โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนรามบุตรี

ดัชนี ถนนรามบุตรี

นนรามบุตรี ช่วงข้างวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ถนนรามบุตรี หรือ ซอยรามบุตรี (Thanon Ram Buttri, Soi Ram Buttri) เป็นถนนขนาดเล็กสายหนึ่งลักษณะเป็นซอย ในย่านบางลำพู พื้นที่แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเชื่อมระหว่างถนนสิบสามห้าง กับถนนจักรพงษ์ และช่วงที่ 2 จากถนนจักรพงษ์บริเวณข้างวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร เลี้ยวไปออกถนนเจ้าฟ้า บริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และตรงข้ามกับโรงละครแห่งชาติ ถนนรามบุตรี มีที่มาจากสะพานข้ามคลองวัดชนะสงคราม หรือคลองบางลำพูที่ชื่อ "สะพานรามบุตรี" ซึ่งเป็นสะพานที่หม่อมเจ้าหญิงเป้า สุริยกุล พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยา กรมพระรามอิศเรศ มีดำริให้มีการสร้างขึ้นโดยการบริจาคทรัพย์ เพื่อเป็นการถวายเป็นบำเพ็ญพระกุศลถวายแด่พระบิดา แล้วสร้างแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานนามให้ว่า สะพานรามบุตรี อันมีความหมายว่า "สะพานที่บุตรีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยา กรมพระรามอิศเรศ เป็นผู้สร้าง" และได้ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม..

5 ความสัมพันธ์: บางลำพูรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครหม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์แดง อิศรเสนา)ถนนสิบสามห้างถนนเจ้าฟ้า

บางลำพู

ซอยชนะสงคราม แหล่งที่พักนักท่องเที่ยวอีกแห่งในย่านบางลำพู ต้นลำพู ต้นสุดท้ายของกรุงเทพมหานครในสวนสันติชัยปราการ อันเป็นที่มาของชื่อบางลำพู บางลำพู (มักสะกดผิดเป็น บางลำภู) เป็นย่านหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บางลำพู ได้ชื่อมาจากในอดีตมีต้นลำพูอยู่เป็นจำนวนมาก ริมคลอง เดิมเป็นชุมนุมและตลาดเล็ก ๆ ริมน้ำก่อนการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดเก่าแก่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ วัดสังเวชวิศยาราม (วัดบางลำพู, วัดกลางนา) และวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ก่อนจะพัฒนาเป็นแหล่งพำนักของบรรดาเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชบริพาร และประชาชนพลเมืองหลายหลากชาติพันธุ์ ทั้งไทย, จีน, มอญ และมุสลิม ที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยคละเคล้ากัน จนทำให้เป็นแหล่งเกิดอาชีพที่หลากหลาย ต่อมาเมื่อมีการตัดคลองรอบกรุง ทำให้ย่านบางลำพูกลายเป็นท่าน้ำใช้สำหรับขนถ่ายและแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น พืชผักผลไม้จากฝั่งธนบุรี ก่อนจะพัฒนากลายเป็นตลาดบกที่สำคัญในเวลาต่อมา ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการสร้างพระราชวังดุสิตขึ้น ได้มีการตัดถนนหลายสายขึ้นมาจากถนนสามเสน เช่น ถนนจักรพงษ์, ถนนพระอาทิตย์, ถนนพระสุเมรุ, ถนนข้าวสาร, ถนนรามบุตรี, ถนนตะนาว และถนนสิบสามห้าง จึงให้บางลำพูมีความคึกคักมากขึ้นด้วย ปัจจุบัน บางลำพูเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นแหล่งของการค้าขายเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุดนักเรียน มีห้างร้านสำหรับจัดจำหน่ายโดยเฉพาะเคยเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง และยังเป็นแหล่งที่พักชั่วคราวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันตก และได้มีร้านอาหาร, ร้านกาแฟ ตลอดจนร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไว้ให้บริการด้วย โดยเฉพาะที่ถนนข้าวสาร หรือถนนรามบุตรี.

ใหม่!!: ถนนรามบุตรีและบางลำพู · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อและระยะทางของถนนในเขตกรุงเทพมหานคร เฉพาะถนนสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท รวมทั้งเส้นทางที่ตัดผ่านที่ดินของหน่วยงานราชการอื่นและเส้นทางของเอกชนที่ได้รับการกำหนดให้เป็น "ถนน" อย่างเป็นทางการจากกรุงเทพมหานครแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมเส้นทางที่ใช้สัญจรเฉพาะภายในพื้นที่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา บ้านจัดสรร และสถานที่เอกชนซึ่งมักมีการปิดกั้นหรือควบคุมทางเข้าออก.

ใหม่!!: ถนนรามบุตรีและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์แดง อิศรเสนา)

ร้อยเอก หม่อมเทวาธิราช (ม.ร.ว.แดง อิศรเสนา).., ร..ม. เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๓ ตรงกับวันอังคารที่ ๒๔ กันยายน..

ใหม่!!: ถนนรามบุตรีและหม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์แดง อิศรเสนา) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสิบสามห้าง

แผนที่เขตพระนคร ถนนพระนครอยู่ใกล้กับวัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwett) ในชื่อ Sip Sam Hang Road ถนนสิบสามห้าง (Thanon Sip Sam Hang) เป็นถนนสายเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในย่านบางลำพู แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีที่มาจากกลุ่มพ่อค้ากลุ่มหนึ่งในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ซึ่งเริ่มต้นมีห้างร้านอยู่ทั้งสิ้น 13 ห้าง ได้รวมตัวกันเพื่อเข้าช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านการค้าและอื่น ๆ มีตึกทำการอยู่ที่มณฑลกวางตุ้ง ต่อมาเมื่อชาวจีนเข้ามาจับจองทำกิจการค้าที่บางลำพู ได้นำวิธีการนี้มาใช้ และได้สร้างอาคารซึ่งมีลักษณะเหมือนอาคารที่ทำการสมาคมเช่นเดียวกันนี้ขึ้นที่บางลำพู แม้ภายหลังเมื่ออาคารดังกล่าวจะถูกรื้อถอน แต่ชื่อสิบสามห้างยังคงอยู่ และได้กลายเป็นชื่อถนนที่เคยเป็นที่ตั้งอาคารสมาคม นอกจากนี้แล้ว ถนนสิบสามห้างในช่วงกึ่งพุทธกาล (พ.ศ. 2500) เป็นแหล่งชุมนุมของวัยรุ่นเช่นเดียวกับสยามสแควร์ในปัจจุบัน เพราะเป็นแหล่งของร้านอาหารจำนวนมาก ที่เปิดกันจนถึงช่วงดึก และยังมีร้านไอศกรีมซึ่งเป็นสิ่งที่หารับประทานยากในสมัยนั้น รวมถึงยังมีบริการโทรทัศน์เปิดให้กับลูกค้าได้ดูอีกด้วย ซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่อีกอย่างหนึ่ง ถนนสิบสามห้างได้รับการกล่าวถึงในภาพยนตร์เรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง ภาพยนตร์ไทยในปี..

ใหม่!!: ถนนรามบุตรีและถนนสิบสามห้าง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจ้าฟ้า

นนเจ้าฟ้า (Thanon Chao Fa) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่ง ในแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่ถนนพระอาทิตย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและท่าช้างวังหน้า ทอดผ่านตรอกโรงไหม, ซอยรามบุตรี และไปสิ้นสุดที่บริเวณจุดตัดกับถนนจักรพงษ์, ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า และถนนราชดำเนินกลาง รวมระยะทาง 570 เมตร โดยชื่อถนนนั้นมาจากพระนามพระอิสริยยศ ของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ พระโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี เนื่องจากในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ บริเวณท่าช้าง หรือวังหน้า อันเป็นจุดเริ่มต้นของถนน เคยเป็นที่ตั้งวังประทับของพระองค์มาก่อน.

ใหม่!!: ถนนรามบุตรีและถนนเจ้าฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ซอยรามบุตรี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »