โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลทรายคาลาฮารี

ดัชนี ทะเลทรายคาลาฮารี

ทะเลทรายคาลาฮารี (Kalahari Desert) เป็นทะเลทรายในทวีปแอฟริกาใต้ มีเนื้อที่ 900,000 ตร.กม.

13 ความสัมพันธ์: บริเวณแห้งแล้งกระรอกดินเคปการวิ่งทางไกลศิลปะสกัดหินสตีนบอกทวีปแอฟริกาดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโกความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบอตสวานาคนพื้นเมืองแอฟริกาใต้สะฮาราแตงโมเมียร์แคตเจมส์บอก

บริเวณแห้งแล้ง

ทะเลทราย ทะเลทรายอาตากามา บริเวณแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย (desert) เป็นบริเวณแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อยและทำให้สภาพการดำรงชีพไม่เอื้อสำหรับพืชและสัตว์ ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวดินของโลกแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมเขตขั้วโลกด้วยซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อย และบ้างเรียก "บริเวณแห้งแล้งเย็น" บริเวณแห้งแล้งสามารถจำแนกได้โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตก อุณหภูมิ สาเหตุของการกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง (desertification) หรือโดยที่ตั้งภูมิศาสตร.

ใหม่!!: ทะเลทรายคาลาฮารีและบริเวณแห้งแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกดินเคป

กระรอกดินเคป (Cape ground squirrel) สัตว์ฟันแทะจำพวกกระรอก จัดเป็นกระรอกดินชนิดหนึ่ง โดยชื่อกระรอกดินเคปนี้อาจทำให้สับสนกับกระรอกต้นไม้ เช่น กระรอกสีเทาตะวันออก ที่พบได้ทั่วไปในเคปทาวน์ ซึ่งนำเข้ามาจากยุโรป โดย เซซิล จอห์น โรดส์ กระรอกดินเคป อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงหรือครอบครัวเล็ก ๆ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคแอฟริกาใต้ ตั้งแต่แอฟริกาใต้ตลอดจนถึงบอตสวานา และนามิเบีย และพบได้ในทะเลทรายคาลาฮารี โดยพฤติกรรมในทะเลทรายคาลาฮารี มักจะอาศัยอยู่ใกล้กับฝูงเมียร์แคท จนบางครั้งทำให้สับสนกันว่าเป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน เนื่องจากมีรูปร่าง ลักษณะ จนถึงพฤติกรรมคล้ายคลึงกัน มีหางยาวเป็นพวงเหมือนกระรอกทั่วไป โดยใช้ประโยชน์ของหางที่มียาวกว่าความยาวลำตัวนี้ในการปรับอุณหภูมิของร่างกาย โดยใช้หางห่อหุ้มลำตัวบังแดด กระรอกดินเคปจะลดความร้อนด้วยการนอนราบกับพื้นและเหยียดขาทั้งสี่ข้างออก และใช้พลังงานในการดำรงชีวิตได้ถึงร้อยละ 5 ซึ่งถ้าหากอากาศร้อนเกินไป จะหลบหรือขุดหลุมเข้าไปหลบร้อน และเมื่ออากาศหนาวก็จะเข้าไปอยู่ในหลุม กินอาหารจำพวกเมล็ดพืชและดอกไม้ โดยที่ชื่นชอบคือ พืชที่มีความอ่อนนุ่ม เช่น เมลอน หรือแตงโม หลุมหรือโพรงของกระรอกดินเคป มีความยาวถึง 20 เมตร ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงดูลูก และหลบภัย ซึ่งบางครั้งจะมีสัตว์ชนิดอื่นเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมด้ว.

ใหม่!!: ทะเลทรายคาลาฮารีและกระรอกดินเคป · ดูเพิ่มเติม »

การวิ่งทางไกล

กลุ่มของนักวิ่งสมัครเล่นในการแข่งวิ่งทางไกลในสวิตเซอร์แลนด์ ภาพถ่ายของ Burton Holmes ชื่อ ''"1896: Three athletes in training for the marathon at the Olympic Games in Athens"'' การวิ่งทางไกล หรือ การวิ่งทน เป็นการวิ่งอย่างต่อเนื่องเป็นระยะทางอย่างน้อย 5 กิโลเมตร (3.1 ไมล์) ตามสรีรวิทยาแล้ว นับว่าเป็นการออกกำลังแบบแอโรบิกตามธรรมชาติและต้องใช้ความอดทน ในหมู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มนุษย์ รวมถึงสัตว์ในอันดับวานร สามารถปรับตัวเพื่อวิ่งระยะทางไกลได้ดี สมมุติฐานการวิ่งทนเสนอไว้ว่าสัตว์สกุล โฮโม วิ่งทนเพราะการเดินทางข้ามพื้นที่กว้างใหญ่เพิ่มโอกาสในการไล่ล่า และยังสามารถล่าต่อเนื่องได้อีกด้วย การวิ่งทนยังพบในสัตว์กีบที่กำลังอพยพ และสัตว์กินเนื้อที่อาศัยบนพื้นดินบางประเภท เช่น หมา หมาป่า และไฮยีน่า ในสังคมมนุษย์รุ่นใหม่ มนุษย์มีหลายเหตุผลที่จะวิ่งทางไกล อาจทำไปเพื่อการออกกำลัง นันทนาการ การเดินทาง เหตุผลทางเศรษฐกิจ หรือเหตุผลทางวัฒนธรรม การวิ่งทางไกลสามารถช่วยปรับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดให้ดีขึ้น และยังช่วยทำให้สมรรถภาพร่างกายแบบแอโรบิกดีขึ้นโดยเป็นการเพิ่มกิจกรรมให้เอนไซม์และฮอร์โมน ซึ่งจะไปทำการกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น บ่อยครั้ง ทั้งปัจจุบันและในอดีต ที่การวิ่งทางไกลจะถูกมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการผึกทหาร การวิ่งเป็นอาชีพพบมากที่สุดในส่วนของการกีฬา ถึงแม้ว่าในสมัยก่อนยุคอุตสาหกรรม ผู้ส่งสาส์นเดินเท้าก็วิ่งเพื่อส่งข้อมูลไปยังสถานที่ที่ห่างไกลเช่นเดียวกัน การวิ่งทางไกลยังเป็นรูปแบบของประเพณีหรือพิธีของชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชนเผ่า Hopi และ Tarahumara ในกรีฑา ได้มีการกำหนดให้การแข่งขันวิ่งทางไกลต้องวิ่งเป็นระยะ 3 กิโลเมตร (1.86 ไมล์) ขึ้นไป ปกติจะมีการวิ่งอยู่ 3 ประเภท คือ ลู่และลาน การวิ่งบนถนน และการวิ่งวิบาก ซึ่งแตกต่างตามลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ ลู่วิ่งราดยาง ถนน และสภาพตามธรรมชาติ ตามลำดับ โดยปกติการวิ่งแข่งบนลู่จะมีระยะทางตั้งแต่ 3,000 เมตร ถึง 10,000 เมตร (6.2 ไมล์) ส่วนการวิ่งวิบากจะแข่งในระยะทางตั้งแต่ 5 ถึง 12 กิโลเมตร (3 ถึง 7.5 ไมล์) ในขณะที่การวิ่งแข่งบนถนนอาจมีระยะทางได้ยาวขึ้นถึง 100 กิโลเมตร (60 ไมล์) หรือมากกว่า การวิ่งวิบากในมหาวิทยาลัยที่สหรัฐอเมริกา ผู้ชายมีจะวิ่งเป็นระยะทาง 8000 เมตร ส่วนผู้หญิงจะวิ่งเป็นระยะทาง 6000 เมตร รายการวิ่งในโอลิมปิกฤดูร้อนมีระยะทาง 5,000 เมตร 10,000 เมตร และยังมีประเภทมาราธอน (42.195 กิโลเมตร หรือ 26 ไมล์ 385 หลา).

ใหม่!!: ทะเลทรายคาลาฮารีและการวิ่งทางไกล · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะสกัดหิน

อุทยานแห่งชาติแคนยอนแลนด์ในยูทาห์ในสหรัฐอเมริกา งานสลักลายหินที่รู้จักกันว่า "Meerkatze" ที่เป็นภาพสิงโตต่อสู้กันที่ Wadi Methkandoushที่ลิเบีย ศิลปะสกัดหิน (Petroglyph หรือ Rock engravings) เป็นแผนภูมิรูปภาพ (pictogram) และ แผนภูมิโลโก (logogram) ที่สร้างโดยการสกัด, เซาะ, ถาก, แกะ หรือ ครูดหินจนเป็นภาพ นอกทวีปอเมริกาเหนือนักวิชาการมักจะใช้คำว่า "สลัก", "แกะ" หรือคำบรรยายอื่นในการบรรยายวิธีการสร้างภาพดังกล่าว ศิลปะสกัดหินพบทั่วไปในโลกและมักจะเกี่ยวข้อง (แต่ไม่เสมอไป) กับชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในภาษาอังกฤษคำว่า "Petroglyph" มาจากคำสองคำในภาษากรีก คำว่า "Petros" ที่แปลว่า "หิน" และ "glyphein" ที่แปลว่า "แกะสลัก" เดิมเป็นคำที่คิดขึ้นในภาษาฝรั่งเศสว่า "pétroglyphe" "ศิลปะสกัดหิน" ไม่ควรจะสับสนกับคำว่า "ศิลปะวาดบนหิน" ซึ่งเป็นภาพที่วาดบนหน้าหิน แต่ศิลปะทั้งสองแบบจัดอยู่ในกลุ่มศิลปะหิน (Rock art) หรือ ศิลปะวางหิน (Petroform) ซึ่งเป็นศิลปะของการวางก้อนหินให้เป็นลวดลายหรือทรงต่างๆ บนพื้น หรือศิลปะก่อหิน (Inukshuk) ซึ่งเป็นศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งที่พบเฉพาะในบริเวณอาร์กติก.

ใหม่!!: ทะเลทรายคาลาฮารีและศิลปะสกัดหิน · ดูเพิ่มเติม »

สตีนบอก

ตีนบอก หรือ สตีนบัก (Steenbok, Steinbok, Steinbuck) แอนทิโลปชนิดหนึ่ง จำพวกแอนทิโลปขนาดเล็ก หรือแอนทิโลปแคระ สตีนบอก มีน้ำหนักตัวประมาณ 11 กิโลกรัม ความสูง 60 เซนติเมตร ความยาว 95 เซนติเมตร–1.1 เมตร อายุโดยเฉลี่ย 10 ปี พบกระจายพันธุ์ในแอฟริกาใต้ และพบได้ยากในแอฟริกาตะวันออก แต่จะพบได้บ่อยในอุทยานแห่งชาติเซเรนเกตี ในแทนซาเนีย และพบได้ที่อุทยานแห่งชาติอีโตซา ในนามิเบีย รวมถึงอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ ในแอฟริกาใต้ โดยจะอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าที่มีพุ่มไม้หนามแหลมเพื่อป้องกันตัว หรือเขตที่ติดต่อกับทะเลทราย เช่น ทะเลทรายคาลาฮารี รวมถึงอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าเปิดโล่งด้วย สตีนบอก มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขายาวเพียง 10–17.5 เซนติเมตร แต่มีความแหลมคม ตัวเมียไม่มีเขา แต่มีขนาดตัวใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย กินอาหารได้แก่ ใบไม้แทบทุกชนิด, ผลไม้จำพวกเบอร์รีต่าง ๆ ตลอดจนหญ้าสั้นที่เบ่งบานในช่วงฤดูฝน สตีนบอก ตกเป็นอาหารของสัตว์นักล่าขนาดใหญ่ เช่น เสือดาว, เสือชีตาห์, หมาป่า, แมวป่า, อินทรีหรือเหยี่ยวขนาดใหญ่, ลิงบาบูน และงูเหลือม แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย ได้แก่.

ใหม่!!: ทะเลทรายคาลาฮารีและสตีนบอก · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: ทะเลทรายคาลาฮารีและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก

กอากาศของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก หรือ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก (Okavango delta, Okavango swamp) เป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ในเขตของประเทศบอตสวานา แอฟริกาใต้ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก ได้รับสมญาว่าเป็น "รัตนะแห่งคาลาฮารี" เป็นเสมือนโอเอซิสของทะเลทรายคาลาฮารีที่แห้งแล้งของแอฟริกาใต้ เมื่อมองจากอวกาศ พื้นที่บริเวณนี้มีลักษณะคล้ายรอยเท้าของนกเป็นเขาวงกตประกอบด้วยทะเลสาบและแหล่งน้ำเล็ก ๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางดงกกและปาปิรุส นับเป็นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในแผ่นดินหรือพื้นที่ชุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ไม่ติดทะเล) ครอบคลุมพื้นที่กว่า 15,000 ตารางกิโลเมตร ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโกนับเป็นปากแม่น้ำโอคาวังโก น้ำที่นี่จะระเหยหายไปโดยไม่ไหลลงสู่ทะเลหรือมหาสมุทรใด ๆ เพราะเป็นพื้นที่รับน้ำจากแม่น้ำหลายสายของแองโกลาและแทนซาเนียสามเหลี่ยมโอคาแวนโก ตอนที่ 5, "สุดหล้าฟ้าเขียว".

ใหม่!!: ทะเลทรายคาลาฮารีและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบอตสวานา

นที่ตั้งของประเทศบอตสวานา ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบอตสวานา อิงถึงพืชและสัตว์ของประเทศบอตสวานา โดยประเทศบอตสวานา 90 เปอร์เซ็นต์ถูกครอบคลุมโดยนิเวศน์แบบสะวันนา ที่แตกต่างจากไม้พุ่มหญ้าสะวันนาในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในพื้นที่แห้งแล้งไปจนถึงต้นไม้สะวันนา ซึ่งประกอบด้วยต้นไม้และทุ่งหญ้าในพื้นที่เปียก แม้ภายใต้สภาพอากาศร้อนของทะเลทรายคาลาฮารี ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์เอาตัวรอดอยู่ โดยประเทศนี้มีมากกว่า 2,500 สายพันธุ์ของพืช และ 650 สายพันธุ์ของต้นไม้ พืชผักและผลไม้ป่าของที่นี่ยังมีความสำคัญอย่างมากกับประชากรในชนบทที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย และเป็นแหล่งที่มาหลักของอาหาร, เชื้อเพลิง และยาสำหรับคนที่อาศัยอยู่จำนวนมาก มีอุทยานแห่งชาติสามแห่งและอุทยานเจ็ดแห่งซึ่งเป็นที่พักอาศัยของสัตว์ป่าครอบครองพื้นที่ถึง 17 เปอร์เซ็นต์ของประเทศบอตสวานา โดยมีอุทยานแห่งชาติสามแห่งดังกล่าว คือ อุทยานแห่งชาติโชบ, เอ็นไซแพนกับอุทยานแห่งชาติแมคเกดิคเกดี และวนอุทยานกาลากาดีทรานสฟรอนเทียร์ ส่วนอุทยานเจ็ดแห่ง ประกอบด้วย อุทยานคาลาฮารีกลาง, อุทยานกาโบโรเน, อุทยานคัตเซ, อุทยานแมนนีเยลานอง, อุทยานมอน และอุทยานโมเรมี นอกจากนี้ ยังมีเขตสงวนพันธุ์ขนาดเล็กของเอกชนอยู่อีกแห่งหนึ่ง.

ใหม่!!: ทะเลทรายคาลาฮารีและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบอตสวานา · ดูเพิ่มเติม »

คนพื้นเมือง

นพื้นเมืองบราซิล คนพื้นเมืองนอร์เวย์ คนพื้นเมืองนิวซีแลนด์ คนพื้นเมืองCameroon คนพื้นเมืองในแคนาดา หนึ่งในนิยามของ คนพื้นเมือง ชนเผ่าพื้นเมือง หรือ ชาวพื้นเมือง (indigenous peoples หรือ aboriginal peoples) ให้ความหมายของคำนี้ว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ มีกำเนิดในท้องถิ่นนั้น มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา เป็นของตนเอง มีเอกตลักษณ์การแต่งกายที่เป็นของตนเอง อย่างไรก็ดีไม่มีนิยามที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ยี่สิบ คำนี้มักใช้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับแผ่นดินก่อนการล่าอาณานิคมหรือการก่อตั้งรัฐชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวคงไว้ซึ่งความแตกต่างทางวัฒนธรรมและการเมืองจากวัฒนธรรมและการเมืองกระแสหลักในรัฐชาติที่กลุ่มชาติพันธ์นั้นดำรงอยู่Coates 2004:12 ความหมายทางการเมืองของคำนี้หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่ง่ายต่อการถูกเอาเปรียบและกดขี่โดยรัฐชาติ ด้วยเหตุนี้จึงมีการกำหนดสิทธิพิเศษทางการเมืองให้กับชนพื้นเมืองโดยองค์การนานาชาติ อาทิเช่น สหประชาชาติ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ และธนาคารโลก สหประชาชาติได้ประกาศ Declaration on the Rights of Indigenous Peoples เพื่อปกป้องสิทธิในวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ภาษา การจ้างงาน สุขภาพ การศึกษา และทรัพยากรธรรมชาติ ของชนพื้นเมือง ด้วยนิยามที่ต่างกันไป มีประมาณการณ์ว่าชนพื้นเมืองในโลกนี้มีอยู่ราว 220 ล้านคนใน..

ใหม่!!: ทะเลทรายคาลาฮารีและคนพื้นเมือง · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาใต้สะฮารา

ประเทศที่สหประชาชาติจัดเป็นแอฟริกาเหนือ แอฟริกาใต้สะฮารา (Sub-Saharan Africa) เป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่อยู่ในทวีปแอฟริกาและอยู่ใต้ทะเลทรายสะฮารา โดยมีประเทศในภูมิภาค 54 ประเทศ มีประชากรรวมกันมากถึง 574 ล้านคน ภูมิภาคนี้มีพื้นที่ประมาณ 16 % ของพื้นดินของโลก โดยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทึบ และบางส่วนเป็นทะเลทร.

ใหม่!!: ทะเลทรายคาลาฮารีและแอฟริกาใต้สะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

แตงโม

ใบแตงโม แตงโม เป็นผลไม้ที่มีน้ำประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก บักโม ภาคเหนือเรียก บะเต้า จังหวัดตรังเรียกแตงจีน ถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารีทวีปแอฟริกา ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานเมื่อสี่พันปีมาแล้ว ชาวจีนเริ่มปลูกแตงโมที่ซินเกียงสมัยราชวงศ์ถัง และชาวมัวร์ได้นำแตงโมไปสู่ทวีปยุโรป แตงโมแพร่หลายเข้าสู่ทวีปอเมริกาพร้อมกับชาวแอฟริกาที่ถูกขายเป็นทาส แตงโมต้องการดินที่มีความชุ่มชื้นพอเหมาะ น้ำไม่ขัง มักปลูกกันในดินร่วนปนทราย ในประเทศไทยมีการปลูกแตงโมทั่วทุกภูมิภาค และปลูกได้ทุกฤดู แตงโมเป็นพืชในวงศ์เดียวกับแคนตาลูปและฟัก เป็นพืชล้มลุกเป็นเถา อายุสั้น เถาจะเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนอ่อนปกคลุม ผลมีทั้งทรงกลมและทรงกระบอก เปลือกแข็ง มีทั้งสีเขียวและสีเหลือง บางพันธุ์มีลวดลายบนเปลือก ในเนื้อมีเมล็ดสีดำแทรกอยู่ แตงโมที่นิยมปลูกโดยทั่วไปมี 3 พันธุ์คือปลาดุก.

ใหม่!!: ทะเลทรายคาลาฮารีและแตงโม · ดูเพิ่มเติม »

เมียร์แคต

มียร์แคต (Meerkat, Suricate) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม (2 ปอนด์) และสูงประมาณ 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) จัดอยู่ในวงศ์พังพอน (Herpestidae) มีถิ่นอาศัยอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารีทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Suricata และแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) เมียร์แคตมีอุ้งเล็บที่มีลักษณะโค้งเพื่อใช้ในการขุด และมีจมูกไวมาก มีขนสั้นสีน้ำตาล มีขนเป็นแนวเส้นขนานพาดข้ามหลัง อาศัยและหาอาหารในโพรงดินที่ขุดขึ้น โดยอาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ รวมถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังตัวเล็ก ๆ อีกด้วย อีกทั้งยังสู้และกินสัตว์มีพิษต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น แมงป่อง ตะขาบ งูพิษ เป็นต้น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่บางครั้งอาจมีสมาชิกถึง 30 ตัว และอยู่ร่วมกับสัตว์ขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ เช่น กระรอกดิน ไม่ชอบอยู่กับที่ ชอบยืนชะเง้อคอ เพื่อตรวจดูและดมกลิ่นในบริเวณรอบ ๆ จะออกมารับแสงแดดในช่วงเวลาเช้าเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น เมียร์แคตถือได้ว่าเป็นสัตว์มีประสาทสัมผัสและการระแวดระวังภัยที่ดีมาก โดยเฉพาะเรื่องการรับฟังเสียงจะสามารถได้ยินเสียงในรัศมีถึง 160 ฟุต (50 เมตร) และจะอพยพย้ายที่อยู่เมื่อมีภัย ทั้งนี้โพรงของเมียร์แคตมีความลึกลงไปในใต้ดิน โพรงดินที่สร้างขึ้นสามารถเชื่อมต่อกัน ทำให้มีช่องทางเข้าออกมากขึ้นและช่วยให้มีทางหลบหนีเมื่อมีภัยมา เมียร์แคตจะขยายพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี จะออกลูกตามโพรง ช่วงฤดูผสมพันธุ์คือเดือนตุลาคม-มีนาคม ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 11 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว.

ใหม่!!: ทะเลทรายคาลาฮารีและเมียร์แคต · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์บอก

มส์บอก หรือ เจมส์บัก (gemsbok, gemsbuck) เป็นแอนทิโลปจำพวกออริกซ์ชนิดหนึ่ง จัดเป็นแอนทิโลปขนาดใหญ่ มีรูปร่างกำยำล่ำสัน ดูมีพละกำลัง โดยที่ชื่อ "เจมส์บอก" ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาแอฟริคานส์คำว่า gemsbok ซึ่งมาจากภาษาดัตช์ที่หมายถึงชื่อของชามอยส์ตัวผู้ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกัน (โดยเฉพาะรูปแบบใบหน้า) แต่ทั้งนี้ชามอยส์และออริกซ์เป็นสัตว์ที่ไม่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยออกเสียงตามปกติในภาษาอังกฤษว่า ในอดีตเคยถูกจัดให้มีอีกหนึ่งชนิดย่อย คือ ไบซาออริกซ์ หรือออริกซ์แอฟริกาตะวันออก (O. beisa) แต่ปัจจุบันได้ถูกแยกออกมาเป็นชนิดต่างหาก ตัวผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 170–210 กิโลกรัม ตัวเมีย 140–185 กิโลกรัม ความสูงจากปลายกีบเท้าจรดหัวไหล่ 1.2 เมตร ความยาวลำตัว 2 เมตร ความยาวหาง 85 เซนติเมตร อายุโดยเฉลี่ย 12–15 ปี มีลักษณะเด่น คือ ปลายเขาที่แหลมยาวนั้นเป็นคู่ถ่างกางออก และมีแถบสีดำคล้ายปานขนาดใหญ่ที่บั้นท้ายลำตัวและที่โคนขาทั้งหน้าและหลัง และยังมีแผ่นหนังสีดำยาวใหญ่พาดเฉียงอยู่เหนือท้องทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นความแตกไปจากไบซาออริกซ์ อีกทั้งลำตัวก็บึกบึนกว่า และยังมีแถบสีดำครอบคลุมบริเวณใบหน้ามากกว่า เจมส์บอกพบได้ทั่วไปในตอนใต้ของแอฟริกา เช่น แอฟริกาใต้, นามิเบีย, บอทสวานา มักอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นทุ่งหญ้าแห้งแล้ง เช่น พื้นที่กึ่งทะเลทรายและทะเลทราย เช่น ทะเลทรายนามิบ, ทะเลทรายคาลาฮารี พบเป็นจำนวนมากในอุทยานแห่งชาติอีโตซา และอุทยานแห่งชาตินามิบ-นูคลัฟต์ ในนามิเบีย ซึ่งที่นี่เจมส์บอกได้ปรากฎอยู่ในตราแผ่นดินของนามิเบีย ด้วยเป็นสัตว์ที่มีปริมาณมากถึง 373,000 ตัว โดยในธรรมชาติจะตกเป็นอาหารของสัตว์นักล่า เช่น สิงโต, ไฮยีนา และหมาป่าแอฟริก.

ใหม่!!: ทะเลทรายคาลาฮารีและเจมส์บอก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kalahari Desert

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »