โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลทรายนามิบ

ดัชนี ทะเลทรายนามิบ

right ทะเลทรายนามิบ (Namib Desert) ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งประเทศนามิเบีย ทอดตัวยาวตั้งแต่ประเทศแองโกลาทางทิศเหนือทาบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในประเทศนามิเบีย ไปสุดที่แม่น้ำออเรนจ์ตรงพรมแดนระหว่างประเทศนามิเบียกับประเทศแอฟริกาใต้ มีความยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร มีช่วงความกว้างตั้งแต่ 10-160 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร เป็นหนึ่งในทะเลทรายที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของโลก โดยคาดว่ามีอายุอย่างน้อย 55 ล้านปี สภาพโดยทั่วไปเวิ้งว้างและเต็มไปด้วยหมอก ทะเลทรายนามิบถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยแม่น้ำควีเซบซึ่งไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่อ่าววอลว.

7 ความสัมพันธ์: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในทวีปแอฟริการายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศนามิเบียนกเค้าใหญ่แวโรนารา (พืช)แมงป่องเวลวิชเซียเจมส์บอก

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในทวีปแอฟริกา

#fc4444 7 แห่งขึ้นไป มรดกโลก คือสถานที่ที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) คัดเลือกเพื่อแสดงว่าสถานที่นั้นมีความสำคัญทางวัฒนธรรมหรือธรรมชาติ รายชื่อด้านล่างคือรายชื่อแหล่งมรดกที่ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา ชื่อทางการเป็นชื่อที่ใช้ในการจดทะเบียนในบัญชีมรดกโลก ชื่อภาษาไทยเป็นชื่อที่แปลชื่อทางการ โดยศูนย์ข้อมูลมรดกโลก กระทรวงวัฒนธรรม ปี คือปีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก.

ใหม่!!: ทะเลทรายนามิบและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศนามิเบีย

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศนามิเบียทั้งสิ้น 2 แหล่ง ประกอบด้วยมรดกโลกทางวัฒนธรรม 1 แหล่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติอีก 1 แหล่ง.

ใหม่!!: ทะเลทรายนามิบและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศนามิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าใหญ่แวโร

นกเค้าใหญ่แวโร หรือ นกเค้าใหญ่ยักษ์ (Verreaux's eagle-owl, Giant eagle owl) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว จัดอยู่ในวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) นกเค้าใหญ่แวโร ได้ชื่อมาจากนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส ฌูล แวโร จัดเป็นนกเค้าขนาดใหญ่ และเป็นนกเค้าแมวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับสองรองมาจากนกเค้าใหญ่ยูเรเชีย (B. bubo) มีลำตัวยาวประมาณ 66 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 3.11 กิโลกรัม เมื่อกางออกปีกออกแล้วยาวได้กว่า 140 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย, Arkive มีใบหน้าที่มีลักษณะกับใบหน้ามนุษย์มากที่สุด พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา ตั้งแต่ซับสะฮารา พบได้ในทะเลทรายนามิบ ในประเทศนามิเบีย พบได้ในป่าฝน พบได้ในเขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรู ในประเทศเคนยา และพบได้ในที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3,000 เมตร (9,800 ฟุต) เป็นนกที่หากินในเวลากลางคืน โดยล่าเหยื่อเช่น นกและหนูขนาดเล็ก, กิ้งก่า, กบ, แมลงปีกแข็ง และแมลงชนิดต่าง ๆ มีเสียงร้อง กว๊อก, กว๊อก, กว๊อก-กว๊อกกกกกกกก กว๊อกกกกกกกก กว๊อน ในขณะที่ตัวเมียก็ส่งเสียงร้องคล้ายกันแต่มีเสียงที่แหลมสูงกว.

ใหม่!!: ทะเลทรายนามิบและนกเค้าใหญ่แวโร · ดูเพิ่มเติม »

นารา (พืช)

นารา เป็นไม้พุ่มมีหนามในวงศ์แตง พบในทะเลทรายนามิบ กิ่งก้านยืดยาว ไม่มีใบแต่มีหนามเป็นจำนวนมาก รากขนาดใหญ่ หยั่งลึกลงในดินได้ถึง 15 เมตรเพื่อดูดน้ำ มีเปลือกนอกที่แข็ง ผลสามารถรับประทานได้.

ใหม่!!: ทะเลทรายนามิบและนารา (พืช) · ดูเพิ่มเติม »

แมงป่อง

แมงป่อง (ภาษาไทยถิ่นอีสาน: แมงงอด; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงเวา) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกสัตว์ขาปล้อง เป็นสัตว์มีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมงป่องที่มีอายุถึง 440 ล้านปี ตั้งแต่ยุคซิลลูเรียน เช่น Archaeobuthus estephani หรือ Protoischnurus axelrodorum http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name.

ใหม่!!: ทะเลทรายนามิบและแมงป่อง · ดูเพิ่มเติม »

เวลวิชเซีย

นเพศเมีย เวลวิชเซีย เป็นพืชเพียงชนิดเดียวในสกุลเวลวิชเซีย เป็นพืชที่พบในทะเลทราย ชื่ออื่นๆของต้นไม้นี้ในภาษาต่างๆได้แก่ kharos/ khurub ใน ภาษานามา tweeblaarkanniedood ใน ภาษาแอฟริกานส์ nyanka ใน ภาษาดามารา และ onyanga ในภาษาเฮเรโร เป็นพืชเพียงชนิดเดียวในวงศ์ Welwitschiaceae และอันดับ Welwitschiales ในดิวิชัน Gnetophyta จัดเป็นพืชที่เป็นฟอสซิลที่มีชีวิต Welwitschia mirabilis เป็นพืชท้องถิ่นในทะเลทรายนามิบในแนวที่ใกล้ชายฝั่งทะเล ในประเทศนามิเบียและแองโกลา ลักษณะลำต้นหนา หยั่งลึกลงไปในดิน ลำต้นไม่สูง แต่มีความกว้างเหมือนเป็นจานขนาดใหญ่ ใบแบนยาวสองใบสีเขียวอมน้ำเงิน รูปร่างคล้ายงู รากหยั่งลึกลงในดิน ดูดซับน้ำฝนได้ดี.

ใหม่!!: ทะเลทรายนามิบและเวลวิชเซีย · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์บอก

มส์บอก หรือ เจมส์บัก (gemsbok, gemsbuck) เป็นแอนทิโลปจำพวกออริกซ์ชนิดหนึ่ง จัดเป็นแอนทิโลปขนาดใหญ่ มีรูปร่างกำยำล่ำสัน ดูมีพละกำลัง โดยที่ชื่อ "เจมส์บอก" ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาแอฟริคานส์คำว่า gemsbok ซึ่งมาจากภาษาดัตช์ที่หมายถึงชื่อของชามอยส์ตัวผู้ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกัน (โดยเฉพาะรูปแบบใบหน้า) แต่ทั้งนี้ชามอยส์และออริกซ์เป็นสัตว์ที่ไม่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยออกเสียงตามปกติในภาษาอังกฤษว่า ในอดีตเคยถูกจัดให้มีอีกหนึ่งชนิดย่อย คือ ไบซาออริกซ์ หรือออริกซ์แอฟริกาตะวันออก (O. beisa) แต่ปัจจุบันได้ถูกแยกออกมาเป็นชนิดต่างหาก ตัวผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 170–210 กิโลกรัม ตัวเมีย 140–185 กิโลกรัม ความสูงจากปลายกีบเท้าจรดหัวไหล่ 1.2 เมตร ความยาวลำตัว 2 เมตร ความยาวหาง 85 เซนติเมตร อายุโดยเฉลี่ย 12–15 ปี มีลักษณะเด่น คือ ปลายเขาที่แหลมยาวนั้นเป็นคู่ถ่างกางออก และมีแถบสีดำคล้ายปานขนาดใหญ่ที่บั้นท้ายลำตัวและที่โคนขาทั้งหน้าและหลัง และยังมีแผ่นหนังสีดำยาวใหญ่พาดเฉียงอยู่เหนือท้องทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นความแตกไปจากไบซาออริกซ์ อีกทั้งลำตัวก็บึกบึนกว่า และยังมีแถบสีดำครอบคลุมบริเวณใบหน้ามากกว่า เจมส์บอกพบได้ทั่วไปในตอนใต้ของแอฟริกา เช่น แอฟริกาใต้, นามิเบีย, บอทสวานา มักอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นทุ่งหญ้าแห้งแล้ง เช่น พื้นที่กึ่งทะเลทรายและทะเลทราย เช่น ทะเลทรายนามิบ, ทะเลทรายคาลาฮารี พบเป็นจำนวนมากในอุทยานแห่งชาติอีโตซา และอุทยานแห่งชาตินามิบ-นูคลัฟต์ ในนามิเบีย ซึ่งที่นี่เจมส์บอกได้ปรากฎอยู่ในตราแผ่นดินของนามิเบีย ด้วยเป็นสัตว์ที่มีปริมาณมากถึง 373,000 ตัว โดยในธรรมชาติจะตกเป็นอาหารของสัตว์นักล่า เช่น สิงโต, ไฮยีนา และหมาป่าแอฟริก.

ใหม่!!: ทะเลทรายนามิบและเจมส์บอก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ทะเลทรายนามิเบีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »