เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ทวิอักษร

ดัชนี ทวิอักษร

ทวิอักษร (digraph, bigraph, digram) หมายถึงกลุ่มอักษรสองตัวที่เขียนขึ้นเพื่อแทนหน่วยเสียงเสียงเดียวที่แปลกออกไป หรือใช้แทนหน่วยเสียงอื่นที่ไม่ใช่ค่าปกติของอักษรสองตัวนั้นมาประกอบกันตามอักขรวิธี เมื่อภาษาใดภาษาหนึ่งไม่สามารถใช้อักษรตัวเดียวเพื่อแทนเสียงนั้นได้ แต่บางครั้งการรวมทวิอักษรก็มิได้ทำให้เสียงพิเศษไปจากเดิม ซึ่งอาจแสดงถึงธรรมเนียมในอดีตว่าคำศัพท์เหล่านั้นเคยออกเสียงแตกต่างกันมาก่อน หรือคงไว้เพื่อรูปศัพท์เดิมที่ยืมมาจากภาษาอื่น ในอักขรวิธีของบางภาษา อย่างเช่น ch ในภาษาเซอร์เบีย (เมื่อเขียนด้วยอักษรละติน) หรือภาษาเช็ก ทวิอักษรจะถูกจัดว่าเป็นอักษรตัวเดียวกัน นั่นหมายความว่าทวิอักษรนั้นจะเป็นอักษรตัวหนึ่งในลำดับอักษรของภาษา และไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียงลำดับ การย่อ หรือการแบ่งคำ.

สารบัญ

  1. 23 ความสัมพันธ์: การทับศัพท์การทับศัพท์ภาษามลายูการทับศัพท์ภาษาสเปนการทับศัพท์ภาษาอินโดนีเซียภาษาบาสก์ภาษาสเปนภาษาอังกฤษภาษาดัตช์อักษรควบอักขรวิธีไดกราฟCh (ทวิอักษร)EMKh (ทวิอักษร)ҐPh (ทวิอักษร)Rr (ทวิอักษร)Th (ทวิอักษร)Xh (ทวิอักษร)УЧШЉ

การทับศัพท์

ตัวอย่างหนึ่งของการเปรียบเทียบอักษรเพื่อการทับศัพท์ จากอักษรซีริลลิกไปเป็นอักษรละติน การทับศัพท์ หรือ การปริวรรต คือ การถอดอักษร หรือแปลงข้อความจากระบบการเขียนหรือภาษาหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งอย่างมีหลักการ เพื่อให้สามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศด้วยภาษาและอักษรในภาษานั้น ๆ ได้สะดวก เช่น การทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมัน มาเป็นอักษรไทยเพื่อใช้ในภาษาไทย หรือการทับศัพท์ภาษาไทย ไปเป็นอักษรโรมันเพื่อใช้ในภาษาอังกฤษ เป็นต้น ส่วนมากใช้กับวิสามานยนาม อาทิ ชื่อบุคคล สถานที่ หรือชื่อเฉพาะที่ไม่สามารถแปลความหมายเป็นภาษาอื่นได้โดยสะดวก.

ดู ทวิอักษรและการทับศัพท์

การทับศัพท์ภาษามลายู

้อมูลในหน้านี้อาจมีการดัดแปลงหลายครั้งตามนโยบายวิกิพีเดีย สำหรับข้อมูลต้นฉบับสามารถดูได้ที่ การทับศัพท์ภาษามลายูที่ใช้ในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไนนี้เป็นหลักการที่กำหนดตามสํานักงานราชบัณฑิต.

ดู ทวิอักษรและการทับศัพท์ภาษามลายู

การทับศัพท์ภาษาสเปน

้อมูลในหน้านี้อาจมีการดัดแปลงหลายครั้งตามนโยบายวิกิพีเดีย สำหรับข้อมูลต้นฉบับสามารถดูได้ที่ การทับศัพท์ภาษาสเปนนี้เป็นหลักการที่กำหนดตามสํานักงานราชบัณฑิตยสภา สำหรับศัพท์บางคำที่มีการอ่านออกเสียงผิดไปจากปรกติ ให้ถือการทับศัพท์ตามการออกเสียงของคำนั้น.

ดู ทวิอักษรและการทับศัพท์ภาษาสเปน

การทับศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย

้อมูลในหน้านี้อาจมีการดัดแปลงหลายครั้งตามนโยบายวิกิพีเดีย สำหรับข้อมูลต้นฉบับสามารถดูได้ที่ การทับศัพท์ภาษาอินโดนีเซียนี้เป็นหลักการที่กำหนดตามสํานักงานราชบัณฑิต.

ดู ทวิอักษรและการทับศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย

ภาษาบาสก์

ก์ (Basque) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวบาสก์ซึ่งอาศัยอยู่แถบเทือกเขาพีเรนีสในตอนกลางของภาคเหนือของประเทศสเปน รวมทั้งในบริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศสที่มีอาณาเขตติดต่อกัน หรือลึกลงไปกว่านั้นคือ ชาวบาสก์ได้ครอบครองแคว้นปกครองตนเองที่มีชื่อว่าแคว้นประเทศบาสก์ (Basque Country autonomous community) ซึ่งมีวัฒนธรรมและอิสระในการปกครองตนเองทางการเมือง นอกจากนี้ก็ยังมีชาวบาสก์ที่อยู่ในเขตนอร์เทิร์นบาสก์ในฝรั่งเศสและแคว้นปกครองตนเองนาวาร์ในสเปนอีกด้วย ชื่อเรียกภาษาบาสก์อย่างเป็นทางการ (ในภาษาตนเอง) คือ เออุสการา (euskara) ส่วนในรูปภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ เออุสเกรา (euskera) เอสกูอารา (eskuara) และ อุสการา (üskara) แม้ว่าในทางภูมิศาสตร์จะถูกล้อมรอบด้วยภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แต่ภาษาบาสก์กลับจัดเป็นภาษาโดดเดี่ยว (language isolate) ไม่ใช่ภาษาในตระกูลดังกล่าว.

ดู ทวิอักษรและภาษาบาสก์

ภาษาสเปน

ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.

ดู ทวิอักษรและภาษาสเปน

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ดู ทวิอักษรและภาษาอังกฤษ

ภาษาดัตช์

ษาดัตช์ (Dutch; Nederlands) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกต่ำที่มีคนพูด 22 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม ภาษาดัตช์ที่พูดในเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาเฟลมิช และมักจะถือเป็นภาษาที่แยกต่างหากกัน.

ดู ทวิอักษรและภาษาดัตช์

อักษรควบ

อักษรควบ หรือ คำควบกล้ำ คือ คำที่ออกเสียงครั้งละหนึ่งพยางค์ แต่อ่านออกเสียงเหมือนสองพยางค์ คำควบกล้ำจะมีสองชนิด คือ.

ดู ทวิอักษรและอักษรควบ

อักขรวิธี

อักขรวิธี หมายถึงวิธีการเขียนและการใช้ระบบการเขียนของภาษาหนึ่งๆ ให้ถูกต้อง (ซึ่งภาษาหนึ่งๆ อาจมีระบบการเขียนมากกว่าหนึ่งแบบก็ได้ เช่นภาษาเคิร์ด) อักขรวิธีเป็นสิ่งที่นิยามหรืออธิบายถึงกลุ่มของสัญลักษณ์ที่ใช้ (คืออักษรหรือเครื่องหมายเสริมอักษรเป็นต้น) และกฎเกณฑ์ที่ว่าจะเรียบเรียงสัญลักษณ์เหล่านั้นอย่างไร กฎเกณฑ์เหล่านั้นอาจมีเรื่องของเครื่องหมายวรรคตอน การสะกดคำ และการขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่เข้ามาประกอบด้วย ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา บุคคลทั่วไปมักเข้าใจว่าอักขรวิธีเป็นเรื่องของการสะกดคำเพียงอย่างเดียว ความจริงคือการสะกดคำเป็นส่วนหนึ่งของอักขรวิธีเท่านั้น.

ดู ทวิอักษรและอักขรวิธี

ไดกราฟ

กราฟ อาจหมายถึง.

ดู ทวิอักษรและไดกราฟ

Ch (ทวิอักษร)

Ch Ch เป็นทวิอักษรที่พบได้ในหลาย ๆ ภาษา ในบางภาษาจะจัดใช้ ch เป็นอักษรเดี่ยว โดยในพจนานุกรมก็จะไม่ได้รวมอยู่ในหมวดเดียวกับอักษร c แต่จะแยกออกไปต่างหาก อักษร ch ใช้แทนเสียงที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษ.

ดู ทวิอักษรและCh (ทวิอักษร)

EM

EM, Em หรือ em อาจหมายถึง.

ดู ทวิอักษรและEM

Kh (ทวิอักษร)

Kh เป็นทวิอักษรที่พบได้ในภาษาบางภาษา เช่น ภาษาเวียดนาม และยังพบในระบบการถอดอักษรเป็นอักษรโรมันในหลาย ๆ ภาษา ซึ่งมักจะใช้แทนเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง (/x/) หรือเสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง ธนิต (/kʰ/) ในหลาย ๆ ภาษาที่มีเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง จะใช้อักษร kh ในการเขียนแทนเสียงนี้ แต่ในบางภาษากลับใช้อักษรอื่นแทน เช่น ในภาษาสเปนจะใช้อักษร j ส่วนภาษาที่ไม่ได้ใช้อักษรโรมัน ก็มันจะใช้อักษร kh ในการถอดอักษรที่ใช้แทนเสียงนี้เป็นอักษรโรมัน เช่น ในภาษาที่ใช้อักษรซีริลลิก จะใช้ kh ในการถอดอักษร х ในภาษาอาหรับใช้ในการถอดอักษร خ ในภาษากลุ่มอินโด-อารยันหลายภาษา รวมทั้งภาษาต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ในระบบเสียงมีความแตกต่างระหว่างเสียงธนิตและสิถิล จะใช้อักษร kh ถอดอักษรที่ใช้แทนเสียงเสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง ธนิต เพื่อให้แตกต่างจากเสียงสิถิล ซึ่งมักจะใช้ k ในการถอดเป็นอักษรโรมัน ในภาษาไทย จะใช้อักษร kh ถอดอักษร ข ค ฅ และ ฆ ซึ่งจะใช้ถอดเฉพาะเวลาอักษรดังกล่าวทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น เช่น เขต ถอดเป็น khet แต่ ภาค ถอดเป็น phak.

ดู ทวิอักษรและKh (ทวิอักษร)

Ґ

Ge (Ґ, ґ) บางครั้งก็เรียกว่า Ghe หรือ Ge with upturn (ในรหัสยูนิโคดใช้ชื่อว่า CYRILLIC CAPITAL/SMALL LETTER GHE WITH UPTURN) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้แทนเสียง // คล้ายกับเสียง g ของคำว่า go ในภาษาอังกฤษ ในภาษาเบลารุสและภาษายูเครนสมัยโบราณ บางครั้งมีการใช้อักษรละติน g และทวิอักษร КГ (kh) แทนเสียงของ g ในคำทับศัพท์จากภาษาละติน แต่ภายหลังการทำเช่นนี้รวมทั้งการใช้ทวิอักษร ได้เลือนหายไปจากอักขรวิธีของภาษาเบลารุส จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 การใช้อักษร Ґ ได้ถูกนำมาพิจารณาใหม่และเพิ่มเข้าไปในภาษายูเครนและภาษารูซิน อักษร Ґ ของภาษายูเครนได้ถูกยกเลิกในการปฏิรูปอักขรวิธีของภาษารัสเซีย โดยสหภาพโซเวียต ใน พ.ศ.

ดู ทวิอักษรและҐ

Ph (ทวิอักษร)

Ph หรือ ph เป็นทวิอักษรที่พบได้ในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และภาษาอื่นโดยส่วนใหญ่ใช้แทนเสียง ฟ ซึ่งมีเสียง โดยคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่มีอักษร ph ส่วนใหญ่เป็นคำศัพท์ที่มาจากภาษากรีก ในการถอดจากอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน กำหนดให้ ph ใช้แทนอักษร พ ภ ผ ซึ่งมีเสียง ในขณะที่การทับศัพท์จากภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นมาเป็นภาษาไทย กำหนดให้ ph แทนด้วยอักษร ฟ.

ดู ทวิอักษรและPh (ทวิอักษร)

Rr (ทวิอักษร)

ตัวอักษร Rr (ตัวเล็ก: rr) เป็นอักษรละติน R คู่กันเป็นทวิอักษรในระบบการเขียนตัว R ได้เป็น Rr ที่ใช้ในภาษาแอลเบเนีย แสดงเสียงเป็น.

ดู ทวิอักษรและRr (ทวิอักษร)

Th (ทวิอักษร)

Th ในอักษรละตินเป็นทวิอักษรหรืออักษรสองตัวที่ใช้แทนเสียงเดียว โดยพบได้ในระบบการเขียนหลายภาษาของยุโรป ที่ใช้อักษรโรมันและกรีกเป็นหลัก ในภาษาอังกฤษ อักษร th มักจะออกเสียงในแบบเสียงเสียดแทรกจากฟันได้สองลักษณะ คือ ลักษณะเสียงก้อง ออกเสียงเป็น (ในคำว่า this) และลักษณะเสียงไม่ก้อง ออกเสียงเป็น (ในคำว่า think) อย่างไรก็ตาม ในภาษาอังกฤษสมัยกลาง (Middle English) มีการใช้อักษรสำหรับแต่ละเสียงโดยเฉพาะ นั่นคือ อักษร และ สำหรับในภาษาอื่น เช่น ภาษาเยอรมัน th ออกเสียงเป็นเสียง ในภาษาแอลเบเนีย ออกเสียง และยังคงถือว่าตัวอักษร Th เป็นตัวอักษรที่ 29 ของตัวอักษรทั้งหมด โดยอยู่ระหว่าง T และ U ในภาษาไทย เนื่องจากไม่มีเสียงอักษรไทยที่ใกล้เคียงกับ และ ตามกฎของราชบัณฑิตยสถานที่ใช้ในเอกสารของทางราชการไทย กำหนดให้ การถอดเสียงภาษาอังกฤษ มาเป็นภาษาไทย ให้ถอดตัวอักษร th มาเป็นตัวอักษร ด หรือ ท ขึ้นอยู่กับการออกเสียง (ซึ่งออกเสียง และ ใกล้เคียงกับเสียง และ ตามลำดับ) ในบางครั้งจะเกิดปัญหาที่คำทับศัพท์มีการซ้ำซ้อน เช่นคำว่า "thank" และ "tank" เมื่อทับศัพท์ออกมาตามหลัก แล้วรูปจะเหมือนกัน คือ "แทงก์" แต่การออกเสียงแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีบางกลุ่มที่ถอดเสียง เป็น.ธง เพื่อเปรียบต่างกับเสียง ที่เป็น ท.ทหาร เช่นในคำว่า มาราธอน (marathon).ธง สำหรับในคำทับศัพท์นี้แสดงถึงเสียง สำหรับการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง กำหนดให้ตัวอักษร ฐ ฒ ถ ธ ท ถอดเป็นตัวอักษร th ในภาษาอังกฤษ ซึ่งออกเสียง.

ดู ทวิอักษรและTh (ทวิอักษร)

Xh (ทวิอักษร)

ตัวอักษร Xh/xh เป็นหนึ่งทวิอักษร ที่มี อักษรละติน X และ H ที่ใช้ในภาษาแอลเบเนีย จะออกเสียงเป็น /d͡ʒ/ Xh ตัวที่ 33 ของภาษาแอลเบเนี.

ดู ทวิอักษรและXh (ทวิอักษร)

У

U (У, у) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง ใช้แทนเสียงสระ // (อู) เมื่อสะกดตามหลังพยัญชนะเสียงหนัก เมื่อเริ่มแรกนั้น อักษรนี้เป็นรูปย่อของอักษร Uk (Ѹ, ѹ) ที่มีใช้ในภาษาสลาวิกตะวันออกยุคเก่า และมีพัฒนาการมาจากทวิอักษรของอักษรกรีก ου (โอไมครอน-อิปไซลอน) อีกทีหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดออกเสียง // เหมือนกัน และในช่วงเดียวกันนั้นก็ได้รับเอาอักษรกรีก อิปไซลอน เข้ามาใช้เป็นอักษรซีริลลิกอีกรูปหนึ่งคือ Izhitsa (Ѵ, ѵ) ทำให้เกิดความกำกวมในอักขรวิธีระหว่างอักษรทั้งสอง จึงมีการยกเลิกอักษร Izhitsa โดยการปฏิรูปอักขรวิธีใน ค.ศ.

ดู ทวิอักษรและУ

Ч

Che หรือ Cherv (Ч, ч) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง มีลักษณะคล้ายอักษรละติน h ตัวเล็กที่กลับหัว ใช้แทนเสียง เหมือนทวิอักษร ch ในภาษาอังกฤษ (คล้าย ช) บางครั้งก็ออกเสียงเป็น เหมือน จ ในภาษาไทย อักษรนี้ยังไม่ทราบพัฒนาการที่แน่ชัด บ้างก็เข้าใจว่าเป็นอักษรรูปหนึ่งที่เพี้ยนมาจาก Ц หรือ Ҁ อักษรนี้มีชื่อเดิมคือ čr̤̥vǐ ปัจจุบันใช้แทนค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 90 แทนอักษร Ҁ ที่เลิกใช้ไปแล้ว "Ч" ในภาษาอังกฤษจะถอดเป็น "ch" หรือบางทีจะถอดเป็น "tch" ถ้าอยู่เป็นตัวแรก ส่วนภาษาเยอรมันจะถอดเป็น "tch".

ดู ทวิอักษรและЧ

Ш

Sha (Ш, ш) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้แทนเสียงพยัญชนะ // หรือ // ซึ่งออกเสียงคล้ายกับ sh ในภาษาอังกฤษ ch ในภาษาฝรั่งเศส sch ในภาษาเยอรมัน ş ในภาษาตุรกี หรือ sz ในภาษาโปแลนด์ ส่วนกลุ่มภาษาสลาวิกที่ใช้อักษรละตินจะเขียนอักษร š แทนเสียงดังกล่าว ซึ่งนักภาษาศาสตร์ก็ใช้อักษร š สำหรับถ่ายอักษร Ш ไปเป็นอักษรละตินเช่นกัน ลักษณะตัวพิมพ์ของอักษรนี้มีรูปร่างคล้ายอักษรละติน W หรือเหมือนยิ่งกว่าโดยนำอักษร E มาวางตะแคง อักษร Ш ถูกใช้ในทางที่หลากหลาย อย่างในทางคณิตศาสตร์ Tate-Shafarevich group จะใช้สัญลักษณ์เป็น Ш ซึ่งแนะนำให้ใช้เป็นครั้งแรกโดย เจ.

ดู ทวิอักษรและШ

Љ

Lje (Љ, љ) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง แรกเริ่มนั้นเป็นอักษรรวมระหว่าง Л กับ Ь เพื่อใช้แทนเสียง // ที่รวมกัน อักษรนี้มีใช้ในภาษามาซิโดเนียและภาษาเซอร์เบีย ประดิษฐ์ขึ้นโดย วุก สเตฟาโนวิจ คารัดซิจ (Vuk Stefanović Karadžić) และยังสามารถถ่ายอักษรละตินออกมาเป็นทวิอักษร Lj สำหรับภาษาเซอร์เบียได้.

ดู ทวิอักษรและЉ