo Phee Island) เป็นเกาะแห่งหนึ่งในกลุ่มเกาะมะริดของพม่าตั้งอยู่ที่เขตของเมืองเกาะสองในทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย เกาะมีลักษณะคล้ายกับหัวธนู มีพื้นที่ประมาณ 1,500 ไร่ ชื่อเกาะมาจากวีรบุรุษที่ชื่อว่าญองอูพี (Nyaung Oo Phee) ซึ่งเป็นคนที่ชาญฉลาดมีทักษะความคิดและเก่งกาจของพม่า จึงใช้นามนี้ตั้งชื่อเกาะและเรียกติดต่อกันมาจวบถึงปัจจุบัน หมวดหมู่:เกาะในประเทศพม่า หมวดหมู่:สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศพม่า หมวดหมู่:กลุ่มเกาะมะริด หมวดหมู่:แหล่งดำน้ำใต้น้ำ.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเกาะญองอูพี · ดูเพิ่มเติม »

เกาะลังกาวี

ัตุรัสอินทรี ที่สร้างตามที่มาของชื่อเกาะคือ ''ฮลัง'' ลังกาวี (Langkawi) หรือ ลังกาวี อัญมณีแห่งไทรบุรี (Langkawi Permata Kedah; ลังกาวีเปอร์มาตาเกอดะฮ์) ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันใกล้ฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ขึ้นกับรัฐเกอดะฮ์ ประเทศมาเลเซีย ลังกาวีห่างจากเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูลของประเทศไทยเพียง 4 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเมืองกัวลาปะลิสประมาณ 30 กิโลเมตร และเมืองกัวลาเกอดะฮ์ 51 กิโลเมตร ประกอบด้วยกลุ่มเกาะเมืองร้อนจำนวน 99 เกาะ และเป็นที่รู้จักของชาวไทยและมาเลเซียจากตำนานของมะห์สุหรี สตรีผู้ถูกประหารด้วยความอยุติธรรม โดยนางได้สาปแช่งเกาะลังกาวีไว้ก่อนสิ้นใจ และการนำทายาทรุ่นที่ 7 ของเธอมาถอนคำสาป.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเกาะลังกาวี · ดูเพิ่มเติม »

เกาะสอง

กาะสอง (ก่อต้อง) หรือ ปูโลดัว (Pulodua, ڤولودوا) มีชื่อเดิมว่า วิกตอเรียพ็อยนต์ (Victoria Point) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเขตตะนาวศรี ประเทศพม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเกาะสอง · ดูเพิ่มเติม »

เกาะตะรุเตา

หาดของเกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา เป็นเกาะหลัก เกาะใหญ่ที่สุดในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ซึ่งประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ห่างจากเกาะลังกาวี ของมาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตร รวมทั้งพื้นที่บนเกาะและทะเลประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร คำว่า "ตะรุเตา" เป็นภาษามลายู เพี้ยนมาจากคำว่า ตือโละตาวาร์ (Teluk Tawar) แปลว่า "อ่าวจืด" หรือ "อ่าวน้ำจืด" เพราะบนเกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่เดียวที่มีธารน้ำจืดอยู่ด้วย ในทางประวัติศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเกาะตะรุเตา · ดูเพิ่มเติม »

เรือหลวงกระบี่

รือหลวงกระบี่ (HTMS Krabi) (OPV-551) เป็นเรือรบประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น ริเวอร์ หมายเลขประจำเรือ 551 ประจำการอยู่ในสังกัดหมวดเรือที่ 1 กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ ฐานทัพเรือสัตหีบ โดยเรือมีขนาดระวางขับน้ำเต็มที่ 1,969 ตัน และเป็นเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่กองทัพเรือไทยเคยสร้างม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเรือหลวงกระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

เรือหลวงจักรีนฤเบศร

รือหลวงจักรีนฤเบศร (HTMS Chakri Naruebet; ย่อ: CVH-911) เป็นเรือธงและเรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวของราชนาวีไทย ประจำการในส่วนกำลังรบของกองทัพเรือ เป็นเรือที่ต่อขึ้นจากประเทศสเปน โดยนำแบบมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส (Principe de Asturias) ของกองทัพเรือสเปน โดยปรับปรุงระบบขับเคลื่อน ระบบควบคุมการบิน ระบบอาวุธ และลดระวางขับน้ำลงเหลือสองในสาม ขึ้นระวางประจำการเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเรือหลวงจักรีนฤเบศร · ดูเพิ่มเติม »

เรือหัวโทง

รือหัวโทง เป็นเรือประมงแบบท้องถิ่นในภาคใต้ของประเทศไทย นิยมใช้กันทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ลักษณะเป็นเรือขนาดเล็กหัวเรือสูงงอนขึ้นไปบรรจบกับทวนหัวที่ยื่นสูงขึ้นมา และตรงทวนท้ายมีลักษณะเป็นรูปลิ่ม ขนาดตั้งแต่ 7-8 เมตรขึ้นไปจนถึง 10 กว่าเมตร ติดเครื่องท้.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเรือหัวโทง · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 10 องศาเหนือ

้นขนานที่ 10 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 10 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกากลาง ทวีปอเมริกาใต้ และมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 12 ชั่วโมง 43 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 11 ชั่วโมง 33 นาที ในระหว่างเหมายัน ส่วนของเขตแดนระหว่างประเทศกินีและประเทศเซียร์ราลีโอนถูกกำหนดด้วยเส้นขนานนี้ ช่องแคบสิบองศาในมหาสมุทรอินเดียตั้งชื่อตามเส้นขนานนี้.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเส้นขนานที่ 10 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 15 องศาเหนือ

้นขนานที่ 15 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 15 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปแอฟริกา เอเชีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกากลาง แคริเบียน และมหาสมุทรแอตแลนติก ในเหตุการณ์ความขัดแย้งชาด–ลิเบียระหว่างปี..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเส้นขนานที่ 15 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)

้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เป็นมุสลิมชีอะหฺอิษนาอะชะรียะหฺ (สิบสองอิมาม) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2086 ณ ตำบลปาอีเนะชาฮาร ในเมืองกุม ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของศาสนาอิสลามตั้งอยู่บนที่ราบต่ำทางตอนเหนือของเตหะราน ในประเทศอิหร่าน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) · ดูเพิ่มเติม »

เขตตะนาวศรี

ตะนาวศรี (တနင်္သာရီတိုင်းဒေသကြီး, ตะนี้นตายี; ဏၚ်ကသဳ หรือ တနၚ်သြဳ) เป็นเขตที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศพม.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเขตตะนาวศรี · ดูเพิ่มเติม »

เขนงนายพราน

นงนายพรานเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเขนงนายพราน · ดูเพิ่มเติม »

เต่าหญ้า

ต่าหญ้า หรือ เต่าสังกะสี หรือ เต่าหญ้าแปซิฟิก (Olive ridley sea turtle, Pacific ridley) เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepidochelys olivacea เป็นเต่าทะเลขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 60-70 เซนติเมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-40 กิโลกรัม กระดองมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาล เกล็ดบนกระดองมีลักษณะซ้อนกันเหมือนสังกะสีมุงหลังคา อันเป็นที่มาของอีกชื่อเรียกหนึ่ง ส่วนท้องมีสีเหลืองออกขาว หัวค่อนข้างโต ดวงตาปูนโปนออกมา กระดองมีความแข็งมาก ริมฝีปากสั้นทู่และคมแข็งแรงมากเพื่อใช้สำหรับขบกัดกินสัตว์มีกระดองซึ่งเป็นอาหารหลัก ส่วนของกระดองและท้องเชื่อมต่อกัน เป็นเต่าทะเลที่ว่ายน้ำได้เร็วมาก โดยอาจว่ายได้ถึง 35 กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ในมหาสมุทรแอตแลนติกพบน้อยมาก กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น กุ้ง, ปลา, แมงกะพรุน, ปู, หอย, สาหร่ายทะเลและหญ้าทะเล ในน่านน้ำไทยจะพบได้ในฝั่งทะเลอันดามัน ในอ่าวไทยจะพบได้น้อยกว่า จัดเป็นเต่าทะเลอีกชนิดหนึ่งที่พบได้น้อบมากในน่านน้ำไทย โดยการวางไข่มีรายงานว่าพบที่ฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น โดยไม่พบในฝั่งอ่าวไทย และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเต่าหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

เต่าทะเล

ต่าทะเล (Sea turtle) เป็นเต่าที่อยู่ในวงศ์ใหญ่ Chelonioidea ซึ่งวิวัฒนาการจนสามารถอาศัยอยู่ได้ในทะเลตลอดเวลา โดยจะไม่ขึ้นมาบนบกเลย นอกจากการวางไข่ของตัวเมียเท่านั้น.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเต่าทะเล · ดูเพิ่มเติม »

เต่าตนุ

ต่าตนุ (Green turtle) เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelonia mydas อยู่ในวงศ์ Cheloniidae และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Chelonia เป็นเต่าทะเลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีน้ำหนักมากเมื่อโตเต็มที่ โดยมีความยาวตั้งแต่หัวจรดหางประมาณ 1 เมตร น้ำหนักราว 130 กิโลกรัม หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกันโดยไม่ซ้อนกัน กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย บริเวณกลางหลังเป็นแนวนูนเกือบเป็นสัน ท้องแบนราบขาทั้ง 4 แบน เป็นใบพาย ขาคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าขาคู่หน้ามาก ขาคู่หน้ามีเล็บแหลมเพียงข้างละชิ้น สีของกระดองดูเผิน ๆ มีเพียงสีน้ำตาลแดงเท่านั้น แต่ถ้าหากพิจารณาให้ละเอียด จะพบว่าเกล็ดแต่ละเกล็ดของกระดองหลังมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ขอบเกล็ดมีสีอ่อน ๆ เป็นรอยด่างและมีลายเป็นเส้นกระจายออกจากจุดสีแดงปนน้ำตาล คล้ายกับแสงของพระอาทิตย์ที่ลอดออกจากเมฆ จึงมีชื่อเรียกเต่าชนิดนี้ว่าอีกชื่อหนึ่งว่า "เต่าแสงอาทิตย์" ขณะที่ชาวตะวันตกเรียกว่า "เต่าเขียว" อันเนื่องจากมีกระดองเหลือบสีเขียวนั่นเอง พบกระจายพันธุ์ทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นับเป็นเต่าทะเลชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในน่านน้ำไทย โดยมักพบในเขตที่มีอุณหภูมิน้ำที่ค่อนข้างอุ่น คือ สูงกว่า 20 องศาเซลเซียสขึ้นไป เต่าตนุเป็นเต่าที่กินทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นหลัก โดยกินอาหารจำพวก หญ้าทะเลหรือสาหร่ายทะเล โดยมีสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป เช่น ปลาหรือแมงกะพรุน เป็นอาหารรองลงไป โตเต็มที่เมื่ออายุได้ 4-7 ปี เชื่อว่าอายุยืนถึง 80 ปี ฤดูวางไข่ตกอยู่ในราวเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายนในบริเวณอ่าวไทยและอยู่ในราวเดือนกันยายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในทะเลอันดามัน จำนวนไข่ต่อครั้งมีตั้งแต่ 70-150 ฟอง เต่าขนาดโตเต็มที่แล้วจะว่ายน้ำหากินไปเรื่อย ๆ แต่จะกลับมาวางไข่บนชายหาดที่ถือกำเนิด เป็นเต่าที่มักพบในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งหรือตามเกาะต่าง ๆ สำหรับในน่านน้ำไทย พบเต่าชนิดนี้ขึ้นวางไข่มากที่เกาะครามและเกาะกระในอ่าวไทย และทางฝั่งทะเลอันดามันพบวางไข่มากที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา บนชายหาดและเกาะหลายแห่งในจังหวัดภูเก็ตและพังง.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเต่าตนุ · ดูเพิ่มเติม »

เปอรานากัน

ปอรานากัน (Peranakan) หรือ บาบ๋า-ย่าหยา (Baba-Nyonya, จีน: 峇峇娘惹, พินอิน: Bābā Niángrě, ฮกเกี้ยน: Bā-bā Niû-liá) คือกลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีนที่มีวัฒนธรรมผสมผสาน และสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้นมาโดยเป็นการนำเอาส่วนดีระหว่างจีนกับมลายูมารวมกัน โดยชื่อ "เปอรานากัน" มีความหมายว่า "เกิดที่นี่" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยาม "บาบ๋า" และ "ย่าหยา" ว่า "เรียกชายที่เป็นลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย ว่า บ้าบ๋า, คู่กับ ย่าหยา ซึ่งหมายถึงหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดใน มลายูและอินโดนีเซี." อย่างไรก็ตามชาวเปอรานากันในประเทศไทย บริเวณจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันโดยเฉพาะภูเก็ตและตรังทั้งเพศชายและหญิง จะถูกเรียกรวม ๆ ว่า บ้าบ๋า หรือบาบา ส่วน ย่าหยา เป็นเพียงชื่อของชุดสตรีเท่านั้น ส่วนในภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีกระจายตัวอยู่แถบพื้นที่โดยเฉพาะปัตตานี สงขลา นราธิวาส อย่างไรก็ดี ชาวจีนที่อพยพมาทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยสมัยโบราณตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงรัชกาลที่ 5 ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนซึ่งจะกระจายอยู่แถบพื้นที่โดยเฉพาะปัตตานี สงขลา นราธิวาส ถ้าเป็นลูกครึ่งจีนหรือลูกจีนที่เกิดในพื้นที่ ก็จะเรียกว่า บาบ๋า หรือ เปอรานากัน ด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: ทะเลอันดามันและเปอรานากัน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »