เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ถนนบรมราชชนนี

ดัชนี ถนนบรมราชชนนี

นนบรมราชชนนี (Thanon Borommaratchachonnani) เป็นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ระหว่างเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ระยะทางรวม 33.984 กิโลเมตร เฉพาะส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 สายอรุณอมรินทร์–นครชัยศรี และมีระยะทาง 31.265 กิโลเมตร.

สารบัญ

  1. 64 ความสัมพันธ์: พระราชวังสนามจันทร์พระตำหนักทับขวัญพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรพุทธมณฑลกรุงเทพมหานครรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครรายชื่อทางแยกในเขตบางกอกน้อยรายชื่อทางแยกในเขตตลิ่งชันรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานครรายชื่อตลาดในกรุงเทพมหานครรายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 3วิทยาลัยทองสุขวงเวียนราชพฤกษ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าสะพานข้ามแม่น้ำแควสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)สตาร์มาร์คอำเภอเมืองนนทบุรีจังหวัดนครปฐมถนนพระรามที่ 2ถนนพุทธมณฑล สาย 1ถนนพุทธมณฑล สาย 2ถนนพุทธมณฑล สาย 3ถนนพุทธมณฑล สาย 4ถนนพุทธมณฑล สาย 5ถนนพุทธมณฑล สาย 6ถนนพุทธมณฑล สาย 8ถนนพุทธสาครถนนกัลปพฤกษ์ถนนกาญจนาภิเษกถนนรัชดาภิเษกถนนราชพฤกษ์ถนนสิรินธรถนนอุทยานถนนจรัญสนิทวงศ์ถนนทวีวัฒนาถนนเพชรเกษมถนนเศรษฐกิจ 1ทางหลวงพิเศษหมายเลข 8ทางหลวงเอเชียสาย 123ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีทางแยกต่างระดับนครชัยศรีตลาดธนบุรีประเทศไทยใน พ.ศ. 2539ประเทศไทยใน พ.ศ. 2541ปิ่นเกล้า... ขยายดัชนี (14 มากกว่า) »

พระราชวังสนามจันทร์

ระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ในตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ห่างจากพระปฐมเจดีย์ประมาณ 2 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระองค์สวรรคต พระราชวังสนามจันทร์ใช้เป็นที่ทำการของส่วนราชการต่าง ๆ ของจังหวัดนครปฐม รวมทั้งเป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบัน พระราชวังสนามจันทร์อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักพระราชวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม..

ดู ถนนบรมราชชนนีและพระราชวังสนามจันทร์

พระตำหนักทับขวัญ

ระตำหนักทับขวัญในพระราชวังสนามจันทร์ มีลักษณะแบบเรือนไทยภาคกลาง พระตำหนักทับขวัญ เป็นหมู่เรือนไทย มีชานเชื่อมต่อกันหมด เช่นหอนอน 2 หอ เรือนโถง เรือนครัว หอนกอยู่ที่มุมของเรือน ใช้วิธีเข้าไม้แบบโบราณ ฝาเรือนทำเป็นฝาไม้ปะกนกรอบลูกฟังเชิงชายและไม้ค้ำยันสลักสวยงาม ออกแบบโดยพระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี) เป็นนายช่างผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างรอบ ๆ เรือนปลูกไม้ไทย เช่น นางแย้ม นมแมว ต้นจัน และจำปี และพระตำหนักหลังนี้ได้รับการบูรณะเมื่อครั้งพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะบ้านไทยแบบโบราณ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนักใหม่ เมื่อวันที่ 25 มกราคม..

ดู ถนนบรมราชชนนีและพระตำหนักทับขวัญ

พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

ัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร หรือ อุทยานมังกรสวรรค์ สร้างขึ้นตามความต้องการของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้เริ่มออกแบบและจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรขึ้นภายในบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ห่างจากฝั่งแม่น้ำไปตามถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ก่อตั้งขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของชาวจีนในประเทศไทย ตลอดจนประวัติศาสตร์และอารยธรรมจีน เพื่อเป็นอนุสรณ์สัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ครบ 20 ปีใน..

ดู ถนนบรมราชชนนีและพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

พุทธมณฑล

ทธมณฑล (อังกฤษ: Buddha Monthon)เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา อยู่ใน ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ สร้างขึ้นเพื่อฉลองวาระกึ่งพุทธกาล เมื่อ พ.ศ.

ดู ถนนบรมราชชนนีและพุทธมณฑล

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ดู ถนนบรมราชชนนีและกรุงเทพมหานคร

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อและระยะทางของถนนในเขตกรุงเทพมหานคร เฉพาะถนนสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท รวมทั้งเส้นทางที่ตัดผ่านที่ดินของหน่วยงานราชการอื่นและเส้นทางของเอกชนที่ได้รับการกำหนดให้เป็น "ถนน" อย่างเป็นทางการจากกรุงเทพมหานครแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมเส้นทางที่ใช้สัญจรเฉพาะภายในพื้นที่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา บ้านจัดสรร และสถานที่เอกชนซึ่งมักมีการปิดกั้นหรือควบคุมทางเข้าออก.

ดู ถนนบรมราชชนนีและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.

ดู ถนนบรมราชชนนีและรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในเขตบางกอกน้อย

รายชื่อทางแยกในเขตบางกอกน้อย เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ สำหรับชื่อทางแยกต่างระดับและรายละเอียด ดูที่รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ทางแยกในกรุงเทพมหานคร.

ดู ถนนบรมราชชนนีและรายชื่อทางแยกในเขตบางกอกน้อย

รายชื่อทางแยกในเขตตลิ่งชัน

รายชื่อทางแยกในเขตตลิ่งชัน เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ สำหรับชื่อทางแยกต่างระดับและรายละเอียด ดูที่รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ทางแยกในกรุงเทพมหานคร.

ดู ถนนบรมราชชนนีและรายชื่อทางแยกในเขตตลิ่งชัน

รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

ตัดกันระหว่างคลองบางน้อย กับคลองบางกอกใหญ่ ในพื้นที่แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน คลองในกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 1,161 คลอง และคูลำกระโดง จำนวน 521 คู รวมเป็น 1,682 คูคลอง ความยาว 2,604 กม.

ดู ถนนบรมราชชนนีและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อตลาดในกรุงเทพมหานคร

ต่อไปนี้คือ ตลาดในกรุงเทพมหานคร.

ดู ถนนบรมราชชนนีและรายชื่อตลาดในกรุงเทพมหานคร

รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 3

ต่อไปนี้คือ รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย หมวดขึ้นต้นด้วย 3 สำหรับภาคกลาง รวมภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และบางส่วนในภาคใต้.

ดู ถนนบรมราชชนนีและรายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 3

วิทยาลัยทองสุข

วิทยาลัยทองสุข (Thong Sook College) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย ได้รับอนุมัติจัดตั้งจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.

ดู ถนนบรมราชชนนีและวิทยาลัยทองสุข

วงเวียนราชพฤกษ์

วงเวียนราชพฤกษ์ (Ratchaphruek Circle) เป็นวงเวียนจุดตัดถนนราชพฤกษ์ กับถนนนครอินทร์ ในเขตตำบลบางขุนกอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี.

ดู ถนนบรมราชชนนีและวงเวียนราชพฤกษ์

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organisation)) เป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ทางด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ วัฒนธรรมและความรู้ท้องถิ่นของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำหน้าที่เก็บรวบรวมบันทึกความรู้ในรูปแบบต่างๆ สนับสนุนการสร้างความรู้ใหม่ และเผยแพร่ผลงานการค้นคว้าให้แก่ประชาชนทั่วไป.

ดู ถนนบรมราชชนนีและศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง พลตำรวจเอกหญิง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พระนามเดิม: สังวาลย์ ตะละภัฏ; พระราชสมภพ: 21 ตุลาคม พ.ศ.

ดู ถนนบรมราชชนนีและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

มุมมองแม่น้ำเจ้าพระยาจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (Somdet Phra Pinklao Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับเขตบางกอกน้อย (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท สะพานพระปิ่นเกล้าเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 26.60 เมตร ความยาว 622 เมตร สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย โดยให้เงินกู้สมทบกับเงินงบประมาณของรัฐบาลไทย เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.

ดู ถนนบรมราชชนนีและสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

สะพานข้ามแม่น้ำแคว

นข้ามแม่น้ำแคว เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่โครงสร้างเหล็กครึ่งวงกลม สลับโครงสร้างถัก ตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 ประมาณ 4 กิโลเมตร แยกซ้ายประมาณ 400 เมตร ปัจจุบันใช้เป็นทางสัญจรของรถไฟสาย - หรือ ทางรถไฟสายมรณะ ในอดีต.

ดู ถนนบรมราชชนนีและสะพานข้ามแม่น้ำแคว

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)

ันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) (อักษรย่อ:สสปท.) หน่วยงานในสังกัด กระทรวงแรงงาน มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน.

ดู ถนนบรมราชชนนีและสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)

นีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) หรือ สายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน) เป็นสถานีขนส่ง สำหรับรถโดยสารทางไกล สายใต้ และสายตะวันตกบางส่วน เป็นสถานีขนส่งเอกชน สร้างและบริหารโดย บริษัท สิริโปรเจกต์ คอนสทรัคชั่น จำกัด โดยได้รับสัมปทานจาก บริษัท ขนส่ง จำกัด กระทรวงคมนาคม เป็นระยะเวลา 20 ปี ปัจจุบันก่อสร้างเรียบร้อยและเปิดให้บริการเดินรถสายใต้ทั้งหมด ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปเปิดเดินรถในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 และมีกำหนดเริ่มการเดินรถสายตะวันตกในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 ส่วนพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ จะดำเนินการในภายหลัง เนื่องจากขั้นต้นยังเป็นการเดินรถทดลองระบบ นอกจากนี้สถานีขนส่งแห่งนี้ ยังเป็นสถานีขนส่งที่มีมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสูง มีระบบการจัดการคล้ายท่าอากาศยาน กล่าาวคือ ผู้ที่ไม่มีตั๋วโดยสาร จะไม่สามารถเข้าสู่เขตชานชาลาได้ ตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนบรมราชชนนี ตัดกับ ถนนพุทธมณฑลสาย 1 แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน ห่างจากสถานีเดิมไปทางตะวันตก (ออกเมือง) บนฝั่งซ้ายของถนนบรมราชชนนี เช่นเดียวกัน ประมาณ 5 กิโลเมตร อาคารผู้โดยสาร.

ดู ถนนบรมราชชนนีและสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)

สตาร์มาร์ค

ตาร์มาร์ค (Starmark) เป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจออกแบบตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ภายใน ชำนาญในผลิตภัณฑ์ชุดห้องครัว และชุดห้องน้ำ เดิมชื่อ "ห้างหุ้นส่วนจำกัด เพชรเกษมเครื่องเรือน" ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.

ดู ถนนบรมราชชนนีและสตาร์มาร์ค

อำเภอเมืองนนทบุรี

มืองนนทบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ และการสาธารณสุขของจังหวัดนนทบุรี.

ดู ถนนบรมราชชนนีและอำเภอเมืองนนทบุรี

จังหวัดนครปฐม

ังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก.

ดู ถนนบรมราชชนนีและจังหวัดนครปฐม

ถนนพระรามที่ 2

นนพระรามที่ 2 (Thanon Rama II) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี–ปากท่อ เป็นถนนที่ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี เป็นเส้นทางหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย และยังเป็นหนึ่งในถนนพระรามทั้ง 7 สาย ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ยกเว้นถนนพระรามที่ 2 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ถนนพระรามที่ 2 มีระยะทางรวม 84.041 กิโลเมตร.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนพระรามที่ 2

ถนนพุทธมณฑล สาย 1

นนพุทธมณฑล สาย 1 (Thanon Phutthamonthon Sai 1) เป็นถนนสายหนึ่งในท้องที่เขตภาษีเจริญและเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเพชรเกษม ซ้อนทับแนวซอยเพชรเกษม 60/2 เดิม มุ่งตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนบางแวกและถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ซ้อนทับและตัดผ่านแนวถนนพุทธมณฑล สาย 1 (สายเดิม) ซึ่งมีลักษณะคดเคี้ยว จากนั้นตัดกับถนนบรมราชชนนีและถนนสวนผัก ไปสิ้นสุดที่ทางรถไฟสายใต้ โครงการถนนพุทธมณฑล สาย 1 เกิดขึ้นพร้อมกับโครงการจัดตั้งพุทธมณฑลเพื่อฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ทางราชการได้เวนคืนที่ดินโดยจ่ายเงินบางส่วนแก่เจ้าของที่ดิน แต่ทิ้งการดำเนินการไว้เป็นเวลานานจึงกลับมาดำเนินการต่อ ทำให้เกิดข้อพิพาทกับเอกชนเจ้าของที่ดิน เป็นปัญหายืดเยื้อทำให้ไม่อาจสร้างถนนได้เป็นเวลานานมากจนบางคนเรียกว่า "ถนนเจ็ดชั่วโคตร" ต่อมากรุงเทพมหานครได้ยินยอมจ่ายค่าเวนคืนที่ดินในอัตราที่เป็นที่พอใจของเจ้าของที่ดิน จึงดำเนินการก่อสร้างต่อได้ ปัจจุบันใช้สัญจรได้แล้ว.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนพุทธมณฑล สาย 1

ถนนพุทธมณฑล สาย 2

นนพุทธมณฑล สาย 2 (Thanon Phutthamonthon Sai 2) เป็นถนนสายสำคัญในท้องที่เขตบางแค และเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเพชรเกษม มุ่งตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 7 และซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 10, ถนนบางแวก, ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก, ถนนสุขาภิบาลบางระมาด, ซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 21/1 และซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 24, ถนนบรมราชชนนี และถนนศาลาธรรมสพน์ ไปสิ้นสุดที่ทางรถไฟสายใต้ บริเวณป้ายหยุดรถไฟพุทธมณฑลสาย 2 เดิมถนนพุทธมณฑล สาย 2 เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร มีคูน้ำสองข้างถนนตลอดแนว ปัจจุบันคูน้ำถูกถมเพื่อขยายถนนเป็น 6 ช่องจราจรตั้งแต่ปี..

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนพุทธมณฑล สาย 2

ถนนพุทธมณฑล สาย 3

นนพุทธมณฑล สาย 3 (Thanon Phutthamonthon Sai 3) เป็นถนนสายสำคัญในท้องที่เขตหนองแขม เขตบางแค และเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเพชรเกษม มุ่งตรงไปทางทิศเหนือโดยช่วงแรกซ้อนทับแนวซอยเพชรเกษม 104 เดิม จากนั้นเป็นถนนตัดใหม่ ข้ามถนนทวีวัฒนา ตัดกับซอยพุทธมณฑล สาย 3 ซอย 13 และซอยพุทธมณฑล สาย 3 ซอย 14, ถนนบางแวก, ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก, ซอยทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก 24 และถนนเลียบคลองบางพรม, ถนนอุทยาน, ถนนบรมราชชนนี และถนนศาลาธรรมสพน์ ไปสิ้นสุดที่คลองบางคูเวียง เดิมถนนพุทธมณฑล สาย 3 เป็นถนน 2 ช่องจราจร ปัจจุบันขยายเป็น 6 ช่องจราจรตั้งแต่ปี..

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนพุทธมณฑล สาย 3

ถนนพุทธมณฑล สาย 4

right ถนนพุทธมณฑล สาย 4 (Thanon Phutthamonthon Sai 4) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3310 สายกระทุ่มล้ม - พุทธมณฑล เป็นถนนผิวแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 8 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ทางหลวงชนบท นฐ.4006 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ผ่านมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ทางแยกต่างระดับศาลายา (ตัดกับถนนบรมราชชนนี) วิทยาลัยราชสุดา ผ่านถนนอุทยาน พุทธมณฑล สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ไปสิ้นสุดที่ถนนเพชรเกษมบริเวณสี่แยกสาครเกษม ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทาง 10.814 กิโลเมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินดังกล่าวอยู่ในความดูแลของหมวดการทางกระทุ่มแบน แขวงการทางสมุทรสาคร ยกเว้นตั้งแต่หลักกิโลเมตรที่ 0 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 1+680 อยู่ในความดูแลของเทศบาลนครอ้อมน้อ.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนพุทธมณฑล สาย 4

ถนนพุทธมณฑล สาย 5

ถนนพุทธมณฑล สาย 5 (Thanon Phutthamonthon Sai 5) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3414 สายอ้อมน้อย - ศาลายา มีจุดเริ่มต้นตั้งตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม วิทยาลัยนาฏศิลป์ หอภาพยนตร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตศาลายา คลองวัฒนา จนถึงแยกอ้อมน้อย ถนนเพชรเกษม อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เดิมเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ปัจจุบันได้มีการขยายถนนเป็น 6 ช่องจราจร พร้อมกับมีการสร้างสะพานข้ามถนนบรมราชชนนี แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนพุทธมณฑล สาย 5

ถนนพุทธมณฑล สาย 6

นนพุทธมณฑล สาย 6 (Thanon Phutthamonthon Sai 6) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3316 สายไร่ขิง - ทรงคนอง มีจุดเริ่มต้นตั้งอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม บริเวณแยกถนนบรมราชชนนี-ถนนร.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนพุทธมณฑล สาย 6

ถนนพุทธมณฑล สาย 8

นนพุทธมณฑล สาย 8 (Thanon Phutthamonthon Sai 8) หรือ ทางหลวงชนบท น.3046 มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สามแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3235 กับถนนพุทธมณฑล สาย 8 ตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ผ่านถนนบรมราชชนนีจนไปบรรจบถนนเพชรเกษมบริเวณรอยต่อระหว่างตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรีกับตำบลคลองใหม่ อำเภอสามพราน หมวดหมู่:โครงการพุทธมณฑล พุทธมณฑล สาย 8.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนพุทธมณฑล สาย 8

ถนนพุทธสาคร

นนพุทธสาคร (Thanon Phutthasakhon) หรือ ทางหลวงชนบท.1018 บางครั้งเรียกว่า "ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตัดใหม่" เป็นถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท เชื่อมต่อระหว่างถนนเศรษฐกิจ 1 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3091) ไปสิ้นสุดที่ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) และถนนพุทธมณฑล สาย 4 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3310) ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทางประมาณ 7.445 กิโลเมตร เดิมเป็นโครงการถนนลาดยางสาย ง 1 ผังเมืองรวมเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนพุทธสาคร

ถนนกัลปพฤกษ์

นนกัลปพฤกษ์ (Thanon Kanlapaphruek) หรือ ทางหลวงชนบท กท.1001 เป็นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยเป็นถนนคอนกรีตขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมต่อระหว่างถนนราชพฤกษ์กับถนนกาญจนาภิเษก.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนกัลปพฤกษ์

ถนนกาญจนาภิเษก

นนกาญจนาภิเษก (Thanon Kanchanaphisek) หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นถนนสายสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวมถึงผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 168 กิโลเมตร ถนนสายนี้สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีปริมาณการจราจรและการขนส่งเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป็นทางเลี่ยงเมืองกรุงเทพมหานครที่เป็นตัวเชื่อมทางสายหลักเข้าไปสู่ทุกภาคของประเทศ เริ่มก่อสร้างครั้งแรกเมื่อปี..

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนกาญจนาภิเษก

ถนนรัชดาภิเษก

นนรัชดาภิเษก (Thanon Ratchadaphisek) เป็นถนนวงแหวนรอบในของกรุงเทพมหานคร เริ่มจากสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านสะพานกรุงเทพ ตัดผ่านถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรี ถนนพระราม 9 ถนนลาดพร้าว ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนประชาชื่น ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ข้ามสะพานพระราม 7 เข้าเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ตัดกับถนนบางกรวย-ไทรน้อย ลอดใต้สะพานพระราม 6 เข้าเขตกรุงเทพมหานคร รวมกับถนนจรัญสนิทวงศ์ และมาบรรจบที่ทางแยกท่าพร.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนรัชดาภิเษก

ถนนราชพฤกษ์

นนราชพฤกษ์ (Thanon Ratchaphruek) หรือ ทางหลวงชนบท น.3021 สายราชพฤกษ์ เป็นถนนที่ทอดยาวจากกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดนนทบุรี เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญสายหนึ่ง โดยสามารถเดินทางจากถนนสาทรถึงอำเภอบางบัวทองได้โดยไม่ต้องผ่านทางแยกสัญญาณไฟจราจร (ไม่ติดไฟแดง) แม้แต่แห่งเดียว.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนราชพฤกษ์

ถนนสิรินธร

นนสิรินธร (Thanon Sirindhorn) ซึ่งบางส่วนมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 341 สายบางพลัด - บางบำหรุ เป็นเส้นทางการคมนาคมในท้องที่เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ลักษณะเป็นถนนขนาด 8 - 10 ช่องทางจราจร กว้าง 40 เมตร มีระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร เริ่มจากถนนจรัญสนิทวงศ์ตัดกับถนนราชวิถีที่สี่แยกบางพลัด ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางบำหรุ เมื่อผ่านซอยสิรินธร 2 (สมชายพัฒนา) จึงโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากนั้นตัดผ่านถนนรุ่งประชา ก่อนจะไปบรรจบกับถนนบรมราชชนนีที่ทางแยกต่างระดับสิรินธร โดยตลอดสายยังถือเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางพลัดกับแขวงบางบำหรุอีกด้วย ถนนสิรินธรตัดขึ้นตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ (แยกสะพานกรุงธนฯ) - บรรจบทางหลวงพิเศษสายบางกอกน้อย-นครชัยศรี ในท้องที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนสิรินธร

ถนนอุทยาน

นนอุทยาน ในปี พ.ศ. 2549 ถนนอุทยาน (Thanon Utthayan) หรือที่นิยมเรียกในชื่อเดิมว่า ถนนอักษะ เป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 3 ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ถึงถนนพุทธมณฑลสาย 4 ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีระยะทาง 3.98 กิโลเมตร ความกว้าง 90 เมตร พร้อมด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือ เสาโคมไฟรูปหงส์เรียงราง 2 ข้างทาง ที่มากถึง 979 ต้น และคูน้ำคั่นกลางความกว้าง 30 เมตร ที่มีน้ำพุเล่นระดับ 3 แห่ง จนได้ชื่อว่าเป็นถนนที่สวยที่สุดในประเทศไทย ถนนอุทยานหรือเดิมชื่อถนนอักษะ เป็นถนนที่สร้างมุ่งไปพุทธมณฑลซึ่งได้เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนอุทยาน

ถนนจรัญสนิทวงศ์

นนจรัญสนิทวงศ์ (Thanon Charan Sanit Wong) เป็นถนนในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนเพชรเกษม ที่สี่แยกท่าพระ ในแขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ ตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพาณิชยการธนบุรี (จรัญสนิทวงศ์ 13) ที่สามแยกพาณิชยการธนบุรี จากนั้นข้ามคลองมอญ เข้าสู่พื้นที่แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย ตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนพรานนกที่สามแยกไฟฉาย จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับทางรถไฟสายใต้ (จากสถานีรถไฟธนบุรี) เข้าแขวงบางขุนนนท์ ตัดกับถนนบางขุนนนท์ที่สามแยกบางขุนนนท์ จากนั้นข้ามคลองบางกอกน้อยเข้าสู่แขวงอรุณอมรินทร์ ตัดกับถนนบรมราชชนนีที่สี่แยกบรมราชชนนีเข้าสู่พื้นที่เขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางบำหรุกับแขวงบางยี่ขันไปจนตัดกับถนนสิรินธรและถนนราชวิถีที่สี่แยกบางพลัด จากนั้นจึงเข้าสู่แขวงบางพลัด มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางพลัดเข้าสู่พื้นที่แขวงบางอ้อ และไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระราม 7 ในพื้นที่ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ชื่อถนนจรัญสนิทวงศ์ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงจรัญสนิทวงศ์ (ม.ล.จรัญ สนิทวงศ์) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เดิมกรุงเทพมหานครติดป้ายชื่อถนนว่า "ถนนจรัลสนิทวงศ์" ต่อมาได้แก้ไขเป็น "จรัญสนิทวงศ์" ตามนามของหลวงจรัญสนิทวงศ์ ปัจจุบันถนนสายนี้เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันถนนจรัญสนิทวงศ์ตลอดทั้งสายกำลังมีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายสัญญาที่ 3 ช่วงสถานีเตาปูนถึงสี่แยกท่าพระ เป็นลักษณะรถไฟฟ้าแบบลอยฟ้าเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (เชื่อมต่อกับสายฉลองรัชธรรมที่สถานีเตาปูน) เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี..

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนจรัญสนิทวงศ์

ถนนทวีวัฒนา

นนทวีวัฒนา (Thanon Thawi Watthana) เป็นเส้นทางการคมนาคมระหว่างเขตหนองแขมกับเขตทวีวัฒนา ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร แยกจากถนนเพชรเกษมในพื้นที่แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม เลียบฝั่งตะวันตกของคลองทวีวัฒนาเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านใต้สะพานถนนพุทธมณฑล สาย 3 จากนั้นข้ามคลองบางไผ่เข้าพื้นที่แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา ตัดกับถนนบางแวก ตัดกับถนนเลียบคลองปทุม ตัดกับถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษกและถนนทวีวัฒนา-พุทธมณฑล สาย 4 จากนั้นข้ามคลองบางกระทึกเข้าพื้นที่แขวงศาลาธรรมสพน์ ตัดกับถนนอุทยาน ถนนบรมราชชนนี และถนนศาลาธรรมสพน์ ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ทางรถไฟสายใต้ ถนนทวีวัฒนาเป็นถนนขนาด 2 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง ระยะทางรวม 10.8 กิโลเมตร เดิมมีลักษณะเป็นคันทางริมคลองทวีวัฒนาซึ่งกรมชลประทานใช้เป็นเส้นทางในการดูแลบำรุงรักษาคลอง แต่ให้ประชาชนได้ใช้สัญจรด้วย กรุงเทพมหานครได้รับมอบเส้นทางสายนี้จากกรมชลประทานเมื่อประมาณปี พ.ศ.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนทวีวัฒนา

ถนนเพชรเกษม

นนเพชรเกษม (Thanon Phet Kasem) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายกรุงเทพมหานคร–จุดผ่านแดนถาวรสะเดา (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานของประเทศไทย ที่มีเส้นทางมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย มีระยะทาง 1277.512 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงหรือถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ถนนเพชรเกษมมีเส้นทางเริ่มต้นที่สะพานเนาวจำเนียร (ข้ามคลองบางกอกใหญ่) ตั้งอยู่บนเส้นแบ่งการปกครองระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บริเวณเขตแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อกับทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ ที่เมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย บางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 123.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนเพชรเกษม

ถนนเศรษฐกิจ 1

นนเศรษฐกิจ 1 (Thanon Setthakit 1) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3091 สายอ้อมน้อย - สมุทรสาคร เป็นถนนแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 4-6 ช่องจราจรไป-กลับ แยกจากถนนเพชรเกษมที่ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร แยกไปทางซ้ายที่สามแยกกระทุ่มแบน ผ่านทางต่างระดับกระทุ่มแบน บรรจบกับถนนพุทธสาคร (ทางหลวงชนบท สค.4018) แยกไปทางขวา เข้าสู่เขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร ผ่านทางแยกต่างระดับมหาชัย ตัดกับถนนพระรามที่ 2 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35) สิ้นสุดที่สี่แยกมหาชัย ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร รวมระยะทางที่ควบคุมโดยกรมทางหลวง 19.8 กิโลเมตร (ไม่นับรวมทางของเทศบาลนครสมุทรสาคร) ผ่าน 2 อำเภอ คืออำเภอเมืองสมุทรสาคร (ตำบลมหาชัย ตำบลท่าทราย ตำบลนาดี) และอำเภอกระทุ่มแบน (ตำบลคลองมะเดื่อ ตำบลท่าไม้ และตำบลอ้อมน้อย) ถนนเศรษฐกิจ 1 ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 0+000 ถึงกิโลเมตรที่ 19+851 ปัจจุบันอยู่ในความควบคุมของหมวดการทางสมุทรสาครที่ 2 แขวงการทางสมุทรสาคร กรมทางหลวง.

ดู ถนนบรมราชชนนีและถนนเศรษฐกิจ 1

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 8

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 8 หรือที่นิยมเรียกว่า "มอเตอร์เวย์สายใต้" เป็นโครงการทางหลวงพิเศษเชื่อมระหว่างเมือง เริ่มต้นจากจังหวัดนครปฐม ลงสู่ภาคใต้ ไปสิ้นสุดที่จังหวัดสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายเส้นทางในแผนแม่บทระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 22 เมษายน..

ดู ถนนบรมราชชนนีและทางหลวงพิเศษหมายเลข 8

ทางหลวงเอเชียสาย 123

ทางหลวงเอเชียสาย 123 (AH123) ถนนเครือข่ายทางหลวงสายเอเชีย ประเภทสายรอง เริ่มต้นจากพรมแดนพม่าที่ช่องทางผ่านแดนบ้านพุน้ำร้อน ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ไปตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3229 ข้ามสะพานแม่น้ำแควน้อย ข้ามทางรถไฟสายกาญจนบุรี-น้ำตกไทรโยคน้อย จนถึงแยกเข้าบ้านเก่า ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 (ถนนแสงชูโต) ใช้ถนนเลี่ยงเมืองกาญจนบุรี ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 367 แล้วแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 อีกครั้ง จนถึงสามแยกกระจับ ตำบลหนองอ้อ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัดนครปฐม ถึงทางแยกต่างระดับนครชัยศรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 (ถนนบรมราชชนนี) ถึงกรุงเทพมหานคร จากนั้นเริ่มต้นที่ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (ถนนกรุงเททพฯ ชลบุรี หรือมอเตอร์เวย์) ถึงทางแยกต่างระดับโป่ง ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ถึงแยกปลวกเกตุ ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ผ่านจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด สิ้นสุดที่พรมแดนกัมพูชา ด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ระยะทาง 643 กิโลเมตร.

ดู ถนนบรมราชชนนีและทางหลวงเอเชียสาย 123

ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี

รงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี เป็นทางยกระดับ กว้าง 4-5 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร คร่อมและคู่ขนานไปกับถนนบรมราชชนนี จากทางแยกอรุณอมรินทร์ถึงย่านพุทธมณฑล สาย 2 สร้างขึ้นเมื่อปี..

ดู ถนนบรมราชชนนีและทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี

ทางแยกต่างระดับนครชัยศรี

ทางแยกต่างระดับนครชัยศรี (Nakhon Chai Si Interchange) เป็นชุมทางแยกต่างระดับแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม บริเวณถนนเพชรเกษมและถนนบรมราชชนนี.

ดู ถนนบรมราชชนนีและทางแยกต่างระดับนครชัยศรี

ตลาดธนบุรี

ป้ายทางเข้าตลาดธนบุรี ตลาดธนบุรี หรือที่นิยมเรียกติดปากว่า สนามหลวง 2 ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 195/1 หมู่ที่ 1 ถนนทวีวัฒนา แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170.

ดู ถนนบรมราชชนนีและตลาดธนบุรี

ประเทศไทยใน พ.ศ. 2539

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2539 ในประเทศไท.

ดู ถนนบรมราชชนนีและประเทศไทยใน พ.ศ. 2539

ประเทศไทยใน พ.ศ. 2541

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2541 ในประเทศไท.

ดู ถนนบรมราชชนนีและประเทศไทยใน พ.ศ. 2541

ปิ่นเกล้า

ปิ่นเกล้า โดยทั่วไปเป็นชื่อเรียกพื้นที่บริเวณหนึ่งของฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร บริเวณถนนบรมราชชนนี, แยกบรมราชชนนี จนถึงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า นิยมเรียกชื่อสถานที่ ที่ตั้งอยู่บริเวณนั่นและตามด้วยคำว่า ปิ่นเกล้า เช่น พาต้า ปิ่นเกล้า, เซ็นทรัล ปิ่นเกล้.

ดู ถนนบรมราชชนนีและปิ่นเกล้า

แยกบรมราชชนนี

แยกบรมราชชนนี (Borommaratchachonnani Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า และเป็นจุดเริ่มต้นของถนนบรมราชชนนี ในพื้นที่เขตบางกอกน้อยและบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในอดีตมีชื่อเรียกว่า "แยกปิ่นเกล้า" หรือ "แยก 35 โบวล์" เนื่องจากเคยเป็นที่ตั้งของสถานบริการโบว์ลิ่งแห่งหนึ่ง ชื่อ "35 โบวล์" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแยกบรมราชชนนี ตามชื่อถนนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันแยกนี้มีอุโมงค์ลอดทางแยกตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์และมีสะพานข้ามแยกบนถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้.

ดู ถนนบรมราชชนนีและแยกบรมราชชนนี

แยกทศกัณฑ์

แยกทศกัณฑ์ (Thotsakan Intersection) เป็นสี่แยกถนนบางแวกตัดกับถนนพุทธมณฑล สาย 2 ในพื้นที่เขตบางแค กรุงเทพมหานคร บริเวณใกล้เคียงมีตลาดตั้งอยู่ ทิศเหนือไปถนนบรมราชชนนี ทิศใต้ไปถนนเพชรเกษม ทิศตะวันออกไปถนนกาญจนาภิเษก ทิศตะวันตกไปถนนพุทธมณฑล สาย 3.

ดู ถนนบรมราชชนนีและแยกทศกัณฑ์

แขวงบางบำหรุ

แขวงบางบำหรุ เป็นเขตการปกครองระดับแขวง 1 ใน 4 แห่งของเขตบางพลัด ซึ่งได้แก่ แขวงบางพลัด แขวงบางอ้อ แขวงบางบำหรุ แขวงบางยี่ขัน กรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ เดิมเป็นพื้นที่รอบนอกซึ่งเป็นพื้นที่สวนป่ามาก่อน แต่ในปัจจุบันมีความเจริญอย่างรวดเร็วและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากขึ้น โดยคำว่า "บางบำหรุ" เชื่อว่ามีที่มาจากภาษามลายู คำว่า "baruh" (ออกเสียง บารุฮ์) แปลว่า ที่ลุ่มใกล้แม่น้ำหรือทะเล ซึ่งสามเสนซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามโดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นกลางนั้น ก็มีที่มาจากภาษามลายูเช่นกัน.

ดู ถนนบรมราชชนนีและแขวงบางบำหรุ

แขวงศาลาธรรมสพน์

ลาธรรมสพน์ เป็นแขวงแขวงหนึ่งในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นเขตเกษตรกรรมผสมผสานเขตที่อยู่อาศัย ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร..

ดู ถนนบรมราชชนนีและแขวงศาลาธรรมสพน์

แขวงอรุณอมรินทร์

อรุณอมรินทร์ เป็นแขวงแขวงหนึ่งในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นย่านการค้าและเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางถึงหนาแน่นมาก ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร..

ดู ถนนบรมราชชนนีและแขวงอรุณอมรินทร์

แคล้ว ธนิกุล

แคล้ว ธนิกุล (10 เมษายน พ.ศ. 2477 — 5 เมษายน พ.ศ. 2534) อดีตผู้กว้างขวางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและอดีตโปรโมเตอร์และผู้จัดการในวงการมวยไทย, มวยสากลและมวยสากลสมัครเล่นในประเทศไท.

ดู ถนนบรมราชชนนีและแคล้ว ธนิกุล

โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง

รงเรียนมัธยมวัดนายโรง เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 (กรุงเทพมหานคร) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่บริเวณถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษ.

ดู ถนนบรมราชชนนีและโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง

โลกวันนี้

ลกวันนี้ เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน ในเครือวัฏฏะ เสนอข่าวทั่วไป เน้นการเมือง ธุรกิจ เมื่อราวเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน ลดขนาดหน้ากว้างของหนังสือพิมพ์ จากขนาดบรอดชีต 28x21.5 นิ้ว เป็น 24×22.75 นิ้ว ปัจจุบันโลกวันนี้รายวัน ได้ยุติการผลิตและจำหน่ายหนังสือพิมพ์รูปแบบกระดาษ โดยฉบับสุดท้ายคือฉบับวันที่ 1 พฤศจิกายน..

ดู ถนนบรมราชชนนีและโลกวันนี้

เทศบาลเมืองสามพราน

ทศบาลเมืองสามพราน เป็นเทศบาลแห่งหนึ่งในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม.

ดู ถนนบรมราชชนนีและเทศบาลเมืองสามพราน

เขื่อนศรีนครินทร์

ื่อนศรีนครินทร์ (ชื่อเดิม เขื่อนเจ้าเณร) เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง สร้างขึ้น บนแม่น้ำแควใหญ่ บริเวณบ้านเจ้าเณร ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี กั้นแม่น้ำแควใหญ่นับเป็น เขื่อนแห่งที่ 8 ในจำนวน 17 แห่ง ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สร้างขึ้นเพื่อ อำนวยประโยชน์ทางด้านต่างๆ ตลอดจนช่วยพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎร และส่งเสริมให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม เขื่อนศรีนครินทร์ก่อกำเนิดขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว และสถานที่พักผ่อนที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี แต่ละปีจะมีนักทัศนาจรหลั่งไหลเข้าไปเที่ยวชมอย่างมากมาย นับเป็นสถานที่เชิดหน้าชูตาของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง.

ดู ถนนบรมราชชนนีและเขื่อนศรีนครินทร์

เขตบางพลัด

ตบางพลัด เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ เดิมถือเป็นพื้นที่รอบนอก แต่ปัจจุบันมีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้าและแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก แต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน.

ดู ถนนบรมราชชนนีและเขตบางพลัด

เขตบางกอกน้อย

ตบางกอกน้อย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี โดยมีคำขวัญประจำเขตว่า "สมเด็จโตวัดระฆัง วังหลังตั้งอยู่ อู่เรือพระราชพิธี สถานีรถไฟ คลองใหญ่มีชื่อ เลื่องลือเครื่องลงหิน นามระบิลช่างหล่อ งามลออวัดวา".

ดู ถนนบรมราชชนนีและเขตบางกอกน้อย

เขตทวีวัฒนา

ตทวีวัฒนา เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีลำคลองหลายสายที่สามารถนำน้ำไปใช้ในการทำสวนผลไม้ อย่างไรก็ตาม พื้นที่เกษตรเหล่านั้นกำลังถูกแทนที่ทีละน้อยด้วยโครงการหมู่บ้านจัดสรรซึ่งเรียงรายอยู่ตามถนนสายหลักในพื้นที.

ดู ถนนบรมราชชนนีและเขตทวีวัฒนา

เขตตลิ่งชัน

ตตลิ่งชัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่รอบนอกทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเรียกว่า "ฝั่งธนบุรี" ปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สภาพโดยทั่วไปเป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย แต่ปัจจุบัน พื้นที่เกษตรกรรมกำลังลดลงไปมากจากการสร้างพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการสร้างเส้นทางคมนาคม.

ดู ถนนบรมราชชนนีและเขตตลิ่งชัน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ถ.บรมราชชนนีถนนบางกอกน้อย-นครชัยศรีถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรีถนนปิ่นเกล้านครชัยศรีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338

แยกบรมราชชนนีแยกทศกัณฑ์แขวงบางบำหรุแขวงศาลาธรรมสพน์แขวงอรุณอมรินทร์แคล้ว ธนิกุลโรงเรียนมัธยมวัดนายโรงโลกวันนี้เทศบาลเมืองสามพรานเขื่อนศรีนครินทร์เขตบางพลัดเขตบางกอกน้อยเขตทวีวัฒนาเขตตลิ่งชัน