โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทราย

ดัชนี ทราย

ผืนทรายที่ถูกลมพัดเป็นริ้วเหมือนคลื่น ทราย เป็นตัวอย่างหนึ่งของวัสดุจำพวก สสารแบบเม็ด (granular matter) ตามธรรมชาติแล้ว ทรายเกิดจากหินที่ถูกย่อยเป็นเม็ดละเอียด ซึ่งหมายถึงทรายทั่ว ๆ ไปที่เราพบเห็นตามชายหาด แต่อีกความหมายหนึ่งในแง่วิทยาศาสตร์ (โดยเฉพาะทางธรณีวิทยา) แล้ว หมายถึงชื่อขนาดของอนุภาคขนาดเม็ด "ทราย" ที่มีขนาดอนุภาคหรือเม็ดตะกอนระหว่าง 0.0625 ถึง 2 มิลลิเมตร อนุภาคหนึ่ง ๆ ของทรายนั้น เรียกว่า "เม็ดทราย" ขนาดของอนุภาคที่เล็กถัดลงไป เรียกว่า ทรายแป้ง (slit) เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 0.0625 มิลลิเมตร จนถึง 0.004 มิลลิเมตร ส่วนขนาดของอนุภาคที่ใหญ่กว่าขนาดอนุภาคของทราย เรียกว่า กรวด (gravel) อนุภาคมีขนาดใหญ่กว่า 2 ถึง 64 มิลลิเมตร (ท่านสามารถศึกษาการแบ่งขนาดของอนุภาคทางธรณีวิทยาได้จาก '''grain size''') เมื่อใช้นิ้วถูเบา ๆ ขนาดอนุภาคทรายนั้นจะให้ความรู้สึกสาก ส่วนอนุภาคทรายแป้งนั้นจะรู้สึกเหมือนนิ้วถูผงแป้ง แต่จะรู้สึกสาก ๆ เพียงเล็กน้อย) ทราย ทราย50 About Sye.

130 ความสัมพันธ์: ชั้นสแคโฟโปดาบีเลอเฟ็ลท์พลาสเตอร์อินโทนาโคกระบะทราย (สนามเด็กเล่น)กระดาษทรายกระดานหกกราวเขียวกั้งกระดานการก่ออิฐการทำเหมืองแร่กุมภลักษณ์ฝุ่นควันมะหาดม้าน้ำยางมะตอยรายชื่อศิลปินจากอาร์เอสรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยวอลเลย์บอลชายหาดวัสดุก่อสร้างวัดป่าธรรมโสภณวงศ์ย่อยกิ้งก่าวงศ์ย่อยตะพาบวงศ์ปลากระเบนธงวงศ์ปลากระเบนนกวงศ์ปลามังกรน้อยวงศ์ปลายอดม่วงวงศ์ปลาลิ้นหมาอเมริกันวงศ์ปลาสตาร์เกเซอร์วงศ์ปลาผีเสื้อกลางคืนวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่วงศ์ปลาแสงอาทิตย์วงศ์เต่าแก้มแดงสกุลไซโนกลอสซัสสกุลเตตราโอดอนสะพานกรุงธนสังข์รดน้ำสารประกอบสาธารณรัฐมิเนอร์วาหมาจิ้งจอกเฟนเนกหมึก (สัตว์)หมึกสายวงน้ำเงินหอยกูอีดั๊กหอยลายหอยลำโพงหอยหวานหอยครางหินทรายหินที่ยังไม่แข็งตัวหูกวางหนอนมรณะมองโกเลีย...ออริคโตโดรมีอุสอันดับของขนาด (มวล)อันดับของขนาด (จำนวน)อันดับของขนาด (ความยาว)อันดับปลาแมงป่องอันดับปลาเหล็กในอำเภอเมืองขอนแก่นอิฐอึ่งปากขวดอุลกมณีจักจั่นทะเลจิ้งหรีดธงชาติบาร์เบโดสทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยทรายขาวทะเลสาบมาลาวีทะเลสาบสงขลาทะเลสาบแทนกันยีกาดาวทรายหนามดาวทะเลปุ่มแดงดิอะเมซิ่งเรซ: A Corrida Milionáriaดูนคอนกรีตคอนกรีตบล็อกงูสมิงทะเลงูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ตะพาบม่านลายตะกวดเหลืองตำบลหนองกอมเกาะตำบลเมืองแฝกซิลิกอนไดออกไซด์ซิลิคอนปลาบู่เหลืองปลากระเบนหางหนามปลากระเบนจุดฟ้าปลากระเบนไฟฟ้าปลาการ์ตูนอานม้าปลายอดม่วงเกล็ดถี่ปลารากกล้วยปลาลิ้นหมาน้ำจืดปลาหมอมาคูลิคัวด้าปลาหมอเซวารุ่มปลาออสการ์ปลาอเล็กซานดรี่ปลาผีเสื้อกลางคืนปลาผีเสื้อกลางคืนปากยาวปลาจิ้มฟันจระเข้ใบสาหร่ายปลาตาเดียวปลาฉลามหินปลาฉลามหนูใหญ่ปลาฉลามเสือดาวปลาปักเป้าควายปลาปักเป้าคองโกปลาปากขลุ่ยปลาแพะลายปลาแมนดารินปลาแมนดารินจุดปลาแลมป์เพรย์ปลาใบโพปลาใบโพจุดปลาไหลริบบิ้นปลาเม็ดขนุนปูก้ามดาบปูม้า (สกุล)ปูลมปูทหารปูเสฉวนปูเสฉวนบกปูเสฉวนบกก้ามแถวฟันป่าสันทรายนาฬิกาทรายแวมไพร์โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนโลมเมิลโขนเปเปอร์ครีตเนินทรายNepenthes rajahTriple K2เอส1 ขยายดัชนี (80 มากกว่า) »

ชั้นสแคโฟโปดา

ั้นสแคโฟโปดา (ชั้น: Scaphopoda) เป็นหนึ่งในชั้นของไฟลัมมอลลัสคาที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน ซึ่งสัตว์ในชั้นนี้พบมีอยู่มายาวนานกว่า 240 ล้านปีมาแล้ว โดยพบหลักฐานในซากดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันพบแล้วประมาณ 1,000 ชนิด ซึ่งเรียกกันในชื่อสามัญว่า หอยงาช้าง หรือ หอยฟันช้าง(Tusk Shell) ทุกชนิดจะอาศัยอยู่ภายใต้พื้นทรายใต้ทะเล มีรูปร่างโดยรวม คือ เปลือกมีรูปร่างคล้ายฝักดาบซามูไรหรืองาของช้าง มีลักษณะเรียวยาว โค้งตรงกลางเล็กน้อย หน้าตัดเป็นทรงค่อนข้างกลม มีช่องเปิดที่ปลายสุดของทั้งสองด้านซึ่งด้านหนึ่งจะใหญ่กว่าอีกด้านเสมอ มีขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรจนถึง 15 เซนติเมตร ศัพท์คำว่า Scaphopoda นั้น สามารถแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "เท้าเป็นจอบ" (shovel-footed) มีลักษณะโครงสร้างคือ ไม่มีตา ไม่มีเส้นเลือด ไม่มีแม้กระทั่งอวัยวะสำคัญอย่าง หัวใจ โดยเลือดจะถูกสูบโดยแรงดันน้ำภายในเนื้อเยื่อจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเท้าที่มีรูปร่างคล้ายจอบ ที่ใช้ขุดเจาะเพื่อแทรกเปลืองลงวางตัวดิ่งในพื้นทราย มีอวัยวะพิเศษคล้ายหนวดเล็ก ๆ รอบ ๆ ปากด้านล่างเรียกว่า "captacula" ทำหน้าที่ดักจับอาหารเข้าสู่ปากเพื่อบดเคี้ยวและย่อยสลาย แล้วพ่นทิ้งออกอีกทางเป็นของเสีย เปลือกของหอยงาช้าง นั้น ผู้หญิงในอินเดียนแดงเผ่าลาโคตาใช้ทำเครื่องประดับสำหรับตกแต่งเสื้อผ้าหรือชุดที่สวมใส่เช่นเดียวกับขนของเม่น.

ใหม่!!: ทรายและชั้นสแคโฟโปดา · ดูเพิ่มเติม »

บีเลอเฟ็ลท์

ีเลอเฟ็ลท์ (Bielefeld) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐนอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลิน ประเทศเยอรมนี มีฐานะเป็นเมืองอิสระ (kreisfreie Stadt) ตามการบริหารเขตปกครองของเยอรมนี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐ ปัจจุบันมีประชากรราว 330,000 คน ถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่แปดของรัฐ การตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 และถูกกล่าวถึงในฐานะเมืองครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1214 บีเลอเฟ็ลท์เคยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยลินินมาเป็นเวลานาน ปัจจุบันเป็นเมืองอุตสาหกรรมด้านอาหาร สิ่งทอ เครื่องพิมพ์ และเครื่องจักรกล มีมหาวิทยาลัยหลักคือมหาวิทยาลัยบีเลอเฟ็ลท์ นอกจากนี้ยังเป็นบ้านของสโมสรฟุตบอลอาร์มีเนียบีเลอเฟ็ลท์ ซึ่งลงเล่นในลีกระดับสองของประเท.

ใหม่!!: ทรายและบีเลอเฟ็ลท์ · ดูเพิ่มเติม »

พลาสเตอร์อินโทนาโค

“เทพอพอลโลกับพิณ” จิตรกรรมฝาผนังตั้งแต่สมัยโรมันที่เขียนบน “พลาสเตอร์อินโทนาโค” ราว ค.ศ. 50 ที่ยังเห็นรอยฉาบเป็นชั้นๆ พลาสเตอร์อินโทนาโค (Intonaco) “อินโทนาโค” เป็นศัพท์ภาษาอิตาลีที่ใช้เรียกปูนปลาสเตอร์ที่ฉาบชั้นบางชั้นสุดท้ายก่อนที่จะลงมือเขียนจิตรกรรมฝาผนัง การเขียนภาพจะทำขณะที่ปูนยังอมความชื้นอยู่เพื่อที่จะให้สีซึมลงไปในตัวปูน ชั้นที่ฉาบก่อนหน้าเรียกว่า “arriccio” จะหยาบกว่าอินโทนาโคเล็กน้อยเพื่อให้อินโทนาโคเกาะตัวเมื่อฉาบทับ และชั้นนี้จะต้องแห้งก่อนที่จะฉาบอินโทนาโคได้ ซึ่งมักจะใช้เวลาสองสามวันก่อนที่จะฉาบอินโทนาโคทับได้ คำว่าอินโทนาโคนอกจากจะใช้ดังว่าแล้วก็ยังมีความหมายกว้างๆ ถึงปูนฉาบปกติ หรือ การฉาบกำแพงหรือผนังโดยทั่วไปด้วย ส่วนผสมของอินโทนาโคตามปกติแล้วจะประกอบด้วยทราย (ที่มีความละเอียดของเม็ดทรายน้อยกว่าสองมิลลิเมตร) และสารที่เป็นตัวเชื่อม.

ใหม่!!: ทรายและพลาสเตอร์อินโทนาโค · ดูเพิ่มเติม »

กระบะทราย (สนามเด็กเล่น)

กระบะทราย และของเล่นในสนามเด็กเล่น กระบะทราย เป็นบริเวณที่เล่นในสนามเด็กเล่น มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมหรือวงกลมหรือรูปร่างอื่นที่บรรจุด้วยทราย กระบะทรายใช้ในการเล่นของเด็กเพื่อเพิ่มจินตนากา ในหลายด้าน รวมถึงในการก่อสร้าง วาดลวดลาย รวมถึงการใช้ของเล่นเข้ามาช่วยในการสร้างหรือขุด ไม่ว่า รถตัก พลั่ว หรือ ถังทราย กระบะทรายช่วยให้เด็กเรียนรู้ในลักษณะโลกสามมิตินอกเหนือจากโลกสองมิติที่ใช้ในการวาดภาพบนกระดาษ ในภาษาอังกฤษ กระบะทรายใช้คำว่า sandpit สำหรับอังกฤษบริติช และ sandbox สำหรับอังกฤษอเมริกัน หมวดหมู่:วัยเด็ก หมวดหมู่:ของเล่น.

ใหม่!!: ทรายและกระบะทราย (สนามเด็กเล่น) · ดูเพิ่มเติม »

กระดาษทราย

กระดาษทรายจำนวนหนึ่ง กระดาษทราย (Sandpaper) คือกระดาษรูปแบบหนึ่งซึ่งมีสารขัดถูติดหรือเคลือบอยู่บนหน้าของกระดาษ ใช้สำหรับขัดพื้นผิวของวัสดุอื่นเพื่อให้วัสดุนั้นเรียบ หรือขัดให้ชั้นพื้นผิวเก่าหลุดออก หรือบางครั้งอาจทำให้พื้นผิวขรุขระมากขึ้นเพื่อเตรียมการติดด้วยกาว เป็นต้น.

ใหม่!!: ทรายและกระดาษทราย · ดูเพิ่มเติม »

กระดานหก

เด็กๆ กำลังเล่นกระดานหก กระดานหกหลายอันเรียงกัน กระดานหกแบบที่ใช้เล่นกายกรรม กระดานหก หรือ ไม้กระดก (Seesaw) เป็นเครื่องเล่นอย่างหนึ่งสำหรับเด็ก นิยมติดตั้วไว้ในสนามเด็กเล่นประกอบด้วยคานเตี้ยๆ มีไม้กระดานแคบยาว 1 แผ่นวางขวางบนคาน ทำให้ปลายสองด้านโยกขึ้นลงได้ ที่ปลายไม้เป็นที่สำหรับนั่ง ให้เด็กเล่นโล้ขึ้นลงสลับข้างกัน บางที่ทำเป็นที่นั่งไว้บริเวณปลายของกระดานหก นับเป็นเครื่องมือที่ใช้หลักการของคาน การเล่นกระดานหกนั้น ผู้เล่นแต่ละข้างควรจะมีน้ำหนักไม่ต่างกันมากนัก เพื่อถ่วงน้ำหนักอย่างสมดุล อาจมีข้างละมากกว่า 1 คนก็ได้ ผู้เล่นแต่ละข้างจะใช้เท่ายันพื้นให้ไม้กระดานเด้งขึ้น ขณะที่ปลายอีกข้างก็จะกดลง ผู้เล่นอีกด้านหนึ่งก็จะใช้เท่าดันพื้นเมื่อดีดตัวขึ้นในลักษณะเดียวกัน สลับกันไป ปัญหาในการเล่นกระดานหกก็คือ หากผู้เล่นข้างหนึ่งออกจากไม้กระดานกะทันหัน จะทำให้ผู้เล่นอีกข้างกระแทกพื้นฉับพลัน หรือกระเด็นจากกระดานหกไม้ ดังนั้น กระดานหกจึงมักจะวางบนพื้นทราย หรือพื้นหญ้า แทนที่จะเป็นพื้นแข็งอย่างซีเมนต์ หรือไม้ หมวดหมู่:ของเล่น.

ใหม่!!: ทรายและกระดานหก · ดูเพิ่มเติม »

กราวเขียว

กราวเขียว หรือ ตะพาบหัวกบ (Asian giant softshell turtles) เป็นสกุลของตะพาบจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelochelys มีด้วยกันทั้งสิ้น 3 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ทรายและกราวเขียว · ดูเพิ่มเติม »

กั้งกระดาน

กั้งกระดาน หรือ กุ้งกระดาน (Flathead lobster, Lobster Moreton Bay bug, Oriental flathead lobster) เป็นกุ้งชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายกั้ง จึงนิยมเรียกกันว่ากั้ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thenus orientalis จัดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Thenus และวงศ์ย่อย Theninae มีส่วนหัวและอกอยู่รวมกัน แต่ไม่มีกรีแหลมที่หัวลำตัวแบนและสั้นกว่ากุ้งทั่วไป ส่วนหัวแผ่ออกเป็นแผ่นใหญ่ ผิวขรุขระ เบ้าตาบุ๋มลงในขอบหน้าส่วนของหัว นัยน์ตามีขนาดเล็กอยู่บนก้านตา นัยน์ตาสามารถเคลื่อนไหวได้คล้ายกับตาของปู หนวดสั้น มีข้อต่อกันคล้ายใบสน แนวกลางหัวและลำตัวเป็นสันแข็ง มีขาเดิน 5 คู่ ปลายแหลมและมีขนสั้น ๆ อยู่บนขา ขาเดินคู่ที่ 5 ของตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้มาก ลำตัวแบ่งออกเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีขาว่ายน้ำอยู่หนึ่งคู่ หางมีลักษณะเป็นแผ่นแบนประกอบด้วยรยางค์ 5 อัน อันกลางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง ใช้ในการดีดตัวหลบหนีศัตรู หัว ลำตัว และหางเป็นสีน้ำตาล มีตุ่มเล็กเรียงเป็นแถวบนลำตัว นัยน์ตาสีดำ อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน แถบที่เป็นพื้นโคลนปนทราย มีความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร หากินสัตว์น้ำขนาดเล็กตามหน้าดินเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก, ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ทะเลแดง, ทะเลอันดามัน, ตอนใต้ของญี่ปุ่น, จีน จนถึงอ่าวมอร์ตัน ในออสเตรเลีย นิยมรับประทานเป็นอาหาร มีรสชาติดีแต่เหนียวกว่ากุ้ง จึงนิยมแช่แข็งส่งออกขายต่างประเทศ เป็นที่นิยมกันมากที่สิงคโปร.

ใหม่!!: ทรายและกั้งกระดาน · ดูเพิ่มเติม »

การก่ออิฐ

กำแพงก่อด้วยอิฐสามัญ (อิฐมอญ) การก่ออิฐ คือ การนำอิฐมาประสานเข้าด้วยกัน ด้วยปูนก่อ เรียงกันเป็นผนังก่ออ.

ใหม่!!: ทรายและการก่ออิฐ · ดูเพิ่มเติม »

การทำเหมืองแร่

หมืองทองแดงเอลชิโน ตัวอย่างเหมืองเปิดในสหรัฐอเมริกา การทำเหมืองแร่ คือการสกัดเอาแร่ที่มีค่า หรือ วัสดุทางธรณีวิทยาอื่นๆ จากใต้ผืนแผ่นดิน ปกติขุดที่ตัวแหล่งแร่หรือสายแร่ที่อยู่ใต้ดิน วัสดุทั่วไปที่สกัดได้ แร่โลหะ ได้แก่ บอกไซต์ (สำหรับหลอมเป็นอะลูมิเนียม) ทองแดง เหล็ก ทองคำ ตะกั่ว แมงกานีส แมกนิเซียม นิเกิล ฟอสเฟต แพลทินัม เงิน ดีบุก ไททาเนียม ยูเรเนียม สังกะสี แร่อโลหะ เช่น เกลือหิน ถ่านหินและ แร่รัตนชาติ เช่น เพชร พลอย วัสดุมีค่าอื่นๆ ที่มีการทำเหมืองเช่นกันได้แก่ ดินเหนียว ดินขาว ทราย กรวด หินแกรนิต หินปูนและหินอ่อน วัสดุอื่นใดที่ไม่สามารถผลิตจากพืชจะมากจากการทำเหมือง การทำเหมืองในความหมายที่กว้าง รวมถึงการขุดเจาะน้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้แต่น้ำบาดาล อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สำคัญของประเทศไทย เพราะหากเราไม่มีการนำทรัพยากรในประเทศมาใช้ประโยชน์ จะต้องมีการนำเข้าแร่จากต่างประเทศซึ่งจะทำให้เกิดการเสียดดุลด้านการค้า และการนำเข้าแร่โดยทั่วไปจะแร่ที่นำเข้าจะมีราคาที่สูงกว่าแร่ที่ผลิตได้ในประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเมื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์นั่นหมายถึงราคาสินค้าย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย หากมีการทำเหมืองแร่ในประเทศ เพื่อผลิตแร่ที่สำคัญมาใช้ประโยชน์จะเป็นการทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรม และหากมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องในการนำทรัพยากรแร่มาใช้ในการผลิตอย่างครบวงจร ก็จะเป็นการสร้างงาน และสร้างมูลค่าเพิ่มมหาศาลกว่าการนำแร่ดิบขายเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุนให้เกิดขึ้น การทำเหมืองแร่ เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อม การทำเหมืองแร่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ๆ มีการทำเหมืองแร่ แต่การทำเหมืองแร่ไม่ได้เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายทัศนียภาพอันสวยงาม หากผู้ทำเหมืองปฏิบัติตามหลักวิชาการ ซึ่งการทำหมืองแร่ตามหลักวิชาการ จะคำนึงถึงความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์แร่ ทั้งในด้านสังคมเศรษฐกิจ และการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเหมืองแร่ทุกประเภทและทุกขนาดต้องมีการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ นอกจากนี้ เหมืองแร่จะเกิดไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการยอมรับของสังคม หรือชุมชนที่มีเหมืองแร่อยู่บริเวณใกล้เคียง เหมืองแร่ในอดีตมักก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุนทรียภาพ ซึ่งพบเห็นได้ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดจิตสำนึก ขาดความรู้ ขาดกฎหมายควบคุม และเหมืองในอดีตอยู่ห่างไกลเมืองมาก แต่ปัจจุบันเรามีกฎหมายควบคุม มีหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งกำหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องดูแลป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมือง และทำการฟื้นฟูสภาพ (Reclamation) ซึ่งปกติมีงานภูมิสถาปัตยกรรมเป็นส่วนสำคัญ หากจะเป็นปัญหาปัจจุบัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเรื่องจิตสำนึก การลักลอบทำเหมืองผิดกฎหมาย การสอดส่องดูแลของเจ้าหน้าที่ๆอาจไม่ทั่วถึง การบังคับใช้กฎหมาย เป็นต้น ตัวอย่างที่ดีของการทำเหมืองแร่ในประเทศไทยได้แก่เหมืองแม่เมาะ ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยทั่วไปเราจำแนกการทำเหมืองแร่ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ.

ใหม่!!: ทรายและการทำเหมืองแร่ · ดูเพิ่มเติม »

กุมภลักษณ์

มพันโบก กุมภลักษณ์ที่มีชื่อเสียงของไทย จังหวัดอุบลราชธานี ติดแม่น้ำโขง กุมภลักษณ์ กุมภลักษณ์ หรือ โบก ในภาษาอีสาน (Pothole, Giant's cauldron, Giants kettles) หมายถึงหลุมที่เกิดบริเวณพื้นท้องน้ำ บริเวณน้ำตก และบริเวณที่ทางน้ำไหลเชี่ยว เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติทางธรณีวิทยาที่พบเห็นได้ทั่วไป มีลักษณะเป็นหลุมคล้ายหม้อ (กุมภ แปลว่าหม้อ) หลุมเหล่านี้มีหลายขนาด ทั้งขนาดใหญ่ จนถึงขนาดเป็นรูลึกเล็ก ๆ ภายในหลุมมักจะเห็นก้อนหิน กรวด ทราย กองอยู่ก้นหลุมกักขังก้อนหินกรวดหรือทรายนั้น ๆไว้ พบเห็นทั่วไปในบริเวณทางที่น้ำไหลผ่านชั้นหินในช่วงฤดูน้ำหลาก กุมภลักษณ์นี้เป็นตัวชี้ว่าบริเวณใดเคยเป็นท้องน้ำหรือเป็นน้ำตก หรือบริเวณที่ลำน้ำมาบรรจบกัน.

ใหม่!!: ทรายและกุมภลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฝุ่นควัน

ฟ้าหลัวใน กัวลาลัมเปอร์ ฝุ่นควัน หรือ ฟ้าหลัว หรือ เมฆหมอก หรือ หมอกแดด (อังกฤษ: haze) หมายถึง ลักษณะของอากาศที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (เช่น ฝุ่นละออง ควันจากไฟป่า ฝุ่นละอองจากยวดยานพาหนะในเมืองใหญ่ หรือไอเกลือจากทะเล) จำนวนมากล่องลอยอยู่ทั่วไป ทำให้มองเห็นอากาศเป็นฝ้าขาว ในบรรยากาศที่มีฝุ่นควันเกิดขึ้นจะทำให้ทัศนวิสัยลดลง ดับเบิลยูเอ็มโอ ได้กำหนดลักษณะของสภาพอากาศที่ทำให้ทัศนวิสัยลดลงไว้เป็นหมวดหมู่ดังนี้คือ หมอก หมอกน้ำแข็ง หมอกไอน้ำ ไอน้ำ ฝุ่นควัน ควัน เถ้าภูเขาไฟ ฝุ่น ทราย และ หิมะ สำหรับฝุ่นควันที่มีความหนาแน่นสูง ที่เกิดขึ้นจากมลภาวะที่ประกอบด้วยสารเคมีหรือโอโซนมักจะถูกเรียกว่าหมอกควัน และฝุ่นควันจะมีความแตกต่างจากหมอกทั่วไป คือหมอกนั้นเกิดจากการที่มีความชื้นสูงในอากาศ เช่น ตอนเช้า หรือหลังฝนตก แต่ฟ้าหลัวจะเกิดจากอนุภาคขนาดเล็ก และเกิดในขณะที่อากาศแห้ง.

ใหม่!!: ทรายและฝุ่นควัน · ดูเพิ่มเติม »

มะหาด

มะหาด เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae ต้นกำเนิดจากภูมิภาคเอเชียใต้ นิยมปลูกเอาไว้ใช้ประโยชน์ทุกส่วนของต้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทราย, ดินร่วนปนทราย, ดินร่วน และ ดินเหนียว มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก ชอบบริเวณที่มีความชื้นสูงและแสงแดดเข้าถึงได้น้อย มักขึ้นกระจายตามป่าดิบทั่วไป.

ใหม่!!: ทรายและมะหาด · ดูเพิ่มเติม »

ม้าน้ำ

ม้าน้ำ เป็นปลากระดูกแข็งที่อาศัยอยู่ในทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Hippocampinae (ซึ่งมีอยู่ 2 สกุล คือหนึ่งสกุลนั้นคือ ปลาจิ้มฟันจระเข้สัน ที่อยู่ในสกุล Histiogamphelus มีรูปร่างคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้ผสมกับม้าน้ำ) ในวงศ์ Syngnathidae อันเป็นวงศ์เดียวกับปลาจิ้มฟันจระเข้และมังกรทะเล ในอันดับ Syngnathiformes.

ใหม่!!: ทรายและม้าน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ยางมะตอย

งมะตอย โรงงานยางมะตอยสำหรับการทำยางมะตอย ถนนลาดยาง มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ได้ทดลองระดับลดลงการแสดงให้เห็นความหนืดของยางมะตอย ยางมะตอยเป็นวัสดุที่สกัดจากน้ำมันดิบ มีสีดำ มีลักษณะเหนียวและความหนืดต่ำ ยางมะตอยนิยมมาใช้ในงานก่อสร้างถนน โดยใช้เป็นวัสดุผิวหน้า ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของยางมะตอยทำหน้าที่ประสานระหว่างวัสดุเติมเช่นหินและทราย เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน โดยวัสดุที่นำมาใช้ในการเทผิวหน้าถนนจะเรียกชื่อเต็มว่า แอสฟอลต์คอนกรีต (asphalt concrete) และมักย่อว่า แอสฟอลต์ ภาษาอังกฤษเรียกยางมะตอยว่า แอสฟอลต์ (อเมริกัน) หรือ แอสแฟลต์ (บริเตน) (asphalt) ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า άσφαλτος (asphaltos) ส่วนภูมิภาคอื่นอาจเรียกว่า ไบทูเมน, ไบทิวเมน, บิทูเมน, บิชูเมน (bitumen).

ใหม่!!: ทรายและยางมะตอย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อศิลปินจากอาร์เอส

รายนามศิลปินจากอาร์เอส รวมทั้งศิลปินที่เคยทำงานหรือเป็นผลงานในเพลงอีกด้ว.

ใหม่!!: ทรายและรายชื่อศิลปินจากอาร์เอส · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: ทรายและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลชายหาด

วอลเลย์บอลชายหาด (Beach volleyball) เป็นกีฬากลางแจ้งชนิดหนึ่ง โดยใช้ผู้เล่นประเภททีม แต่ละทีมจะมีผู้เล่นเพียง 2 คน ไม่มีผู้เล่นสำรอง ไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น เล่นบนพื้นสนามทราย บริเวณริมชายหาดทะเล โดยมีตาข่ายกั้นกลางระหว่างทีมแข่งขัน อาศัยการเล่นด้วยมือเป็นส่วนใหญ่ ห้ามพักลูก หรือเล่นลูกสองจังหวะ ยกเว้นเป็นการรับลูกตบที่มาด้วยความรุนแรง จึงจะอนุญาตให้ผู้เล่นสามารถพักลูกได้เพียงเล็กน้อย ส่งลูกบอลให้ทีมที่ร่วมแข่งโดยการตีลูกบอลด้วยมือหรือแขนเพียงข้างเดียว เพื่อให้ลูกบอลข้ามตาข่ายไปลงยังแดนของคู่แข่งขัน ทีมใดตบลูกให้ฝั่งตรงข้ามรับไม่ได้ ทีมนั้นจะเป็นฝ่ายชน.

ใหม่!!: ทรายและวอลเลย์บอลชายหาด · ดูเพิ่มเติม »

วัสดุก่อสร้าง

วัสดุก่อสร้าง คือ วัสดุที่ใช้ในจุดประสงค์สำหรับการก่อสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์สร้างขึ้นรวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้น วัสดุก่อสร้างมีการหลากหลายในทางวัสดุตั้งแต่ ดินจนถึงโลหะ พลาสติกหรือแก้ว วัสดุแบ่งแยกในหลายด้านไม่ว่าโครงสร้างทางวัตถุ จุดประสงค์การใช้งาน มักจะหมายถึงชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ สำหรับใช้ในงานจำเพาะเจาะจงและอาจหมายถึงวัสดุต่างชนิดได้เช่น เสาเข็ม สามารถหมายถึง เสาเข็มคอนกรีต เสาเข็มไม้ หรือเสาเข็มเหล็ก หรือแม้แต่ในปัจจุบันได้มีการเล็งเห็นถึงความสัมพันธ์ของวัสดุก่อสร้างและสิ่งแวดล้อม ได้มีหลายองค์การที่จัดแบ่งแยกวัสดุออกตามการนำกลับมาใช้ใหม่ ในเมืองไทยคอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (2549) เนื่องจากคุณสมบัติที่แข็งแรงและทนไฟ คอนกรีตได้มีการใช้ในงานอาคาร ถนน หรือแม้แต่อนุสาวรีย์ และด้วยเหตุผลทางการเมืองที่รัฐบาลมีการสนับสนุนคอนกรีต และมีการตั้งภาษีนำเข้าของเหล็กสูง.

ใหม่!!: ทรายและวัสดุก่อสร้าง · ดูเพิ่มเติม »

วัดป่าธรรมโสภณ

วัดป่าธรรมโสภณ เป็นวัดตั้งอยู่เลขที่ 225/1 หมู่ 1.ราชมนู ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: ทรายและวัดป่าธรรมโสภณ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยกิ้งก่า

วงศ์ย่อยกิ้งก่า (Agamid lizards, Old world arboreal lizards; ชื่อวิทยาศาสตร์: Agaminae) เป็นวงศ์ย่อยของกิ้งก่าในวงศ์ Agamidae เป็นวงศ์ย่อยที่มีจำนวนสมาชิกหลากหลายที่สุดของวงศ์นี้ มีประมาณ 52 สกุล 421 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีช่องเปิดบริเวณแอ่งเบ้าตาใหญ่ และมีช่องเปิดบริเวณกล่องหูใหญ่ มีความยาวของลำตัวแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตรจนถึง 1.1 เมตร บางชนิดก็มีส่วนหางที่ยาวมาก รูปร่างมีแตกต่างกันตั้งแต่อ้วนป้อมและขาสั้นในสกุล Moloch และเรียวยาวและขายาวในสกุล Sitana เกล็ดปกคลุมลำตัวในหลายชนิดเปลี่ยนสภาพเป็นโครงสร้างอื่น เช่น กิ้งก่าแผงคอ (Chlamydosaurus kingii) ที่เป็นแผงคอที่สามารถกางแผ่ออกได้เมื่อตกใจหรือขู่ศัตรูให้กลัว หรือเป็นหนามในสกุล Moloch และ Acanthosaura โครงสร้างเหล่านี้เป็นลักษณะแตกต่างระหว่างเพศของหลายชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นดินหรือบนต้นไม้หรือแม้แต่ใช้ชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำ อย่าง ตะกอง (Physignathus cocincinus) ที่มีพฤติกรรมอาศัยในป่าดิบชื้นที่ใกล้แหล่งน้ำในป่า เช่น ลำธารหรือน้ำตก ว่ายน้ำเก่งมาก แต่ไม่มีชนิดใดที่อาศัยอยู่ในโพรงดิน ในสกุล Draco ที่พบในป่าดิบในแหลมมลายู ที่มีแผ่นหนังข้างลำตัวกางออกเพื่อร่อนได้ในอากาศ ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางวัน และเปลี่ยนอุณหภูมิในร่างกายให้อบอุ่นขึ้นด้วยการนอนผึ่งแดด บางสกุล เช่น Agama มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นสังคม และมีการจัดลำดับในสังคมด้วย กินอาหารโดยเฉพาะสัตว์ขาปล้องเป็นอาหาร โดยรอให้เหยื่อเข้ามาหาเอง ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในโพรงดินหรือทราย แต่ในสกุล Phrynocephalus ตกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: ทรายและวงศ์ย่อยกิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยตะพาบ

วงศ์ย่อยตะพาบ (Soft-shelled turtle) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับเต่า ในวงศ์ใหญ่ Trionychidae หรือ ตะพาบ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychinae ลักษณะโดยรวมของตะพาบในวงศ์ย่อยนี้ คือ กระดูกฮัยโปพลาสทรอนไม่เชื่อมรวมกับกระดองท้อง และกระดองท้องไม่มีแผ่นกระดูกบริเวณต้นขา มีขนาดตั้งแต่ความยาวกระดองประมาณ 20-25 เซนติเมตร ไปจนถึง 1.5 เมตร หรือเกือบ ๆ 2 เมตร น้ำหนักนับร้อยกิโลกรัม มีพฤติกรรมหากินและอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นท้องน้ำ ว่ายน้ำเพื่อแสวงหาอาหาร เนื่องจากมีลำตัวแบนราบจึงว่ายน้ำได้ดี หรืออาจใช้วิธีการฝังตัวอยู่ใต้โคลนหรือทรายใต้พื้นน้ำเพื่อรอเหยื่อเข้ามาใกล้ บางครั้งอาจฝังตัวในแหล่งน้ำตื้นแล้วโผล่มาแค่ส่วนปลายหัวเพื่อหายใจรวมทั้งใช้ผิวหนังแลกเปลี่ยนแก๊สได้ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำ, ทะเลสาบ, คลอง มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบอาศัยอยู่ในลำธารบนภูเขาด้วย แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, แอฟริกากลางไปจนถึงแอฟริกาตะวันตก, ทางใต้ของเอเชียไปจนถึงญี่ปุ่น และเกาะนิวกินี มีประมาณ 20 ชนิด ใน 10 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: ทรายและวงศ์ย่อยตะพาบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระเบนธง

วงศ์ปลากระเบนธง (Whipray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dasyatidae (/แด-ซี-แอท-อิ-ดี้/) พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ไม่มีครีบหลัง ส่วนครีบอกแผ่กว้างรอบตัว ปากอยู่ด้านล่าง ตาอยู่ด้านบน มีช่องน้ำเข้า 1 คู่อยู่ด้านหลัง มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรงจำนวนมากเรียงติดต่อกันเป็นแถว ใช้ขบกัดสัตว์เปลือกแข็งซึ่งเป็นอาหารหลักได้ดี ผิวหนังเรียบนิ่มไม่มีเกล็ด ยกเว้นบริเวณกลางหลัง มีส่วนหางที่ยาวเหมือนแส้ ซึ่งคนโบราณนิยมตัดหางมาทำเป็นแส้ เรียกว่า "แส้หางกระเบน" ที่โคนหางมีเงี่ยงแหลมอยู่ 1-2 ชิ้น (พบมากสุดถึง 4 ชิ้น) ที่อาจยาวได้ถึง 31 เซนติเมตร เป็นอาวุธใช้สำหรับป้องกันตัว มีพิษแรง มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6 และเมื่อหักไปแล้วงอกใหม่ได้ มักมีผู้ถูกแทงบ่อย ๆ เพราะไปแตะถูกเข้าโดยไม่ระวัง เช่น เท้าไปถูกเข้าระหว่างที่ปลาฝังตัวอยู่ใต้ทราย ขณะที่เดินบริเวณหาด เพราะมีพฤติกรรมมักฝังตัวอยู่ใต้พื้นทราย โดยโผล่มาแค่ส่วนตาและเงี่ยงหางเท่านั้น จากการที่มีตาอยู่ด้านบนแต่ปากอยู่ด้านล่างทำให้ไม่สามารถมองเห็นอาหารได้เวลาจะกิน จึงมีอวัยวะรับกลิ่นและอวัยวะรับคลื่นไฟฟ้าในการบอกตำแหน่งของอาหาร แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว โดยมีการสืบพันธุ์ในฤดูหนาว ตัวผู้จะว่ายน้ำตามประกบตัวเมียอย่างใกล้ชิดและมักกัดบริเวณขอบลำตัวของตัวเมีย เมื่อจะผสมพันธุ์ตัวผู้จะว่ายไปอยู่ด้านบนแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าสู่ตัวเมีย โดยส่วนมากจะออกลูกคราวละ 5-10 ตัว ในเลือดของปลาวงศ์นี้มีสารประกอบของยูเรีย จึงมีกลิ่นคล้ายปัสสาว.

ใหม่!!: ทรายและวงศ์ปลากระเบนธง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระเบนนก

วงศ์ปลากระเบนนก (วงศ์: Myliobatidae, Eagle ray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Myliobatidae จัดเป็นวงศ์ใหญ่มีวงศ์ย่อยแยกออกไปจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดเป็นปลาที่อาศัยและหากินอยู่ในทะเล โดยมักจะพบรวมตัวกันเป็นฝูง ในบางครั้งอาจเป็นถึงร้อยตัว มีจุดเด่นคือ มีหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของสัตว์ปีก ปลายแหลม มีซี่กรองเหงือกทั้งหมด 5 ซี่ อยู่ด้านล่างของลำตัว ด้านท้องสีขาว มีส่วนหางเรียวกว่าและเล็กกว่าปลากระเบนในวงศ์ Dasyatidae ด้วยความที่มีครีบแยกออกจากส่วนหัวชัดเจน ทำให้ปลากระเบนในวงศ์นี้สามารถว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนการบินของนก จึงทำให้เป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งในบางชนิดอาจกระโดดขึ้นเหนือน้ำได้ด้วย โดยมากแล้วมักจะว่ายในระดับผิวน้ำหรือตามแนวปะการัง มีฟันที่หยาบในปาก หากินอาหารได้แก่ ครัสเตเชียน, หอย, หมึก, ปลาขนาดเล็ก รวมทั้งแพลงก์ตอนด้วยในบางสกุล ซึ่งเวลาหากินสัตว์ที่อยู่ตามหน้าดิน จะใช้ปากคุ้ยเขี่ยพื้นทรายเอา บางชนิดอาจว่ายเข้ามาหากินในแหล่งน้ำกร่อยแถบปากแม่น้ำหรือท่าเรือต่าง ๆ ได้ด้วย พบกระจายพันธุ์ในน่านน้ำเขตอบอุ่นทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นปลากระเบนขนาดใหญ่ มีขนาดความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร ซึ่ง ปลากระเบนแมนตา (Manta spp.) ซึ่งเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็อยู่ในวงศ์นี้ด้ว.

ใหม่!!: ทรายและวงศ์ปลากระเบนนก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลามังกรน้อย

วงศ์ปลามังกรน้อย (Dragonet, Scotter blenny, ชื่อวิทยาศาสตร์: Callionymidae) เป็นวงศ์ปลาทะเลขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกัน แต่วงศ์ปลามังกรน้อยไม่จัดอยู่ในวงศ์ปลาบู่ แต่กลับมีความใกล้เคียงกับปลาในวงศ์ปลามังกรน้อยลาด (Draconettidae) มากกว่า โดยคำว่า "Callionymidae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "Kallis" ซึ่งแปลว่า "สวย" และ "onyma" แปลว่า "ชื่อ" เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ราว 10 เซนติเมตร โดยชนิดที่มีความยาวที่สุด 17 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของอินโด-แปซิฟิก หากินโดยใช้ปากที่มีขนาดเล็กคุ้ยเขี่ยพื้นทรายหากินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยจะหากินในเวลากลางคืนเริ่มตั้งแต่พลบค่ำ ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีส่วนหัวขนาดโต ดวงตากลมมีขนาดใหญ่ มีครีบต่าง ๆ ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะครีบหางและครีบท้อง ซึ่งแข็งแรงมาก มีพฤติกรรมใช้ครีบท้องนี้คืบคลานหาอาหารตามพื้นทรายมากกว่าจะว่ายน้ำ โดยมีครีบหางเป็นเครื่องบังคับทิศทาง มีเงี่ยงครีบหลัง 4 ก้าน มีก้านครีบอ่อน 6-11 ก้าน ก้านครีบก้น 4-10 ก้าน มีเส้นข้างลำตัว มีกระดูกเรเดียส 3 ชิ้น ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ ตัวผู้มีกระโดงครีบหลังชี้ยาวออกมาเห็นเป็นจุดเด่น ขณะที่ตัวเมียไม่มี โดยมากแล้วมีสีสันและลวดลายสดใสสวยงามมาก มีพฤติกรรมการวางไข่ โดยตัวผู้จะว่ายน้ำไปรอบ ๆ ตัวเมีย พร้อมเบ่งสีและครีบต่าง ๆ เพื่อเกี้ยวพา เมื่อตัวเมียปล่อยไข่ออกมาแล้ว ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมทันที ไข่จะลอยไปตามกระแสน้ำ ตัวอ่อนใช้ชีวิตเบื้องต้นเป็นเหมือนแพลงก์ตอน ในบางชนิดมีรายงานว่ามีพิษด้วย ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานแล้ว 18 สกุล (ดูในตาราง) ราว 130 ชนิด และเนื่องจากเป็นปลาสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามในตู้ปะการัง ซึ่งบางชนิดสามารถเพาะเลี้ยงในที่เลี้ยงได้แล้ว อาทิ ปลาแมนดาริน (Synchiropus splendidus), ปลาแมนดารินจุด (S. picturatus) เป็นต้น.

ใหม่!!: ทรายและวงศ์ปลามังกรน้อย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลายอดม่วง

วงศ์ปลายอดม่วง (Tonguefishes) ปลาในวงศ์นี้เป็นปลาที่อยู่ในอันดับ Pleuronectiformes ใช้ชื่อวงศ์ว่า Cynoglossidae (/ไซ-โน-กลอส-ซิ-ดี้/) มีรูปร่างแปลกอย่างเห็นได้เด่นชัดจากปลาในอันดับเดียวกัน เพราะมีลำตัวที่แบนราบ เรียวยาวส่วนท้ายแหลมดูคล้ายใบของมะม่วง ตามีขนาดเล็กอยู่ชิดกันที่ด้านเดียวกัน เมื่อยังเล็กตาจะอยู่ด้านละข้าง แต่เมื่อโตขึ้นกะโหลกจะบิด จึงทำให้รูปร่างศีรษะบิดตาม ตาจึงเปลี่ยนมาอยู่ข้างเดียวกัน จะงอยปากงุ้มและเบี้ยว ปลายริมฝีปากบนเป็นติ่งแหลมโค้ง ปากค่อนข้างกว้าง ส่วนหัวหันไปทางซ้ายได้โดยที่ซีกขวาอยู่ด้านบน ซึ่งจะแตกต่างไปจากวงศ์ปลาลิ้นหมา (Soleidae) อาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำ ว่ายน้ำโดยขนานกับพื้นดินและพริ้วตัวตามแนวขึ้นลง สามารถมุดลงใต้ทรายได้เร็วเวลาตกใจ อาหารได้แก่สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก เช่น ลูกกุ้ง, ลูกปลาและอินทรียสารต่าง ๆ มีทั้งสิ้น 3 สกุล ประมาณ 110 ชนิด มีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิด เล็กสุดเพียง 5 เซนติเมตร ใหญ่สุดถึง 60 เซนติเมตร ส่วนมากเป็นปลาทะเล ที่พบในทะเลเช่น ปลายอดม่วงหงอนยาว (Cynoglossus lingua), ปลายอดม่วงเกล็ดใหญ่ (C. macrolepidotus) พบในน้ำจืดไม่กี่ชนิด พบในประเทศไทยมากกว่า 20 ชนิด พบในน้ำจืดเพียง 2 ชนิด ได้แก่ ปลายอดม่วงเกล็ดถี่ (C. microlepis) และปลายอดม่วงลาย (C. fledmanni) เป็นปลาที่ใช้บริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจเช่นเดียวกับปลาในวงศ์ปลาลิ้นหมา และมักจะถูกเรียกซ้ำซ้อนกับปลาในวงศ์ปลาลิ้นหมาด้ว.

ใหม่!!: ทรายและวงศ์ปลายอดม่วง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาลิ้นหมาอเมริกัน

วงศ์ปลาลิ้นหมาอเมริกัน (วงศ์: Achiridae, American Sole) เป็นปลาลิ้นหมาวงศ์หนึ่ง โดยมีความคล้ายคลึงกับปลาลิ้นหมาในวงศ์ Soleidae มีรูปร่างที่แตกต่างไปจากปลาในอันดับเดียวกันนี้วงศ์อื่น ๆ คือ ดวงตาทั้งสองข้างจะอยู่บนลำตัวซีกขวาและอยู่ชิดกันมาก ตาข้างหนึ่งอยู่ต่ำกว่าปากอย่างเห็นได้ชัด ปากเชิดขึ้น มีฟันเพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่มีเลย เกือบทั้งหมดจะมีลำตัวกลมหรือกลมรี บริเวณข้างลำตัวมีขนาดกว้าง มีเส้นข้างลำตัวเหนือบริเวณข้างลำตัวด้านบน ครีบหลังและครีบทวารจะแยกออกจากครีบหาง ครีบอกมีขนาดเล็กหรืออาจจะไม่มีเลย อาศัยอยู่ในเขตอากาศอบอุ่น เขตน้ำตื้นที่มีพื้นทรายหรือโคลนเลน กินพวกสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยแพร่กระจายพันธุ์ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ของชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือไปจนถึงทวีปอเมริกาใต้ มีทั้งหมด 9 สกุล 28 ชนิด บางชนิดมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่น Catathyridium jenynsii.

ใหม่!!: ทรายและวงศ์ปลาลิ้นหมาอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสตาร์เกเซอร์

ปลาสตาร์เกเซอร์ (Stargazer) เป็นปลาทะเลน้ำลึกในวงศ์ Uranoscopidae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) แบ่งออกเป็นประมาณ 50 ชนิด 8 สกุล พบอยู่ตามร่องน้ำลึกทั่วโลก มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวยาว กลมหรือแบนลงเล็กน้อย ส่วนหัวแบนลง มองคล้ายเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนหางแบนข้าง ตามีขนาดเล็กอยู่ทางด้านบนของส่วนหัว ปากเชิดอยู่ในแนวดิ่ง ฟันมีขนาดเล็กปลายแหลม บนขากรรไกร เกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ ขนาดเล็กฝังอยู่ใต้ผิวหนัง ครีบหลังมีก้านครีบแข็งสั้น แต่แข็งแรง ส่วนฐานของก้านครีบอ่อนของครีบหลัง และครีบก้นยาว ครีบอกกว้างฐานครีบท้องอยู่ชิดกัน และอยู่หน้าครีบอกตำแหน่งจูกูลาร์ ส่วนหัวไม่มีเกล็ดแต่มี โบนี่ แพลท ปกคลุม ครีบหางตัดตรงหรือมนเล็กน้อย ปลาสตาร์เกเซอร์มีลักษณะพิเศษคือ มีดวงตาอยู่บนส่วนยอดของหัว ปากขนาดใหญ่ มีครีบที่มีพิษใช้ป้องกันตัว และอาจป้องกันตัวเองด้วยกระแสไฟฟ้า มักฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายเพื่อคอยดักจับเหยื่อ ในบางชนิดจะมีระยางค์รูปร่างคล้ายหนอนยื่นออกมาจากปากเพื่อล่อเหยื่อ มีขนาดลำตัวยาวตั้งแต่ 18 เซนติเมตร ถึง 90 เซนติเมตร.

ใหม่!!: ทรายและวงศ์ปลาสตาร์เกเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาผีเสื้อกลางคืน

วงศ์ปลาผีเสื้อกลางคืน (Seamoth, Dragonfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลาเหล็กใน (Gasterosteiformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pegasidae (/เพ-กา-ซิ-ดี/) เป็นปลาขนาดเล็กมีความยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตร มีลักษณะ คือ มีลำตัวเป็นเกราะแข็ง ครีบหางมีเกราะรูปวงแหวนต่อกัน เป็นข้อ ๆ ปากยื่นยาวออกไป ลำตัวแบนลง ครีบหูมีขนาดใหญ่แผ่ออกด้านข้างคล้ายปีกของผีเสื้อ ครีบท้องมีก้านแข็งหนึ่งคู่ ที่เหลือเป็นก้านครีบอ่อนที่พัฒนาไปคล้ายขาเดิน อันเป็นที่มาของชื่อเรียก เป็นปลาที่หากินบนพื้นน้ำเป็นหลัก อาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล ที่เป็นทรายหรือกรวดปนทราย ตามแนวหญ้าทะเล และบริเวณที่มีสาหร่ายขึ้นอยู่มาก โดยมักพรางตัวให้เข้ากับพื้นทรายและออกหากินในเวลากลางคืน.

ใหม่!!: ทรายและวงศ์ปลาผีเสื้อกลางคืน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Puffers, Toadfishes, Blowfishes, Globefishes, Swellfishes) เป็นวงศ์ปลาปักเป้าจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างเฉพาะตัวคือ กลมป้อม ส่วนโคนหางเล็ก ครีบหลังและครีบก้นเล็กสั้นอยู่ค่อนไปทางท้าย ครีบอกใหญ่กลมมน ครีบหางใหญ่ปลายมน ว่ายน้ำโดยใช้ครีบอกโบกพร้อมกับครีบหลังและครีบก้น เวลาตกใจสามารถพองตัวได้โดยสูบน้ำหรือลมเข้าในช่องท้อง ช่องเหงือกเล็ก หัวโต จะงอยปากยื่น มีฟันลักษณะคล้ายปากนกแก้ว 4 ซี่ ตาโตอยู่ค่อนไปทางด้านบนของหัว รูจมูกเป็นติ่งสั้น ๆ ผิวขรุขระ มีเกล็ดเป็นหนามเล็ก ๆ อยู่บริเวณด้านท้อง ผิวลำตัวส่วนอื่นเรียบ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Tetraodontidae (/เท-ทรา-โอ-ดอน-ทิ-ดี้/) พบมากในทะเลเขตร้อนรอบโลกและบริเวณปากแม่น้ำ ชนิดที่พบในน้ำจืดมีน้อย สำหรับในประเทศไทย พบทั้งสิ้น 32 ชนิดทั้งในทะเล, น้ำกร่อยและน้ำจืด (ดูในเนื้อหาข้างล่าง) กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำมีเปลือกเป็นอาหารหลัก เนื่องจากมีฟันสำหรับกัดแทะเปลือกแข็งที่เป็นแคลเซี่ยมได้เป็นอย่างดี และปลาด้วย รวมทั้งสามารถกัดแทะครีบปลาชนิดอื่นได้ด้วย ในบางชนิดมีพฤติกรรมชอบซุกตัวใต้พื้นทรายเพื่อรอดักเหยื่อ นอกจากแล้วยังสามารถพ่นน้ำจากปากเพื่อเป่าพื้นทรายหาอาหารที่อยู่ซ่อนตัวอยู่ได้อีกด้วย นิตยสารอควาเรี่ยมบิส Vol.1 issue 4 ฉบับเดือนตุลาคม 2010 คอลัมน์ เปิดกร...ปักเป้าน้ำจืด เป็นปลาที่มีพิษร้ายแรง เมื่อกินเข้าไปอาจถึงตายได้ โดยจากการศึกษาปลาปักเป้าในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทย พบเป็นปลาปลาปักเป้าน้ำจืดที่มีการสะสมพิษในตัวจะมีอยู่จำนวน 8 ชนิด มากกว่าปลาปักเป้าน้ำกร่อยมีพิษ ซึ่งมีอยู่แค่ 4 ชนิด และลักษณะพิษของปลาปักเป้าน้ำจืดจะมีการสะสมพิษในอวัยวะทุกส่วน และพิษจะมีมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูวางไข่ ราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยพิษเกิดเนื่องจากแพลงก์ตอน หรือแบคทีเรียที่ทำให้เกิดพิษหลังจากปลาปักเป้ากินเข้าไป เมื่อมีผู้จับไปกินก็เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้.

ใหม่!!: ทรายและวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาแสงอาทิตย์

ปลาแสงอาทิตย์วัยอ่อน ขนาด 1 มิลลิเมตร วงศ์ปลาแสงอาทิตย์ หรือ วงศ์ปลาโมลา (Mola, Sunfish, Headfish, Trunkfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Molidae (/โม-ลิ-ดี้/) มีลำตัวกลมรูปไข่ แบนข้างมาก ตามีขนาดเล็ก ช่องเปิดเหงือกที่ขนาดเล็ก ปากอยู่ในตำแหน่งตรงมีขนาดเล็กฟันทั้งสองข้างเชื่อมต่อกันมีลักษณะคล้ายปากนก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ตรงข้ามกัน ครีบอกมีเล็ก ไม่มีครีบท้อง ในน่านน้ำไทยส่วนใหญ่พบทางฝั่งทะเลอันดามัน ส่วนหางของลำตัวตัดตรง ไม่มีครีบหาง ปกติเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรเข้ามาในเขตน้ำตื้นโดยบังเอิญหรือติดมากับอวนของชาวประมงที่ออกไปทำการประมงในมหาสมุทร เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้ช้า เนื่องจากรูปร่าง กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอนสัตว์, แมงกะพรุน และสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ขณะที่ว่ายน้ำจะใช้ครีบก้นและครีบหาง ขณะที่ครีบอกจะใช้ควบคุมทิศทาง มีถุงลมขนาดใหญ่ ปากรวมทั้งเหงือกจะพ่นน้ำออกมาเพื่อเป่าทรายเหมือนเครื่องยนต์เจ็ตเพื่อค้นหาอาหารที่ใต้ทรายอีกด้วย แบ่งออกเป็น 3 สกุล 4 ชนิด โดยชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดและพบได้บ่อย คือ ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ซึ่งเป็นชนิดที่มีความใหญ่ที่สุดด้วย โดยสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักกว่า 2 ตัน ซึ่งนับเป็นปลากระดูกแข็งที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก และถือเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับนี้อีกด้ว.

ใหม่!!: ทรายและวงศ์ปลาแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เต่าแก้มแดง

วงศ์เต่าแก้มแดง (Terrapin, Pond turtle, Marsh turtle) เป็นวงศ์ของเต่าวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อว่า Emydidae เป็นเต่าที่มีลักษณะคล้ายกับเต่าในวงศ์เต่านา (Bataguridae) คือ มีกระดองที่โค้งกลมเหมือนกัน กระดองท้องใหญ่เหมือนกัน ในบางสกุลจะมีบานพับที่กระดองท้อง เช่น Terrapene แต่กระดูกแอนกูลาร์ของขากรรไกรล่างไม่เชื่อมติดกับกระดูกอ่อนเมคเคล กระดูกออคซิพิทัลเป็นชิ้นแคบ การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล กระดองท้องไม่มีกระดูกมีโสพลาสทรอน มีกระดูกพลาสทรอนไปเชื่อมต่อกับขอบนอกของกระดองหลังที่มีร่องแบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ เป็นเต่าที่มีวงศ์ขนาดใหญ่ จึงแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย ๆ (ดูในตาราง) มีทั้งหมด 10 สกุล ราว 50 ชนิด พบแพร่กระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย ทั้งในทวีปยุโรป, อเมริกาเหนือ และบางส่วนของอเมริกาใต้ เต่าตัวผู้โดยมากจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมาก และมีความแตกต่างระหว่างเพศมาก จนเห็นได้ชัดเจน กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ หรือบางสกุลหรือบางชนิดก็กินได้ทั้ง 2 อย่าง โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ เต่าแก้มแดง (Trachemys scripta) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "เต่าญี่ปุ่น" ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงจนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 60 เซนติเมตร และขนาดเล็กที่สุด คือ เต่าจุด (Clemmys guttata) ที่โตเต็มที่มีความยาวกระดองเพียง 10-12 เซนติเมตร เท่านั้น ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ โดยฝังไข่ไว้ในหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำ โดยเต่าเพศเมียจะวางไข่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และลูกเต่าจะฟักเป็นตัวในช่วงปลายฤดูร้อน.

ใหม่!!: ทรายและวงศ์เต่าแก้มแดง · ดูเพิ่มเติม »

สกุลไซโนกลอสซัส

กุลไซโนกลอสซัส (Tonguefishes) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็ง ในวงศ์ปลายอดม่วง (Cynoglossidae) ใช้ชื่อสกุล Cynoglossus (/ไซ-โน-กลอส-ซัส/) เป็นปลาที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์นี้ มีลักษณะคือ มีครีบท้องมีเฉพาะด้านซ้าย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นติดต่อรวมกัน มีเส้นข้างลำตัว 2 หรือ 3 เส้น อยู่ด้านเดียวกับนัยน์ตา ริมฝีปากทั้งสองข้างราบเรียบ ปากงุ้มเป็นตะขอ ช่องเปิดเหงือกอยู่ทางด้านซ้ายของลำตัว เป็นปลาที่พบได้ในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ปกติจะฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายหรือโคลน พบกระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิกตั้งแต่ ฟิลิปปิน, ทะเลแดง, อ่าวไทย, ทะเลอันดามัน, ทะเลจีนใต้, คาบสมุทรมลายู, อ่าวเบงกอล และพบได้จรดถึงชายฝั่งแอฟริกา ในประเทศไทยพบได้หลายชนิด อาทิ ปลายอดม่วงเกล็ดใหญ่ (C. macrolepidotus) พบในน้ำจืด 2 ชนิด คือ ปลายอดม่วงเกล็ดถี่ (C. microlepis) และปลายอดม่วงลาย (C. feldmanni).

ใหม่!!: ทรายและสกุลไซโนกลอสซัส · ดูเพิ่มเติม »

สกุลเตตราโอดอน

กุลเตตราโอดอน เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า จัดอยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tetraodon (/เต-ตรา-โอ-ดอน/) มีรูปร่างโดยรวม ป้อมสั้น อ้วนกลม ครีบทั้งหมดสั้น ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 12-14 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 10-12 ก้าน เยื่อจมูกยื่นออกมาเป็นหลอด ปลายแยกเป็นสองแฉก ใต้ผิวหนังมีเกล็ดที่พัฒนาเป็นหนามเล็ก ๆ ซ่อนอยู่ ผิวหนังมักมีจุดสีดำแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด เมื่อตกใจหรือต้องการป้องกันตัว สามารถพองลมให้ใหญ่ขึ้นมาได้ ในปากมีฟันที่แหลมคมใช้สำหรับขบกัดเปลือกของสัตว์น้ำมีกระดอง ต่าง ๆ ได้ รวมถึงหอย ซึ่งเป็นอาหารหลัก มีอุปนิสัยดุร้าย มักจะชอบกัดกินเกล็ดหรือครีบหางของปลาชนิดต่าง ๆ ที่ติดอวนของชาวประมงอยู่เสมอ ๆ นอกจากนี้แล้วยังสามารถซ่อนตัวใต้พื้นทรายเพื่ออำพรางตัวหาอาหารได้ในบางชนิด ในบางชนิดก็สามารถเปลี่ยนสีลำตัวได้ และยังสามารถเป่าน้ำจากปากเพื่อคุ้ยหาอาหารในพื้นทรายได้ด้วย ภายในตัวและอวัยวะภายในมีสารพิษที่เรียกว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) อยู่ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยรวมแล้ว ปลาในสกุลนี้จะว่ายน้ำได้ช้ากว่าปลาปักเป้าในสกุลอื่น เช่น Takifugu หรือ Auriglobus เนื่องจากมีครีบที่สั้นและรูปร่างที่อ้วนกลมกว่า พบได้ทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาจนถึงเอเชีย มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้บริโภคในบางท้องถิ่น.

ใหม่!!: ทรายและสกุลเตตราโอดอน · ดูเพิ่มเติม »

สะพานกรุงธน

นกรุงธน (Krung Thon Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า สะพานซังฮี้ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณถนนราชวิถี เชื่อมระหว่างแขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กับแขวงบางพลัดและแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบท.

ใหม่!!: ทรายและสะพานกรุงธน · ดูเพิ่มเติม »

สังข์รดน้ำ

ังข์รดน้ำ (Valambari shank, Great indian chank) เป็นหอยทะเลฝาเดี่ยวชนิดหนึ่ง ในวงศ์หอยสังข์มงคล (Turbinellidae) จัดเป็นหอยขนาดใหญ่ มีเปลือกหนา รูปเปลือกค่อนข้างป้อม วงเกลียวตัวกลม ส่วนปลายมีร่องยาวปานกลาง ส่วนยอดเตี้ย ช่องเปลือกรูปรี ขอบด้านในมีสัน 3-4 อัน ผิวชั้นนอกสุดสีน้ำตาล เป็นชั้นที่บางและหลุดล่อนง่าย และมักจะหลุดออกเมื่อหอยตาย เปลือกชั้นรองลงไปเป็นส่วนที่มีความหนาและแข็ง ค่อนข้างเรียบ มีสีขาวนวลหรือสีขาวอมชมพู พบกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะมหาสมุทรอินเดียทางตอนใต้ของประเทศอินเดียและประเทศศรีลังกาเท่านั้น อาศัยอยู่ตามพื้นน้ำที่เป็นพื้นทราย กินหนอนตัวแบนและแพลงก์ตอนเป็นอาหาร สังข์รดน้ำ โดยปกติแล้วจะมีเปลือกเวียนทางซ้าย (อุตราวรรต) ตามเข็มนาฬิกา แต่มีบางตัวที่เวียนไปทางด้านขวา (ทักษิณาวรรต) ซึ่งพบได้น้อยมาก ซึ่งหอยลักษณะนี้ตามคติของศาสนาฮินดูจะถือเป็นมงคล (ตามคติของพราหมณ์-ฮินดู ขว.

ใหม่!!: ทรายและสังข์รดน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบ

น้ำ ถือเป็นสารประกอบทางเคมีอย่างหนึ่ง สารประกอบ เป็นสารเคมีที่เกิดจากธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมารวมตัวกันโดย พันธะเคมีด้วยอัตราส่วนของส่วนประกอบที่แน่นอน ตัวอย่าง เช่น ไดไฮโรเจนโมน็อกไซด์ หรือ น้ำ มีสูตรเคมีคือ H2Oซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม ในสารประกอบอัตราส่วนของส่วนประกอบจะต้องคงที่และตัวชี้วัดความเป็นสารประกอบที่สำคัญคือ คุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งจะแตกต่างจาก ของผสม (mixture) หรือ อัลลอย (alloy) เช่น ทองเหลือง (brass) ซูเปอร์คอนดักเตอร์ YBCO, สารกึ่งตัวนำ อะลูมิเนียม แกลเลียม อาร์เซไนด์ (aluminium gallium arsenide) หรือ ช็อคโกแลต (chocolate) เพราะเราสามารถกำหนดอัตราส่วนของ ของผสมได้ ตัวกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสารประกอบที่สำคัญคือ สูตรเคมี (chemical formula) ซึ่งจะแสดงอัตราส่วนของอะตอมในสารประกอบนั้น ๆ และจำนวนอะตอมในโมเลกุลเดียว เช่น สูตรเคมีของ อีทีน (ethene) จะเป็นC2H4 ไม่ใช่ CH2) สูตรไม่ได้ระบุว่าสารประกอบประกอบด้วยโมเลกุล เช่น โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง, NaCl) เป็น สารประกอบไอออนิก (ionic compound).

ใหม่!!: ทรายและสารประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐมิเนอร์วา

สาธารณรัฐมิเนอร์วา สร้างขึ้นโดยนำทรายที่นำมาจากประเทศออสเตรเลีย มาถมลงไปในระดับน้ำทะเล ผู้ที่มาริเริ่มโครงการคือไมเคิล โอลิเวอร์ จนทำให้ดินแดนนี้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้าขายและตกปลาซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศใหม่ ประเทศนี้ แนวปะการังมิเนอร์วาอยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิก โดยตัดสินใจที่จะสร้างเป็นสาธารณรัฐในปี พ.ศ. 2514 และนำเรือบรรทุกทรายจากประเทศออสเตรเลียมาถมในระดับน้ำทะเล และสร้างหอและธงชาติขึ้น สาธารณรัฐมิเนอร์วาได้ส่งประกาศความเป็นเอกราชส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆและได้คิดสกุลเงินไว้ใช้ภายในประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2515 มอริส ซี เดวิสได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีชั่วคราวของสาธารณรัฐมิเนอร์วา การประกาศความเป็นเอกราชของสาธารณรัฐมิเนอร์วา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2515 ยังผลให้เกิดความสงสัยอย่างมากของประเทศเพื่อนบ้าน การประชุมของประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ (ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศตองงา ประเทศฟีจี ประเทศนาอูรู ประเทศซามัว หมู่เกาะคุก) ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ซึ่งตองงาได้อ้างสิทธิเหนือดินแดนแนวปะการังมิเนอร์วา ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2515 รัฐบาลตองงา ได้ประกาศในหนังสือราชกิจจาโดยประกาศให้สาธารณรัฐมิเนอร์วาเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรตองงา ต่อมาประเทศตองงาได้ส่งกองกำลังทหารเข้ามายึดดินแดนนี้ ธงชาติมิเนอร์วาถูกชักลงจากเสา และเกาะปะการังที่เหลือก็ถูกยึดครองโดยตองงา การยึดครองดินแดนแห่งนี้ของตองงาได้รับการรับรองจากสภาแห่งแปซิกใต้ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2515 ในระหว่างนั้นประธานาธิบดีชั่วคราวมอริส ซี เดวิส ถูกไล่ออก หมวดหมู่:ประเทศตองงา หมวดหมู่:ประเทศจำลอง ja:ミネルバ共和国.

ใหม่!!: ทรายและสาธารณรัฐมิเนอร์วา · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอกเฟนเนก

หมาจิ้งจอกเฟนเนก หรือ หมาจิ้งจอกทะเลทราย (Fennec fox, Desert fox) เป็นหมาจิ้งจอกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vulpes zerda อยู่ในวงศ์สุนัข (Canidae) หมาจิ้งจอกเฟนเนกเป็นหมาจิ้งจอกขนาดเล็ก ถือได้ว่าเป็นสัตว์ในวงศ์สุนัขที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก เนื่องจากขนาดเมื่อโตเต็มที่แล้ว มีน้ำหนักเฉลี่ยเพียง 1.75 กิโลกรัมสำหรับตัวผู้ และ 1.25 กิโลกรัมสำหรับตัวเมีย ซึ่งถือได้ว่าเล็กกว่าสุนัขบ้านเสียอีก นับได้ว่ามีขนาดน้ำหนักตัวใกล้เคียงกับชิวาวา ซึ่งเป็นสุนัขขนาดเล็ก และมีความยาวลำตัวประมาณ 24-40 เซนติเมตร มีความยาวหาง 8 นิ้ว มีขนสีน้ำตาลเหลืองตลอดทั้งตัว ดวงตาสีดำ มีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดเจนคือ ใบหูที่ยาวมาก บางตัวอาจยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร คล้ายกับหมาจิ้งจอกหูค้างคาว (Otocyon megalotis) ซึ่งถือได้ว่าเป็นหมาจิ้งจอกขนาดเล็กเช่นกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า หมาจิ้งจอกเฟนเนกมีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา โดยอาศัยอยู่ในทะเลทราย มีพฤติกรรมรวมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก หากินในเวลากลางคืน โดยมีอาหารหลักคือ แมลงชนิดต่าง ๆ ด้วยการขุดคุ้ยจากการฟังเสียงจากใบหูที่มีขนาดใหญ่ นอกจากนั้นแล้วยังสามารถกินสัตว์ที่มีขนาดเล็ก, ไข่นก และผลไม้ได้อีกด้วย กระนั้นหมาจิ้งจอกเฟนเนกก็ยังตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่กว่าได้อีกด้วย แต่ด้วยสภาพร่างกายที่เหมาะกับการอาศัยอยู่ในทะเลทราย ทำให้สามารถเอาตัวรอดได้ โดยขนที่อุ้งเท้าจะหนาสำหรับใช้เดินบนพื้นทรายที่ร้อนระอุได้ ขนสีน้ำตาลเหมือนสีของทรายของช่วยให้อำพรางตัวได้ในทะเลทราย นอกจากนี้แล้วยังหนาต่างจากสัตว์ที่อยู่ในทะเลทรายจำพวกอื่น ๆ โดยขนจะทำหน้าที่สะท้อนความร้อนจากแสงแดดในเวลากลางวันออกไป ส่วนตอนกลางคืนก็ทำหน้าที่สะสมความอบอุ่นไว้เพื่อต่อสู้กับความหนาวเย็น เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคึน ขยายพันธุ์ด้วยการตั้งท้องนานครั้งละ 2 เดือน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 9 เดือน โดยจะตกลูกปี​ละ​ครั้ง ​เป็น​สัตว์​ที่​มี​คู่​ตัว​เดียว​ตลอด​ชีวิต ตัวผู้​จะ​ดุร้าย​และ​หวง​คู่ อีก​ทั้ง​ทำ​หน้าที่​คอย​หา​อาหาร​ให้​ตัวเมีย​ตลอด​เวลา​ช่วง​ที่​ตั้ง​ท้อง​และ​ให้​นม ตกลูกครั้งละ 2-4 ตัว คำว่า "เฟนเนก" นั้น มาจากภาษาอาหรับคำว่า "ثعلب" (fanak) หมายถึง "หมาจิ้งจอก" ส่วนชื่อชนิดทางวิทยาศาตร์คำว่า zerda มาจากภาษากรีกคำว่า xeros ซึ่งหมายถึง "ความแห้ง" อันหมายถึงสภาพของสถานที่อยู่อาศัยนั่นเอง ด้วยรูปลักษณ์ที่น่ารัก และมีขนาดเล็ก จึงทำให้หมาจิ้งจอกเฟนเนกกลายเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งของมนุษย์ เช่นเดียวกับ สัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นฉายาของทีมฟุตบอลทีมชาติแอลจีเรียอีกด้วย โดยเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Les Fennecs หมายถึง "หมาจิ้งจอกทะเลทราย".

ใหม่!!: ทรายและหมาจิ้งจอกเฟนเนก · ดูเพิ่มเติม »

หมึก (สัตว์)

หมึก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาหมึก เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และว่องไว มีหนวดรอบปาก 4-5 คู่ บนหนวดมีปุ่มดูดเรียงเป็นแถว มีหน้าที่จับเหยื่อป้อนเข้าปาก เป็นสัตว์ที่มีอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา ชั้นเซฟาโลพอดซึ่งเป็นชั้นของสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม ชั้นย่อย Coleoidea ต่างจากกลุ่มสัตว์ที่ใกล้เคียงกันคือ Nautiloidea ซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มภายนอกร่างกาย แต่หมึกส่วนใหญ่กลับมีกระดูกหรือเปลือกอยู่ภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นทุ่นหรือพยุงร่างกาย ซึ่งเรียกว่า ลิ้นทะเล ยังมีบางชนิดที่ไม่มีกระดูก แต่มีกระดูกอ่อนทดแทนเพื่อใช้ในการพยุงโครงสร้างร่างกาย คำว่า Cephalopoda ซึ่งเป็นชื่อชั้นที่ใช้เรียกหมึก มาจากภาษากรีกแปลรวมกันว่า "สัตว์หัว-เท้า" (head-footed animals) เนื่องจากหมึกเป็นสัตว์ที่ไม่มีแขนขา เพียงแต่มีระยางค์ยื่นออกจากจากรอบ ๆ บริเวณปากเรียกว่า หนวด เท่านั้นเอง หมึกวิวัฒนาการมาจากมอลลัสกา ในปลายยุคแคมเบรียน หรือราว 500 ล้านปีก่อน แต่กระนั้นหมึกและหอยในยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังมีระบบทางร่างกายหลายอย่างเหมือนกัน กล่าวคือ ระบบทางเดินอาหาร, ปาก, ฟัน และกล้ามเนื้อแบบแมนเทิล ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบหมึกแล้วว่า 1,000 ชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ หมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย อาศัยอยู่ในห้วงน้ำลึกของมหาสมุทรแอตแลนติก อาจยาวได้ถึง 14 เมตร นับเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเล็กที่สุดมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตรด้วยซ้ำ เช่น หมึกในวงศ์ Idiosepiidae เป็นต้น หมึกมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้เป็นอาหารมาช้านาน ในแทบทุกวัฒนธรรม หมึกถือเป็นสัตว์ทะเลที่ใช้ปรุงเป็นอาหาร ซึ่งสามารถปรุงสุดได้ทั้งสดและตากแห้ง เช่น ในอาหารไทย เช่น หมึกผัดกะเพรา หรือ หมึกย่าง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะลิ้นทะเล ซึ่งมีแคลเซียมเป็นจำนวนมาก จึงนิยมให้นกหรือสัตว์ปีกกินเพื่อเพิ่มแคลเซียมในร่างกาย นอกจากนี้แล้ว หมึกยังมักถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหมึกยักษ์หรือหมึกที่มีขนาดใหญ่ เช่น โจมตีใส่เรือดำน้ำนอติลุสของกัปตันนีโม ในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Twenty Thousand Leagues Under the Sea เป็นต้น สำหรับหมึกที่พบในน่านน้ำไทย ได้แก่ หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonis), หมึกกล้วย (Photololigo duvauceli), หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana), หมึกสายราชา (Octopus rex) เป็นต้น เลือดปลาหมึกมีสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ทรายและหมึก (สัตว์) · ดูเพิ่มเติม »

หมึกสายวงน้ำเงิน

หมึกสายวงน้ำเงิน หรือ หมึกบลูริง (Blue-ringed octopus) เป็นหมึกในสกุล Hapalochlaena ในอันดับหมึกยักษ์ จัดเป็นหมึกขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีจุดเด่น คือสีสันตามลำตัวที่เป็นจุดวงกลมคล้ายแหวนสีน้ำเงินหรือสีม่วงซึ่งสามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกคุกคาม ตัดพื้นลำตัวสีขาวหรือเขียว แลดูสวยงามมาก แต่ทว่า หมึกสายวงน้ำเงินนั้นมีพิษที่ผสมอยู่ในน้ำลายที่มีความร้ายแรงมาก ซึ่งร้ายแรงกว่างูเห่าถึง 20 เท่า ผู้ที่ถูกกัดจะตายภายใน 2-3 นาที ทั้งสามารถฆ่าคนได้ 26 คนในคราวเดียว นับเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำที่มีพิษร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: ทรายและหมึกสายวงน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

หอยกูอีดั๊ก

ำหรับหอยงวงช้างที่มีรูปร่างเหมือนหมึกผสมกับหอยฝาเดี่ยวดูที่: หอยงวงช้าง หอยกูอีดั๊ก (geoduck; หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กูอี (Gooey) หรือ ดั๊ก (Duck)) เป็นหอยสองฝาที่พบในทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panopea generosa ในวงศ์ Hiatellidae เป็นหอยที่มีลักษณะเด่นคือ มีเปลือกสีขาวยาวประมาณ 15–20 เซนติเมตร แต่มีจุดเด่นคือ มีท่อดูดซึ่งตอนปลายมีรู 2 รู แยกเป็นรูดูดอาหารและรูปล่อยของเสียรวมถึงสเปิร์มในตัวผู้ และไข่ในตัวเมีย ยื่นยาวออกมาจากเปลือกอย่างเห็นได้ชัด แลดูคล้ายงวงของช้าง ซึ่งอาจยาวได้ถึง 1 เมตร หอยกูอีดั๊กจะอาศัยในทะเล โดยการฝังตัวใต้ทรายบริเวณชายฝั่งบริติชโคลัมเบียในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา หากินโดยการกินสาหร่ายทะเลเป็นอาหาร เมื่อถูกจับขึ้นมา จะพ่นน้ำคัดหลั่งออกมาจากปลายท่อดูด ขยายพันธุ์ด้วยการที่ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาปฏิสนธิพร้อมกับตัวเมียที่ปล่อยไข่ออกมาได้ราวครั้งละ 10 ล้านฟอง ลูกหอยขนาดเล็กจะขุดหลุมฝังตัวใต้ทรายในระดับที่ตื้น ๆ ก่อนที่จะขุดลึกลงไปเรื่อย ๆ ตามวัยที่โตขึ้น ซึ่งอาจลึกได้ถึง 110 เมตร นอกจากนี้แล้ว หอยชนิดนี้ยังมีอายุยืนได้ถึง 146 ปี นับเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีอายุยืนที่สุดของโลก โดยมีฤดูการขยายพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน–กรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำมีอุณหภูมิค่อนข้างอุ่น เป็นหอยที่นิยมบริโภคกันทั้งในสหรัฐอเมริกาหรือประเทศทางภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยนิยมทำไปเป็นซูชิในอาหารญี่ปุ่น โดยถูกเฉือนเป็นแผ่นบาง ๆ หรือปรุงเป็นอาหารจีน ซึ่งมีชื่อเรียกในภาษาจีนเรียกว่า 象拔蚌 (พินอิน: Xiàng bá bàng; หอยงวงช้าง) ปัจจุบัน หอยชนิดนี้มีการเพาะเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรม ลูกหอยที่เพาะออกมาได้ จะถูกนำไปฝังไว้ใต้ทรายบริเวณชายหาดในท่อพลาสติก ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่า 5 ปี กว่าหอยจะโตเต็มวัยถึงขนาดที่จับขายได้.

ใหม่!!: ทรายและหอยกูอีดั๊ก · ดูเพิ่มเติม »

หอยลาย

หอยลาย (Surf clam, Short necked clam, Carpet clam, Venus shell, Baby clam) เป็นหอยฝาคู่ ที่อยู่ในวงศ์หอยลาย (Veneridae) ลักษณะเปลือกมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ฝาทั้งสองฝามีขนาดเท่ากัน ผิวด้านนอกของเปลือกหอยเรียบ มีสีน้ำตาลอ่อน และมีลวดลายหยักเป็นเส้นคล้ายตาข่ายตลอดความยาวของผิวเปลือก เส้นลายหยักเหล่านี้จะมีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนผิวเปลือกด้านในเรียบมีสีขาว ในส่วนของบานพับ ซึ่งเป็นส่วนต่อระหว่างฝาทั้งสองมีลักษณะคล้ายฟันซี่เล็ก ๆ ฝาละ 3 ซี่ พบกระจายพันธุ์ในน้ำลึกประมาณ 8.0 เมตร โดยขุดรูอยู่ใต้พื้นทรายลึกประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยพบมากที่ จังหวัดชลบุรี, บางปะกง, สมุทรปราการ, ตราด, สุราษฎร์ธานี หอยลายผัดน้ำพริกเผา นับเป็นหอยลายชนิด 1 ใน 3 ชนิดในสกุล Paphia ที่พบได้ในน่านน้ำไทย และเป็นชนิดที่นิยมรับมาประทานมากที่สุด สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น ผัดน้ำพริกเผากับใบกะเพรา และนำไปแปรรูปส่งออกต่างประเท.

ใหม่!!: ทรายและหอยลาย · ดูเพิ่มเติม »

หอยลำโพง

หอยลำโพง หรือ หอยตาล (Indian volute, Bailer shell, Blotched melon shell) เป็นหอยฝาเดียว ในวงศ์หอยจุกพราหมณ์ (Volutidae) มีเปลือกทรงกลม ด้านปากจะยาวรี มีรอยเว้าเข้าด้านในและด้านท้ายกลมโค้งมาก เปลือกมีสีเหลืองอมแดงมีจุดสีม่วงดำอยู่ประปราย ส่วนเนื้อมีสีดำอมม่วงแก่มีเส้นขวางอมเหลืองพาดอยู่ทั่วไป มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร กินหอยชนิดอื่นที่มีขนาดเล็ก รวมทั้งเม่นทะเลและปลิงทะเล เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เช่น พม่า, ไทย, มาเลเซีย และทะเลจีนใต้ รวมถึงทะเลฟิลิปปิน มักพบในพื้นทะเลที่เป็นโคลน หรือโคลนปนทราย พบในบริเวณใกล้ชายฝั่ง เป็นหอยที่นิยมนำเนื้อมารับประทาน ส่วนเปลือกใช้ทำเครื่องประดับต่าง.

ใหม่!!: ทรายและหอยลำโพง · ดูเพิ่มเติม »

หอยหวาน

หอยหวาน หรือ หอยตุ๊กแก หรือ หอยเทพรส (Spotted babylon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Babylonia areolata) เป็นหอยทะเลฝาเดี่ยวชนิดหนึ่ง มีเปลือกที่ค่อนข้างหนารูปไข่ ผิวเรียบสีขาวมีลวดลายสีน้ำตาลเข้ม มีหนวด 1 คู่ ตา 1 คู่ มีท่อ มีเท้าขนาดใหญ่ใช้สำหรับเคลื่อนที่ อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลน ในระดับความลึกตั้งแต่ 2–20 เมตร พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในต่างประเทศพบได้ที่ ทะเลฟิลิปปิน, ทะเลจีนใต้ และไต้หวัน กินอาหารโดยใช้อวัยวะที่เป็นท่อสีขาวยื่นออกมา โดยจะยื่นปลายท่อไปยังอาหารและส่งน้ำย่อยออกไปและดูดอาหารกลับทางท่อเข้าร่างกาย หลังกินอาหารแล้ว ก็จะเคลื่อนที่ไปฝังตัวใต้ทราย ซึ่งอาหารได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ชนิดต่าง ๆ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40–100 มิลลิเมตร ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ โดยหอยตัวเมียจะวางไข่เป็นฟัก วางไข่ครั้งละประมาณ 20–70 ฝัก โดยวางไข่ได้ทั้งปี ระยะเดือนมกราคมถึงมีนาคม จะวางไข่ได้มากที่สุด ฝักไข่มีความกว้างเฉลี่ย 10.32 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 29.31 มิลลิเมตร มีก้านยึดติดกับวัตถุในพื้นทะเล เช่น เม็ดทราย ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 5–7 วัน ลูกหอยวัยอ่อนจะดำรงชีวิตแบบแพลงก์ตอน คือ ลอยไปมาตามกระแสน้ำ กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ระยะเวลาเติบโตจนเป็นวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 1 ปี ปัจจุบัน หอยหวานถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่ง นิยมรับประทานกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นอาชีพ แต่ทว่าปริมาณหอยที่ได้นั้นยังไม่เพียงพอต่อการตล.

ใหม่!!: ทรายและหอยหวาน · ดูเพิ่มเติม »

หอยคราง

หอยคราง หรือ หอยแครงขน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Anadara inaequivalvis) เป็นหอยเปลือกคู.

ใหม่!!: ทรายและหอยคราง · ดูเพิ่มเติม »

หินทราย

250px หินทราย (Sandstone) เป็นหินมีลักษณะ เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ เพราะประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดแตกต่างกัน (1/16 – 2 มม.) เม็ดแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่ควอร์ตซ์ แต่อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนอยู่ด้วย เพราะมีวัตถุประสารมีความแข็งมากสามารถขูดเหล็กเป็นรอยได้ มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เทา เขียว เหลืองอ่อน อาจแสดงรอยชั้นให้เห็น มีซากดึกดำบรรพ์ เกิดจากการรวมตัวกันของเม็ดทราย ประกอบด้วยควอร์ตซ์เป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่แมกเนไทต์และไมกาปะปนอยู่ วัตถุประสาร (ซีเมนต์) ส่วนมากเป็นพวกซิลิกา (ควอร์ตซ์ หรือ เชิร์ต) แคลไซด์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ซึ่งมักทำให้หินมีสีเหลือง น้ำตาล แดง ในประเทศไทย พบมากทางภาคอีสาน จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และทางภาคใต้บางแห่ง.

ใหม่!!: ทรายและหินทราย · ดูเพิ่มเติม »

หินที่ยังไม่แข็งตัว

หินที่ยังไม่แข็งตัว (Unconsolidated rocks) คือตะกอนที่ยังไม่แข็งตัวเป็นหิน ส่วนใหญ่เป็นพวกทราย กรวด ซึ่งจะเป็นชั้นหินอุ้มน้ำที่สำคัญที่สุดซึ่งอาจจะถึง 90% ของแหล่งน้ำบาดาลทั้งหมดที่ใช้ในปัจจุบันนี้ สำหรับชั้นหินอุ้มน้ำในกลุ่มนี้ อาจจะแบ่งได้เป็น 4 พวกใหญ่ ๆ ตามลักษณะการเกิด ดังนี้.

ใหม่!!: ทรายและหินที่ยังไม่แข็งตัว · ดูเพิ่มเติม »

หูกวาง

''Terminalia catappa'' หูกวาง เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8-25 เมตร มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก มีสีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อม ๆ แบนเล็กน้อยคล้ายเมล็ดแอลมอนด์ มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเขียว เมื่อแห้งมีสีดำคล้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงภูมิภาคโอเชียเนียและหมู่เกาะฮาวาย โดยมักจะพบประจำที่บริเวณชายหาดหรือป่าชายหาดริมทะเล เพราะเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินแบบดินร่วนปนทราย มีประโยชน์โดยเปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้อาการท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผลรับประทานได้ และให้น้ำมันคล้ายน้ำมันอัลมอนด์ นอกจากนี้แล้วใบของหูกวางโดยเฉพาะใบแห้ง เป็นที่รู้จักดีของผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลากัด เนื่องจากใช้ใบแห้งหมักน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาได้ เพราะสารแทนนินในใบหูกวาง จะทำให้สภาพน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) สูงขึ้น เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงปลาที่มาจากแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดสูง ทั้งนี้ยังช่วยลดการสะท้อนแสงของน้ำ เพื่อให้ปลาสบายตา ไม่เสียสายตา รู้สึกปลอดภัย ไม่ใช้ปากคีดกระจก และใช้รักษาอาการบาดเจ็บของปลากัดได้เป็นอย่างดี เพราะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี หูกวางเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตราด และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสยาม หูกวางยังมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ละจังหวัดหรือภูมิภาคด้วย เช่น โคน (นราธิวาส), ดัดมือ หรือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น.

ใหม่!!: ทรายและหูกวาง · ดูเพิ่มเติม »

หนอนมรณะมองโกเลีย

วาดในจินตนาการของหนอนมรณะมองโกเลีย ของ ปีเตอร์ เดิร์ก นักเขียนชาวเบลเยี่ยม หนอนมรณะมองโกเลีย (Mongolian Death Worm) คือ สัตว์ประหลาดที่เชื่อว่ารูปร่างคล้ายหนอนหรือไส้เดือนขนาดใหญ่ อาศัยในทะเลทรายโกบี ในมองโกเลี.

ใหม่!!: ทรายและหนอนมรณะมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ออริคโตโดรมีอุส

ออริคโตโดรมีอุส (Oryctodromeus) เป็นสกุลของไดโนเสาร์ออร์นิโทรพอดตัวเล็ก.

ใหม่!!: ทรายและออริคโตโดรมีอุส · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (มวล)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ทรายและอันดับของขนาด (มวล) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (จำนวน)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ทรายและอันดับของขนาด (จำนวน) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (ความยาว)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ทรายและอันดับของขนาด (ความยาว) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาแมงป่อง

อันดับปลาแมงป่อง หรือ อันดับปลาสิงโต (Mail-cheeked fish, Scorpion fish, Sculpin, Stonefish) เป็นอันดับของปลาทะเลกระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scorpaeniformes ทั้งหมดเป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีลักษณะเด่น คือ ปากกว้าง มีลำตัวป้อม สามารถที่จะพรางตัวกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ ขณะที่หลายชนิดมีสีสันฉูดฉายลายตา มีครีบต่าง ๆ แผ่กางใหญ่ ครีบอกและครีบหางกลม บริเวณส่วนหัวมักมีหนามหรือติ่ง บางชนิดมีพัฒนาการของผิวหนังให้เป็นเส้นหรือแผ่นยื่นยาวออกมา มีทั้งว่ายน้ำได้ ซึ่งชนิดที่ว่ายน้ำนั้นมักจะว่ายช้า ๆ และนอนนิ่ง ๆ บนพื้นทราย เพื่อรอปลาเล็ก ๆ หลงเข้ามา โดยมีเงี่ยงพิษร้ายแรงที่บริเวณปลายครีบไว้เป็นอาวุธป้องกันตัวจากศัตรูผู้ล่า มิได้มีไว้เพื่อล่าอาหารแต่อย่างใด ซึ่งสามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ด้วย โดยพิษนั้นจะอยู่ที่ก้านครีบโดยเฉพาะครีบแหลมที่บนหลัง ครีบข้างลำตัว ครีบพิษเหล่านี้ไม่ได้มีไว้สำหรับการทิ่มแทงเหยื่อ เมื่อตกใจจะสะบัดครีบทิ่มแทงผู้รุกราน เมื่อครีบทิ่มแทงเข้าไปในเนื้อ หนังหุ้มครีบจะลอกออก ต่อมพิษก็จะทำการฉีดพิษเข้าไปในบาดแผลผู้รุกราน ซึ่งเป็นสารประกอบโปรตีน พิษร้ายแรงนี้จะสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่โดนแทง จะมีอาการเจ็บปวดและอาจทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบประสาท, ระบบการเต้นของหัวใจล้มเหลวซึ่งจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ในส่วนของผู้บาดเจ็บทั่วไปอาจจะมีอาการเจ็บปวดนานราว 24 ชั่วโมงแล้วอาการก็จะทุเลาลง ในขณะที่บางรายอาจจะมีอาการเจ็บปวดไปอีกหลายวัน ปลาในอันดับนี้ ที่เป็นที่รู้จักดี คือ ปลาหิน, ปลาแมงป่อง, ปลาสิงโต ซึ่งสามารถจำแนกออกได้อีก 26 วงศ์ ใน 7 อันดับย่อ.

ใหม่!!: ทรายและอันดับปลาแมงป่อง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาเหล็กใน

อันดับปลาเหล็กใน (Stickleback, Seamoth) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gasterosteiformes มีลักษณะคล้ายกับปลาในอันดับปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathiformes) คือ เกล็ดที่ลำตัวแข็งเป็นปล้องคล้ายเกราะ จะงอยปากมีลักษณะเป็นท่อยาว ปากมีขนาดเล็ก บางชนิดมีเหงือกเป็นแผ่น มีหรือไม่มีครีบหลัง ไม่มีกระดูกซี่โครง ลำตัวแคบมักมีเกราะหุ้ม กระดูกสันหลังข้อที่ 3-6 ข้อแรกยาวเป็นพิเศษ ไตมีส่วนของกโลเมเรลูสมาก มีช่องพิเศษสำหรับฟักไข่ ในเพศผู้ พบได้ทั้งในน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล แบ่งออกได้เป็น 5 วงศ์ คือ.

ใหม่!!: ทรายและอันดับปลาเหล็กใน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองขอนแก่น

อำเภอเมืองขอนแก่น เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การคมนาคม การศึกษา การแพทย์ อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจของจังหวัดขอนแก่น เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการจังหวัด เป็นพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดในจังหวั.

ใหม่!!: ทรายและอำเภอเมืองขอนแก่น · ดูเพิ่มเติม »

อิฐ

การผลิตอิฐโดยทั่วไป จะผสม ดินเหนียว แกลบ ทราย และน้ำ นวดให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว กดใส่ลงในแบบพิมพ์ แล้วนำเข้าเตาเผาสำหรับอิฐพิเศษอื่นๆ จะผสมสารหรือวัสดุเพิ่ม เช่น หินเกร็ด สำหรับอิฐประดับ เป็นต้น นอกจากนี้อิฐพิเศษบางประเภทอาจใช้กรรมวิธีการอัดเข้าแม่พิมพ์ด้วยแรงกดสูงเพื่อเพิ่มความสามารถในด้านการป้องกันความร้อน และทนความชื้นได้สูง อิฐโปร่ง หรืออิฐกลวง เป็นวัสดุก่อที่มีส่วนผสมในการผลิต เช่นเดียวกับอิฐสามัญ แต่ภายในจะเจาะรู หรือทำช่องภายในให้กลวง เพื่อให้มีน้ำหนักเบา กำแพงก่อด้วยอิฐมอญ อิฐ เป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐานสำหรับการก่อสร้างอาคารทั่วไป อิฐแบบธรรมดาผลิตจากส่วนผสมของดินเหนียว ทราย แกลบ และน้ำ สำหรับอิฐพิเศษอื่นๆ จะผสมสารหรือวัสดุพิเศษเพิ่มเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน.

ใหม่!!: ทรายและอิฐ · ดูเพิ่มเติม »

อึ่งปากขวด

อึ่งปากขวด หรือ อึ่งเพ้า (Truncate-snouted burrowing frog, Balloon frog) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง จำพวกอึ่งอ่าง จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Glyphoglossus มีความยาวจากหัวจรดถึงก้นประมาณ 73 มิลลิเมตร ลำตัวอ้วนป้อม มีลักษณะเด่นคือ หน้าสั้นมาก ปากแคบและทู่ไม่มีฟัน ไม่เหมือนกับกบหรืออึ่งอ่างชนิดอื่น ๆ ตาเล็ก ขาสั้น แผ่นเยื่อแก้วหูเห็นไม่ชัด ลำตัวสีน้ำตาลดำหรือสีเทาดำ ใต้ท้องสีขาว บางตัวอาจมีจุดกระสีเหลืองกระจายอยู่ทั่ว เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดเกาะติดอยู่ ใช้สำหรับว่ายน้ำ และมีสันใต้ฝ่าเท้าหลังใช้สำหรับขุดดิน อึ่งปากขวดพบในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยจะพบเฉพาะพื้นที่ที่อยู่เหนือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นไป โดยมีพฤติกรรมอาศัยโดยขุดโพรงดินที่เป็นดินปนทรายและอาศัยอยู่ภายใน ในป่าที่มีความชุ่มชื้นใกล้กับพื้นที่ชุ่มน้ำ ในฤดูร้อนจะซ่อนตัวในโพรงแทบตลอด เมื่อฝนตกจะออกมาหากิน โดยหากินในเวลากลางคืน ผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝน และจะผสมพันธุ์วางไข่เร็วกว่าอึ่งอ่างหรือกบชนิดอื่น ลูกอ๊อดมีลำตัวป้อมและโปร่งแสง ลำตัวเป็นสีเหลือง มีส่วนบนและส่วนล่างเป็นสีดำ หากินอยู่ในระดับกลางน้ำ โดยจะว่ายทำมุมประมาณ 45 องศา อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ไปไหนมาไหนพร้อมกันเป็นฝูง อึ่งปากขวดไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่ในปัจจุบันมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เพราะถูกจับมาบริโภค โดยเฉพาะอย่างมากในช่วงฤดูฝนที่จะสร้างรายได้แก่ผู้ที่จับมาได้วันละหลายหมื่นบาท (แต่มักจะเรียกปนกันว่า "อึ่งอ่าง" หรืออึ่งยาง ซึ่งเป็นอึ่งคนละชนิด) กอรปกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป ปัจจุบันกรมประมงได้สนับสนุนให้เลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐก.

ใหม่!!: ทรายและอึ่งปากขวด · ดูเพิ่มเติม »

อุลกมณี

ตัวอย่างก้อนอุลกมณีที่พบบนพื้นผิวโลก อุลกมณี มีหลายชื่อที่เรียกหากัน อุกกามณี แก้วข้าว สะเก็ดดาว เหล็กไหลต่างดาว คดปลวก พลอยจันทรคราส หยดน้ำฟ้า(ตามรูปร่างที่ปรากฏ) สะเก็ดดาว หรืออุลกมณี ตรงกับคำว่า "tektite" ในภาษาอังกฤษ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า Tektos ในภาษากรีก แปลว่า หลอมละลาย อุลกมณีที่พบจะมีเนื้อแก้ว ส่วนใหญ่สีดำทึบคล้ายนิล บางชิ้นมีเนื้อในสีน้ำตาลใส บางชิ้นก็มีเนื้อโปร่งแสงสีเขียว ผิวของอุลกมณีจะเป็นหลุมเล็ก ๆ โดยรอบ รูปลักษณ์สัณฐานของอุลกมณีไม่แน่นอน อาจเป็นก้อนกลม ยาวแบน แท่งกลมยาว คนไทยบางท่านเชื่อว่าสามารถแบ่งอุลกมณี เป็นชนิดต่างๆตามรูปร่าง เช่น ตัวผู้(รูปทรงเป็นแท่งคล้ายลึงค์) หรือตัวเมีย(รูปทรงกลม) มนุษย์เรารู้จักอุลกมณีมานานแล้ว โดยเชื่อกันว่าเป็นสะเก็ดดาวจากนอกโลก ที่ตกเข้ามายังพื้นผิวโลก แต่ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาและทราบว่าแท้จริงแล้ว อุลกมณี หรือ tektite เป็นทรายที่เกิดบนโลกที่เกิดการหลอมละลายจากความร้อนจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ขณะที่ทรายหลอมละลายจะกระเซ็นขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วเกิดการเย็นและแข็งตัวกลางอากาศ ก่อนจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน จึงทำให้เกิดรูปร่างหลากหลายแบบ สีของ อุลกมณีจะมีความแตกต่างกันจากการเกิด ว่าเมื่อเกิด มีแร่ธาตุอะไรเข้าไปผสมอยู่ด้ว.

ใหม่!!: ทรายและอุลกมณี · ดูเพิ่มเติม »

จักจั่นทะเล

ักจั่นทะเล (Mole crab, Sand crab) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกอาร์โธพอด ในไฟลัมย่อยครัสตาเชียน อันดับฐานปูไม่แท้ โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hippoidea จักจั่นทะเล เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายกับจักจั่นที่เป็นแมลง ตัวขนาดเท่าแมลงทับ แต่อาศัยอยู่ในทะเลอันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับ เปลื้อง ณ นคร ได้อธิบายไว้ว่า จักจั่นทะเล ขนาดเท่านิ้วหัวแม่โป้ง มีกระดองแข็งคล้ายปู มีขาทั้งหมด 5 คู่ แต่ส่วนของขาว่ายน้ำไม่ได้ใช้ว่ายน้ำ แต่ใช้ในการพยุงรักษาไข่เหมือนปูมากกว่า ส่วนหัวมีกรี แต่ไม่แข็งเหมือนกุ้ง ไม่มีก้ามหนีบ เป็นสัตว์ที่กินแพลงก์ตอน, สัตว์น้ำขนาดเล็ก และพืชน้ำจำพวกสาหร่ายที่ลอยมากับกระแสน้ำเป็นอาหาร โดยปกติแล้วจะอาศัยอยู่ในพื้นทรายที่ใกล้ชายฝั่งทะเลทั่วโลก เมื่อพบกับศัตรูผู้รุกรานจะมุดตัวลงใต้ทรายอย่างรวดเร็ว โดยโผล่มาแค่ก้านตา จะมีร่องรอยที่มุดลงทรายเป็นรูปตัวยู (U) หรือตัววี (V) มีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ ด้วยการที่ตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมีย ที่เกาะอยู่ใต้ท้องเหมือนกับสัตว์จำพวกอื่นในไฟลัมย่อยครัสตาเชียนเหมือนกัน โดยวางไข่ใต้พื้นทรายลึกลงไปริมชายหาด เมื่อฟักเป็นตัวอ่อนก็ถูกกระแสคลื่นน้ำพัดพาออกไปใช้ชีวิตเบื้องต้นเหมือนแพลงก์ตอน จากนั้นเมื่อเจริญเติบโตขึ้นก็ถูกกระแสน้ำพัดกลับเข้าฝั่งเป็นวงจรชีวิต จักจั่นทะเลตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มาก โดยตัวผู้จะมีขนาดใหญ่ประมาณ 10 มิลลิเมตรเท่านั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ ด้วยกัน ได้แก่;Albuneidae Stimpson, 1858.

ใหม่!!: ทรายและจักจั่นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

จิ้งหรีด

้งหรีด หรือ จังหรีด (Cricket; วงศ์: Gryllidae) เป็นแมลงจำพวกหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Gryllidae ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยต่าง ๆ อีกจำนวนหนึ่ง (ดูในตาราง) จิ้งหรีดถือเป็นแมลงที่มีขนาดลำตัวปานกลางเมื่อเทียบกับแมลงโดยทั่วไป มีปีก 2 คู่ คู่หน้าเนื้อปีกหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้างของลำตัว ปีกคู่หลังบางพับได้แบบพัดสอดเข้าไปอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน ขาคู่หลังใหญ่และแข็งแรงใช้สำหรับกระโดด ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสำหรับทำเสียงเป็นฟันเล็ก ๆ อยู่ตามเส้นปีกบริเวณกลางปีก ใช้กรีดกับแผ่นทำเสียงที่อยู่บริเวณท้องปีกของปีกอีกข้างหนึ่ง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่เป็นที่รู้จักกันดีของจิ้งหรีด ขณะที่ตัวเมียจะไม่สามารถทำเสียงดังนั้นได้ และจะมีอวัยวะสำหรับใช้วางไข่เป็นท่อยาว ๆ บริเวณก้นคล้ายเข็ม เห็นได้ชัดเจน จิ้งหรีดสามารถพบได้ในทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตร้อนชื้น พบแล้วประมาณ 900 ชนิด ในประเทศไทยก็พบได้หลายชนิด จิ้งหรีดเป็นแมลงที่กัดกินพืชชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร สามารถกินได้หลายชนิด มักออกหากินในเวลากลางคืน มักจะอาศัยโดยการขุดรูอยู่ในดินหรือทราย ในที่ ๆ เป็นพุ่มหญ้า แต่ก็มีจิ้งหรีดบางจำพวกเหมือนกันที่อาศัยบนต้นไม้เป็นหลัก สำหรับในประเทศไทย พบจิ้งหรีดได้ทั่วทุกภูมิภาค ชนิดของจิ้งหรีดที่พบ ได้แก่ จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus bimaculatus), จิ้งหรีดทองแดง (G. testaceus), จิ้งโกร่ง หรือ จิ้งกุ่ง (Brachytrupes portentosus) เป็นต้น จิ้งหรีดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตแบบไม่ต้องผ่านการเป็นหนอนหรือดักแด้ ตัวอ่อนที่เกิดมาจะเหมือนตัวเต็มวัย เพียงแต่ยังไม่มีปีก และมีสีที่อ่อนกว่า ต้องผ่านการลอกคราบเสียก่อน จึงจะมีปีกและทำเสียงได้ จิ้งหรีดจะผสมพันธุ์เมื่อเป็นตัวเต็มวัย การผสมพันธุ์และวางไข่แต่ละรุ่นจะใช้เวลาประมาณ 15 วันต่อครั้ง ในแต่ละรุ่น เมื่อหมดการวางไข่รุ่นสุดท้ายแล้วตัวเมียก็จะตาย โดยตัวผู้จะทำเสียงโดยยกปีกคู่หน้าถูกันให้เกิดเสียง เพื่อเรียกตัวเมีย จังหวะเสียงจะดังเมื่อตัวเมียเข้ามาหา บริเวณที่ตัวผู้อยู่ ตัวผู้จะเดินไปรอบ ๆ ตัวเมียประมาณ 2-3 รอบ ช่วงนี้จังหวะเสียงจะเบาลง แล้วตัวเมียจะขึ้นคร่อมตัวผู้ จากนั้นตัวผู้จะยื่นอวัยวะเพศแทงไปที่อวัยวะเพศตัวเมีย หลังจากนั้นประมาณ 14 นาที ถุงน้ำเชื้อก็จะฝ่อลง แล้วตัวเมียจะใช้ ขาเขี่ยถุงน้ำเชื้อทิ้งไป เมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ตัวเมียใช้อวัยวะวางไข่ที่แทงลงในดินที่มีลักษณะเรียวยาวคล้ายเมล็ดข้าวสาร ใช้เวลาประมาณ 7 วัน ก็จะฟักออกเป็นตัวอ่อน ตลอดอายุไข่จิ้งหรีดตัวเมียสามารถวางไข่ได้ตั้งแต่ 600-1,000 ฟอง ซึ่งจะวางไข่เป็นรุ่น ๆ ได้ประมาณ 4 รุ่น จิ้งหรีดถือเป็นแมลงที่เป็นศัตรูพืชอย่างหนึ่ง แต่ก็มีความเกี่ยวพันธ์กับมนุษย์ในแง่ของเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงมาอย่างยาวนาน ในหลายวัฒนธรรม ในหลายประเทศ มีการเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อฟังเสียงร้อง และเลี้ยงไว้สำหรับการกัดกัน โดยถือว่าเป็นแมลงจำพวกหนึ่งที่สามารถนำมาต่อสู้กันได้อย่างด้วงกว่าง อีกทั้งยังปรากฏในนิทานอีสปในเรื่อง มดกับจิ้งหรีด เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ในปัจจุบัน ยังนิยมใช้เพื่อการบริโภคเป็นอาหาร และใช้เป็นอาหารสัตว์ จึงมีการส่งเสริมให้เลี้ยงจิ้งหรีดในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยนิยมเลี้ยงกันในบ่อปูนซีเมนต์วงกลม โดยมีแหล่งใหญ่อยู่ที่อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม.

ใหม่!!: ทรายและจิ้งหรีด · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติบาร์เบโดส

งชาติบาร์เบโดส เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 อันเป็นวันประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร ลักษณะสำคัญของธงนี้ประกอบด้วยแถบสีแนวตั้ง 3 แถบ เรียงเป็นแถบสีน้ำเงินเข้ม 2 แถบ ขนาบแถบสีทอง กลางแถบสีเหลืองมีรูปสามง่ามสีดำ ผู้ออกแบบธงชาติบาร์เบโดสคือ นายแกรนท์ลี ดับเบิลยู.

ใหม่!!: ทรายและธงชาติบาร์เบโดส · ดูเพิ่มเติม »

ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างมากมาย และยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ แบ่งออกเป็น ทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรแร่ธาต.

ใหม่!!: ทรายและทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ทรายขาว

ทรายขาว อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ทรายและทรายขาว · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบมาลาวี

ทะเลสาบมาลาวี หรือ ทะเลสาบนยาซา หรือ ทะเลสาบนิอัสซา (Lake Malawi, Lake Nyasa, Lake Nyassa, Lake Niassa; ชื่อหลังเป็นชื่อที่นิยมเรียกกันในโมซัมบิก) เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา เช่นเดียวกับทะเลสาบวิกตอเรียหรือทะเลสาบแทนกันยีกา นับว่าเป็นทะเลสาบที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดา 3 ทะเลสาบนี้ ทะเลสาบมาลาวี เกิดจากการที่พื้นผิวโลกในบริเวณหุบเขาเกรตริฟต์แวลลีย์แยกตัวออกจากกันเมื่อ 8 ล้านปีก่อน และกำเนิดเป็นทะเลสาบเมื่อ 4 ล้านปีก่อน จากน้ำที่เอ่อล้นในทะเลสาบแทนกันยีกา ไหลมารวมกันที่นี่Mutant Planet: African Rift Valley Lakes, "Mutant Planet".

ใหม่!!: ทรายและทะเลสาบมาลาวี · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบสงขลา

ทะเลสาบสงขลา หรือ ทะเลสาบพัทลุง หรือ ทะเลสาบลำปำ (ชื่อที่เรียกในเขตจังหวัดพัทลุง) เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ติดกันถึง 3 จังหวัด มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ในเขตอำเภอเมืองพัทลุง อำเภอปากพะยูน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสนและอำเภอควนขนุน, จังหวัดสงขลา ในเขตอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสิงหนคร อำเภอเมืองสงขลา อำเภอควนเนียง อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ทะเลสาบสงขลาตอนล่างมีเกาะขนาดใหญ่อยู่เกาะหนึ่ง คือ เกาะยอ และมีเกาะต่าง ๆ อีก ที่เป็นแหล่งสัมปทานเก็บรังนก คือ เกาะสี่ เกาะห้.

ใหม่!!: ทรายและทะเลสาบสงขลา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบแทนกันยีกา

ทะเลสาบแทนกันยีกา (Lake Tanganyika) เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อ 4 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม), แทนซาเนีย, แซมเบีย และบุรุนดี เป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญเป็นอันดับที่สองในแอฟริการองจากทะเลสาบวิกตอเรีย นอกจากนั้นยังเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับสองในทวีปแอฟริกาและลึกที่สุดในทวีปแอฟริกาอีกด้วย จุดที่มีความลึกที่สุดลึกกว่า 1,470 เมตร ทะเลสาบแทนกันยีกาเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นเปลือกโลกและภูเขาไฟระเบิด เมื่อราว 20 ล้านปีมาแล้ว นับเป็นทะเลสาบแห่งหนึ่งที่มีอายุเก่าแก่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเกรตริฟต์แวลลีย์ โดยคำว่า "แทนกันยีกา" นั้นมาจากภาษาสวาฮิลีสองคำ คือ "tangan" หมายถึง "เรือใบ" และ "nyika" หมายถึง "ป่า" หรือ "ไม่มีที่อยู่" โดยรวมอาจหมายความว่า "เรือใบที่แล่นในถิ่นทุรกันดาร" ก็ได้ ทะเลสาบแทนกันยีกา มีความยาวจัดจากเหนือจรดใต้ได้ถึง 673 กิโลเมตร แต่มีความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 50 กิโลเมตร มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 3,2892 ตารางกิโลเมตร ความยาวรอบชายฝั่งวัดรวมกันได้ 1,828 กิโลเมตร และยังเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีความลึกเป็นอันดับสองของโลกรองจากทะเลสาบไบคาล ในไซบีเรีย มีดินแดนติดกับคองโกราวร้อยละ 45 และติดกับแทนซาเนียร้อยละ 41 โดยประมาณ น้ำในทะเลสาบไหลสู่แม่น้ำคองโกในตอนกลางของทวีป และจะไหลไปลงทะเลที่ตอนแอฟริกาตะวันตกที่มหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลสาบแห่งนี้มีความโดดเด่นเรื่องของอุณหภูมิที่ค่อนข้างเสถียร เรื่องจากข้างล่างทะเลสาบยังคงมีภูเขาไฟ น้ำมีการเปลี่ยนแปลงในแนวตั้งน้อยมาก ในความลึกเกิน 300 เมตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำค่อนข้างน้อย จึงมักไม่ค่อยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อุณหภูมิโดยเฉลี่ยมีความเปลี่ยนแปลงต่างกันไม่เกิน 5 ฟาเรนไฮต์ โดยบริเวณผิวน้ำจะมีอุณหภูมิประมาณ 73-88 ฟาเรนไฮต์ ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำอยู่ที่ประมาณ 7.5-9.3 (pH) ระบบนิเวศของทะเลสาบแทนกันยีกา แบ่งออกได้เป็นสองส่วนหลัก คือ ระบบชายฝั่งและพื้นที่นอกชายฝั่ง ซึ่งสามารถแบ่งระบบนิเวศตามสภาพแวดล้อมที่ต่างกันได้ ดังนี้.

ใหม่!!: ทรายและทะเลสาบแทนกันยีกา · ดูเพิ่มเติม »

ดาวทรายหนาม

วทรายหนาม (Comb seastar, Sand sifting starfish) เป็นดาวทะเลชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเป็นห้าแฉกหรือรูปดาว เหมือนดาวทะเลทั่วไป มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามพื้นทรายตามชายฝั่งทั่วไปในเขตอินโด-แปซิฟิก เพื่อหากินสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น หนอนตัวแบน, หนอนท่อหรือลูกกุ้ง, ลูกปูขนาดเล็กหรือเคย และสาหร่าย ในบางครั้งเมื่อน้ำลดแล้ว จะพบดาวทะเลชนิดนี้ติดอยู่บนหาดทรายหรือแอ่งน้ำบนโขดหิน เช่นเดียวกับดาวทราย (A. indica) พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทะเลแดง, ทะเลญี่ปุ่น, ฮาวาย จนถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เป็นดาวทะเลอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยคำว่า polyacanthus ที่ใช้เป็นชื่อชนิดนั้น มาจากภาษาละตินที่หมายถึง "มีหนามจำนวนมาก".

ใหม่!!: ทรายและดาวทรายหนาม · ดูเพิ่มเติม »

ดาวทะเลปุ่มแดง

วทะเลปุ่มแดง (Red-knobbed starfish, Red spine star, African sea star, African red knob sea star, Linck's starfish) http://www.peteducation.com/article.cfm?c.

ใหม่!!: ทรายและดาวทะเลปุ่มแดง · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ: A Corrida Milionária

อะเมซิ่ง เรซ: A Corrida Milionária (The Amazing Race: The Million Dollar Race; ดิ อะเมซิ่ง เรซ: การแข่งขันสู่เงินล้าน) เป็นเวอร์ชันบราซิลของรายการเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ โดยมีพิธีกรประจำรายการคือโรนี่ เซิร์ฟเวอร์โร่ รายการนี้มีการผลิตและออกอากาศเป็นอิสระ ในช่วงที่ต้องมีการซื้อเวลาของเครือข่ายโทรทัศน์บราซิล RedeTV! สำหรับรายการนี้เริ่มออกอากาศในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และตอนสุดท้ายออกอากาศในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551.

ใหม่!!: ทรายและดิอะเมซิ่งเรซ: A Corrida Milionária · ดูเพิ่มเติม »

ดูน

ูน (dune) หรือ ภูเขาทราย เป็นภูเขาที่เกิดจากการสะสมของทราย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ทรายและดูน · ดูเพิ่มเติม »

คอนกรีต

การเทคอนกรีต สำหรับหล่อพื้น คอนกรีต (คอน-กรีด) (Concrete ในภาษาอังกฤษอ่านว่า คอนครีท) เป็นวัสดุผสมที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (เช่น หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ โดยอาจจะมีสารเคมีเติมเพิ่มเข้าไปสำหรับคุณสมบัติด้านอื่น เมื่อผสมเสร็จคอนกรีตจะแข็งตัวอย่างช้าๆ ซึ่งน้ำและซีเมนต์จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันในลักษณะที่เรียกว่าการไฮเดรชัน โดยซีเมนต์จะเริ่มจับตัวกับวัสดุอื่นและแข็งตัว ซึ่งในสถานะนี้จะนิยมเรียกกันว่าคอนกรีต ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลังจากที่ผสม และยังแข็งแรงขึ้นภายหลังจากการแข็งตัว โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจะเริ่มคงที่ คอนกรีตมีใช้กันในงานก่อสร้างหลายชนิด ซึ่งรวมถึง อาคาร ถนน เขื่อน สะพาน อนุสาวรีย์ และงานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งมีเห็นได้ทั่วไป คุณสมบัติหลักของคอนกรีตคือการรับแรงอัดสูง ในขณะที่สามารถรับแรงดึงได้ต่ำ (ประมาณ 10% ของแรงอัด) โดยเมื่อต้องการให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึง จะมีการเสริมวัสดุอื่นเพิ่มเข้าไปในคอนกรีตโดยจะเรียกว่า คอนกรีตเสริมแรง หรือคอนกรีตเสริมเหล็กที่เรียกกัน (โดยเสริมแรงด้วยเหล็ก) วัสดุเหล่านี้จะช่วยรับแรงดึงภายในคอนกรีต ซึ่งงานโครงสร้างอาคารส่วนใหญ่นิยมใช้คอนกรีตเสริมแรงแทนที่คอนกรีตเปลือย นอกจากนี้ในงานก่อสร้างยังมีการใช้วิธีการที่เรียกว่า คอนกรีตอัดแรง โดยทำการใส่แรงเข้าไปในคอนกรีตหล่อสำเร็จที่หล่อมาจากโรงงาน โดยเมื่อนำไปใช้งาน แรงที่ใส่เข้าไปในคอนกรีตจะหักล้างกับน้ำหนักของตัวคอนกรีตเองและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คอนกรีตสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มมากขึ้น โดยงานสะพานและทางยกระดับ นิยมใช้คอนกรีตอัดแรง มนุษย์เริ่มใช้คอนกรีตในการก่อสร้างตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ในอดีต ชาวกรีกและชาวโรมันใช้คอนกรีตในการก่อสร้างป้อมปราการทางการทหารและสถานที่สำคัญต่างๆมากม.

ใหม่!!: ทรายและคอนกรีต · ดูเพิ่มเติม »

คอนกรีตบล็อก

อนกรีตบล็อก คอนกรีตบล็อก เป็นวัสดุก่อสร้างประเภทวัสดุก่อ สำหรับการก่อสร้างผนังอาคารทั่วไป ผลิตจากส่วนผสมของซีเมนต์ ทราย หินย่อย และน้ำ.

ใหม่!!: ทรายและคอนกรีตบล็อก · ดูเพิ่มเติม »

งูสมิงทะเล

งูสมิงทะเล หรือ งูสามเหลี่ยมทะเล (Sea kraits) เป็นสกุลของงูทะเลที่มีขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Laticauda อยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) โดยงูในสกุลนี้ ยังจัดว่าเป็นงูทะเลที่สามารถเลื้อยบนขึ้นมาบนบกได้ ด้วยเกล็ดท้องยังมีอยู่และค่อนข้างกว้างอย่างน้อยประมาณครึ่งหนึ่งของความกว้างลำตัว ทำให้สามารถเลื้อยขึ้นบนหาดทรายได้บ้าง นอกจากนี้ยังมีการสืบพันธุ์ด้วยการวางไข่โดยขึ้นมาวางไข่บนบก โดยจะไปวางไข่ในในโพรงหินหรือพนังถ้ำ มีรูปร่างโดยรวม มีหัวขนาดเล็ก ปากมีขนาดเล็ก ปลายหางแผ่แบนเหมือนครีบปลา เพื่อใช้ในการว่ายน้ำ ลำตัวมีลายปล้องดำสลับกันไปทั้งทั่ว จัดเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ โดยมีความยาวได้ถึงเกือบ 3 เมตร งูสมิงทะเลพบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลที่ใกล้กับชายฝั่ง จะอาศัยหากินตามแนวปะการัง เป็นงูที่ว่ายได้ช้า จึงไม่สามารถจับปลาที่ว่ายไปมากินเป็นอาหารได้ จึงหาอาหารที่หลบซ่อนตามซอกหลีบปะการัง พบได้ตั้งแต่ทะเลในแถบเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงหมู่เกาะโซโลมอน หรือเกาะอื่น ๆ ในแถบโอเชียเนีย และเอเชียตะวันออก มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบน้ำจืดบนหมู่เกาะโซโลมอน.

ใหม่!!: ทรายและงูสมิงทะเล · ดูเพิ่มเติม »

งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์

งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ หรือ งูไซด์ไวน์เดอร์ (Sidewinder, Sidewinder rattlesnake, Horned rattlesnakeCarr A. 1963. The Reptiles. Life Nature Library. Time-Life Books, New York. LCCCN 63-12781.) เป็นงูพิษขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่แถบทะเลทราย จัดเป็นงูจำพวกงูหางกระดิ่ง อยู่ในวงศ์งูแมวเซา (Viperidae) และวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง (Crotalinae) จัดเป็นงูหางกระดิ่งชนิดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 1.5-2.5 ฟุต แต่ตัวที่มีความยาวกว่า 30 นิ้ว มักไม่ค่อยพบ มีลักษณะเด่น คือ มีติ่งเล็ก ๆ เหนือตาคล้ายกับเขา ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้ในการปกป้องดวงตา มีเกล็ดตามลำตัวสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลเข้ม สำหรับการปรับตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม ที่เป็นทราย งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ มีการเคลื่อนที่ด้วยการเหวี่ยงตัวไปข้าง ๆ ด้วยการควบคุมตัวให้ตกลงสู่พื้นในแนวดิ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการลื่นไถล เพื่อทำให้เกิดแรงผลักและทำให้ลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าขณะเดียวกันลำตัวถูกยกขึ้นสูงจากพื้นวัสดุแล้วตกลงในแนวดิ่ง จึงสามารถเคลื่อนไปข้างหน้าได้ แต่ทิศทางการเลื้อยอาจดูเฉียงไปด้านข้างเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะรูปแบบการเคลื่อนที่แบบนี้เหมาะมากสำหรับการเคลื่อนที่ของสัตว์ที่ไม่มีขาบนพื้นทราย ที่อ่อนนุ่มแบบนี้ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญที่ใช้เรียกด้วย งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ เป็นงูที่ออกหากินในเวลากลางคืน ด้วยการตรวจจับคลื่นอินฟาเรดจากความร้อนของตัวเหยื่อ ซึ่งเหยื่อ โดยมากจะได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู หรือสัตว์ฟันแทะและกิ้งก่าชนิดต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา เช่น รัฐเท็กซัส, ยูทาห์, เนวาดา, อริโซนา, แคลิฟอร์เนีย และตอนเหนือของเม็กซิโก แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย ตามแต่ละถิ่นที่อยู่อาศัย (ดูในตาราง) รอยบนพื้นทราย ที่เป็นงูเหวี่ยงตัวผ่าน เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัวได้มากกว่าครั้งละ 18 ตัว.

ใหม่!!: ทรายและงูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบม่านลาย

ตะพาบม่านลาย (Narrow headed softshell turtles) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกตะพาบ 3 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Chitra (/ชิ-ตร้า/) มีรูปร่างโดยรวมคือ เป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หัวและตามีขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่ ขนาดกระดองยาวได้ถึงเมตรเศษ น้ำหนักกว่า 120–200 กิโลกรัม กระดองแบนเรียบสีครีมหรือสีเนื้อ มีจุดเด่นที่เป็นลักษณะสำคัญ คือ มีลายสีน้ำตาลแลดูสวยงาม ที่ขนาดและลักษณะแตกต่างออกไปในช่วงวัยและชนิดพันธุ์ หัวเล็ก เท้าเป็นแผ่นผังผืด มีเล็บใหญ่แข็งแรง กรามแข็งแรงใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งและสัตว์มีกระดูกสันหลังบางประเภท เช่น กบหรือเขียด เป็นอาหารได้เป็นอย่างดี พบกระจายพันธุ์เฉพาะแม่น้ำขนาดใหญ่บางสายเท่านั้น ในอนุทวีปอินเดียและภูมิภาคอินโดจีน เช่น ไทย, พม่า, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ปัจจุบันจำแนกออกได้ 3 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ทรายและตะพาบม่านลาย · ดูเพิ่มเติม »

ตะกวดเหลือง

ตะกวดเหลือง (Yellow monitor) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์เหี้ย (Varanidae) ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายสัตว์ในวงศ์นี้ทั่วไป แต่มีนิ้วเท้าที่สั้น และพื้นลำตัวสีเหลือง อีกทั้งมีพฤติกรรรมไม่ชอบอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือที่ชื้นแฉะเหมือนเหี้ย (V. salvator) โดยจะอยู่เฉพาะที่แห้งแล้งหรือพื้นทราย มีขนาดประมาณ 70-100 เซนติเมตร วางไข่จำนวน 30 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 149-155 วัน มีรายงานเคยพบในประเทศไทยในภาคใต้และภาคตะวันตกเมื่อนานมาแล้ว สถานภาพปัจจุบันพบมากใน อินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ และปากีสถาน ยังมีชื่อเรียกอื่น อีก เช่น "แลนดอน" เป็นต้น.

ใหม่!!: ทรายและตะกวดเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลหนองกอมเกาะ

ตำบลหนองกอมเกาะ เป็นตำบลในอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลมีชัย และได้แยกออกมาในปี..

ใหม่!!: ทรายและตำบลหนองกอมเกาะ · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลเมืองแฝก

ลโก้ ตำบลเมืองแฝก ก่อตั้งเป็นตำบลเมื่อ พ.ศ. 2516 โดยแยกการปกครองจากตำบลตลาดโพธิ์ อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอลำปลายมาศ ตามถนนสายลำปลายมาศ-คูเมือง ห่างจากที่ว่าการอำเภอลำปลายมาศ 28 กม.

ใหม่!!: ทรายและตำบลเมืองแฝก · ดูเพิ่มเติม »

ซิลิกอนไดออกไซด์

ทราย หนึ่งในอัญรูปของซิลิกา ซิลิกอนไดออกไซด์ (silicon dioxide) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ซิลิกา (จากภาษาละตินคำว่า silex) คือสารประกอบระหว่างออกไซด์และซิลิกอนรวมตัวกันเป็นสูตรทางเคมีคือ SiO2 และเป็นที่รู้กันตั้งแต่สมัยโบราณถึงความแข็งแกร่งของมัน ซิลิกามักพบได้ทั่วไปในธรรมชาติอาจในรูปของทรายหรือควอตซ์ และในผนังเซลล์ของไดอะตอม ซิลิกาเป็นสารประกอบที่มีจำนวนมากโดยทั่วไปบนเปลือกโลก ซิลิกาได้นำมาใช้เป็นวัสดุในการผลิตที่หลากหลาย อาทิ แก้ว, คริสตัล, เจล, แอโรเจล, ซิลิการมควัน และคอลลอยดอลซิลิกา ยิ่งไปกว่านั้น ซิลิกานาโนสปริงก็ผลิตขึ้นจากวิธีความดันไอ-ของเหลว-ของแข็ง ในอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง ซิลิกาใช้เป็นวัสดุเบื้องต้นในการผลิตกระจก, แก้วน้ำและขวดแก้ว สายใยแก้วที่ใช้ในการโทรคมนาคมก็เป็นผลิตผลจากซิลิกาเช่นเดียวกัน และยังใช้เป็นวัสถุดิบแรกเริ่มในผลิตภัณฑ์จำพวกเซรามิกเช่น เครื่องปั้นดินเผา, เครื่องหิน, เครื่องลายคราม และการผลิตพาร์ตแลนด์ซีเมนต.

ใหม่!!: ทรายและซิลิกอนไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิลิคอน

ซิลิคอน (Silicon) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีสัญลักษณ์ Si และเลขอะตอม 14 เป็นธาตุกึ่งโลหะแบบเตตระวาเลนต์ (คือมีวาเลนซ์เป็น 4) ซิลิคอนทำปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุที่คล้ายกันคือคาร์บอน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในเปลือกโลกเป็นอันดับ 2 มีปริมาตร 25.7% โดยน้ำหนัก ปรากฏในดินเหนียว เฟลด์สปาร์ (feldspar) หินแกรนิต ควอตซ์ และทราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซิลิคอน ไดออกไซด์ (หรือซิลิกา) และซิลิเกต (สารประกอบที่ประกอบจากซิลิคอน ออกซิเจน และ โลหะ) ซิลิคอน เป็นส่วนประกอบหลักของแก้ว ซีเมนต์ เซรามิก, อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ส่วนใหญ่ และซิลิโคน (สารพลาสติกที่มักจะสับสนกับซิลิคอน) ซิลิคอนใช้เป็นสารกึ่งตัวนำอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก สารกึ่งตัวนำเจอร์เมเนียมมีปัญหาเกี่ยวกับการไหลของกระแสไหลย้อนกลับ (reverse leakage current).

ใหม่!!: ทรายและซิลิคอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบู่เหลือง

ปลาบู่เหลือง (Yellow prawn-goby, Watchman goby) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) เป็นปลาบู่ที่มีพฤติกรรมอยู่ตามโพรงตามพื้นทรายใต้ทะเล โดยอาศัยอยู่ร่วมกับกุ้งดีดขันลายเสือ (Alpheus bellulus) ซึ่งเป็นกุ้งที่มีสายตาที่ไม่ดีนักจึงอาศัยปลาบู่เหลืองทำหน้าที่เฝ้าระวังภัยให้ โดยทั้งคู่จะหากินอยู่เฉพาะบริเวณปากโพรง เมื่อไหร่ที่ถูกคุกคาม ปลาบู่เหลืองจะใช้หางโบกสะบัดเพื่อเป็นการเตือนกุ้งให้รู้ และทั้งคู่จะมุดลงโพรงพร้อม ๆ กัน และปลาก็ได้รับประโยชน์จากกุ้ง โดยกุ้งจะทำหน้าที่ขุดโพรงและดูแลโพรงให้เป็นที่อยู่อาศัยและหลบภัย เป็นปลาที่มีสีเหลืองสดใส มีจุดเล็ก ๆ สีฟ้ากระจายทั่วไปบริเวณครีบหลัง ลำตัวส่วนแรกและส่วนหัว เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดความยาวไม่เกิน 7-8 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการกินอาหารด้วยการอมทรายและพ่นออกมา พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในแถบอินโด-แปซิฟิก เป็นปลาที่มีความสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ด้วยพฤติกรรมการกินอาหารเสมือนทำความสะอาดตู้เลี้ยงให้สะอาดตลอดเวลาด้วย ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง โดยไม่สามารถสังเกตเพศได้จากลักษณะภายนอก แต่พฤติกรรมปลาตัวผู้เมื่ออยู่รวมกันหลายตัว จะเป็นฝ่ายไล่ตัวอื่น โดยปลาจะผสมพันธุ์กันในเวลาเย็น แม่ปลาจะวางไข่ที่มีลักษณะเป็นพวงติดกับผนังด้านบนของโพรงที่อยู่อาศัย แล้วปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสม จากนั้นปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่เป็นหลัก ลูกปลาใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 4 วัน หลังจากที่ไข่ได้รับการผสม อัตราในการฟักอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000 ตัว.

ใหม่!!: ทรายและปลาบู่เหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนหางหนาม

ปลากระเบนหางหนาม (Jenkins' whipray) ปลาทะเลกระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมด้านเท่า จะงอยปากแหลมเล็กน้อย ขอบปีกด้านข้างเป็นมุมมน ด้านหลังมีตุ่มแหลมมาก มีแกนกลางเป็นตุ่มใหญ่ไปจนถึงโคนหาง หางมีตุ่มหยาบมาก ลำตัวสีน้ำตาลแดง ด้านท้องสีขาว หางสีคล้ำ มีขนาดความกว้างได้ถึง 150 เซนติเมตร จากปีกด้านหนึ่งไปอีกยังด้านหนึ่ง อาศัยอยู่ตามพื้นทรายหรือพื้นที่มีโคลนปนตามแถบชายฝั่งจนถึงแนวปะการัง ตั้งแต่ชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออก, แอฟริกาใต้, อ่าวเปอร์เซีย, ทะเลอาหรับ, ทะเลแดง, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลฟิลิปปิน ไปจนถึงตอนเหนือออสเตรเลีย เป็นปลาที่หากินสัตว์น้ำหน้าดินต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น หอย, ปู ในน่านน้ำไทยถือเป็นปลาที่พบได้น้อย หายาก แต่ที่มัลดีฟส์ เป็นปลาที่พบได้ง่าย โดยมักจะว่ายเข้ามาหานักท่องเที่ยวเพื่อขออาหารกิน.

ใหม่!!: ทรายและปลากระเบนหางหนาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนจุดฟ้า

ระวังสับสนกับ: ปลากระเบนทอง ปลากระเบนจุดฟ้า (Bluespotted stingray, Bluespotted maskray) ปลากระดูกอ่อนน้ำเค็มชนิดหนึ่ง จำพวกปลากระเบน อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีจะงอยปากและปลายครีบอกเป็นมุมกว้าง ด้านหลังลำตัวเรียบ หางเรียวยาวกว่าลำตัวเล็กน้อย ตาโตอยู่ชิดกันและมีแถบสีคล้ำระหว่างดวงตา ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอ่อนอมเทาหรือเหลือง มีจุดประสีฟ้าอ่อนและดำกระจาย ด้านท้องสีจาง ปลายหางมีสีดำ มีปล้องสีขาวอยู่ 1-2 ปล้อง มีขนาดความกว้างของลำตัวประมาณ 50 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามแถบชายฝั่ง ตั้งแต่แนวปะการังไปจนถึงที่ลึกอย่างไหล่ทวีป ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย โดยพบได้ประปรายในทวีปแอฟริกา มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายในที่ตื้น ๆ โดยกินสัตว์น้ำเช่น กุ้ง, ปู และหอย เป็นอาหาร ในเขตน่านน้ำไทยพบได้ชุกชุมในบางพื้นที่ และพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันหน้า 101, คู่มือปลาทะเล โดย ชวลิต วิทยานนท์ ดร.

ใหม่!!: ทรายและปลากระเบนจุดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนไฟฟ้า

ปลากระเบนไฟฟ้า (Electric rays, Numbfishes, Coffin rays, Sleeper rays, Crampfishes) เป็นปลากระเบนที่มีรูปร่างกลม จัดอยู่ในอันดับ Torpediniformes และมีอวัยวะคู่หนึ่งที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์รูปหกเหลี่ยมเรียงซ้อนกันเป็นกลุ่ม ตั้งอยู่ทางด้านข้างของตาถัดไปถึงครีบอก ภายในมีสารเป็นเมือกคล้ายวุ้น ทำหน้าที่ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยความแรงมีตั้งแต่ระดับต่ำเพียง 8 โวลต์ไปจนถึง 220 โวลต์ ขึ้นอยู่กับชนิด กระแสไฟฟ้านี้ใช้เพื่อทำให้เหยื่อสลบหรือฆ่าเหยื่อ ปลากระเบนไฟฟ้าทั้งหมดมีรูปร่างแบนกลม ตามีขนาดเล็กมาก (มีอยู่ 4 ชนิดที่ตาบอด) ส่วนหางพัฒนาอย่างสมบูรณ์แข็งแรง และไม่มีเงี่ยงหางแหลมคมเหมือนปลากระเบนในอันดับอื่น มีลำตัวหนาและอ่อนนุ่ม มีครีบหลัง 2 ตอน หรือไม่มีเลย ปลากระเบนไฟฟ้ามีทั้งหมด 4 วงศ์ (ดูในตาราง) ประกอบด้วย 69 ชนิด 11 สกุล โดยทั้งหมดพบในทะเล พบในบริเวณอบอุ่นในเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติก, แปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ปลากระเบนไฟฟ้ามักหมกตัวอยู่ใต้พื้นทราย สามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ได้หากเหยียบไปถูกเข้า ซึ่งอาจทำให้เกิดเกิดอาการชาและจมน้ำเสียชีวิตได้ อวัยวะสร้างกระแสไฟฟ้าคู่ ปลากระเบนไฟฟ้าในภาษาไทยมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปลาเสียว" โดยชนิดที่พบได้ในน่านน้ำไทย เช่น ปลากระเบนไฟฟ้าหลังเรียบ (Temera hardwickii), ปลากระเบนไฟฟ้าสีน้ำตาล (Narcine brunnea), N. indica และ Narke dipterygia ส่วนชนิดที่พบได้ในต่างประเทศและเป็นที่รู้จักดีได้แก่ ปลากระเบนไฟฟ้าแปซิฟิก (Torpedo californica), ปลากระเบนไฟฟ้าตาบอด (Typhlonarke aysoni) เป็นต้น.

ใหม่!!: ทรายและปลากระเบนไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ตูนอานม้า

ปลาการ์ตูนอานม้า (Saddleback anemonefish, Saddleback clownfish) เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่ง ได้ชื่อมาจากการที่มีลายสีขาวพาดตั้งแต่บริเวณปลายครีบหลังมายังบริเวณกลางลำตัว เหมือนอานม้า พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในมหาสมุทรอินเดีย เช่นเดียวกับปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง (A. sebae) มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 12 เซนติเมตร จะอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด พรมทะเล (Stichodactyla haddoni) ซึ่งจะฝังตัวอยู่ในทรายพื้นทะเล ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ปลาการ์ตูนอานม้า นับว่าเป็นปลาการ์ตูนที่มีความหลากหลายทางสีสันและลวดลายมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยบางตัวอาจมีลายสองแถบ หรือสามแถบ สีสันมีตั้งแต่สีดำตลอดทั้งลำตัว หรือบางตัว มีเฉพาะส่วนปากเท่านั้นที่มีสีส้ม ลำตัวสีดำ ส่วนปากและท้องเป็นสีส้ม ไปจนถึงบางตัวที่มีสีส้มตั้งแต่ปาก, ท้อง และลำตัว มากกว่าพื้นที่สีดำบนลำตัว และขณะที่บางตัวอาจมีลายอานม้าเพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของลำตัว แต่บางตัวมีลายอานม้าพาดยาวไปจนสุดด้านล่างของลำตัว เป็นต้น ส่วนปลาที่พบในเขตน่านน้ำไทยมักมีลายแถบสามแถบครึ่งลำตัว และมีลำตัวสีดำตลอดทั้งลำตัว เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง.

ใหม่!!: ทรายและปลาการ์ตูนอานม้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลายอดม่วงเกล็ดถี่

ปลายอดม่วงเกล็ดถี่ (Smallscale tonguesole) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cynoglossus microlepis อยู่ในวงศ์ปลายอดม่วง (Cynoglossidae) มีรูปร่างคล้ายใบมะม่วง ตาเล็กอยู่ชิดกัน ปลายจะงอยปากงุ้ม เฉพาะด้านบนท้องเล็กมาก ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นยาวตลอดลำตัว ครีบหางมีปลายแหลม เกล็ดเล็กมีขอบหยัก มีเส้นข้างลำตัว 3 เส้นบนลำตัวด้านบนและต่อเนื่องกันบริเวณหัว ตัวมีสีน้ำตาลอ่อนอมแดงโดยไม่มีลวดลายใด ๆ ครีบค่อนข้างใส ลำตัวด้านล่างมีสีขาว ขนาดที่พบเฉลี่ยประมาณ 25 เซนติเมตร ใหญ่สุดประมาณ 1 ฟุต อาศัยตามชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นพื้นทราย พบในตอนล่างของแม่น้ำแม่กลอง, เจ้าพระยา, บางปะกง และภาคใต้ พบมากในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดชัยนาทจนถึงพิษณุโลก บริโภคโดยทำปลาแห้ง มีราคาขายค่อนข้างสูง และพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย มีชื่อเรียกอื่นว่า "ปลายอดม่วง", "ปลายอดม่วงแม่น้ำ" หรือ "ปลายอดม่วงน้ำจืด" เป็นต้น.

ใหม่!!: ทรายและปลายอดม่วงเกล็ดถี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลารากกล้วย

ปลารากกล้วย หรือ ปลาซ่อนทราย (horseface loach) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดทุกชนิดในสกุล Acantopsis ของวงศ์ปลาหมูแท้ (Cobitidae)ราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ทรายและปลารากกล้วย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาลิ้นหมาน้ำจืด

ปลาลิ้นหมาน้ำจืด (Freshwater sole, River sole) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาลิ้นหมา (Soleidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brachirus panoides มีรูปร่างเรียวเป็นรูปไข่ ตาเล็กอยู่ห่างกัน ปากเล็กมีรูจมูกเห็นเป็นท่อชัดเจน ครีบมีลักษณะเชื่อมต่อกันเกือบทั้งลำตัว ครีบอกเล็กมาก มีเส้นข้างลำตัวตรงตลอดแนวลำตัว และมีแขนงสีล้ำตัดเป็นแนวดิ่ง 6-7 เส้น ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีแต้มใหญ่สีคล้ำหลายแต้มตามบริเวณใกล้กับครีบหลังและครีบก้น ครีบมีขอบสีจาง มีจุดประสีคล้ำกระจาย ลำตัวด้านล่างสีขาว ขนาดลำตัวประมาณ 15 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 30 เซนติเมตร อาศัยอยู่บริเวณพื้นน้ำ ว่ายน้ำโดยขนานกับพื้นดินและพลิ้วตัวขึ้นมาแนวขึ้นลง สามารถมุดลงใต้ทรายได้เร็วเวลาตกใจ โดยปกติมักจะไม่เคลื่อนไหว อาหารได้แก่สัตว์น้ำหน้าดินขนาดเล็ก เช่น ไส้เดือนน้ำ, ลูกกุ้ง เป็นต้น ปลาลิ้นหมาน้ำจืดเป็นปลาที่มักอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่ค่อยลอยตัวขึ้นเหนือน้ำ ดังนั้น คนสมัยก่อนหากเห็นปลาลิ้นหมาลอยตัวขึ้นมาเหนือน้ำ จะเก็บน้ำใส่ตุ่ม เพราะเป็นสัญญาณบ่งชี้แล้วว่าน้ำจะเสีย ปลาลิ้นหมาน้ำจืดพบในแม่น้ำตอนล่างใกล้กับปากแม่น้ำของทุกภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง ไม่พบในแม่น้ำโขง บริโภคโดยปรุงสดและทำปลาแห้ง อีกทั้งเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ด้วย แต่ปัจจุบันหาได้ยากขึ้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทางสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยนาทได้ทำการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้อยู่ ซึ่งปลาลิ้นหมาน้ำจืดมีชื่อเรียกที่แตกต่างและซ้ำซ้อนกันไปเช่น "ใบไม้", "ลิ้นควาย" หรือ "เป" ในภาษาอีสาน เป็นต้น.

ใหม่!!: ทรายและปลาลิ้นหมาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอมาคูลิคัวด้า

ปลาหมอมาคูลิคัวด้า หรือ ปลาหมอเวียจา (Spotted cichlid, Blackbalt cichild) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีพื้นลำตัวสีน้ำตาลจางแกมเหลือง แต่อาจมีสีม่วงแซมอยู่บ้าง มีจุดเล็ก ๆ สีดำกระจายทั่วไปตั้งแต่กลางลำตัวไปจนถึงบริเวณหาง และมีแถบเส้นสีดำขนาดใหญ่พาดกลางลำตัวในแนวตั้งคล้ายคาดเข็มขัดเป็นจุดเด่น แลเห็นชัดเจน หัวมีลักษณะค่อนข้างกลม ปากใหญ่ ริมฝีปากค่อนข้างหนา แก้มและท้องมีสีแดงเรื่อ ๆ นัยน์ตามีสีเขียว ครีบอกใส ครีบกระโดงหลังแผ่กว้างบริเวณส่วนปลายครีบเรียวแหลม เช่นเดียวกับครีบทวารแต่สั้นกว่า ครีบหางมีขนาดใหญ่ ปลายมนกลม ทุกครีบ ยกเว้นครีบอกมีจุดสีดำกระจายทุกครีบโดยมีพื้นสีม่วงจาง ๆ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 35-40 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ในภาคพื้นอเมริกากลางตั้งแต่ตอนใต้ของเม็กซิโก, นิคารากัว, ปานามา จนถึงทวีปอเมริกาใต้ เป็นปลาหมอสีชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ซึ่งปลาหมอมาคูลิคัวด้า จัดเป็นปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่มีนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่น เมื่อเทียบกับปลาหมอสีขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ และมีนิสัยชอบขุดคุ้ยกรวดทรายบริเวณพื้นตู้ และสามารถเพาะขยายพันธุ์ในตู้เลี้ยงได้ เมื่อปลาจับคู่ได้แล้ว โดยปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายเลือกมุมหนึ่งของตู้เพื่อสร้างรัง ด้วยการใช้ปากคาบกรวดไปทิ้งรอบ ๆ เป็นวงกลม และเชิญชวนปลาตัวเมียมาวางไข่ โดยที่จะปล่อยไข่ออกมาด้วยการใช้ท้องถูกับวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ และปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าปฏิสนธิ เมื่อปลาตัวเมียปล่อยไข่หมดแล้ว ก็จะเสร็จสิ้นการผสมพันธุ์ จากนั้นปลาทั้งคู่จะช่วยกันดูแลไข่ โดยที่ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 2-3 วัน.

ใหม่!!: ทรายและปลาหมอมาคูลิคัวด้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอเซวารุ่ม

ปลาหมอเซวารุ่ม หรือ ปลาหมอเซวาลุ่ม (Severum, Banded cichlid) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heros severus อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างป้อมแบนข้างข้างปานกลาง หน้าผากมีความลาดชั้นมาก ปากอยู่ด้านล่าง มีริมฝีปากที่หนา ปลายครีบหลังและครีบก้นยาวแหลม ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนอมเขียวมีสีส้มปน บริเวณใบหน้ามีลายประสีแดงกระจายอยู่ทั่ว ลำตัวมีสีดำพาดตามขวางประมาณ 6-8 แถบ ซึ่งลายนี้จะจางลงเมื่อปลาโตขึ้น มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในแม่น้ำโอริโนโคและแม่น้ำอเมซอน ในประเทศโคลัมเบียและเวเนซุเอลา โดยจะพบได้ในแหล่งน้ำที่มีความหลากหลายของสภาพ ทั้งน้ำใส น้ำขุ่น หรือน้ำที่มีสีเหมือนสีกาแฟ โดยทั่วไปปลาที่มีขนาดเล็กจะพบมากในบริเวณแหล่งน้ำที่ไหลช้า และมีพื้นเป็นกรวดทราย หรือทรายปนโคลน ส่วนปลาที่โตเต็มวัยจะพบในบริเวณที่น้ำไหลแรงและมีพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น อุณหภูมิของน้ำประมาณ 23-29 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) 5.0-6.5 เป็นปลาที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ ทั้งสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ รวมทั้งแมลง ปลาหมอเซลารุ่ม เป็นปลาที่นิยมเพาะเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามมาอย่างยาวนานแล้ว เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นปลาที่มีนิสัยเรียบร้อย ไม่ดุร้ายก้าวร้าวเหมือนปลาในวงศ์ปลาหมอสีชนิดอื่น ๆ อีกทั้งสามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้ปลาด้วย ซึ่งปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์ได้มีสีสันที่หลากหลายไปจากปลาสายพันธุ์เดิมในธรรมชาติมาก เช่น สีทองหรือสีแดง เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่นของทวีปอเมริกาใต้ โดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Acará-peba.

ใหม่!!: ทรายและปลาหมอเซวารุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาออสการ์

ปลาออสการ์ (Oscar fish, Red belvet, Velvet cichlid, Marbled cichlid, Peacock-eyed cichilld, Tiger oscar, Peacock cichilld) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาพันธุ์พื้นเมืองของลุ่มแม่น้ำโอริโนโก, แม่น้ำอะเมซอน และแม่น้ำลา พลาตา ในทวีปอเมริกาใต้อย่างกว้างขวาง เช่น ประเทศบราซิล, โคลอมเบีย, เปรู, เฟรนช์เกียนา, อุรุกวัย, เวเนซุเอลา และอาร์เจนตินา เป็นปลาที่หากินในบริเวณแหล่งน้ำที่เป็นน้ำตื้นทีมีพื้นท้องน้ำเป็นโคลนปนทรายหรือกรวดทราย ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 45.7 เซนติเมตร คุณภาพของน้ำในแหล่งที่พบอาศัยมีอุณหภูมิระหว่าง 22-25 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 6.0-8.0 มีรูปร่างแบนข้างและลำตัวป้อม ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตาโต ปากกว้าง ริมฝีปากหนา ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียว ที่ขอบของแผ่นกระดูกปิดเหงือกและด้านล่างของลำตัวมีสีส้มอมแดงหรือส้มจาง ๆ ที่ด้านบนของคอดหางมีจุดกลมสีดำคล้ายลูกตาดำและมีวงสีส้มอมแดงล้อมรอบ เป็นปลาที่ว่ายน้ำช้า กินสัตว์อื่นเป็นอาหารได้หลากหลาย ทั้งสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ และแมลงด้วย ปลาออสการ์ เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในพื้นถิ่น โดยจะพบวางขายกันในตลาดสด มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Acará-acu และเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะการเป็นปลาสวยงาม ซึ่งนิยมเลี้ยงกันมาอย่างยาวนาน จัดเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เลี้ยงดูลูกอ่อน ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ในราวต้นพุทธทศวรรษ 2500 ถือเป็นปลาหมอสีชนิดแรก ๆ ที่นำเข้ามาสู่ประเทศไทย ในฐานะปลาสวยงาม ซึ่งมีราคาซื้อขายแพงมาก โดยตกคู่ละ 500 บาท (ราคาทองคำแท่งในขณะนั้นบาทละ 400 บาท) ปัจจุบัน มีการเพาะเลี้ยงกันจนมีสีสันที่สวยงามกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมมาก เช่น ปลาเผือก, สีเหลืองสดหรือสีทองหรือสีแดงสดทั้งตัว รวมทั้งมีแบบที่มีครีบยาวกว่าปกติด้วย โดยชื่อ "ออสการ์" นั้นมาจากชื่อกลางของนักมีนวิทยาชาวสวีเดน สเวน ออสการ์ คูลเลนเดอร์ ที่ศึกษาโดยเฉพาะกับปลาในวงศ์ปลาหมอสี.

ใหม่!!: ทรายและปลาออสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอเล็กซานดรี่

ปลาอเล็กซานดรี่ (パカモン) เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Pseudopimelodidae จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Lophiosilurus มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาในวงศ์ Chacidae โดยเฉพาะในปลาวัยอ่อน กล่าวคือ มีส่วนหัวที่แบนราบมาก ตาเล็ก ปากกว้างมาก มีหนวด 2 เส้นตรงมุมปากคนละข้าง และอีก 2 เส้นตรงใต้คาง ลำตัวเป็นสีเขียวอมส้ม มีจุดกระน้ำตาล ครีบทุกครีบมีขนาดเล็ก กระจายพันธุ์ในแม่น้ำเซาฟรังซีสกูในบราซิล โดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า "ปาคาม่า" (Pacamã) มีพฤติกรรมมักจะอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นน้ำหรือฝังตัวใต้ทรายเพื่อรออาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำทั่วไป ขนาดความยาวโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร น้ำหนักราว 5,000 กรัม ด้วยมีหน้าตาประหลาด จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ซึ่งจัดว่าเป็นปลาที่มีราคาแพงชนิดหนึ่ง โดยมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า "ปลากดหน้ากบ" (Frog-faced catfish) หรือ "ปลากดแพ็ค-แมน" (Pac-man catfish).

ใหม่!!: ทรายและปลาอเล็กซานดรี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาผีเสื้อกลางคืน

ปลาผีเสื้อกลางคืน (Little dragonfish, Common dragonfish, Short dragonfish, Pegasus sea moth) เป็นปลาทะเลปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาผีเสื้อกลางคืน (Pegasidae) เป็นปลาขนาดเล็กขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร มีผิวลำตัวด้านบนมีลายรูปคล้ายตาข่ายสีน้ำตาลอ่อน จนถึงสีน้ำตาลเข้ม มีปากยาวและหางสั้น มีข้อหาง 8-9 ข้อ หรืออาจมากกว่าแต่พบได้น้อยมาก มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นคู่บริเวณพื้นทะเลที่เป็นกรวดหิน หรือทรายปนโคลน โดยเฉพาะบริเวณแนวหญ้าทะเลและสาหร่ายทะเล หาอาหารกินได้แก่ สัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นทะเลขนาดเล็ก เช่น หนอนทะเล เคลื่อนที่ช้า ๆ โดยใช้ก้านครีบท้องที่พัฒนาไปคล้ายขา พบกระจายพันธุ์กว้างขวางในทะเลและน้ำกร่อยเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตั้งแต่ แอฟริกาใต้, มาดากัสการ์, ทะเลแดง, อินโด-แปซิฟิก, ทะเลญี่ปุ่น, ไมโครนีเซีย และน่านน้ำไท.

ใหม่!!: ทรายและปลาผีเสื้อกลางคืน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาผีเสื้อกลางคืนปากยาว

ปลาผีเสื้อกลางคืนปากยาว (Longtail seamoth, Slender seamoth) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาผีเสื้อกลางคืน (Pegasidae) เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก มีขนาดยาวไม่เกิน 4-6 เซนติเมตร มีลำตัวเป็นเกราะแข็ง ครีบหางมีเกราะรูปวงแหวนต่อกัน เป็นข้อ ๆ ปากยื่นยาวออกไป ลำตัวแบนลง ครีบหูมีขนาดใหญ่แผ่ออกด้านข้างคล้ายปีกของผีเสื้อ ครีบท้องมีก้านแข็งหนึ่งคู่ ที่เหลือเป็นก้านครีบอ่อนที่พัฒนาไปคล้ายขาเดิน มีผิวตัวด้านบนมีลายรูปตาข่าย อาจมีสีน้ำตาลอ่อน จนถึงสีน้ำตาลเข้ม คล้ายกับปลาผีเสื้อกลางคืน (Eurypegasus draconis) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ปลาผีเสื้อกลางคืนปากยาว จะมีส่วนปากที่ยื่นยาวกว่า เป็นปลาที่หากินตามพื้นทะเล ที่เป็นพื้นทรายหรือทรายปนโคลน ด้วยการใช้ครีบคืบคลานไปกับพื้นคล้ายกับการเดิน โดยกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ ต่าง ๆ เป็นอาหาร พบแพร่กระจายพันธุ์กว้างไกล ตั้งแต่ ออสเตรเลีย, บาห์เรน, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, โมซัมบิก, พม่า, ฟิลิปปินส์, ซาอุดิอาระเบีย, สิงคโปร์, เกาะไต้หวัน, แทนซาเนีย และไท.

ใหม่!!: ทรายและปลาผีเสื้อกลางคืนปากยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจิ้มฟันจระเข้ใบสาหร่าย

ปลาจิ้มฟันจระเข้ใบสาหร่าย หรือ ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจใบสาหร่าย (Halimeda ghost pipefish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ (Solenostomidae) มีรูปร่างคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจใบไม้ (S. cyanopterus‎) แต่มีครีบอกที่กลมมนกว่า มีลำตัวสีเขียวอมเทาคล้ายสีของสาหร่าย มีลายด่างและจุดสีเทากระจายอยู่ทั่วตัว จะงอยปากมีติ่งเป็นกระจุกสีน้ำตาล มีความยาวโดยประมาณ 6 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่ตามลำพัง โดยลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ เหนือกอสาหร่ายหรือหญ้าทะเลในพื้นทราย ในแนวปะการังที่มีหญ้าทะเลขึ้น กินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในอินโด-แปซิฟิกตะวันตก ในน่านน้ำไทย ถือว่าเป็นปลาที่หาได้ยากมาก พบเพียงทะเลในภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น.

ใหม่!!: ทรายและปลาจิ้มฟันจระเข้ใบสาหร่าย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตาเดียว

ปลาตาเดียว เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psettodes erumei อยู่ในวงศ์ปลาตาเดียว (Psettodidae) อันดับปลาซีกเดียว (Pleuronectiformes) มีรูปร่างยาวรี หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาทั้งสองข้างอยู่ใกล้กันและอยู่บนซีกเดียวกับตำแหน่งของตาซึ่งอยู่ค่อนไปทางส่วนบนของลำตัว ปากกว้างและเฉียงขึ้น มีฟันแหลมคมแบบฟันเขี้ยวเห็นชัดเจนอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังนัยน์ตา ครีบหลัง ครีบหางและครีบก้นไม่เชื่อมติดกัน ครีบหางมีปลายเว้าเป็นสองลอน มีพื้นลำตัวด้านมีนัยน์ตาเป็นสีน้ำตาลเข้มตลอดทั้งตัว ส่วนซีกล่างมีสีขาว สามารถปรับเปลี่ยนสีลำตัวได้ตามสภาพแวดล้อม มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 64 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 18-50 เซนติเมตร นับว่าเป็นชนิดที่มีความใหญ่ที่สุดของวงศ์นี้ โดยพบน้ำหนักมากที่สุดคือ 9,000 กรัม พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ชายฝั่งของทวีปแอฟริกา, ทะเลแดง, มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวไทย, ทะเลอันดามัน, ทะเลญี่ปุ่น จนถึงออสเตรเลีย โดยกินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าตามพื้นน้ำหรือพื้นทรายในเวลากลางคืนเป็นอาหาร พบได้ตั้งแต่ความลึก 1-100 เมตร ปลาตาเดียวนับเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะมีขนาดลำตัวใหญ่ เนื้อเยอะ จึงมักนิยมทำเป็นอาหาร โดยนอกจากชื่อตาเดียวแล้วยังมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น "จักรผาน", "หน้ายักษ์", "ซีกเดียว", "ใบขนุน" หรือ "โทต๋า" เป็นต้น.

ใหม่!!: ทรายและปลาตาเดียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหิน

ปลาฉลามหิน หรือ ปลาฉลามกบ (Grey bamboo shark, Bamboo cat shark) เป็นปลาทะเลกระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลาม อยู่ในวงศ์ Hemiscylliidae มีลักษณะคล้ายกับปลาฉลามกบ (C. punctatum) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีขนาดยาวเต็มที่ไม่เกิน 1 เมตร พบได้ทั่วไปในพื้นทะเลทุกสภาพ ไม่ว่าจะเป็นพื้นทราย, พื้นโคลน หรือทรายปนโคลน กระจายพันธุ์อย่างกว้างไกลตั้งแต่ทะเลอาหรับ, ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลญี่ปุ่น, ทะเลตะวันออก, ทะเลฟิลิปปิน, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เมื่อยังเป็นลูกปลาวัยอ่อน จะมีสีสันและลวดลายสวยงาม โดยจะมีสีขาวเป็นสีพื้น และมีสีดำสลับเป็นปล้อง ๆ จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ปลาฉลามปล้องอ้อย" แต่เมื่อโตขึ้นแล้วลวดลายเหล่านี้จะหายไป เหลือเพียงแค่ลำตัวสีเขียวหรือเทาตลอดทั้งลำตัว และมีจุดกระสีดำเป็นจุด ๆ ทั้งลำตัวไปจรดปลายหาง เป็นปลาฉลามที่ออกลูกเป็นไข่ โดยลักษณะไข่เป็นกระเปาะคล้ายแคปซูลรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเปลือกเหนียวและมีเส้นใยไว้ยึดติดกับวัสดุใต้น้ำ ลูกปลาจะใช้เวลาในการพัฒนาตัวในกระเปาะไข่ประมาณ 12 สัปดาห์ โดยกินอาหารจากถุงไข่แดง และเมื่อฟักออกมาแล้วจะสามารถหาอาหารกินได้เองเลย ซึ่งได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่หน้าดินพื้นทะเล จัดเป็นปลาฉลามที่มีขนาดเล็ก และมีสีสันสวยงามโดยเฉพาะเมื่อยังเล็ก จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ซึ่งสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง ซึ่งการขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงเมื่อแม่ปลาออกไข่มาแล้ว จะเก็บขึ้นมาอนุบาลในบ่อที่มีกระแสน้ำไหลเวียนและมีคุณภาพดี จนกว่าลูกปลาจะฟักออกมาเป็นตัว.

ใหม่!!: ทรายและปลาฉลามหิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหนูใหญ่

ปลาฉลามหนูใหญ่ หรือ ปลาฉลามหนูหัวแหลม (Spadenose shark, Walbeehm's sharp-nosed shark) เป็นปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม อยู่ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae) เป็นปลาฉลามเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในสกุล Scoliodon ปลาฉลามหนูใหญ่ จัดเป็นปลาฉลามขนาดเล็ก มีอุปนิสัยไม่ค่อยดุร้าย มีรูปร่างยาวเพรียวคล้ายกระสวย ความยาวของลำตัวมาก หัวแบนลาดลงไปทางด้านหน้า จะงอยปากยาว ฟันที่ตาค่อนข้างโต มีเยื่อหุ้มตา ปากอยู่ด้านล่าง รูปร่างโค้งคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว มีฟันคม ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบเรียบ ครีบหลังมี 2 อัน อันแรกมีขนาดใหญ่รูปสามเหลี่ยม อันที่สองมีขนาดเล็กเกล็ดมีฐานรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนฝังอยู่ใต้ผิวหนัง โผล่เฉพาะปลายที่เป็นหนามแข็งและคม เมื่อลูบจะสากมือ ครีบหูมีขนาดใกล้เคียงกับกระโดงหลัง ครีบหางมีขนาดใหญ่ และแยกเป็น 2 ส่วน อันบนมีขนาดใหญ่กว่าอันล่างมาก พื้นลำตัวสีเทาเข้ม ท้องสีขาว ครีบต่าง ๆ สีดำ มีความยาวตั้งแต่ 35-95 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในพื้นทะเลที่เป็นทราย หรือเป็นโคลนแถบชายฝั่งตื้น ๆ อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยและน้ำจืดได้ด้วย พบตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ทวีปเอเชีย จนถึงญี่ปุ่น ในน่านน้ำไทยพบได้ที่ฝั่งอ่าวไทย เป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่ง ที่ใช้บริโภคได้ โดยเนื้อมีราคาถูก นิยมทำเป็นลูกชิ้น ขณะที่ครีบต่าง ๆ นำไปทำเป็นหูฉลาม.

ใหม่!!: ทรายและปลาฉลามหนูใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามเสือดาว

ำหรับปลาฉลามเสือดาวอีกชนิดหนึ่ง ดูที่ ปลาฉลามเสือดาว (''Triakis semifasciata'') ปลาฉลามเสือดาว (Leopard shark, Zebra shark, Leppard shark) ปลาฉลามชนิดหนึ่งที่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stegostoma fasciatum อยู่ในวงศ์ Stegostomatidae และถือเป็นปลาชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้และสกุล Stegostoma ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาที่มีครีบหางยาวมาก มีส่วนหัวมนกลมสั้นทู่ พื้นลำตัวสีเหลืองสลับลายจุดสีดำคล้ายลายของเสือดาว ยกเว้นส่วนหัวและหาง จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ เมื่อยังเล็กอยู่ ลายบนลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลดำคาดขาวคล้ายลายของม้าลาย บนลำตัวมีสันเป็นเหลี่ยมด้านละสองสัน ผิวหนังหยาบเป็นเม็ด เป็นปลาที่มีไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลามชนิดอื่น ๆ มีอุปนิสัยชอบนอนอยู่นิ่ง ๆ บนพื้นทรายและแนวปะการังใต้ทะเล ในความลึกตั้งแต่ 5-30 เมตร โดยพบในทะเลบริเวณแถบอินโด-แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้เวลาในช่วงกลางวันนอน กลางคืนออกหากิน อาหารได้แก่ สัตว์มีกระดอง และสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เมื่อถูกรบกวนจะว่ายหนีไป โดยใช้อวัยวะคล้ายหนวดที่อยู่รอบ ๆ ปลายส่วนหัวซึ่งเป็นอวัยวะใช้รับสัมผัสในการนำทางและหาอาหาร ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 3 เมตร ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาฉลามที่ออกลูกเป็นไข่ โดยจะวางไข่ในเขตน้ำตื้น ลูกปลาขนาดเล็กอาจจะเข้าไปอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือน้ำจืด แถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำได้ เมื่อโตขึ้นจึงค่อยย้ายลงสู่ทะเลลึก ดังนั้นลูกปลาขนาดเล็กจึงมักติดเบ็ดหรืออวนของชาวประมงอยู่บ่อย ๆ ซึ่งในทางประมงแล้ว ปลาฉลามชนิดนี้ไม่จัดว่าเป็นปลาที่ใช้ในการบริโภคแต่อย่างใด นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และมักพบเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก.

ใหม่!!: ทรายและปลาฉลามเสือดาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าควาย

ปลาปักเป้าควาย หรือ ปลาปักเป้าสุวัตถิ (Arrowhead puffer; Kottelat, M. (2013): The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาปักเป้า ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) โดยได้รับการตั้งชื่อสายพันธุ์เพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสตราจารย์โชติ สุวัตถิ อดีตคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.สืบสิน สนธิรัตน และ ทรงพรรณ สุนทรสถิตย์ โดยเก็บตัวอย่างต้นแบบแรกได้จากลุ่มแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย มีจุดเด่นคือ มีปากที่เรียวยาวปากงอนขึ้นด้านบน และยังมีลายลักษณะคล้ายหัวลูกศรที่บริเวณด้านบนระหว่างตาทั้งสองข้าง ลำตัวมีสีส้มแดงและมีจุดดำกระจายอยู่ทั่ว จัดเป็นปลาปักเป้าที่พบในน้ำจืดชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 11 เซนติเมตร พบได้ในภาคอีสาน ในลุ่มแม่น้ำโขงและแควสาขา มีพฤติกรรมชอบฝังตัวใต้ทรายใต้พื้นน้ำเพื่อซุ่มล่าเหยื่อ ปลาปักเป้าควายจัดเป็นปลาปักเป้าชนิดหนึ่งที่มีอุปนิสัยไม่ดุร้ายมากนัก จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาตู้สวยงาม.

ใหม่!!: ทรายและปลาปักเป้าควาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าคองโก

ปลาปักเป้าคองโก หรือ ปลาปักเป้าแดง (Congo puffer, Pooey pooer.) ปลาปักเป้าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tetraodon miurus ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีรูปร่างอ้วนป้อม มีส่วนจะงอยปากที่ยาวยื่นออกมา คล้ายปลาปักเป้าควาย (Pao suvatti) ซึ่งเป็นปลาปักเป้าน้ำจืดเหมือนกัน แต่พบในทวีปเอเชีย ปลาปักเป้าคองโก มีจุดเด่น คือ สีลำตัวที่เป็นสีเดียวตลอดโดยไม่มีลวดลาย โดยมากจะเป็นสีแดงสด หรืออาจจะเปลี่ยนเป็น สีส้ม, น้ำตาล หรือแม้กระทั่งดำได้ตามอารมณ์ของปลา และสภาพแวดล้อม ขนดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร แพร่กระจายพันธุ์อยู่ในลุ่มแม่น้ำคองโก ในทวีปแอฟริกาตอนกลาง เป็นปลาปักเป้าที่มีนิสัยดุร้ายมากอีกชนิดหนึ่ง มีการล่าเหยื่อโดยการซุ่มซ่อนตัวในพื้นทรายใต้น้ำ โดยโผล่มาเพียงแต่จะงอยปากกับดวงตาเท่านั้น คล้ายกับปลาปักเป้าควายที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง ในเอเชียอาคเนย์ นอกจากจะกินสัตว์น้ำมีเปลือกเช่น กุ้งหรือหอยแล้ว ปลาปักเป้าคองโกยังเป็นปลาปักเป้าอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความว่องไวจนสามารถฉกกัดปลาชนิดอื่น กินเป็นอาหารได้อีกด้ว.

ใหม่!!: ทรายและปลาปักเป้าคองโก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปากขลุ่ย

ปลาปากขลุ่ย หรือ ปลาปากแตรจุดสีฟ้า (Bluespotted cornetfish, Reef cornetfish) ปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสามรส (Fistulariidae) มีรูปร่างเรียวยาว ปากเป็นท่อยาวเหมือนแตรหรือขลุ่ย ปลายครีบหางมีเปียยื่นยาวออกมาเหมือนแส้ ไม่มีก้านครีบแข็งหน้าครีบหลัง ลำตัวด้านหลัง ด้านข้าง และจะงอยปากมีจุดสีฟ้าเรียงกันเป็นแถว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 150 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ได้กว้างไกล ทั้งทะเลแดง, ทะเลญี่ปุ่น, อินโด-แปซิฟิค และน่านน้ำไทยด้านทะเลอันดามัน โดยมีพฤติกรรมมักลอยตัวนิ่ง ๆ อยู่เหนือพื้นทราย หรือแนวปะการังเพื่อหาอาหาร อันได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ โดยรวมกลุ่มกันประมาณ 2-3 ตัว อาจพบได้ในท้องน้ำลึกได้ถึง 123 เมตร ซึ่งอาจจะสังเกตได้ยากเนื่องจากมีสีลำตัวเป็นสีเขียวกลมกลืนไปกับสีของน้ำทะเล จัดว่าเป็นปลาที่พบได้บ่อ.

ใหม่!!: ทรายและปลาปากขลุ่ย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแพะลาย

ปลาแพะลาย (Mottled goatfish, Blackstriped goatfish, Freckled goatfish, Bartail goatfish) ปลาทะเลและปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแพะ (Mullidae) มีลักษณะสำคัญ คือ กลางลำตัวมีแถบหนาสีน้ำตาลเข้มพาดตามยาวลำตัว อันเป็นที่มาของชื่อ ท้องมีลายจุดสีแดง ปลายครีบหลังทั้งสองอันมีสีน้ำตาลเข้ม ครีบหางท่อนบนและท่อนล่างมีแถบสีน้ำตาลเข้ม 4-5 แถบ ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ขนาดโดยเฉลี่ย 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ในแนวปะการังตลอดทั้งแถบอินโด-แปซิฟิก ไปจนถึงสิงคโปร์และออสเตรเลีย พบทั้งในเขตเขตน้ำตื้นจนถึงระดับลึกมากกว่า 20 เมตร บริเวณพื้นทะเลที่เป็นทรายปนโคลนและมีน้ำขุ่น ออกหากินในเวลากลางวัน โดยใช้หนวดคุ้ยเขี่ยสัตว์น้ำขนาดเล็กที่หลบอยู่ใต้พื้นเป็นอาหาร เป็นปลาที่มีการนำมาบริโภคบ้าง.

ใหม่!!: ทรายและปลาแพะลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแมนดาริน

ปลาแมนดาริน (Mandarinfish, Mandarin dragonet, Common mandarin, Striped mandarin, Striped dragonet, Mandarin goby) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Synchiropus splendidus อยู่ในวงศ์ปลามังกรน้อย (Callionymidae) ซึ่งเป็นปลาทะเลขนาดเล็กที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) แต่มิได้อยู่ในวงศ์ปลาบู่ ปลาแมนดาริน เหตุที่ได้ชื่อนี้ก็เพราะด้วยลำตัวของที่แลดูเรียบลื่น เต็มไปด้วยเส้นสายสีเขียวทาบทับกันไปมาบนพื้นลำตัวสีส้มเป็นมัน เหมือนกับลายผ้าไหมหรือแพรชั้นดี จนดูละม้ายคล้ายคลึงกับชุดขุนนางจีนโบราณ ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์นั้นก็สอดคล้องเช่นกัน โดยคำว่า "Syn" มาจากภาษากรีกโบราณหมายถึง มี และ "chiropus" มีความหมายถึง มีมือเป็นเท้า เพราะปลาชนิดนี้จะใช้ครีบท้องที่มีขนาดใหญ่คืบคลานไปมาตามท้องทะเลเพื่อหาอาหารได้แก่ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กต่าง ๆ ตามพื้นทราย มากกว่าจะว่ายน้ำ และใช้ครีบหูที่ใสกระพือไปมาอยู่ตลอดเวลา ขณะที่ครีบหางใช้เสมือนหางเสือบังคับทิศทาง และ "spendidus" ที่เป็นชื่อชนิดนั้น มีความหมายว่า สีสันสดใสสวยงาม ตลอดทั้งลำตัวนั้น จะมีสีต่าง ๆ ทั้งหลายหลากสีมาก เช่น สีฟ้า, สีเขียว, สีส้ม และสีเหลือง ซึ่งเป็นสีสะท้อนแสงคล้ายกับแสงหลอดนีออน สีเหล่านี้จะปรากฏให้เห็นชัดเป็นจุดและลวดลายต่าง ๆ โค้งไปมา เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบได้ตั้งแต่ตอนใต้ของหมู่เกาะริวกิว ในประเทศญี่ปุ่น จนถึงทะเลฟิลิปปิน, ประเทศอินโดนีเซีย, หมู่เกาะไมโครนีเซีย, นิวแคลิโดเนีย จนถึงออสเตรเลีย แต่ไม่พบในน่านน้ำไทย พบอาศัยในกระแสน้ำไม่แรงนักตามกองหินและแนวปะการัง ออกหากินในเวลากลางคืน เริ่มตั้งแต่พลบค่ำ ขณะที่กลางวันจะนอนพักผ่อน มีขนาดความยาวเต็มที่ไม่เกิน 8 เซนติเมตร แต่โดยเฉลี่ยแล้วมีขนาดเล็กกว่านี้ถึงครึ่งหนึ่ง โดยสีต่าง ๆ เหล่านี้สามารถปรับให้เข้มหรืออ่อนได้ตามสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ ในปลาตัวผู้สีจะเข้มขึ้นเมื่อต่อสู้กันหรืออยู่ในช่วงผสมพันธุ์ ปลาตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดย ตัวผู้จะมีครีบหลังเป็นกระโดงยาวยืดออกมา ขณะที่ตัวเมียไม่มี และตัวผู้มีส่วนหัวที่ใหญ่กว่า ปลาแมนดารินมีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร โดยเฉพาะกับปลาชนิดเดียวกัน โดยเฉพาะตัวผู้จะมีอาณาเขตที่ชัดเจน หากพบผู้บุกรุกจะกางครีบต่าง ๆ และเบ่งสีเพื่อข่มขู่ อีกทั้งยังถือเป็นปลาที่มีพิษชนิดหนึ่ง เพราะเมือกที่ปกคลุมลำตัวนั้นมีพิษ ใช้กันสำหรับเมื่อตกเป็นอาหารของสัตว์น้ำหรือปลาที่มีขนาดใหญ่กว่า พฤติกรรมเมื่อผสมพันธุ์ จะสวยงามมาก เมื่อตัวผู้เป็นฝ่ายว่ายไปรอบ ๆ ตัวเมียเพื่อเกี้ยวพาจนแลดูเหมือนกับการเต้นรำ ซึ่งถือว่าเป็นปลาที่ปล่อยไข่ให้ลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนที่ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสม ความที่เป็นปลาที่มีความสวยงามมาก จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมกันมาอย่างยาวนาน แต่ปลาที่มีการซื้อขายกันนั้นเป็นปลาที่ถูกจับมาจากแหล่งธรรมชาติ คือ ทะเลเท่านั้น โดยชาวประมงในบางพื้นที่เช่น ฟิลิปปินส์ จะใช้เครื่องมือจับที่ทำจากวัสดุง่าย ๆ เช่น ไม้หรือไผ่ ตัดให้คล้ายกับปืน ซึ่งตอนปลายพันด้วยเหล็กแหลมคล้ายฉมวกหรือหอก ใช้สำหรับเล็งปลาเป็นตัว ๆ ไปตามแนวปะการัง ซึ่งปลาตัวที่ถูกแทงจะได้รับบาดแผลหรือหางเป็นรู แต่สำหรับปลาแมนดารินแล้วเมื่อได้รับการพักฟื้นในสถานที่เลี้ยงไม่นาน แผลดังกล่าวก็จะหายเป็นปกติภายในเวลาไม่กี่วัน ปัจจุบัน ถือเป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง สำหรับในประเทศไทยเพิ่งเพาะได้สำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2552 โดย สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี โดยตัวผู้หนึ่งตัวสามารถผสมกับตัวเมียได้ 2-3 ตัว ปลาจะทำการจับคู่กันในเวลาพลบค่ำ และวางไข่ ถือเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก เมื่อไข่ถูกปล่อยออกมาแล้วจะลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ ก่อนจะนำไปอนุบาลต่อไป ซึ่งลูกปลาใช้เวลาในการฟักเป็นตัวเร็วมาก คือ ใช้เวลาไม่เกิน 14 ชั่วโมง ในอุณหภูมิน้ำราว 28 เซลเซียส เมื่อฟักออกเป็นตัวนั้น ลูกปลาจะใช้ส่วนหัวดันออกมาก่อนก่อนใช้หางดันกับผนังเปลือกไข่ จนกว่าจะหลุดออกมาได้สำเร็จ โดยแรกเกิดมีขนาดความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตรเท่านั้น และมีขนาดของถุงไข่แดงเป็นครึ่งหนึ่งของขนาดลำตัว ขณะที่อวัยวะภายในและครีบต่าง ๆ ยังพัฒนาการไม่สมบูรณ.

ใหม่!!: ทรายและปลาแมนดาริน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแมนดารินจุด

ปลาแมนดารินจุด (Spotted mandarin, Spotted mandarin goby, Target dragonfish, Green mandarin) ปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Synchiropus picturatus อยู่ในวงศ์ปลามังกรน้อย (Callionymidae) มีรูปร่างและลักษณะคล้ายกับปลาแมนดาริน (S. splendidus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันมาก หากแต่ปลาแมนดารินจุดนั้นมีลวดลายและลายจุดที่มีขนาดใหญ่กว่า ล้อมรอบด้วยเส้นตัดขอบจุดซ้อนกันเป็นวงเป็นเส้นสีส้มและสีเขียวเป็นชั้นซ้อนกันกระจายอยู่บนหัวและตลอดลำตัว มีความยาวเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิก โดยหากินและอาศัยอยู่ในแนวปะการังและกองหินใต้น้ำ หาจำพวกสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กกินเป็นอาหาร จากพื้นทราย จัดเป็นปลาที่มีความสวยงามอีกชนิดหนึ่ง จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาแมนดาริน ซึ่งก็สามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้วเช่นกัน.

ใหม่!!: ทรายและปลาแมนดารินจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแลมป์เพรย์

ปลาแลมป์เพรย์ (Lamprey, Lamprey eel) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ปลาไม่มีขากรรไกร จัดอยู่ในอันดับ Petromyzontiformes และวงศ์ Petromyzontidae ปลาแลมป์เพรย์มีลำตัวยาวลักษณะคล้ายปลาไหล ลำตัวด้านหลังมักจะเป็นสีดำ มีครีบหลังและครีบหาง แต่ไม่มีครีบคู่ ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ค่อนลงมาทางด้านท้อง มีลักษณะเป็นวงกลมใช้สำหรับดูด มีฟันแหลมคมจำนวนมากที่เจริญดีอยู่ในอุ้งปาก รูจมูกมี 1 รูซึ่งอยู่กึ่งกลางด้านบนของหัว มีตา 1 คู่ ถุงเหงือก 7 ถุง และมีช่องเหงือก 7 ช่อง หัวใจประกอบด้วยเวนตริเคิล 1 ห้อง และเอเตรียม 1 ห้อง โครงร่างเป็นกระดูกอ่อนและเส้นใย และยังคงมีโนโตคอร์ดอยู่ เส้นประสาทหลัง มีการพัฒนาเป็นสมองซึ่งมีเส้นประสาทสมอง 8-10 คู่ ทางเดินอาหารไม่มีกระเพาะอาหาร ส่วนลำไส้บิดเป็นเกลียว มีลักษณะเพศแยกออกเป็นเพศผู้และเพศเมียชัดเจน ปลาแลมป์เพรย์พบได้ทั้งลำธารในน้ำจืด และในทะเล พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก ทั้งยุโรปตอนบน, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, แอฟริกาตะวันตก, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ชิลี, ออสเตรเลีย และเกาะแทสมาเนีย ปลาแลมป์เพรย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 จำพวกใหญ่ ๆ คือ แบบธรรมดา จะอาศัยอยู่ตามลำธาร ช่วงชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นระยะตัวอ่อนที่กินอาหารแบบกรอง ตัวเต็มวัยมีชิวิตอยู่ 3-4 สัปดาห์ โดยไม่กินอาหารเนื่องจากทางเดินอาหารสลายตัว เหลือเพียงสายของเนื้อเยื้อที่ไม่มีหน้าที่การทำงานและจะตายไปหลังวางไข่ ปลาแลมป์เพรย์จำพวกนี้สามารถดำรงชีวิตได้เอง โดยการกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 15-60 เซนติเมตร จะมีการวางไข่ที่ลำธารน้ำจืดที่มีพื้นเป็นทรายและก้อนกรวดเล็ก ๆ ตามพื้นท้องน้ำและวางไข่ในฤดูตัวผู้จะเริ่มสร้างแอ่งวางไข่โดยใช้ปากคาบเอาหินและกรวดจากพื้นโดยการแกว่งลำตัวทำให้ก้อนกรวดกระจายออกไปเกิดเป็นแอ่งรูปไข่ ตัวเมียจะตามมาและเกาะกับหินเหนือแอ่ง ตัวผู้เกาะทางด้านหัวของตัวเมีย ตัวเมียปล่อยไข่ลงในแอ่ง ตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อออกผสม ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะยึดเกาะกับก้อนกรวดในแอ่ง แล้วกลบด้วยทราย ลักษณะพิเศษคือ หลังวางไข่แล้วทั้งตัวผู้และเมียก็จะตายไป จากนั้น ไข่จะฟักออกในเวลา 2 สัปดาห์ เป็นตัวอ่อนขนาดเล็กตัวยาว เรียกว่า แอมโมซีทิส (Ammocoetes) ซึ่งจะคงอยู่ในแอ่งจนตัวยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก็จะฝังตัวเข้าไปในทรายแล้วออกมาหากินในเวลากลางคืน ระยะตัวอ่อนแอมโมซีทีสจะยาวนานประมาณ 3-7 ปี จึงจะเจริญเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งตัวเต็มวัยจะคงอยู่ในน้ำจืดอีกประมาณ 1 ปี แล้วก็วางไข่ จากนั้นก็จะตายไป ส่วนชนิดที่เป็นปลาทะเลก็จะอพยพคืนถิ่นสู่ทะเล มีอายุยืนยาวกว่าชนิดที่เป็นปลาน้ำจืด เมื่อเข้ามาวางไข่ในน้ำจืดจะไม่กินอาหาร และ ปลาแลมป์เพรย์ที่เป็นปรสิต จะมีปากคล้ายแว่นดูดและมีอุ้งปาก คล้ายถ้วยลึกลงไปในอุ้งปาก และลิ้นมีฟันที่เจริญดีอยู่ มันจะใช้ปากเกาะเหยื่อและใช้ฟันและลิ้นครูดเอาเนื้อออก และให้เลือดของเหยื่อไหลผ่านได้สะดวก ปลาแลมป์เพรย์จะสร้างสารป้องกันการตกตะกอนของเลือดส่งไปที่ปากแผล เมื่อดูดเลือดของเหยื่อจนตัวเหยื่อแห้งก็จะปล่อยแล้วหาเหยื่อใหม.

ใหม่!!: ทรายและปลาแลมป์เพรย์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาใบโพ

ปลาใบโพ (หรือสะกดว่า ปลาใบโพธิ์) หรือ ปลาใบปอ หรือ ปลาแมลงปอ (Banded sicklefish, Concertina fish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาใบโพ (Drepaneidae) มีลำตัวป้อมสั้นเกือบกลม ด้านข้างแบน ดูคล้ายใบโพ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก สันหลังโค้งนูน หัวค่อนข้างใหญ่ จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต บริเวณระหว่างตาโค้งนูนออกมา ปากเล็กและยืดหดได้ มีฟันเล็กและแหลมคมบนขากรรไกรบนและล่าง ลำตัวด้านบนสีขาวปนเทาและมีจุดเล็ก ๆ สีส้มเรียงเป็นแถวขวางลำตัวจำนวน 4-11 แถว ซึ่งแตกต่างจากปลาใบโพจุด (D. punctata) ที่มีแถบสีเทาเรียงในลักษณะเดียวกัน ปลาวัยอ่อนจะมีแถบสีดำในบริเวณที่เป็นจุดสีส้ม มีความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 40 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการังและแหล่งน้ำกร่อย กินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน จัดเป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ทรายและปลาใบโพ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาใบโพจุด

ปลาใบโพจุด (หรือสะกด ปลาใบโพธิ์จุด) (Spotted sicklefish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาใบโพ (Drepaneidae) มีลำตัวป้อมสั้นเกือบกลม ด้านข้างแบน ดูคล้ายใบโพ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก สันหลังโค้งนูน หัวค่อนข้างใหญ่ จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต บริเวณระหว่างตาโค้งนูนออกมา ปากเล็กและยืดหดได้ มีฟันเล็กและแหลมคมบนขากรรไกรบนและล่าง ลำตัวด้านบนสีขาวปนเทาและมีจุดเล็ก ๆ สีส้มเรียงเป็นแถวขวางลำตัวจำนวน 4-11 แถว ปลาวัยอ่อนจะมีแถบสีดำในบริเวณที่เป็นจุดสีส้ม มีความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 40 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการังและแหล่งน้ำกร่อย กินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน จัดเป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ทรายและปลาใบโพจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไหลริบบิ้น

ปลาไหลริบบิ้น (Ribbon eel, Black leafnosed moray eel, Black ribbon eel, Ribbon moray) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae) และจัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Rhinomuraena จัดเป็นปลาไหลมอเรย์ขนาดเล็ก มีสีสันสดใส และสามารถเปลี่ยนเพศได้ตามวัย นั้นคือเมื่อยังเล็ก ลำตัวเป็นสีดำ โดยที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย แต่เมื่อโตขึ้นลำตัวเป็นสีน้ำเงินและเป็นตัวผู้และเมื่อมีอายุมากขึ้นอีกลำตัวเป็นสีเหลืองและกลายเป็นตัวเมีย กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร โดยปลาไหลจะยืดตัวออกจากรูเพื่อหาอาหาร โดยปกติจะซ่อนตัวอยู่ในรูตามพื้นทะเล ซึ่งเป็นทราย มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 1 เมตร เป็นปลาที่พบได้น้อย กระจายพันธุ์อยู่ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยก็พบได้น้อย โดยพบได้ทั้งทางฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย เช่น เกาะเต่า, หมู่เกาะสิมิลัน เป็นต้น เป็นปลาที่สร้างสีสันให้แก่การดำน้ำ และมีบางส่วนที่ถูกจับไปขายเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ทรายและปลาไหลริบบิ้น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเม็ดขนุน

ปลาเม็ดขนุน (Yellow goatfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแพะ (Mullidae) มีรูปร่างทรงกระสวย บริเวณเหนือเส้นข้างลำตัวมีแถบสีเหลืองพาดผ่าน แนวยาวของลำตัวตั้งแต่บริเวณหลังขอบตาไปจนถึงปลายหาง มีเกล็ดขนาดใหญ่ลักษณะเป็นแบบสากเล็กน้อย ส่วนหัวมีเกล็ด ใต้คางมีหนวด 1 คู่ ที่ไวต่อความรู้สึก ใช้สำหรับคุ้ยเขี่ยหาอาหารตามหน้าดิน เช่น พื้นทราย ซึ่งดูแล้วเหมือนหนวดเคราของแพะ ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อน ประกอบไปด้วย ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอน ครีบอก ครีบท้อง ครีบก้น และมีครีบหางแบบเว้าลึก มีขนาดความยาวโตเต็มที่ประมาณ 28 เซนติเมตร มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง อาศัยบริเวณเหนือพื้นทรายและแนวปะการัง บริเวณมหาสมุทรอินเดียและ มหาสมุทรแอตแลนติก จัดเป็นปลาเศรษฐกิจ ที่มีการจับเพื่อการประมง.

ใหม่!!: ทรายและปลาเม็ดขนุน · ดูเพิ่มเติม »

ปูก้ามดาบ

ปูก้ามดาบ หรือ ปูเปี้ยว (Fiddler crabs, Ghost crabs) เป็นปูทะเลขนาดเล็กสกุลหนึ่ง อยู่ในสกุล Uca ในวงศ์ Ocypodidae.

ใหม่!!: ทรายและปูก้ามดาบ · ดูเพิ่มเติม »

ปูม้า (สกุล)

ปูม้า (Swimming crab) เป็นสกุลของปูสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปูว่ายน้ำ (Portunidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Portunus (/ปอร์-ทู-นัส/) มีลักษณะกระดองแบนราบและกว้าง ขาคู่สุดท้ายแพเป็นใบพาย ใช้สำหรับว่ายน้ำ ซึ่งจะว่ายน้ำได้ดีและเร็วมาก ปกติจะหากินในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะฝังตัวอยู่ใต้ทราย ในระดับความลึกประมาณ 7-30 เมตร โดยโผล่มาเพียงตาและหนวดเพื่อสังเกตการณ์ จัดเป็นปูที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากใช้บริโภคเป็นอาหาร เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 เดือน หลังจากตัวผู้ลอกคราบแล้ว สามารถออกไข่ได้ครั้งละ 120,000-2,300,000 ฟอง พบในน่านน้ำไทย 19 ชน.

ใหม่!!: ทรายและปูม้า (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปูลม

ระวังสับสนกับ ปูทหาร ปูลม หรือ ปูผี (Ghost crab) เป็นปูทะเลขนาดเล็กในสกุล Ocypode อยู่ในวงศ์ Ocypodidae อันเป็นวงศ์เดียวกันกับปูก้ามดาบด้วย ปูลมมักถูกจำสับสนกับปูทหาร ซึ่งอยู่ในสกุล Mictyris ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ปูลมจะมีลำตัวที่ใหญ่กว่ามาก และมีกระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ไม่เหมือนปูทหารที่เป็นวงกลม และมีก้านตายาว ซ้ำยังมีพฤติกรรมการหากินที่ต่างกันออกไป กล่าวคือ ปูลมจะไม่ปั้นทรายเป็นก้อนเหมือนปูทหาร แต่จะใช้ก้ามคีบอาหารจำพวกซากพืช ซากสัตว์ และอินทรีย์สารต่าง ๆ เข้าปาก และมักจะทำรูอยู่ในป่าชายเลนที่เป็นเลนมากกว่า แต่ก็มีพบบ้างที่บริเวณหาดทราย ปูลมได้ชื่อว่าในภาษาไทยเนื่องจากเป็นปูที่วิ่งได้เร็วมาก และส่วนชื่อปูผีในภาษาอังกฤษ มาจากพฤติกรรมการหากินที่มักหากินในเวลากลางคืนมากกว่ากลางวัน ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์มาจากภาษากรีกคำว่า ocy หมายถึง "เร็ว" และคำว่า ποδός หมายถึง "เท้า" รวมความแล้วหมายถึงสัตว์ที่วิ่งเร็ว ปูลมพบทั้งหมด 28 ชนิด โดยชนิดที่พบได้ในประเทศไทยได้แก่ ปูลมใหญ่ (Ocypode ceratophthalmus) และปูลมเล็ก (O. macrocera) ซึ่งมีพฤติกรรมหากินในเวลากลางวันด้ว.

ใหม่!!: ทรายและปูลม · ดูเพิ่มเติม »

ปูทหาร

ระวังสับสนกับ ปูลม ปูทหาร (Soldier crab) เป็นปูทะเลที่อยู่ในสกุล Mictyris จัดเป็นเพียงสกุลเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ Mictyridae.

ใหม่!!: ทรายและปูทหาร · ดูเพิ่มเติม »

ปูเสฉวน

ปูเสฉวน (Hermit crab) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ในไฟลัมอาร์โธรพอด ในไฟลัมย่อยครัสเตเชียน ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura) ในวงศ์ใหญ่ Paguroidea ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้อีก 7 วงศ์ (ดูในตาราง) โดยรวมแล้ว ปูเสฉวนเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก ประมาณ 1-6 เซนติเมตร มีขาทั้งหมด 10 ขา ไม่มีเปลือกแข็งแบบปูหรือกุ้ง จึงต้องอาศัยในเปลือกหอยเปล่า โผล่เฉพาะหัวและขา 2 คู่ออกจากเปลือก ส่วนขาอีก 2 คู่ใช้ยึดกับเปลือกหอย กินซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหาร มักอาศัยอยู่ตามหาดทรายชายทะเล บางชนิดอาจอาศัยอยู่ในน้ำลึก มีประมาณ 1,100 ชนิด บางสกุลอาศัยอยู่แต่เฉพาะบนบก ได้แก่ Coenobita ปูเสฉวนมีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ ด้วยการที่ตัวผู้จะต่อสู้กันด้วยก้ามเพื่อแย่งชิงตัวเมีย เหมือนกุ้ง หรือปูทั่วไป เมื่อตัวผู้ที่ชนะแล้วจะจับตัวเมียไว้ เมื่อตัวเมียลอกคราบ ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมบริเวณขาว่ายส่วนท้อง เกิดเมื่อการปฏิสนธิแล้ว ตัวเมียจะปล่อยไข่ไปในทะเลเพื่อปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปในทะเล ซึ่งลูกขนาดเล็กจะยังมีลักษณะไม่เหมือนตัวเต็มวัย จะต้องลอกคราบและมีพัฒนาการต่อไปเรื่อย ๆ ในปูเสฉวนบกก็มีพฤติกรรมเช่นเดียวกัน แต่กระทำกันบกบก และตัวเมียจะลงไปปล่อยในทะเล ก่อนที่ลูกเมื่อแรกเกิดจะกลับมาเติบโตและใช้ชีวิตอยู่บนบก.

ใหม่!!: ทรายและปูเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

ปูเสฉวนบก

ปูเสฉวนบก (Land hermit crabs) เป็นปูเสฉวนในสกุล Coenobita (มาจากคำในภาษาละตินว่า coenobivm และคำในภาษากรีกโบราณว่า κοινόβιον แปลว่า "ชีวิตในประชาคม, อาราม") มีทั้งหมด 15 ชนิด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 นิ้ว มีรูปร่างหน้าตาคล้ายปูเสฉวนทั่วไป และอาศัยอยู่ในเปลือกหอย แต่ไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากระบบการหายใจถูกพัฒนาให้รับออกซิเจนโดยตรง ถ้าลงไปในน้ำจะสำลักน้ำตายได้เหมือนปูมะพร้าว (Birgus latro) แต่จะลงไปกินน้ำทะเลเพื่อต้องการเกลือแร่ อีกทั้งยังต้องการน้ำจืดอีกด้วย ปูเสฉวนบกมีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกาเหนือ, ทะเลแคริบเบียน, หมู่เกาะเบอร์มิวดา, ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย จะอาศัยอยู่บนบกหรือในป่าริมชายทะเล กินอาหารจำพวกซากพืช ซากสัตว์เหมือนปูเสฉวนทั่วไป ปัจจุบันปูเสฉวนบกกำลังได้รับความนิยมในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้เลี้ยงนิยมใช้สีทาบนเปลือกหอยให้เป็นสีสันและลวดลายต่าง ๆ แต่เป็นปูที่ค่อนข้างมีความยุ่งยากในการเลี้ยง เนื่องจากถึงแม้ว่าจะอาศัยอยู่บนบกก็ตาม แต่ในสถานที่เลี้ยงต้องใช้ความชุ่มชื้นด้วย และปูพื้นด้วยกรวดทรายและขอนไม้หรือมะพร้าวผุ และมีความจำเป็นต้องใช้แคลเซียมเพื่อเป็นแร่ธาตุด้วย ไม่เช่นนั้นอาจตายได้.

ใหม่!!: ทรายและปูเสฉวนบก · ดูเพิ่มเติม »

ปูเสฉวนบกก้ามแถวฟัน

ปูเสฉวนบกก้ามแถวฟัน (tawny hermit crab) เป็นปูเสฉวนชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปูเสฉวนบก (Coenobitidae) มีขาเดิน 4 ขา มีก้านปากขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ก้านตามีขนาดใหญ่และยาวมีแถบสีน้ำตาลหรือส้ม ก้ามมีขนาดใหญ่ มีขนที่ขาเดินคู่ที่อยู่ถัดจากก้าม และสามารถส่งเสียงได้เมื่อถูกรบกวนเพื่อข่มขู่ผู้รุกรานด้วยการใช้ก้านปากขนาดใหญ่ขูดกับเปลือกหอยที่อาศัยอยู่ ทำให้เกิดเสียง มีสีสันที่แตกต่างหลากหลายออกไปตามแต่สภาพแวดล้อมที่อยู่และอาหารที่กิน เช่น สีเขียว, สีน้ำตาลและสีเทา, สีดำ, สีขาว, สีชมพู, สีฟ้า เป็นต้น มีความยาวเต็มที่ได้ 15 มิลลิเมตร (0.59 นิ้ว) กระจายอยู่ทั่วไปตามหาดทรายของชายฝั่งทะเลอินโด-แปซิฟิก กินอาหารจำพวกอินทรียสาร, ซากปลา และผลไม้ทั่วไป ในประเทศไทยพบชุกชุมที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ หากินในเวลากลางคืน โดยที่กลางวันและซ่อนตัวอยู่ใต้ใบไม้.

ใหม่!!: ทรายและปูเสฉวนบกก้ามแถวฟัน · ดูเพิ่มเติม »

ป่าสันทราย

ป่าสันทรายที่มีให้เห็นอยู่ทั่วไป ป่าสันทราย เป็นป่าที่มีความพิเศษกว่าป่าอื่น ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งสามารถที่จะเกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ของโลก ที่มีเขตพื้นที่ติดกับทะเลส่วนใหญ่จะมีความเป็นหาดทรายที่เกิดจากการทับถมกันของกรวดและหิน ก้อนเล็ก ๆ จากการพัดมาของลมทะเล ระยะเวลาการเกิดใช้เวลานาน กว่าจะเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์พืชนานาชนิด ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งไม่มากนัก หากอยู่ห่างจากฝั่งมากก็เป็นการบ่งบอกถึงเวลาว่ามีอายุที่มากกว่าป่าที่อยู่บริเวณใกล้กับชายฝั่ง มีจุดเด่นคือ เกิดจากแรงลมพัดทรายมากองทับถมกันคล้ายกับ Sand dunes แต่ไม่ได้เกิดกับหาดทรายทั่วไป มีพันธุ์ไม้และพันธุ์พืชหลากหลายชนิด บ้างก็ใช้รับประทาน บ้างก็ใช้เป็นสมุนไพร เป็นยารักษาโรค เกิดประโยชน์กับคนในชุมชน กระบวนการเกิดป่าสันทรายอาจต้องใช้เวลาหลายร้อยหลายพันปี กว่าจะเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ใช้องค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน ตามสภาพแวดล้อมที่มีของแต่ละสถานที่วงจรของป่าสันทรายวนเวียนอยู่อย่างนี้ ตลอดไป.

ใหม่!!: ทรายและป่าสันทราย · ดูเพิ่มเติม »

นาฬิกาทราย

นาฬิกาทราย นาฬิกาทราย เป็นอุปกรณ์สำหรับจับเวลา มีลักษณะเป็นกระเปาะแก้ว 2 กระเปาะที่มีช่องแคบเชื่อมต่อกัน และมีทรายบรรจุอยู่ภายใน เมื่อคว่ำนาฬิกาทรายลง ทรายจะไหลจากกระเปาะบนลงมาสู่กระเปาะล่าง ซึ่งสามารถจับเวลาจากเวลาที่ทรายไหลลงสู่กระเปาะล่างจนหมด (นาฬิกาทรายมีลักษณะนามเป็น "อัน") หมวดหมู่:นาฬิกา หมวดหมู่:เวลา หมวดหมู่:เทคโนโลยีล้าสมัย.

ใหม่!!: ทรายและนาฬิกาทราย · ดูเพิ่มเติม »

แวมไพร์

Nosferutu: A Symphony of Horror'' ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายเรื่อง เค้าท์แดร็กคูลา ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายในปี ค.ศ. 1922 แวมไพร์ (Vampire) ผีชนิดหนึ่งตามความเชื่อของชาวยุโรป ในยุคกลาง เชื่อว่าเป็นผีดิบ ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ทั่วไป แต่มีฟันแหลมคม ดื่มเลือดของมนุษย์ด้วยกันเป็นอาหารเพื่อหล่อเลี้ยง โดยที่แวมไพร์จะมีชีวิตเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย จะปรากฏตัวได้แต่เฉพาะเวลากลางคืน เพราะกลางวันแพ้แสงแดด แวมไพร์จะหลบซ่อนอยู่ในโลงของตนหรือในหลุมในเวลากลางวัน สามารถแปลงร่างได้หลายแบบ เช่น ค้างคาว, นกฮูก, หมาป่า, หมาจิ้งจอก, กบ, คางคก, แมลงเม่า, งูพิษ เป็นต้น สามารถกำบังกายหายตัวได้ ไม่มีเงาเมื่อกระทบกับแสงหรือสะท้อนในกระจก มีแรงมากเหมือนผู้ชาย 20 คน รวมถึงสามารถบังคับสิ่งของให้เคลื่อนที่ด้วยอำนาจของตนได้ด้วย สิ่งที่จะกำราบแวมไพร์ได้คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เช่น ไม้กางเขน, น้ำมนตร์ หรือแม้กระทั่งสมุนไพรกลิ่นแรงบางชนิด เช่น กระเทียม วิธีฆ่าแวมไพร์มีมากมาย เช่น ตอกลิ่มให้ทะลุหัวใจ เผา หรือ ตัดหัวด้วยจอบของสัปเหร่อ บุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของมัน จะกลายเป็นแวมไพร์ไปด้วย และกลายเป็นสาวกของแวมไพร์ตนที่ดูดเลือดตัวเอง ชาวยุโรปในยุคกลางนั้น หวาดกลัวแวมไพร์มาก ผู้ที่สงสัยว่าเป็นแวมไพร์ จะตกอยู่ในสถานะเดียวกับแม่มด หรือ มนุษย์หมาป่า คือ ถูกตัดสินลงโทษด้วยการเอาถึงชีวิต มีวิธีการป้องกันการรุกรานของแวมไพร์หลายวิธี เช่น บางหมู่บ้านจะโปรยเมล็ดข้าวไว้บนหลังคาบ้าน เพราะเชื่อว่าแวมไพร์จะง่วนกับการนับเมล็ดข้าวเป็นการถ่วงเวลาจนรุ่งเช้า หรือ โรยเศษขนมปังไว้ตั้งแต่สุสานให้แวมไพร์เดินเก็บเศษขนมนั้นวนเวียนไปมา หรือแม้แต่การวางไม้กางเขนหรือดอกกุหลาบที่มีหนามแหลมเพื่อเป็นการพันธนาการไว้ในโลง เรื่องราวของแวมไพร์ มีมากมาย ที่เป็นนิทานพื้นบ้านและวรรณกรรม โดยวรรณกรรมที่ว่าถึงแวมไพร์ที่เก่าแก่ที่สุด มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของแวมไพร์คือ เรื่องแดรกคูลา ของ บราม สโตกเกอร์ ที่โด่งดังจนมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ละคร ละครเวที หรือแม้แต่กระทั่งภาพยนตร์การ์ตูนมากมายตราบจนปัจจุบัน เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Nosferatu: A Symphony of Horror ในปี..

ใหม่!!: ทรายและแวมไพร์ · ดูเพิ่มเติม »

โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน

ีเอเอชที่พบทั่วไปตามเข็มนาฬิกาจากบนลงล่าง: เบนอีอะซีฟีแนนไทรลีน, ไพรีน และ ไดเบนเอเอชแอนทราซีน pages.

ใหม่!!: ทรายและโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

โลมเมิล

ลมเมิล (Lommel) เป็นเมืองและเทศบาลที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลลิมเบิร์กในประเทศเบลเยียม มีประชากรประมาณ 33,000 คน อยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำสเกลต์และแม่น้ำเมิซ และมีการพบว่าทรายสีขาวในลึตโลมเมิล (ซึ่งเป็น 1 ใน 10 เขตย่อยของโลมเมิล) มีคุณภาพสูงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1891 จึงได้มีการสกัดและใช้สำหรับการผลิตแก้วและคริสตัลเพื่อค้าขายในประเทศและส่งออก.

ใหม่!!: ทรายและโลมเมิล · ดูเพิ่มเติม »

โขน

น เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย: มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย: สันต์ ท. โกมลบุตร, สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2548, หน้า 157 โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น วรรณกรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ หัตถศิลป์คำนำการแสดงโขนชุดนางลอย, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด นางลอย, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 19 -20 และ 22 -24 พฤศจิกายน 2553, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ ท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่านทางการร่ายรำ สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือลายกระจังตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษิณาวรรต โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และกรมศิลปากร มีหน้าที่ในการจัดการแสดงคำนำการแสดงโขนชุดพรหมมาศ, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด พรหมมาศ, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 25 และ 27 -28 ธันวาคม 2550, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: ทรายและโขน · ดูเพิ่มเติม »

เปเปอร์ครีต

ปเปอร์ครีต (papercrete) เป็นวัสดุก่อสร้างชนิดใหม่คล้ายกับคอนกรีต โดยเปเปอร์ครีตใช้ส่วนผสมของเยื่อกระดาษผสมกับ ปูนพอร์ตแลนด์ หรือวัสดุอื่นเช่น ทราย ดิน หรือแม้แต่ขี้เลื่อย โดยกระดาษที่นำมาใช้จะเป็นกระดาษรีไซเคิล เปเปอร์ครีตเป็นลักษณะของหลักการวัสดุยั่งยืน.

ใหม่!!: ทรายและเปเปอร์ครีต · ดูเพิ่มเติม »

เนินทราย

นินทราย เนินทราย (Sand dune) เป็นลักษณะทางธรณีสัณฐานที่คล้ายกับเนิน เกิดกับทรายโดยการกระทำของลม (Aeolian process) จะมีขนาดและรูปร่างที่ต่างกัน เนินทรายส่วนใหญ่ทิศทางที่ไปตามแนวที่ต้านลมจะมีลักษณะลาด ส่วนด้านที่อยู่ปลายลมจะชัน ร่องที่อยู่ระหว่างเนินทรายเราจะเรียกว่า Slack นอกจากเราจะพบเนินทรายในทะเลทรายแล้ว ยังสามารถพบได้ที่ตามแนวฝั่งทะเลลาดต่ำ ที่น้ำทะเลขึ้นเต็มที่ ริมฝั่งแม่น้ำหรือตามชายฝั่งขนาดใหญ่ และบริเวณที่ถูกปกคลุมด้วยทรายที่แห้งเป็นจำนวนมากในบางฤดู.

ใหม่!!: ทรายและเนินทราย · ดูเพิ่มเติม »

Nepenthes rajah

Nepenthes rajah (มาจากภาษามลายู: rajah.

ใหม่!!: ทรายและNepenthes rajah · ดูเพิ่มเติม »

Triple K

Triple K (ทริปเปิ้ล เค) เป็นการ์ตูนที่ยังไม่ได้นำมาฉายในเครือข่ายโทรทัศน์เป็นการ์ตูนแนวแอนิเมชันของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ทรายและTriple K · ดูเพิ่มเติม »

2เอส1

ปืนใหญ่อัตตาจร 2เอส1 (2S1) ขนาด 122 มม.

ใหม่!!: ทรายและ2เอส1 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ดินทราย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »