โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนพลับพลาไชย

ดัชนี ถนนพลับพลาไชย

แยกพลับพลาไชย ในมุมมองจากถนนหลวง ถนนพลับพลาไชยคือถนนที่เป็นจุดตัด ถนนพลับพลาไชย (Thanon Phlapphla Chai) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มที่แยกแปลงนาม อันเป็นทางแยกที่ตัดระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนแปลงนาม ที่แขวงป้อมปราบ จากนั้ันทอดยาวไปจนถึงแยกพลับพลาไชย อันเป็นห้าแยกที่เป็นจุดตัดกับถนนหลวงและถนนไมตรีจิตต์ และไปสิ้นสุดที่แยกอนามัย อันเป็นจุดตัดกับถนนบำรุงเมือง ที่แขวงวัดเทพศิรินทร์ รวมความยาวประมาณ 1.1 กิโลเมตร ถนนพลับพลาไชย เป็นถนนที่มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่งตั้งอยู่ เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง, สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 1 และ 2 (สน.พลับพลาไชย 1 และ 2) ที่ดูแลพื้นที่ย่านเยาวราชทั้งหมด และรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียง เช่น วงเวียน 22 กรกฎาคม, โรงพยาบาลหัวเฉียว, โรงพยาบาลกลาง เป็นต้น, วัดคณิกาผล, ศาลเจ้าหลี่ตี้เมี่ยว, วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร, องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (ภาคประชาชน), สมาคมส่งเสริมวิชาชีพ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ (แห่งประเทศไทย) เป็นต้น โดยชื่อ "พลับพลาไชย" มาจากชื่อของวัดพลับพลาไชย อันเป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ มีประวัติมาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี โดยในอดีตสถานที่บริเวณนี้มีลักษณะเป็นโคกหรือเนินดินขนาดใหญ่ และมีการตั้งคอกวัวไว้ที่นี่ด้วย จึงนิยมเรียกกันว่า "วัดโคก" หรือ "วัดคอก" จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนนามของวัดแห่งนี้ใหม่ เป็น "วัดพลับพลาชัย" เนื่องจากเป็นสถานที่ตั้งพลับพลาในการซ้อมรบของกองเสือป่ารักษาดินแดน ถนนพลับพลาไชย ในปี..

16 ความสัมพันธ์: พลับพลาชัยพลับพลาไชย (แก้ความกำกวม)มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครรายชื่อทางแยกในเขตสัมพันธวงศ์รายชื่อทางแยกในเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายวัดคณิกาผลสถานีกษัตริย์ศึกสถานีวัดมังกรถนนมังกรถนนหลวงถนนแปลงนามถนนเจ้าคำรบแยกพลับพลาไชยแยกยุคล 2เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

พลับพลาชัย

ลับพลาชัย หรือ พลับพลาไชย สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและพลับพลาชัย · ดูเพิ่มเติม »

พลับพลาไชย (แก้ความกำกวม)

ลับพลาไชย หรือ พลับพลาชัย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและพลับพลาไชย (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิฯ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง (หัวเฉียวเป้าเต๋อซ่านถัง; ฮกเกี้ยน: หัวเกียเปอเตียกเชียงต๋อง; แต้จิ๋ว: ฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง) เป็นมูลนิธิบรรเทาสาธารณภัย ปัจจุบันตัั้งอยู่ที่เลขที่ 326 ถนนเจ้าคำรบ ตัดกับถนนพลับพลาไชย แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 ที่มาจาก คณะเก็บศพไต้ฮงกง ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อและระยะทางของถนนในเขตกรุงเทพมหานคร เฉพาะถนนสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท รวมทั้งเส้นทางที่ตัดผ่านที่ดินของหน่วยงานราชการอื่นและเส้นทางของเอกชนที่ได้รับการกำหนดให้เป็น "ถนน" อย่างเป็นทางการจากกรุงเทพมหานครแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมเส้นทางที่ใช้สัญจรเฉพาะภายในพื้นที่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา บ้านจัดสรร และสถานที่เอกชนซึ่งมักมีการปิดกั้นหรือควบคุมทางเข้าออก.

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในเขตสัมพันธวงศ์

รายชื่อทางแยกในเขตสัมพันธวงศ์ เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ หมวดหมู่:ทางแยกในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและรายชื่อทางแยกในเขตสัมพันธวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

รายชื่อทางแยกในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ หมวดหมู่:ทางแยกในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและรายชื่อทางแยกในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

วัดคณิกาผล

วัดคณิกาผล เป็นวัดไทยในพุทธศาสนามหานิกาย ประเภทวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ที่ถนนพลับพลาไชย แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ตรงกันข้ามกับสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 2 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หญิงนางหนึ่งชื่อ แฟง มักเรียกกันว่า ยายแฟง เป็นเจ้าสำนักโสเภณีชื่อ "โรงยายแฟง" อยู่ที่ตรอกเต๊า ถนนเยาวราช มีศรัทธาในพุทธศาสนา จึงชวนหญิงโสเภณีในสำนักของนางเอารายได้จากการค้าประเวณีมาลงขันกันสร้างวัดขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและวัดคณิกาผล · ดูเพิ่มเติม »

สถานีกษัตริย์ศึก

นีกษัตริย์ศึก เป็นโครงการสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) สายสีลม ส่วนต่อขยายสนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนก โดยจะเป็นสถานีแรกของส่วนต่อขยายด้านตะวันตกของรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งใช้ระบบใต้ดิน และมีแนวเส้นทางเข้าสู่พื้นที่อนุรักษ์เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันตามแผนแม่บทฯ ฉบับใหม่ โครงการในส่วนนี้ได้ถูกยกเลิกทั้งโครงการ และได้ทำการเปลี่ยนชื่อสถานีจากกษัตริย์ศึกเป็นยศเสแทน และปรับให้กลับไปเป็นโครงสร้างยกระดับตามเดิม เพื่อให้สถานียศเสแห่งนี้สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มได้ที่สถานี.

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและสถานีกษัตริย์ศึก · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวัดมังกร

นบริเวณทางลงสู่ตัวสถานี ที่ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบจากท้องของมังกร สถานีวัดมังกร เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค ซึ่งโครงการยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเป็นสถานีในระบบใต้ดินที่อยู่ใจกลางย่านธุรกิจของชาวไทยเชื่อสายจีน ในแนวถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร บริเวณย่านวัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) ใกล้กับถนนเยาวราช ซึ่งถือเป็นไชน่าทาวน์ของเมืองไท.

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและสถานีวัดมังกร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมังกร

ป้ายชื่อถนนมังกร ทางฝั่งถนนเยาวราชตัดเข้าย่านสำเพ็ง แผนที่เขตสัมพันธวงศ์และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ถนนมังกรปรากฏในชื่อ Mangkon Road ถนนมังกร (Thanon Mangkon) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่ตัดผ่านถนนสายอื่น ๆ ในลักษณะของซอย ถนนมังกรมีจุดเริ่มต้นจากถนนกรุงเกษม เลียบคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟหัวลำโพง ในพื้นที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จากนั้นตัดผ่านถนนมิตรพันธ์ บริเวณใกล้กับวงเวียน 22 กรกฎาคม จากนั้นตัดผ่านถนนยี่สิบสองกรกฎาคม เลียบข้างวัดพลับพลาไชย และตัดผ่านถนนไมตรีจิตต์ จากนั้นทอดผ่านถนนพลับพลาไชย และตัดผ่านถนนเจ้าคำรบ ผ่านวัดคณิกาผล ตัดผ่านถนนยมราชสุขุม ออกถนนเจริญกรุง และผ่านหน้าวัดกันมาตุยาราม ในพื้นที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ในย่านเยาวราช จากนั้นตัดผ่านถนนเยาวราช ทอดตัดกับตรอกอิสรานุภาพและซอยผลิตผล ที่ย่านสำเพ็ง พื้นที่แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ ไปสิ้นสุดที่ถนนทรงวาด ถนนมังกร โดยเฉพาะในช่วงที่ตัดผ่านถนนเยาวราชและย่านสำเพ็ง เป็นย่านการค้าที่คึกคักมาก มีสินค้านานาชนิดจำหน่าย และเป็นที่ตั้งของห้างทองตั้งโต๊ะกัง ห้างทองหรือร้านค้าทองแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งตัวอาคารมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามในรูปแบบจีน-โปรตุเกส และชั้นบนสุดเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ทองคำ อีกทั้งในฝั่งตรงข้ามเป็นที่ตั้งของธนาคารกรุงเทพ สาขาสำเพ็ง ตัวอาคารมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามเช่นเดียวกับห้างทองตั้งโต๊ะกัง ซึ่งอาคารทั้งสองได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและถนนมังกร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนหลวง

250px ถนนหลวง (Thanon Luang) เป็นถนนเส้นหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนมหาไชย (สามแยกเรือนจำ) ในท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จากนั้นตัดกับถนนวรจักร (สี่แยกวรจักร) ถนนยุคล 2 (สี่แยกโรงพยาบาลกลาง) และถนนพลับพลาไชย (ห้าแยกพลับพลาไชย) โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงป้อมปราบกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ จนกระทั่งไปจรดถนนกรุงเกษมที่ห้าแยกนพวงศ์ ถนนหลวงเป็นถนนที่สร้างในปี พ.ศ. 2436 โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ควรจะตัดถนนใหม่ระหว่างถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ตั้งต้นตั้งแต่ป้อมเสือทยานไปบรรจบถนนริมคลองผดุงกรุงเกษมโดยข้ามคลองคูพระนคร ตรงไปออกถนนหน้าวัดเทพศิรินทราวาส ถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง ตั้งชื่อว่าถนนหลวง อันมีควาหมายว่า "ถนนของพระเจ้าแผ่นดิน" ทรงให้เหตุผลในการตัดถนนสายนี้ว่า เพื่อสำหรับผู้ที่จะไปขึ้นรถไฟ เพื่อเดินทางไปนครราชสีมาได้สะดวก และเป็นที่งดงามและแสดงถึงความเจริญของบ้านเมืองด้วย โดยสร้างเป็นถนนสำหรับคนเดินและรถม้า ระหว่างการก่อสร้างถนนหลวงใน พ.ศ. 2440 ปรากฏว่ามีผู้ขัดขวางการสร้างถนน โดยทำร้ายกุลีชาวจีนที่ก่อสร้างจนไม่สามารถก่อสร้างได้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล โดยทรงต่อว่ากระทรวงนครบาลซึ่งส่งมอบที่ดินให้กระทรวงโยธาธิการ เข้าใจว่าทรงจัดการเรื่องการเวนคืนที่ดินเรียบร้อยแล้ว และถือว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงนครบาลที่จะป้องกันระงับการทะเลาะวิวาท แต่ปรากฏว่ากระทรวงนครบาลไม่ได้อารักขาการสร้างถนน ทำให้เกิดเหตุขึ้นและปล่อยให้เรื่องล่าช้าจนหมดเขตฟ้องร้อง ต้องจ่ายพระราชทรัพย์ทำขวัญกุลี ในการก่อสร้างถนนหลวงนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานนพวงศ์ขึ้นด้วย โดยมีพระราชปรารภให้เปิดสะพานทันวันเฉลิมพระชนมพรรษาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2440 ซึ่งเป็นวันที่มีพระชนมพรรษาเท่าพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (พระองค์เจ้านพวงศ์) จึงต้องเร่งดำเนินการสร้างถนนหลวง ให้เสร็จทันเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพานนพวง.

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและถนนหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนแปลงนาม

นนแปลงนาม (Thanon Plaeng Nam) เดิมมีชื่อว่า "ตรอกป่าช้าหมาเน่า" เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในย่านเยาวราช ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ เป็นถนนเส้นสั้น ๆ ระยะประมาณ 100 เมตร เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงและถนนเยาวราช อยู่ตรงข้ามกับถนนพลับพลาไชย และอยู่ใกล้กับถนนผดุงด้าว หรือซอยเท็กซัส โดยอยู่ก่อนถึงแยกหมอมีจากถนนเจริญกรุง สาเหตุที่เรียกว่า ตรอกป่าช้าหมาเน่า ก็เนื่องมาจาก ในอดีตพื้นที่ของตรอกนี้คือจุดทิ้งขยะของย่านเยาวราช ใครที่ผ่านตรอกนี้ก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เหม็นเหมือนกลิ่นหมาเน่าหรือซากศพเน่า ต่อมาได้มีการตัดถนนเยาวราช ทางการได้เข้าปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและกำจัดขยะออกไป และเปลี่ยนชื่อให้เป็นมงคลเป็น ซอยแปลงนาม และปรับปรุงขยายเป็นถนนในเวลาต่อมา บริเวณถนนแปลงนามนี้มีชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นย่านการค้า ซึ่งในถนนแปลงนามนี้มีของต่าง ๆ ที่ขึ้นชื่อมากมาย เช่น เครื่องดนตรีจีน, ตะเกียงเจ้าพายุและของเก่า, เครื่องครัวจีน ในส่วนของร้านอาหารมีหลายอย่างที่หลากหลาย เช่น รังนกและหูฉลาม, หมูสะเต๊ะ, ข้าวต้มและอาหารตามสั่ง, ข้าวหมูแดง, ขนมจีบ, พระรามลงสรง และเป็นที่ตั้งของวัดมงคลสมาคม (อักษรเวียดนาม: Chùa Hội Khánh; 會慶寺) ศาสนสถานในพุทธศาสนาแบบอนัมนิก.

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและถนนแปลงนาม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจ้าคำรบ

นนเจ้าคำรบ (Thanon Chao Khamrop) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ ลักษณะเป็นซอย ในย่านเยาวราช มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณหน้าศาลเจ้าไต้ฮงกง ตรงข้ามกับมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดยเป็นถนนที่ตัดแยกจากถนนพลับพลาไชย ทอดผ่านถนนมังกร จากนั้นตัดกับถนนเสือป่าบริเวณใกล้กับแยกเสือป่า และทอดผ่านจุดตัดกับถนนศรีธรรมาธิราช และทอดผ่านจุดตัดกับถนนมหาจักร ในย่านคลองถม ไปสิ้นสุดที่ถนนวรจักร ด้านตรงข้ามกับวัดพระพิเรนทร์ ถนนเจ้าคำรบ เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ..

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและถนนเจ้าคำรบ · ดูเพิ่มเติม »

แยกพลับพลาไชย

แยกพลับพลาไชย เป็นทางห้าแยกจุดตัดถนนพลับพลาไชย กับถนนหลวงและถนนไมตรีจิตต์ ในพื้นที่แขวงวัดเทพศิรินทร์และแขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นย่านชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพฯ ที่ต่อเนื่องกับย่านถนนเยาวราชและถนนเจริญกรุง บริเวณทางแยกมีร้านข้าวหน้าไก่ ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ และภัตตาคารอาหารจีนที่ขึ้นชื่อหลายแห่ง.

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและแยกพลับพลาไชย · ดูเพิ่มเติม »

แยกยุคล 2

แยกยุคล 2 (Yukol Song Junction) หรือที่รู้จักกันในนาม สามแยกยุคล หรือ สามแยกสวนมะลิ เป็นทางสามแยกจุดตัดถนนบำรุงเมือง และถนนยุคล 2 ในพื้นที่แขวงวัดเทพศิรินทร์และแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในย่านสวนมะล.

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและแยกยุคล 2 · ดูเพิ่มเติม »

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

มุมมองเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายจากพระบรมบรรพต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร.

ใหม่!!: ถนนพลับพลาไชยและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »