โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนวิสุทธิกษัตริย์

ดัชนี ถนนวิสุทธิกษัตริย์

นนวิสุทธิกษัตริย์ (Thanon Wisut Kasat) เริ่มต้นตั้งแต่ถนนราชดำเนินนอก (สี่แยก จ.ป.ร.) ในท้องที่แขวงบางขุนพรหมและแขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนประชาธิปไตย (สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์) และถนนสามเสน (สี่แยกบางขุนพรหม) จนถึงท่าเรือสะพานพระราม 8 (บางขุนพรหม) ในท้องที่แขวงวัดสามพระยา ถนนวิสุทธิกษัตริย์เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศล พระราชทานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และเป็นพระขนิษฐาร่วมพระชนนีเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะพระชันษา 9 ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า ถนนวิสุทธิกษัตริย์ การตัดถนนวิสุทธิกษัตริย์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า แต่เดิมการสร้างถนนต้องใช้พระราชทรัพย์ในการก่อสร้าง รวมทั้งการดูแลรักษา การตัดถนนในกรุงเทพฯ มักผ่านไปในเขตที่มีเจ้าของถือที่ดินอยู่ ถนนผ่านไปในที่ใดเจ้าของที่ดินย่อมได้รับประโยชน์เรื่องราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น จึงสมควรให้เจ้าของที่ดิน ซึ่งถือครองที่ดินอยู่ตามแนวถนนซึ่งจะตัดผ่านช่วยกันออกทุนในการทำถนน เว้นแต่ผู้ที่ต้องเสียที่ดินทั้งหมดจนไม่ได้รับประโยชน์ในการตัดถนน ควรได้รับประโยชน์ราคาที่ดินของตนเป็นค่าเสียหาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสร้างถนนหลวงภายในบริเวณกรุงเทพฯ ขึ้นใน พ.ศ. 2447 (ร.ศ. 123) สำหรับการสร้างถนนวิสุทธิกษัตริย์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “ประกาศการสร้างถนนวิสุทธิ์กระษัตริย์” ว่า ที่ดินตำบลบางขุนพรหมและหลังวัดมกุฏกษัตริย์ สมควรจะตัดเป็นถนนใหญ่ให้เดินไปมาติดต่อกันได้ ตั้งแต่วงเวียนบางขุนพรหม ตัดตรงไปทางหลังวัดมกุฏกษัตริยาราม ออกถนนราชดำเนินนอก ต่อมาใน พ.ศ. 2471 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนจากวิสุทธิกษัตริย์ต่อจากที่ตัดไว้แต่เดิม ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา มาบรรจบถนนสามเสน ตำบลบางขุนพรหม โดยตัดผ่านเข้าไปในตำบลบางขุนพรหม บริเวณถนนวิสุทธิ์กษัตริย์จนถึงสี่แยกวิสุทธิ์กษัตริย์ถือได้ว่าเป็นย่านที่ขึ้นชื่ออย่างมากในการประกวดนางงามในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ที่รู้จักกันดีในชื่อ "เทพีสงกรานต์วิสุทธิ์กษัตริย์" ซึ่งจัดโดยชาวชุมชนท้องถิ่นและใกล้เคียง โดยจัดมาตั้งแต่ปี..

13 ความสัมพันธ์: การเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครรายชื่อทางแยกในเขตพระนครรายชื่อทางแยกในเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายรายชื่อเครื่องบินของการบินไทยวิสุทธิกระษัตริย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์สะพานพระราม 8หม่อมหลวงยิ่งศักดิ์ อิศรเสนาถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)ถนนอรุณอมรินทร์เทียมบุญ อินทรบุตรเขตพระนคร

การเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีกำหนดระหว่างวันที่ 25–29 ตุลาคม..

ใหม่!!: ถนนวิสุทธิกษัตริย์และการเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อและระยะทางของถนนในเขตกรุงเทพมหานคร เฉพาะถนนสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท รวมทั้งเส้นทางที่ตัดผ่านที่ดินของหน่วยงานราชการอื่นและเส้นทางของเอกชนที่ได้รับการกำหนดให้เป็น "ถนน" อย่างเป็นทางการจากกรุงเทพมหานครแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมเส้นทางที่ใช้สัญจรเฉพาะภายในพื้นที่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา บ้านจัดสรร และสถานที่เอกชนซึ่งมักมีการปิดกั้นหรือควบคุมทางเข้าออก.

ใหม่!!: ถนนวิสุทธิกษัตริย์และรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในเขตพระนคร

รายชื่อทางแยกในเขตพระนคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ หมวดหมู่:ทางแยกในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนวิสุทธิกษัตริย์และรายชื่อทางแยกในเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

รายชื่อทางแยกในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ หมวดหมู่:ทางแยกในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนวิสุทธิกษัตริย์และรายชื่อทางแยกในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเครื่องบินของการบินไทย

ลโก้ของการบินไทย ณ วันที่ 5 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ถนนวิสุทธิกษัตริย์และรายชื่อเครื่องบินของการบินไทย · ดูเพิ่มเติม »

วิสุทธิกระษัตริย์

วิสุทธิกระษัตริย ในปัจจุบันสามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ถนนวิสุทธิกษัตริย์และวิสุทธิกระษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์

มเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ (24 เมษายน พ.ศ. 2398 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2406) พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นพระขนิษฐาร่วมพระครรโภทรพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ถนนวิสุทธิกษัตริย์และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระราม 8

นพระราม 8 (Rama VIII Bridge) เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมูลนิธิชัยพัฒนาในปัจจุบัน) เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนวิสุทธิกษัตริย์และสะพานพระราม 8 · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมหลวงยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา

หม่อมหลวงยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา อดีตนักมวยสากลชาวไทยและอดีตข้าราชการพลเรือนประจำกระทรวงเกษตร (ปัจจุบันคือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ม.ล.ยิ่งศักดิ์ ในวัยเยาว์เป็นผู้ที่นิยมชมชอบในการเล่นกีฬาชนิดต่าง ๆ อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกีฬาประเภทศิลปะการป้องกันตัว เมื่อเป็นวัยรุ่นเคยหัดกระบี่กระบองกับครูที่มีชื่อเสียงหลายคน มีฝีมือดีสามารถคว้ารางวัลผ้าขาวม้ามาครองตามงานประเพณีต่าง ๆ มาได้หลายผืน ต่อมาได้ไปศึกษาต่อด้านการเกษตรที่ประเทศอังกฤษ ก็ได้ฝึกชกมวยสากล และได้ขึ้นชกในแบบมวยสากลสมัครเล่นระดับนักเรียนได้แชมป์เป็นถ้วยรางวัลเกียรติยศหลายใบ ต่อมาจึงได้ขึ้นชกมวยสากลอาชีพที่นั่น โดยขึ้นชกในพิกัดน้ำหนักระหว่าง 135-140 ปอนด์ (รุ่นไลท์เวท-รุ่นซูเปอร์ไลท์เวท) มีสถิติการชกอยู่ทั้งหมด 42 ไฟท์ เป็นการชนะคะแนน 7 ไฟท์ ชนะที.เค.โอ. 8 ไฟท์ ชนะน็อก 17 ไฟท์ ชนะฟาล์ว 2 ไฟท์ แพ้คะแนน 4 ไฟท์ แพ้น็อก 1 ไฟท์ และเสมอทั้งหมด 3 ไฟท์ โดยมีฉายาที่ได้รับจากชาวอังกฤษว่า "Siamese flash" (สายฟ้าสยาม) เมื่อสำเร็จการศึกษามาแล้ว ม.ล.ยิ่งศักดิ์ นับได้ว่าเป็นชาวไทยที่มีคุณวุฒิเกี่ยวกับวิชามวยสากลอย่างเต็มเปี่ยมชนิดหาตัวจับยาก แต่ต่อมาได้เข้ารับราชการในกระทรวงเกษตร จึงไม่อาจทำให้ได้ใกล้ชิดกับวงการมวยเหมือนเช่นอดีต จนกระทั่ง เวทีราชดำเนินเปิดดำเนินการขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2488 ม.ล.ยิ่งศักดิ์ได้เข้าไปดูมวยในเวทีบ่อยขึ้น และได้เริ่มเขียนคอลัมน์วิจารณ์มวยในหนังสือพิมพ์และนิตยสารมวยฉบับต่าง ๆ จนเป็นที่ชื่นชอบและรู้จักเป็นอย่างยิ่งของแฟนมวยและแฟนกีฬาในระหว่างปี พ.ศ. 2493-พ.ศ. 2496 โดยแฟนมวยมักนิยมเรียกชื่อของ ม.ล.ยิ่งศักดิ์อย่างคุ้นเคยว่า หม่อมยิ่ง นอกจากนี้แล้ว ม.ล.ยิ่งศักดิ์ ยังได้เป็นเทรนเนอร์ให้กับนักมวยสากลชาวไทยที่มีชื่อเสียงที่จะทำการขึ้นชิงแชมป์ อาทิ จำเริญ ทรงกิตรัตน์ ในไฟท์ที่ขึ้นชิงแชมป์สหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิค หรือ OPBF ในรุ่นไลท์เวท เมื่อปี พ.ศ. 2495 และได้เป็นแชมป์มวยสากลในระดับภูมิภาคเป็นคนแรกของไทย และ สมเดช ยนตรกิจ ที่ขึ้นชิงแชมป์ในสถาบันเดียวกันในรุ่นเวลเตอร์เวทเมื่อปี พ.ศ. 2496 เป็นต้น ด้านชีวิตครอบครัว ม.ล.ยิ่งศักดิ์สมรสกับนางศรีอุทัย อิศรเสนา และมีบุตรสาวกับนางบุญชู สว่างนวล ซึ่งเป็นภริยาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย หนึ่งคน คือ มยุรี อิศรเสนา ณ อยุธยา ปัจจุบันเป็นนักร้องเพลงลูกกรุงที่มีชื่อเสียงและเป็นนักแสดงสมทบ ม.ล.ยิ่งศักดิ์ถึงแก่กรรมเมื่อเวลาสี่ทุ่มเศษของวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2496 ด้วยอาการเส้นโลหิตในสมองแตก สิริอายุได้เพียง 50 กว่า ๆ เท่านั้น ที่บ้านพักของตัวเองในซอยวรพงษ์ ถนนวิสุทธิกษัตริย์ เนื่องจากโรคประจำตัวคือ ความดันโลหิตสูงเพราะติดสุรามา ขณะที่ถึงแก่กรรมนั้น ม.ล.ยิ่งศักดิ์เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นเอก ประจำกรมกสิกรรม กระทรวงเกษตร.

ใหม่!!: ถนนวิสุทธิกษัตริย์และหม่อมหลวงยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)

นนราชดำเนินกลางและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน (Thanon Ratchadamnoen) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก.

ใหม่!!: ถนนวิสุทธิกษัตริย์และถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอรุณอมรินทร์

นนอรุณอมรินทร์ ถนนอรุณอมรินทร์ (Thanon Arun Ammarin) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนวิสุทธิกษัตริย์และถนนอรุณอมรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทียมบุญ อินทรบุตร

ทียมบุญ อินทรบุตร อดีตโปรโมเตอร์มวยชื่อดัง ผู้ถือได้ว่าเป็นผู้มีความสำคัญในแวดวงมวยทั้งมวยไทยและมวยสากลในประเทศไทย และถือเป็นแบบอย่างให้แก่โปรโมเตอร์ในปัจจุบันด้วย เทียมบุญเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2469 ที่จังหวัดลำปาง ในครอบครัวที่มีฐานะ ในวัยเด็กและวัยรุ่นเคยใช้ชีวิตมาอย่างโชกโชน เป็นที่รู้จักกันดีจากการเป็นโปรโมเตอร์จัดการชกของนักมวยสากลระดับแชมป์โลกชาวไทย อาทิ โผน กิ่งเพชร ที่ชิงแชมป์โลกรุ่นฟลายเวทคืนจาก ฮิโรยูกิ เอบิฮาร่า นักมวยชาวญี่ปุ่น ซึ่งในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์การชกมวยสากลชิงแชมป์โลกในประเทศไทย และการจัด "ศึกสายเลือด" การชิงแชมป์โลกระหว่างนักมวยไทยด้วยกันเองเป็นครั้งแรก คือ ชาติชาย เชี่ยวน้อย กับ พันธุ์ทิพย์ แก้วสุริยะ และที่เป็นที่จดจำได้ดีที่สุด คือ การที่เป็นผู้วางแผนให้ แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ ชกมวยสากลเพียง 3 ครั้งเท่านั้นแล้วได้เป็นแชมป์โลก อย่างที่เรียกกันว่า "บันได 3 ขั้น" นอกจากนี้แล้ว เทียมบุญถือว่าเป็นผู้สร้างจุดขายและประชาสัมพันธ์การชกมวยในรูปแบบใหม่ เช่น การแต่งเพลงมาร์ชเชียร์มวย หรือ การจัดมวยตามเสด็จพระราชกุศล เป็นต้น เทียมบุญได้รับฉายาจากสื่อมวลชนในแวดวงมวยว่า "พญาอินทรี" หรือ "หัวแตงโม" เนื่องจากมีลักษณะศีรษะที่ใหญ่โต และไว้ผมทรงสั้นเกรียน เทียมบุญยุติบทบาทตัวเองจากวงการมวยในปี พ.ศ. 2526 ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาสำนักงานทนายความและการบัญชี ย่านถนนวิสุทธิกษัตริย์ แต่สุขภาพทรุดโทรมจากทั้งโรคหัวใจ และถุงลมโป่งพอง อันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่จัด ถึงขนาดต้องพกถังออกซิเจนไว้ข้างตัวตลอดเวลา เข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลหลายครั้ง ต่อมาเกิดอุบัติเหตุลื่นหกล้มในห้องน้ำที่บ้านพักตัวเอง จนกระดูกสะโพกหัก 3 ท่อน ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลนานนับเดือน เมื่อกลับมาพักฟื้นที่บ้านได้ไม่นานนัก เทียมบุญตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการยิงกระสุนขนาด จุด 38 ใส่ศีรษะตนเองจนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 ขณะมีอายุได้ 65 ปี งานศพของเทียมบุญได้รับพระราชทานเพลิงเป็นกรณีพิเศษที่วัดมักกะสัน.

ใหม่!!: ถนนวิสุทธิกษัตริย์และเทียมบุญ อินทรบุตร · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ถนนวิสุทธิกษัตริย์และเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ถ.วิสุทธิกษัตริย์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »